บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


24 มกราคม 2554

<<< ความหวังอันริบหรี่ ในการดำเนินคดีคนสั่งฆ่าเสื้อแดง ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ >>>

นิติราษฏร์ ฉบับ 15: การดำเนินคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศและปัญหาสองสัญชาติ
Fri, 2011-03-04 13:39

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

บทนำ ตามข่าวที่มีความพยายามจะฟ้องนายกรัฐมนตรีและ ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC) ให้พิจารณากรณีที่มีการสลายผู้ชุมนุมประท้วงที่ราชประสงค์จนเกิดการสูญเสีย จำนวน 91 ศพนั้น ได้มีประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวข้องทั้งเรื่องเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศและ ประเด็นเรื่องสัญชาติของนายกรัฐมนตรีที่ควรกล่าวถึง ดังนี้...
1. หลักการเสริมเขตอำนาจศาลภายในประเทศ (Complementarity) ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่มีลักษณะถาวร หรือประจำซึ่งต่างจากศาลอาญาระหว่างประเทศแบบเฉพาะคดี (ad hoc) อย่างที่คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาอาชญากรรม ร้ายแรงที่กระทำขึ้นในยูโกสลาเวียและในรวันดา วัตถุประสงค์หลักของศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งสะท้อนในอารัมภบทของธรรมนูญ กรุงโรมก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศก็คือ เป็นศาลที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนศาลภายในของรัฐภาคีที่จะพิจารณาความผิด อาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีเขตอำนาจก็ต่อเมื่อมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ศาลภายในของรัฐ “ไม่เต็มใจ” (unwilling) หรือ “ไม่สามารถ” (unable) ที่จะฟ้องดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาได้เท่านั้น การไม่เต็มใจนี้อาจหมายถึง รัฐนั้นไม่ยอมที่จะดำเนินคดีหรือรู้เห็นใจกับผู้ถูกกล่าวหา หรือต้องการช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหา เป็นต้น ส่วน การไม่สามารถที่จะดำเนินคดีนั้น หมายถึงกรณีที่กระบวนการยุติธรรมภายในของรัฐนั้นล้มเหลว ตกอยู่ในสภาพที่ไม่อาจทำงานได้ เจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมมีปัญหาคอร์รัปชั่น หรือเกิดสงครามกลางเมือง เป็นต้น ในแง่นี้ เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศจึงมีลักษณะเป็นเขตอำนาจเสริมศาลภายในเท่า นั้นที่เรียกว่า Complementarity การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศจึงมิได้มีความมุ่งหมายที่จะมาแทนที่ ลบล้าง หรือตัดเขตอำนาจของศาลภายในของรัฐ ในทางตรงกันข้าม ในอารัมภบทของธรรมนูญกรุงโรมกลับย้ำว่า เป็นหน้าที่ของทุกรัฐที่จะต้องใช้เขตอำนาจของตนเหนืออาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่ได้กระทำขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ศาลภายในของรัฐมีความผิดชอบเบื้องต้นที่จะต้องใช้เขตอำนาจของตนในการพิจารณา บรรดาอาชญากรรมร้ายแรงที่อยู่ภายในเขตอำนาจของตนก่อน ต่อเมื่อรัฐนั้นไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาได้ ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงจะเข้ามาพิจารณาคดี ดังนั้น หากจะมีการส่งเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณากรณีของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องที่ศาลของประเทศอังกฤษเสียก่อน ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศอังกฤษ “ไม่เต็มใจ” หรือ “ไม่สามารถ” ที่จะดำเนินคดีได้ จึงจะมีการส่งเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาต่อไปได้

2. ประเด็นเรื่องสองสัญชาติ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ เรื่องสองสัญชาติ ซึ่งยังมีประเด็นย่อยๆ อีกอย่างน้อยสามประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรก การที่นายกรัฐมนตรีได้ยอมรับว่าตนเองถือ สัญชาติอังกฤษนั้น จะมีผลต่อความเป็นไปได้ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่นั้น เรื่องนี้นักกฎหมายระหว่างประเทศเห็นเป็นสองแนว กลุ่มแรกเห็นว่า สัญชาติของผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างแท้จริงกับรัฐเจ้า ของสัญชาติที่รียกว่า “genuine link” กล่าวคือ หากผู้ถูกกล่าวหามีสองหรือมากกว่าสองสัญชาติ ก็จะต้องมีการพิสูจน์ว่า สัญชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากที่สุด โดยอาจพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบกัน เช่น ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่สองเห็นว่า ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะถือสองสัญชาติหรือมากกว่าสองสัญชาติก็ตาม แต่ในเรื่องของการดำเนินคดีอาญานั้น ทุกสัญชาติมีความเท่าเทียมกันหมด กลุ่มนี้ใช้หลักความเท่าเทียมกันของสัญชาติที่เรียกว่า “the principle of equality ประเด็นที่สอง ตามข่าวที่ว่า นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ทำนองว่าในกรณีที่กฎหมายสัญชาติขัดกันนั้น ให้ถือกฎหมายสยามนั้น ผู้เขียนเข้าใจว่า นายกรัฐมนตรีกำลังกล่าวถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 6 วรรคสี่ที่บัญญัติว่า “ในกรณีใดๆที่มีการขัดกันในเรื่องสัญชาติของบุคคล ถ้าสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดซึ่งขัดกันนั้นเป็นสัญชาติไทย กฎหมายสัญชาติซึ่งจะใช้บังคับได้แก่กฎหมายแห่งประเทศสยาม” ประเด็นที่สมควรทำความเข้าใจอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาเกี่ยวข้องอะไรด้วยกับเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายขัดกันอธิบายว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 เป็นกฎหมายที่ให้ศาลไทยเลือกใช้กฎหมายต่างประเทศได้ถูกต้องหากว่านิติ สัมพันธ์ทางแพ่งหรือพาณิชย์มีองค์ประกอบต่างประเทศพัวพันเข้ามา กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระราชบัญญัตินี้ จำกัดเฉพาะเรื่องทางแพ่งหรือพาณิชย์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคดีอาญาและกฎหมายมหาชนแต่ประการใด ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างการจัดหมวดหมู่ของพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นมีเรื่อง สถานะและความสามารถของบุคคล หนี้ ทรัพย์ ครอบครัวและมรดก นอกจากนี้ คำว่า “กฎหมายแห่งประเทศสยาม” ในมาตรา 6 ของพระราชบัญญัตินี้ ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า หมายถึง พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ไม่ใช่กฎหมายอะไรก็ได้ที่เป็นกฎหมายไทย ประเด็นที่สาม เรื่องการมีสองสัญชาติ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และกฎหมายสัญชาติของนานาประเทศ รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักไม่ห้ามให้บุคคลมีสองสัญชาติ (dual nationality) หรือมากกว่าสองสัญชาติ (multi nationality) เพียงแต่กฎหมายได้เปิดช่องให้บุคคลที่มีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติมีสิทธิ ที่จะสละสัญชาติได้ โดยการสละสัญชาตินั้นเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่จะสละหรือไม่สละก็ได้ ซึ่งต่างจากการถูกถอนสัญชาติ และขั้นตอนวิธีการสละสัญชาติใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาตินั้น ส่วนการที่นายกรัฐมนตรีมีสัญชาติอังกฤษด้วยนั้นเหมาะสมมากน้อยเพียงใดหรือ ไม่นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง บทส่งท้าย เรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) และการรับข้อเรียกร้องไว้พิจารณา (Admissibility of the claim) นั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นเสียก่อนด้วยความรอบ และเป็นประเด็นเทคนิคทางกฎหมายที่จะอาศัยความเข้าใจทั่วๆไปของคนธรรมดามา อธิบายไม่ได้ และที่สำคัญ ต้องแยก “ประเด็นทางกฎหมาย” กับ “ประเด็นทางการเมือง” ออกจากกันให้ชัด มิฉะนั้นแล้ว การนำเรื่องการเมืองไปปนกับกฎหมายจะทำให้หลักกฎหมายหรือเหตุผลทางกฎหมายไขว้ เขวได้ เผยแพร่ครั้งแรกที่นิติราษฎร์

http://prachatai.com/journal/2011/03/33383

---------------------------------------------------

รองปธ.ศาลอาญาระหว่างประเทศยันไทยยังไม่อยู่ใต้อำนาจพิจารณาคดี
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 17:59:07 น.

