จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เป็นการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านพรรคพลังประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์การเมือง ในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 ซึ่งการชุมนุมยังคงมีเป้าหมายที่จะต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
หลังจากรัฐบาลผสมที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำรัฐบาลบริหารประเทศมาระยะ เวลาหนึ่ง กลุ่มพันธมิตรฯ ได้เริ่มชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคม โดยการจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และได้ประกาศชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการขับไล่นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐบาลทั้งสองชุดถูกมองว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในเดือนพฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรฯ ได้เข้าปิด ล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อต่อรองกับนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งส่งผลให้เที่ยวบินทุกเที่ยวหยุดทำการ[1] โดยนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กล่าว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสูญเสียรายได้ไปกว่า 350 ล้านบาท นอกจากนี้ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศยังสูญเสียรายได้กว่า 25,000 ล้านบาท โดยยังไม่รวมความเสียหายของสายการบินต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง[2] ก่อนหน้านี้ ในเดือนสิงหาคม ผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ปิดท่าอากาศยานภูเก็ตและท่าอากาศยานกระบี่ รวมทั้งปิดการเดินทางทางรถไฟสายใต้เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ลาออกมาแล้ว[3]
ต่อมาสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกไปจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองอย่างสงบ และกล่าวว่าการชุมนุมประท้วงกำลังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหายอย่าง มาก แถลงการณ์จากเอกอัครราชทูตอียูประจำประเทศไทยยังได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วม แก้ไข วิกฤตการณ์ทางการเมืองในไทยอย่างสันติ เคารพในกฎหมาย และสถาบันประชาธิปไตยของประเทศ และอียูเคารพสิทธิในการประท้วงและปราศจากการแทรกแซงปัญหาการเมืองภายในของ ไทย แต่เห็นว่าการกระทำของกลุ่มผู้ประท้วงในครั้งนี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาประเทศ
ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและ พรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ในวันรุ่งขึ้นแกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศยุติการชุมนุมทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง[4]
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ | |
---|---|
29 มกราคม | นายสมัคร สุนทรเวชจัดตั้งรัฐบาลผสม และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือก ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 |
28 มีนาคม | กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนไหวครั้งที่ 1 โดยการจัดสัมมนา "ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
25 เมษายน | เคลื่อนไหวครั้งที่ 2 โดยการจัดสัมมนา "ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ ครั้งที่ 2" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
25 พฤษภาคม | ประกาศชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และชุมนุมยื้ดเยื้อบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ |
5 มิถุนายน | เริ่มยุทธศาสตร์ดาวกระจายโดยเดินทางไปที่สำนักงานอัยการ สูงสุดและกระทรวงมหาดไทย |
20 มิถุนายน | ย้ายการชุมนุมมาที่หน้าทำเนียบรัฐบาล |
24 มิถุนายน | ต่อต้านแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาโดยยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะ รัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก |
7 กรกฎาคม |
|
19 สิงหาคม | ดาวกระจายไปยังสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย |
21 สิงหาคม | ดาวกระจายไปยังหน้ากระทรวงต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ทางกระทรวงเพิกถอนหนังสือเดินทางสีแดงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
26 สิงหาคม | เข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ที่ทำการกระทรวง 3 แห่ง และสำนักงานใหญ่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีความพยายามเล็กน้อยที่จะปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ |
27 สิงหาคม | ศาลอนุมัติหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ |
2 กันยายน | เกิดการ ปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปก. กับกลุ่มพันธมิตรฯ ส่งผลให้นายสมัคร สุนทรเวช ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผลถึงวันที่ 14 กันยายน |
9 กันยายน | ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช กระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีความผิดในเชิงผลประโยชน์ทับซ้อน จึงสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี |
17 กันยายน | นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้รับการลงมติเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรี |
6-7 ตุลาคม | ปิดล้อมอาคารรัฐสภา เพื่อกดดันไม่ให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา จนเกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา |
9 ตุลาคม | ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับคดีกบฏ |
24-25 พฤศจิกายน | เข้ายึดพื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้พื้นที่เป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราว พร้อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่งผลให้มีผู้โดยสารตกค้างเป็นจำนวนมาก และทำให้การคมนาคมทางอากาศของไทยถูกขัดขวาง |
2 ธันวาคม | ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่งผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี |
3 ธันวาคม | ประกาศยุติการชุมนุม |
สาเหตุที่นำมาสู่การชุมนุม
ภายหลังการเลือก ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเป็นแกนนำจัด ตั้งรัฐบาลสำเร็จ ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ไม่ได้จัดการชุมนุมใด ๆ ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาทำงานบริหารประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลนายสมัครต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและสื่อสาร มวลชนทั้งทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งไม่กระทำผิดเหมือนยุครัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[5]
อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชเข้ามาบริหารประเทศได้ระยะเวลาหนึ่ง ทางกลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ได้แทรกแซงการสื่อสารมวลชน รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม เช่น การย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่กำลังดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว ให้พ้นตำแหน่งอย่างเร่งด่วน และย้าย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ซึ่งมีความใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตร มารักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมสวนสวนคดีพิเศษ[5] การโยกย้ายอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา[6] และรัฐบาลยังประกาศอย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 237 และมาตรา 309 ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา รวม 164 คน ได้ยื่นหนังสือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพุธที่ 21 พฤษภาคม[7] ซึ่งทางกลุ่มพันธมิตรฯ เห็นว่า การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการหลบเลี่ยงการกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือก ตั้งที่จะนำไปสู่การยุบพรรคและต้องการยุบคณะ กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เพื่อตัดตอนคดีความที่กำลังดำเนินต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครอบครัวและพวกพ้อง ไม่ให้เข้าสู่การพิจารณาของศาล ตลอดจน ทำให้กระบวนการตรวจสอบนักการเมืองอ่อนแอลงจนไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายการเมือง ได้[8][9]
นอกจากนี้ ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ยังเห็นว่าได้เกิดขบวนการคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติชุมนุม หน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อขับไล่ให้ออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี และจาบจ้วงอย่างเสียหาย[10] อีกทั้งรัฐบาลให้มีรัฐมนตรีบางคนที่มีทัศนคติเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์มาเข้าร่วมบริหารงานในรัฐบาล จึงถือเป็นภัยต่อการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างยิ่ง[11]
ดังนั้น อดีตแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ จึงมีมติฟื้นสภาพโครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มขึ้นอีกครั้ง เพื่อเตรียมชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร และมีมติให้เคลื่อนไหวครั้งที่ 1 โดยการจัดสัมมนารายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ” ในวันที่ 28 มีนาคม[12] และอีกครั้งในรายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ ครั้งที่ 2” ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[13] และประกาศจัดการชุมนุมใหญ่ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เป็นต้นไป
สถานที่หลักในการชุมนุม
สะพานมัฆวานรังสรรค์
หลังจากการประกาศชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ทางกลุ่มพันธมิตรฯ มีมติที่จะเคลื่อนมวลชนไปหน้าทำเนียบรัฐบาลและปักหลักชุมนุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียกร้องและกดดันให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะแสดงความรับผิดชอบต่อความคิด ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือคนในระบอบทักษิณ และการบริหารประเทศที่ผิดพลาด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าปิดกั้นไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวชุมนุมที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลได้ ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเปลี่ยนมาชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนินนอก แทน[14] โดยมีการตั้งเวทีและปิดการจราจรบางส่วน เพื่อรักษาความปลอดภัยของกลุ่มพันธมิตรฯ จากฝ่ายต่อต้านซึ่งเข้ามาก่อความวุ่นวาย[15] ซึ่งการปิดการจราจรในครั้งนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบและร้องเรียนมายังกอง บังคับการตำรวจจราจรเป็นจำนวนมาก[16] โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้กล่าวถึงการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องมาปักหลักบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์แทนทำเนียบรัฐบาลว่า "เมื่อ 50 กว่าปีก่อน ตอนผมเรียนนักเรียนนายร้อยอยู่นานถึง 5 ปี ผมต้องเดินแถวอยู่บนถนนนี้ทั้งเช้าและเย็น ดังนั้น พวกตำรวจไม่รู้หรอกว่าผมรู้จักถนนนี้เป็นอย่างดี ผมจึงว่าสะพานมัฆวานฯ นั้นเป็นทำเลที่ดีกว่าทำเนียบรัฐบาลมาก" [17]
หลังการชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ผ่านไปได้ 5 วัน ในวันที่ 30 พฤษภาคม กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ยกระดับการชุมนุมจากการชุมนุมเพื่อต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการขับ ไล่รัฐบาลสมัครแทน[18][19] เช้าวันต่อมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีว่า จะทำการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุม บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ แต่ในที่สุดก็ไม่มีการสลายการชุมนุม[20]
กลุ่มพันธมิตรฯ ปักหลักชุมนุมอยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์อยู่จนถึงวันที่ 20 มิถุนายน จึงได้เคลื่อนการชุมนุมไปยังบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 7 กรกฎาคม ศาลแพ่งได้ตัดสินให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเปิดเส้นทางการจราจรบริเวณถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5[21][22] ดังนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ จึงได้ย้ายเวทีและที่ชุมนุมไปเป็นที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์เช่นเดิม โดยรูปแบบการชุมนุมจะคล้ายกับการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากตำแหน่ง แต่ครั้งนี้ได้หันเวทีปราศรัยไปยังพระบรมรูปทรงม้า[21]
หน้าทำเนียบรัฐบาล
หลังจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรผ่านไปได้ 27 วัน ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ ยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลนายสมัคร ดังนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ จึงประกาศเคลื่อนการชุมนุมไปยังทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 20 มิถุนายน โดยจะไม่เข้าไปในทำเนียบรัฐบาลและใช้แนวสันติวิธีปราศจากอาวุธ[23]
การเคลื่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ ใช้ชื่อว่า "ยุทธการสงคราม 9 ทัพ"[24] มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 25,000 คน โดยกลุ่มพันมิตรฯ สามารถฝ่าแนวสกัดกั้นของตำรวจผ่านไปได้และเข้ายึดพื้นที่การชุมนุมบริเวณ หน้าทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ โดยได้ตั้งเวทีปราศรัยบริเวณแยกนางเลิ้ง [25][26]
อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น มีการปิดถนนบริเวณ ถนนพระราม 5 บริเวณแยกเบญจมบพิตร ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกนางเลิ้งจนถึงแยกพาณิชยการ ซึ่งกลุ่มอาจารย์โรงเรียนราชวินิตมัธยมได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้กลุ่มมพันมิตร เปิดเส้นทางการจราจร ทำให้ศาลแพ่งตัดสินให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเปิดเส้นทางการจราจรบริเวณถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม[21][22] ดังนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ จึงตัดสินใจย้ายเวทีและที่ชุมนุมกลับไปเป็นที่บริเวณเชิงสะพานมัฆวาน รังสรรค์ดังเดิม
ทำเนียบรัฐบาล
กลุ่มพันธมิตรฯ ได้เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลขั้นสูงสุดอีกครั้งโดยการใช้ "ปฏิบัตการไทยคู่ฟ้า" เพื่อเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล[27] โดยให้เหตุผลในการเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลในครั้งนี้ว่า ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ถือว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมแล้ว จึงไม่ต้องมีการประชุมคณะรัฐมนตรีอีกต่อไป[28]
การบุกยึดทำเนียบรัฐบาลเริ่มตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 26 สิงหาคม และเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จในวันเดียวกันนั้นเอง ซึ่งกลุ่มพันธมิตรจะใช้ทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ชุมนุมตลอดไปจนกว่าจะได้รับ ชัยชนะ[29] ตั้งแต่มีการทำเนียบรัฐบาลในครั้งนี้ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเข้าประชุมคณะ รัฐมนตรีภายในทำเนียบรัฐบาลได้จวบจนสมัยของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[30]
ต่อมา ศาลแพ่งได้มีคำสั่งชั่วคราวให้กลุ่มพันธมิตรฯ รื้อถอนเวทีปราศรัยและสิ่งกีดขวางอื่นๆ ออกจากทำเนียบรัฐบาล และเปิดถนนพิษณุโลก ถนนราชดำเนินทุกช่องการ จราจร [31] อย่างไรก็ตาม แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งคุ้มครองของศาลชั้นต้นดังกล่าว[32] ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงใช้ทำเนียบรัฐบาลเป็นสถานที่ชุมนุมต่อไปจนกระทั่งกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศยุติการชุมนุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม
ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ดูบทความหลักที่ การบุกยึดท่าอากาศยาน ในประเทศไทย พ.ศ. 2551
ภายหลังการเข้ายึดท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งใช้เป็นที่ทำการทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสถานที่ชุมนุมนอก เหนือจากบริเวณทำเนียบรัฐบาล จนกระทั่ง วันที่ 1 ธันวาคม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณทำเนียบรัฐบาลย้ายการชุมนุมไปที่ท่า อากาศยานทั้งสองแทน เนื่องจากการต่อสู้ที่ท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่งได้ผลมากกว่าการปักหลักที่ทำเนียบรัฐบาลและมีความปลอดภัยต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนมากกว่า รวมทั้งเพื่อเปิดเส้นทางเสด็จฯ เนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคม กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้พื้นที่ชุมนุมบริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจน กระทั่งประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 3 ธันวาคม[33][34][35]
กลยุทธ์ในการชุมนุม
ยุทธศาสตร์ ดาวกระจาย
กลุ่มพันธมิตรฯ มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็น "ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย" หรือ "แผนสู้รบดาวกระจาย" โดยจัดกลุ่มมวลชน ประมาณ 200-300 คน แยกย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งนายสุริยะใส กตะศิลา กล่าวถึงสาเหตุที่พันธมิตรฯ ต้องจัดกลุ่มมวลชนไปยังที่ต่าง ๆ ว่า เพราะบางครั้งการดำเนินการเอาผิด พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ล่าช้าจนเกินไป โดยเฉพาะขั้นตอนก่อนส่งศาลถือได้ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ ความอยุติธรรม แต่อะไรที่ตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตำรวจจะดำเนินการเร็วมาก[36]
ยุทธศาสตร์ดาวกระจายนี้กลุ่มพันธมิตรฯ เคยใช้มาตั้งแต่การชุมนุมในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งนับเป็นกลไกหนึ่งของการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนไหวบ้าง ไม่ให้รู้สึกว่านิ่งเกินไป เงื่อนไขหลักของยุทธศาสตร์ดาวกระจายอยู่ที่การควบคุมผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องประสบการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรฯ เคยพิสูจน์มาแล้วในการเคลื่อนม็อบเมื่อปี 49 โดยไม่มีการปะทะหรือต้องเสียเลือดเนื้อ[37]
กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจายในการชุมนุมครั้งนี้เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน โดยนายสุริยะใส กตะศิลา และผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 300 คน ได้เดินทางไปที่สำนักงานอัยการ สูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด เพื่อยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าการสั่งฟ้องคดีทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมพรรคพวก[38] นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง [39] ซึ่งการดาวกระจายครั้งนี้เป็นไปตามคำแนะนำจากนักธุรกิจและนักวิชาการที่เข้า ร่วมกับพันธมิตรฯ ว่า ต้องมีการเคลื่อนไหวกดดันเพื่อทวงถามความคืบหน้าในคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเกรงว่าจะมีความล่าช้าจนเกิดการแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรม โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว คือ กรณีของนายสุนัย มโนมัยอุดม[40]
โดบจุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ดาวกระจายมักจะมุ่งเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่
- การดาวกระจายไปสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เพื่อเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในการทำคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้อง [41][42]
- การดาวกระจายไปสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย 2 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 19 สิงหาคม และ 30 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลอังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาประเทศไทยเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย[43][44]
- การดาวกระจายไปที่หน้ากระทรวงต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ทางกระทรวงทำการเพิกถอนหนังสือเดินทางสีแดง ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ได้เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้[45][46][47]
นอกจากนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ ยังเคลื่อนขบวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น การดาวกระจายไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือก ตั้ง เพื่อเรียกร้องให้ประธาน กกต. ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคำร้องทุจริตเลือกตั้งที่ถูกยกกว่า 700 คดี และให้ตรวจคำแถลงปิดคดีใบแดง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” ด้วยตัวเอง รวมทั้ง ยังให้กำลังใจ กกต. 3 คน คือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือก ตั้ง นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง และนายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯ ยังกล่าวว่า นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง มีพฤติกรรมที่แสดงออกเข้าข้างพรรคพลังประชาชนในทุกกรณี ตลอดจนอยู่ในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่บังอาจนำเสนอหลักฐาน อันเป็นเท็จต่อศาลฎีกานั้น ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งโดยทันที,[48] การดาวกระจายไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อทวงถามความคืบหน้าของคดีความที่มีคนในรัฐบาลเป็นผู้ต้องหาที่ยังคั่ง ค้างอยู่ รวมถึงสอบถามความคืบหน้าของคดีความที่เกี่ยวกับกลุ่มพันธมิตรฯ,[49][50][51] การดาวกระจายไปยังอาคารสำนักงานใหญ่การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย (ปตท.) ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อทวงคืน ปตท. จากตลาดหลักทรัพย์กลับคืนสู่ประชาชน[52] เป็นต้น
ยุทธการ สงคราม 9 ทัพ
ในการเคลื่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไปยังบริเวณทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้ชื่อการเคลื่อนการชุมนุมครั้งนี้ว่า "ยุทธการสงคราม 9 ทัพ" โดยได้กำหนดให้เคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมไปใน 9 เส้นทาง โดยใช้ถนนรอบทำเนียบรัฐบาล ได้แก่
- จุดที่ 1 - 3 อยู่ที่บริเวณพื้นที่การชุมนุมสะพานมัฆวานรังสรรค์
- จุดที่ 4 - 5 เลียบคลองผดุงกรุงเกษม
- จุดที่ 6 แยกนางเลิ้ง
- จุดที่ 7 ถนนด้านข้างกระทรวงศึกษาธิการเข้า มาจากแยกตึกแดง
- จุดที่ 8 เส้นทางเข้ามาจากลานพระบรมรูปทรงม้า
- จุดที่ 9 เข้ามาจากเส้นทางวัดเบญจมบพิตร
ซึ่งการเคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมในแต่ละจุดนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะประจำอยู่ตามแต่ละจุดซึ่งไม่มีการเปิดเผยและจะใช้วิธีการรุกคืบไประยะ ๆ โดยกำหนดเวลาการเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุมในแต่ละจุดจะไม่การกำหนดเวลา ที่ตายตัว แต่จะปล่อยให้เป็นอิสระของแกนนำแต่ละจุดที่จะเป็นผู้กำหนดและตัดสินใจเอง [53][54]
กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนขบวนปิดล้อมที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช [55] ซึ่งขบวนผู้ชุมนุมภายใต้การควบคุมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สามารถฝ่าการสกัดกั้นของตำรวจเข้ายึดพื้นที่แยกนางเลิ้งสำเร็จ พร้อมประกาศจะเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในส่วนขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้เคลื่อนขบวนถึงบริเวณแยกวังแดงใกล้คุรุสภา[56] ด้าน นปก. ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมของตนและกลุ่มจักรยานยนต์ปักหลักชุมนุมที่ ถนนราชดำเนินนอกหวังกด ดันให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่การจราจรบริเวณรอบถนนราชดำเนินนอกเป็นอัมพาต[57] เวลาต่อมา ขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุขสามารถฝ่าด่านของตำรวจที่สกัดไว้บริเวณแยกมิสกวันและมุ่งหน้านำ กลุ่มผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มของพลตรีจำลองที่แยกนางเลิ้งจนสำเร็จ[58] จนกระทั่ง เวลาประมาณ 15.30 น. พันธมิตรจึงประกาศชัยชนะในการยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ[59]
ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า
การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในการเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม นั้นใช้ชื่อว่า "ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า" โดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศว่าปฏิบัติการครั้งนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายไม่ชนะไม่เลิก ซึ่งเวลาในการเคลื่อนขบวนนั้นจะไม่ระบุบจนกว่าอีก 1 ชั่วโมงจะเคลื่อนขบวน โดยได้เตรียมทัพหน้า ทัพหลวง ทัพน้อย และ ทัพพิสดาร เอาไว้ และการปฏิบัติการครั้งนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน แต่หากไม่สำเร็จก็ได้เตรียมแผนสำรองไว้แล้ว [60]
สำหรับปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า แกนนำพันธมิตรฯ ได้แบ่งมวลชนออกเป็นหลายส่วน โดยแกนนำพันธมิตรฯ ส่วนหนึ่งได้ใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจายโดยนำมวลชนกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และอีกส่วนหนึ่งจะอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์และโดยรอบทำเนียบ รัฐบาล ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้เริ่มเข้าปิดล้อมบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล ทั้งด้านถนนพิษณุโลกและฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ ด้านสะพานอรทัย บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐและด้านสะพานเทวกรรม รังรักษ์ ตั้งแต่เช้ามืด[61] และปิดล้อมประตูเข้า-ออกทำเนียบรัฐบาลทั้ง 8 ประตู ในช่วงบ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมได้พังประตูเหล็กด้านตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการและ ทยอยเดินเท้าจากสะพานมัฆวานรังสรรค์เข้าไปรวมตัวกันบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ซึ่งผู้ชุมนุมบางส่วนได้ปีนเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลทางสะพานชมัยมรุเชษด้วย หลังจากนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนขบวนโดยใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจายเริ่มทะยอยเข้าสู้ทำเนียบและประกาศ ชัยชนะที่สามารถเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ[62][63][64]
ปฏิบัติการม้วนเดียวจบ
- ดูบทความหลักที่ การบุกยึดท่าอากาศยาน ในประเทศไทย พ.ศ. 2551
แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ มีมติให้จัดการชุมนุมใหญ่อีกครั้งโดยเรียกว่า ม้วน เดียวจบ ปฏิบัติการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเวทีขอแรงจากกลุ่มผู้ชุมนุมให้เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลในเวลา 04.00 น. เพื่อจะกระจายตัวไปตามที่ต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งยังไม่เป็นที่เปิดเผยว่าจะให้ทำอะไรบ้าง แต่ก่อนหน้านั้นได้มีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเดินทางไปยังสนามบินดอนเมือง และเข้ายึดพื้นที่ของสนามบินเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้สถานที่เป็นที่ประชุม คณะรัฐมนตรีได้
ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรฯ ประมาณ 1,000 คน เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้ นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการตั้งแถวสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 - 300 นาย แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดความรุนแรงจึงได้ถอยร่นมาเรื่อย ๆ จนถึงตัวอาคารและทำการชุมนุมอยู่ด้านนอกอาคารผู้โดยสาร ผู้ชุมนุมได้ทยอยเดินทางเข้ามาสมทบมากขึ้นประมาณ 20,000 คน[65] ทำให้การเดินทางทางอากาศไปสู่ท่าอากาศยานนานาชาติอื่น ๆ ต้องหยุดลงและสายการบินที่มีกำหนดลงจอด ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องไปลงจอด ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาแทน
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรักษาการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศหยุดทำการบินเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน หลังจากนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ท่า อากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง พร้อมกันนี้ได้ออกคำสั่งปลด พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับการชุมนุมได้และแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รักษาการแทน
ต่อมา พลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ออกหนังสือเปิดผนึกถึงนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการขึ้นลงของเครื่องบิน ขอให้เปิดท่าอากาศยานและทำการบิน โดยการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลการขึ้นลงเครื่องบินและดูแลรักษาความปลอดภัย ของเครื่องบินเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของนายเสรีรัตน์[66]
นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์มติชน ยังเรียกชื่อปฏิบัติการในการบุกยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า "ปฏิบัติการ ฮิโระชิมะ" (26 พฤศจิกายน) และในวันรุ่งขึ้น (27 พฤศจิกายน) เรียกว่า "ปฏิบัติ การนะงะซะกิ"[67]
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง
การต่อต้านแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
- ดูเพิ่มที่ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2551
สาเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ คือ การที่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ปล่อยให้รัฐบาลกัมพูชายื่นเรื่องให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว โดยปราศจากการเข้าร่วมยื่นบริเวณรอบเขาพระวิหารจากฝ่ายไทย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยของชาติ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรได้ออกแถลงการณ์ไว้ในแถลงการณ์ฉบับที่ 8/2551 ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม[68]
หลังจากนั้น ในวันที่ 24 มิถุนายน นายสุวัตร อภัยภักดิ์ พร้อมด้วยนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และคณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้ กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม. ที่รับรองการออกแถลงการณ์ ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่าแผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก ทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย[69]
นอกจากนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ ยังได้รวบรวมรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกได้จำนวน 9,488 รายชื่อ และได้มอบรายชื่อให้หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน โดยยอดรวมรายชื่อผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีจำนวนทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ซึ่งภายหลังจากการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ แล้ว ม.ล.วัลวิภา จรูญโรจน์ ได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย[70]
ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะ รัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ในการสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น มรดกโลกไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน เป็นต้นไป[71][72][73]
จากนั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม แกนนำพันธมิตรฯ ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้ไต่สวนดำเนินคดีกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ นายทหาร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีที่อาจทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือพื้นที่ทับซ้อน บริเวณรอบ ๆ ปราสาทพระวิหาร[74]
การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม หลังจากที่ผู้ชุมนุมจากจังหวัดต่าง ๆ ได้ทยอยสู่ที่ชุมนุมแล้ว เวลาประมาณ 20.30 น. บนเวทีแกนนำพันธมิตรทั้งรุ่นแรกและรุ่นที่สองได้ขึ้นเวทีพร้อมกัน และประกาศขยายพื้นที่การชุมนุมไปยังหน้าอาคารรัฐสภาทำการปิดล้อม เพื่อไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบายได้ในวันที่ 7 ตุลาคม โดยในส่วนหน้ารัฐสภานี้อยู่ภายใต้การดูแลของแกนนำพันธมิตรรุ่นสอง
เช้าวันที่ 7 ตุลาคม ตำรวจได้ระดมยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เพื่อให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์แถลงนโยบายต่อรัฐสภา พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ได้คว่ำบาตรการแถลงนโยบายครั้งนี้โดยไม่เข้าร่วมประชุม หลังจากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายเสร็จแล้ว ได้เดินทางออกจากรัฐสภาด้วยเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจ ไปยังกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อหารือกับผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพถึงสถานการณ์
ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาอีกหลายนัดเพื่อเปิดทางให้ ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งยังคงติดอยู่ภายในอาคารรัฐสภาออกไปได้ โดยการยิงแก๊สน้ำตานั้นยังคงยิงต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ผู้ชุมนุมพยายามจะเข้าไปในพื้นที่ บชน. แม้ว่าตำรวจจะประกาศห้ามแล้ว จึงมีการยิงแก๊สน้ำตาสกัดกั้นที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูป ทรงม้า ต่อมาภายหลังมีผู้ได้รับบาดเจ็บจนถึงขาขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย และมีผู้หญิงสาวเสียชีวิตด้วย รวมยอดผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 381 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งต้องตรวจสอบต่อไปว่าเกิดจากแก๊สน้ำตาหรือระเบิดปิงปองที่นำมาเองจากผู้ ชุมนุมด้วยกัน ในเหตุการณ์ครั้งนี้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 นายจากการโดนแทงคอด้วยด้ามธง และโดนรถของผู้ชุมนุมวิ่งเข้าชน รวมถึงถูกยิงด้วยลูกเหล็กและหัวน็อต[75]
หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น สังคมหลายภาคส่วนได้ประณามการกระทำของตำรวจครั้งนี้ หลังจากเหตุการณ์การปะทะกัน สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานหน่วยพยาบาลเพื่อให้ทำการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสามแสนบาทแก่โรงพยาบาลรามาธิบดีเพื่อเป็นการค่าใช้จ่าย ในการรักษา[76]
การงดปราศรัยทางการเมือง
แถลงการณ์ ฉบับที่ 27/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่อง ประกาศชัยชนะของประชาชน
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรฯ มีมติให้จัดงานเทิดพระเกียรติและร่วมกันแสดงความจงรักภักดีถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ สะพานมัฆวานรังสรรค์ พร้อมทั้งได้เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยมีการจุดเทียนชัยถวายพระพร การจุดพลุเฉลิมพระเกียรติ พร้อมทั้ง การร่วมกันร้องเพลงสดุดีมหาราชา และเพลงเทิดพระเกียรติอีกหลายเพลง[77]
นอกจากนี้ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทางกลุ่มพันธมิตรฯ ได้มีมติให้ยกเลิกการปราศรัยทางการเมืองบนเวที ตั้งแต่วันที่ 14 - 17 พฤศจิกายน และเปิดถนนราชดำเนินนอก พร้อมทำความสะอาดเพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจนถึงวันที่ 5 ธันวาคม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมชุมนุมแต่งกายชุดดำไว้ทุกข์เป็นจำนวนมาก โดยในคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน อันเป็นวันพระราชทานเพลิงพระศพ ทางแกนนำพันธมิตรฯ ได้ทำพิธีสักการะและน้อมส่งเสด็จฯ สู่สวรรคาลัย[78] [79]
การยุติการชุมนุม
หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวิจิฉัย เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม [80] พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 27/2551 ประกาศยุติการชุมนุมซึ่งใช้เวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การ เมืองไทยถึง 193 วัน เนื่องจากการชุมนุมได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ คือ
- สามารถพิทักษ์รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้เป็นผลสำเร็จ จนทำให้เกิดการยุบพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ทุจริตการเลือกตั้งถึง 3 พรรคการเมือง
- สามารถขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นผลสำเร็จ
โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กล่าวถึงผลจากคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ว่า แสดงให้เห็นว่าการได้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินที่ผ่านมานั้นไม่ใช่วิถี ทางของประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการได้มาซึ่งอำนาจด้วยการทุจริตการเลือกตั้ง และเป็นบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นความถูกต้องชอบธรรม เป็นที่ประจักษ์ ดังนั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงขอประกาศยุติการชุมนุมทั้ง ที่ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551[81][82]
คดีความ
กลุ่มพันธมิตรฯ มีคดีความที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในระหว่างการชุมนุมรวมทั้งสิ้น 36 คดี[83][84] โดยคดีความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่
กรณีการบุกยึดทำเนียบรัฐบาล
หลังจากเหตุการณ์บุกเข้าใช้ทำเนียบรัฐบาลเพื่อใช้เป็นสถานที่ชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ ในวันที่ 27 สิงหาคม องค์คณะผู้พิพากษาศาลอาญาไต่สวนคำร้องขออนุมัติออกหมายจับและได้อนุมัติ ออกหมายจับ 9 แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล, พลตรีจำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย, สมศักดิ์ โกศัยสุข, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สุริยะใส กตะศิลา, เทิดภูมิ ใจดี, อมร อมรรัตนานนท์ และ ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ โดยระบุว่า ผู้ต้องหาที่ 1-9 ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี มาตรา 114, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216[85]
ต่อมา ในวันที่ 3 ตุลาคม ขณะที่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ถูกหมายจับข้อหาเป็นกบฏได้เดินทางไปที่บ้านของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เพื่อผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและเดินทางกลับด้วยรถยนต์ส่วนตัว ได้ถูก พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี เข้าจับกุมตัวและนำตัวไปกักขังไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 คลอง 5 ปทุมธานี [86] [87] ถัดมา เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งและถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม โดยนำไปควบคุมตัวที่เดียวกับนายไชยวัฒน์ แต่ พล.ต.จำลองแสดงความจำนงว่าไม่ต้องการประกันตัวเช่นเดียวกับนายไชยวัฒน์[88] [89]
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับข้อหากบฏ 9 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและ ข้อหาซ่องสุมกำลัง โดยที่ศาลได้ให้เหตุผลในการถอนหมายจับว่าเป็นการตั้งข้อหาเลื่อนลอย แต่ศาลอุทธรณ์ยังให้คงหมายจับข้อหาผู้ใดกระทำการเพื่อให้เกิดการปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี มาตรา 116 ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้าน เมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216 [90] ในวันเดียวกันนี้ ศาลยังได้อนุมัติให้พลตรีจำลอง ศรีเมือง และนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ประกันตัวอย่างไม่มี เงื่อนไข[91]
