บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


20 พฤษภาคม 2554

<<< กรณีศึกษา : การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจภายใต้คำแนะนำของ IMF >>>


กรณีศึกษา : การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
ภายใต้คำแนะนำของ IMF
นางสาวสิริกัลยา เรืองอำนาจ
วิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลี ตามลำดับ ต้องจบลงด้วยการขอรับความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการจากกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (International Monetary Fund : IMF) จึงเป็นกรณีศึกษาถึงแนวทางของ IMF ในการกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในช่วงระยะที่ผ่านมาว่ามีความคล้ายคลึงกันเพียงใด เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น บทความนี้จึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งจะเป็นการกล่าวถึงสาเหตุและผลของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นใน แต่ละประเทศก่อนขอรับความช่วยเหลือจาก IMF ส่วนที่สองเป็นหลักการและแนวทางปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ IMF และเป็นการเปรียบเทียบมาตรการสำคัญต่าง ๆ ที่ IMF ใช้เป็นเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และส่วนที่สามสรุปผลของการปฏิบัติตามกรอบของ IMF
1. สาเหตุและผลของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศก่อนขอรับความช่วยเหลือจาก IMF
1.1 ฟิลิปปินส์
วิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเมื่อปี 2526 อันมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีความด้อยมากกว่าประเทศอื่นในแถบเอเซีย ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน และถูกอิทธิพลของต่างประเทศครอบงำในการปกครอง และระบบเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการครอบงำของต่างชาติเป็นลักษณะการกอบโกยผลประโยชน์ กลับสู่ประเทศของตน
หลัง จากนั้น ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชและปกครองตนเอง แต่ก็ยังถูกกอบโกยจากผู้ ปกครองประเทศของตนเอง ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างมาก แม้ว่าจะมีการกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แต่กลับนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับภาคเศรษฐกิจ เป็นการลงทุนในลักษณะไม่คุ้มกับเงินลงทุน
ปัจจัย ภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อฟิลิปปินส์อย่างรุนแรงคือ วิกฤตการณ์น้ำมันโลก ครั้งที่ 2 จนทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือเพียงร้อยละ 1 ในปี 2526 มีอัตราการว่างงานสูง ถึงร้อยละ 19 และค่าจ้างแรงงานสูงกว่าประสิทธิภาพของแรงงานส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น การที่ประเทศติดต่อกับภาคต่างประเทศทำให้มีการเปิดเสรีอย่างมาก เป็นผลทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึงร้อยละ 8 ของ GDP และดุลการชำระเงินขาดดุลถึง 2 พันล้านเหรียญ สรอ. จึงจำเป็นต้องขอเลื่อนชำระหนี้ร้อยละ 60 ของหนี้คงค้าง นับว่าเป็นประเทศแรกของเอเซียที่ขอเลื่อนการชำระหนี้ ทั้งนี้ จากการที่ทุนสำรองเงินต่างประเทศลดลงเหลือ 450 ล้านเหรียญ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2526
ใน เดือนกุมภาพันธ์ 2526 ฟิลิปปินส์ได้ยื่นความจำนงขอรับความช่วยเหลือจาก IMF จำนวน 1,430 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อชดเชยการขาดดุลการชำระเงิน และรักษาทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับ 2.5 พันล้านเหรียญ สรอ
1.2 เม็กซิโก
วิกฤตการณ์ เปโซเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2537 โดยมีสาเหตุมาจากการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในปี 2532 ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้าสู่ประเทศในรูปการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้น ระหว่างปี 2533-2536 แต่การลงทุนโดยตรงมีเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น ประกอบกับการปรับปรุงภาษีให้สอดคล้องกับข้อตกลงของ GATT ทำให้ภาษีนำเข้าถูกปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ส่งผลให้เม็กซิโกนำเข้าสินค้าจำนวนมากกว่าการส่งออก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากยิ่งขึ้นจากร้อยละ 1.4 ของ GDP ในปี 2533 เป็นร้อยละ 7.7 ของ GDP ในปี 2537 ค่าเงินเปโซที่แข็งขึ้นเนื่องจากผูกติดกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินเปโซอยู่ในภาวะมีค่าสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและย้ายเงินทุนออกนอกประเทศมากขึ้น ภายในประเทศประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง พร้อมกับมีการพยุงค่าเงินโดยใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปจำนวนมาก จนเหลือเพียง 4 พันล้านเหรียญ สรอ. และยังมีการผูกพันอีก 28 พันล้านเหรียญ สรอ. ที่ครบกำหนดชำระในต้นปี 2538 ซึ่งเป็นผลให้ประกาศลดค่าเงินเปโซลงร้อยละ 15 นอกจากนี้ การเมืองที่ไร้เสถียรภาพ กองโจรปาติสต้าลักพาตัวนักธุรกิจ และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถูกลอบสังหาร ยิ่งทำให้เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความไม่มั่นใจเหตุการณ์ของประเทศและความตื่นตระหนกของนักลงทุน
