บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 กันยายน 2553

<<< เพลง เรื่องความอยุติธรรมไม่ใช่เรื่องของใครแต่เป็นเรื่องของทุกคน >>>

เพลง เรื่องความอยุติธรรมไม่ใช่เรื่องของใครแต่เป็นเรื่องของทุกคน
เนื้อร้อง/ทำนอง : มาหาอะไร

วันนี้..เธอยังเด็ก..เธอยังเล็ก....อยู่
ไม่คิด..ออกมาบู๊..ออกมาสู้....กับ
ความอ..ยุติธรรม..ยุติสอง..มาตรฐาน

เพราะคิด..ว่าเรื่องนั้น..ว่าเรื่องนี้....เป็น
เรื่องของ..ผู้ใหญ่ทำ..ผู้ใหญ่สู้....ไป
ไม่ใช่..เรื่องของเด็ก..เรื่องของฉัน..ที่ไหน

แล้วถ้าวัน....ข้างหน้า....
เธอโตมา....เป็นผู้ใหญ่..
แล้ววันนั้น....เธอจะอยู่ได้ยังไง
เมื่อความอยุติธรรม..เต็มบ้านเต็มเมือง
เมื่อผู้ใหญ่วันนี้..พ่ายแพ้ฝ่ายอยุติธรรม

เรื่องความอยุ..ติธรรม
ไม่ใช่เรื่อง..ของใคร
แต่เป็นเรื่อง..ของ..ทุกคน....

-------------------------------------------------------

เมื่อได้อ่านเรื่อง "กุหลาบไม่ไร้หนาม" แล้ว
ทำให้เห็นถึงความกล้าของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง
เลยนึกถึงเด็กวัยรุ่นหญิงชายอีกจำนวนมาก
ที่ยังไม่คิดออกมาสู้ร่วมกัน
จึงเขียนเพลงนี้ขึ้นมา
เพราะคิดว่า
เรื่องความอยุติธรรม
ไม่ใช่เรื่องของใคร
แต่เป็นเรื่องของทุกคน

โดย มาหาอะไร

-------------------------------------------------------

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 18:16:06 น. มติชนออนไลน์
"กุหลาบไม่ไร้หนาม" "สุญญาตา" โฆษกสนนท.


ออก มาประกาศ "จุดยืน" ว่าจะอยู่เคียงข้างประชาชน และไม่เอา พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้อย่างฉะฉาน ในเวทีนายกฯพบนักศึกษา หัวข้อ เปิดทางให้นักศึกษาและนิสิต เปิดความคิดเพื่อการปฏิรูป ที่ทำเนียบรัฐบาล ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

โดยเฉพาะ น.ส.สุญญาตา เมี้ยนละม้าย หรือจู๋จี๋ อายุ 22 ปี นิสิตชั้นปี 4 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะโฆษก สนนท. หนึ่งในแกนนำที่ออกมาแสดงจุดยืนครั้งนี้ แม้ตัวจะเล็ก แต่ก็เป็นเล็กพริกขี้หนู เพราะ "กล้า" ออกมาคัดค้านนายกฯ ที่เปลี่ยนสถานที่การพบปะกับนักศึกษา จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

"กิจกรรม การพบนักศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงละครปาหี่ตบตาประชาชน ใช้นักศึกษาเป็นเครื่องมือในการหาคะแนนนิยมและสร้างภาพลักษณ์ของนายก รัฐมนตรีมือเปื้อนเลือด" ใจความตอนหนึ่งที่สุญญาตากล่าวในวันพบนายกฯ

ทุก ถ้อยคำดุเดือดเผ็ดร้อน ใครจะคิดว่าเป็น "คำพูด" ของนิสิตสาวตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ด้วยความสนใจใคร่รู้จัก เราจึงขอคุยกับเธอแบบตัวต่อตัว

เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี



สุญญาตาเล่าว่า ติดตามเรื่องราวทางการเมืองมาตลอด ตั้งแต่ช่วงรัฐประหาร ปี 2549 และมีโอกาสเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในฐานะปัจเจกชน การเข้าพบนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เพื่อนำความคิดและคำถามของประชาชนเข้าไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรี

"หนังสือ ฉบับนี้ สนนท.ได้รวบรวมคำถามจากประชาชนที่ส่งจดหมายเข้ามา มีอี-เมล 6 ฉบับ จดหมาย 1 ฉบับ และแถลงการณ์ภาคประชาชน 1 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นคำถามเหตุการณ์ 92 ศพที่ต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบ คำถามเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และตบท้ายด้วยการย้ำเตือนความจำนายกฯ ไม่ให้ลืมคำพูดตัวเอง ที่เคยพูดว่า ไม่ว่าจะหนึ่งคนหรือแสนคนก็ต้องรับฟัง"

สุญญาตาเป็นคนยื่นหนังสือให้นายอภิสิทธิ์เองกับมือ

"ตอน ยื่นหนังสือ ได้บอกกับนายกฯว่า จดหมายฉบับนี้มีความพิเศษมาก เพราะประชาชนตั้งใจให้ท่านโดยเฉพาะ ถ้ารัฐบาลยึดมั่นในประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพจริง โปรดยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเสีย อยากให้พิจารณาคำถามนี้ แม้ไม่ถึง 100 เสียง แต่ก็เป็นเสียงของประชาชน"

คำตอบที่ได้รับจากนายกรัฐมนตรีดูเหมือนจะถูกใจ

"ท่าน นายกฯตอบว่า ถ้าให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องยกเลิกความรุนแรงทั้งหมด เราเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านพูดว่าต้องยกเลิกความรุนแรงทั้งหมด แต่ความรุนแรงส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐบาล ถ้าทำได้จะดีมาก"

และนี่คือ...บทบาทแรกของ สนนท. ที่สุญญาตาเผยว่า ต่อไปจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ขบวนการนิสิตนักศึกษาจะกลับมาอีกครั้ง

"สน นท.ชุดนี้เป็นชุดใหม่ ที่เพิ่งเข้าทำงานเมื่อปลายเดือนสิงหาคม เร็วๆ นี้ สนนท.จะจัดนิทรรศการประวัติของ สนนท. และจะออกบู๊ธตามงานต่างๆ เพราะเรามีฟีดแบ๊คว่า สนนท.ยังไม่เป็นตัวแทนนักศึกษาอย่างแท้จริง เราจึงพยายามเปิดกว้างเพื่อให้นักศึกษาที่มีความคิดเห็นทางการเมืองเข้ามามี ส่วนร่วม จากเมื่อก่อนในการชุมนุมต่างๆ นักศึกษาดูเหมือนเป็นหางเครื่องมาคอยเชียร์ ต่อไปจะยกระดับให้เป็นแนวร่วมที่จะเคลื่อนไหวให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ 3 ข้อ 1.หนุนเสริมองค์กรฐานของ สนนท. 2.เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างภาคนักศึกษากับประชาชน และ 3.เร่งสร้างสภาวะประชาธิปไตยสมบูรณ์"

เมื่อถามถึงความสนใจของเยาวชนต่อการเมือง?

สุญ ญาตาบอกว่า ตั้งแต่ปี 2549 กระแสแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของเยาวชนเพิ่มสูงขึ้น ถือเป็นนิมิตหมายอันดี แต่แสดงความคิดเห็นอย่างเดียวไม่พอ ต้องเอาความคิดมาทำให้เป็นรูปธรรมด้วย ที่ผ่านมา เยาวชนยังแค่คิดแต่ยังไม่ลงมือทำจริง

"ต่อไปอนาคตของประเทศไม่พ้น ต้องตกมาอยู่ในการดูแลของเรา อย่ามองการเมืองเป็นเรื่องผู้ใหญ่ หรือเรื่องน่าเบื่อ ประเทศเป็นของทุกคน เพราะฉะนั้นไม่ควรผลักภาระทั้งหมดให้นักการเมือง เพราะบ้านเมืองจะตกอยู่กับแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง พลังนักศึกษาเป็นพลังบริสุทธิ์ ไม่มีผลประโยชน์กับใคร การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองจะช่วยพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง" สุญญาตาทิ้งท้าย

เห็นเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ แบบนี้ แต่สุญญาตาดูมีความมุ่งมั่นเกินตัวจริงๆ

หน้า 25 ,หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 21 กันยายน 2553


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285046221&grpid=01&catid

-------------------------------------------------------

FfF