ฮันส์-พีเทอร์ โคล (Mr.Hans Peter Kaul) รองประธานลำดับที่ 2 ศาลอาญาระหว่างประเทศให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ถึงการนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า จะทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี เพียงแต่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม เมื่อวันที่ 2 ต.ค. พ.ศ. 2545 เท่านั้น แต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน

และถึงแม้จะเข้าเป็นภาคีแล้วก็ตาม หากประเทศภาคีมีการดำเนินการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศก็จะไม่เข้าไปก้าวล่วง

เขากล่าวด้วยว่า หลังจากที่เขาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในประเทศไทยไปบ้างแล้ว รวมถึงได้สนทนากับแกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทำให้เขาเข้าใจว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขอบอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งเขาต้องการให้สังคมไทยเข้าใจให้ถูกต้องถึงขอบอำนาจของศาลฯ

อย่างไรก็ตาม เขาอธิบายว่า มีกรณีที่ประเทศซึ่งไม่ได้เป็นภาคีแต่ถูกตัดสินโทษโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ เช่นกัน ได้แก่กรณีของประเทศซูดาน ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 (ข) ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วนศาลอาญาระหว่างประเทศ* ซึ่งระบุว่า ให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาคดีได้ในกรณีที่อาชญากรรมนั้นขึ้นได้ รับการเสนอต่ออัยการโดยคณะมนตรีความมั่นคงซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ

เขาปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อการที่ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันต่อ ธรรมนูญกรุงโรม แต่กล่าวว่าช่วงเวลาหนึ่ง สหรัฐอเมริกาทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยการให้สัญญาณยังประเทศต่างๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารจากสหรัฐว่าหากให้สัตยาบัน สหรัฐจะงดหรือลดความช่วยเหลือดังกล่าว

นอกจากนี้เขากล่าวว่าแม้ว่าจะมีประเด็นว่าประเทศที่เข้าเป็นภาคีศาลอาญา ระหว่างประเทศจะผูกพันให้ประมุขของประเทศอาจถูกเรียกตัวขึ้นให้การต่อ ศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กรณีของประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เช่น ประเทศญี่ปุ่น สวีเดน หรือนอรเวย์ ก็เข้าเป็นภาคี ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่รัฐแต่ละรัฐจะต้องจัดการสร้างความเข้าใจกันเป็นการ ภายใน

ทั้งนี้ เว็บไซต์เนชั่นชาแนล รายงานว่า เมื่อเวลา12.00 น. นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. พร้อมด้วย นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ รักษาการโฆษก นปช. เเละนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย เดินทางมายังโรงเเรมโฟร์ซีซั่นส์ เพื่อเข้าพบ ฮันส์-พีเทอร์ โคล รองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมยื่นฟ้องรัฐบาลกรณีสลายชุมนุมของคนเสื้อเเดงเมื่อปี 2553 โดยเจ้าหน้าที่โรงแรมขอให้ นางธิดา นายวรวุฒิ นายจตุพร เเละตัวเเทนคนเสื้อเเดงรวมทั้งสิ้น10 คน ไปพบ Mr.Hans ที่ห้องรับรองชั้น 2 ของโรงเเเรม ส่วนสื่อมวลชนขอให้รอที่ด้านหน้าโรงเเรม

------------------

*มาตรา 13 (ข) บัญญัติว่า “ในกรณีที่ปรากฏว่า อาชญากรรมหนึ่งหรือมากกว่าดังกล่าวซึ่งดูเหมือนว่าได้กระทำขึ้นได้นับการ เสนอต่ออัยการโดยคณะมนตรีความมั่นคงซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1295780213&grpid=01&catid&subcatidดูเพิ่มเติม

-------------------------------------------------------------

กฎบัตรสหประชาชาติ/หมวดที่ 5 คณะมนตรีความมั่นคง องค์ประกอบ

* ข้อ 23

1. คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติสิบห้าประเทศ สาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และสหรัฐอเมริกา จะเป็นสมาชิก ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาจะต้องเลือกตั้งสมาชิกอื่นของสหประชาชาติ อีกสิบประเทศ เป็นสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งนี้จะต้องคำนึงเป็นพิเศษในประการแรกถึงส่วนเกื้อกูลของสมาชิกของ สหประชาชาติ ต่อการธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และความมุ่งประสงค์อื่น ๆ ขององค์การ ฯ และทั้งการแจกกระจ่ายตามเขตภูมิศาสตร์อย่างเป็นธรรมอีกด้วย
2. สมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคงจะต้องได้รับเลือกตั้งมี กำหนดเวลาสองปี ในการเลือกตั้งครั้งแรกของสมาชิกไม่ประจำ หลังจากการเพิ่ม จำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจากสิบเอ็ดประเทศเป็นสิบห้าประเทศ สมาชิกสองในสี่ประเทศที่เพิ่มขึ้นจะได้รับเลือกให้อยู่ในตำแหน่งมีกำหนดเวลา หนึ่งปี สมาชิกที่กำลังพ้นตำแหน่งไม่มีสิทธิเข้ารับเลือกตั้งซ้ำโดยทันที
3. สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงจะมีผู้แทนได้หนึ่งคน

หน้าที่และอำนาจ

* ข้อ 24
1. เพื่อประกันการดำเนินการของสหประชาชาติอย่างทันท่วงทีและ เป็นผลจริงจัง สมาชิกของ สหประชาชาติจึงมอบความรับผิดชอบชั้นต้นสำหรับการ ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศให้แก่ คณะมนตรีความมั่นคง และตกลงว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามความรับผิดชอบนี้ คณะมนตรีความมั่นคง กระทำ ในนามของสมาชิก
2. ในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องกระทำตามความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ อำนาจเฉพาะที่มอบให้ คณะมนตรีความมั่นคงสำหรับการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ได้กำหนดไว้ในหมวดที่ 6, 7, 8 และ 12
3. คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องเสนอรายงานประจำปี และรายงานพิเศษเมื่อจำเป็นต่อสมัชชาเพื่อการพิจารณา

* ข้อ 25 - สมาชิกของสหประชาชาติ ตกลงยอมรับและปฏิบัติตาม คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน
* ข้อ 26 - เพื่อส่งเสริมการสถาปนา และการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ โดย การผันแปรทรัพยากรทางมนุษยชนและทาง เศรษฐกิจของโลกมาใช้เพื่อเป็นกำลังอาวุธให้น้อยที่สุด คณะมนตรีความมั่นคง จะต้องรับผิดชอบในการกำหนดแผนซึ่งจะเสนอต่อสมาชิกของสหประชาชาติเพื่อ การสถาปนาระบบอันหนึ่ง สำหรับการควบคุมกำลังอาวุธ ทั้งนี้ด้วยความช่วยเหลือ ของคณะกรรมการเสนาธิการทหารตามที่ระบุไว้ในข้อ 47

การลงคะแนนเสียง

* ข้อ 27
1. สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงจะมีคะแนนเสียงหนึ่งคะแนน
2. คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในเรื่องวิธีดำเนินการจะต้องกระทำโดยคะแนนเสียง เห็นชอบของสมาชิกเก้าประเทศ
3. คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงในเรื่องอื่นทั้งหมดจะต้องกระทำโดย คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกเก้าประเทศ ซึ่งรวมคะแนนเสียงเห็น พ้องกันของบรรดาสมาชิกประจำอยู่ด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าในคำวินิจฉัยตามหมวดที่ 6 และตามวรรค 3 ของข้อ 52 ผู้เป็นฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาทจะต้องงดเว้นจากการ ลงคะแนนเสียง

