บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


11 กุมภาพันธ์ 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ข้อกล่าวหาทั้งหมดที่ใช้เพื่อหวังยึดทรัพย์ทักษิณ >>>

มติคณะกรรมการตรวจสอบ เรื่อง ให้อายัดทรัพย์ของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กับพวก

มติคณะกรรมการตรวจสอบ
เรื่อง ให้อายัดทรัพย์ของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กับพวก

ด้วย ผลจากการตรวจสอบและไต่สวนในคดีต่างๆ ของ คณะกรรมการตรวจสอบ (คตส.) ได้ลุล่วงถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ได้ทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ ต่อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ดังนี้
พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบ

มีพยานหลักฐานจนถึงขั้นถูกกล่าวหา ๕ คดี และ เกิดความเสียหายต่อรัฐดังนี้

๑. การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินมูลค่าตามสัญญา ๗๗๒ ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
๒. การจัดซื้อกล้ายางมูลค่าตามสัญญา ๑,๔๔๐ ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๓. การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้ โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX ๙๐๐๐ รัฐเสียหายประมาณ๑,๕๐๐ ล้านบาท
๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท
๕. การให้เงินกู้โดยทุจริตของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย รัฐเสียหายประมาณ ๕,๑๘๕ ล้านบาท

พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

มีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ยังคงถือไว้ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา แต่ได้ให้บุตร ญาติ หรือบุคคลผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และยังได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการชินคอร์ปหลายประการ ดังนี้

๑. แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตร จ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน ประมาณ ๗๑,๖๖๗ ล้านบาท

๒. แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียหายประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท

๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท

๔. ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่จำเป็นเป็นเหตุให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)รัฐเสียหาย เป็นจำนวนเงินประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท

๕. สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท

๖. อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาว เทียมในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เป็นอันมาก

การใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของ ตนเองดังกล่าว มีทั้งที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เกี่ยวข้องสั่งการโดยตรง หรือละเว้นไม่กำกับสั่งการดูแลมีความพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนตรวจสอบตาม กฎหมายทุกครั้ง ยังผลเป็นประโยชน์อัน มิควรได้ตกเป็นมูลค่าแฝงฝังอยู่ในหุ้นของตน จนมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างผิดปกติตลอดเวลา

ในท้ายที่สุดก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเพิ่มเติมให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทด้านกิจการโทรคมนาคม จากเดิมไม่เกินร้อยละ ๒๕ เป็นไม่เกินร้อยละ ๕๐ พร้อม ๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นที่มีชื่อครอบครัวและบริวารของตนเป็นเจ้าของอยู่ ร้อยละ ๔๙.๒ ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งเมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๙ ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นดังกล่าวให้แก่กองทุนเทมาเส็กในวันจันทร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๙ ได้เงินจากการขายหุ้นทั้งหมด เป็นจำนวน ๗๓,๒๗๑ ล้านบาท

คำสั่งอายัดทรัพย์

คณะกรรมการตรวจสอบ จึงเห็นว่า ผลการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบและไต่สวนดังกล่าวในปัจจุบัน มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ และเนื่องจากได้พบว่าเงินบางส่วนได้ถูกยักย้ายถ่ายโอนแล้ว เช่นเงินค่าขายหุ้นชินคอร์ปก็คงเหลืออยู่ในบัญชีประมาณ ๕๒,๘๘๔ ล้านบาทเท่านั้น

อาศัยอำนาจตามความในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ ๕ วรรคสอง และข้อ ๘ จึงมีมติให้อายัดเงิน ในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดังนี้

คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบที่ คตส.๐๑๖/๒๕๕๐ ให้อายัดบัญชีเงินฝากที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มทุนเทมาเส็คดังนี้

๑. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๑๖๐๔-๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๒. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๒๗๗๒๒-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๓.บัญชีเลขที่ ๒๐๘-๑-๐๐๐๒๒-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเซ็นจูรี่
๔. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๓๑๐๐๘-๘ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๕. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๒-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๖. บัญชีเลขที่ ๐๐๑-๑-๕๕๒๓๒-๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม
๗. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๔๑๕๒๔-๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๘. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๒๖๓๑-๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๙. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๒๒๒๒-๐ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๐. บัญชีเลขที่ ๐๐๑-๑-๕๕๑๘๘-๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม
๑๑. บัญชีเลขที่ ๐๑๔-๑-๑๑๓๐๐-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)สาขาพหลโยธิน
๑๒. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๒-๗๘๑๘๘-๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๓. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๑๑๘๘-๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๔. บัญชีเลขที่ ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๕-๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน
๑๕. บัญชีเลขที่ ๐๑๔-๒-๔๑๓๓๕-๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน
๑๖. กองทุนธนบดี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในนามนายพานทองแท้ ชินวัตร
๑๗. กองทุนธนบดี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในนามนางสาวพินทองทา ชินวัตร
๑๘. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๒-๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๑๙. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๓-๐ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๒๐. บัญชีเลขที่ ๑๒๗-๒-๓๗๒๘๗-๙ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีย์ฯ
๒๑. บัญชีเลขที่ ๑๔๖-๒-๓๑๐๘๑-๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร

คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ ที่ คตส. ๐๑๗/๒๕๕๐ ให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ทุกบัญชีเงินฝาก ทุกธนาคาร และทุกสถาบันการเงิน

การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งทั้งสองนี้ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

อนึ่ง บุคคลใดกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งดัง กล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันออกคำสั่งนี้


วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐
คำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ
ที่ คตส. /๒๕๕๐

เรื่อง อายัดทรัพย์สินของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

----------------

ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบในการประชุมครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ มีมติว่าจากการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ

อาศัยอำนาจตามความในประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๕ และข้อ ๘ คณะกรรมการตรวจสอบ จึงออกคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร และสถาบันการเงิน ของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ทุกบัญชี ทุกธนาคาร และทุกสถาบันการเงิน ไว้ก่อน และให้ทุกธนาคาร และสถาบันการเงินส่งรายงานบัญชี รายละเอียดการฝากถอนเงินของแต่ละบัญชี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบันต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งนี้ ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง อนึ่ง บุคคลใดกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์สินที่อายัดตามคำสั่งดัง กล่าว และมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องเพื่อพิสูจน์ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันออกคำสั่งนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐


(นายนาม ยิ้มแย้ม)
ประธานกรรมการตรวจสอบ

----------------------------------------------------------------------------

มีพยานหลักฐานจนถึงขั้นถูกกล่าวหา ๕ คดี
และ เกิดความเสียหายต่อรัฐดังนี้


๑. การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินมูลค่าตามสัญญา ๗๗๒ ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
- คดีนี้ไม่มีการทุจริต คนซื้อไม่ผิด คนขายไม่ผิด
คนโดนคดีติดคุก คือคนเซ็นต์ให้เมียไปทำสัญญาซื้อที่ดิน
แปลกไหม
และรัฐก็ไม่ได้เสียหาย
เพราะผลการประมูล
คนชนะคือคนที่ให้ราคาที่สูงกว่า

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินรัชดา >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_1673.html

ลองเทียบเรื่องนี้กับกรณี ที่ดินเขายายเที่ยงดู
จะรู้เองว่าทำไมผลถึงต่างกัน
ไม่เห็นมีใครติดคุก
หรือเอาไปเป็นประเด็นกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทั้งหมด
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่ดินเขายายเที่ยง >>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_578.html


๒. การจัดซื้อกล้ายางมูลค่าตามสัญญา ๑,๔๔๐ ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คดีนี้ศาลยกฟ้องเรียบร้อยแล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ทุจริตกล้ายาง >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/09/blog-post_22.html

ลองเปรียบเทียบกับสารพัดโกงของรัฐบาลอภิสิทธิ์ดู
ว่าทำไมไม่เห็นมีการนำไปกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์อภิสิทธิ์บ้าง
<<< สรุปผลงาน 1 ปี ระบอบอภิสิทธิ์ >>>

http://maha-arai.blogspot.com/2009/12/blog-post_15.html


๓. การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้ โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด CTX ๙๐๐๐ รัฐเสียหายประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท
- คดีนี้ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ คดี
ที่กล่าวหาเพื่อให้ดูว่ามีการทุจริตเยอะๆ หลายๆ เรื่อง
เพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการยึดทรัพย์ทักษิณ
ซึ่งแม้แต่ นสพ. ที่กล่าวหาเรื่องนี้
ก็โดนฟ้องจนต้องลงขอขมาลาโทษไปแล้ว

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เครื่องตรวจระเบิด CTX 9000 >>>

http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post.html

ลองเทียบกับเรื่องจัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด GT200 ดู
ว่ามีใครติดคุกหรือโดนยึดทรัพย์อะไรบ้าง
ทั้งๆ ที่ทำให้รัฐเสียหายเป็นพันๆ ล้าน
แบบมีหลักฐานดิ้นไม่หลุดแบบนี้
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เครื่องตรวจระเบิด GT200 >>>

http://maha-arai.blogspot.com/2010/01/blog-post_521.html


๔. โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหาย ประมาณ ๓๗,๗๙๐ ล้านบาท
- เห็นยังมีกำไรเอาไปแจกทุนนั่นนี่สองหมื่นกว่าล้านบาท
และเงินที่เอาไปแจกไม่ว่าจะในรูปเก็บภาษีมาก่อนค่อยแจก
หรือแจกก่อนเก็บภาษีมันก็คือเงินรัฐที่เอาไปแจก
แล้วกรณีรัฐกู้เงินมาแจกชาวบ้านฟรีๆ นี่
ทำให้รัฐเสียหายบ้างหรือไม่
หรือกรณีรายได้จากหวยบนดินที่หายไปอยู่ใต้ดิน
รัฐเสียผลประโยชน์หรือไม่
และการกล่าวหาว่าทำให้รัฐเสียหายหลายหมื่นล้าน
แต่จริงๆ แล้วผลคดีนี้มีคนผิดไม่กี่คน
ปรับไม่กี่บาท แถมยังรอลงอาญาอีก
แล้วเอามาเป็นข้อกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
ถามว่ามันถูกต้องชอบธรรมแล้วจริงหรือ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง หวยบนดิน >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/01/blog-post_28.html

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เงินหวยบนดินเอาไปใช้อะไร >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_22.html

