หากเส้นเกิดจากจุดจำนวนมากเ รียงต่อกัน เส้นของขบวนการเคลื่อนไหวใน ยุคใหม่ก็เกิดจากการรวมตัวกันของจุดจำนวนมากที่เรียกว่ า Affinity Group ซึ่งในที่นี้ขอแปลไปพลาง ๆ ก่อนว่า “กลุ่มเครือสหาย”
กลุ่มเครือสหายเป็นเสมือนนิ วเคลียส ของขบวนการเคลื่อนไห ว แต่สิ่งที่แตกต่างจากนิวเคลียส ของขบวนการเคลื่อนไหวในส มัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นขบวนการชาตินิย ม หรือขบวนการสังคมนิยม ก็คือนิวเคลียสของขบวนการสั งคมใหม่มีเป็นจำนวนมากมายนั บไม่ถ้วน ต่างก็มีอิสระในตัวเอง แต่ขณะเดียวกันก็เกี่ยวร้อย กับ นิวเคลียสอื่น ๆ อย่างหลวม ๆ พร้อมที่จะแตกตัวและพร้อมที่จะมารวมตัวกันใหม่ ในแง่นี้ ขบวนการเคลื่อนไหวยุคใหม่จึ ง สอดคล้องกับแนวทางของลัทธิ อนาธิปไตย หากมิใช่ประกาศว่าเป็นอนาธิ ปไตย เต็มตัว
ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มเ ครือสหายนั้น สามารถสืบย้อนไปได้ถึงต้นกำ เนิดในขบวนการอนาธิปไตยในสเ ปน ยุคศตวรรษที่ 19 สเปนเป็นประเทศที่ลัทธิอนาธ ิปไตยมีความเข้มแข็งและเป็น ที่นิยมมากที่สุดประเทศหนึ่ งในโลก โดยเฉพาะในช่วงก่อนยุคเผด็จ การนายพลฟรังโก ในสมัยนั้น นักอนาธิปไตยและนักกิจกรรมข อง ขบวนการแรงงานจะรวมตัวกัน ใน หมู่เพื่อนสนิทเป็นกลุ่มเ ล็ก ๆ เรียกว่า “tertulias” (tertulia ในภาษาสเปนแปลว่า gathering เป็นการมาชุมนุมกันเพื่อพูด คุย ถกเถียงในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเมือง วรรณคดี ศิลปะ ฯลฯ) หรือ grupos de afinidad ซึ่งก็คือที่มาโดยตรงของคำว่า Affinity Group นั่นเอง
จากการรวมตัวในหมู่เพื่อนฝู ง เพื่อพูดคุยถกเถียงกันถึงเ รื่อง ต่าง ๆ ตามร้านกาแฟ ในปี ค.ศ. 1888 เมื่อเกิดความขัดแย้งทางชนชั้นอย่างรุนแรงในยุโรป มีการก่อกบฏและการต่อสู้หลา ย ครั้งในหลายท้องถิ่นของสเป น องค์กรของนักอนาธิปไตยและแร งงานสเปนจึงเปลี่ยนรูปแบบขอ ง การรวมตัวกันตามธรรมชาตินี้ ให้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญขอ ง การจัดตั้ง ขบวนการกลุ่มเครือสหายของนั กอนาธิปไตยสเปนนี่เองที่เป็ นแนวหน้าในการต่อสู้กับลัทธิฟาสซิสต์ในระหว่างสงครามกล างเมืองสเปน (Spanish Civil War 1936-9)
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลุ่มเครือสหายอนาธิปไตยรวม ตัวกันเป็นสหพันธ์อนาธิปไตย ไอบีเรียน (Federación Anarquista Ibérica—FAI) โดยมีสมาชิกอยู่ในราว 50,000 คน จำนวนสมาชิกจะเพิ่มขึ้นอีกม าก ในช่วงสงครามกลางเมือง (นอกจาก FAI ยังมีกลุ่มเครือข่ายอนาธิปไ ตยอื่น ๆ อีก เช่น CNT แต่ FAI จัดเป็นเครือข่ายที่ราดิกัล ที่สุด) กลุ่มเครือสหายที่รวมตัวกัน เป็น FAI นั้น ต่างก็มีอิสระเป็นเอกเทศในตัวเอง ไม่มีการรวมศูนย์อำนาจ ไม่มีโครงสร้างการบังคับบัญ ชา เป็นลำดับชั้น สมาชิกแต่ละคนมีเสรีภาพในกา รสร้างแนวทางต่อต้านขัดขืนข องตนเอง