วิธีดำเนินการประชุม

* ข้อ 28

1. คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องก่อตั้งขึ้นในลักษณะที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้โดยต่อเนื่อง เพื่อความมุ่งประสงค์นี้สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง จะมีผู้แทนประจำอยู่ทุกเวลา ณ ที่ตั้งขององค์การฯ
2. คณะมนตรีความมั่นคงจะประชุมกันเป็นครั้งคราว สมาชิกแต่ละประเทศถ้าปรารถนาก็อาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือผู้แทนอื่นที่ได้กำหนดตัว เป็นพิเศษ เป็นผู้แทนของตนเข้าร่วมประชุมนั้นได้
3. คณะมนตรีความมั่นคงอาจประชุม ณ สถานที่อื่นนอกไปจากที่ตั้งขององค์การฯ หากวินิจฉัยว่าจะอำนวยความสะดวกแก่งานของตนได้ดีที่สุด

* ข้อ 29 - คณะมนตรีความมั่นคงอาจสถาปนาองค์กรย่อยเช่นที่เห็นจำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของตน
* ข้อ 30 - คณะมนตรีความมั่นคง จะกำหนดระเบียบข้อบังคับการประชุมของตนเอง รวมทั้งวิธีคัดเลือกประธานของตนด้วย
* ข้อ 31 - สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง อาจเข้าร่วมในการอภิปรายปัญหาใด ๆ ที่จะนำมาสู่คณะมนตรีความมั่นคงได้โดยไม่มีคะแนนเสียง เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาว่าผลประโยชน์ของสมาชิกนั้นได้รับความกระทบ กระเทือนเป็นพิเศษ
* ข้อ 32 - สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง หรือรัฐใด ๆ ที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ หากตกเป็นฝ่ายหนึ่งในกรณีพิพาท ซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงจะต้องได้รับเชิญให้เข้าร่วม ในการอภิปรายเกี่ยวกับกรณีพิพาทนั้นด้วยโดยไม่มีคะแนนเสียงคณะมนตรีความ มั่นคงจะต้องกำหนดเงื่อนไขเช่นที่เห็นว่ายุติธรรมสำหรับการเข้าร่วมในการ อภิปรายของรัฐที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

http://th.wikisource.org/wiki/กฎบัตรสหประชาชาติ/หมวดที่_5_คณะมนตรีความมั่นคง_องค์ประกอบ

----------------------------------------------------------------------------------

กฎบัตรสหประชาชาติ/หมวดที่ 7

* ข้อ 39 - คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องกำหนดว่า การคุกคามต่อสันติภาพการละเมิดสันติภาพ หรือ การกระทำการรุกรานได้มีขึ้นหรือไม่ และจะต้องทำคำแนะนำหรือวินิจฉัยว่าจะใช้มาตรการใดตามข้อ 41 และ 42 เพื่อ ธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

* ข้อ 40 - เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงอาจเรียกร้องให้คู่กรณีพิพาทที่เกี่ยวข้องอนุวัตตาม มาตรการชั่วคราวเช่นที่เห็นจำเป็นหรือพึงปรารถนา ก่อนที่จะทำคำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 39 มาตรการชั่วคราวเช่นว่านี้จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิ สิทธิเรียกร้องหรือฐานะของคู่พิพาทที่เกี่ยวข้องคณะมนตรีความมั่นคงจะต้อง คำนึงถึงการไม่สามารถอนุวัตตามมาตรการชั่วคราวเช่นว่านั้นตามสมควร


* ข้อ 41 - คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการใด อันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อให้เกิดผลตามคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงและอาจเรียกร้องให้สมาชิก ของสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้นมาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการหยุดชะงัก ซึ่งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคม ทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์ ทางโทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย


* ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาว่า มาตรการตามที่บัญญติไว้ในข้อ 41 จะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีฯอาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดิน เช่นที่อาจเห็น จำเป็นเพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง ประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อมและการปฏิบัติการอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดิน ของบรรดาสมาชิกของสหประชาชาติ

* ข้อ 43
1. เพื่อได้มีส่วนเกื้อกูลในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง ประเทศ สมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ รับที่จะจัดสรรกำลังอาวุธ ความช่วยเหลือ และความสะดวก รวมทั้งสิทธิในการผ่านดินแดนตามที่ จำเป็นเพื่อความมุ่งประสงค์ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง ประเทศให้แก่คณะมนตรีความมั่นคง เมื่อคณะมนตรีฯ เรียกร้องและเป็นไปตามความตกลงพิเศษฉบับเดียวหรือหลายฉบับ
2. ความตกลงฉบับเดียวหรือหลายฉบับเช่นว่านั้น จะต้องกำหนดจำนวนและประเภทของกำลังขั้นแห่งการเตรียมพร้อมและที่ตั้งโดย ทั่วไปของกำลังและลักษณะของความสะดวกและความช่วยเหลือที่จะจัดหาให้
3. ให้ดำเนินการเจรจาทำความตกลงฉบับเดียวหรือหลายฉบับนั้นโดยความริเริ่ม ของคณะมนตรีความมั่นคงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความตกลงเหล่านี้จะต้องทำกันระหว่างคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิก หรือระหว่างคณะมนตรีความมั่นคงและกลุ่มสมาชิก และจะต้องได้รับการสัตยาบันโดยรัฐที่ลงนามตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของรัฐ เหล่านั้น

* ข้อ 44 - เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงได้วินิจฉัยที่จะใช้กำลังแล้ว ก่อนที่จะเรียกร้องให้สมาชิกซึ่งมิได้มีผู้แทนอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงจัด ส่งกำลังทหารเพื่อการปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ยอมรับตามข้อ 43 คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องเชิญสมาชิกนั้นให้เข้าร่วมในการวินิจฉัยของคณะ มนตรีความมั่นคงเกี่ยวกับการใช้กองกำลังทหารของสมาชิกนั้น หากสมาชิกนั้นปรารถนาเช่นนั้น

* ข้อ 45 - เพื่อให้สหประชาชาติสามารถดำเนินมาตรการทางทหารได้โดยด่วนสมาชิกจะต้อง จัดสรรกองกำลังทางอากาศแห่งชาติไว้ให้พรักพร้อมโดยทันทีเพื่อการดำเนินการ บังคับระหว่างประเทศร่วมกัน กำลังและขั้นแห่งการเตรียมพร้อมของกองกำลังเหล่านี้ และแผนการสำหรับการดำ เนินการร่วมจะต้องกำหนดโดยคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหารทั้งนี้ ภายในขอบเขตที่วางไว้ในความตกลงพิเศษฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อ้างถึงในข้อ 43


* ข้อ 46 - แผนการสำหรับการใช้สำหรับทหารจะต้องจัดทำโดยคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหาร


* ข้อ 47

1. ให้จัดสถาปนาคณะกรรมการเสนาธิการทหารขึ้นคณะหนึ่งเพื่อให้คำปรึกษาและ ช่วยเหลือคณะมนตรีความมั่นคงในปัญหาทั้งปวงที่เกี่ยวกับความต้องการทางทหาร ของคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อ การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การใช้และการบังคับบัญชากำลังทหารที่มอบให้อยู่ในอำนาจจัดการของคณะมนตรีฯ การควบคุมกำลังอาวุธ และการลดอาวุธอันจะพึงเป็นไปได้
1. คณะกรรมการเสนาธิการทหารจะต้องประกอบด้วยเสนาธิการทหารของสมาชิกประจำของคณะมนตรีความมั่นคงหรือผู้แทนของบุคคลเหล่านี้คณะกรรมการฯ จะต้องเชิญสมาชิกของสหประชาชาติที่มิได้มีผู้แทนประจำอยู่ในคณะกรรมก ารฯ เข้าร่วมงานกับคณะกรรมการฯ ด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ ให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องให้สมาชิกนั้นเข้าร่วมในการทำงานของคณะกรรมการฯ