๕. การให้เงินกู้โดยทุจริตของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย รัฐเสียหายประมาณ ๕,๑๘๕ ล้านบาท
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗

เรื่อง รายงานการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่ กระทรวงพลังงานรายงานการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ใช้เงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อสนับสนุนการดำเนิน การขยายผลการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานพาหนะ (Natural Gas for Vehicle : NGV) เพื่อสร้างตลาดและความมั่นใจ เชิงพาณิชย์ในการใช้ก๊าซ NGV ทดแทนน้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้ร่วมมือกันจัดทำ “โครงการแท็กซี่เอื้ออาทร” ๑๐๐,๐๐๐ คัน โดยเป็นรถใหม่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ NGV โดยแท็กซี่อาสาสมัครจะซื้อรถเพื่อเป็นเจ้าของรถเองโดยผ่อนชำระกับธนาคารกรุงไทย ฯ แบบดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาคืนเงินกู้ ๕ ปี ในส่วนของจำนวนสถานีบริการ ปตท. ได้จัดทำแผนลงทุนก่อสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ จำนวน ๑๑๕ สถานีภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อเร่งขยายจำนวนสถานีบริการ NGV ในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ ๕,๑๘๕ ล้านบาท สำหรับการผลักดันในช่วงต่อไป กระทรวงพลังงาน โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ สนพ. จะร่วมกันจัดงานเปิดตัวโครงการ “๑๕ มกรา รวมพลังยานยนต์ไทยใช้ NGV” โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มผู้จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ กลุ่มผู้ใช้ยานพาหนะ ผู้ขับขี่/ผู้ประกอบการแท็กซี่ กลุ่มผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV พร้อมทั้งธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นผู้ที่จะให้สินเชื่อในโครงการนี้ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ระหว่างกัน ก่อนการตัดสินใจเลือกผู้จำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ NGV รวมทั้งมีการลงนามในข้อตกลงให้การสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กับผู้ดำเนินโครงการ ๓ หน่วยงาน และเปิดสมาคมก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ไทย

- จากข้อกล่าวหา ค้นไปค้นมา
เพื่อหาว่า เป็นการปล่อยกู้เรื่องอะไร
ปรากฏว่าจำนวนเงินในข้อกล่าวหา
ไปตรงกันเป๊ะกับยอดที่เป็น
มติ ครม. ด้านบน
ซึ่งเป็นเรื่องปล่อยกู้ให้ ปตท. ขยายสถานีบริการ NGV
เดาว่าภายหลังการประกาศอายัดทรัพย์ทักษิณ
ด้วยเรื่องมติครม. อันนี้ แล้วหาสาเหตุเอาผิดไม่ได้
เลยไปหาเรื่องการปล่อยกู้ของกรุงไทยกรณีอื่นมาอ้าง
เพื่อจะได้คงข้อกล่าวหา และมูลค่าความเสียหายไว้เยอะๆ
เพื่อให้ชอบธรรมในการยึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาทของทักษิณ
ซึ่งการแสดงตัวเลขความเสียหายในแต่ละเรื่อง
ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นจำนวนเงินเสียหายเยอะๆ แค่นั้นเอง
เรื่องนี้เลยเป็นหลักฐานยืนยันให้เห็นเจตนา
ที่ต้องการทำยังไงก็ได้ให้มีข้อกล่าวหาไว้เยอะๆ
แม้หาเรื่องนี้ไม่ได้ก็ยังอุตส่าห์ไปหาเรื่องอื่นมาโยงจนได้

สำหรับเรื่องที่นำมากล่าวหาใหม่
เป็นเรื่องการปล่อยกู้ของกรุงไทย
ต่อนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ที่เสียหายเกิดเป็นหนี้เสียขึ้นมา
แล้วโยงมากล่าวหาว่าทักษิณสั่ง
ทั้งๆ ที่แบงค์กรุงไทยก็กู้หลายแสนล้าน
และก็มีหนี้เสียมากมายเหมือนธนาคารอื่นๆ
ที่ทำให้เกิด NPL ทั้งระบบสูงหลายแสนล้านบาท
จนทักษิณเข้ามาเป็นนายกก็ตั้ง บบส.
เพื่อแก้หนี้เสียเหล่านี้
หลังจากที่รัฐบาลชวนแก้ด้วยการใช้ ปรส.
ทำให้พากันเจ๊งเพราะไม่ได้แยกหนี้เสียกับหนี้ดีออกจากกัน
เลยทำให้หนี้ดีกลายเป็นหนี้เน่าตามกันไปหมด
ซึ่งในเวลาต่อมาการตั้ง บบส. ได้พิสูจน์แล้วว่า
เป็นวิธีแก้ปัญหา หนี้เสียของสถาบันการเงินได้ดีที่สุด

ดังนั้นเรื่องธนาคารกรุงไทย
ที่ปล่อยกู้ปีละหลายหมื่นหลายแสนล้านบาท
จะมีหนี้เสียจำนวนหนึ่งที่นำมากล่าวหาระดับไม่กี่พันล้านบาท
จากหนี้เสียที่เคยทำกันมากกว่านี้อีก
ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่เยอะและเกิดขึ้นกับทุกธนาคาร
เพราะเห็นมีหนี้เสียมากบ้างน้อยบ้างทุกธนาคาร
และการปล่อยกู้โครงการใหญ่ๆ ก็มีคณะกรรมการ
ไม่ได้ตัดสินใจคนเดียว
จึงนำมาเป็นข้อกล่าวหาเพื่อยึดทรัพย์ทักษิณ
มันถูกต้องชอบธรรมแล้วหรือ
เพราะแสดงให้เห็นว่า
การปล่อยกู้ของธนาคารหล่ะหลวมอยู่แล้ว
และเคยทำให้เกิดหนี้เสียหลายโครงการ
หลายหมื่นหลายแสนล้านบาทมาแล้ว
ไม่ใช่เฉพาะรายนี้รายเดียว

ซึ่งกรณีนายวิโรจน์กับพวก
ก็โดนแบงค์ชาติกล่าวโทษไปแล้ว
จากข้อหาหลายๆ เรื่องหลายสิบคดี รวมทั้งกรณีนี้ด้วย
ก่อนหน้าที่จะเกิดคดีระหว่างแบงค์ชาติกับวิโรจน์
สมัยช่วงรัฐบาลทักษิณ
มีการปีนเกลียวกันระหว่างนายวิโรจน์กับผู้ว่าแบงค์ชาติ
โดยแบงค์ชาติไม่ให้นายวิโรจน์กลับมาดำรงตำแหน่งอีก
แต่คณะกรรมการคัดเลือกให้มาเป็นอีก
ก็เลยมีความพยายามหาข้อผิดพลาด
เพื่อมาสกัดไม่ให้กับมาดำรงตำแหน่ง
และเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดปัญหายุ่งๆ ในประเทศนี้
หลังจากทักษิณไม่ช่วยนายวิโรจน์
ให้กลับมาเป็นผู้บริหารแบงค์กรุงไทยอีกครั้ง
นสพ.ผู้จัดการ ก็เริ่มออกมาตีทักษิณ
หลังจากเคยเป็นกองเชียร์มาก่อน

-------------------------------------------------------

ผู้จัดการรายวัน17 กุมภาพันธ์ 2548
คดีKTBปิดฉากนโยบายNPL

ธุรกิจภาคเอกชนบ่นอุบ หลังแบงก์ชาติเล่นบทโหดเชือดผู้บริหารแบงก์กรุงไทย เผยขณะนี้การขอสินเชื่อยากขึ้น ส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ถูกเรียกทบทวนใหม่เพราะแบงก์กังวลถูกแบงก์ชาติเล่น งาน ชี้การใช้บทลงโทษทางกฎหมายนำหน้า เป็นการสวนทางนโยบายแก้หนี้เสีย-ฟื้นฟูธุรกิจที่รัฐบาล ทักษิณ 1 ใช้เป็นนโยบายหลัก ยอมรับไม่แน่ใจงานนี้นายกฯหนุนหลังหรือกลัวผู้ว่าฯกันแน่ หยันแผนใช้บบส.ซื้อหนี้เอกชนมาแก้อีก 5 แสนล้านล้มเหลวแน่

แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงินเปิดเผยว่า ตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่าสินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารกรุงไทย (KTB) 12 ราย มีปัญหาในการปล่อยกู้เมื่อช่วงปลายปี ได้ทำให้บริษัทเอกชนหลายรายประสบปัญหาในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ขณะเดียวกันบริษัทที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ถูกธนาคารพาณิชย์ทบทวน การปล่อยกู้ใหม่ เนื่องจากเกรง ว่าธปท.จะเล่นงานผู้บริหารเหมือนกรณีของธนาคารกรุงไทย ล่าสุดธปท.ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีต่อกรรมการ และผู้บริหารธนาคารกรุงไทยรวม 21 ราย ยิ่งทำให้การแก้หนี้และปล่อยกู้ชะงักงันมากขึ้น

"ภาวะดังกล่าวเริ่มก่อตัวขึ้นประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่แบงก์ชาติระบุว่าลูกค้า 12 รายในแบงก์กรุงไทยมีปัญหา เช่น บริษัทอสังหาฯเจ้าของตึกใหญ่ย่านสีลม ซึ่งไม่ได้อยู่ในบัญชี 12 รายในแบงก์กรุงไทย ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทั้งๆ อยู่ในขั้นตอนปรับโครงสร้างหนี้ที่อนุมัติวงเงินแล้วแต่เบิกไม่ได้ แบงก์อ้างว่าทำตามนโยบายแบงก์ชาติ เหตุการณ์ดังกล่าวยังเกิดกับลูกค้าทุกแบงก์ นี่คือสัญญาณอันตราย"

แหล่งข่าวกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การปล่อยสินเชื่อและปรับโครงสร้างหนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือให้ลูกหนี้อยู่ ได้ เพราะเมื่อธุรกิจฟื้นเศรษฐกิจก็ฟื้น โดยให้ใช้หลักการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้กรอบกฎหมาย แต่ไม่ใช่ให้กฎหมายนำหน้า ยึดทรัพย์หรือปล่อยลูกหนี้ล้มละลาย