การรวมตัวของ FAI จึงเป็นไปอย่างหลวม ๆ ในพื้นที่ที่มีกลุ่มเครือสห ายที่เป็นสมาชิก FAI หลายกลุ่ม พวกเขาจะจับมือกันจัดตั้งสห พันธ์ ระดับท้องถิ่น สหพันธ์ท้องถิ่นหลาย ๆ สหพันธ์จะประสานงานกันด้วยค ณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาจ ากตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากก ลุ่มเครือสหายแต่ละกลุ่ม จากนั้นสหพันธ์ท้องถิ่นจะส่ ง ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจไปที่ คณะ กรรมการระดับภูมิภาคและค ณะ กรรมการระดับชาติเป็นขั้น สุดท้าย แต่กลุ่มเครือสหายแต่ละกลุ่ ม ยังคงมีอิสระเป็นเอกเทศ มีการศึกษา การจัดตั้ง การดำเนินงานและปฏิบัติการต่อสู้ของตัวเอง
ในแง่หนึ่ง กลุ่มเครือสหายและ FAI มีการดำเนินการที่เป็นความลับมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแทรก ซึมและปราบปรามของอำนาจปกคร องและตำรวจ การที่กลุ่มเครือสหายมีสมาชิกจำนวนน้อยและต่างรู้จักกั นและกันดีเป็นระยะเวลานาน จึงช่วยป้องกันการแทรกซึมจา กตำรวจได้เป็นอย่างดี
แนวคิดในการจัดตั้งขบวนการโ ดย มีรากฐานอยู่บนกลุ่มเครือ สหาย มาปรากฏอีกครั้งในขบวนการต่ อต้านนิวเคลียร์ที่สหรัฐอเม ริกา เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1977 เมื่อประชาชนราว 2,500 คน ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาจากการรวม ตัว ของกลุ่มเครือสหายจำนวนม าก บุกเข้ายึดโรงปฏิกรณ์ปรมาณู ที่ นิวแฮมป์เชียร์ ขบวนการต่อต้านนิวเคลียร์ใช้วิธีการรูปแบบนี้ในปฏิบัติ การที่ประสบความสำเร็จมากมา ยหลายครั้งตลอดทศวรรษที่ 1970 และ 1980 การจัดตั้งแนวทางนี้ยังมีปร ากฏในขบวนการโซลิดาริตีในอเ ม ริกากลาง, ขบวนการปลดปล่อยของคนรักเพศ เดียวกัน, องค์กร Earth First และขบวนการด้านสิ่งแวดล้อม และที่โด่งดังล่าสุดคือขบวน การสังคมใหม่ที่ประท้วง WTO ในซีแอตเติล, ประท้วง IMF และธนาคารโลกในวอชิงตัน ดีซี, ประท้วงการประชุมสุดยอด FTAA ในควิเบก ตลอดจนการประท้วงสงครามอัฟก านิสถานและอิรักในหลายประเท ศทั่วโลก
ลักษณะและแนวคิดของกลุ่มเครือสหายในขบวนการสังคมใหม่
กลุ่มเครือสหายเป็นคนกลุ่มเ ล็ก ๆ อาจมีตั้งแต่ 3-5 คน ไปจนถึง 20 คน คนเหล่านี้ทำงานร่วมกันในโค รงการหรือปฏิบัติการอันใดอั นหนึ่ง แรกเริ่มเดิมที กลุ่มเครือสหายเป็นกลุ่มที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นการรวมตัวของเพื่อนฝูง คนในชุมชน ที่ทำงานหรือองค์กรเดียวกัน แต่ในระยะหลัง มีการจงใจจัดตั้งกลุ่มเครือ สหายขึ้นบ้าง โดยจัดให้จับกลุ่มกันในหมู่ คน ที่มีเป้าหมายร่วมกัน เช่น การจัดกลุ่มที่เกิดขึ้นในกา รอบรมปฏิบัติการท้าทายซึ่งห น้า (direct action) หรือการอบรมวิธีการอารยะขัด ขืน เป็นต้น กลุ่มเครือสหายอาจเป็นกลุ่ม ปิด (ไม่รับสมาชิกเพิ่ม) หรือกลุ่มเปิดก็ได้