นอกจากนี้ สำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรียังเข้าแจ้งความต่อแกนนำพันธมิตร 6 คนที่ร่วมกันบุกรุกทำเนียบรัฐบาลทำให้สวนหย่อมด้านหน้าเสียหาย เป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา[92]
กรณีการบุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ
การบุกยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตรส่งผลให้ถูก ดำเนินคดีความโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
คดีการบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมือง โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 1 และ 2 รวมทั้ง ผู้ประกาศเอเอสทีวีที่ร่วมดำเนินรายการเวทีปราศรัย รวม 27 คน ใน 4 ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 116 , 215 , 216 ที่มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร โดยเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และมาตรา 364 ที่บุกรุกสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น ซึ่งโทษสูงสุดอยู่ที่มาตรา 116 คือ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี
ส่วนคดีบุกรุกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ รุ่น 1 และ 2 รวมทั้งผู้ประกาศเอเอสทีวี ที่ร่วมดำเนินรายการเวทีปราศรัย รวม 25 คน ใน 7 ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 116 , 215 , 216 และ 364 ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกับสำนวนบุกรุกท่าอากาศยานดอนเมือง ส่วนข้อหาที่เพิ่มขึ้นมาอีก 3 ข้อหา ตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 135 ผู้ใดกระทำการใดๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท, มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2528 มาตรา 6 ทวิ ระวางโทษตั้งแต่ 5 - 20 ปี จำคุกตลอดชีวิต โดยโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต[93]
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก รวม 14 คน กรณีนำกลุ่มพันธมิตรฯ ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองโดยเรียกค่าเสียหายจำนวน 103,483,141.80 บาท จากนั้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 36 คน ในข้อหาความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหาย 575,229,059 บาท[94]
ผู้ร่วมชุมนุม
ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากความเครียดสะสม และต้องชุมนุมท่ามกลางสายฝนติดต่อกันหลายคืน โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลสาวของพันธมิตรรายหนึ่ง เปิดเผยว่า พันธมิตรได้เพิ่มเต็นท์พยาบาลเป็น 5 จุด ในทำเนียบ มีบริเวณด้านหน้าตึกสันติไมตรี บริเวณประตู 7 ขณะที่ภายนอกมี 3 จุด เรียงรายตั้งแต่สะพานมัฆวานไปจนถึงแยกมิสกวัน ทั้งนี้ยาส่วนใหญ่ที่ผู้ชุมนุมมาขอ มักเป็นยาแก้เจ็บคอ หรือยาแก้ไข เนื่องจากตากฝนหลายวัน ขณะที่วานนี้เริ่มมีผู้ชุมนุมมาขอยาแก้ท้องเสียเป็นจำนวนมาก โดยมีอยู่รายหนึ่งถึงกับต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ไม่ทราบว่ามาจากอาหารที่พันธมิตรแจกจ่ายหรือไม่ นอกจากนี้ ยาแก้แพ้ก็มีคนมาขอเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหญ้าหน้าสนามไทยคู่ฟ้าเริ่มเน่า ทั้งนี้ ยาที่หน่วยพยาบาลได้แจกจ่ายให้กับผู้ชุมนุมมากที่สุดคือยาดม เพราะผู้ร่วมชุมนุมส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ[95]
หลังจากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ ยุติลง นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้สรุปยอดผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 737 ราย เสียชีวิต 8 ราย โดยในจำนวน 8 รายนี้ เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 6 ราย ทั้งนี้ ศูนย์เอราวัณยังได้รวม นปช. ที่เสียชีวิตจากเหตุ ปะทะกันของกลุ่มพันธมิตรฯ กับกลุ่ม นปช. ได้แก่ นายณรงค์ศักดิ์ กอบไธสง ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แกนนำ นปช. ได้ระดมกำลัง นปช. จากสนามหลวงพร้อมอาวุธครบมือ ยกขบวนมาทำร้ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมอยู่บริเวณ สะพานมัฆวานฯ จนถูกการ์ดของกลุ่มพันธมิตรรุมทำร้ายจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 2 กันยายน [96]
ปฏิกิริยาของแต่ละฝ่าย
ฝ่ายรัฐบาล
จากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณถนนราชดำเนินนั้น รัฐบาลมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปเจรจาเพื่อให้กลุ่มพันธมิตรฯ ย้ายสถานที่ชุมนุมไปอยู่ในที่ที่ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งการชุมนุมเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้แต่การชุมนุมที่ไปละเมิดสิทธิของ ผู้อื่นนั้นไม่ควรกระทำและการชุมนุมนั้นส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ต่างประเทศระงับการลงทุนเพราะไม่สามารถเชื่อมั่นในการลงทุนได้[97] นอกจากนี้ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าหากการประท้วงดังกล่าวประสบความสำเร็จในการทำลายความน่าเชื่อถือของ รัฐบาล ก็จะสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ ทำลายโอกาสของงานและเงินที่ควรจะได้จากการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติ[98] รวมทั้ง กลุ่ม ส.ส. และอดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชน ยังได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสายตานานาชาติและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ของประเทศ[99]
ต่อมา นายจักรภพ เพ็ญแข ที่โดนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการหมิ่นเบื้องสูงอยู่ในขณะนั้นได้ประกาศลาออกจาก ตำแหน่งรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 พฤษถาคม ซึ่งนายจักรภพหวังว่าการลาออกในครั้งนี้จะทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันรัฐบาล [100] อย่างไรก็ตาม กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศยกระดับการชุมนุมเป็นการขับไล่รัฐบาลนายสมัครแทน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จึงประกาศจะสลายการชุมนุมด้วยกำลังตำรวจและทหารผ่านทางรายการพิเศษทางช่อง 9 และ NBT แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
หลังจากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับกลุ่มพันธมิตรฯ ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมจากกลุ่ม นปช. เสียชีวิต 1 คน รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร จนกระทั่ง วันที่ 14 กันยายน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้ร่วมกันแถลงยกเลิกประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อมกันนี้นายสมชายยังได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เพื่อยุติความรุนแรงและความขัดแย้ง [101]
ฝ่ายที่สนับสนุน
พนักงานเดินรถไฟการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยสหภาพท่าเรือ สหภาพการบินไทย สหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สหภาพการประปาและสหภาพขสมก. นัดหยุดงานเพื่อกดดันให้รัฐบาลลาออก ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯ จังหวัดภูเก็ต สงขลา และกระบี่ ร่วมกันปิดสนามบินภูเก็ต หาดใหญ่ และกระบี่ งดเที่ยวบินขึ้น-ลง ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ มีผลให้ผู้ที่กำลังเดินทางขึ้นเครื่องบินต้องกลับไปยังที่พักเพื่อรอดู สถานการณ์ [102] นอกจากนี้ นาวาอากาศตรีคฑาทอง สุวรรณทัต กัปตันเครื่องบินโบอิง 737-400 เที่ยวบินในประเทศ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เดินทางมาขึ้นเวทีปราศรัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในบริเวณทำเนียบรัฐบาล หลังจากเสร็จภาระกิจการขับเครื่องบิน[103]
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่ม 40 ส.ว.ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ รัฐบาลหลีกเลี่ยงใช้ความรุนแรงต่อประชาชนที่ชุมนุมกันอย่างสันติ จากนั้นเรียกร้องให้เลื่อนการประชุมรัฐสภาในวันที่ 7 ตุลาคม หลังจากรัฐบาลสั่งให้สลายการชุมนุม และได้ประท้วงด้วยการไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภา เนื่องจากไม่ต้องการเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้กับการแถลงนโยบายของ รัฐบาล ขณะที่ประชาชนถูกทำร้ายอยู่หน้ารัฐสภา รวมถึงการตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในปัญหาความรุนแรงดังกล่าว และเรียกร้องทุกภาคส่วนทั้งในและนอกประเทศร่วมกันกดดันรัฐบาลไทย ให้ยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน รวมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดให้ไต่ สวนฉุกเฉิน เพื่อหยุดยั้งการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลโดยทันที ตลอดจนเรียกร้องให้สอบสวน และดำเนินการทางกฎหมายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนไทย ฉะนั้น ในฐานะที่ OHCHR เป็นหน่วยงานสำคัญขององค์การสหประชาชาติที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเป็น สำนักเลขาธิการของคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กลุ่ม 40 ส.ว.จึงขอเรียกร้องให้ OHCHR ใช้ความพยายามในการกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อหยุดยั้งและป้องกันการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในประเทศไทย[104]
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สภาทนายความได้ออก แถลงการณ์สภาทนายความ เรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนที่ขัดรัฐธรรมนูญและขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นในคดีที่กล่าวหาแกนนำ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นกบฏและข้ออื่น ๆ เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการใช้อำนาจที่เหลื่อมล้ำและไม่ชอบธรรมกับประชาชนที่ สุจริต ซึ่งเรื่องนี้สภาทนายความไม่คัดค้านให้ความเห็นแย้งมาโดยตลอดว่ากระบวนการ ใช้อำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณความอาญาที่พนักงานสอบสวนมักอ้าง เสมอว่าจะขออำนาจศาลให้คุมตัวผู้ต้องหา เป็นกรณีที่ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมและขัดกับหลักกฎหมายโดยชัดแจ้ง สภาทนายความจึงขอแถลงการณ์มาเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโปรดพิจารณาไตร่ตรอง และดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้สมจริงตามหลักนิติธรรมและมาตรฐาน สากลทั่วโลก 7 ข้อ[105]
