ญี่ปุ่น แทรกแซงตลาดบีบเงินเยนอ่อนตัว หลังแข็งค่า"ส่งออก"อ่วม ตลาดหุ้นดีดตัวขานรับ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ วันที่ 15 ก.ย.ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยนที่แข็งค่ากระทบต่อการส่งออก เมื่อวันพุธที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นการแทรกแซงตลาดเพื่อให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าครั้งแรกในรอบ 6 ปี โดยภายหลังการแทรกแซงค่าเงิน เงินดอลลาร์ได้ลดการแข็งค่าต่อ เงินเยน โดยอยู่ที่ระดับ 84.99 เยน จากระดับก่อนหน้านี้ 82.87 ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ขาน รับมาตรการแทรกแซง โดยดัชนีนิเคอิได้ปรับขึ้นที่ระดับ 9,555.53 หรือเพิ่มขึ้น 2.8 %
ด้าน นายโยชิฮิโก โนดะ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลได้เข้าแทรกแซงค่าเงินเยน เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนที่เพิ่มขึ้นของตลาดเงิน และรัฐบาลจะจับตาความคืบหน้า ของค่าเงินเยนต่อไป และจะใช้มาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการแทรกแซงตลาดด้วย
ทั้งนี้ ค่าเงินเยน ได้พุ่งแข็งค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 15 ปี หลังจากนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง สามารถรั้งตำแหน่งนายกฯ โดยสามารถชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรครัฐบาลได้ และในช่วงที่ผ่านมา ภาวะค่าเงินเยนแข็งทำให้อุตสา หกรรมส่งออกอย่าง"ฮอนด้า มอเตอร์ส"และ"พาราโซนิค ได้รับผลกระทบ โดยสูญเสียความสามารถในการแข่ง ขันด้านการส่งออก
http://www.matichon.co.th/
---------------------------------------------------------------
ญี่ปุ่น ทนเห็นค่าเงินของตนแข็งค่าไม่ไหวแล้ว
ยอมลดค่าเงินลงมาแล้ว
แต่พี่ไทยยังเฉย กะว่าจะแข็งค่า
สวนกระแสไปตาย เดี่ยวว่ายังงั้นเถอะ
การลอยตัวก็ดี การตึงค่าเงินก็ดี
โดยอิงกับเงินดอลล่าห์สหรัฐ
จะดี ถ้าค่าเงินดอลล่าห์แข็งค่า
ค่าเงินที่ไปผูกหรืออิงก็จะอ่อนค่าลง
และจะขายของได้ถูกกว่าประเทศอื่น
แต่ถ้าช่วงดอลล่าห์อ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ แบบนี้
การไปอิงกับดอลล่าห์ก็เท่ากับ
อยากให้ผู้ส่งออกในประเทศตายหมด
รวมไปถึงภาคการท่องเที่ยวด้วย
เพราะค่าเงินจะแข็งค่าเพิ่มมากขึ้น
แต่ของจีนผูกติดกับเงินดอลล่าห์
ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนตามค่าเงินดอลล่าห์
ซึ่งถ้ากรณีค่าเงินดอลล่าห์แข็ง
ก็จะไม่เป็นผลดีกับจีน
แต่จีนจะทำให้ค่าเงินตนเองอ่อนลง
เพื่อแข่งกับประเทศที่มีค่าเงินอ่อนลงเทียบกับดอลล่าห์
ในช่วงที่เงินดอลล่าห์อ่อนค่าลง
ควรไปผูกกับเงินหยวนของจีนไว้
จะปลอดภัยที่สุด
และถ้าทุกประเทศในเอเชีย
ผูกค่าเงินของตนเข้ากับค่าเงินหยวนของจีน
ค่าเงินในเอเชียจะไม่ผันผวนมาก
จะไปแข่งด้านคุณภาพ
มากกว่าราคาสินค้ากันอย่างเดียว
ลองไปดูว่าค่าเงินบาทเทียบกับคู่แข่ง
ว่าแข็งไปจริงไหม ผมรวบรวมมาให้ดูแล้ว
ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2553
<<< เปรียบเทียบค่าเงินบาทกับประเทศคู่แข่ง ที่แสดงให้เห็นว่าค่าเงินบาทแข็งมากเกินไปในรอบปีนี้ >>>
http://maha-arai.blogspot.
แล้วลองสังเกตุ อีกอย่างน่ะว่า
อันไหนลงทุนของจริงอันไหนเก็งกำไร
ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
เวลาเขาลดค่าเงินเยน หุ้นขึ้น
เพราะนักลงทุนมองว่า
ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะได้ฟื้น
แต่ถ้าเป็นลักษณะเก็งกำไร
การลดค่าเงินจะทำให้พวกกองทุนที่เข้ามาเก็งกำไร
สูญเสียรายได้จากค่าเงินด้วย
ดังนั้นหุ้นจะลดลงเพราะตกใจรีบขายหนีตายกัน
ไม่ได้สนใจภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอะไรเลย
โดย มาหาอะไร
FfF