1. คณะกรรมการเสนาธิการทหารจะต้องรับผิดชอบภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงสำหรับ การบัญชาการทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการใช้กำลังทหารใด ๆ ซึ่งได้มอบไว้ให้อยู่ในอำนาจจัดการของคณะมนตรีความมั่นคงเรื่องเกี่ยวกับการ บังคับบัญชาทหารเช่นว่านั้นจะได้ดำเนินการในภายหลัง
2. คณะกรรมการเสนาธิการทหารอาจสถาปนาคณะอนุกรรมการส่วนภูมิภาคขึ้นได้ ทั้งนี้โดยได้รับมอบอำนาจจากคณะมนตรีความมั่นคงและหลังจากได้ปรึกษาหารือกับ ทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาคที่เหมาะสมแล้ว

* ข้อ 48
1. การดำเนินการที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศจะต้องกระทำโดย สมาชิกของสหประชาชาติทั้งปวงหรือแต่บางประเทศ ตามแต่คณะมนตรีความมั่นคงจะพึงกำหนด
2. คำวินิจฉัยเช่นว่านั้นจะต้องปฏิบัติตามโดยสมาชิกของสหประชาชาติโดยตรง และโดนผ่านการดำเนินการของสมาชิกเหล่านั้นในทบวงการตัวแทนระหว่างประเทศที่ เหมาะสมซึ่งตนเป็นสมาชิกอยู่

* ข้อ 49 - สมาชิกของสหประชาชาติจะต้องร่วมกันอำนวยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการที่คณะมนตรีความมั่นคงได้วินิจฉัยไว้แล้ว

* ข้อ 50 - หากคณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตรการป้องกันหรือบังคับต่อรัฐใดรัฐอื่นไม่ ว่าจะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาพิเศษทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปฏิบัติตามมาตรการเหล่า นั้น ย่อมมีสิทธิที่จะปรึกษาหารือกับคณะมนตรีความมั่นคงเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา เหล่านั้น


* ข้อ 51 - ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันจะรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดย ลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีด้วยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศมาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้ สิทธิป้องกันตนเองนี้จะต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทั นที และจะต้องไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงตาม กฎบัตรฉบับปัจจุบันแต่ประการใด ในอันที่จะดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็นไม่ว่าในเวลาใด เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ


http://th.wikisource.org/wiki/กฎบัตรสหประชาชาติ/หมวดที่_7

----------------------------------------------------------------------------------

"อัมสเตอร์ดัม"ทนาย เสื้อแดง- นปช.ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศต่อ นายกฯ จากเหตุสลายม็อบ


ที่ชั้น5 ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว สำนักกฎหมายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัมแอนด์เปรอฟ โดยนายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ในฐานะทนายความของ นปช. ได้ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี) ณ กรุงเฮก ต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีพร้อมพวก จากเหตุการณ์ความรุนแรงในกรุงเทพฯเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.53 ที่ผ่านมา ในข้อหาก่อคดีอาชญกรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีคำบรรยายฟ้องกว่า250หน้า จากนั้นนายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ได้เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนประเทศญี่ปุ่น และได้วิดีโอลิงค์มาร่วมแถลงข่าวกับตัวแทนคนเสื้อแดงในประเทศไทย นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานนปช.น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก นักวิชาการและแนวร่วมคนเสื้อแดง รับผิดชอบในการเป็นล่าม นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเนื้อหาคำฟ้อง และเนื้อหาที่โจมตีรัฐบาลและทหารไทย ช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมและได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.thaiaccountability.org และ www.robertamsterdam.com/thai การแถลงครั้งนี้ได้รับความสนใจจากแนวร่วมเสื้อแดงเดินทางมาเป็นจำนวนมาก

จากนั้นนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อ่านแถลงการณ์นปช.ว่า ที่ต้องดำเนินคดีในต่างประเทศ เพราะระบบยุติธรรมไทยล้มเหลว องค์กรภาครัฐถูกใช้เป็นเครื่องมือเป้าหมายของ นปช. คือการนำเสนอความจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมและความจริงที่เกิดขึ้นของ ประเทศไทย เพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้ แม้รัฐบาลจะพยายามสร้างภาพทำลายพวกเราในสายตาชาวโลกว่าพวกเราใช้วิธีรุนแรง โดยนปช.ขอประกาศยืนเคียงข้างพี่น้องชาวอียิปต์และตูนีเชีย ผู้กล้าหาญ ที่ออกมาประท้วงต่อผู้มีอำนาจตามถนน น่าเสียดายที่เผด็จการทั่วโลกเมื่อเห็นนายอภิสิทธิ์ และกองทัพฆ่าประชาชน ได้โดยไม่ถูกลงโทษ จึงรู้สึกเหิมเกริมและเอาเยี่ยงอย่าง นปช.จะต่อสู้ต่อไปตราบเท่าที่จำเป็น ในทุกๆเวทีทางกฎหมายทั่วโลกที่จะสามารถทำได้ เพื่อนำอาชญากรเหล่านี้มาลงโทษ ซึ่ง นปช.และทีมงานได้พิสูจน์แล้วว่ารัฐบาลต่างหากที่มีการกระทำเยี่ยงผู้ก่อการ ร้าย ขอเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวคนเสื้อแดงและนักโทษการเมืองทันที และเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ ลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด

นายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ในฐานะทนายความของนปช. มาในสูทดำไทค์สีแดง กล่าวผ่านระบบวีดิโอลิงค์ว่า เมื่อคืนวันที่30ม.ค.สำนักกฎหมายฯได้ยื่นฟ้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ ในนามของ นปช. ในกรณีการปราบปรามประชาชนที่ทหารใช้กระสุนจริง อุปกรณ์ทางสงครามที่ใช้ในการต่อสู้ ซึ่งผิดหลักมนุษยชน ก่อนหน้ากองทัพจงใจสลายการชุมนุม ฆ่าประชาชนและลอบสังหารผู้นำของเสื้อแดง โดยไม่มีการเปิดเส้นทางให้คนเสื้อแดงหนีด้วย ถือว่ามีการวางแผนอย่างชัดเจน เมื่อแผนการล้มเหลว จึงใช้สไนปเปอร์ช่วง 13-19พ.ค.ยิงมายังผู้ชุมนุมถือว่าเป็นการข่มขู่คุกคามผู้ชุมนุม รวมทั้งรัฐบาลไม่สามารถพิสูจน์หลักฐานใดๆได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเหตุระเบิด แยกคอกวัวเมื่อ 10เม.ย. ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพที่ใช้สไนเปอร์ และระเบิด ได้ถูกถ่ายวีดิโอเป็นที่ชัดเจน ซึ่งเกิดจากกองทัพ ส่วนชายชุดดำนั้น รัฐบาลพยายามบอกและโยนความผิดมาให้คนเสื้อแดง แต่ก็ไม่สามารถจับคนชุดดำได้เลย รัฐบาลยังไม่เคยให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับตัวบุคคล รวมทั้งวัตถุพยานก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากผู้ชุมนุม

นายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม กล่าวว่า การสังหารหมู่เหล่านี้เกิดจากการทำลายของรัฐบาล ศอฉ.ได้รับคำสั่งให้มาปราบปรามประชาชนที่ราชประสงค์ และเหตุการณ์เซ็นทรัลเวิล์ดได้ถูกทำลายหลักฐานจนหมดสิ้น ซึ่งล้วนน่าสงสัยทั้งสิ้น และก็มีพยานยืนยันแล้วไม่ใช่คนเสื้อแดง โดยทหารและกองทัพต้องตอบคำถามเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ทหารจะถูกสอบโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และถูกกล่าวหาว่าได้ฆ่าประชาชนจริง อีกทั้งดีเอสไอยังมีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องเพราะอธิบดีดีเอสไอเป็นหนึ่งในศอ ฉ. รัฐบาลพยายามกล่าวอ้างถึงสันติภาพ การปรองดอง เพื่อเป็นหน้ากากในการปิดบังการสอบสวนและดำเนินคดีฝ่ายตรงข้าม ในที่สุดการปรองดอง ความยุติธรรมก็ไม่เกิดขึ้นจริง และยังตั้งข้อหาก่อการร้าย ถือว่าขัดต่อแนวทางปรองดองอีกด้วย และกระบวนการสืบสวนในประเทศไทยได้ใช้เวลาสืบสวนสอบสวนมานานแล้ว เราจึงจำเป็นต้องใช้ค้นหาความรับผิดชอบต่อรัฐบาลและนำไปสู่การฟ้องศาล เมื่อเม.ย.-พ.ค. เกิดการสังหารหมู่ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีประชาชนเป็นเหยื่อแต่ข้อเท็จจริงกลับไม่ได้ถูกค้นพบเลย