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
ในคืนวันที่ 19 มิถุนายน กลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยแนวร่วม ประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการได้เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาหยุดอยู่ที่บริเวณสี่ แยก จ.ป.ร. และเผชิญหน้ากับตอนท้ายขบวนของพันธมิตรฯ โดยยังไม่มีเหตุปะทะกัน ด้านตำรวจได้จับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง[106][107]
จากนั้น วันจันทร์ที่ 1 กันยายน กลุ่มนปก.จำนานหลายพันคนบุกผ่านแยกจปร.และ หน้าสถานีตำรวจนางเลิ้งเข้าปะทะกับการ์ดของฝ่ายพันธมิตร โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ห้ามปราม โดยอ้างว่าต้องการจะยึดทำเนียบคืน จึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ขณะเดียวกันทหารจากกองทัพภาคที่ 1 ได้เสริมกำลังด้วยโล่ และกระบองมากั้นระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย
วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่สนามหลวงก็มีการชุมนุมของแนว ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งก็เป็นไปอย่างสงบเช่นเดียวกัน โดยก่อนหน้านี้ แกนนำ นปช.ได้ปราศรัยถึงการทำหน้าที่ของตำรวจในการสลายการชุมนุมว่าถูกต้องแล้ว ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ที่จะบุกยึดทำเนียบรัฐบาลคืนมา[108]
ปฏิกิริยาจากต่างชาติ
รัฐบาลของประเทศ จีน, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น ต่างได้เดือนพลเมืองของประเทศให้หลีกเลี่ยงที่จะเดินทางมายังประเทศไทย และหลีกเลี่ยงผู้ชุมนุมที่สนามบิน[109]
สหภาพยุโรป ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกไปจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมืองอย่างสงบ และกล่าวว่าผลกระทบจากการชุมนุมประท้วง ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างถึงกว่า 100,000 คน กำลังทำให้ภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศไทยเสียหายอย่างมาก[110][111]
กอร์ดอน ดูกิด โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "การปิดสนามบินไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องในการประท้วง" และพันธมิตรฯ ควรเดินออกจากสนามบินอย่างสงบ[112][113]
ผลกระทบ
ด้านสังคม
การปิดถนนกีดขวางการจราจรบริเวณถนนราชดำเนินนอก เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นส่งผลให้การจราจรติดขัดทุกเส้นทางโดยรอบ[114] และยังได้รับความเดือดร้อนจากการที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายมาชุมนุมบริเวณ หน้าทำเนียบรัฐบาลซึ่งได้ปิดถนนพระราม 5 แยกวัดเบญจมบพิตร ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกนางเลิ้งถึงแยกพณิชยการ ที่เป็นทางสาธารณะและได้ตั้งเวทีปราศรัยบริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์
อีกทั้งการปราศรัยผ่านเครื่องกระจายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้รบกวนโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงจนต้องยื่นฟ้องแกนนำพันธมิตรฯ โดยกลุ่มอาจารย์ คณะกรรมการนักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนราชวินิตมัธยม ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ต่อพลตรีจำลอง ศรีเมือง กับพวกรวม 6 คน กรณีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยที่ปิดถนนพระราม 5 บริเวณแยกเบญจมบพิตร ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่แยกนางเลิ้งจนถึงแยกพาณิชยการ โดยนักเรียนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จากการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการทำละเมิด จึงขอให้ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย้ายสถานที่ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ศาลได้มีการนัดพร้อมคู่ความในวันที่ 18 กันยายน เวลา 13.00 น.[115][116] นายพิภพ ธงไชย แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับโรงเรียนราชวินิตมัธยม และจะยอมรับคำตัดสินของศาลแพ่ง[117]
เนื่องจากพันธมิตรชุมนุมแล้วนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศพรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ทุกสถานศึกษาต้องหยุดอย่างน้อย 2 วัน ( 2 - 3 กันยายน ) บางโรงเรียนถึง 1 สัปดาห์
ด้านเศรษฐกิจ
เมื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยก็เริ่มได้รับผลกระทบ โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยร่วงลงมามากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์[118] ซึ่งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินการคลัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง กระทบต่อบรรยากาศการใช้จ่ายของภาคประชาชนด้วย โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถสะท้อนถึงสถานการณ์การเมืองและความมั่น คงของประเทศ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงหากเหตุการณ์ยังยืดเยื้อต่อไป คือ ด้านการท่องเที่ยว เพราะในไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพารายได้จากส่วนนี้ค่อนข้างมาก โดยรายได้ส่วนนี้คิดเป็นร้อยละ 8 ของจีดีพี หากสถานการณ์การชุมนุมยังยืดเยื้อ ก็อาจมีผลทำให้นักท่องเที่ยวชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศ [119]
นอกจากนี้ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องปิดให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม ทำให้ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 350 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความเสียหายของผู้ประกอบการการขนส่งสินค้าทาง อากาศที่ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้อีกประมาณกว่า 25,000 ล้านบาทและยังไม่รวมความเสียหายของสายการบินต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง[2]
ส่วนปฏิกิริยาของตลาดหุ้นไทยนั้น พบว่า ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลง -56.7% ในสกุลเงินเหรียญสหรัฐ หรือลดลงมากกว่าตลาดสหรัฐประมาณ 20% ซึ่งมีเหตุผลหลายประการตั้งแต่การขายสุทธิของกองทุนต่างชาติ จนถึงการถูกบังคับขายโดยโบรกเกอร์เพื่อรักษามูลค่าหลักประกันของลูกค้าไว้จะ ได้ไม่ต้องเรียกหลักประกันเพิ่ม และอีกเหตุผลหนึ่ง คือ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[120]
สำหรับระดับความน่าเชื่อถือของประเทศนั้น นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งจะทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเร่งชี้แจงให้นักลงทุนและชาวต่างชาติเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะสื่อทั่วโลกได้มีการนำเสนอเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมและตำรวจอย่าใช้ความรุนแรงในการชุมนุม เพื่อไม่ให้เหตุการณ์บานปลายมากกว่านี้[121]
อย่างไรก็ตาม นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่หากการชุมนุมยิ่งยืดเยื้อก็อาจจะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้น[122]
ในขณะที่ Standard & Poor’s (S&P) และ Fitch ได้ประกาศปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยลงจากปัญหาทางการเมืองใน ประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 S&P ได้ประกาศทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลงสู่ 'เชิงลบ' จากเดิม 'มีเสถียรภาพ' อย่างไรก็ตาม S&P ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับตราสาร หนี้สกุลเงินต่างประเทศ และสำหรับตราสาร หนี้สกุลเงินในประเทศไว้ที่ระดับเดิม คือ 'BBB+/A-2' และ 'A/A-1' ตามลำดับ โดย S&P มองว่า การยึดครองสนามบินนานาชาติทั้ง 2 แห่งโดยกลุ่มพันธมิตรฯ เพิ่มความเสี่ยงต่ออันดับความน่าเชื่อถือและเศรษฐกิจของประเทศไทย[123]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ^ พธม.ยอมปล่อยผู้โดยสารติดค้าง 3 พันคน ในอาคารสุวรรณภูมิ หลังขาดแคลนน้ำ-อาหาร เหตุร้านปิดบริการ ข่าวจากมติชน
- ^ 2.0 2.1 มติชน, ทอท.สูญรายได้แล้วกว่า 350 ล้านบาท, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ Airports still shut, trains not running Bangkok Post. August 31, 2008.
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ แถลงประกาศชัยชนะ-ยุติชุมนุมทุกจุด 3 ธ.ค., เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ 5.0 5.1 แถลงการณ์ฉบับที่ 1/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ^ “พันธมิตรฯ” กวักมือเรียก “แม้ว” เตือนอย่าแทรกแซงศาล
- ^ วิบากกรรม'สมัคร1' พลิกเกมแก้รธน.ติดบ่วง'จักรภพ' หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2325 25 พ.ค. - 28 พ.ค. 2551
- ^ พันธมิตรฯ นัดชุมนุมใหญ่ 25 พ.ค.ต้านล้ม รธน.50 - ล่าชื่อถอด ส.ส.ยื่นญัตติฟอกมาร
- ^ พันธมิตรฯ ลั่น! ต้านอาชญากร ปชต.ล่าชื่อยื่นถอดถอน “พลังแม้ว” แก้ รธน.เพื่อตัวเอง
- ^ คมชัดลึก, "เสรีพิศุทธ์"ประชุมนครบาล จี้ออกหมายจับแกนนำนปก.เพิ่ม, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 23 กรกฎาคม 2550
- ^ พันธมิตรฯ แถลงจี้ “หุ่นเชิด” หยุดสร้างเงื่อนไขรัฐประหาร!. ASTVผู้จัดการออนไลน์ (9 ธันวาคม 2552). สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2551
- ^ แถลงการณ์ฉบับที่ 3/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ^ แถลงการณ์ฉบับที่ 7/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ^ ตร.ตรึง “พันธมิตรฯ” ปักหลักยาวสะพานมัฆวานฯ-หวั่นอีกเด็กแว้นบุกป่วนคืนนี้
- ^ พันธมิตรปักหลักสะพานมัฆวาน ส่งแกนนำยื่นหนังสือต่อปธ.วุฒิ
- ^ พันธมิตรฯแถลงปิดถนนเชิงสะพานมัฆวานฯ ถาวรแล้ว
- ^ “จำลอง” ชี้ยึดชัยภูมิมัฆวานฯ ชนะแน่
- ^ "พันธมิตร"ยกระดับต่อสู้ ไล่รบ."สมัคร" อ้างถอนญัตติรธน.อำพราง
- ^ หลัง 20 มิถุนายน 2551 !!! ประเทศไทยจะไปทางไหน?