ทั้งนี้ การเดินตามแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ตามที่ธนาคารกรุงไทยดำเนินการชัดเจนนั้น ได้ทำให้บริษัทขนาดใหญ่และลูกค้ารายย่อยเริ่มฟื้นหลายรายวันนี้ยืนอยู่ได้ หลายรายกำลังผ่อนหนี้เดิมใกล้หมด แต่ธปท.กลับมาใช้กฎหมายนำหน้า เหมือนกับที่เคยแก้หนี้โดยใช้สำนักงานคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (สปน.) ของธปท. ซึ่งล้มเหลวมาใช้อีกครั้ง ที่สำคัญผู้บริหารธปท.เล่นการเมืองมากเกินไป

แหล่งข่าวระบุว่า การกระทำของธปท. สวนทางนโยบายของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แถลงเมื่อครั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ว่าด้วยการแก้หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) และปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาคธุรกิจเพื่อฟื้นเศรษฐกิจประเทศ นับเป็นภารกิจแรกของรัฐบาล โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเครื่องมือหลัก ได้แก่ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และธนาคารของรัฐ

"การฟื้นตัวของธุรกิจวันนี้ ต้องยอมรับนี่คือความสำเร็จของรัฐบาลทักษิณ ในการแก้หนี้และอัดฉีดเงินกู้เข้าระบบ แต่แบงก์ชาติกำลังทำเรื่องสวนทางกับนโยบายรัฐบาลทักษิณ 1 เอกชนก็กังวลว่ารัฐบาลเห็นด้วย เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลทักษิณ 2 จะเลิกนโยบายแก้หนี้และฟื้นฟูภาคธุรกิจแล้วใช่มั้ย หรือว่านายกฯไม่เห็นด้วยแต่มีปัญหาในการจัดการกับผู้ว่าฯธปท."

แหล่งข่าวมองว่า ที่ผ่ามาไม่เฉพาะบสท. และบบส.เท่านั้น นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 21 คนที่ถูกแบงก์ชาติฟ้องร้อง ถือว่าได้สนับสนุนและต่อยอดนโยบายในการบริหารธนาคารกรุงไทยอย่าง ประสบความสำเร็จด้วย เพราะช่วง 4 ปีที่ผ่านมา นายวิโรจน์ปล่อยกู้กว่า 500,000 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ มีขั้นตอนที่โปร่งใสและไม่มีเรื่องทุจริต แต่ธปท.มีการบิดเบือนสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชน

"ต้องเข้าใจว่าการปรับโครงสร้างหนี้ ซื้อขายหนี้ รีไฟแนนซ์หรือปล่อยสินเชื่อ มันมีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมที่ฝรั่งเรียกว่าค่าฟี มันเป็นอาชีพ ไม่ว่าพ่อค้าซื้อขายหนี้ อาชีพนายหน้าหรือที่ปรึกษา ผมคิดว่าผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนปัจจุบัน (ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล) รู้ดี อย่างน้อยท่านเคยเป็นประธานบบส. และใช้หลักเดียวกันในการแก้ปัญหา เพราะฝรั่งสอนมาเหมือนกัน เพียงแต่ช่วงหลังวิกฤตใหม่ เราอาศัยบริษัทชื่อเท่ๆ แบบฝรั่งมาเป็นนายหน้า เป็นที่ปรึกษาต้องจ่ายเงินให้พวกนี้นับแสนล้าน เช่น จีอี แคปปิตอล โกลด์แมน แซคส์หรือเลแมน บราเธอร์ แต่มาวันนี้อาชีพเหล่านั้นคนไทยนำมาทำ กลับถูกผู้ว่าฯคนปัจจุบันกล่าวหาว่าร่วมกันโกงบ้าง กินหัวคิวบ้าง แถมมาฟ้องทุจริต ผมว่าลองคนทำชื่อฝรั่งแบบจีอีฯ เลแมนฯหรือทรีนิตี้ดูบ้าง ก็คงไม่โดนเล่นงาน" แหล่งข่าวอธิบาย

หยันแผนโอนหนี้ให้บบส.เจ๊ง

แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลทักษิณ อยู่ระหว่างการแก้พ.ร.บ.บบส. เพื่อซื้อหนี้จากสถาบันการเงินได้ทุกแห่ง คาดว่าจะผ่านสภาผู้แทนราษฎรในสมัยหน้า แผนดังกล่าวหากอยู่ภายใต้มาตรฐานธปท. จะต้องล้มเหลวเพราะผู้บริหาร ทั้งของบบส.และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับ การโอน ซื้อขาย ปรับโครงสร้างหนี้และปล่อยกู้หนี้ที่คาดว่าจะโอนอีกประมาณ 500,000 ล้านบาท ต้องระมัดระวัง ดังนั้นการแก้ไขหนี้ดังกล่าวจะต้องล้มเหลว ความหวังที่จะทำให้หนี้เสียในระบบธนาคาร พาณิชย์เหลือ 3% ในปี 2549 คงเป็นไปได้ยาก

"ตอนนี้ต้องลุ้นว่าจะมีการเปลี่ยนผู้ว่าฯธปท. หรือไม่ นี่คือความหวังของภาคธุรกิจ เอาเฉพาะเรื่องใกล้ตัวที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ก็คือแบงก์ไม่ยอมปล่อยกู้ผู้ที่ ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ทั้งๆ ที่เป็นเหตุการณ์ไม่ปกติที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วน และยืดหยุ่น ทว่าไม่มีความคืบหน้า ปัญหาก็คือแบงก์ ชาตินี่แหละ" แหล่งข่าวกล่าว

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=29800

-------------------------------------------------------

หนี้กรุงไทย12รายเป็นNPLอุ๋ยขู่อาจมีฟ้องร้องผู้ บริหาร

โดย ผู้จัดการรายวัน 3 ธันวาคม 2547 22:01 น.

ผู้จัดการรายวัน - หม่อมอุ๋ยเผยผลตรวจสอบลูกหนี้ 12 รายของแบงก์กรุงไทยเป็นเอ็นพีแอลทุกราย เผยอาจมีการฟ้องร้องผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง แต่จะแถลงรายละเอียดหลังวันที่ 10 ธ.ค. ขณะที่คนกรุงไทยไม่เชื่อแบงก์ชาติกล้าฟ้อง "วิโรจน์" เพราะอาจถูกเล่นงานกลับได้

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการตรวจสอบสินเชื่อธนาคารกรุงไทยจำนวน 12 ราย ได้ข้อสรุปแล้วพบว่าเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จริงทั้ง 12 ราย แต่มีโอกาสที่จะกลับเป็นลูกหนี้ปกติ ถ้าธนาคารกรุงไทยมีการบริหารจัดการและแก้ไขให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากยังไม่ครบ 2 เดือนตามกำหนดหรือต้องรอหลังวันที่ 10 ธ.ค.
“เอ็นพีแอลทั้ง 12 รายจะกลับมาเป็นหนี้ดีหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือในการแก้ไขปัญหาของผู้ บริหารกรุงไทยว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนถ้าจำเป็นต้องฟ้องร้องใคร ธปท.ก็จะทำหลังจากวันที่ 10 ธ.ค” ผู้ว่าฯธปท.กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่าขณะนี้ธนาคารกรุงไทยเพิ่งมีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้ จัดการใหญ่ (นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายใน แต่ก็เชื่อว่าผู้บริหารธนาคารกรุงไทยมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหา โดยหลังจากธปท.ส่งผลไปแล้ว ทางกรุงไทยก็ไม่จำเป็นต้องรายงานกลับมายังธปท.อีก
แหล่งข่าวธนาคารกรุงไทยกล่าวว่าลูกหนี้ 12 ราย ที่ผู้ว่าฯธปท.ระบุว่าเป็นเอ็นพีแอล เป็นหนี้เก่าของธนาคารกรุงไทยที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างและมีปล่อยกู้ เพิ่มเติม นอกจากนี้มีการโอนไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ ที่สำคัญไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารเพราะมีการกันสำรองแล้ว
สำหรับหนี้ 12 ราย แหล่งข่าวระบุว่าไม่มีบริษัทแนเชอรัล พาร์ค (N-Park) เนื่องจากเป็นหนี้ปกติที่ถูกตัดออกจาก 14 รายในตอนต้น
ส่วนที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธรระบุว่าอาจจะมีการฟ้องร้องผู้บริหารธนาคารกรุงไทย นั้น คาดว่าหากฟ้องร้องจริงคงเป็นนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงการขู่ของผู้ว่าฯธปท.มากกว่า เนื่องจากหากมีการฟ้องร้อง นายวิโรจน์ต้องเล่นงานกลับอย่างแน่นอน
ที่มาของการตรวจสอบสินเชื่อทั้ง 12 ราย เกิดจากความขัดแย้งของม.ร.ว.ปรีดิยาธรกับนายวิโรจน์ เนื่องจากม.ร.ว.ปรีดิยาธรเห็นว่าการบริหารงานของนายวิโรจน์ในธนาคารกรุงไทย 3 ปีที่รับตำแหน่งมีความหละหลวมในการปล่อยกู้ จึงแทรกแซงการแต่งตั้งของคณะกรรมการธนาคารที่มีมติให้นายวิโรจน์กลับไปเป็น กรรมการผู้จัดการสมัยที่ 2 โดยยกสินเชื่อ 12 รายดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง ขณะที่นายวิโรจน์เห็นว่าม.ร.ว.ปรีดิยาธรใช้อำนาจไม่เป็นธรรมจึงยื่นจดหมาย เปิดผนึกขอความเป็นธรรมจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ขณะนี้ศาลปกครองรับฟ้อง อยู่ระหว่างการเรียกสอบพยาน

-------------------------------------------------------

ความเป็นมาย่อๆ ของนายวิโรจน์ นวลแข
ที่เกี่ยวกับแบงค์กรุงไทยและการปล่อยกู้
และกรณีการงัดข้อกับผู้ว่าแบงค์ชาติ

วิโรจน์เปิดใจพร้อมสู้คดียันหลักทรัพย์คุ้มปล่อยกู้
"วิโรจน์ นวลแข" เปิดใจหลังถูกแบงก์ชาติฟ้องร้องดำเนินคดี ยืนยันความบริสุทธิ์ปล่อยสินเชื่อตามเงื่อนไขทุกอย่าง ระบุหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอกับวงเงินกู้ ขณะที่การตรวจสอบวัตถุประสงค์การใช้เงินยังมีอำนาจจำกัด ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ พร้อมยืนยันไม่ห่วงเรื่องคดี มั่นใจมีหลักฐานเพียงพอชี้แจง
(ผู้จัดการรายวัน 16 กุมภาพันธ์ 2548)

