จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุการณ์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดล้อมอาคารรัฐสภาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อกดดันไม่ให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อที่ ประชุมรัฐสภา โดยอ้างว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรมที่จะเข้ามาบริหารประเทศ และไม่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ[1]จน เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในวันที่ 7 ตุลาคม
ในวันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ผู้ชุมนุมจากจังหวัดต่าง ๆ ได้ทยอยสู่ที่ชุมนุมแล้ว เวลาประมาณ 20.30 น. แกนนำพันธมิตรทั้งรุ่นแรกและรุ่นที่สองได้ขึ้นเวทีพร้อมกัน และประกาศขยายพื้นที่การชุมนุมไปยังหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อทำการปิดล้อมไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบายได้ในวันรุ่งขึ้น (7 ตุลาคม) โดยในส่วนหน้ารัฐสภานี้อยู่ภายใต้การดูแลของแกนนำพันธมิตรรุ่นสอง
เวลาประมาณ 06.20 น. ของเช้าวันอังคารที่ 7 ตุลาคม ตำรวจได้ระดมยิงแก๊สน้ำตาร่วม 100 กว่านัดเข้าใส่ผู้ชุมนุม เพื่อเป็นการเปิดเส้นทางให้คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาเข้าไปประชุมรัฐสภา เพื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภา[2] โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก พันธมิตรฯ ได้เข้าทำการตัดน้ำตัดไฟในอาคารรัฐสภา ทางรัฐสภาจึงต้องใช้ไฟฟ้าสำรอง ต่อมาในเวลาประมาณ 09.30 น. การแถลงนโยบายร่วมได้เริ่มขึ้น แต่ ส.ส. และ ส.ว. หลายคนไม่ได้อยู่ในที่ประชุม นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้ให้นับองค์ประชุมปรากฏว่าไม่ครบองค์ประชุม จึงได้ให้พักการประชุม และเมื่อเปิดประชุมใหม่ปรากฏว่ามีเพียง ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น รวมจำนวน 320 คน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านได้คว่ำบาตรการแถลงนโยบายครั้งนี้
เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายเสร็จเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ก็ไม่สามารถจะเดินทางออกมาได้ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมได้ปิดกั้นประตูทางออกแทบทุกทาง จึงต้องเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจแทน พร้อมด้วยนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บุตรสาว ไปยังกองบัญชาการกองทัพไทย ที่ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อหารือกับผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ ถึงสถานการณ์[3]
ต่อมาเวลา 16.00 น. เกิดเหตุการณ์รถจิ๊ปเชโรกีระเบิดที่หน้าที่ทำการพรรคชาติไทย มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย คือ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี เป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จ.บุรีรัมย์ เป็น นรต.46 อดีตตำรวจ สวป.บุรีรัมย์ เป็นน้องเขยของนายการุณ ใสงาม ผู้ประสานงานพันธมิตร
ต่อมาเวลาประมาณ 17.00 น. บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ยังคงติดอยู่ภายในอาคารรัฐสภา เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวออก โดยให้ผู้จะออกแสดงบัตร และอนุญาตให้ออกเฉพาะที่ไม่ใช่ ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น เช่น พนักงานสภาและสื่อมวลชน ต่อมาตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตายิงอีกหลายนัด เพื่อเปิดทางให้ส.ส.และส.ว.ออกไปได้ และระดมยิงแก๊สน้ำตาต่อเนื่องไปจนถึงหัวค่ำ ที่หน้ากองบัญชาการ ตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า จากการปะทะกัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บจนถึงขาขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ราย และมีผู้หญิงสาวเสียชีวิตด้วย รวมยอดผู้บาดเจ็บทุกฝ่ายทั้งสิ้นในขณะนั้น 381 ราย เสียชีวิต 2 ราย และตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11 นาย[4]
หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น สังคมหลายภาคส่วนได้ประณามการกระทำของตำรวจครั้งนี้ หลังจากเหตุการณ์การปะทะกัน สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานหน่วยพยาบาลเพื่อให้ทำการดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนสามแสนบาทแก่โรงพยาบาลรามาธิบดีเพื่อเป็นการค่าใช้จ่าย ในการรักษา[5]
ลำดับเหตุการณ์ตามวันและวันเวลา
วันที่ 6 ตุลาคม
- 18.20 น. แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มประกาศ เชิญชวนประชาชนในทำเนียบรัฐบาลขยายพื้นที่ชุมนุม ไปหน้ารัฐสภา ขณะนั้นผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบประมาณ44,000คน[ต้องการอ้างอิง]
- 19.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลจำนวน 2 กองร้อย เตรียมพร้อมรักษาความปลอดภัยบริเวณหน้ารัฐสภา รวมกับกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่มีอยู่โดยรอบทำเนียบ รวมทั้งสิ้น 7 กองร้อย จำนวน 1,050 นาย
- 19.30 น. ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.), รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.1), ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล, รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รอง ผบ.เหตุการณ์ ประชุมติดตามสถานการณ์กรณีดังกล่าว ณ ศปก.น.
- 19.45 น. ผู้ชุมนุมตั้งขบวนบริเวณลานพระราชวังดุสิต ประมาณ 4,000 คน โดยมีนายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นายสาวิทย์ แก้วหวาน เป็นแกนนำ รถเครื่องเสียง 8 คัน
- 19.55 น. กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 4,000 คน เดินทางถึงหน้ารัฐสภา ปิดล้อมทั้งด้านถนนอู่ทองใน และถนนราชวิถี
- 22.30 น. ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ประมาณ 36,000 คน ส่วนหน้ารัฐสภา 4,000 คน กำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่ปฏิบัติอยู่ ณ ขณะนี้มีรวม 12 กองร้อย จำนวน 1,800 นาย ฝ่ายสืบสวนปะปนกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่ทำเนียบและรัฐสภา เกาะติดด้านการข่าว บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
วันที่ 7 ตุลาคม
- 00.30 น. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (มก.) สั่ง ตำรวจภูธรภาค 1 , 2 , 7 และ ตำรวจตระเวนชายแดน จัดกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลเพิ่มอีกหน่วยละ 3 กองร้อย รวม 12 กองร้อย ปฏิบัติภารกิจวันที่ 7 ตุลาคม เวลา 03.00 น. เป็นต้นไป
- 01.30 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศจะไม่ให้มีการประชุมรัฐสภา ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบ 34,500 คน, รัฐสภา 5,250 คน
- 01.40 น. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.บุญฤทธิ์ รัตนพร พร้อมด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.2) ประชุมติดตามสถานการณ์ ณ ศปก.น.
