บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


30 สิงหาคม 2553

<<< ผลเลือกตั้ง ส.ก. บ่งบอกว่า ยังไงก็แดง >>>

อันนี้เป็นผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการล่าสุด

++++++++++++++++++++++++

เขตคลองเตย นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา พรรคประชาธิปัตย์ 14,387 คะแนน
เขตคลองสาน นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล พรรคประชาธิปัตย์ 9,590 คะแนน
เขตคันนายาว นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย 15,646 คะแนน
เขตดินแดง นางอนงค์ เพชรทัต พรรคเพื่อไทย 17,373 คะแนน
เขตดุสิต นายศิริพงษ์ ลิมปิชัย พรรคเพื่อไทย 14,160 คะแนน
เขตตลิ่งชัน พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง พรรคประชาธิปัตย์ 16,583 คะแนน
เขตทวีวัฒนา นายสุไหง แสวงสุข พรรคประชาธิปัตย์ 15,627 คะแนน
เขตทุ่งครุ นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 11,635 คะแนน
เขตธนบุรี นายวิชัย หุตังคบดี พรรคเพื่อไทย 12,821 คะแนน
เขตบางกอกน้อย นายนภาพล จีระกุล พรรคประชาธิปัตย์ 19,413 คะแนน
เขตบางกอกใหญ่ นายวิรัช คงคาเขตร พรรคประชาธิปัตย์ 14,131 คะแนน
เขตบางคอแหลม นายอภิมุข ฉันทวานิช พรรคประชาธิปัตย์ 14,689 คะแนน
เขตบางซื่อ น.ส.พรพิมล คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์ 22,157 คะแนน
เขตบางนา นายคำรณ บำรุงรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ 13,336 คะแนน
เขตบางบอน นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 14,073 คะแนน
เขตบางพลัด นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล พรรคประชาธิปัตย์ 12,608 คะแนน
เขตบางรัก นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา พรรคประชาธิปัตย์ 8,540 คะแนน
เขตบึงกุ่ม นายแมน เจริญวัลย์ พรรคประชาธิปัตย์ 21,043 คะแนน
เขตปทุมวัน นางสาวอุไร อนันตสิน พรรคประชาธิปัตย์ 6,463 คะแนน
เขตป้อมปราบฯ นายเอก จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 8,742 คะแนน
เขตพญาไท นายพีรพล กนกวลัย พรรคประชาธิปัตย์ 11,415 คะแนน
เขตพระโขนง นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 16,170 คะแนน
เขตพระนคร น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ พรรคประชาธิปัตย์ 10,481 คะแนน
เขตภาษีเจริญ นายสุธา นิติภานนท์ พรรคประชาธิปัตย์ 18,784 คะแนน
เขตมีนบุรี นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย 20,532 คะแนน
เขตยานนาวา นายอมรเทพ เศตะพราหมณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 14,305 คะแนน
เขตราชเทวี นางผุสดี วงศ์กำแหง พรรคประชาธิปัตย์ 8,457 คะแนน
เขตราษฎร์บูรณะ นายไสว โชติกะสุภา พรรคประชาธิปัตย์ 12,478 คะแนน
เขตลาดพร้าว นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ พรรคประชาธิปัตย์ 16,975 คะแนน
เขตวังทองหลาง นายบำรุง รัตนะ พรรคประชาธิปัตย์ 15,391 คะแนน
เขตวัฒนา นายประสิทธิ์ รักสลาม พรรคประชาธิปัตย์ 11,301 คะแนน
เขตสวนหลวง นายณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ 19,005 คะแนน
เขตสะพานสูง นายประสิทธิ์ มะหะหมัด พรรคเพื่อไทย 10,983 คะแนน
เขตสัมพันธวงศ์ นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์ 6,446 คะแนน
เขตสาทร นายธวัชชัย ปิยนนทยา พรรคประชาธิปัตย์ 14,428 คะแนน
เขตหนองแขม นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย 22,804 คะแนน
เขตหนองจอก นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย 20,787 คะแนน
เขตหลักสี่ น.ส. เรณุมาศ อิศรภักดี อิสระ 11,289 คะแนน
เขตห้วยขวาง นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ พรรคเพื่อไทย 13,621 คะแนน
เขตจตุจักร
เขตที่ 1 นายประพนธ์ เนตรรังษี พรรคเพื่อไทย 10,057 คะแนน
เขตที่ 2 นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 11,518 คะแนน
เขตจอมทอง
เขตที่ 1 นายพิรกร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ 11,471 คะแนน
เขตที่ 2 นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ 14,369 คะแนน
เขตสายไหม
เขตที่ 1 น.ส.รัตติกาล แก้วเกิดมี พรรคประชาธิปัตย์ 13,218 คะแนน
เขตที่ 2 นายสมชาย เวสารัชตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ 13,336 คะแนน
เขตบางเขน
เขตที่ 1 นายสายันต์ จันทร์เหมือนเผือก พรรคเพื่อไทย 13,979 คะแนน
เขตที่ 2 น.ส.ปราณี เชื้อเกตุ พรรคประชาธิปัตย์ 12,922 คะแนน
เขตบางแค
เขตที่ 1 นายสุพิน คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ 14,030 คะแนน
เขตที่ 2 นายเพทาย จั่นเผื่อน พรรคประชาธิปัตย์ 16,036 คะแนน
เขตบางกะปิ
เขตที่ 1 นายประเสริฐ ทองนุ่น พรรคประชาธิปัตย์ 10,816 คะแนน
เขตที่ 2 นางนฤมล รัตนาภิบาล พรรคประชาธิปัตย์ 8,578 คะแนน
เขตบางขุนเทียน
เขตที่ 1 นายสารัช ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 11,272 คะแนน
เขตที่ 2 นายสาทร ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 11,468 คะแนน
เขตประเวศ
เขตที่ 1 นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล พรรคประชาธิปัตย์ 11,867 คะแนน
เขตที่ 2 นายกิตพล เชิดชูกิจกุล พรรคประชาธิปัตย์ 12,140 คะแนน
เขตคลองสามวา
เขตที่ 1 นายวิรัช อินช่วย พรรคประชาธิปัตย์ 10,525 คะแนน
เขตที่ 2 นายชูชาติ ประเสริฐกรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 11,774 คะแนน
เขตดอนเมือง
เขตที่ 1 นายสุริยา โหสกุล พรรคเพื่อไทย 11,170 คะแนน
เขตที่ 2 นางพิมพ์ชนา โหสกุล พรรคเพื่อไทย 11,863 คะแนน
เขตลาดกระบัง
เขตที่ 1 นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย 10,096 คะแนน
เขตที่ 2 นายณัฐ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย 10,425 คะแนน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000120747