ฉะ "หม่อมอุ๋ย"เลือกปฏิบัติ ฟ้องบิ๊กกรุงไทย-ชี้ธปท.มีพิรุธ
"สุชาติ-วิโรจน์" ประสานเสียงโต้แบงก์ชาติเลือกปฏิบัติ เหตุแจ้งความเอาผิดบิ๊กแบงก์กรุงไทยแค่ 3 คนทั้งๆ ที่บอร์ดบริหารมี 5 คน "วิโรจน์" ยันปล่อยสินเชื่อลูกหนี้ทั้ง 3 กรณีตามขั้นตอน "หม่อมอุ๋ย" อ้างเหตุละเว้นบอร์ด 2 คน เพราะต้องกันเป็นพยานและให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ ส่วนสาเหตุการฟ้องเพราะกลัวถูกกล่าวหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มั่นใจเก้าอี้ผู้ว่าฯยังอยู่
(ผู้จัดการรายวัน 15 กุมภาพันธ์ 2548)

อุ๋ยสั่งหาหลักฐานมัดผู้บริหารKTBก่อนส่งฟ้องศาล
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติสั่งหาหลักฐานเพิ่มก่อนส่งฟ้องศาล หลังพบหลักฐานที่ผู้บริหาร ธนาคารกรุงไทยปล่อยสินเชื่อหละหลวม คาดใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ ขณะที่ฝ่ายตรวจสอบสินเชื่อ ระบุมี 2-3 รายเท่านั้น ที่ต้องให้ฝ่ายคดีพิจารณาต่อว่าจะฟ้องร้องต่อผู้บริหารที่อนุมัติสินเชื่อ ได้หรือไม่ ด้านรองประธานบอร์ดแบงก์กรุงไทย "ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล" ออกตัวไม่ขอยุ่งเกี่ยว
(ผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2548)

สรุปผลสอบปล่อยกู้KTB
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เผยธปท.ได้ข้อสรุปผลการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของแบงก์กรุงไทยหลังจากที่ ส่อเค้าไปในทางทุจริต แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดต้องรอให้ผ่านกระบวนการทางกฎหมายก่อน พร้อมทำหนังสือถึงอัยการแจงกรณีที่ "วิโรจน์" ฟ้องเรียกค่าเสียหาย 210 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว
(ผู้จัดการรายวัน 11 มกราคม 2548)

ปล่อยกู้ชะงักอสังหาฯสะดุด
แบงก์พาณิชย์ชะลอปล่อยกู้ บริษัทใน-นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลอดจนโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายรายไม่ได้เงินกู้ไปลุยธุรกิจต่อ หลังธปท.เล่นงาน "วิโรจน์" ข้อหาละเลยปฏิบัติหน้าที่ พ.ร.บ.มาตรา 22 (8) ทำเอา "นายแบงก์" ถึงกับปอดไม่กล้าให้สินเชื่อ จนสถานการณ์ขอเงินกู้ 2 เดือนที่ผ่านมาแทบหยุดชะงัก หวั่นพลาดท่าโดนเช็กบิลหมดอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 20 ธันวาคม 2547)

ธปท.เล็งฟ้องวิโรจน์ชี้ปล่อยกู้หละหลวม
แบงก์ชาติเตรียมฟ้องร้องผู้บริหารและบอร์ดแบงก์กรุงไทยที่เกี่ยวข้องกับการ ปล่อยสินเชื่อฉาว เผยกำลังหาหลักฐานเพิ่มเติมหลังผลตรวจสอบสินเชื่อทั้ง 12 ราย พบปล่อยกู้หละหลวมแบบปกติและไม่ปกติ เชื่อแบงก์ชาติฟ้อง "วิโรจน์ นวลแข" แน่ ด้านตลาดหุ้นตกรับข่าวร้าย เฉพาะกลุ่มแบงก์ร่วง 2.97%
(ผู้จัดการรายวัน 9 ธันวาคม 2547)

ศาลรับคำร้อง"วิโรจน์"ฟ้องหม่อมอุ๋ย-ธปท.
ศาลปกครอง สั่งรับคำร้องคดี "วิโรจน์" ฟ้องธปท.-อุ๋ย พร้อมแจ้งคู่กรณีแจงหักล้างข้อกล่าวหาภายใน 30 วัน ด้านทนายเตรียมยื่นเพิ่มขอให้ชะลอตั้งเอ็มดีคนใหม่ และเรียกแบงก์กรุงไทยร่วมเป็นคู่กรณี ขณะที่ขุนคลังยันไม่กระทบกระบวนการสรรหาเอ็มดีคนใหม่ มั่นใจ "อภิศักดิ์" เริ่มงานเร็วๆ นี้
(ผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2547)

"วิโรจน์" ขอศาลปกครองสั่งKTBชะลอเอ็มดีใหม่
"วิโรจน์ นวลแข" แจงศาลปกครองปมฟ้อง "หม่อมอุ๋ย" พร้อมยื่นคำร้องขอศาลสั่งบอร์ดกรุงไทยชะลอการสรรหาเอ็มดีกรุงไทยใหม่ และให้ ธปท. รับผิดชอบค่าจ้างทนาย ขณะที่หม่อมอุ๋ยไฟเขียวบอร์ดกรุงไทยตั้ง "อภิศักดิ์" นั่งเอ็มดีโดยไม่ต้องเสนอ ธปท.พิจารณา
(ผู้จัดการรายวัน 3 พฤศจิกายน 2547)

วิโรจน์ฟ้องแล้วอุ๋ย-ธปท.
"วิโรจน์ นวลแข" ส่งตัวแทนยื่นฟ้องธปท.และผู้ว่าฯ ธปท.แล้ว เรียกค่าเสียหาย 201 ล้านบาท เป็นค่าเสียโอกาสจากการประกอบอาชีพและนั่งเอ็มดีกรุงไทยต่ออีกวาระ พร้อมทั้งขอให้ศาลปกครองประกาศเจ้าปัญหาของแบงก์ชาติกรณีการแต่งตั้งผู้ บริหารระดับสูงของแบงก์พาณิชย์ ระบุเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชัดเจน คาดศาลใช้เวลา 1 สัปดาห์พิจารณาจะประทับรับฟ้องหรือไม่
(ผู้จัดการรายวัน 27 ตุลาคม 2547)

คลังส่งหนังสือวิโรจน์กม.ตีความก่อนตัดสิน
"คลัง" ส่งหนังสือวิโรจน์ ให้ที่ปรึกษา กม. พิจารณา ถี่ถ้วน ก่อนถึงมือ รมว. ชี้หากมีข้อมูลใดจำเป็นต้องส่งกฤษฎีกาเพิ่ม จะดำเนินการให้ แต่ยันเป็นคนละเรื่องกับการยื่นฟ้องศาลของวิโรจน์ ส่วนการขยายเวลารับสมัครเอ็มดีคนใหม่ยังเป็นเรื่องอนาคต
(ผู้จัดการรายวัน 22 ตุลาคม 2547)

วิโรจน์ฟ้อง "อุ๋ย-กรุงไทย" เรียก100ล้านพร้อมทวงเก้าอี้เอ็มดีคืน
"วิโรจน์ นวลแข" เตรียมฟ้องแบงก์ชาติ-บอร์ดกรุงไทย เรียกค่าเสียหายมากกว่า 100 ล้าน "หม่อมอุ๋ย"จำเลยที่ 1 เผยจะร้องศาลปกครองก่อน 26 ต.ค. ส่วนข้อเรียกร้องในหนังสือขอความเป็นธรรมจาก "สมคิด" ในฐานะผู้กำกับดูแล 2 องค์กร เผยต้องการให้รมว.คลังยุติอำนาจในประกาศเพิ่มเติมของธปท. มาตรา 22 (8)
(ผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2547)

"วิโรจน์"แจงกรุงไทยวันนี้ยันยังไม่ฟ้อง"ปรีดิยาธร"
"วิโรจน์ นวลแข" แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีแบงก์ชาติสั่งห้ามบอร์ดแบงก์กรุงไทยตั้งเป็น เอ็มดี และผลงาน 3 ปีที่ผ่านมา เผยยังไม่ฟ้องร้องเพราะรอจังหวะเหมาะสม ขอยึดหลักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา "ธาริษา" เผยความคืบหน้าลูกหนี้ 11 ราย ยังอยู่ที่ฝ่ายตรวจสอบ ลั่นต้องหาคนรับผิดชอบโดยดูที่เจตนาการปล่อยกู้
(ผู้จัดการรายวัน 12 ตุลาคม 2547)

"กรุงไทย" รอธปท.เก้อผลสอบวิโรจน์ไม่เสร็จ
แบงก์ชาติยังไม่ส่งหนังสือตรวจสอบคุณสมบัติ "วิโรจน์" ให้บอร์ดแบงก์กรุงไทย ตามที่หม่อมอุ๋ยให้ข่าวไว้ แฉผลสอบยังไม่เสร็จ "ปลัดคลัง" ยืนยันต้องได้รับหนังสือเป็นทางการก่อนประชุมหรือแถลงข่าว วอนนักลงทุนและลูกค้าเห็นใจ เชื่อผู้บริหารกรุงไทยและแบงก์ชาติปรารถนาดี ไม่มีความขัดแย้ง ส่วนเอสแอนด์พี คงอันดับเครดิตธนาคารไทย
(ผู้จัดการรายวัน 1 ตุลาคม 2547)

"อุ๋ย" แบล็กเมล์วิโรจน์จี้ถอนตัวก่อนถูกเชือด
หม่อมอุ๋ยถอดรหัส 30 ก.ย. เผยให้เวลา "วิโรจน์" เลือกทางเดินในแบงก์กรุงไทย ขู่หากไม่ถอนตัวอาจโดนเล่นงานเรื่องปล่อยกู้หละหลวม อ้างเป็นวิธีที่ไม่กระทบต่อทุกฝ่าย พร้อมโยนความผิดให้บอร์ดสรรหาฯไม่ยอมหารือก่อนเลือกเอ็มดี
(ผู้จัดการรายวัน 29 กันยายน 2547)