นายอัมเตอร์ดัม กล่าวอีกว่า มีคนสงสัยที่มาทำคดีให้นปช.มีวัตถุประสงค์อะไร ส่วนตัวแค่อยากขอความยุติธรรมให้คนกลุ่มนี้เท่านั้น เช่นเดียวกับทั่วโลกก็อยากเห็นความเป็นธรรมเหมือนกัน ขณะที่กระบวนการยุติธรรมในไทยยังไม่ปรากฎ และไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศเลย ตะวันออก ตะวันตกมองเรื่องประชาธิปไตยต่างจากประเทศไทย การสังหารหมู่ เกิดมาตั้งแต่พ.ศ.2516 พ.ศ.2519 มาถึงเหตุการณ์ พฤษภา2535 และล่าสุด รัฐบาลใช้เวลากว่า 9เดือนที่จะค้นหาพยานหลักฐานต่างๆ และป้องกันไม่ให้มีการสอบสวนสอบสวน รัฐบาลยังลอยนวล โดยรัฐบาลต้องเผชิญกับสิ่งที่ตรวจสอบได้ สิ่งสำคัญไม่ใช่การปกปิดความจริง ต้องเปิดเผยกระบวนการต่างที่ทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และต้องยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีก โชคไม่ดีการพยายามปกปิด ยังไม่ได้สลายไป ตราบใดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ก้าวเข้ามา จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องมาเผชิญหน้ากับหลักฐานจำนวนมากที่รัฐบาลพยายาม สร้างความชอบธรรมให้ตนเอง

หลังรัฐประหาร19ก.ย. ผู้นำทางทหารที่พยายามตั้งตนเป็นผู้มีบารมีในการทำลายล้างคนเสื้อแดงที่ลุก มาต่อต้านเผด็จการทหาร ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยคนไทย การตั้งขึ้นมาได้มีการวางแผน ปรับใช้กระบวนการต่างๆเพื่อสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง ภายใต้การชี้นำของ พล.อ.ประยุทธ์ กระบวนการทหารล้วนได้รับการถูกฝึกมาอย่างดี ล้อมสะพานผ่านฟ้า ใช้ผู้เชี่ยวชาญกว่า150คนยิงสไนปเปอร์ ใช้มือที่สามที่รู้จักกันในนามคนชุดดำ และนายกฯพยายามส่งสัญญาณว่าเป็นผู้กระทำต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติถามว่ารู้ได้ไงว่าไอซีซีจะรับฟ้องคดีนี้ นายโรเบิร์ตอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องไปแล้ว แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศ อาจจะยังไม่รับเอาไว้ในทันที ต้องมีกระบวนการตรวจสอบก่อน แต่ขณะนี้มีข้อมูลที่ตรงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ นายอภิสิทธิ์ มีสัญชาติอังกฤษ เกิดในประเทศอังกฤษค.ศ.1967 ซึ่งเข้าเงื่อนไขของศาลอาญาระหว่างประเทศ

เมื่อถามว่าการที่ นายอภิสิทธิ์ มีสัญชาติอังกฤษหรือไม่ แล้วเกี่ยวข้องอะไรกับคดีนี้ นายอัมเตอร์ดัม กล่าวว่า หากจำเลยในคดีถือสัญญาติของประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาของศาลอาญาระหว่าง ประเทศนั้นภายใต้ อาติเคิลที่ 12(B) นั้นจะสามารถดำเนินคดีได้โดยอัตโนมัติทันที แม้ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับหรือไม่รับคดีนี้ หรือไม่ก็ตาม

ถามว่ามีแผนบี หรือแผนซีสำรองไหม หากไอซีซีไม่รับคดีนี้ นายอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า มีแผนตั้งแต่A-Zเลย

นายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัมกล่าวว่า จะรวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศแน่นอน เพื่อช่วยเหลือคนไทย ที่ไม่ใช่มีแค่ผู้บาดเจ็บกว่า 2000คนเท่านั้น แต่คนไทยทั้ง 76ล้านคนก็เป็นเหยื่อเหมือนกัน ส่วนตัวรู้จักเผด็จการที่อเมริกาใต้ เขายังมีศีกดิ์ศรีพอและลาออกในสิ่งที่เขาทำส่วนนายอภิสิทธิ์ เมื่อมีผู้เสียชีวิตเพียงแค่ 1คนก็ควรมีศักดิ์ศรีและลาออกจากนายกรัฐมนตรี และเป็นไปได้อย่างไรที่คนไทยจะปล่อยให้ฆาตรกรมือเปื้อนเลือด มาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป คนไทยต้องกลับไปถามว่าจะปล่อยให้คนสัญชาติอังกฤษ มากระทำอย่างนี้ในประเทศตัวเองได้อย่างไร

ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่านายอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ และยังมีพาสปอร์อังกฤษหรือไม่ นายโรเบิร์ตกล่าวว่า เราไม่ได้มีเหตุผลเดียวในการให้ไอซีซีรับคดีนี้พิจารณา และตามกฎหมายอังกฤษข้อ14 ระบุว่าผู้ที่เกิดอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ.1948 ถือว่าได้สัญชาติอังกฤษแล้ว แม้จะถอนสัญชาติ ต้องดูว่าหลังจากฆ่าประชาชนหรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องสนใจมากกว่านั้นคือ นายอภิสิทธิ์ได้ทำผิดไปแล้ว ประชาชนตาย91ศพ นั้นต้องออกมาเผชิญความจริงว่าความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน และไม่รู้ว่าคนไทยปล่อยให้คนสัญชาติอังกฤษมากระทำการอย่างนี้ในชาติตัวเอง ได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ต้องไปแนะนำให้อียิปต์ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป

นายโรเบิร์ตอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า อาชญกรรมที่ก่อโดยนายอภิสิทธิ์ จะไม่จบลงบนท้องถนน การปรองดองจะเกิดได้อย่างไร เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ยังมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ ผู้ถูกคุมขังที่ถูกตั้งข้อหาว่าก่อการร้าย สิ่งนี้หรือจะทำให้เกิดการปรองดองในประเทศไทย จึงขอถามกลับไปยังนายอภิสิทธิ์

เมื่อถามว่าหลายเดือนที่ผ่านมาเคยยื่นคดีหรือยัง นายอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า ยังไม่เคยยื่นเลย ช่วงนั้นเป็นแค่การติดต่อสอบถามเฉยๆ

ถามว่าถ้าถูกปฏิเสธไม่รับฟ้อง จะมีแผนอะไรต่อไป นายอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า เหตุผลที่ขอให้ ไอซีซี รับไว้พิจารณาเรามีมากมาย มีหลักฐานประกอบทั้งพยานและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งไม่มีเหตุผลใดๆที่ทหารจะมาใช้กำลังอาวุธ เอกสารมีความยาวกว่า 250หน้า จะมีการแสดงเหตุผลประกอบไปอย่างละเอียด

นักข่าวญี่ปุ่นถามว่า มีความเชื่อมั่นแค่ไหนที่จะได้รับการฟ้องร้อง นายโรเบิร์ตกล่าวว่า คาดว่าจะมีการสอบสวน หลายประเด็นที่มีกระทำอย่างร้ายแรง ผิดตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมและหลักมนุษยชน ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่อนุญาตแม้แต่จะให้สอบสวนในชั้นศาล ในฐานะตัวแทนคนเสื้อแดงจึงต้องดำเนินการเพื่อให้ได้นำมาซึ่งการสอบสวน สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ยอมรับไม่ได้ ในการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนโดยรัฐ และจะบอกกล่าวให้โลกได้รู้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นในไทยอย่างแท้จริง