- 02.20 น. ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบ 34,500 คน , รัฐสภา 5,700 คน
- 02.53 น. พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เข้าพบผู้บัญชาการตำรวจนครบาลยืนยัน "นักรบพระเจ้าตาก" พร้อมเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน จัดกำลัง 100 นาย ตั้งแถวท้องสนามหลวง โดยระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกลุ่ม แนว ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- 04.30 น. พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล /รอง ผบ.เหตุการณ์ พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประชุมซักซ้อมการปฏิบัติร่วมกับ รอง ผบก./ผบ.ร้อย ผู้ควบคุมกำลัง
- 05.50 น. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยังคงถกเครียดประเมินสถานการณ์พันธมิตรปิดรัฐสภา หลังพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางมาหารือด่วนเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะตำรวจตระเวนชายแดนเริ่มตั้งแถวเตรียมพร้อมรับคำสั่งทันที
- 06.15 น. กำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล 12 กองร้อย เข้าปฏิบัติการตามแผน โดยนำกำลังเข้าทางด้านถนนราชวิถี แยกการเรือน, ถนนพิชัย แยกขัตติยานี เพื่อนำกำลังเข้ารักษาความปลอดภัยภายในรัฐสภา
- 08.25 น. นาย สมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวปราศรัยบนเวทีทำเนียบรัฐบาล โดยเรียกร้องให้แรงงานรัฐวิสาหกิจหยุดงานในวันนี้ เพื่อออกมาร่วมชุมนุมกันที่หน้ารัฐสภาให้มากที่สุด เพราะวันนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายจริง ๆ แล้ว ทั้งนี้ ขอให้ผู้ชุมนุมรวมตัวกันเดินทางไปยังแยกพิชัยให้มากที่สุด เพื่อปิดกั้นเส้นทางของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเข้าบริเวณ ประตูปราสาทเทวฤทธิ์ ด้านข้างรัฐสภา ถนนราชวิถี
- 08.30 น. เกิดเหตุไฟดับภายในอาคารรัฐสภา โดยมีกระแสข่าวว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตัดสายไฟบริเวณด้านนอกรัฐสภา ทำให้บริเวณภายในรัฐสภาไฟดับบางส่วน อย่างไรก็ตาม ภายในอาคารรัฐสภาได้ใช้ไฟสำรองจากเครื่องปั่นไฟแทน ซึ่งไฟฟ้าสำรองดังกล่าวจะสามารถใช้ได้เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
- 09.00 น. ที่โรงแรมใกล้ ๆ รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา กล่าวว่า ได้พยายามติดต่อประธานวุฒิสภาว่ามีวิกฤตขอ ให้ทบทวนการประชุมและเลื่อนไปอีก 1-2 วัน
- 09.27 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกจากบ้านพัก คาดว่าจะเดินทางมาที่รัฐสภา
- 09.43 น. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แถลงแก๊สน้ำตา ทำขาขาดไม่ได้ ยันเหยื่อโดนระเบิด - สภาเลื่อนประชุมไปอีก 1 ชั่วโมง
- 09.47 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาถึงสภาแต่ไม่กล่าวอะไรทั้งสิ้น มีแต่ยิ้มอย่างเดียว
- 10.10 น. มติพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ร่วมประชุมสภา ซึ่งเปิดเผยว่ารับไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ตำรวจสลายผู้ชุมนุม - ระงับถก 4 ฝ่าย
- 10.40 น. การประชุมรัฐสภา นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ให้สมาชิกรัฐบาลกดบัตรแสดงตน เพื่อนับองค์ประชุมก่อนที่จะแถลงนโยบายรัฐบาล ปรากฏว่ามีสมาชิกรัฐสภาเข้าประชุมจำนวน 320 คน ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อให้มีการลงคะแนนเพื่อดำเนินการแถลงนโยบายของรัฐสภา สมาชิกรัฐสภาจำนวน 307 คนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 2 คน และไม่ลงคะแนน 5 คน
- 10.54 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมหนีกระเจิง อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ ได้ล้อมสภาทุกจุดแล้ว
- 10.58 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ประกาศนับองค์ประชุมอีกครั้ง พบว่ามีสมาชิกรัฐสภาร่วมประชุมจำนวน 320 คน ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมแล้ว จากนั้นได้มีการลงคะแนนให้เริ่มการแถลงนโยบายของรัฐ ปรากฏว่า มีสมาชิกรัฐสภาเห็นด้วยจำนวน 320 คน จึงสามารถเปิดประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลได้ ขณะนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เริ่มแถลงนโนบายรัฐบาล
- 11.00 น. ตำรวจได้เสริมกำลังควบคุมสถานการณ์บริเวณรอบนอกรัฐสภา โดยเฉพาะถนนพิชัย ที่เป็นทางเดียวที่เปิดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีเข้าไปแถลงนโยบายในรัฐสภา แต่ทางด้านพันธมิตรฯ ฮึดสู้โดนแก๊สน้ำตาเพิ่มอีก 2 จึงเรียกร้องแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ให้มาช่วยตรวจสอบอาวุธที่ใช้ในการสลายการชุมนุม
- 11.25 น. ผู้บัญชาการทหารบก เรียกประชุม 5 เสือ ทบ. ติดตามและประเมินสถานการณ์ความวุ่นวาย ขณะ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ เข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์
- 11.59 น. พันธมิตรฯ กลับมายึดพื้นที่ถนนอู่ทองในตัดกับถนนราชวิถีได้แล้ว หลังถูกสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคมโดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ผลักดันกำลังตำรวจได้สำเร็จ เนื่องจากตำรวจไม่สามารถต้านการบุกของกลุ่มพันธมิตรได้
- 12.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระดมปาขวดน้ำบรรจุน้ำปัสสาวะเต็มขวดข้ามเข้ามาในรั้วสภา และอีกส่วนหนึ่งกำลังช่วยกันพลิกรถกรงขังของตำรวจจนคว่ำลงไป
- 12.05 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าปิดล้อมอาคารรัฐสภาอีกครั้ง หลังจากที่ถูกสลายการชุมนุมเมื่อเช้านี้ โดยเจ้าหน้าที่ได้ปิดประตูฝั่ง ถ.ราชวิถี จากนั้นพันธมิตรได้ใช้แผงเหล็กกั้นแล้วนำโซ่มาล่ามประตูและล็อกกุญแจหลาย ชั้นเพื่อไม่ให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่อยู่ภายในอาคารออกมาได้