ชี้ชะตา"วิโรจน์" 27ก.ย.นี้
"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เร่งหาข้อยุติการแต่งตั้ง "วิโรจน์ นวลแข" ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยโดยเร็ว มั่นใจรู้ผล 27 ก.ย.นี้ ก่อนเดินทางไปประชุมประจำปีไอเอ็มเอฟ พร้อมยืนยันขั้นตอนดำเนินการโปร่งใสและมีเหตุผลชี้แจงได้
(ผู้จัดการรายวัน 24 กันยายน 2547)

อุ๋ยปัดยื้อเก้าอี้วิโรจน์ยันไม่มีเรื่องส่วนตัว
หม่อมอุ๋ยปฏิเสธขวาง "วิโรจน์ นวลแข" นั่งเอ็มดีแบงก์กรุงไทย อ้างอยู่ระหว่างรอผลตรวจสอบคุณสมบัติจากเจ้าหน้าที่ เผยเคยทำงานด้วยกันและไม่มีความขัดแย้งส่วนตัว "สมคิด" แนะร่วมมือกันทำงาน
(ผู้จัดการรายวัน 17 กันยายน 2547)

"วิโรจน์" รีเทิร์นกรุงไทยเซ็นสัญญาใหม่ 2 ปีครึ่ง
"วิโรจน์ นวลแข" นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทยแน่นอนแล้ว เซ็นสัญญาสมัยที่ 2 รวม 2 ปี 6 เดือน "สมคิด" เห็นชอบ ด้านสหภาพฯและชมรมผู้จัดการสาขาฯหนุนเต็มที่ ระบุยิ่งช้าแบงก์ยิ่งเสียหาย ประกาศไม่เป็นเครื่องมือผู้ไม่หวังดีทำลายแบงก์
(ผู้จัดการรายวัน 3 กันยายน 2547)

สร.กรุงไทย หนุนวิโรจน์ ชูผลงานนั่งเก้าอี้MDต่อ
ขุนคลังสนับสนุน "สมใจนึก เองตระกูล" เป็นประธานการสรรหากรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยคนใหม่ ลั่นไม่มีปัญหา ขณะที่บอร์ดกรุงไทยเมินเฉยแถมเสียงแตก ส่วน "วิโรจน์ นวลแข" พร้อมยื่นใบสมัครหลังพ้น ตำแหน่ง 9 ก.ค.นี้ สหภาพฯ กรุงไทยเคลื่อนไหวสนับสนุน ทำหน้าที่ต่ออีกสมัย
(ผู้จัดการรายวัน 15 มิถุนายน 2547)

ไม่มีแผนปลด "วิโรจน์" กรุงไทยรุกสินเชื่อต่อ
"บิ๊กหมง" ยันบอร์ดแบงก์กรุงไทย (KTB) ยังไม่มีแผนปลด วิโรจน์ นวลแข ย้ำที่ผ่านมา เขาทำงานเข้าเป้ามาตลอด ส่วนประธานกรรมการคนใหม่จะใช้ความเป็นทหาร เก่าให้เป็นประโยชน์ เชื่อมสัมพันธ์ภาครัฐ
(ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2546)

แบงก์กรุงไทยเลื่อนแปรรูป รอดูความชัดเจนสงคราม
แบงก์กรุงไทย ขาดสภาพคล่อง สวนกระแสแบงก์พาณิชย์ส่วนใหญ่ที่สภาพคล่องล้น หลังปล่อยกู้สนองนโยบายรัฐ "วิโรจน์" ชี้บางวันเงินขาด 4,000-6,000 ล้านบาท ต้องพึ่งอินเตอร์แบงก์ เผยผลประกอบการปีนี้ทรงตัว ผลจากสเปรดหดตัว ทั้งดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง เลื่อนแปรรูปรอความชัดเจนของสงคราม
(ผู้จัดการรายวัน 21 มีนาคม 2546)

แผน3ปีกรุงไทยผู้นำปล่อยกู้ ตั้งเป้าสุทธิ1.8แสนล.ขยายสินทรัพย์ดี
แบงก์กรุงไทยตั้งเป้า 3 ปีเร่งขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิให้ได้ 180,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขนาด ของสินทรัพย์ดีแหล่งรายได้ของธนาคาร เน้นปล่อยกู้ให้ กับภาครัฐ ตามด้วยเอสเอ็มอี ขณะที่ในปี 46 ตั้งเป้าปล่อย กู้เพิ่มขึ้นสุทธิ 70,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 23 ธันวาคม 2545)

วิโรจน์โชว์ผลงานรอบ1ปี กำไรเพิ่ม-สร้างขวัญพนง.
กรุงไทยยุควิโรจน์ นวลแข กำลังไปได้สวย ระบุผลงานในรอบ 1 ปีสามารถดันกำไรเพิ่มจาก100ล้านบาทต่อเดือนเป็น 800 ล้านบาทต่อเดือน ผล พวงการปรับรูปแบบการทำงานที่มุ่งทำงานเป็นทีม
(ผู้จัดการรายวัน 17 กรกฎาคม 2545)

http://www.gotomanager.com/resources/default.aspx?id=3644&g=mgrd&page=1

-------------------------------------------------------

พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

๑. แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตร จ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน ประมาณ ๗๑,๖๖๗ ล้านบาท
- • AIS ได้รับการแก้ไขสัญญาภายหลังจากที่ DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญากับ TOT แล้ว

การแก้ไขข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่าย เงินล่วงหน้า (Prepaid) ของ AIS นั้น เกิดจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 DTAC ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT ในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากเดิม อัตราที่ DTAC ต้องจ่ายให้กับ TOT เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือน เป็นการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ที่ DTAC จ่ายให้กับ TOT ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้จากบริการโทรศัพท์ประเภทบัตรเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา

AIS จึงได้ร้องขอความเป็นธรรมจาก TOT ในหลักการเดียวกันกับ DTAC ได้รับอนุมัติ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 AIS ก็ได้รับอนุมัติจาก TOT ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากับ TOT เรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรเติมเงิน (Prepaid) ในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าหน้าบัตรบริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน (Prepaid) ตลอดอายุสัญญา และต้องชำระส่วนแบ่งรายได้เป็นรายเดือนจากเดิมที่ต้องชำระเป็นรายปี

ทั้งนี้เพื่อให้ AIS สามารถแข่งขันกับ DTAC ได้ ขณะเดียวกัน TOT ก็ได้กำหนดไว้ในสัญญาฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 ข้อที่ 7 ว่า “ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการบริษัทจะต้องลดราคาค่าบริการให้ประชาชน โดยในปีที่11-ปีที่15 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลักในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่ 11(พ.ศ. 2544) และในอัตราเฉลี่ยโดยรวมของแต่ละปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของค่าบริการที่ผู้ใช้บริการต้องชำระในปีที่11(พ.ศ. 2544) สำหรับปีที่16–ปีที่25 ของปีดำเนินการตามสัญญาหลัก “

• ประชาชนได้เลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในราคาที่ถูกลง

ผลของการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาระหว่าง TOT กับ DTAC และ TOT กับ AIS เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 และ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ตามลำดับ เป็นผลให้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) ให้กับลูกค้าผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องจ่ายรายเดือน ทำให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (Prepaid) เลือกใช้บริการได้ตามความพอใจและสามารถเลือกจ่ายค่าบริการในอัตราที่ถูกกว่า ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรายเดือน (Postpaid) เป็น การเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ง่าย ขึ้น เนื่องจากราคาค่าใช้บริการรายเดือนแบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง ดังจะดูได้จากรายงานวิจัยของบริษัท Merrill Lynch ที่ระบุว่าอัตราค่าบริการเฉลี่ยรายได้ต่อเลขหมาย ARPU ของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 800 บาท ในปี 2544 และประมาณ 343 บาท ในไตรมาสที่สองของปี 2549

แผนภูมิ อัตราARPU ย้อนหลัง (หน่วย: บาท)












ที่มา: Merrill Lynch

• จำนวนยอดผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น TOT ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้สูงขึ้น

เมื่อ อัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ถูกลง เป็นผลให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมเติบโตประมาณ 1000% ในระหว่างปี 2544 ถึง 2549 คือจากจำนวนลูกค้าโดยรวมประมาณ 4.6 ล้านเลขหมาย ในปี 2544 เป็นประมาณ 41 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 และ AIS ก็มีอัตราผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโตจากประมาณ 3.2 ล้านเลขหมาย เป็นประมาณ 19.96 ล้านเลขหมาย ในปี 2549 ตลอดระยะเวลากว่า 16 ปี ที่ผ่านมา AIS ได้ปฏิบัติตามสัญญาฯ ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ AIS ได้ลงทุนอุปกรณ์แล้วยกให้ TOT ตามสัญญาจนถึงปัจจุบันเป็นมูลค่าประมาณกว่า 140,000 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ส่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ตั้งแต่ ตุลาคม 2533 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 83,400 ล้านบาท และชำระภาษีสรรพสามิต ตั้งแต่ มกราคม 2546 จนถึง กุมภาพันธ์ 2550 เป็นเงินประมาณ 31,400 ล้านบาท และ คาดว่าจนถึงสิ้นสุดอายุสัญญา อนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในอีก 9 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2558) TOT อาจจะได้รับส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นอีก มากกว่า 100,000 ล้านบาท

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais


-------------------------------------------------------

รมว.ไอซีที แถลงยืนยันแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม TOT - CAT รัฐไม่เสียประโยชน์

วันที่ 8 ธันวาคม 2552 11:12 น.