โครงสร้างภายในกลุ่มเครือสห าย เป็นไปตามแนวทางการจัดตั้ ง แบบอนาธิปไตย ต่อต้านการตัดสินใจและการจั ดตั้งแบบลำดับชั้นที่มีการสั่งงานจากบนลงสู่ล่าง กลุ่มเครือสหายให้อำนาจแก่ส มาชิกแต่ละคนที่จะคิดสร้างส รรค์ การท้าทายซึ่งหน้าของตน เองขึ้นมา ดังนั้น สมาชิกจึงมิใช่แค่ “กระทำ” ปฏิบัติการ แต่ “เป็น” ปฏิบัติการนั้นด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไม่มีช่องว่างระหว่างเป้าหม าย กับวิธีการกลุ่มเครือสหายจัดตั้งในแนว ระนาบและไม่มีการรวมศูนย์ ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นหัวใ จสำคัญสองข้อของลัทธิอนาธิป ไตย
กิจกรรมของกลุ่มเครือสหายมี ได้ มากมายไม่มีที่สิ้นสุด ไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็นการป ระท้วงเท่านั้น แต่อาจเป็นกิจกรรมประจำวันที่ ทำร่วมกันหรือทำเป็นครั้ง คราว กิจกรรมต่าง ๆ มีอาทิ การติดป้ายผ้าขนาดใหญ่, ปิดถนนเพื่อขี่จักรยาน, ให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มเครือ สหายอื่นๆ , เล่นละครข้างถนน, นั่งล้อมต้นไม้ไม่ให้ถูกตัด , เปลี่ยนข้อความบนป้ายโฆษณาใ ห้เป็นข้อความล้อเลียน, เล่นดนตรี ฯลฯ ในระหว่างการประท้วง กลุ่มเครือสหายจะสร้างกิจกร รมตามความถนัดของตน รวมทั้งมีบางกลุ่มที่ทำหน้า ที่ เฉพาะบางอย่าง เช่น หน่วยพยาบาลฉุกเฉิน, หน่วยบริการอาหารและน้ำ, หน่วยกฎหมายในกรณีที่มีผู้ป ระ ท้วงถูกจับกุม เป็นต้น
ในสายตาคนภายนอกขบวนการที่มีฐานการจัดตั้งจ ากกลุ่มเครือสหายจำนวนมาก อาจดูเหมือนสับสนปนเปและไร้ ระเบียบ ทั้งนี้เพราะคนทั่วไปมักเคย ชิน กับโครงสร้างองค์กรที่มี การบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้ น และมีผู้นำที่ชัดเจน แต่อันที่จริง ขบวนการที่สร้างจากกลุ่มเครือสหายมีระบบระเบียบที่ชัดเ จน เพียงแต่มีความยืดหยุ่นมากก ว่า และแทนที่จะใช้การสั่งงานแบ บบังคับบัญชา ขบวนการกลุ่มเครือสหายจะใช้ วิธีการ ประสานงานเป็นโครงข่ าย โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้นำ กลุ่มเครือสหายแต่ละกลุ่ม ไปจนถึงสมาชิกแต่ละคน มีเสรีภาพในการตัดสินใจและพ ลิกแพลงไปตามสถานการณ์ เพียงแต่ยึดมั่นในหลักการบา งอย่างที่ตกลงร่วมกันไว้ก่อ นหน้า อาทิเช่น ปฏิบัติการต้องตั้งอยู่บนกา รไม่ใช้ความรุนแรง เป็นต้น