ใน ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เม๊กซิโกขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF สหรัฐอเมริกา กลุ่ม G-10 และธนาคารโลก จำนวน 37.8 พันล้านเหรียญ สรอ. แบ่งเป็นเงินกู้จาก IMF 12.1 พันล้าน SDR สหรัฐฯ จำนวน 20 พันล้านเหรียญ สรอ. และจำนวนที่เหลือจากกุล่ม G-10 และธนาคารโลก โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF และกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า Economic Policy Memorandum ซึ่งส่งผลให้หยุดการลดลงของค่าเงินเปโซ
การ ที่สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือจำนวนมากเช่นนี้ สหรัฐได้จัดตั้งกองทุน Economic Stabilization Fund (ESF) ขึ้นเพื่อจัดการเงินกู้ของสหรัฐเอง และการค้ำประกันให้กับเม็กซิโก แต่รัฐบาลเม๊กซิโกจะต้องนำเงินรายได้จากการขายน้ำมันและการขายสินค้า 2 ประเภทที่สหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือในการขายเข้าบัญชีที่เปิดพิเศษสำหรับการ โอนเงินนี้ที่ธนาคารกลางของสหรัฐที่กรุงนิวยอร์ก กระบวนการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 20 วัน ในการจัดตั้งและสามารถเบิกจ่วยงวดแรกได้ เป็นผลทำให้เรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้ และระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น
1.3 ไทย
วิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจของไทยมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การเปิดเสรีภาคการเงินโดยขาดมาตรการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ โดยมีการกู้เงินเข้ามาจำนวนมากผ่านทางธุรกรรมวิเทศธนกิจประเภท out-in แทนที่จะเป็นการทำธุรกรรมแบบ out-out ตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาระบบการเงินของประเทศไทย และนำเงินทุนเหล่านั้นไปลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เนื่องจากมีต้นทุนการกู้เงินที่ต่ำจากนอกประเทศจากการที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย ดำรงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้า แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจผกผัน ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ธุรกิจอ่อนแอหรือล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถส่งดอกเบี้ยและขอต่อสัญญา เงินกู้ต่อได้ ย่อมทำให้เป็นหนี้ที่เป็นปัญหาของสถาบันการเงินต่าง ๆ จนในที่สุดเป็นปัญหาสำคัญต่อสถาบันการเงินทั้งระบบ สาเหตุประการที่สอง ได้แก่ การที่ทางรัฐบาลจัดการกับปัญหาของสถาบันการเงินไม่เด็ดขาดและล่าช้า จนลุกลามให้เกิดความเสียหายต่อภาคการเงิน ปัญหาการแก้ไขสถาบันการเงินเริ่มตั้งแต่ปัญหาของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ เป็นต้นมา และสาเหตุที่สำคัญประการต่อมา คือ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จนเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการโจมตีค่าเงินบาท จากการที่นักวิเคราะห์ต่างประเทศวิเคราะห์ว่าค่าเงินบาทของไทยมีค่าแข็งมาก เกินไปจากระดับพื้นฐานที่อ่อนแอในขณะนั้น แต่รัฐบาลไทยยังคงยืนยันดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ จนเป็นเหตุให้ประเทศไทยเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบ Managed float ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2541 แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นนักลงทุนต่างประเทศก็ยังไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ยังคงมีเงินทุนไหลออกเป็นจำนวนมาก
1.4 อินโดนีเซีย
วิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียมีสาเหตุมาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาคเอกชน และการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมหาศาล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผูกขาดทางการค้าในธุรกิจต่าง ๆ จากกลุ่มญาติพี่น้อง และนักธุรกิจที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประธานาธิบดีซูฮาร์โต ทำให้สถาบันการเงินมีการปล่อยเงินกู้กับโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และ แก่พวกพ้องกันเอง ประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่ผูกขาดอำนาจไว้โดยคนกลุ่มเดียวทำให้ไม่เกิด ความร่วมมือ
กับ ฝ่ายอื่น จึงมีการใช้เงินงบประมาณสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์และให้แก่กลุ่มพวกพ้องทำให้มีการรั่วไหลของงบประมาณ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นด้านสังคมซ้ำเติมให้เศรษฐกิจมีความรุนแรงขึ้น อาทิ การคอร์รัปชั่น การจราจลของคนจน สภาวะแห้งแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโน่ และไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลน และรัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณในการนำเข้าผลผลิตทางเกษตรและยารักษาโรค