ที่มา ก.ไอซีที


ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แถลงยืนยันการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ไม่ได้ทำให้รัฐเสียประโยชน์ ซึ่งจากการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ได้นำเรื่องการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม 10 สัญญา เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยรายงานว่าการแก้ไขสัญญาทุกครั้งตั้งแต่ปี 2543 ไม่มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ รวมทั้งดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้า ร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535) ตลอดจนการแก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ได้ทำให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาลนั้น

“เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กระทรวงฯ ได้มีการหารือกับหน่วยงานทั้ง 2 แล้ว และขอยืนยันว่าการดำเนินการแก้ไขสัญญาสัมปทานของทั้งบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคมได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างโดยผ่านทั้งคณะกรรมการ บริหาร รวมถึงคณะกรรมการประสานงานตามมาตรา 22 ที่มีผู้แทนของกระทรวงการคลัง รวมทั้ง สคร. ร่วมอยู่ด้วย และการดำเนินการแก้ไขก็เป็นไปอย่างเปิดเผย ซึ่งการแก้ไขสัญญาในบางประเด็นก็ไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรี แต่อยู่ในอำนาจที่รัฐมนตรีสามารถให้ความเห็นชอบได้ ส่วนในประเด็นที่ สคร. ประเมินการแก้ไขสัญญาว่าได้สร้างความเสียหายแก่ภาครัฐเป็นมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านนั้น ขอให้ สคร.แจ้งรายละเอียดว่าเป็นการแก้ไขสัญญาใดบ้าง แต่ทั้งสองหน่วยงานได้ยืนยันว่าการแก้ไขทุกครั้งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ รัฐและประชาชน รวมทั้งเป็นการแก้ไขเพื่อให้ก้าวทันต่อการพัฒนาของเทคโนโลยี” ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ กล่าว
ด้านนายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจร่วมการงาน บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้กล่าวถึงการแก้ไขสัญญาสัมปทานของบมจ. กสทฯ ว่า ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน 3 ฉบับ กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค โดยที่ผ่านมาไม่ได้รับการทักท้วงจากหน่วยใด ซึ่งการแก้ไขครั้งนั้นได้ยกเลิกในเรื่องสิทธิผูกขาดที่ทำไว้กับดีแทค จึงทำให้ กสท สามารถเซ็นสัญญาเพิ่มเติมได้อีก 2 ฉบับ รวมทั้งสามารถให้บริการ CDMA ได้ ตลอดจนมีรายได้และทรัพย์สินเพิ่มขึ้นประมาณ 9 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนนาย วิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ทีโอที ได้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน 5 ฉบับ ซึ่งทุกครั้งจะดำเนินการอย่างมีหลักการและเหตุผลที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ของรัฐ รวมทั้งประชาชน และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่มีมาในอดีต เช่น กรณีของการแก้ไขสัญญาในเรื่องลักษณะการให้บริการจากที่มีเพียงแบบรายเดือน ซึ่งมีการเก็บค่าเช่าเลขหมาย และค่าใช้บริการ โดยเพิ่มการให้บริการในแบบเติมเงิน หรือ pre paid ขึ้นมา ซึ่งการแก้ไขสัญญาในเรื่องนี้ได้ทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จาก 1.4 ล้านคน เป็น 3.8 ล้านคนภายใน 1 ปีของการแก้ไขสัญญา และรายได้เพิ่มขึ้นจาก 4,400 ล้านบาท เป็น 9,100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือประมาณ 60 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน 90% และสร้างรายได้ถึง 18,000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม กระทรวงไอซีทีจะดำเนินการตรวจสอบการแก้ไขสัญญาสัมปทานทั้งหมดของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม โดยจะหารือกับ สคร. ในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ภายใน 90 วัน หรืออาจขอขยายเวลาออกไปหากมีความจำเป็นที่ทำให้การตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ จากนั้นจะนำเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจต่อไป http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=B95B25A74CBA9D188AAB1A495A10B7FB&query=t9XizbfV

๒. แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้รัฐเสียหายประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
- เรื่องนี้ไม่ได้แก้ไขแต่เป็นการเพิ่มเติมส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ทั้งนี้สืบเนื่องจากที่ TOT ไม่สามารถติดตั้งขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ได้ทันต่อการขยายสถานี (Base Station) เพื่อบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการของ AIS ได้ทัน AIS จึงได้ขออนุญาตลงทุนขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ในส่วนที่ TOT ไม่สามารถจัดสร้างได้ทันและยกให้เป็นทรัพย์สินของ TOT ในทันทีที่เปิดใช้บริการ (BTO) โดยที่ AIS มีสิทธิใช้ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน ต่อมาปรากฏว่ามีส่วนที่เหลือใช้ซึ่ง TOT และ AIS มีความเห็นตรงกันว่าควรจะให้ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ หรือ บริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอเช่าใช้ได้ TOT จึงได้กำหนดส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาใหม่ โดย กรณีเป็น ”ผู้ใช้บริการของ TOT” TOT ได้รับร้อยละ 25 AIS ได้รับร้อยละ 75 ตลอดอายุสัญญา กรณีเป็น”ผู้ใช้บริการของ AIS” TOT ได้รับร้อยละ 22 AIS ได้รับร้อยละ 78 ตลอดอายุสัญญา ซึ่ง AIS มีหน้าที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) นั้นตลอดจนอายุสัญญา

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais


๓. ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานส์ อินโฟเซอร์วิซ จำกัด (AIS) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ ๓๐,๖๖๗ ล้านบาท

- พระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม ที่ประกาศใช้เมื่อปีพ.ศ. 2546 นั้น มีผลบังคับกับทุกบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทุกราย เช่น AIS, DTAC ,TRUE, TT&T และ ทุกบริษัทต้องปฎิบัติเหมือนกัน ไม่มีบริษัทใดได้รับสิทธิพิเศษ หรือมีรายจ่ายน้อยลงแต่ประการใดเลย ทุกบริษัทยังคงมีภาระจ่ายโดยรวมเท่าเดิม

ในส่วนของภาครัฐยังคงได้รับเงินรายได้เท่าเดิม เพียงแต่วิธีการจัดส่งรายได้นั้นให้มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่คู่สัญญาภาค เอกชนจะดำเนินการจัดส่งรายได้โดยตรงสู่องค์กรเดียว คือ TOT หรือ CAT หลังจากนั้นหน่วยงานภาครัฐทั้งสองจะจัดสรรเงินดังกล่าวให้กระทรวงการคลังใน ฐานะผู้ถือหุ้นต่อไป ให้เปลี่ยนเป็นการแบ่งจ่ายส่วนหนึ่งมาให้แก่กรมสรรพสามิตโดยตรงเป็นประจำทุก เดือน ทำให้กระทรวงการคลังได้รับเงินส่วนแบ่งรายได้ส่วนที่เป็นภาษีสรรพสามิตในแต่ ละเดือนทันที โดยไม่ต้องรอรับการจัดสรรจาก TOT และ CAT ในปลายปี ต่อไป

ที่มา http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

--------------------------------------------------------

ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เอกชนจ่ายเท่าเดิม
รัฐวิสาหกิจมีรายได้ลดลงแต่รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่รัฐบาลสุรยุทธ์ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตัวนี้
ทำให้รัฐขาดรายได้ในอนาคตปีละหลายหมื่นล้านบาท
ไม่เห็นมีการตั้งข้อกล่าวหาเรื่องนี้กับรัฐบาลสุรยุทธ์
รวมทั้งไม่มีการฟ้องร้องเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์รัฐบาลนั้น
เพราะมีพยานหลักฐานชัดเจนว่าทำให้รัฐเสียผลประโยชน์
และอนาคตถ้ามีการรื้อภาษีตัวนี้มาเก็บอีก
หลังจากนำมากล่าวหาจนตัดสินคดียึดทรัพย์ทักษิณไปแล้ว
จะไปร้องขอความเป็นธรรมในภายหลังได้หรือไม่
ซึ่งเดาได้เลยว่ายาก คงปล่อยให้ประเด็นนี้เงียบไปในที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/02/blog-post_8644.html

๔. ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่จำเป็นเป็นเหตุให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)รัฐเสียหาย เป็นจำนวนเงินประมาณ ๗๐๐ ล้านบาท
- ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทีโอทีเป็นผู้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ให้บริการสื่อ สารดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายกฯอานันท์ ชวน บรรหาร ชวลิต ทักษิณ ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน โดยเดิมใช้งานดาวเทียมสองส่วนใหญ่ๆคือ (1) การให้บริการโทรศัพท์ชนบท (จากทั้งหมดราวหนึ่งแสนเลขหมาย เป็นส่วนดาวเทียมเกือบ 2 หมื่นเลขหมาย ค่าใช้จ่ายราว 2 พันล้านบาทต่อปี) ตามนโยบายรัฐบาลในการให้บริการประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสัญญาสิบปี ทยอยสิ้นสุดในปี 2549 และ 2550 และ (2) การ ให้บริการเครือข่ายดาวเทียมสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแก่หน่วยราชการและเอกชน อื่นๆจำนวนมาก และเป็นเครือข่ายเสริมภายในของทีโอที เช่น เครือข่าย TDMA และ ISBN ตั้งแต่สมัยไต้ฝุ่นเกรย์ที่ตัดขาดภาคใต้ของไทยเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว สัญญาสิบปีเหล่านี้ก็ทยอยสิ้นสุดในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเช่นกัน ซึ่งทีโอทีต้องหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการต่อเนื่อง

ต่อมาในช่วง ปี 2545 ทีโอทีก็กลายเป็นผู้ให้บริการไอพีสตาร์รายใหญ่แก่กระทรวงศึกษาฯ สำหรับโครงการอินเทอร์เน็ทโรงเรียนห่างไกลกว่า 1 หมื่นแห่ง (SchoolNet)

ดังนั้น การที่ทีโอทีเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ในฐานะเป็นผู้ให้บริการหลักไอ พีสตาร์แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2549 ได้ค่าเช่าราคาพิเศษ 475 ล้านบาทต่อปี (ตามโครงสร้างราคาค่าเช่าดาวเทียมของกระทรวงไอซีที) เพราะทีโอทีเห็นประโยชน์จากโครงการนี้ คือ (1) โครงการ โทรศัพท์ชนบทที่สัญญาเก่าสิ้นสุดลง ซึ่งทีโอทีต้องใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อให้บริการประชาชนห่างไกลอย่างต่อเนื่อง มิให้เดือดร้อนเกิดปัญหาการหยุดบริการ ซึ่งเทคโนโลยีไอพีสตาร์ช่วยทีโอทีประหยัดต้นทุนจาก 2 พันล้านบาทเหลือเพียงราว 4 ร้อยล้านบาทต่อปี การประหยัดร่วม 1800 ล้านบาทต่อปีก็คุ้มกับค่าเช่าแล้วอย่างมาก (2) ช่องสัญญาณดาวเทียมไอพีสตาร์ส่วนที่เหลือ ก็สามารถใช้ให้บริการเครือข่ายข้อมูล และอินเทอร์เน็ทความเร็วสูง (บอร์ดแบนด์) ได้อีกหลายหมื่นราย ในราคาต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ (ค่าเช่าช่องสัญญาณราคาต่ำเพราะเป็นผู้ให้บริการหลักรายใหญ่) ทำให้มีกำไรขั้นต้นหรือมารจิ้นสูง ทั้งบริการเดิมแก่หน่วยราชการ เอกชน และโรงเรียนนับหมื่นแห่ง และผู้ใช้รายย่อยตามบ้านและบริษัทต่างๆเพิ่มอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ทความเร็วสูงผ่านสาย โทรศัพท์ (เอดีเอสแอล) และสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายให้บริการบอร์ดแบนด์ 1 ล้านหน่วย โดยใช้ไอพีสตาร์เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการบอร์ดแบนด์ของทีโอที ให้ครอบคลุมทุกแห่งทั่วประเทศ