ตัวอย่างจากการประท้วงขนาดใ หญ่ ที่มีฐานการจัดตั้งจากกลุ่ม เครือสหาย อาทิ การประท้วง WTO ที่ซีแอตเติลเมื่อปี ค.ศ. 1999 ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้าป ฏิบัติการจริง กลุ่มเครือสหายจำนวนหลายพัน คน เข้าฝึกอบรมการไม่ใช้ความ รุนแรง เช่น การรักษาความสงบนิ่งในสถานก ารณ์ตึงเครียด, การใช้ยุทธวิธีอารยะขัดขืน, การตอบโต้กับความรุนแรงจากเ จ้าหน้าที่ และกระบวนการตัดสินใจร่วมกั น เป็นต้น
มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่เข้ารั บการอบรมระดับสอง ซึ่งเป็นการอบรมเกี่ยวกับกา รเตรียมตัวเมื่อถูกตำรวจจับ กุมคุมขัง, ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของกา รสมานฉันท์และความรู้ด้านกฎ หมาย รวมทั้งการสร้างสถานการณ์จำ ลองเมื่อมีการปราบปรามและจั บกุมคุมขัง นอกจากนี้ยังมีการอบรมเกี่ย วกับยุทธวิธีในการปิดถนน, การเล่นละครข้างถนน (street theatre) ฯลฯ
กลุ่มเครือสหายแต่ละกลุ่มจะ ตัดสินใจกันเองว่า จะมีส่วนร่วมในการประท้วงอย่างไร บางกลุ่มอาจทำละครข้างถนน, ทำป้ายผ้าและหุ่นกระดาษขนาด ใหญ่ หรืออาจทำง่าย ๆ แค่คล้องแขนในขบวนประท้วงปิ ดถนน ในแต่ละกลุ่มมักจะมีการตกลง กันเองภายในว่า คนไหนทำหน้าที่บุรุษ/นางพยา บาล เบื้องต้น คนไหนทำหน้าที่ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าว คนไหนที่พร้อมให้ตำรวจจับกุ ม และคนไหนในกลุ่มจะทำหน้าที่ คอยช่วยเหลืออยู่ภายนอกคุก ฯลฯ
กลุ่มเครือสหายต่าง ๆ จะจัดตั้งกันเป็น “รวงเถา” (cluster) รวงเถาเป็นการรวมตัวกันชั่ว คราว เพื่อปฏิบัติการเฉพาะอั นใดอันหนึ่ง หรือเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการประท้วง รวงเถาอาจมีหน้าที่รับผิดชอ บ ในการปิดล้อมพื้นที่ หรือเป็นเจ้าภาพการจัดประท้ วงในวันใดวันหนึ่งของการประ ท้วงที่มีต่อเนื่องหลายวัน หรือจัดแสดงละครข้างถนนขนาด ใหญ่ ฯลฯ การเกาะกลุ่มเป็นรวงเถาอาจจัดตั้งตามท้องถิ่นของกลุ่มเ ครือ สหาย (เช่น รวงเถากลุ่มเทกซัส) หรือเกาะกลุ่มตามอัตลักษณ์ห รือประเด็นปัญหา (เช่น รวงเถากลุ่มนักศึกษาหรือรวง เถา กลุ่มต่อต้านโรงงานนรก) หรือเกาะกลุ่มตามปฏิบัติการ (เช่น รวงเถากลุ่มละครข้างถนน)
ในการประท้วงที่ซีแอตเติลนั้น พื้นที่รอบศูนย์คอนเวนชั่นเ ซ็นเตอร์ ที่ใช้จัดประชุม WTO ถูกแบ่งออกเป็น 13 ส่วน โดยมีกลุ่มเครือสหายและรวงเ ถาแบ่งกันรับผิดชอบไปคนละส่ วน ยังมีบางกลุ่มทำหน้าที่เป็น “กลุ่มร่อน” กล่าวคือเป็นกลุ่มอิสระที่พ ร้อมจะเคลื่อนไหวเข้าไปเสริ มกำลัง ในจุดที่จำเป็น เมื่อปฏิบัติจริง รูปแบบการจัดตั้งเช่นนี้มีค วามยืดหยุ่นสูง หากได้รับสัญญาณขอกำลังคนเพิ่มในบางจุด กลุ่มเครือสหายจะประเมินกำลังสมาชิกของตนเอง แล้วตัดสินใจเองว่าจะเคลื่อ นไปช่วยตามสัญญาณเรียกหรือจ ะปักหลักอยู่ที่เดิม เมื่อถูกปราบปรามด้วยแก๊สน้ำตา, สเปรย์พริกไทย, กระสุนยาง, กระบอง ฯลฯ สมาชิกแต่ละคนและกลุ่มแต่ละ กลุ่ม จะประเมินกำลังของตนเอ ง ว่าจะปักหลักหรือล่าถอย หากมีกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงมา จะมีอีกกลุ่มหนึ่งเข้าไปแทน ที่ ในขณะเดียวกัน สมาชิกหรือกลุ่มที่ไม่พร้อม จะเผชิญหน้ากับการปราบปราม สามารถปักหลักอยู่ในพื้นที่ ที่ ไม่มีความเสี่ยง ทำหน้าที่สนับสนุนในด้านอื่ น ๆ หรือคอยชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน เป็นต้น