- 12.20 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวโจมตีนายกรัฐมนตรีว่าเป็นคนที่ไร้เกียรติ ไม่จริงใจ ไม่ทำตามที่ตกลงไว้ สภาทนายความออก แถลงการณ์ให้ตำรวจยุติการใช้ความรุนแรง
- 12.25 น. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชน ออกแถลงการณ์ประนามพันธมิตรฯ ว่าได้กระทำความผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ถือเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนบุคคลซึ่ง ถูก ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรองรับไว้ นอกจากนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทำความผิด มาตรา 112 และ 116 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืน ประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความ ปั่นป่วนในราชอาณาจักรหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี
- 12.59 น. ตำรวจเจ็บ 2 นาย จากการที่ปะทะกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณหน้ารัฐสภา ซึ่งตำรวจ 1 ใน 2 นายนี้ โดนด้ามธงเสียบท้องทะลุหลังด้วย และถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
- 13.00 น. การะประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาได้สิ้นสุดลง นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ปิดการประชุม ขณะที่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ยังไม่สามารถออกจากอาคารรัฐสภาได้
- 13.04 น. หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม และยังเชื่อว่ารัฐบาลทำงานลำบากแต่ไม่ถึงขั้นยุบสภา
- 13.28 น. โรงพยาบาลวชิระเปิดเผยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 56 ราย ตัดขาทิ้ง 1 คน อาการน่าห่วง ด้าน แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ชี้เป็นเพราะ" ระเบิด" แน่นอน
- 13.42 น. เสธหมึก คนสนิท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางเข้ายื่นประกันตัว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ต่อศาล มั่นใจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
- 14.05 น. สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากรัฐสภา โดยปีนรั้วออกมาพร้อมผู้ติดตาม พร้อมกับเรียกประชุมด่วนที่กองบัญชาการกองทัพไทย
- 14.07 น. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี
- 15.00 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดรถกระบะเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคันนำมาปิด ถนนนครราชสีมา หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตพร้อม ทั้งขนยางรถยนต์สกัดแนวกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรงทางแยกขึ้นสะพานซังฮี้ จำนวนหลายกองร้อย
- 15.00 น. ดต.ทวีป กลั่นเนียม สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถูกผู้ชุมนุมพันธมิตรใช้ด้ามธงปลายแหลมแทงเข้าที่ซี่โครงทะลุปอด พ้นขีดอันตรายแล้ว ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 15.30 น. ที่กองบัญชาการกองทัพไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เรียกผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนั่งเฮลิคอปเตอร์ตำรวจมาที่กองทัพไทย
- 15.47 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณหน้าพรรคชาติไทย โดยจุดที่ระเบิดเป็นรถจี๊ป เชโรกี ทะเบียน พต 4755 กทม. โดยตัวรถฉีกขาดทั้งหมด และมีผู้เสียชีวิตคาที่อยู่ข้างรถ โดยรถดังกล่าวเป็นของผู้ชุมนุม ทราบภายหลังผู้เสียชีวิตชื่อ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี เป็นน้องเขยของ การุณ ใสงาม
- 15.58น. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาไม่ต่ำกว่า 20 นัด เข้าใส่ฝูงชนบริเวณแยกสะพานซังฮี้จรดถึงแยกการเรือน เพื่อเตรียมเปิดทางให้ส.ส.ที่เข้าร่วมประชุมสภา ออกจากนอกบริเวณรัฐสภา ทางประตูพระที่นั่งวิมานเมฆ
- 16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่ปักหลัก ชุมนุมอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวนหลายสิบลูก พร้อมทั้งตั้งแถวเรียงหน้ากระดาน ใช้กระบองเคาะโล่เสียงดังเป็นการทำลายขวัญ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นไปตั้งหลักที่สี่แยกการเรือน บริเวณสมาคมนักหนังสือ พิมพ์
- 16.42 น. นาย ชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ปีนรั้วสภาออกไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากมีอายุมากแล้ว โดยเจ้าหน้าที่พยายามประคองอุ้มนายชัยออกไปอย่างทุลักทุเล
- 16.50 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นมาจนถึงหน้าประตูสภาฝั่งถนนราชวิถี
- 17.00 น. ศาลอาญาสั่งยกคำร้องกรณีที่ทนายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ต้องหาในความผิดฐานเป็นกบฏ โดยทนายอ้างว่าการจับกุมของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- 17.05 น. หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุมบริเวณประตูรัฐสภาให้ ถอยร่นไปจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดประตูรัฐสภาเพื่อเปิดทางให้ข้าราชการ ผู้สื่อข่าว รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ติดค้างอยู่ภายใน ทยอยกันออกไปด้านนอกได้
- 17.25 น. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ปิดที่ 528.71 จุด ลดลง 23.09 จุด โดยมีปริมาณการซื้อขายทั้งสิ้น 16,313.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีราคาปิดเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 28 หลักทรัพย์ ลดลง 369 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 49 หลักทรัพย์
- 17.39 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงที่กองบัญชาการกองทัพไทยว่ายังไม่เห็นใบลาออกของ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ แต่ขณะนี้เป็นห่วงสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นที่รัฐสภา โดยประสานกับฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแล แต่ไม่ใช่รัฐบาลจะแก้ไขฝ่ายเดียวได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคิดจะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2