นายอัมเตอร์ดัมกล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ทางอัยการเห็นว่า มีความรุนแรงจริงในประเทศไทย คดีนี้เป็นคดีที่ท้าทายมาก ขอให้พยานออกมามากๆมาพูดความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะทหารชั้นผู้น้อยที่ได้รับคำสั่ง พวกท่านไม่ใช่ศัตรูของคดีนี้ จึงขอมาให้การเป็นพยานเพื่อประโยชน์แก่คดี เช่นทหารจากหน่วยรักษาพระองค์

มีคำถามจากประเทศญี่ปุ่นถามว่าการฟ้องนั้นอาจไปกระทบระบบโครงสร้างหรือกลุ่ม ฐานอำนาจเก่าในประเทศไทย ได้ตระหนักในประเด็นนี้หรือไม่ ทนายความไทด์แดงผู้นี้กล่าวว่า ได้คุยประเด็นนี้แล้วกับผู้พิพากษาศาลอาญาระหว่างประเทศ และอัยการ ถึงประเทศที่มีระบบโครงสร้างคล้ายกับไทยแล้ว

นายอัมเตอร์ดัม ได้ส่งสารถึงคนเสื้อแดงในช่วงท้ายอีกว่า เป็นเกียติมากที่เป็นตัวแทนคนเสื้อแดง ที่จะแสวงหาความยุติธรรม อยากให้คนเสื้อแดงได้รับรู้การต่อสู้เพื่อความยุติธรรม โดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่กลับถูกกระทำย่ำยี อย่างโหดร้ายทารุณ จากทางทหารและรัฐบาล ขอยืนยันว่าทั่วโลกมีภารดรภาพ สนับสนุนให้คนเสื้อแดงได้ต่อสู้ต่อไป มีคนเสื้อแดง19คน ถูกลักพาตัวไปโดยรัฐบาลไทย ซึ่งคือแกนนำคนเสื้อแดง ขอให้ทราบว่าทั่วโลกได้รู้การกระทำอันเป็นการก่อการร้ายของฝ่ายรัฐบาลแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่างน้อยก็ได้แสดงให้ทั่วโลกเห็นว่า คนที่ก่อการร้ายตัวจริงคือรัฐบาล ที่เข่นฆ่าประชาชน

น.ส.จารุพรรณ เปิดเผยอีกว่า ประเด็นเรื่องสัญชาตินายกฯ เป็นเพียงประเด็นเดียวที่นายโรเบิร์ตอัมเตอร์ดัม เปิดมาพอให้ตื่นเต้นเฉยๆ เชื่อว่าจะมาช่องทางอื่นๆที่จะทำให้ศาลอาญาระหว่างประเทศรับฟ้องได้อีกมาก มาย ที่ออกมาให้ความเห็นกันในวันนี้ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่รับคดีนี้นั้น แต่คนที่จะตอบได้ว่ารับหรือไม่รับมีเพียงอัยการของไอซีซีเท่านั้น

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. กล่าวว่า สำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัมฯที่ยื่นฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเป็นบรรทัดฐานว่าใครก็ตามที่เข่นฆ่าประชาชน จะต้องกลายเป็นอาชญากรของโลก ต้องถูกพิพากษาโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ และจะเป็นบทเรียนให้กับคนที่คิดวางแผนที่จะกระทำการรัฐประหารในขณะนี้ด้วย

“ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 29-30 ม.ค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เดินทางไปจ.เพชรบูรณ์ โดยมีนายทหารใกล้ชิดระดับคุมกำลัง 2 คนและตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นคนหน้าแหลมฟันดำ จากการสอบถามเบื้องต้นทั้งหมดระบุว่าเป็นการเดินทางไปเนื่องจากวันทหารม้า แต่ก็ไม่ทราบว่าคนหน้าแหลมฟันดำ ที่มียศนาวาอากาศตรี ไม่ใช่ทหารม้าแล้วเดินทางไปทำไม จึงอยากถามเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ออกมาชี้แจงว่าเดินทางไปเพื่อทำปฏิญญา เพชรบูรณ์และวางแผนการรัฐประหารกันหรือเปล่า เชื่อว่าเอกสารหลักฐานที่อัมเตอร์ดัม จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นจะทำให้คณะผู้คิดจะก่อการรัฐประหาร อยู่ในขณะนี้นั้นสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแน่นอน”นายจตุพรกล่าว


วันที่ 31/1/2011
http://www.naewna.com/news.asp?ID=247142

----------------------------------------

ปิยบุตร แสงกนกกุล: สรุป 3 ประเด็นสำคัญ รายงาน "อัมสเตอร์ดัม" ฟ้อง "มาร์ค"

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:44:20 น.

ปิยบุตร แสงกนกกุล



โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม


วันที่ 31 มกราคม ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ เขียนบันทึกนี้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว
จากการอ่านรายงานของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ใช้ประกอบการเสนอคำร้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศในวันนี้
ผมขอสรุปประเด็นสำคัญและความเห็นของผมในเบื้องต้น ดังนี้
ในความเห็นของผม รายงานของอัมสเตอร์ดัมทั้งหมด อาจแบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
ส่วนแรก ความเป็นมาของการเกิดขึ้นของเสื้อแดง
ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา "ตลก"ภิวัตน์ รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นคุณต่อพวกเอสตาบลิชเมนท์ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การคุกคามเสรีภาพ และการสลายชุมนุม
ส่วนที่สอง การสังหารหมู่เมษายน พฤษภาคม 53 เข้าองค์ประกอบความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ส่วนนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรับให้เข้ากับฐานความผิดอาชญากรรมต่อ มนุษยชาติ ส่วนนี้ เขารวบรวมพยานหลักฐานไว้ได้ดีมาก มีพยานผู้เชี่ยวชาญชื่อ Joe Ray Witty เป็นอดีตทหารอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธ และสไนเปอร์ มีพยานผู้เห็นเหตุการณ์อีกหลายคน (ดูพยานทั้งหมดที่ภาคผนวก)
ส่วนที่สาม เรื่องนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศได้อย่างไร
ส่วนนี้เป็นเรื่องเขตอำนาจศาล อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยได้ลงนามใน Rome Statute แต่ไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน (ราทิฟาย) Rome Statute นี้
ดังนั้น โดยปกติแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถรับคำร้องกรณีประเทศไทยได้
อย่างไรก็ตาม อัมสเตอร์ดัมเสนอว่ามี 2 ช่องทาง ได้แก่
ช่องทางแรกไอซีซี ต้องเปิดกระบวนการสืบสวนสอบสวนไต่สวนในกรณีนี้ในเบื้องต้น เพื่อรอให้วันหนึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติให้ไอซีซีมีเขต อำนาจในกรณีนี้ตามมาตรา 13 (บี) (เหมือนซูดาน)

ช่องทางที่สองในกรณี ที่ไอซีซีไม่มีเขตอำนาจอันเนื่องมาจากรัฐไม่ให้สัตยาบัน ไอซีซีอาจมีเขตอำนาจได้ใน 2 กรณี
กรณีแรก มาตรา 12 (2 ) (เอ) ความผิดนั้นเกิดในดินแดนของรัฐภาคี ภาษากฎหมายเราเรียกว่า เขตอำนาจทางพื้นที่ (ratione loci)
กรณีที่สอง มาตรา 12 (2 ) (บี) ถ้าบุคคลผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นพลเมืองของรัฐภาคี ภาษากฎหมายเราเรียกว่า เขตอำนาจทางบุคคล (ratione personae)
ไอซีซีในคดีเคนยาเคยวางหลักเรื่องนี้ไว้ แล้ว
กรณีไทย สามารถฟ้องอภิสิทธิ์ได้ เพราะอภิสิทธิ์เป็นพลเมืองสหราชอาณาจักรโดยการเกิด ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นภาคีและราทิฟายอนุสัญญากรุงโรมแล้ว(ดูรายงานหน้า 113 )
นอกจากนี้ในรายงานยังเน้นย้ำให้ไอซีซีได้ตระหนักถึงสถานการณ์เฉพาะของไทย ได้แก่ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามักมีการนิรโทษกรรมให้คนสังหารหมู่ประชาชนเสมอ ดังเห็นได้จาก 6 ต.ค. 2519 และ พ.ค. 2535 , ความไม่เป็นกลางและอิสระของศาลไทย, กระบวนการสอบสวนของดีเอสไอ (รายงานหน้า 119 เป็นต้นไป)
ในส่วนนี้อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิชเคยเขียนในประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ 7 ไว้ ดังนี้
"... อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจมีเขตอำนาจเหนือคดีที่รัฐนั้นมิได้เป็นภาคีศาลอาญา ระหว่างประเทศก็ได้ หากผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงแม้จะมิได้เป็นคนที่มี สัญชาติของรัฐที่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม แต่อาชญากรรมร้ายแรงได้กระทำขึ้นบนดินแดนของรัฐที่เป็นภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีเขตอำนาจได้ หรือในกรณีกลับกัน อาชญากรรมได้กระทำโดยคนที่มีสัญชาติของรัฐที่เป็นภาคีของศาล แม้ว่าอาชญากรรมนั้นจะกระทำขึ้นบนดินแดนหรือในประเทศที่มิได้เป็นภาคีของศาล ก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีเขตอำนาจ หรือกรณีสุดท้าย ทั้งผู้กระทำความผิดก็มิได้มีสัญชาติของรัฐที่เป็นภาคีศาลอาญาหรืออาชญากรรม ร้ายแรงได้กระทำขึ้นในดินแดนที่มิได้เป็นรัฐภาคีศาลอาญา ศาลอาญาก็สามารถมีเขตอำนาจได้หากคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเสนอ เรื่องให้อัยการสอบสวน"