การประสานงานและความตกลงทั้ งหมดเกิดขึ้นในที่ประชุมของ สภา วาจก (Spokescouncil) สภาวาจกคือโครงสร้างการจัดตั้งเพื่อดำเนินปฏิบัติการขน าดใหญ่ แต่ละกลุ่มเครือสหายหรือรวง เถาจะมอบหมายให้วาจกคนหนึ่ง ซึ่งรับมอบการตัดสินใจของสม าชิกในกลุ่ม ไปเข้าร่วมประชุมสภาวาจก เพื่อร่วมตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ๆ บางอย่าง เช่น การตัดสินใจในเรื่องของยุทธ ศาสตร์ด้านกฎหมาย, จุดนัดพบและการส่งกำลังบำรุ ง ต่าง ๆ สภาวาจกจะไม่เข้าไปก้าวก่าย หรือ เข้าไปแทนที่ความเป็นอิ สระของกลุ่มเครือสหายใด ๆ ทั้งสิ้น กระบวนการตัดสินใจของสภาวาจ กมักใช้วิธีประชาธิปไตยแบบก ระบวนการแสวงหาฉันทามติ (onsensus)
เรียบเรียงจาก
http://en.wikipedia.org/
http://www.crimethinc.net/
http://www.radio4all.org/a ia/index.html
Starhawk, “How We Really Shut Down the WTO,” The Global Activist’s Manual, New York, 2002.
กลุ่มเครือสหายเป็นเสมือนนิ
ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มเ
จากการรวมตัวในหมู่เพื่อนฝู
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลุ่มเครือสหายอนาธิปไตยรวม
การรวมตัวของ FAI จึงเป็นไปอย่างหลวม ๆ ในพื้นที่ที่มีกลุ่มเครือสห
ในแง่หนึ่ง กลุ่มเครือสหายและ FAI มีการดำเนินการที่เป็นความลับมาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแทรก
แนวคิดในการจัดตั้งขบวนการโ
ลักษณะและแนวคิดของกลุ่มเครือสหายในขบวนการสังคมใหม่
กลุ่มเครือสหายเป็นคนกลุ่มเ
โครงสร้างภายในกลุ่มเครือสห
กิจกรรมของกลุ่มเครือสหายมี
ในสายตาคนภายนอกขบวนการที่มีฐานการจัดตั้งจ
ตัวอย่างจากการประท้วงขนาดใ
มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่เข้ารั
กลุ่มเครือสหายแต่ละกลุ่มจะ
กลุ่มเครือสหายต่าง ๆ จะจัดตั้งกันเป็น “รวงเถา” (cluster) รวงเถาเป็นการรวมตัวกันชั่ว
ในการประท้วงที่ซีแอตเติลนั้น พื้นที่รอบศูนย์คอนเวนชั่นเ
การประสานงานและความตกลงทั้
เรียบเรียงจาก
http://en.wikipedia.org/
http://www.crimethinc.net/
http://www.radio4all.org/a
Starhawk, “How We Really Shut Down the WTO,” The Global Activist’s Manual, New York, 2002.
ที่มา http://www.facebook.com/#!/note.php?note_id=127085460659441&id=10000111618772
โดย facebook ภัควดี
FfF