- 17.43 น. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตา กลุ่มพันธมิตรกระเจิงวิ่งเข้าสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งมีทหารราบ ร.1 พัน 2 รอ. พร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้ารักษา
- 17.50 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เผยจะปฏิบัติภารกิจในการเยือนประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนต่อไป ส่วนสำหรับข้อเรียกร้องให้ลาออก หรือ ยุบสภานั้น นายสมชาย กล่าวว่า จะพิจารณาตามความเหมาะสม แต่ตราบใดที่อยู่ในหน้าที่ จะไม่ชะลอการทำงาน
- 18.00 น. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และเพื่อนร่วมรุ่น จปร.7 กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร เผยว่าเหตุการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปะทะตำรวจเป็นแผนของ พล.ต.จำลอง เตรียมไว้แล้ว เมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกจับ ก็ให้คนเข้ามาในกรุงเทพฯ และเข้ามายึดรัฐสภา โดยพยายามสร้างสถานการณ์ให้เหมือนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ เมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกจับ สถานการณ์ก็รุนแรงขึ้น แต่ขณะนี้ไม่มีคนนำ ทำให้เหตุการณ์ไม่จบแบบนั้น สมัยนั้นมีตนและ พล.ท.พิรัช สวามิวัศดิ์ เพื่อนร่วมรุ่นเล่นด้วยเป็นผู้นำ แต่วันนี้ไม่มีคนทำต่อเนื่องทำแล้วหยุด
- 18.10 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ประสานรถพยาบาล เพื่อเข้ามารับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ที่ถูกยิงบาดเจ็บ จากการสาดกระสุนใส่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่จนถึงขณะนี้ รถพยาบาล ก็ยังไม่สามารถเข้าไปในอาคารรัฐสภาได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจรายแรก ที่ได้รับบาดเจ็บ จากการถูกยิงเข้าบริเวณไหปลาร้าด้านขวา มีการใช้มีดผ่าลูกกระสุนออก ซึ่งล่าสุด อาการปลอดภัยแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายหนึ่ง ที่ถูกยิงบริเวณราวนมด้านขวา ยังอยู่ในอาการอันตราย ซึ่งหน่วยพยาบาล กำลังเร่งปฐมพยาบาล และประสานรถพยาบาล ให้เข้ารับตัว
- 18.30 น. สหภาพแรงงานการท่าเรือ นัดหยุดงานอีกรอบ 9 ต.ค.นี้ หลังไม่พอใจภาครัฐใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมพันธมิตร
- 18.38 น. กองทัพภาคที่ 1 ส่งทหารเสนารักษ์ เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุสลายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ขณะโฆษกกองทัพบกยืนยัน ทหารไม่ได้เลือกข้าง
- 18.50 น. ภายหลังจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ไปรวมตัวกันบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ทำให้ตำรวจที่เข้าประจำการณ์อยู่บริเวณหน้า กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ตัดสินใจ ใช้แก๊สน้ำตายิงเข้าใส่ฝูงชนเป็นระยะ ๆ จนกลุ่มผู้ชุมนุม ต้องถอยร่นไปจนถึงบริเวณหน้าวัดเบญจมบพิตร ขณะเดียวกันรถพยาบาลจำนวนมาก วิ่งเข้าไปในที่เกิดเหตุ และนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว โดยการยิงแก๊สน้ำตาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ของการสลายการชุมนุมวันนี้ และมีรายงานว่ามีผู้ชุมนุมขาขาด 4 คน โฆษกบนเวทีพันธมิตรฯ ในทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ศูนย์นเรนทรสรุปตัวเลขประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ ตลอดทั้งวันเป็นจำนวน 164 ราย
- 18.52 น. โฆษกกระทรวงต่างประเทศ ยืนยันว่าสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศขณะนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเชิญเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย มาทำความเข้าใจ
- 18.55 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา-สวน ดุสิต ประกาศหยุดการเรียนการสอนวันพรุ่งนี้ ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนสาธิตด้วย ระบุ รอดูสถาการณ์การเมืองก่อน
- 18.57 น. พันธมิตรยกทัพจากรัฐสภา กลับเข้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมประณามรัฐบาล เป็นสภาเลือดแถลงนโยบายท่ามกลางการสลายกลุ่มผู้ชุมนุม
- 19.06 น. ลำเลียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย ที่ถูกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาที่โรงพยาบาล ขณะผู้ชุมนุมขับรถกระบะเข้าชนรองสารวัตร ที่แยกอู่ทองใน
- 19.25 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และใช้สติแก้ปัญหาทางออกอย่างสันติ เตือนนักข่าวปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง
- 19.28 น. ตำรวจและผู้ชุมนุมกว่าร้อยนายตรึงกำลังที่ ถนนศรีอยุธยา หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล
- 19.39 น. สวนสัตว์ดุสิตเกรงผลกระทบการสลายการชุมนุมย้าย สัตว์หนี เนื่องจากสัตว์บางชนิดอาจตกใจเสียงการยิงระเบิดแก๊สน้ำตา จนวิ่งชนกรงบาดเจ็บหรือล้มตาย
- 19.42 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ระบุ การยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมของตำรวจ เป็นการป้องกันตัวเองตามสถานการณ์พร้อมยืนยัน แก๊สน้ำตาไม่ทำอันตรายถึงกับทำให้ใครขาขาด
- 19.53 น. ราษฎรอาวุโส "น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว" เผย ตกใจภาพสลายชุมนุม พร้อมส่งกำลังใจแพทย์ พยาบาลไม่ทิ้งคนเจ็บ
- 20.02 น. บรรยากาศเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร บริเวณแยกถนนศรีอยุธยา ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วม 100 นาย คอยสกัดกั้นหลังรั้วลวดหนาม บริเวณถนนที่มุ่งหน้ามาสู่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งด้านตรงข้ามมีกลุ่มพันธมิตรจำนวนประมาณ 200 คน คอยตะโกนขับไล่เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ มีกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พันธมิตร ที่นำผ้าปิดพรางใบหน้า และนำเครื่องขยายเสียงมาปราศรัยโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นระยะ ๆ ด้วย
