บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


25 มีนาคม 2553

<<< คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) >>>

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ชื่อย่อ คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายเฉพาะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น ตั้งขึ้นตาม ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 [1] ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ประกอบด้วย

บทบาท และอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของ คตส.เป็นไปตาม ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 โดยเฉพาะข้อ 9 ได้บัญญัติว่า

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าผู้ดำรงตำแหน่างทางการเมืองหรือบุคคล ใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริต หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงานเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่างแต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็น ยืนยันความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแล้วแต่กรณี

คณะกรรมการชุดเดิม

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เป็นคณะกรรมการชุดใหม่ที่ตั้งขึ้นทดแทน คณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สิน ที่มีอำนาจตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติ หรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งตั้งขึ้นตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 23 [3] ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ หน่วยงานรองรับ ให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยขยายอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงความผิดอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ภาษีอากร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และตัดรายชื่อกรรมการที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรออกไป [4]

คณะกรรมการชุดเดิมที่มีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธาน ประกอบด้วย

การรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ทางสภามหาวิทยาลัยรังสิตได้มีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐทั้งหมด โดยได้รับปริญญานี้พร้อมกับ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา และนายวีระ สมความคิด นักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนด้วย[5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น



http://th.wikipedia.org/wiki/คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

--------------------------------------------------------

FfF