จนถึงปลายปี 2549 ทีโอทีให้บริการทั้งโดยตรงเองและผ่านผู้ร่วมให้บริการอื่นๆทั้งหมดกว่า 45,000 จุด แต่เนื่องจากวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้ทีโอทีไม่ได้มีการจัดซื้ออุปกรณ์ปลายทางเพื่อให้บริการผู้ใช้เพิ่มเติม อีกเลยตั้งแต่ปลายปี 2549 ทั้งที่มีความต้องการของลูกค้ารอใช้งานจำนวนมากหลายหมื่นจุดตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ที่ผู้ใช้ระดับนี้หากไม่เพิ่ม ที่สิ้นปี 2550 ทีโอทีจะมีรายได้สะสมของบริการไอพีสตาร์ประมาณ 930 ล้านบาท มีค่าเช่าช่องสัญญาณไอพีสตาร์สะสมราว 875 ล้าน บาท เป็นผลประกอบการที่เป็นบวกในเพียงสองปี ในบรรยากาศที่ถดถอยเช่นนี้ นับได้ว่าดีมากแล้ว ซึ่งปกติแล้วการลงทุนโครงการโทรคมนาคมจะใช้เวลาคืนทุนหลายปี เช่น 3-5 ปี ไม่ใช่กำไรทันทีในปีแรก ทีโอทีเองก็ลงทุนในหลายโครงการที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน เช่น เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย เป็นต้น ซึ่งตามแผนธุรกิจแต่เดิม ทีโอทีประมาณว่าจะคืนทุนโครงการไอพีสตาร์ใน 3 ปี (จากโครงการ 7 ปี) อยู่แล้ว หลังจากนั้นก็จะมีกำไรเป็นพันล้านบาทต่อปี นับว่าดีมากหากเปรียบเทียบธุรกิจอื่นๆ ที่มีการลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงกว่ามาก เช่น เอดีเอสแอลหรือไทยโมบาย และโดยที่ไอพีสตาร์เป็นเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกในขณะนี้ สามารถทำให้ต้นทุนการให้บริการบอร์ดแบนด์ต่ำที่สุดโดยเฉพาะบริการชนบท และได้เปรียบการแข่งขันกับบรรดาเทคโนโลยีดาวเทียมอื่นๆ

ศักยภาพขนาดตลาดบอร์ดแบนด์ในไทยมีหลายล้านราย ขณะที่ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ส่วนที่คลุมประเทศไทยสามารถให้บริการบอร์ดแบนด์ รายย่อยได้เกือบ 2 แสนราย ซึ่งทีโอทีมีโอกาสที่จะทำการตลาดได้ทั้งหมดอันอาจรายได้มากกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี และกำไรมารจิ้น สูง ดังนั้น ทีโอทีจะได้ประโยชน์จากโครงการไอพีสตาร์มาก ทั้งในแง่ลดต้นทุนบริการชนบท และสร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี มากกว่าต้นทุนค่าเช่าช่องสัญญาณมาก มิใช่ความไม่จำเป็นหรือไม่มีกำไรดังที่กล่าวหา

ที่มา http://shincase.googlepages.com/totleaseipstar


๕. สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท
- ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าของไทย (EXIM BANK) ให้ เงินกู้แก่ประเทศพม่า ซึ่งมีบางส่วนที่ซื้อสินค้าและช่องสัญญาณดาวเทียมจากบริษัทชินแซท ซึ่งเป็นเรื่องถูกต้องตามหลักการ โดยที่รัฐบาลไทยไม่ได้เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษต่อบริษัทชินแซทหรือไอพีสตาร์

ช่วงเดือนตุลาคม ปี 2546 รัฐบาล กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้ลงนามร่วมมือกัน เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลุ่มน้ำอิระวดี - เจ้าพระยา – แม่โขง” หรือ ACMECS กระทรวงต่างประเทศไทยประกาศให้วงเงินกู้ (เครดิตไลน์คล้ายโอดี) แบบรัฐต่อรัฐ (G2G Loan) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศดังที่เคยทำมาหลายปี ก่อนหน้าแล้ว ราวประเทศละ 100 ล้านเหรียญ ผ่าน EXIM Bank ของ รัฐบาล ในกรณีชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากบริษัทไทยสำหรับโครงการสาธารณูปโภค เช่น ระบบขนส่ง ถนน สะพาน ชลประทาน โทรคมนาคม ผู้กู้ต้องเป็นหน่วยงานรัฐ รัฐบาลประเทศผู้กู้จะค้ำประกันการชำระคืนเงินกู้ (ไม่ใช่เงินช่วยเหลือให้เปล่า)

ตั้งแต่ปี 2541 ภาครัฐและเอกชนของพม่าหลายหน่วยงานซื้อบริการดาวเทียมไทยคม(และภายหลังไอพี สตาร์) และอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทชินแซท เช่น บริษัทโทรคมนาคมแห่งพม่า (Myanmar Post and Telecom: MPT) บริษัทวิทยุและโทรทัศน์แห่งพม่า (Myanmar Radio and TV: MRTV) และบริษัทเมียนมาร์เทเลพอร์ท ชำระเงินจากงบประมาณของตนเอง

ในปี 2547 บริษัท MPT เปิดประมูลจัดซื้ออุปกรณ์ดาวเทียมเพื่อขยายการสื่อสารในชนบท (ต่อเนื่องจากที่เคยใช้ไทยคมและระบบอื่นๆอยู่หลายปี) ในที่สุด MPT ตัดสิน ใจเลือกซื้อไอพีสตาร์ราว 9.5 ล้านเหรียญ แต่แรกจะชำระโดยใช้งบประมาณของตนเหมือนที่แล้วมา แต่ภายหลังเลือกชำระเงินจากวงเงินกู้นี้ MPT ในฐานะผู้ซื้อเป็นผู้เลือกวิธีจ่ายเงินโดยใช้วงเงินกู้ ไม่ใช่ผู้ขายคือบริษัทชินแซทเป็นผู้เลือกให้ (ผู้ขายยินดีรับชำระเงินจากผู้ซื้อ ไม่ว่าจากงบประมาณหรือเงินกู้) รัฐบาลไทยมิได้ไปตัดสินใจแทนหรือไปกำหนดให้เลือกปฏิบัติใดๆ และหากผู้ซื้อคุณสมบัติถูกต้อง (เป็นบริษัทของรัฐ เป็นสาธารณูปโภค เป็นสินค้าจากไทย) รัฐบาลไทยก็ต้องให้กู้

จากวงเงินกู้ 3 ประเทศราว 300 ล้านเหรียญ พม่าใช้ชำระค่าไอพีสตาร์ 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) หรือเพียง 3% ของทั้งหมด (ขณะที่ลาวหรือกัมพูชาใช้ไทยคม/ไอพีสตาร์มาตลอด แต่ไม่เคยใช้เงินกู้นี้เพื่อชำระเลย) แสดงให้เห็นว่า

1) รัฐบาลไทยมิได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อช่วยบริษัทชินแซท และบริษัทชินแซทก็มิได้พยายามแสวงหาประโยชน์พิเศษจากโครงการเงินกู้นี้

2) ต่อมาปี 2549 MPT ซื้อไทยคม/ไอพีสตาร์เพิ่มอีกนับร้อยล้านบาท แต่จ่ายจากงบประมาณตนเอง ทั้งที่คุณสมบัติถูกต้องและวงเงินกู้เดิม 100 ล้านเหรียญยังใช้ไม่หมด แสดงให้เห็นว่าทางพม่าก็ไม่ได้พยายามเป็นพิเศษเพื่อใช้วงเงินกู้นี้

3) ครั้งที่นายกฯสุรยุทธ์เดินทางไปพม่าเมื่อปลายปี 2549 ผู้นำพม่าก็หารือเพิ่มและขยายเวลาวงเงินกู้ และนายกฯไทยก็ตอบรับ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยก็ยังดำเนินการนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง

MPT จัดซื้อโดยการเปิดประมูลหลายเจ้าแข่งขันกัน เลือกซื้อไอพีสตาร์เพราะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลก ถึงแม้ไม่มีเงินกู้นี้ โครงการนี้สร้างรายได้และกำไรให้ MPT มาจ่ายเงินกู้หรืองบประมาณได้ ไม่ใช่โครงการที่มีแต่ต้นทุน ไม่ก่อรายได้ (เงินกู้เป็นเงินต้องจ่ายคืน ไม่ใช่เงินให้เปล่า หากไม่มีเหตุผลการใช้งาน MPT ก็ไม่ซื้อไม่จ่ายแน่นอน รวมทั้งการติดตั้งส่งมอบต้องดี ทุกวันนี้ก็ใช้งานอยู่)

นโยบายหรือข้อตกลงของรัฐจะไม่เลือกปฏิบัติ หากรัฐบาลไทยให้วงเงินกู้กับรัฐบาลต่างชาติอยู่แล้ว เมื่อรัฐบาลต่างชาติแจ้งใช้วงเงินกู้สำหรับโครงการต่างๆ โดยโครงการมีคุณสมบัติถูกต้องแล้ว รัฐบาลไทยจะเลือกปฏิบัติปฏิเสธบางโครงการไม่อนุมัติเงินกู้ไม่ได้