...
ข้อสังเกตของผม
การที่ไอซีซีจะรับฟ้องหรือไม่นั้น ก็อาจสำคัญเหมือนกัน และแม้นว่าหากไอซีซีไม่เอาด้วย แต่ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญกว่า มี 3 ข้อ
ข้อแรก การกดดันไปที่ไอซีซีว่าจะตัดสินใจทำอย่างไร อย่างน้อยจะเข้ามาไต่สวนเบื้องต้นรอไว้ก่อนมั้ย เพื่อว่าวันหนึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะอนุญาตให้ไอซีซีมีเขต อำนาจ (เหมือนซูดาน) แน่นอนไทยเส้นใหญ่มาก
คณะมนตรีฯคงไม่ยอม แต่อย่างน้อย การกดดันขอให้ไอซีซีเข้ามาตรวจสอบก่อนก็น่าจะเป็นการดีมาก
ข้อสอง รายงานชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไว้เสร็จหมดแล้ว หากไอซีซีน็อคด้วยการไม่รับเพราะอ้างว่าไม่มีเขตอำนาจเพราะไทยไม่ราทิฟาย ก็เป็นการผลักลูกบอลกลับไปที่รัฐบาลไทยให้ราทิฟายโดยเร็ว
ข้อสาม ประเด็นสังหารหมู่ถูกโหมกระพือไปทั่วโลก นับเป็นความชาญฉลาดของบ๊อบแท้ๆที่เลือกญี่ปุ่นเป็นที่แถลงข่าว ช่วยไม่ได้ไทยดันไม่ฉลาดไปห้ามเขาเข้าเมืองไทยเอง
...
สิ่งที่น่าจับตาต่อไป

1 . รัฐบาลไทยและอภิสิทธิ์จะว่าอย่างไร กรณีเขตอำนาจศาลไอซีซีแบบ ratione personae อภิสิทธิ์อาจปฏิเสธว่าตนไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษแล้ว? เพราะผมค่อนข้างมั่นใจว่า กรณีนี้อัมเสตอร์ดัมเขาเก็บความลับได้ดีมาก เพิ่งมาเปิดเอาวันนี้ รัฐบาลไทยคงมึนไปหลายวัน

2 . เอสตาบลิชเม้นท์ไทย จะทำอย่างไร? เงียบ? ล็อบบี้สหรัฐอเมริกา? ล็อบบี้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ? หรือรัฐประหาร?
ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
http://www.scribd.com/doc/47833346/Red-Shirts-Application-to-the-International-Criminal-Court-to-Investigate-Crimes-against-Humanity-in-Thailand
ดาวน์โหลดเอ็กเซคิวทีฟ ซัมมารี ได้ที่นี่
http://www.thaiaccountability.org/wp-content/uploads/2010/12/Executive-Summary-Final.pdf
เว็บไซต์ที่ทีมงานของอัมสเตอร์ดัมจัดทำขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
http://www.thaiaccountability.org/
ดาวน์โหลดคำร้องฉบับภาษาไทย ได้ที่นี่
http://www.scribd.com/doc/47847337/คำร้องเพื่อขอให้มี การสอบสวน-สถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ-ในราช อาณาจักรไทย


หรืออ่านได้ที่
http://robertamsterdam.com/thai/

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296478134&grpid=01&catid=&subcatid=

------------------------------------------------

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
...
มาตรา ๑๐๑ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กัน
ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็น
สมาชิกพรรคการเมือง ใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามสิบ วัน
นับถึงวันเลือกตั้ง
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อ กัน
ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึง วันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่าห้าปี การศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (๔) ด้วย
แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึง จังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
(๖) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
...
มาตรา ๑๗๑ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก
ไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความ
รับผิดชอบร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๑๗๒
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า แปดปีมิได้
...
มาตรา ๑๗๔ รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑)
(๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๕) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับแต่ง ตั้ง เว้นแต่
ในความผิดอัน ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้ว
ยังไม่เกินสองปีนับถึงวันที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นรัฐมนตรี
...
http://maha-arai.blogspot.com/2009/06/blog-post_2057.html

-------------------------------------------------------------------
...
ประวัติ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.ศ. 2549 และผู้แปลวรรณกรรมเยาวชน

ในขณะที่อภิสิทธิ์ยังมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธร ระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา[16]

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี อภิสิทธิ์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) จังหวัดนครนายก ระหว่าง พ.ศ. 2530–2531 ได้รับการแต่งตั้งยศว่าที่ร้อยตรี[17] ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง ปริญญานิพนธ์ของนายอภิสิทธิ์ได้รับการยอมรับในระดับดีมาก โดยเทียบได้กับเกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[17] หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย[17]

ต้นปี พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[18] จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[19]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และ นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ[20]
...
http://th.wikipedia.org/wiki/อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ

--------------------------------------------------------

:: พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตราที่ 7-12


:: หมวด 1 การได้สัญชาติไทย
มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักรไทย
(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตาม มาตรา 7ทวิ วรรคหนึ่ง
[ มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็น คนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือ บิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะราย
(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง
ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายให้บุคคลตาม วรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้ถือว่าผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง เว้นแต่จะมีการสั่งเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
[ มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 8 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทยถ้าขณะที่เกิดบิดาหรือมารดาเป็น
(1) หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต
(2) หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล
(3) พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ
(4) คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทาง จากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน (1) (2) หรือ (3)
มาตรา 9 หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์ จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวง
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
มาตรา 10 คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติ เป็นไทยได้
(1) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
(2) มีความประพฤติดี
(3) มีอาชีพเป็นหลักฐาน
(4) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลง สัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
(5) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 11 บทบัญญัติใน มาตรา 10 (4)และ(5) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
(1) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำ คุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
(2) เป็นบุตรหรือภริยาของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้ กลับคืนสัญชาติไทย
(3) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
มาตรา 12 ผู้ใดประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ถ้าผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามวรรคหนึ่งมีบุตรซึ่งยังไม่ บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทย และบุตรนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย อาจ ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรพร้อมกับตนได้ โดยบุตรนั้นได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีคุณสมบัติตาม มาตรา 10 (1) (3) (4) และ (5)
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย ให้อยู่ในดุลพินิจ ของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต แล้ว ให้ผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยปฏิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อ ประเทศไทย
ผู้แปลงสัญชาติเป็นไทยชอบที่จะขอหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็น ไทยได้

http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/H51/M7-12.html

---------------------------------------------------------

"มาร์ค"เหน็บ"ทนายแม้ว"เป็นคนไทย ไม่ใช่มอนเตเนโกร เตรียมข้อมูลแจงแล้วถูกฟ้องศาลโลกสลายแดง
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:30:55 น.