------------------------------------------------------------

ส่วนอันนี้คะแนนยังไม่ค่อยนิ่ง
รวบรวมมาจากรายงานเป็นระยะๆ ของมติชน
แต่พอดูภาพเทียบกับคู่แข่งได้
อยากให้มีการสรุปทุกเขตแบบนี้มรายละเอียดของคู่แข่งด้วย
ไม่ใช่มีแต่ผู้ชนะเอาไปวิเคราะห์อะไรไม่ค่อยได้
ถ้ามีแบบนี้ยังพอวิเคราะห์ได้ว่าแพ้ชนะกันมากน้อยแค่ไหน
ถ้ามีแต่ผลว่าใครชนะ
อาจวิเคราะห์ผิดว่าคนเขตนั้นเขตนี้
ไม่มีพวกเราเลยรึไง
แต่ถ้าเห็นผลคะแนนทั้งหมด
เราจะรู้เองว่าแพ้แค่ระดับร้อยมีหลายเขต
และทุกเขตก็มีคนเลือก
และน่ามีแนวทางเจาะยังไงได้เพิ่มอีกด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เขตคลองเตย
นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ปชป. 9563
นายเจน หิมะทองคำ พท. 7043
พ.ต.ท.ขวัญชัย ชัยเวช กมม. 2275

คลองสาน
นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล ปชป. 9568
น.ส.สายรุ้ง ปิ่นโมรา กมม. 7747
นายโกสินทร์ สุทธิรัตน์ พท. 5601

คันนายาว
นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พท. 15648
นายโยธิน ปัชฌามุก ปชป. 9978
นายเกษม ทรัพย์เจริญ กมม. 706

ดุสิต
นายศิริพงษ์ ลิมปิชัย พท. 11421
นางบุศกร คงอุดม ปชป. 9684
นายมนัส พงศ์วรินทร์ กมม. 1066

ดินแดง
นางอนงค์ เพชรทัต พท. 17,482
นายสิทธิ วัฒน์ ชีรวินิจ ปชป. 16,420

ตลิ่งชัน
พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง ปชป. 16583
นายสมคิด ชุ่มปลั่ง พท. 10035
นายเป็นเลิศ จิรังนิมิตสกุล กมม. 3338

ทวีวัฒนา
นายสุไหง แสวงสุข ปชป. 15627
พ.ต.ท.หญิงอรุณศรี โสขุมา พท. 6801

ทุ่งครุ
นายวันชัย เปี่ยมสวัสดิ์ ปชป. 9166
นายสุวรวิทย์ วรรณศิริกุล พท. 8444
นายวิโรจน์ ญาณพิชิต กมม. 4683
นายศิริพงษ์ เย็นอังกูร มภ. 2384