รัฐบาลพม่าไม่มีปัญหาเครดิตหรือการชำระเงินโครงการที่รัฐบาลมีภาระผูกพัน (รัฐบาล พม่ามีรายได้จำนวนมากจากสัมปทานต่างๆ เช่น ปตท จ่ายค่าแก๊สและน้ำมันให้พม่าปีละสี่ห้าหมื่นล้านบาท ประเทศต่างๆให้วงเงินกู้จำนวนมากแก่รัฐบาลพม่าเพื่อส่งเสริมการขายของ เช่น จีน ญี่ปุ่น ดอกเบี้ยก็ต่ำกว่าของรัฐบาลไทย) ไทยอยู่ในฐานะพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ (แร่ธาตุ ป่าไม้ ประมง น้ำมัน ก๊าซ) จากพม่า มากกว่าพม่าพี่งพาสินค้าหรือเงินจากไทย ประเทศใหญ่ๆหลายแห่งช่วยเหลือพม่าดีกว่าไทยมาก โดยเหตุผลต่างๆ เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การเมือง (จีน อินเดีย แย่งกันเอาใจพม่า จีนใช้พม่าเป็นทางออกทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งต่อท่อน้ำมันเชื่อมด้วย) การที่รัฐบาลไทยไม่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับพม่า (หรือ กระทั่งสร้างความบาดหมางไม่พอใจกับรัฐบาลพม่า เช่นการไปดูถูกรัฐบาลพม่าที่ใช้ไทยคมเป็นกรณีฉ้อฉลหรือคอรัปชั่นกับอดีต นายกฯไทย หรือรัฐบาลพม่าไม่มีเครดิต รัฐบาลไทยต้องให้กู้แบบเสี่ยง) จะ ส่งผลร้ายต่อไทยมาก เพราะการสร้างความสัมพันธ์และการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านเป็น นโยบายที่สำคัญมากของทุกรัฐบาล โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหากับไทยในหลายแง่เช่นพม่า ทั้งด้านชายแดน ชนกลุ่มน้อยแยกดินแดน ยาเสพติด แรงงานผิดกฏหมาย

EXIM Bank ของ รัฐบาลทุกประเทศ มีภารกิจและวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนผู้ผลิต/ผู้ขายให้ส่งออกสินค้าไป ต่างประเทศ ด้วยการให้เงินกู้แก่ผู้ซื้อต่างประเทศที่มีเครดิต (โดยเฉพาะผู้ซื้อภาครัฐ) เป็นนโยบายส่งเสริมการส่งออกที่กระทำกันทั่วไป เช่น กรณีบริษัทชินแซทซื้อดาวเทียมและบริการยิงดาวเทียมไทยคม 1 ถึง 5 จากสหรัฐและฝรั่งเศส ก็มี EXIM Bank ของรัฐบาลสหรัฐและฝรั่งเศสให้เงินกู้แก่บริษัทชินแซท (รวมถึงปัจจุบันกว่า 4 หมื่นล้านบาท) กรณี JBIC ให้การท่าฯกู้เงินสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ มีเงื่อนไขต้องใช้บริษัทญี่ปุ่นก่อสร้าง

ช่องสัญญาณไอพีสตาร์ที่ MPT เช่าน้อยกว่า 1% ของช่องสัญญาณไอพีสตาร์ทั้งดวง วงเงิน 9.5 ล้านเหรียญ (ราว 330 ล้านบาท) น้อยกว่า 1% ของ ยอดรายได้ของกลุ่มบริษัทชินคอร์ปเกือบหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี สะท้อนว่าอดีตนายกฯ รัฐบาลไทย รัฐบาลพม่า หรือ กลุ่มบริษัทชินคอร์ป ไม่มีแรงจูงใจทำผิดเสื่อมเสียจริยธรรมเพื่อให้ได้มา

MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซทมานานเป็นปกติต่อเนื่องอยู่แล้ว กล่าวได้ว่า หากไม่มีโครงการเงินกู้นี้ MPT เพื่อชำระ ก็ยังซื้อไทยคมและไอพีสตาร์อยู่ดี (ดังเช่นก่อนหน้าและหลังโครงการเงินกู้นี้) หรือหากเป็นรัฐบาลอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลนายกทักษิณที่มีโครงการเงินกู้นี้ (เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แล้ว MPT ซื้อและใช้ไทยคมและไอพีสตาร์จากชินแซท ก็คงใช้เงินกู้นี้จากรัฐบาลไทยเพื่อชำระเช่นกัน (เพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีคุณสมบัติเข้าข่าย)

ที่มา http://shincase.googlepages.com/eximbanktoloanmyanmar

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เงินกู้พม่า >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/06/blog-post_135.html


๖. อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาว เทียมในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัทชิน แซทเทิลไลท์ เป็นอันมาก
- บริษัทชินแซทไม่เคย ได้ประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับ FTA รัฐบาลไทยไม่เคยเอื้อหรือช่วยไทยคมตอนเจรจา FTA กับต่างประเทศแต่อย่างใด สามารถตรวจสอบบันทึกได้จากกระทรวงไอซีทีและกระทรวงพานิชย์

กรณี FTA ไทย-ออสเตรเลีย เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ส่วนโทรคมนาคม เขียนว่า “ออสเตรเลียจะไม่จำกัดโควตาของปริมาณบริการดาวเทียมและมือถือ และจะไม่จำกัดการถือหุ้นของบริษัทไทยในบริษัท Optus และ Vodafone แต่ไม่สัญญาที่ให้บริษัทไทยถือหุ้นในบริษัท Telstra”

ข้อเท็จจริงคือ กรณีข้อความส่วนโทรคมนาคมใน FTA ฝั่ง ออสเตรเลียข้างต้น ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยหรือบริษัทชินแซทเลย เพราะประเทศออสเตรเลียเปิดเสรีโทรคมนาคมมาก ไม่จำกัดโควตาบริการดาวเทียมและมือถือกับประเทศใดและอนุญาตให้ต่างชาติถือ หุ้นได้เต็มที่อยู่แล้ว หากต้องการซื้อหุ้น เอกชนก็เจรจาเองได้ เช่น บริษัทมือถืออันดับสอง Optus (ต่างชาติสิงคโปร์คือ Singapore Telecom ถือหุ้น100%) และ บริษัทมือถืออันดับสาม Vodafone (ต่างชาติอังกฤษคือ Vodafoneถือหุ้น100%)

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัททั้งสามมีมูลค่าใหญ่มาก เช่น Telstra ที่ รัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ราว 2.8 ล้านล้านบาท ใหญ่เกินกว่าที่บริษัทไทยจะไปซื้อหุ้นหรือลงทุน (บริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของไทย คือ เอไอเอส มีมูลค่าน้อยกว่าสามแสนล้านบาท เล็กกว่า 10 เท่า) แต่เหตุที่รายการเหล่านี้ปรากฏใน FTA โดยที่ไม่ เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย ก็เพราะเป็นเทคนิคการเจรจาที่ออสเตรเลียทำเพื่อให้ดูเหมือนยอมให้ฝ่ายไทยมาก ในหัวข้อที่เปิดรับการค้าและการลงทุนโทรคมนาคมจากต่างชาติ 100% อยู่แล้ว

ส่วนกรณีที่มีการกล่าวหาว่าอดีตนายกฯนำเรื่อง FTA ไปแลกเรื่องวงโคจรดาวเทียมไทยคม-4 หรือไอพีสตาร์กับรัฐบาลจีนนั้น ข้อเท็จจริงคือ บริษัทชินแซทไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับ FTA จีน

ไทยลงนามเป็นส่วนหนึ่งของ FTA ระหว่างอาเซียนกับจีนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2545 ส่วนกรณีการประสานงานดาวเทียมไทยคม-4กับดาวเทียมเอเชียแซท-4 ของฮ่องกง ฝ่ายไทยและฮ่องกงตกลงกันได้ด้วยทางออกทางเทคนิคอย่างฉันท์มิตร ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2546 อันเป็นวิถีทางหนึ่งที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ในการเจรจาประสานงานความถี่วงโคจรดาวเทียม (หากตกลงกันไม่ได้ก็มีปัญหาการใช้งานทั้งคู่ ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง)

ดาวเทียมเอเชียแซท-4 เป็นของบริษัทฮ่องกง ไม่ใช่ของจีน รัฐบาลฮ่องกงเพียง “ยื่นเรื่อง” ไปสู่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ผ่านรัฐบาลจีนเท่านั้น ตามนโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ” ทางการจีนจะไม่ก้าวก่าย รัฐบาลฮ่องกงหรือจีนคงไม่ยอมแลก FTA กับเอกชนไทยกับอุตสาหกกรมที่รัฐบาลจีนคุมเข้มมากเช่นโทรคมนาคม (ปัจจุบันไม่มีต่างชาติได้รับใบอนุญาตให้บริการโทรคมนาคมในจีน ถึงแม้มีเงื่อนไข WTO ก็ตาม)

ที่มา http://shincase.googlepages.com/ftanegotiationstobenefit

----------------------------------------------------------

นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับเรื่องหุ้นของทักษิณ อ่านต่อได้ที่นี่
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การขายหุ้นของทักษิณ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_1331.html

ข้อหาในการยึดทรัพย์ทักษิณในครั้งนี้
ดูแล้วเหมือนเอาทักษิณเป็นตัวตั้ง
แล้วพยายามยัดข้อหาให้เยอะๆ มากๆ
เพื่อความชอบธรรมในการยึดทรัพย์
เรื่องนี้เป็นเรื่องขบวนการ
เริ่มตั้งแต่การทำรัฐประหารปล้นอำนาจ
ขนาดห้ามบินเข้าประเทศ ห้ามสื่อสัมภาษณ์ก็มี
และพยายามยัดข้อหาต่างๆ มากมาย
และตั้งคณะยึดทรัพย์ทักษิณ
ที่เบื้องหลังคนรู้ทั้งบ้านทั้งเมืองว่าไม่ถูกกับทักษิณ
ส่อให้เห็นเจตนาทำลายล้างอย่างชัดเจน
เรื่องนี้จะติดตามตอนจบในไม่กี่วันนี้
ว่าจะจบยังไงทั้งคดีและประเทศนี้

โดย มาหาอะไร

---------------------------------------------------------

<<< แถลงการณ์ กลุ่ม ๕ อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ : กรณียึดทรัพย์ทักษิณ >>>
<<< คดียึดทรัพย์ฉบับชาวบ้าน:ความเท็จVSความจริง >>>
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง 6 ข้อกล่าวหาที่ใช้ในการยึดทรัพย์ทักษิณ >>>

---------------------------------------------------------

FfF