- 20.18 น. ทหารตรึงกำลังเข้มหน้ากองทัพบก และแยก จปร.รอเสริมทัพตำรวจ หากคืนนี้สถานการณ์ชุมนุมบานปลาย
- 20.25 น. นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งปล่อยข่าวทันที ว่าคืนนี้อาจมีการวางระเบิดหลายจุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งตรวจสอบข้อมูลอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจว่า หากสามารถผ่านพ้นคืนนี้ไปได้ สถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
- 20.30 น. สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ร่วมกันแถลงที่โรงแรมปริ๊นเซส โดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากทม. กล่าวว่า ขอตั้งคำถามกับรัฐบาลว่า ทำไมยิงแก๊สน้ำตาและยิงระเบิดใส่กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาออกมาจากรัฐสภาแล้ว ถือว่าจงใจฆ่าประชาชน ทำให้วิกฤตลุกลาม นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเพื่อยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้น รัฐบาลเข้าและออกสภาด้วยรอยเลือด ขัดกับนโยบายที่รัฐบาลแถลง และรัฐบาลต้องสอบสวนเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ใช้ความรุนแรงด้วย ทั้งนี้กลุ่ม สมาชิกวุฒิสภาจะตั้งวอร์รูมที่โรงแรมปริ๊นเซสหลานหลวงอีกครั้งในวันที่ 8 ตุลาคม
- 20.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้ายังคงมีกลิ่นแก๊สน้ำตาคละ คลุ้งอยู่ ขณะที่พันธมิตรฯ พยายามกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยได้พยายามใช้ผ้าปิดตามช่องท่อระบายน้ำเพื่อให้แก๊สฟุ้งกระจายออกมา พร้อมกับนำลวดหนามมากั้นเป็นแนวไว้
- 20.50 น. ตำรวจตั้งข้อสังเกตเจ้าหน้าที่ถูกยิง อาจเป็นฝีมือพันธมิตร หลังวิเคราะห์กระสุนที่ใช้ยิง เป็นอาวุธปืนที่หายไปจากทำเนียบ
- 20.50 น. พันธมิตร หน้ารัฐสภา ล่าถอยไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ทิ้งไว้เพียงขยะเกลื่อนกลาด พร้อมเศษซากรถที่ถูกทำลาย
- 20.56 น. ยอดผู้ได้รับบาดเจ็บที่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล พุ่งถึง 143 ราย มีตำรวจบาดเจ็บสาหัส 3 ราย
- 21.18 น. สรุปหลังปะทะเดือดระหว่างตำรวจกับกลุ่มพันธมิตรพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย เจ็บอีก 225 ราย กระจายเข้ารักษาโรงพยาบาลหลายแห่ง
- 21.20 น. นายก อบจ.พิจิตร ชี้ผู้แทนราษฎรเปิดประชุมสภาไม่สง่างามเดินเหยียบคราบเลือดและน้ำตาของ ประชาชนเข้าประชุม
- 21.30 น. ตำรวจเริ่มตั้งแถวตรึงกำลังบริเวณระหว่างหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล กับ ลานพระบรมรูปทรงม้า
- 21.33 น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยิงได้รับบาดเจ็บภายในอาคารรัฐสภาว่า จากการสอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ ทราบว่า ปืนที่ใช้ก่อเหตุเป็นปืนอัตโนมัติ และตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นปืนที่ถูกขโมยไปที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้วิงวอนให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรยุติการเคลื่อนไหว เพราะขณะนี้เป็นเวลากลางคืน เพราะมือที่ 3 อาจเข้ามาสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายได้ พร้อมกันนี้จะไม่ยอมให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลเด็ดขาด เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ และเป็นกองบัญชาการตำรวจทั่วกรุงเทพมหานคร จึงต้องรักษาไว้อย่างเต็มที่
- 22.10 น. ตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ บริเวณแยกลานพระบรมรูปทรงม้า เนื่องจากพันธมิตรเคลื่อนตัวเข้าไปใกล้กองบัญชาการตำรวจนครบาล หลังจากนั้นมีการยิงใส่อีก 4 นัด รวมเป็น 5 นัด ทำให้ผู้ชุมนุมต้องถอยร่นออกไป ตำรวจจึงหยุดยิงแก๊สน้ำตา
- 22.20 น. มีเสียงคล้ายระเบิดเสียงดังขึ้นสามนัดบริเวณแยกลานพระบรมรูปทรงม้าตัดไปยัง หน้าบช.น. 2นัด จากนั้นตำรวจที่ตั้งแนวอยู่ได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม 5 นัดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การ์ดได้ควบคุมตัวเด็กช่างกลได้สองนาย ซึ่งเป็นต้นตอของระเบิดเสียงดังกล่าว และเมื่อสอบถามภายหลังพบว่าเด็กทั้งสองเกิดความแค้นที่เพื่อนถูกทำร้ายได้ รับบาดเจ็บในช่วงเช้า
- 22:20 น. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับห้องผ่าตัดซึ่งมีไม่พอรองรับคนเจ็บ
- 22.21 น. กลุ่มพันธมิตรฮือปิดล้อมรถถ่ายทอดสดช่อง 3 และทีวีไทย ให้ออกจากทำเนียบรัฐบาล หลังหลังถูกแกนนำกล่าวหาว่ารายงานข่าวไม่เป็นความจริง จนหวิดวางมวย "กมลพร วรกุล" พิธีกรสาวต้องเข้าเคลียร์ เรื่องจึงยุติ
- 22:34 น. ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เหตุการณ์ตึงเครียดยิงแก๊สน้ำตาอีกนับ 10 ลูกใส่ผู้ชุมนุม
- 23.15 น. ตำรวจยังคงยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ เป็นระยะ ๆ แต่เป็นการยิงขู่ ขณะที่พันธมิตรเข้ามาร่วมชุมนุมบริเวณแยกพระบรมรูปมากขึ้น โดยปัดหางแถวมาทางแยกมิสกวันและบางส่วนไปทางวัดเบญจมบพิตร โดยผู้ชุมนุมต้องคอยวิ่งหลบแก๊สน้ำตาเมื่อมีการยิงเข้าใส่ และกลับมารวมตัวกันใหม่เมื่อหยุดยิง
เหตุการณ์ภายหลัง
[แก้] พิธีพระราชทานเพลิงศพ
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ไปยังเมรุวัดศรีประวัติ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพนางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือโบว์ อายุ 28 ปี ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่าง ๆ เฝ้ารับเสด็จ แต่ไม่ปรากฏบุคลากรจากฝ่ายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นอกจากที่ทรงได้รับการต้อนรับอย่างปีติยินดีจากผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ หลายหมื่นคน ณ ที่นั้นแล้ว การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ยังผลให้ฝ่ายพันธมิตรฯ ประกาศเลื่อนการชุมนุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งกำหนดให้มีในวันนี้ ออกไปเป็นอีกสองวันถัดไป[6][7]
สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งนายจินดา ระดับปัญญาวุฒิ บิดาของนางสาวอังคณา เปิดเผยว่าทรงแสดงความกังวลในสวัสดิภาพของผู้ชุมนุม และรับสั่งว่าจะจัดดอกไม้มาพระราชทานภายหลังด้วย[7] กับทั้งมีพระราชปฏิสันถารกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนายสนธิมิได้เปิดเผยรายละเอียด กล่าวเพียงว่าเป็นแต่เรื่องส่วนตัวที่ไม่สำคัญนัก[6]
ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระราชอุทิศเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นค่ารักษา พยาบาลผู้บาดเจ็บในการจลาจลดังกล่าวทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯ กล่าวว่าเป็นสัญญาณแห่งการสนับสนุนฝ่ายตน อย่างไรก็ดี เงินดังกล่าวได้เวียนไปสู่ทั้งฝ่ายตำรวจและพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บโดยเท่าเทียมกัน[8]
ปฏิกิริยาจากกองทัพ
ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันออกอากาศในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 โดยมี นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[9]
ซึ่งการที่ผู้นำเหล่าทัพทั้งหมดได้พร้อมใจกันออกรายการโทรทัศน์เรียกร้อง ให้รัฐบาลลาออกครั้งนี้ ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงมีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เป็น "การปฏิวัติผ่านหน้าจอ"[10]
ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดผู้ที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ซึ่งมี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาคดีสั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งที่ประชุมมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง ตามข้อกล่าวหา ประกอบด้วย
1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี มีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเรียกประชุม ครม.นัดพิเศษในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 โดยมอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้สั่งการ และเปิดทางให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้าสู่รัฐสภา ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1
2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ และสั่งการให้ตำรวจผลักดันผู้ชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 6 ต่อ 3
3.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาด ก็ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป และมีการให้การจากพยานว่า เป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1
4.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น.ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ และเป็นเจ้าของพื้นที่ มีความผิดวินัยร้ายแรงและอาญา เช่นกัน โดยที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1
สำหรับ พลตำรวจตรี ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี เอกรัตน์ มีปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี วิบูลย์ บางท่าไม้ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุมครั้งนี้ ทั้งหมด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในความควบคุมรับผิดชอบและสั่งการของผู้บัญชาการตำรวจ นครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พฤติการณ์และพยานหลักฐานยังไม่พอฟังว่ามีมูลเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการ จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วน พลตำรวจเอก วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่ามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นดังกล่าว ข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และพลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และพลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง[11]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ^ พันธมิตรออกแถลงการณ์ขับไล่สมชาย-อนุ พงษ์ แถลงการณ์ฉบับที่ 23/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, sanook.com ข้อมูลจากมติชนออนไลน์, 8 ต.ค. 51
- ^ ยิงแก๊สน้ำตากว่า 100 นัด สลายชุมนุมเปิดเส้นทาง, ไทยรัฐออนไลน์, 7 ต.ค. 51
- ^ แนวหน้า, ตำรวจโหดทำร้ายประชาชน ตาย 2 เจ็บ 400, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 8 ตุลาคม 2551
- ^ ตำรวจปะทะฝูงชน นองเลือด! พันธมิตรหญิงดับ
- ^ ผู้จัดการออนไลน์, เกาะติด นาทีหฤโหด! ทรราชคลั่งอำนาจใช้กำลังสลายพันธมิตรฯหน้ารัฐสภา, 7 ตุลาคม 2551
- ^ 6.0 6.1 กรุงเทพธุรกิจ. (2551, 13 ตุลาคม). พระราชินีรับสั่งน้องโบว์เป็นเด็กดี 'ช่วยชาติ-รักษาสถาบัน'. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: < http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/13/news_302910.php >. (เข้าถึงเมื่อ: 13 ตุลาคม 2551).
- ^ 7.0 7.1 Reuters. (2008, 13 October). Thai queen weighs in with anti-govt protesters. [Online]. Available: < http://in.reuters.com/article/worldNews/idINIndia-35930920081013 >. (Accessed: 13 October 2008).
- ^ BBC News. (2008, 13 October). Thailand's queen mourns protester. [Online]. Available: < http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7666839.stm >. (Accessed: 13 October 2008).
- ^ พล.อ.อนุพงษ์ ว่า รบ. ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา
- ^ ความเห็นนักวิชาการกรณี"ปฏิวัติหน้าจอ"?