ธนบุรี
นายวิชัย หุตังคบดี พท. 7965
นายสมเกียรติ กันทรวรากร ปชป. 6485
นายสมชาย เอี่ยมมงคลสกุล กมม. 5467
นายสุวรรณ เอี่ยมสุขนันท์ อิสระ 2781

บางกอกน้อย
นายนภาพล จีระกุล ปชป. 12454
นายประสาร แก้วนิยม พท. 5364
นายสันติ ระฆังทอง กมม. 1796

บางกอกใหญ่
นายวิรัช คงคาเขตร ปชป. 14131
นางทิพย์ประภา ศุขบุญ พท. 7351

บางคอแหลม
นายอภิมุข ฉันทวานิช ปชป. 14354
นางจุฑาเพชร จินตโสภณ พท. 7649
นายสมเกียรติ อโนทัยสินทวี กมม. 4466

บางซื่อ
น.ส.พรพิมล คงอุดม ปชป. 11989
น.ส.ภัคภร ตั้งปณิธานสุข พท. 6469

บางนา
นายคำรณ บำรุงรักษ์ ปชป. 13552
นายกวีวงศ์ อยู่วิจิตร พท. 9980
นายพัสกร พุฒขาว กมม. 2440

บางบอน
นายณรงค์ศักดิ์ ม่วงศิริ ปชป. 7416
นายเชาว์ สังข์คุ้ม พท. 3988
นายสมพร คงโครัด กมม. 3760

บางพลัด
นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล ปชป. 12326
นายวัชรา พรหมเจริญ พท. 7463
นายศีลธรรม พัชรประกาย อิสระ 6274
นายมนูญ นกยูงทอง กมม. 2546

บางรัก
นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา ปชป. 10241
นายอภิชาติ อุดม กมม. 2779
นายธานี บุปผเวส พท. 2650

บึงกุ่ม
นายแมน เจริญวัลย์ ปชป. 21043
นายกษิณ พุกรักษา พท. 16138
นายบุญส่ง ชเลธร กมม. 4685

ปทุมวัน
น.ส.อุไร อนันตสิน ปชป. 4263
น.ส.เมธาวี ธารดำรงค์ อิสระ 2907
นายวิเชียรโชติ ส่งอาภากรณ์รัตน์ พท. 2504
นายปฐม สุคนธชาติ กมม. 1130
นายสุวิทย์ ทรัพย์เกตโสภา อิสระ 69
นายภูมิพิชัย ธารดำรงค์ อิสระ 19

ป้อมปราบฯ
นายเอก จึงเลิศศิริ ปชป. 8742
นางมาลี อุ่นมงคลมิตร พท. 2791
นายธนภัทร ธาตวากร กมม. 2661

พญาไท
นายพีรพล กนกวลัย ปชป. 6393
นายกวี ณ ลำปาง พท. 4187
นายสุชาติ วิริยานุภาพพงศ์ กมม. 1005

พระโขนง
นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ ปชป. 12197
นายสมศักดิ์ รัตนกังวานวงศ์ พท. 7181

พระนคร
น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ปชป. 9283
นายบดินทร์ วัชโรบล พท. 3549
นายรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี กมม. 2877
นายพงษ์พจน์ พิมพ์สมฤดี อิสระ 55

ภาษีเจริญ
นายสุธา นิติภานนท์ ปชป. 14407
นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา พท. 14181
น.ส.เพ็ญพิมล วิภาคทรัพย์ กมม. 1915

มีนบุรี
นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ พท. 20532
นายสุนันท์ มีนมณี ปชป. 15794
นายธนาวุฒิ วงษ์เสน กมม. 895
นายสุรชัย นิวาสพันธุ์ อิสระ 183

ยานนาวา
นายอมรเทพ เศตะพราหมณ์ ปชป. 11045
นายณรงค์ กองปัญญา พท. 4802

ราชเทวี
นางผุสดี วงศ์กำแหง ปชป. 8568
นายเอกกฤษ อุณหกานต์ พท. 5619
นายปรเมษฐ์ ภู่โต กมม. 2657

ราษฎร์บูรณะ
นายไสว โชติกะสุภา ปชป. 18057
นายสุเมธี วรรณศิริกุล พท. 7766
นายสมพงษ์ สุวรรณคู กมม. 2201

ลาดพร้าว
น.ส.บุณฑริกา ประสงค์ดี พท. 7878
นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ปชป. 5867
นายปรีดา พักงาน กมม. 1389

วังทองหลาง
นายบำรุง รัตนะ ปชป. 13960
นายสิงห์ทอง บัวชุม พท. 9743
นายนัสเซอร์ ยีหมะ กมม. 1660

วัฒนา
นายประสิทธิ์ รักสลาม ปชป. 11301
นายธนินท์พล ปิคิธนภูมิพัฒน์ พท. 3135
ว่าที่ร.ต.นภดล เดชาฤทธิ์ กมม. 2216

