บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


25 มีนาคม 2553

<<< รายนามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ >>>

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายชัช ชลวร
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

นายจรัญ ภักดีธนากุล
ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

นาย จรูญ อินทจาร
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายเฉลิมพล เอกอุรุ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายนุรักษ์ มาประณีต
ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

นาย บุญส่ง กุลบุปผา
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

นาย สุพจน์ ไข่มุกด์
ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ

นายอุดม ศักดิ์ นิติมนตรี
ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ


http://www.constitutionalcourt.or.th/lawyer.html

------------------------------------------------------------

อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ



นายเชาวน์ สายเชื้อ

นายประเสริฐ นาสกุล

ศ.ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ




ศ.ดร.กระมล ทองธรรมชาติ

นายอุระ หวังอ้อมกลาง

นายปัญญา ถนอมรอด




นายวิรัช ลิ้มวิชัย




http://www.constitutionalcourt.or.th/turakan_1.html

-----------------------------------------------------------------------

อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

พลโท จุล อดิเรก

นายผัน จันทรปาน



http://www.constitutionalcourt.or.th/turakan_2.html

-----------------------------------------------------------------------------

อดีตตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ



ศ.ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์

นายจุมพล ณ สงขลา

ศ.ดร.ชัย อนันต์ สมุทวณิช




นายปรีชา เฉลิมวฌิชย์

นายมงคล สระฏัน

นายสุจินดา ยงสุนทร




นายสุวิทย์ ธีรพงษ์

ศ.อนันต์ เกตุวงศ์

ศ.ดร.สุจิต บุญบงการ




ศ.ดร.อมร รักษาสัตย์

นายศักดิ์ เตชาชาญ

นายจิระ บุญพจนสุนทร




นายมานิต วิทยาเต็ม

นายสุธี สุทธิสมบูรณ์

ศ.ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์




พล.ต.อ. สุวรรณ สุวรรณเวโช

นายอภัย จันทนจุลกะ

นายนพดล เฮงเจริญ





นายอุดม ศักดิ์ นิติมนตรี




อดีต คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙



นายอักขราทร จุฬารัตน หม่อมหลวง ไกรฤกษ์ เกษมสันต์

นายอักขราทร จุฬารัตน
หม่อมหลวง ไกรฤกษ์ เกษมสันต์
นายสมชาย พงษธา นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ นายธานิศ เกศวพิทักษ์
นายสมชาย พงษธา นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์นายธานิศ เกศวพิทักษ์
นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ หัตถกรรม นายวิชัย ชื่นชมพูนุท
นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ หัตถกรรม นายวิชัย ชื่นชมพูนุท

http://www.constitutionalcourt.or.th/turakan_3.html

------------------------------------------------------

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court) เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน

  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีการลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน

  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา โดยการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 คน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งกับและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลต่อไปนี้

  1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน

  2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน

  3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน

  4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร ของวุฒิสภา หรือของรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยที่ศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้ง และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปของศาลยุติธรรม

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ เลขที่ 326 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


รายนามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

  1. นายอุระ หวังอ้อมกลาง (ศาลฎีกา) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (13 กรกฎาคม 2549)

  2. นายผัน จันทรปาน (ศาลปกครองสูงสุด)

  3. นายจิระ บุญพจนสุนทร (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)

  4. นายจุมพล ณ สงขลา (ศาลฎีกา)

  5. นายนพดล เฮงเจริญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)

  6. นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ (ศาลฎีกา)

  7. นายมงคล สระฏัน (ศาลฎีกา)

  8. นายมานิต วิทยาเต็ม (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)

  9. นายศักดิ์ เตชาชาญ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)

  10. พล.ต.อ สุวรรณ สุวรรณเวโช (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)

  11. นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ (ศาลฎีกา)

  12. นายสุธี สุทธิสมบูรณ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)

  13. ศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ อัศวโรจน์ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์)

  14. นายอภัย จันทนจุลกะ (ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์)

  15. นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (ศาลปกครองสูงสุด)

บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549)

ดูเพิ่มที่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุด พ.ศ. 2549 ได้สิ้นสภาพไปพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน

อ้างอิง

  • บรรเจิด สิงคะเนติ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เรื่อง ๔. ศาลรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๕๐), ส่วนที่ ๒ ศาลรัฐธรรมนูญ

แหล่งข้อมูลอื่น


http://th.wikipedia.org/wiki/ศาลรัฐธรรมนูญ_(ประเทศไทย)

------------------------------------------------------

FfF