- ^ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000103368 ป.ป.ช.ฟันอาญา “ป๊อด-สมชาย-จิ๋ว” สั่งฆ่า ปชช.7 ตุลาฯ
แหล่งข้อมูลอื่น
- เกาะติดพันธมิตรยึดพื้นที่หน้ารัฐสภา
- อาลัย และ กำลังใจแด่ …วีรชนคนกล้า 7 ตุลาคม 2551 ( รวมข่าวทั้งหมด )
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม
<<< ผลพิสูจน์ น้องโบว์ตาย แก๊สน้ำตา ไม่ใช่สาเหตุ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post_3968.html
http://maha-arai.blogspot.com/2010/11/blog-post_3968.html
-----------------------------------------------------
หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1235659256&grpid=01&catid=17
http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/2009/02/P7563067/P7563067.html
-----------------------------------------------------
หลักฐานการทดสอบแก๊สน้ำตาตามคาด! ตร.โยนมือที่สาม ทำร้ายประชาชน
ตำรวจจัดฉาก สาธิตอุปกรณ์ยิงแก๊สน้ำตา สลายพันธมิตรฯ โบ้ยมือที่สาม ก่อเหตุ ทำร้ายประชาชน ถึงขั้นบาดเจ็บ สาหัส-ขาขาด หลังชนฝา บอกมีเพียง “กระบอง-โล่-แก๊สน้ำตา” ไม่เคยรุนแรง กับประชาชน ยิงแก๊สน้ำตา หวังกรุยทางให้ ส.ส. ออกจาก รัฐสภา ระบุ พบผู้ชุมนุมพก ระเบิดปิงปอง เมื่อกระแทกกับพื้นแข็ง หรือมีการยิง แก๊สน้ำตาไปใกล้ จะปะทุส่งแรงระเบิด
ชี้ มีคนอยู่เบื้องหลัง ก่อม็อบเพิ่ม ยก ตชด. เป็นมือปราบ ชั้นเซียน
วันนี้ (8 ต.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น. ที่ กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. แถลงข่าวชี้แจง กรณีการใช้ความรุนแรง เข้าสลาย การชุมนุม ของกลุ่ม พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้นำอุปกรณ์ที่ ตำรวจอ้างว่า มีเพียง ปืนยิงแก๊สน้ำตา และ แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ใช้เพื่อ การควบคุมฝูงชน มาสาธิตวิธีการใช้ อย่างละเอียด
พล.ต.ต. สุรพล กล่าวว่า วันนี้ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจ จึงได้นำอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตำรวจใช้ใน การควบคุมฝูงชน ว่า มีอะไรบ้าง และ มีอานุภาพอย่างไร หรือ มีโอกาสทำให้เกิด การบาดเจ็บอันตราย ถึงขนาดนั้น หรือไม่ เพราะภายหลัง เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ตำรวจถูกกล่าวหา มาโดยตลอด ทั้งนี้ ยืนยันว่า อุปกรณ์ที่ตำรวจ มีประจำการนั้น มีเพียง แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง และ ปืนยิงแก๊สน้ำตา ซึ่งไม่สามารถทำให้ ประชาชนได้รับบาดเจ็บ หรือ ได้รับอันตราย ถึงกับชีวิต ส่วนที่มีผู้สูญเสียอวัยวะนั้น ตนไม่อยากจะบอกว่า เป็นมือที่สาม
“อุปกรณ์ที่ตำรวจใช้อยู่ มีอานุภาพเพียงแค่นี้ แต่อาวุธ ที่ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ ตามข่าว หากไม่ใช่ของตำรวจ แล้วเป็นของใคร ซึ่งก็ต้อง ว่ากัน อีกครั้ง ว่าเป็น ของใคร ใครเป็นผู้ใช้ หากดูภาพเหตุการณ์ ที่ด้านหน้ารัฐสภา วานนี้ จะเห็นว่า หลังการยิงแก็สน้ำตา ตำรวจที่ตามไป มีเพียง โล่-กระบอง เท่านั้น ซึ่ง ตร.จำเป็นต้องทำ เพื่อเปิดทางให้กับ ส.ส. ที่เข้ารับฟัง การแถลงนโยบาย ของรัฐบาล เท่านั้น” รองโฆษก ตร.กล่าว
พล.ต.ต. สุรพล กล่าวว่า ประชาชนไม่รู้ข้อเท็จจริง เห็นภาพที่ปรากฏ ตามสื่อมวลชน เห็นคนแขนขาด ขาขาด แล้วคิดว่า ตำรวจเป็นคนทำ ซึ่งที่ผ่านมา เราพยายาม หลีกเลี่ยงความรุนแรง โดยตลอด มีเพียง โล่-กระบอง บางครั้งกระบอง ก็ไม่ใช้ มากสุดคือ แก๊สน้ำตา เท่านั้น
เราไม่ประสงค์ให้เกิด ความรุนแรง แต่มีข้อสังเกตว่า เมื่อมีการปะทะครั้งใด จะมีความรุนแรง ไปกว่าที่เราทำ ยืนยันว่า ความรุนแรง ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจาก อุปกรณ์ที่ตำรวจมีอยู่ ส่วนที่ทำให้ อวัยวะประชาชน ฉีกขาดนั้น น่าจะเกิดจาก ระเบิดปิงปอง ซึ่งเมื่อวานนี้ พบว่า ผู้ชุมนุม ใช้ระเบิด ชนิดนี้ จำนวนมาก ซึ่งการระเบิด ของ ระเบิดปิงปอง เกิดจาก การกระแทกกับพื้นแข็ง หรือ หากมีการ ยิงแก๊สน้ำตา ไปใกล้ การปะทุ ของแก๊สน้ำตา ก็จะทำให้ ระเบิดปิงปอง เกิดระเบิดขึ้น ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บาดเจ็บ อาจอยู่ใกล้ ขณะเดียวกัน เมื่อมีการยิง แก๊สน้ำตา ระเบิดปิงปอง ที่อยู่ใน กระเป๋า ก็อาจเกิดการระเบิดขึ้น อีกทางหนึ่ง เขาอาจไปหกล้ม ขณะชุลมุนวิ่งหนี ก็อาจเกิดระเบิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีตำรวจถูกยิง จำนวนมาก การที่อ้างว่า ชุมนุมโดย ปราศจากอาวุธ นั้นไม่จริง
พล.ต.ต. สุรพล กล่าวถึงเหตุผล ที่ใช้ตำรวจ ตชด. มาดูแลการชุมนุม ทั้งที่เป็นตำรวจ ที่เชี่ยวชาญยุทธวิธีในป่า ว่า เนื่องจาก ตชด. มีความรู้ยุทธวิธี ในการควบคุมฝูงชน เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ตชด. ยังเป็นครูฝึกสอน วิธีควบคุมฝูงชนให้กับ ตำรวจภูธรทั่วประเทศ ซึ่งจริงๆ ที่ผ่านมา เราใช้ ทุกหน่วย แต่ ตชด. มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งไม่ใช่รู้ ยุทธวิธีเฉพาะในป่า แต่ยังรู้ยุทธวิธี ในเมืองด้วย สามารถเป็นครูฝึก ควบคุมฝูงชนได้