สวนหลวง
นายณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ ปชป. 19005
นายคงเจษฏร์ พุ่มม่วง พท. 8877
นายเนติราษฎร์ นาคโฉม อิสระ 646

สะพานสูง
นายประสิทธิ์ มะหะหมัด พท. 10983
นายสามารถ หว้าพิทักษ์ ปชป. 9893
นายปราโมทย์ บุญชู อิสระ 2149
นายชเขษม ปจันทไทย กมม. 1526

สัมพันธวงศ์
นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ ปชป. 6311
นายสมหมาย ศรีสุทธิยางกูร กมม. 1465
นายปรีดา ปรัตถจริยา พท. 1338

สาทร
นายธวัชชัย ปิยนนทยา ปชป. 14073
นายไพรัชต์ พรรณรายน์ พท. 4708
นางกรรณิกา วิชชุลตา กมม. 3836

หนองแขม
นายนวรัตน์ อยู่บำรุง พท. 22804
นายอภิเดช ศรัทธาพิริยะพงศ์ ปชป. 12898
นายฮารูน มูหมัดอาลี กมม. 4976

หนองจอก
นายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ พท. 20787
น.ส.เบญญา ภาเกษประดิษฐ ปชป. 19233
นายวรรณภูมิ คำอ้อ กมม. 735

หลักสี่
น.ส.เรณุมาศ อิศรภักดี อิสระ 11289
นายรังสรรค์ กียปัจจ์ ปชป. 11,091
นายตกานต์ สุนนทวุฒิ พท. 10,364
นายศุภชัย เจียมสกุล กมม. 1,464
ว่าที่ ร.ต.อมรวิวัฒน์ พิกุลงาม มภ. 830

ห้วยขวาง
นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ พท. 13621
นายประวิทย์ พรหมทอง ปชป. 8759

จตุจักร 1
นายประพนธ์ เนตรรังษี พท. 9849
นายโยธิน เปาอินทร์ ปชป. 8207
นายถนอม พิมพ์ใจชน กมม. 1312

จตุจักร 2
นายอนันตชาติ บัวสุวรรณ์ ปชป. 11534
น.ส.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ พท. 11011
นายประกิต จันทร์สมวงศ์ กมม. 2488

จอมทอง 1
นายพิรกร วีรกุลสุนทร ปชป. 11229
นายธวัชชัย ทองสิมา พท. 10435

จอมทอง 2
นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ปชป. 13253
นายธนวัฒน์ จันทร์เศรษฐ พท. 7096

สายไหม 1
น.ส.รัตติกาล แก้วเกิดมี ปชป. 13218
นายเอกภาพ หงสกุล พท. 13034
นายวัชรินทร์ อนันหน่อ อิสระ 810

สายไหม 2
นายสมชาย เวสารัชตระกูล ปชป. 13287
นายอำนวย ชัยพรประเสริฐ พท. 6850

บางเขน 1
นายสายัณต์ จันทร์เหมือนเผือก พท. 13979
นายฐิติโชค กาญจนภักดี ปชป. 11033
สิบเอกอำพันธ์ เฉลิมบุญ ปชท. 1120

บางเขน 2
น.ส.ปราณี เชื้อเกตุ ปชป. 12285
นายณกรณ์ ทองศรี พท. 8463

บางแค 1
นายสุพิน คล้ายนก ปชป. 14245
พันตำรวจเอกสมชาย พงษ์ธานี พท. 6915
นายพัลลภ นางจีนวงศ์ กมม. 1441

บางแค 2
นายเพทาย จั่นเผื่อน ปชป. 15793
นายนิรันด์ พรมจีน พท. 10467
นายวิศิษฐ์ ดีเป็นธรรม กมม. 1772

บางกะปิ 1
นายประเสริฐ ทองนุ่น ปชป. 7547
นายชัยวุฒิ จริยวิโรจน์สกุล พท. 6809

บางกะปิ 2
นางนฤมล รัตนาภิบาล ปชป. 8581
นายเฉลิมชัย ฉิมหิรัญ พท. 5707
นายภูโมกข์ นุ่นจันทร์ กมม. 1493

บางขุนเทียน 1
นายสารัช ม่วงศิริ ปชป. 11272
นายสมศักดิ์ ลีลาสถาพรกูล พท. 6919
นายสุพจน์ ภูมิใจตรง อิสระ 872

บางขุนเทียน 2
นายสาทร ม่วงศิริ ปชป. 3842
นายสมชาติ รัตนเรืองกิต พท. 2196
นายนพดล อิศรเสนา ณ อยุธยา อิสระ 286