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจะยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศต่อรัฐบาลไทย กรณีรัฐบาลไทยสั่งสลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ ว่า "เขารับจ้างมาอย่างนั้น ก็คงต้องทำอย่างนั้นแหละครับ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมข้อมูลไว้ชี้แจงแล้ว"

เมื่อถามว่า ส่วนหนึ่งในสำนวนระบุว่าแม้ไทยจะยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่อศาลอาญาระหว่าง ประเทศ แต่ยังสามารถฟ้องได้เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ถือสัญชาติอังกฤษ นายอภิสิทธิ์ตอบสั้นๆ ว่า "ผมถือสัญชาติไทยครับ ไม่ได้มีสัญชาติมอนเตเนโกร" ก่อนจะหันหลังเดินออกจากวงล้อมของสื่อมวลชนขึ้นไปบนห้องทำงานในชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้าทันที แต่ระหว่างนั้นนายอภิสิทธิ์ได้หันมาส่งยิ้มอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเดินหายลับตาไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1296468556&grpid=00&catid=&subcatid=

---------------------------------------------------------


สรุปคือความหวังที่จะนำคดีคนเสื้อแดงโดนฆ่า
ไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ
คงเป็นความหวังที่ริบหรี่ ตามข้อความนี้
"การนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า จะทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ป...ระเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี เพียงแต่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม เมื่อวันที่ 2 ต.ค. พ.ศ. 2545 เท่านั้น แต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน"

เมื่อเป็นความหวังที่ริบหรี่ ต่อไปก็ต้องดูให้ดีว่า
ใครจะหยิบเรื่องนี้มาให้ความหวังอีกเมื่อรู้แบบนี้แล้ว
ค่อยวิเคราะห์กันต่อ แต่ก่อนหน้านี้อาจไม่รู้ไม่ว่ากัน

เสื้อแดงคงไปหวังพึ่งใครไม่ได้หรอก
ทั้งพี่เบิ้มประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งรัฐบาลนานาชาติ
รวมทั้งผู้มีอำนาจต่างๆ ในไทย
คงต้องพึ่งสองมือ สองขา และสมองของแต่ละคนเท่านั้น
จะได้ไม่หลงทาง หวังในสิ่งที่ไม่มีโอกาสอะไร
เหมือนชาวตูนีเชีย ช่วงลุกฮือมหาอำนาจก็ไม่สนใจจะช่วย
แต่เมื่อชนะแล้ว มหาอำนาจจะกลับลำทันที
เวลานี้ไม่มีคำว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยระดับนานาชาติในโลกใบนี้
มีแต่ผลประโยชน์ของแต่ละประเทศเป็นหลัก
ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับโลกใบนี้จริงๆ
ที่มันมั่วๆ ยุ่งๆ วุ่นวายกันทั้งโลก
ก็เพราะความไม่มีอุดมการณ์ของพี่เบิ้มประชาธิปไตยนั่นเอง
ลองพี่เบิ้มมีอุดมการณ์จริง ไม่แอบหนุนเผด็จการ
เพื่อหวังผลประโยชน์จากรัฐบาลที่ตนเองหนุน
โลกใบนี้จะน่าอยู่และมีประเทศประชาธิปไตยเต็มใบมากมายกว่าทุกวันนี้

แต่ยังพอมีความหวังอันริบหรี่อยู่เหมือนกัน
"มีกรณีที่ประเทศซึ่งไม่ได้เป็นภาคีแต่ถูกตัดสินโทษโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ เช่นกัน ได้แก่กรณีของประเทศซูดาน ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 (ข) ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วนศาลอาญาระห...ว่างประเทศ* ซึ่งระบุว่า ให้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาคดีได้ในกรณีที่อาชญากรรมนั้นขึ้นได้ รับการเสนอต่ออัยการโดยคณะมนตรีความมั่นคงซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ"

แต่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศมีผลประโยชน์กับคนในประเทศนี้เยอะ
เขาอาจเฉยหรือไม่สนใจตีตกไปได้ทั้งนั้น เลิกหวังได้
ลองมาสังเกตุกฎบัตรสหประชาชาติ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกันดู

สังเกตุ ข้อ 23
1. คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติสิบห้าประเทศ สาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และสหรัฐอเมริกา จะเป็นสมาชิก ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาจะต้องเลือกตั้งสมาชิกอื่นของสหประชาชาติ อีกสิบประเทศ เป็นสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง ...

สังเกตุวิธีการลงคะแนนเสียง ข้อ 27
...
3. คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงในเรื่องอื่นทั้งหมดจะต้องกระทำโดย คะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกเก้าประเทศ ซึ่งรวมคะแนนเสียงเห็นพ้องกันของบรรดาสมาชิกประจำอยู่ด้วย ...

สรุปวิธีการลงคะแนนเสียงของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ดังนี้
มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ และไม่ถาวรอีก 10 ประเทศ
ประเทศละ 1 คะแนนเสียง แต่ต้องใช้เสียง 9 ประเทศในการลงมติให้ชนะ
และที่สำคัญต้องรวมคะแนนเสียงเห็นพ้องของสมาชิกประจำ 5 ประเทศ

ตีความภาษาไทยเป็นภาษาไทย ก็คือ
ต่อให้ 10 ประเทศไม่ถาวรลงมติเห็นชอบไม่เห็นชอบอะไร
แต่ถ้าสมาชิกถาวรไม่เห็นพ้องด้วยก็ไม่มีอะไรขึ้นมา
ก็คือไม่ต้องดูอะไร ดูแค่พี่เบิ้ม 5 ประเทศพอ คือ
จีน, รัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ และ อเมริกา
ซึ่งหลายประเทศก็ซูเอี๋ยหนุนพวกผู้มีอำนาจเห็นๆ กันอยู่
โดนพวกนี้วีโต้ก็จบเห่แล้ว
ที่สำคัญ ไม่น่าเชื่อองค์กรสหประชาชาติ
ช่างมีกฏบัตรที่ไร้ประชาธิปไตยจริงๆ พับผ่าซิ

--------------------------------------

ล่าสุดทนายได้เตรียมยื่นฟ้องดังกล่าว
โดยหวังอาศัยช่องทางที่อภิสิทธิ์ถือสองสัญชาติ
จากการคาดเอาเองไม่มีหลักฐาน
เพราะเห็นอภิสิทธิ์มั่นใจในกรณีนี้
อันที่จริงใครไปเกิดประเทศไหน
ก็มักจะได้สัญชาติประเทศนั้นโดยอัตโนมัติก็จริงอยู่
แต่ต้องยื่นขอสัญชาติกับเจ้าของประเทศด้วย
ถ้ากรณีนี้อภิสิทธิ์ไม่ยื่นเขาก็ไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษอยู่ดี

อันที่จริงไม่อยากให้ตั้งความหวังลมๆ แล้งๆ กับคดีนี้มาก
เพราะดูแล้วเรื่องคงเงียบหายไปในที่สุด หรือไปไม่ถึงดวงดาวแน่ๆ
ควรไปลุ้นเอาชนะด้วยสองมือสองขาและหนึ่งสมองของเสื้อแดงแต่ละคน
ในศึกใหญ่ที่กำลังมาถึงจะดีกว่า ยังพอมีหวังกว่า
ถ้าชนะยังไงก็มีโอกาสยื่นฟ้องได้อีกในช่องทางที่ริบหรี่ก็จริง

"ถ้าคุณถูกหมาเพื่อนบ้านกัด
คุณจะไปกัดกับหมาเพื่อนบ้านทำไม
ต่อให้กัดจนหมาเขาตาย
เดี๋ยวเจ้าของหมาก็ไปหาตัวใหญ่กว่า ดุกว่ามาแทน
ทำไมไม่ไปทะเลาะกับเจ้าของหมา
ยังมีประโยชน์มากกว่า

ยังมีโอกาสคุยกันรู้เรื่อง
หรือทะเลาะกันจนจบได้มากกว่าไปกัดกับหมา
"

โดย มาหาอะไร
FfF