ส่วนเรื่องที่มีภาพปรากฏ ถึงการปฏิบัติการ ที่เกินเลยของตำรวจ ทางสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ จะทำการตรวจสอบ และให้ ความเป็นธรรม กับทุกฝ่าย แต่เราจะเอา เหตุการณ์หนึ่ง เพียงเหตุการณ์ใด มาตัดสินว่า ตำรวจทำเกินเลย คงไม่ได้ ต้องดูทั้งหมด และให้ความเป็นธรรม กับ ผู้ปฏิบัติ และ ต้องให้ความเป็นธรรม กับประชาชน ด้วย
นอกจากนี้ พล.ต.ต.สุรพล กล่าวถึง เหตุการณ์ระเบิดรถยนต์ ที่หน้าพรรคชาติไทย ว่า ทราบชื่อ ผู้เสียชีวิต คือ พ.ต.ต.เมธี ชาติมนตรี อดีต สวป.สภ.เมือง บุรีรัมย์ และเป็น น้องเขยของ นายการุณ ใสงาม เป็นแกนนำ พันธมิตรฯ บุรีรัมย์
จาก การตรวจสอบ เบื้องต้น เอาระเบิดมา เพื่อปฏิบัติการ อย่างหนึ่งอย่างใด โชคดีที่ ผู้เสียชีวิตเป็น ผู้ก่อเหตุเอง ไม่ใช่ประชาชน ซึ่งอยู่ระหว่าง การตรวจสอบว่า เป็นระเบิดชนิดใด
พล.ต.ต.สุรพล กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ทุกอย่าง มีความเชื่อมโยง กัน ซึ่งก่อนหน้านี้ ที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เจตนาที่ให้ ตำรวจจับ เพื่อเรียกคน จึงขอเตือน ประชาชน ว่า ขณะนี้มี การพยายามระดมคน มาจากต่างจังหวัด จำนวนมาก แบ่งกลุ่มย่อย ไปในที่ต่างๆ เมื่อมีการ กระทบกระทั่งกัน ภาพ ความรุนแรง ก็จะมากกว่า ที่ควรจะเป็น ซึ่งเรื่องนี้ มีคนอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่ฝีมือ ของตำรวจ แต่เนื่องจาก ประชาชน มีอคติกับตำรวจ อยู่แล้ว เมื่อจุดประเด็นว่า ตำรวจทำร้ายประชาชน ก็จะสามารถระดมคน ได้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึง ขั้นตอนการทำงาน ของตำรวจ ว่า ทำไม ไม่มีการใช้ รถน้ำฉีดก่อน ตามขั้นตอน พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า ยังไม่ได้รับ การสนับสนุน เท่าที่ควร เพราะขณะนี้ รถน้ำไม่อยู่ ในความรับผิดชอบ ของตำรวจ เมื่อถามว่า ทำไมไม่มีการสลายม็อบ ภายในทำเนียบรัฐบาล โฆษก ตร. กล่าวว่า การสลายม็อบ ที่ผ่านมา ภาพความรุนแรง ได้ปรากฏไปทั่วโลก ซึ่งตำรวจ ยังไม่สามารถ หาคำตอบได้ว่า ใครเป็นคนทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตระเวนชายแดน ซึ่งรับผิดชอบดูแล ความปลอดภัย ภายในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาล และ เป็นผู้ที่ ยิงแก๊สน้ำตา ใส่กลุ่มผู้ชุมนุม จนเป็นเหตุให้มี ผู้ได้รับบาดเจ็บ และ เสียชีวิต มาสาธิต วิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งระบุว่า
ตำรวจมี อุปกรณ์ เป็น ปืนยิงแก๊สน้ำตา ยิงได้ ครั้งละหนึ่งนัด โดยจะใช้ วิธียิง วิถีโค้ง ในกรณี ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง ระยะยิง 150 เมตร ขณะที่ การยิง วิถีตรง ซึ่งมี ระยะยิงใกล้เคียงกัน ซึ่งการยิงวิถีตรง จะเป็นการยิง ในจุดที่ ผู้ชุมนุมอยู่ไกล ซึ่งเมื่อกระสุน กระทบร่างกายคน จะทำให้ เกิดการแสบร้อน หรือ อาจมีการลุกไหม้ บางส่วน ส่วนชนิดขว้าง ก็เช่นเดียวกัน แต่หากกำไว้ ก็ทำให้มือขาดได้
ขณะเดียวกัน พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.ได้นำ แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ที่ปรากฏเป็นข่าว และถูกสงสับว่า เป็นระเบิด มาแสดง กับ สื่อมวลชน พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า แก๊สน้ำตา ชนิดนี้จะใช้ ในระยะประชิด ไม่ใช่ระเบิด ตามที่ปรากฏเป็นข่าว โดยตัว แก๊สน้ำตา เป็นพลาสติก เมื่อขว้างปา ไปถูกร่างกายคน ไม่ทำให้เกิด การฉีกขาดของอวัยวะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการแถลงข่าว ได้มีการสาธิต การใช้แก๊สน้ำตาชนิดขว้าง โดยตำรวจปฏิบัติการพิเศษ หรือ 191 บริเวณ ลาน ฟุตซอล ของ บช.น. โดยใช้ หุ่นพลาสติก ปรากฏว่า ทันที ที่ แก๊สน้ำตาดังกล่าว กระทบพื้น เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว โดยแรงปะทุ ทำให้พื้นซีเมนต์ เป็นรอยเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 10 ซม. มีคราบเขม่าสีดำ เกาะอยู่โดยรอบ
ปรับปรุงจาก ข่าว และ ภาพ ของ สำนักข่าว ผู้จัดการออนไลน์
8 ตุลาคม 2551 15:17 น.
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000119590
-----------------------------------------------------
หลักฐานพันธมิตรบางคนมีระเบิดปิงปอง
-----------------------------------------------------
หลักฐานพันธมิตรบางคนมีปืน
-----------------------------------------------------
หลักฐานพันธมิตรบางคนทำร้ายตำรวจ
-----------------------------------------------------
หลักฐานพันธมิตรบางคนบาดเจ็บแขนขาขาดและตาย
-----------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
FfF