ประเวศ 1
นายธนวัฒน์ เชิดชูกิจกุล ปชป. 10202
นายธีระวุฒิ สัมมาทรัพย์ พท. 5065

ประเวศ 2
นายกิตพล เชิดชูกิจกุล ปชป. 11858
นายพารวย จันทรสกุล พท. 6117
นายธวัช กีรติอิสริยะกุล อิสระ 738

คลองสามวา 1
นายวิรัช อินช่วย ปชป. 10525
นายสุวิทย์ บุญมา พท. 9331
นายวิบูลย์ศักดิ์ หนันดี อิสระ 494

คลองสามวา 2
นายชูชาติ ประเสริฐกรรณ ปชป. 11801
นายลี่จั๊ว แซ่เฮ้ง พท. 11368

ดอนเมือง 1
นายสุริยา โหสกุล พท. 11187
นายพฤกพงษ์ เปรมศิริ ปชป. 6750
นางปภาวรินทร์ กลิ่นฟุ้ง อิสระ 1324
นายธนัชพงศ์ เกิดนาค กมม. 925
นายธนกร พูลมี อิสระ 369

ดอนเมือง 2
นางพิมพ์ชนา โหสกุล พท. 10172
นางกนกนุช นากสุวรรณ ปชป. 8363
นายชุติเดช สุวรรณเกิด กมม. 1118
นางอัมพร โสภณดิเรกรัตน์ อิสระ 823
นายศิวาวิทย์ สำเร็จผล อิสระ 477

ลาดกระบัง 1
นายวิสูตร สำเร็จวาณิชย์ พท. 10085
นายสมโภชน์ ชยุติแสงไพศาล ปชป. 7672
นายธนยศ เกษประดิษฐ อิสระ 5088

ลาดกระบัง 2
นายณัฐ สำเร็จวาณิชย์ พท. 10432
นายเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ ปชป. 7219
นายอำนวย นวลทอง กมม. 1817

http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...=00&catid=

------------------------------------------------------------

แม้จะเป็นการเมืองท้องถิ่น
แต่ก็มักจะมีเรื่องกระแสมาปนบ้างเล็กน้อย
ส่วนใหญ่การเลือก ส.ก. ส.ข.
มักเป็นการวัดฐานเสียง
คือคนที่พร้อมมาเลือกไม่ว่าฝนตกแดดออก
เรียกว่าพวกขาประจำก็ได้
ส่วนพวกขาจรมักจะขี้เกียจออกมาเลือก
จะออกมาทีก็เลือก ส.ส. ซะมากกว่า
ดูๆ ไปแล้วหลายๆ พื้นที่ แพ้ระดับร้อยคะแนน
ถือว่าแพ้แบบน่าเสียดายมากๆ
ถ้าทำงานหนักขึ้นอีกนิดหน่อย
เลือก ส.ส. งวดหน้า จะมีลุ้นมากขึ้น

และที่แปลกคือเขตดุสิต
งวดนี้เพื่อไทยยังชนะ
สงสัยพวกทหารในค่ายแถวนั้น
ไม่ออกมาเลือกตั้งหรือเปล่า
หรือว่าทหารออกมาเลือกให้ก็ไม่รู้เหมือนกัน

