จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี พ.ศ. 2469 ไปจนถึง พ.ศ. 2503เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นเหตุการณ์ทางประวัติ ศาสตร์ของการเมืองไทยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะถูกเรียกว่าอย่างไรก็ตาม (บ้างก็เรียก "การยึดอำนาจ" "การเปลี่ยนแปลงการปกครอง" "การปฏิวัติ" หรือ "การอภิวัฒน์") เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน ต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนาน เป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา
ลำดับเหตุการณ์ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469-2475)
พ.ศ. 2469
- กุมภาพันธ์ - คณะราษฎรได้ถูกจัดตั้ง และประชุมครั้งแรก ที่หอพัก Rue Du Somerard กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน คือ
- ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6)
- ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส)
- ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส)
- นายตั้ว ลพานุกรม (นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์)
- หลวงสิริราชไมตรี (ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส)
- นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ)
- นายปรีดี พนมยงค์ (ดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส)
การประชุมกินเวลานานถึง 5 วัน และลงมติให้นายปรีดีเป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎร จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นในกาลต่อไป[1][2]
พ.ศ. 2475
- 12 มิถุนายน - คณะราษฎรได้วางแผนการที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ นครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
- 24 มิถุนายน - คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ. 2475-2503)
พ.ศ. 2475
- 27 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่ว คราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่าง[3]
- 28 มิถุนายน - สภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครอง ประเทศชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน ทำการเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย[4] และมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎรคนแรก[5]
- 25 สิงหาคม - คณะราษฎรโดย พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย (เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า "พรรคการเมือง")[6][7]
- 10 ธันวาคม - รัฐธรรมนูญฉบับถาวรผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทน ราษฎร ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย (โดยไม่ได้ใช้ชื่อตำแหน่งว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร และ กรรมการราษฎร อีกต่อไป) คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีประจำกระทรวง 7 กระทรวง และรัฐมนตรีลอยอีก 13 คน[2]
- 15 มีนาคม - นายปรีดีเสนอ "เค้าโครงร่าง เศรษฐกิจ" หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลักสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ[8][9]
พ.ศ. 2476
- 1 เมษายน - มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา[10] (บางข้อมูลอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการยึดอำนาจตัวเอง เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่[2])
- 2 เมษายน - พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ถูกประกาศใช้ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[11] เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[2] (ในที่นี้ อาจหมายถึง คณะราษฎร เพราะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอยู่ตรงข้ามกับคณะราษฎร)
- 12 เมษายน - นายปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของนายปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ ที่เจ้าและขุนนางต้องเสียผลประโยชน์[12]
- 10 มิถุนายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก[10]
- 20 มิถุนายน - พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาทำ การยึดอำนาจพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี หลังจากการรัฐประหารได้มีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
- 29 กันยายน - นายปรีดี พนมยงค์เดินทางกลับสยาม และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 11 ตุลาคม - กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของ รัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดชฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ("สมุดปกเหลือง") โดยออกเป็นสมุดปกขาว แต่กระทำการไม่สำเร็จ
- 23 ตุลาคม - นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา
- 25 ตุลาคม - พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส
- 7 พฤศจิกายน - ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[2] (ในที่นี้ อาจหมายถึง ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร)
- 16 ธันวาคม - พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม)[11]
- 25 ธันวาคม - หม่อมเจ้าวรรณไว ทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่นายปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าตัวนายปรีดี มิได้เป็นคอมมิวนิสต์[2]
พ.ศ. 2477
- 2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ
- 2 มีนาคม - พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา 5 เดือน 10 วัน ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- 13 กันยายน - รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง[11]
- 22 กันยายน - ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11]
พ.ศ. 2480
- 27 กรกฎาคม - พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มา ซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขายที่ดินดังกล่าว[2]
- 7 พฤศจิกายน - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ไทย
พ.ศ. 2481
- 11 กันยายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำ เสนอ[2]
- 16 ธันวาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2484
- 8 ธันวาคม - สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย: กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีก หลายจังหวัดในภาคกลางที่ติดอ่าวไทย
- 11 ธันวาคม - รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง
- 12 ธันวาคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่ นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมาร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาล
พ.ศ. 2486
- 8 มิถุนายน - นายปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เป็นไปตามวิธีทางของรัฐธรรมนูญ หลังจากรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
พ.ศ. 2487
- 24 กรกฎาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ที่ จอมพล ป. นำเสนอ[2]
- 1 สิงหาคม - พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
- 24 สิงหาคม - จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]
พ.ศ. 2488
- 20 สิงหาคม - รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม[2]
- 1 กันยายน - นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลรักษาการ โดยมีอายุเพียง 17 วัน โดยรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสรีไทย[2]