- ^ http://news.hunsa.com/detail.php?id=9673 'สมัคร'ถอย! สั่งห้ามสลายม็อบพันธมิตรฯ 'เฉลิม'อ้างสกัดแผนมือที่สามหวังป่วนสำเร็จ
- ^ 21.0 21.1 21.2 “พันธมิตรฯ” ไม่ขัดศาลแพ่งรื้อเวที “สนธิ” นำขบวนปักหลักมัฆวานฯ
- ^ 22.0 22.1 ศาลแพ่งสั่งรื้อเวทีพันธมิตร! เปิดทุกช่องจราจรพระราม5-พิษณุโลก คม ชัด ลึก วัน จันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
- ^ “พันธมิตรฯ” แถลงเคลื่อนขบวนด้วยความสงบ-อหิงสา-ปราศจากอาวุธ
- ^ คมชัดลึก, พันธมิตรฯ ใช้ "ยุทธการสงคราม 9 ทัพ" บุกประชิดทำเนียบ , 19 มิถุนายน 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, นาทีต่อนาที! พันธมิตรฯ เคลื่อนพลดาวกระจายล้อมทำเนียบไล่รัฐบาลหุ่นเชิด, 20 มิถุนายน 2551
- ^ The Bangkok Post, On to Government House June 20, 2008.
- ^ เมื่อพธม.ยกระดับการต่อสู้?
- ^ ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า ยึดทำเนียบรัฐบาล
- ^ พันธมิตรฯถอนทัพจาก "เอ็นบีที" สมทบทำเนียบฯ นำกลุ่มชายฉกรรจ์บุก NBT ฝากขังศาลอาญาแล้ว
- ^ "ชายกระโปรง"คนไร้ทำเนียบ!ติดบ่วง กรรมสั่งฆ่าประชาชน
- ^ ศาลแพ่งสั่งพันธมิตร-ผู้ชุมนุม ย้ายออกจากทำเนียบทันที
- ^ ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่ง "คุ้มครองชั่วคราว" ไล่พันธมิตร
- ^ ผวาบึ้ม"จำลอง"สั่งทิ้งทำเนียบ ขนของจ้าละหวั่น ย้ายปักหลัก"ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ"ทิ้งการ์ดรักษาพื้นที่. มติชนออนไลน์ (1 ธันวาคม 2551). สืบค้นวันที่ 11 ตุลาคม 2552
- ^ พันธมิตรฯ ทำเนียบสมทบดอนเมือง-สุวรรณภูมิ. ASTVผู้จัดการออนไลน์ (1 ธันวาคม 2551). สืบค้นวันที่ 11 ตุลาคม 2552
- ^ พันธมิตรฯหนีระเบิดสละทำเนียบ ย้ายปักหลักดอนเมือง-สุวรรณภูมิ. คม ชัด ลึก (1 ธันวาคม 2551). สืบค้นวันที่ 11 ตุลาคม 2552
- ^ ผ่าแผน "ดาวกระจาย" ยุทธวิธี-กดดันล้วงตับรัฐ
- ^ เวทีพันธมิตรฯ ชีพจรที่ไม่เคยหยุดเต้น
- ^ พันธมิตรฯ เริ่มแผนดาวกระจายเร่งรัด “อสส.” สั่งคดี “แม้ว”
- ^ พันธมิตรฯ เริ่มแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจายแล้ว
- ^ พันธมิตรฯ เริ่มแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจายแล้ว
- ^ พันธมิตรฯ ไม่หวั่นเดินหน้าบุก ก.ล.ต.-DSI เปิดโปงพิรุธคดี “แม้ว”
- ^ The Bangkok Post, PAD considering moving to new site, June 7, 2008.
- ^ “พันธมิตรฯ” หลายหมื่นเคลื่อนขบวน บุกสถานทูตอังกฤษ จี้ลากคอ “แม้ว-อ้อ” มาลงโทษ
- ^ พันธมิตรฯ เตรียมดาวกระจาย 30 ต.ค.ยื่นหนังสือต่อสถานทูตอังกฤษส่ง “แม้ว” รับโทษ
- ^ The Nation, PAD begins rallying in front of MFA building to protest Preah Vihear Temple map, June 18, 2008.
- ^ Saritdet Marukatat, The Bangkok Post, This land is my land! June 18, 2008.
- ^ ผู้จัดการออนไลน์, พันธมิตรฯ ทั่ว ปท.บุกกรุง!ฮือขับไล่“นพดล”ย่ำยีหัวใจไทย!! 18 มิถุนายน 2551
- ^ The Nation, PAD rally to support EC will see streets closed June 16, 2008.
- ^ The Naion,PAD-led protesters march to police head office, July 7, 2008.
- ^ เดินทางไปสตช. เรียกร้องให้ตำรวจดำเนินคดีต่างๆด้วยความยุติธรรม ไม่อิงกับฝ่ายการเมือง กลุ่มพันธมิตรฯ เดินทางไปสตช. เรียกร้องให้ตำรวจดำเนินคดีต่างๆด้วยความยุติธรรม ไม่อิงกับฝ่ายการเมือง
- ^ พันธมิตรฯบุก สตช.ตามยุทธศาสตร์ดาวกระจาย
- ^ พันธมิตรฯ เคลื่อนพลเยือน ปตท.ทวงคืนสมบัติชาติ (1)
- ^ งัดยุทธการสงคราม9ทัพบุกทำเนียบ
- ^ พันธมิตรฯ ใช้ "ยุทธการสงคราม 9 ทัพ" บุกประชิดทำเนียบ
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, นาทีต่อนาที! พันธมิตรฯ เคลื่อนพลดาวกระจายล้อมทำเนียบไล่รัฐบาลหุ่นเชิด, 20 มิถุนายน 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ ยึดทำเนียบเบ็ดเสร็จ ปักหลักไล่ซ่องโจร!, 20 มิถุนายน 2551
- ^ กรุงเทพธุรกิจ, นปก.ขนม็อบจักรยานยนต์ปิดราชดำเนิน นอก, 20 มิถุนายน 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, ด่านนางเลิ้งแตก! พันธมิตรฯ ร่วมแสนเคลื่อนรวมพลเต็มถนน, 20 มิถุนายน 2551
- ^ โพสท์ทูเดย์, พันธมิตรประกาศชัยชนะ, 20 มิถุนายน 2551
- ^ พันธมิตรประกาศ ยุทธการ"ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า" "สมัคร"ฟ้องประชาชนจับตามือที่สามป่วน
- ^ ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า
- ^ พันธมิตรเคลื่อนพลออกจากเอ็นบีที พร้อมลำดับเหตุการณ์บุกทำเนียบ
- ^ ลำดับเหตุการณ์ พันธมิตรปฏิวัติยึดทำเนียบฯ
- ^ นาทีต่อนาที'พันธมิตร' ยึด NBT-ทำเนียบรัฐบาล
- ^ สื่อนอกชี้ พธม.ยึดสนามบินแทบไม่มีใครได้ประโยชน์ แถมนักท่องเที่ยวตกค้างอื้อ
- ^ ASTVผู้จัดการออนไลน์ “พล.ต.จำลอง” ยื่น จม.เปิดผนึกจี้ “เสรีรัตน์” เปิดสนามบิน-ยันพันธมิตรฯ ไม่เคยขวาง 30 พฤศจิกายน 2551 17:15 น.