ส่วนเขตรอบนอกหลายๆ ที่ค่อนข้างแข็ง
จะแพ้ในพื้นที่ย่านธุรกิจมากเสียส่วนใหญ่
มันมีหลายเหตุผลเหมือนกัน
ทั้งเรื่องปัญหาการทำธุรกิจ
เรื่องคนเชื้อสายจีนซึ่งก็มักทำธุรกิจ
ส่วนใหญ่อาจเชียร์ปชป.
เรื่องฐานเสียงเดิม ปชป.
และฐานเสียงใหม่จากการใช้งบ กทม.
และของรัฐตอนนี้ลงไปในพื้นที่
โดยเฉพาะสมัยอภิรักษ์ทุ่มลงพื้นที่เยอะ
ทำให้เลือกผู้ว่า กทม. อภิรักษ์ชนะทุกเขต
และทำให้ฐานพวก สก. สข. แน่นมากขึ้นด้วย
อันนี้ต้องทำใจใครคุมงบประมาณ
ย่อมได้เปรียบระดับหนึ่ง
นอกจากนั้นอาจมีเรื่องโกงกันบ้าง
แต่เฉพาะเขตที่สูสีถึงมีผล
ถ้าชนะกันขาดก็ไม่มีผลเท่าไหร่
ก็จับตาดูให้เข้มข้นขึ้น
โดยเฉพาะในช่วงเลือก ส.ส.
เพราะมันมีผลกับคะแนน ส.ส. แบบสัดส่วน
ถ้าเลือก ส.ส.เขต ก็มีผลไม่มากนักเป็นเฉพาะเขตที่สูสีจริงๆ
ถ้าชนะขาดโกงเพิ่มมาเท่าไหร่ก็ไม่มีผลอะไร
แต่การเลือก ส.ส. สัดส่วนนี่มีผลเหมือนกัน
ดูรวมๆ แล้วจากที่เป็นรองในกรุงมาหลายปี
บวกกับกระแสเรื่องความรุนแรงหรือม็อบอะไรอีกก็ดี
แต่ผลเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาก็ยังถือว่า
อยู่ในระดับที่น่าพอใจ พอสมควร
ซึ่งอาจทำให้พวกที่ต้องการแปรพักตร์ในกรุง
อาจต้องคิดหนักหลายๆ รอบ
เพราะแปรพักตร์ไปโอกาสสอบตกมีสูง
เพราะจะแยกคะแนนพวกแดงแท้
กับคะแนนความนิยมส่วนตัวออกจากกันทันที
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเขตดอนเมือง
หลายๆ คนอาจงงว่าทำไมคนดอนเมือง
ถึงเลือกคนตระกูลโหสกุล
อาจมีบางคนไม่ชอบสไตล์การุณ
เลยพาลไปถึงคนใช้นามสกุลเดียวกันหมด
อันที่จริงเพราะฐานเสียงดั้งเดิมเขามีเยอะเหมือนกัน
และเลือก สก. ก็เคยพลาดท่าแพ้มาเหมือนกัน
เพราะชาวบ้านอาจยึดตัวบุคคล
เลือกคนที่ช่วยเหลือมากกว่า
แต่ครั้งนี้อาจไม่เลือกตัวบุคคลเหมือนเดิม
ไม่งั้นอาจแพ้ในบางเขตของดอนเมืองได้เหมือนกัน
เพราะคู่แข่งก็ไม่เบาในเรื่องเข้าหามวลชน
ไม่รวมถึงบุคลิกท่าทางได้เปรียบกว่าก็มี
ดูจากการปราศรัยหาเสียงตามแถวบ้านเรา
ถ้าการุณย้ายพรรค
อันนี้มีโอกาสเสียเก้าอี้ให้คู่แข่งได้เหมือนกัน
เพราะคนเสื้อแดงเขาอาจไม่ตามไปเลือก
ซึ่งถ้ามีวันนั้นก็มีเรา 1 เสียงที่ไม่เลือก

ทำงานการเมืองมันต้องอดทน
ประเภทลงสมัครหนสองหนแพ้แล้วเลิก
ก็ไม่น่าจะคิดมาเล่นการเมือง
บางคนแพ้หลายครั้งมาก
แต่สุดท้ายกลับมาชนะได้ในที่สุด
เมื่อโอกาสและฐานเสียงเพิ่มขึ้น
บางทีเขามีวิธีเจาะฐานเสียง
ดังนั้นเขตไหนสูสีเจาะเข้าไปเยอะๆ
ย่อมมีโอกาสชนะในการเลือกตั้งงวดต่อๆ ไปสูง
ส่วนเขตไหนชนะแล้วก็ต้องป้องกันการเจาะให้เยอะๆ
ส่วนบางเขตของคู่ต่อสู้ดูแข็งแกร่ง
อย่าได้ถอดใจ ส่งคนลงส่งเดช
ควรคัดคนและหาแนวทางเจาะฐานเสียงไปเรื่อยๆ
มีโอกาสอำนวยก็อาจเจาะได้สำเร็จได้เหมือนกัน
หรือเจาะไม่สำเร็จจนถึงได้รับการเลือกตั้ง
แต่ถ้าเจาะแล้วได้ฐานเสียงเพิ่ม
น่าจะถือว่าประสบความสำเร็จแล้วในพื้นที่พวกนี้
เช่นทางใต้ ในกรุง ภาคกลางและบางจังหวัด
เช่นสุพรรณบุรี บุรีรัมย์ อะไรพวกนี้
สมัยก่อนเคยเห็นช่วงกระแสแรงๆ
เคยเกือบเจาะสุพรรณบุรีได้
หรือแม้แต่บุรีรัมย์คน ปชป. และพรรคอื่น
ยังเคยเจาะได้บางเขตในบุรีรัมย์เหมือนกัน

ส่วนกรณีพรรคการเมืองใหม่นั้น
ถึงแม้ว่างวดนี้จะไม่ได้รับเลือกแม้แต่ที่นั่งเดียว
แต่ดูๆ แล้ว หลายๆ เขต เหลืองเอาเรื่องเหมือนกัน
นี่ขนาดมีบางพวกยอมไปเลือก ปชป. เพื่อสกัด พท. แล้วน่ะ