- 17 กันยายน - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจราเอาทหารอังกฤษและข้อตกลงสัญญาบางประการกับประเทศอังกฤษ ภายหลังสงครามยุติ เนื่องจากอังกฤษไม่ยอมรับสถานภาพของประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่น
- 27 กันยายน - รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ[2]
- 15 ตุลาคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
พ.ศ. 2489
- 1 มกราคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
- 6 มกราคม - มีการเลือกตั้งทั่วไป
- 31 มกราคม - พันตรีควง อภัยวงศ์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 และจัดตั้งรัฐบาลต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
- 18 มีนาคม - นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ[2]
- 24 มีนาคม - นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี[2]
- 5 เมษายน - ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายควง เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมเป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์เป็น รองเลขาธิการพรรค
- 9 พฤษภาคม - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระราชทานให้นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[11]
- 9 มิถุนายน - เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล: นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระ อนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้ สวรรคตเสียแล้ว
- 9 มิถุนายน - ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ร้ายแรงมาก จนกลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
- 5 สิงหาคม - การเลือกตั้งเพิ่มเติม
- 23 สิงหาคม - พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2]
พ.ศ. 2490
- 19-26 พฤษภาคม - พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า มหกรรม 7 วัน การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
- 8 พฤศจิกายน - พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง[13] จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน[12] อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการ เมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
- 9 พฤศจิกายน - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (หรือที่รู้จักกันว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม") ในการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการยึดอำนาจแล้วทำลายรัฐธรรมนูญเดิมเสีย[14]
- 10 พฤศจิกายน - นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกเป็นวาระที่ 3
พ.ศ. 2491
- 6 มกราคม - การเลือกตั้งทั่วไป
- 29 มกราคม - พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาล และนายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ หลังจากกำลังทหารทำการยึดอำนาจและได้มีกำหนดให้เลือกตั้ง
- 6 เมษายน - คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในการรัฐประหารครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะทหาร และที่สำคัญการรัฐประหารนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต
พ.ศ. 2492
- 26 กุมภาพันธ์ - กบฎวังหลวง: นายปรีดีเดินทางกลับเข้าเมืองไทย และร่วมกับพรรคพวกกลุ่มหนึ่งพยายามยึดอำนาจคืน แต่ประสบความล้มเหลว นายปรีดีจึงต้องหนีกลับไปประเทศจีนอีกครั้ง[12]
- 4 มีนาคม - นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง สามใน "สี่เสืออีสาน" ถูกยิงคารถระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ต้องหาโดยไม่มีตำรวจได้รับความบาดเจ็บสักคน[2] กลายเป็นที่มาของคดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2494
- 29 มิถุนายน - กบฏแมนฮัตตัน: เกิดการกบฎเมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.อ.อานน บุญฑริกธาดา รน. และ น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตัน ไปคุมขังไว้ที่เรือศรีอยุธยา
- 29 พฤศจิกายน - รัฐประหารเงียบ: จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง[14]
พ.ศ. 2495
- 26 กุมภาพันธ์ - มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จากเหตุที่ จอมพล ป. ทำการรัฐประหารตัวเอง
- 13 ธันวาคม - นายเตียง ศิริขันธ์ หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้งในสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร
พ.ศ. 2498
- 17 กุมภาพันธ์ - เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8[15]
พ.ศ. 2500
- 26 กุมภาพันธ์ - รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดการเลือกตั้งทั่วไป แต่ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ร่ำลือว่าสกปรกที่สุด เต็มไปด้วยการโกงจากฝ่ายรัฐบาล ต้องนับคะแนนยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน
- 16 กันยายน - คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม[11]
- 21 กันยายน - คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจ ได้แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และเลขาธิการซีโต้ มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวราวสามเดือน เพื่อจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม[11]
พ.ศ. 2501
- 1 มกราคม - พลโทถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก
- 20 ตุลาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ[13]
พ.ศ. 2502
- 9 กุมภาพันธ์ - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
- ในลำดับเหตุการณ์ข้างต้น ระหว่างปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งปีพุทธศักราชมีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มศักราช จากเดิมเริ่มต้นปีในวันที่ 1 เมษายน แต่หลังจากปี พ.ศ. 2483 ประเทศไทยได้ปรับวันขึ้นปีเป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในปีก่อน พ.ศ. 2483 เกิดความสับสนในการเรียงลำดับ
อ้างอิง
- ^ thunder.prohosting.com สยาม 2475 - 2490 คณะราษฎร
- ^ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2550
- ^ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หน้า 111 หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543
- ^ www.sarakadee.com ยุทธการยึดเมือง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
- ^ คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หน้า 112 หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543
- ^ รากฐานไทย, ความเป็นมาพรรคการเมืองไทย, เว็บไซต์รากฐานไทย
- ^ สารคดี, วันนี้ในอดีต: 25 สิงหาคม, นิตยสารสารคดี, 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ^ www.pridi-fo.th.com ปฏิทินชีวิต นายปรีดี พนมยงค์
- ^ อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พุทธศักราช 2547, 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร
- ^ 10.0 10.1 บทความ เมรุคราวกบฎบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550
- ^ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ, เสน่ห์ จามริก
- ^ 12.0 12.1 12.2 geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์
- ^ 13.0 13.1 ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ)
- ^ 14.0 14.1 บทบาทเส้นทางประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญในระบบประชาธิปไตยไทย, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
- ^ 50 ปีการประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2548
ดูเพิ่ม
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
|
|
-----------------------------------------------------------
FfF