การ ผูกค่า เงินกับดอลลาร์ทำให้ค่าเงินสูงเกินจริงและเป็นที่โจมตีจากนักเก็งกำไร ยิ่งทำให้ค่าเงินรูเปียห์ลดลงจาก 1 เหรียญ สรอ. เท่ากับ 2,361 รูเปียห์ เป็น 14,000 รูเปียห์ ณ วันที่ 26 มกราคม 2541 นอกจากนี้ ระบบการเงินที่ไร้เสถียรภาพทำให้สถาบันการเงินและธนาคารหลายแห่งปิดกิจการ ส่งผลให้ขาดสภาพคล่องในประเทศ คนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 46 เงินเฟ้อร้อยละ 20 ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอยู่ที่ 14,900 ล้านเหรียญ สรอ. ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งถือว่าต่ำมาก และหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่สูงถึง 74,000 ล้านเหรียญ สรอ. จนในที่สุดต้นเดือนพฤศจิกายน 2540 อินโดนีเซียขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) วงเงิน 43 พันล้านเหรียญ สรอ. และยอมปิดธนาคาร 16 แห่ง แต่เนื่องจากอินโดนีเซียไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ยื่นต่อกองทุนการ เงินระหว่างประเทศทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินตามงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตระกูลซูฮาร์โต ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจทรุดตัวลง อย่างมากจนทำให้เกิดการชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดีซูฮาร์โต จนในที่สุดได้เปลี่ยนตัวประธานาธิบดีเป็นนายฮาบิบี
1.5 เกาหลีใต้
วิกฤตการณ์ ทางการเงินของภูมิภาคเอเซียที่เริ่มจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และได้ลุกลามมาถึงเกาหลีใต้นั้น มีพื้นฐานมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากเกินไปจนทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้ รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือกลุ่มแชโบล (Chaebol) ที่มีสัดส่วนธุรกิจในระบบเศรษฐกิจกว่า 80% ของประเทศประสบปัญหาด้านการขาย กลุ่มแชโบลนี้เป็นกลุ่มที่รัฐบาลพยายามจะรักษาอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่ม โดยทุ่มเงินจำนวนมหาศาลในการขยายธุรกิจซึ่งไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ แข่งขันและได้มีการลงทุนในตลาดหุ้นเกินตัว อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีแรกของปี 2540 ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี อยู่ในร้อยละ 5.9 และอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของภาคการส่ง ออกสินค้าประเภทอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ แต่ภาคการผลิตอื่นๆ ของประเทศยังซบเซาอย่างหนัก เศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจของเกาหลีประสบปัญหาอย่างหนัก เช่น กลุ่ม Kia เกิดการล้มละลาย บริษัท Haitai International ไม่สามารถชำระคืนตั๋วเงินที่ถึงกำหนดได้ เป็นต้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียกับสถาบันการเงินมูลค่าถึง 5.5 พันล้านเหรียญ สรอ. และทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจในการลงทุน ส่งผลให้เงินทุนไหลออก 2 พันล้านเหรียญ สรอ. และดัชนีหลักทรัพย์ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี
ถึง แม้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะควบคุมและสร้างเสถียรภาพทางการเงินโดยการแทรกแซงค่า เงินวอนในตลาดต่างประเทศ และใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ 30,000 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อปกป้องค่าเงิน แต่ค่าเงินวอนยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องทำให้หนี้ต่างประเทศมีอัตราเพิ่ม สูงขึ้นตามลำดับ
เกาหลี ใต้ได้ประกาศขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 เป็นเงินกู้แบบ Stanby Credit วงเงิน 57,000 ล้านเหรียญ สรอ. โดย IMF ได้ให้ความช่วยเหลือถึง 21,000 ล้านเหรียญ สรอ.
2. หลักการและแนวทางปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ IMF
วิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ข้างต้นสุดท้ายต่างจบลงด้วยการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และยอมรับที่จะปฏิบัติตามกรอบเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือ หรือหนังสือแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการ (Letter of Intend) ที่ IMF และประเทศนั้น ๆ ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่ประเทศนั้น ๆ ต้องการจะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้กลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
IMF ในฐานะผู้ให้กู้มีหลักการและแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจที่ได้นำไปใช้กับทุกประเทศเรียกว่า Structural Adjustment Programs : SAPs ซึ่งเป็นแผนงานอย่างกว้าง ๆ ที่อาจจะแตกต่างในรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของวิกฤตการณ์ในแต่ละ ประเทศ โดยสรุปมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. Liberalization : การเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน การผลิตและการเงิน
2. Stabilization : การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยนโยบายการเงินและการคลังที่เข้มงวด
3. Deregulation : การลดการกำกับและควบคุมเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน โดยยกเลิกการควบคุมปริมาณระบบโควต้าและลดการควบคุมการเข้าสู่ตลาด (ENTRY) และการออกจากตลาด (EXIT)
4. Privatization : การเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการค้าและการลงทุน โดยสนับสนุนการร่วมทุนและการแข่งขันระหว่างภาคเอกชน
มาตรการ ที่เสนอโดย IMF ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลี สามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังตารางต่อไปนี้

มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ IMF ในประเทศต่าง ๆ
ฟิลิปปินส์เข้าโปรแกรม ปี 2526
เม็กซิโกเข้าโปรแกรม ปี 2537
ไทยเข้าโปรแกรม ปี 2540
อินโดนีเซียเข้าโปรแกรม ปี 2540
เกาหลีใต้เข้าโปรแกรม ปี 2540
นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจ
- จำกัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้โต - กำหนดตามนโยบายสร้างเสถียรภาพ - GDPติดลบ 7 % ปี2541 และ 0.5% ปี 2542 - GDP ปี 2541/42 ติดลบร้อยละ 12 - GDP ปี 2541อยู่ที่ - 5 %และปี 2542
ร้อยละ 4.5 ต่อปี ทางเศรษฐกิจของเม็กซิโก (US Mexico - เงินเฟ้อ 9.2 % ปี2541 และ 6% ปี2542 - เงินเฟ้อปี 2541/42 ร้อยละ 66 อยู่ที่ 0 %
- ควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับร้อยละ 13 Framework Agreement for Mexican - ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11-12 - กระจายอาหาร สิ่งจำเป็น และบริการ - เงินเฟ้อ 8 % ปี2541, 5 % ปี 2542

Economic Stabilization) พันล้านเหรียญ สรอ.ปี 2541 ให้เพียงพอ - บัญชีเดินสะพัด2541ปีเกินดุลประมาณ


- ทุนสำรองระหว่างประเทศระดับ 26-28 - อัตราแลกเปลี่ยนใช้ในงบประมาณกำหนดที่ 8% ของ GDPและ 4.2% ปี 2542


พันล้านเหรียญ สรอ. ปี 2541 6,000 รูเปียห์ ต่อดอลลาร์ สรอ.





นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง นโยบายการคลัง
- ลดการใช้จ่ายเพื่อลงทุนและลดเงิน - เข้มงวด ตัดรายจ่ายรัฐบาลลงร้อยละ 10 - ขาดดุลปี 2541 ร้อยละ 3 ของ GDP และ - งบประมาณ 2541-2542 ขาดดุลร้อยละ 3.7 - งบขาดดุล 4% ของ GDP ปี2541
อุดหนุน - จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 ปี 2542 ขาดดุลร้อยละ 3 ของ GDP - ชดเชยขาดดุล โดยกู้ต่างประเทศและขาย - เพิ่มรายจ่ายทางสังคมแห่คนว่างงาน
- ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีและเพิ่มอัตรา เป็นร้อยละ 15 - จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้โครงการ รัฐวิสาหกิจ - ลดค่าใช้จ่ายและการลงทุน
ภาษี - ส่งเสริมการออม สังคม และ พัฒนาชนบท - เพิ่มรายได้จากภาษีน้ำมัน สินค้าฟุ่มเฟือย
- ตั้งงบประมาณขาดดุล และชดเชย
- ชะลอการลงทุนและลดรายจ่าย และ VAT
ขาดดุลโดยออกพันธบัตรในประเทศ
- ปรับ VAT เพิ่มจากร้อยละ 7 เป็น - ขจัดเงินอุดหนุนต่าง ๆ แต่คงไว้ด้านอาหาร