สำหรับใครที่ตั้งพรรคเล่นการเมือง
ผมถือว่าเป็นเรื่องดี
แต่แดงตอนนี้ ยังตั้งพรรคแบบนี้ไม่ได้
ต้องรอจนกว่าเพื่อไทยแตกจนไม่มีอะไรแล้ว
คือหาอุดมการณ์กันไม่เจอแล้ว
ตอนนี้ยังพอมีบางคน
แต่รวมๆ แล้วยังทำงานควบคู่กับเสื้อแดงได้ดี
แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง เข็นไม่ขึ้นไปไม่ไหว
และทอดทิ้งคนเสื้อแดง
ก็คงเห็นแววว่าจะถึงคราว
ต้องมีพรรคของเสื้อแดงบ้างเหมือนกัน
ซึ่งก็พอมีกระแสคนจะทำแล้ว
แต่ผมยังเห็นว่า
โดยรวมแล้ว พรรค พท. ยังพอไปได้
และยังแอบหนุนห่างๆ
เพราะบางคนกลัวไม่กล้าออกหน้าก็มี
อันนี้ก็ต้องยอมรับสภาพ
เพราะบุคลิกแต่ละคนไม่เหมือนกัน
แต่อยากจะฝากไว้อย่างหนึ่งว่า
"ยุคนี้ ถ้าใครไม่มีอุดมการณ์อย่ามาเล่นการเมืองเลย"

สิ่งที่ต้องการเรียกร้องหรือต่อสู้ให้ได้มาในระบอบประชาธิปไตย
จะเรียกร้องผ่านพรรคการเมืองดีที่สุด
ดังนั้นการมีพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เดียวกัน
ถือเป็นสุดยอดปราถนาของคนเคลื่อนไหวทางการเมือง
ซึ่งอาจจะเลือกวิธีตั้งพรรคใหม่หรือร่วมมือกับพรรคที่มีอยู่แล้ว
ในกรณีร่วมมือกับพรรคที่มีอยู่แล้วอย่างที่บอก
อุดมการณ์ต้องไปด้วยกันได้
ถ้าประเภททำตัวรังเกียจไม่อยากเป็นแดงด้วย
อันนี้คงร่วมกันลำบาก ทำงานไปด้วยกันไม่ได้
แถมขายตัวกันสนุกสนานเวลาใกล้เทศกาลการเลือกตั้ง
หาอุดมการณ์อะไรไม่เจอเลย
แต่ถ้ายังพอคุยกันได้ พอที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกันได้
ก็ยังถือว่าโอเค

กรณี พวกพันธมิตรกับ ปชป. นั้น
แม้ ปชป. จะหนุนหลังพันธมิตรชัดเจน
ทั้งทุนทั้งส่งคนหนุน ซึ่งเหมือนกับกรณี เสื้อแดง กับ พท.
แต่ระดับนำของพันธมิตรไม่ใช่คน ปชป.
และมีคนจำนวนมากที่ร่วมพันธมิตร
แต่ไม่ได้ชื่นชอบ ปชป.
ซึ่งในเสื้อแดงก็มีที่คนร่วมกับเสื้อแดง
แต่ไม่ได้ชื่นชอบ พท. ก็มี
แต่จากที่สัมผัสแล้วพบว่า
อัตราส่วนพวกเสื้อเหลืองจะมีคนไม่ยึดติด ปชป.
สูงกว่ากรณีเสื้อแดงที่ไม่ยึดติด พท.
ต้องยอมรับว่าคนรักทักษิณมีเยอะมากในเสื้อแดง
ถึงระดับ 90% ได้ แม้ทักษิณจะทำตัวเงียบไปก็ตาม
แต่บางคนอาจเริ่มเปลี่ยนแนวเน้นสู้เพื่อประชาธิปไตยมากขึ้น
เรียกว่าทักษิณจะสู้ต่อหรือหยุดพวกเขาก็ไม่หยุดแล้ว
ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเยอะขึ้น
และระดับแกนนำหลักตอนนี้
เป็นคนของพรรคเพื่อไทยแทบทั้งหมด
ดังนั้นจะเห็นความแตกต่างระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง
ดังนั้นคนที่คิดว่าจะตั้งพรรคเสื้อแดงยามนี้
คงจะแย่และหนักกว่าพวกพันธมิตร
เพราะโครงสร้างตอนนี้มันต่างกัน
สรุปว่ายังต้องผูกติดกับพรรคเพื่อไทยไปเรื่อยๆ
จนกว่าพรรคนี้หาอุดมการณ์ไม่เจอหรือถีบหัวเสื้อแดงทิ้งนั่นแหล่ะ
ถึงจะมีกระแสตั้งพรรคเสื้อแดงได้แรงขึ้น
แต่ยามนี้พรรคเพื่อไทยก็คือพรรคคนเสื้อแดงอยู่แล้ว

