วันพฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม 2554 เวลา 9:54 น
โกยดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมเละ
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการรายงานผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 9 แห่ง ที่แจ้งงบการเงินต่อตลท.แล้ว พบว่า มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2/54 รวม 34,079.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,570.38 ล้านบาท หรือ 33.60% ส่วนงวด 6 เดือนแรกของปี มีกำไรสุทธิรวม 70,821.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,036.38 ล้านบาท หรือ 42.25% ส่วนใหญ่กำไรที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากมีรายได้จากดอกเบี้ยรวมถึงค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ธนาคารกรุงไทยมีกำไรสุทธิเติบโตที่สุดในงวดไตรมาสสอง ปี 54 ที่ 5,241.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,867.68 ล้านบาท หรือ 55.36% ส่วนงวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 10,729.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,282.15 ล้านบาท หรือ 66.41% , ธนาคารไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิ 8,132.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,816.78 ล้านบาท หรือ 52.99% ขณะที่ 6 เดือนมีกำไรสุทธิ 21,183.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,493.36 ล้านบาท หรือ 81.21%, ธนาคารกสิกรไทย มีกำไรสุทธิ 7,318.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,175.20 ล้านบาท หรือ 42.29% งวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 13,432.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,183.42 ล้านบาท หรือ 45.23% , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีกำไรสุทธิที่ 2,971.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 840.59 ล้านบาท หรือ 39.99% งวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 5,780.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,579.04 ล้านบาท หรือ 37.59%
ธนาคารทหารไทย มีกำไรสุทธิ 1,195.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 330.82 ล้านบาท หรือ 38.27% งวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 2,291.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 637.10 ล้านบาท หรือ 38.52%, ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป มีกำไรสุทธิที่ 863.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100.32 ล้านบาท หรือ 13.15% งวด 6 เดือน มีกำไรสุทธิ 1,691.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 216.64 ล้านบาท หรือ 14.69% และธนาคารกรุงเทพ มีกำไรสุทธิ 7,405.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 618.73 ล้านบาท หรือ 9.12% งวด 6 เดือน กำไร 13,874.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.65%
นอกจากนี้มีธนาคาร 2 แห่งที่มีกำไรลดลง คือธนาคารซีไอเอ็มบีไทย มีกำไรสุทธิ ในไตรมาสสอง 254.80 ล้านบาท ลดลง 111.04 ล้านบาท และธนาคารเกียรตินาคิน มีกำไรสุทธิ 696.59 ล้านบาท ลดลง 68.70 ล้านบาท หรือ 8.98%นางเยาวลักษณ์ พูลทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ผลประกอบการของธนาคารในงวดนี้ถือว่ากำไรสูงสุดในรอบ 16 ปี โดยรายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 30% และรายได้จากค่าธรรมเนียม 14%
นายมาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลประกอบการที่ออกมาถือว่าทำสถิติใหม่โดยเติบโตสูงถึง 40%.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152330
------------------------------------------------
ตารางอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ร้อยละต่อปี) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
| |
หมายเหตุ : คลิก ที่นี่ เพื่อดูความหมายของประเภทลูกค้า และเงื่อนไขต่างๆ ในการจ่ายดอกเบี้ย โปรดทราบ : ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โปรดตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันก่อนทำธุรกรรม |
http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/Web%20Services/Rates/Pages/Deposit%20Rates.aspx
------------------------------------------------
|
http://www.bangkokbank.com/Bangkok%20Bank%20Thai/Web%20Services/Rates/Pages/Loan%20Interest%20Rates.aspx
------------------------------------------------
เห็นข่าวแบงค์แค่ครึ่งปีทำกำไรเละกว่า 42% แล้วปวดใจ
ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจดีอะไรหรอกแต่ค้ากำไรเกินควรมากกว่า
ลองมาดูอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ทางธนาคารต้องจ่าย
และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เป็นรายรับธนาคารกัน
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทบุคคลธรรมดา
แบบสะสมทรัพย์ 0.875 บาท
แบบฝากประจำ 1 ปี 2.50-2.75 บาท
แบบฝากประจำ 2 ปี 3.00 บาท
แบบฝากประจำ 3 ปี 3.25 บาท
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี 7.125 บาท
ลูกค้ารายย่อยชั้นดี 7.875 บาท
( ข้อมูลดอกเบี้ยข้างบนอ้างอิงจากแบงค์กรุงเทพ ธนาคารใหญ่สุด
ส่วนธนาคารขนาดเล็กส่วนใหญ่จะใกล้เคียงหรือเท่ากับธนาคารใหญ่ )
จากข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเฉพาะบุคคลธรรมดา
จะรู้สึกได้ว่าถ้าพวกเรามีเงินฝากธนาคาร
กับเราไปกู้เงินจากธนาคารถ้าเราเป็นลูกค้าชั้นดีไม่มีเบี้ยว
( ถ้ามีอาจเจอดอกเบี้ยสิบกว่าบาทจนถึงยี่สิบกว่าบาทได้ )
จะมีส่วนต่างที่เป็นกำไรของธนาคารสูงมาก
ในระดับ 4 บาทถึงประมาณ 7 บาท
ก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงทำกำไรกันมาก
แต่แปลกมากเห็นกำไรแบบนี้ แต่ชอบค้านขึ้นค่าแรง
ไม่ว่าจะค่าแรง 300 บาท หรือ ป.ตรี 15,000 บาท
อีกอย่างในเมื่อธนาคารกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบนี้
จะคาดหวังให้เศรษฐกิจดีขึ้นจากเรื่องดอกเบี้ยคงยาก
ขนาดญี่ปุ่นสิบกว่าปีคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เป็นเงินบาทต่ำกว่าบาทบางครั้งเห็นมีศูนย์บาทด้วย
ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ถูกขนาดช่วงก่อน IMF ธนาคารไทย
ไปกู้มาปล่อยให้คนไทยร้อยละไม่ถึง 10 บาทยังกำไร
ดังนั้นจะคาดหวังใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ แบบนี้
ช่วยแก้เศรษฐกิจไม่ได้เลย
บางคนบอกดอกเบี้ยถูกก็จะมีคนกู้มาลงทุน
ก็ต้องย้อนถามกลับไปว่าลงทุนเพื่อไปขายให้ใคร
ถ้าเศรษฐกิจโดยรวมไม่ดี แถมคนมีเงินยังได้ดอกเบี้ยน้อย
ธนาคารก็เข้มงวดการปล่อยกู้
ถ้าไม่เข้มงวดก็อาจได้หนี้เสียอีกเพียบ
ถ้าดอกเบี้ยถูกแบบนี้ รัฐบาลออกพันธบัตร
ดอกเบี้ยร้อยละ 5 - 7 ระยะยาวๆ สิบกว่าปีไม่ต้องรีบร้อนให้หมด
ให้คนที่เกษียณอายุแล้วเพราะอาจมีเงินฝากอยู่ก้อนหนึ่ง
ถ้าไม่ฝากแล้วกินดอกเบี้ยไม่นานก็หมด
ไม่รวมถึงบางคนโดนลูกหลานช่วยถลุง