ร้อยละ 10 พื้นฐาน และยารักษาโรคแก่คนจน
นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน
- เข้มงวด จำกัดปริมาณเงินให้เพิ่มขึ้น - เข้มงวด คุมอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น - รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน - รักษาเสถียรภาพของค่าเงิน - ยืดหยุ่นอัตราแลกเปลี่ยน
ประมาณร้อยละ 16.4 - ปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว - ขยายตัวของปริมาณเงินปี 2541 อยู่ที่ - ปฏิรูปภาคการธนาคารและนโยบายการเงิน - ลดอัตราดอกเบี้ยได้ถ้ามีเสถียรภาพ
- การให้สินเชื่อของธนาคารต้องไม่เกิน - จัดตั้งกองทุน Exchange Stabilization ร้อยละ 6.3 พร้อมปิดธนาคารเพิ่ม ทางการเงิน
136.5 พันล้านเปโซ Fund - ทางการจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีความ - รักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง
- ลดค่าเงินเปโซ และกำหนดอัตรา - ธนาคารกลางแทรกแซงตลาดเท่าที่ จำเป็น

แลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น จำเป็น


ระบบการเงิน ระบบการเงิน ระบบการเงิน ระบบการเงิน ระบบการเงิน
- ลดการผูกขาดของธนาคารและบริษัทที่ - รับประกันว่าธนาคารกลางจะเข้า - ปรับปรุงเกณฑ์จัดชั้นสินทรัพย์และการกัน - ปรับโครงสร้างหนี้เอกชน เพื้อให้ธนาคาร - ปรับโครงสร้างธนาคาร
ทำการค้าน้ำตาลมะพร้าว กล้วย และ แทรกแซงตลาดการเงินเท่าที่จำเป็น สำรอง ต่างชาติยืดเวลาชำระหนี้ - เพิ่มทุนธนาคาร
สินค้าปฐมอื่น ๆ - เพิ่มฐานเงินกองทุนธนาคารพาณิชย์ - เพิ่มทุนธนาคาร และบรรษัทเงินทุน - ปรับปรุงเกณฑ์เงินกู้ให้หักภาษีได้ - จัดตั้งระบบสถาบันประกันเงินฝาก
- ธนาคารพาณิชย์ต้องขายเงินตราต่าง - จัดตั้งกองทุนประกันเงินฝาก - เพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ - ทบทวนระบบบัญชีของธนาคารต่าง ๆ
ประเทศให้ธนาคารรัฐแห่งเดียว
- ปรับโครงสร้างหนี้เอกชน - ปรับโครงสร้างธนาคาร และผนวกธนาคาร
นโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านต่างประเทศ
- ลดการกู้ยืมต่างประเทศให้อยู่ในระดับ - ส่งเสริมการส่งออก จำกัดการนำเข้า - ยอดคงค้างภาระเงินต่างประเทศล่วงหน้า - รัฐบาลไม่อุดหนุนหนี้ต่างประเทศของ - สนับสนุนเอกชนกู้เงินจากต่างประเทศ
ประมาณ 2 พันล้านเหรียญ สรอ. สินค้าฟุ่มเฟือย สิ้นปี 2541 เหลือ 9,000 ล้านเหรียญ สรอ. เอกชน - พัฒนาระบบรายงานหนี้ต่างประเทศ



- ส่งเสริมการค้าต่างตอบแทน
การลงทุน การลงทุน การลงทุน การลงทุน การลงทุน
- ขยายการลงทุนด้านชลประทานและ - เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใน - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ - ระงับโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน - เปิดตลาดเสรีการเงินของสถาบัน
ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศอย่างเสรี - เพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และปิดหรือขาย การเงิน
- ส่งเสริมการส่งออก 100% จากเดิม 30% - เปิดเสรีการลงทุนแก่ต่างประเทศในภาค รัฐวิสาหกิจที่ประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก - ยกเลิกเพดานการลงทุนต่างชาติใน
- แปรรูปรัฐวิสาหกิจ - แปรรูปรัฐวิสาหกิจ เศรษฐกิจบางสาขา โดยเฉพาะภาค - แก้ไขกฎหมายล้มละลาย ตลาดหลักทรัพย์
- เปิดการค้าเสรีโดยลดภาษีและโควต้า - ยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการ ธนาคารพาณิชย์ - ยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนต่างชาติในการ - เปิดเสรีสินค้านำเข้า 113 รายการ
- ส่งเสริมการลงทุนค้าปลีกและธุรกิจ ลงทุนจากต่างประเทศ - แก้ไขกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายที่ ค้าส่ง ค้าปลีก และบริษัทจดทะเบียน - ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถซื้อกิจการ
ขนาดกลางและใหญ่
เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้สอดคล้องกับ
เอกชน และเพิ่มปริมาณหุ้นโดยไม่ต้อง
- แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า
WTO
รับการอนุมัติจากรัฐ
และการลงทุน