- ^ มติชนออนไลน์. พธม.เรียกยึดสุวรรณภูมิเป็นปฏิบัติ การฮิโรชิม่า. สืบค้นเมื่อ 06-12-2552
- ^ แถลงการณ์ฉบับที่ 8/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ^ เปิดคำฟ้องศาลปกครอง ระงับ “หุ่นเชิด” ยกดินแดนให้เขมร
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ มอบรายชื่อสมทบ ไทยคดีฯ มธ.ค้านขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร, 27 มิถุนายน 2551
- ^ ไทยรัฐ, ศาลปค.สั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับมติครม.17 มิ.ย., 28 มิถุนายน 2551
- ^ คำสั่งศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครอง “ปราสาทพระวิหาร”
- ^ The Nation, Court to decide injunction on PAD-led protest Monday, Saturday June 28, 2008.
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ ยื่น ป.ป.ช.แล้ว สอบเอาผิด ครม.-“แม้ว” ขายพระวิหาร, 14 กรกฎาคม 2551
- ^ ตำรวจปะทะฝูงชน นองเลือด! พันธมิตรหญิงดับ
- ^ ผู้จัดการออนไลน์, เกาะติด นาทีหฤโหด! ทรราชคลั่งอำนาจใช้กำลังสลายพันธมิตรฯหน้ารัฐสภา, 7 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯ ถวายพระพร"พระราชินี"-เปล่งเสียง"ทรงพระเจริญ"กึกก้อง, 12 สิงหาคม 2551
- ^ ไทยรัฐออนไลน์, พธม.งดแถลง-จ้อการเมือง , 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, พันธมิตรฯน้อมส่งเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ สู่สวรรคาลัย, 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
- ^ ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ เดอะ เนชั่น, PAD cease all protests, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ พันธมิตรฯ ออกแถลงการณ์ประกาศชัยชนะ
- ^ ทนายเผยพันธมิตรฯ โดนฟ้องอ่วม 36 คดี-แย้มไม้เด็ดสู้ “แม้ว”ปลอมลายเซ็น. ASTVผู้จัดการออนไลน์ (24 มกราคม 2552). สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2552
- ^ นายกฯเผย 32คดีพันธมิตร สำนวนปิดสุวรรณภูมิไม่คืบ. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (22 มกราคม 2552). สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2552
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, หมายจับ 9 พันธมิตร! “โกวิท” เหิมสั่งออกจากทำเนียบทันที, 27 สิงหาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ,พันธมิตรฯ เฉ่งรัฐบาลตีสองหน้า-ชี้ใบสั่งการเมืองรวบ “ไชยวัฒน์”, 3 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ,ขังที่ ตชด.คลอง 5 “ไชยวัฒน์” ขอบคุณทุกกำลังใจลั่นสู้ไม่ถอย, 3 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, นาทีต่อนาที! “พล.ต.จำลอง” ถูกจับ และความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั่วประเทศ, 5 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, อดีตอธิบดีตำรวจ ยันพันธมิตรฯ ไม่เข้าข่ายกบฎ เตือน รบ.ดื้อดึงยัดข้อหา ความอดทน ปชช. ก็มีจำกัด, 5 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, ศาลอุทธรณ์ถอนหมายจับข้อหากบฏ 9 แกนนำพันธมิตรฯ, 9 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, ศาลให้ประกัน “จำลอง-ไชยวัฒน์” ไร้เงื่อนไข!!, 9 ตุลาคม 2551
- ^ พันธมิตรฯ ปฏิเสธคดีทำหญ้าทำเนียบตายเสียหาย 6 ล้าน
- ^ ออกหมายเรียกพธม.-"กษิต"คดียึดสนาม บิน. คมชัดลึก (4 กรกฎาคม 2552). สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2552
- ^ “การบินไทย” ฟ้องพันธมิตรฯ เรียก 575 ล้าน!. เอเอสทีวีผู้จัดการ (9 ธันวาคม 2552). สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม 2552
- ^ พันธมิตรกินไม่อั้น! ขยะท่วม ส้วมเต็ม ขี้ใส่ถุง
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, สรุปยอดผู้ได้รับบาดเจ็บหลัง พันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม เจ็บ 737 ตาย 8, เรัยกข้อมูลวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ โฆษกรัฐบาลเตือนพันธมิตรฯ อย่าใช้กฏหมู่ เหนือกฎหมาย. คม ชัด ลึก (7 มิถุนายน 2551). สืบค้นวันที่ 27 กันยายน 2552
- ^ นพดลชี้การชุมนุมพันธมิตรฯ ส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศ. คม ชัด ลึก (7 มิถุนายน 2551). สืบค้นวันที่ 27 กันยายน 2552
- ^ สุภโกศล, นภาเพ็ญ (22 มิถุนายน 2551). กลุ่ม ส.ส. และอดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน. สำนักข่าวแห่งชาติ. สืบค้นวันที่ 27 กันยายน 2552
- ^ “เพ็ญ” แถลงลาออกแล้ว อ้างเพื่อ “รักษาขุนให้อยู่รอด”. เอเอสทีวีผู้จัด การออนไลน์ (30 พฤษภาคม 2551). สืบค้นวันที่ 27 กันยายน 2552
- ^ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินมีผลวันนี้ สมชาย วอนยุติความขัดแย้ง. กระปุกดอตคอม (14 กันยายน 2551). สืบค้นวันที่ 13 ตุลาคม 2552
- ^ สนามบินภูเก็ตปิดไม่มีกำหนด-สนามบิน สุราษฎร์ฯ วุ่นอีกแห่ง
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, เซอร์ไพรส์! กัปตันการบินไทยขึ้นเวทีพันธมิตรฯ, 28 สิงหาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, ส.ว.ร้องยูเอ็น! ค้าน รบ.โจรตั้ง คกก.สอบโจรเหตุ 7 ตุลาทมิฬ , 10 ตุลาคม 2551
- ^ เอเอสทีวีผู้จัดการ, สภาทนายฯ ตั้งคณะทำงาน กม.ช่วยประชาชนถูกตำรวจทำร้าย, 10 ตุลาคม 2551
- ^ มติชน, พันธมิตรเตรียมเคลื่อนบุก ทำเนียบ'จำลอง' ย้ำห้ามพกอาวุธ ตร.ระดมกำลัง5พันรับมือ, 19 มิถุนายน 2551
- ^ ประชาไท, สถานการณ์การชุมนุม มัฆวาน – สนามหลวง คืนก่อนวันทุบหม้อข้าว, 19 มิถุนายน 2551
- ^ พล.ต.อ.สล้าง ยืนยันยึดทำเนียบฯ คืนจากพันธมิตรฯ
- ^ AFP, Defiant Thai PM rejects army pressure to quit, 26 November 2008
- ^ "EU Says Airport Protests Damaging Thailand's Image", Deutsche Welle, 2008-11-29. สืบค้นวันที่ 2008-11-29
- ^ Ringborg, Maria. "Polis borttvingad från Bangkoks flygplats", Dagens Nyheter, 2008-11-29. สืบค้นวันที่ 2008-11-29 (ในSwedish)
- ^ Blast Prompts Thai Protesters to Seek Police Patrols. New York Times. สืบค้นวันที่ 2009-02-19
- ^ US : PAD should walk away from airports. สืบค้นวันที่ 2009-02-19
- ^ จ่อออกหมายเรียก “แกนนำพันธมิตรฯ” รับข้อหาก่อความเดือดร้อน-กีดขวางจราจร
- ^ พันธมิตรฯ ยอมรับคำสั่งศาล กรณีสร้างความเดือดร้อนให้โรงเรียนใกล้เคียง
- ^ ไทยรัฐ, ศาลนัดฟังคำสั่ง30มิย. ครู-นร.ฟ้องพันธมิตรปิดถนน, 27 มิถุนายน 2551
- ^ Daily News Online, พันธมิตรฯ พร้อมทำตามคำสั่งศาล หลังถูกนร.ฟ้อง, 28 มิถุนายน 2551
- ^ CNNตีข่าวม็อบพันธมิตรทั่วโลก ชี้เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- ^ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ ห่วงเหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรกระทบท่องเที่ยว
- ^ โพสต์ทูเดย์, เราใกล้ถึงจุดต่ำสุดหรือยัง?, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ^ ส.อ.ท.ชี้พันธมิตรฯ ชุมนุมส่งผลภาพลักษณ์-ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น
- ^ TDRI มองพันธมิตรฯ ชุมนุม ไม่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจ
- ^ กรุงเทพธุรกิจ, หุ้นไทยภาคเช้าปิดที่391.28จุด บวก0.36จุด, เรียกข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
http://th.wikipedia.org/wiki/การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย_พ.ศ._2551
--------------------------------------------------------------
FfF