ตอนนี้พรรคเพื่อไทย ควรทำพรรคที่ร่วมอุดมการณ์ไปกับคนเสื้อแดงดีที่สุด
แม้ตอนนี้อุดมการณ์เสื้อแดงยังไม่ชัดเจนสักเท่าไหร่ก็ตาม
แต่พอสามารถยื่นมือช่วยเหลือได้โดยไม่จำเป็นต้องหลบๆ ซ่อนๆ
เรื่องไหนดีไม่ผิดกฏหมาย การช่วยเหลือแบบเปิดเผย
คือสิ่งที่ทำให้พรรคได้ชื่อว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนเสื้อแดงไปด้วย
และเรื่องอื่นๆ ของประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วยไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดง
เวลาช่วยเหลือคนหรือช่วยเหลืออะไรที่ดูแล้วไม่ผิดกฏหมาย
ควรออกหน้าอย่างภาคภูมิใจ เหมือนกับการหาเสียงไปในตัว
และเรื่องอื่นๆ ที่ทำดีอยู่แล้ว
เช่น สู้ในสภาเป็นปากเป็นเสียงให้ ก็ขอให้ทำต่อไป

แต่ประเภททำตัวเหมือนรังเกียจ ถึงขนาดมาสัมภาษณ์ต่อว่า
คนพวกนี้ต่อให้ติดโลโก้ พท. หรามาผมก็ไม่สนใจ
หรือว่าคนเสื้อแดงเขาก็ไม่สนใจหรอก
เท่ากับคุณมีศัตรูเพิ่ม ส่วนมิตรเพิ่มมีน้อยมาก
เพราะมาถึงวันนี้เขาเลือกข้างกันหมดแล้ว

การสู้บนถนนการเมืองนั้น
บางครั้งต้องยอมรับสภาพความตกต่ำให้ได้
เพราะตกต่ำได้วันหนึ่งก็พลิกกลับมายืนเด่นได้
การเมืองมันเป็นเรื่องไม่แน่ไม่นอน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาส
จังหวะเหมาะๆ โชคเข้าข้างด้วย
ก็จะช่วยให้ฝันเป็นจริงได้เหมือนกัน

สรุปง่ายๆ ถ้าพรรคเพื่อไทยผลักแดง
ก็จะเกิดพรรคใหม่ขึ้นมาในไม่ช้า
แต่ถ้ายังร่วมเคียงข้างสู้ไปด้วยกัน
ก็จะอยู่คู่กันไปแบบนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
เพราะเดินมาถูกทางแล้ว

ต่างจากพวก ปชป.
ที่ไม่ได้มีคนมาเป็นแกนนำพวกพันธมิตร
การไปแอบสนับสนุนพันธมิตร
ก็เหมือนกับการสนับสนุนให้คนของตนเอง
เปลี่ยนใจไปเป็นพรรคพวกอื่นดีๆ นี่เอง

แต่ของพรรคเพื่อไทยมาแนว
ส่งคนของตนเองมานำแยกกันเคลื่อนไหว
มวลชนส่วนใหญ่ก็ยังเกาะติดกับพรรคเพื่อไทย
หรือพรรคชื่อใหม่ๆ ที่เขารู้ว่าเป็นเพื่อไทยเก่า
หรือพรรคที่ทักษิณหนุนอยู่

จะเห็นได้ว่าเสื้อแดงเกิดทีหลังเสื้อเหลือง
แต่มีพรรคเป็นหลักเป็นฐานและใหญ่โตมากทีเดียว
เพียงแต่เป็นพรรคที่ส่งคนมาเป็นแกนนำเสื้อแดง
แต่อุดมการณ์โดยรวมอาจยังไม่ไปด้วยกันหรือเหมือนกันนัก

แต่กรณีของพวกเสื้อเหลือง
ถ้ายังไม่ยุบพรรคไปเสียก่อน
เขามีพรรคช้ากว่าก็จริง
แต่ได้คนคอเดียวกัน
อุดมการณ์เดียวกันล้วนๆ มาร่วมพรรค
ซึ่งเป็นรูปแบบช้าแต่ชัวร์

แต่กรณีเสื้อแดง
ออกแนวเร็วแต่มั่ว
แต่ยังดีเพราะตั้งตัวได้เร็วกว่า
เหลือแค่ว่าจะประคับประคองหล่อหลอมยังไง
ให้เป็นเนื้อเดียวกันได้เร็วขึ้น
แต่ถ้าเจอเนื้อร้ายตัดทิ้งไปบ้างก็ไม่เสียหายอะไร
จะได้คัดให้เหลือคนคอเดียวกันมากขึ้น กระชับขึ้น
คิดว่าถ้าคนเสื้อแดงช่วยกันตรวจสอบ
ประคับประคองสนับสนุนไปเรื่อยๆ
และเข้าไปมีส่วนร่วมกับพรรคมากขึ้น
คงหล่อหลอมรวมกันได้ดียิ่งขึ้น

โดย มาหาอะไร
FfF