- เปิดเสรีทางการบริการด้านการเงินกับ




WTO
3. สรุปผลของการปฏิบัติตามกรอบของ IMF
กล่าว โดยสรุป การขอรับความช่วยเหลือจาก IMF และยิมยอมปฏิบัติตามกรอบเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินและวิชการ เป็นผลดีอยู่บ้างในการช่วยกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่าง ประเทศให้กลับคืนมาและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ วิกฤตการณ์ของแต่ละประเทศมีสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน และแนวทางการจัดทำแผนฟื้นฟูของ IMF จะบรรจุ 4 หลักการ เข้าอยู่ในแผนเหมือนกัน อย่างไรก็ดี แผนฟื้นฟูของ IMFก็มีจุดบกพร่องอยู่มากพอสมควร เช่นกรณีของไทยที่ฐานะการคลังไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ IMF เข้มงวดด้านการคลังเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ผลในระยะต่อมากระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวลงมากเกินไป ทั้งที่การแก้ไขปัญหาควรจะเข้มงวดต่อปัญหาที่เกิดจากภาคธุรกิจ และมุ่งนโยบายการคลังเพื่อมิให้ภาวะเศรษฐกิจทรุดมากเกินไป
นอกจาก นี้ IMFยังมุ่งเน้นการใช้กลยุทธด้านอุปสงค์เป็นมาตรการหลักในการกำหนดนโยบาย ต่างๆ เช่น นโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกลาง การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ เงินฝากของธนาคารกลาง จำกัดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และการซื้อขายของพันธบัตรในตลาด และนโยบายการคลัง โดยการเพิ่มภาษี ควบคุมค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย ลดการลงทุนของภาครัฐ จะเห็นได้ว่ามาตรการเหล่านี้มุ่งหวังให้เกิดผลในระยะสั้นและรวดเร็ว อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้มิใช่มาตรการเบ็ดเสร็จ ซึ่งในระยะแรกของวิกฤตการณ์นั้นมาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้มีการเสนอมาตรการทางสังคม และมาตรการปรับโครงสร้างต่าง ๆ ตามมาภายหลังจากการทบทวนของ IMF MISSION ซึ่งมาตรการเหล่านี้ควรจะบรรจุในแผนฟื้นฟูตั้งแต่ตอนต้นโปรแกรม หากมาตรการเหล่านี้ดำเนินไปพร้อมๆกันในระยะแรก ประเทศเกาหลี อินโดนีเซีย และไทยคงไม่ประสบปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาภาคการเงิน ค่าเงินอ่อนตัว อัตราดอกเบี้ยแท้จริงสูงมาก และเงินทุนไหลออกหลังจากเข้าโปรแกรมของ IMF มากเหมือนกับปัจจุบัน
ประเทศ ต่างๆ ที่เข้าโปรแกรมของ IMF ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ฉะนั้นควรมีองค์กรพิเศษทำหน้าที่ประเมินการทำงานของ IMF เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของนานาประเทศ และความมีประสิทธิภาพของ IMF โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มาประเมินเศรษฐกิจของแต่ละประเทศต้องมีความรู้ ประสบการณ์และมีประสิทธิภาพเพื่อวางแนวนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมกับประเทศ นั้นๆ
ให้สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติกลับมาโดยเร็ว
ที่มา: - เศรษฐทัศน์, ธนาคารนครหลวงไทย, " วิกฤตสู่วิกฤต
: IMF จ่ายยาผิดหรือ" และ "Debt Moratorium" ของ ประธาน จิวจินดา
- LOI ของประเทศต่างๆ
---------------------------------------------------
FfF