ก็จะตกอยู่ในสภาพอนาถาเร็วขึ้นในที่สุด
ยังไงคนกลุ่มนี้ก้ต้องใช้เงินจากส่วนที่งอกเงยขึ้น
มากกว่ากลุ่มอื่นที่อายุยังน้อยมักจะเก็บมากกว่าใช้
แบบนี้ก็เท่ากับเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยการเพิ่มกำลังซื้อให้กับคนกลุ่มผู้สูงอายุนี้
และทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากกว่าปัจจุบัน
ที่ไม่มีทางเลือกต้องยอมรับสภาพดอกเบี้ยฝากถูก
ดอกเบี้ยกู้แพงที่เหล่าธนาคารกำหนด
และที่ร้ายหนักบางคนอาจหันไปตุนทองคำ
หรือไปเก็งกำไรทองคำ
ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรในระบบเศรษฐกิจเลย
นอกจากเสียดุลไปซื้อทองคำแล้วแต่ละคนก็มาซื้อเก็บ
ทองคำไม่หมุนเวียนมีลักษณะแบบนี้แสนล้านบาท
เงินก็ไปนอนจมอยู่กับที่ซะเกือบแสนล้าน
อาจมีเคลื่อนไหวการซื้อขายทำกำไรกับค่าบำเหน็จอะไร
แต่พูดภาพรวมๆ แล้วมีแสนล้านเงินแทบไม่หมุนในระบบเศรษฐกิจ
ในขณะที่ถ้าเงินแค่ระดับพันล้าน ใส่ลงไปที่แรงงาน
ซึ่งจับจ่ายใช้สอยไปมา เงินจะหมุนจากการซื้อของมาขาย
เป็นทอดๆ จนวนกลับมาจ้างงานเพิ่มแค่ปีสองปี
เงินระดับพันล้านที่ว่าอาจดูเหมือนมีเป็นแสนล้านได้เหมือนกัน
ถ้ามันถูกนำไปใช้เปลี่ยนมือซื้อขายแลกเปลี่ยนกันไปมาทุกวัน
อีกอย่างบางรัฐบาลก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่
ปล่อยให้ทุกอย่างขึ้นทำกำไรกันเต็มที่
เช่นให้ธนาคารค่ากำไรเกินควร
ให้่ผู้ค้าน้ำมันค่ากำไรเกินควร
ให้น้ำมันพืชขึ้นราคาไปสูงๆเหล่านี้
ก็เพื่อหวังจะได้ภาษีเพิ่มจากยอดขายที่ขายได้ในราคาสูง
ภาษีก็จะเพิ่มขึ้นเองโดยไม่ต้องประกาศขึ้นภาษี
เช่นน้ำมันพืชราคา 30 บาทสมมุติ VAT 7%
บวก VAT แล้วก็จะราคา 32.10 บาท
แต่ถ้าขึ้น VAT เป็น 10% น้ำมันพืชนั้นก็จะราคาประมาณ 33 บาท
ต่อให้บวกค่าต้นทุนแฝงอีกเท่าตัวก็ไม่เกิน 36 บาท
แต่ถ้าปล่อยให้ฮั้วกันฟันกำไรกันโดยปล่อยปละละเลย
อาจขึ้นไปขวดละ 50-60 บาท สมมุติ 50 บาท
VAT ที่ได้สมมุติ 7% ก็จะได้ 3.5
เทียบกับตอนราคา 30 บาท VAT 7% จะได้ 2.10 บาท
ขนาด VAT 10% ยังได้แค่ 3 บาท น้อยกว่าเห็นๆ
ถ้ามันชขายได้เยอะๆ ไม่ใช่แค่ขวดเดียว
เป็นหลายสิบล้านร้อยล้านขวดหล่ะ
ก็จะเก็บ VAT ได้เพิ่มขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องประกาศขึ้นภาษี
วิธีการนี้ถ้าไปใช้กับสินค้าที่ฟุ่มเฟือยจะไม่ว่าเลย
แต่ถ้านำมาใช้กับสินค้าที่จำเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย
ผลที่จะตามมาก็คือประชาชนรากหญ้าจะไม่ปลื้ม
ส่งผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้งและความมั่นคงทางการเมือง
ของทุกรัฐบาลที่ชอบผลักภาระทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
เพียงเพื่อจะได้มีเงินงบประมาณไปถลุงแบ่งเปอร์เซ็นต์กัน
หรือไปทำโครงการใหญ่ๆ ใช้เงินสูงเอาหน้า
แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง
สู้ประคองทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นรอดจากช่วงนี้ไปก่อน
อนาคตถ้าเห็นว่าเริ่มดีแล้วคิดจะปัดฝุ่นทำเมื่อไหร่ก็ได้
เพราะรัฐบาลที่บริหารแล้วชาวบ้านทำมาค้าขายคล่อง
จะจากไปกี่ปีเขาก็ไม่ลืม แต่รัฐบาลที่เน้นสร้างสิ่งปลูกสร้าง
ต่อให้ไม่ลืมก็ไม่มีใครอยากจำ เช่น รถไฟฟ้า BTS ที่ใช้อยู่ตอนนี้
รัฐบาลไหนสร้าง ลองไปถามดูสิว่าจะมีคนรู้กี่คนและอีกร้อยปี
ยิ่งจำกันไม่ได้ใหญ่ แต่ทำให้อยู่ดีมีความสุข
พูดกันได้ยาวนานปากต่อปากร่ำลือกัน
แม้แต่ยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ยังลือมาถึงปัจจุบันว่า
เป็นยุคที่ชาวบ้านค้าขายดีอยู่เย็นเป็นสุข
แต่ถ้าเป็นรัฐบาลแล้วไม่สนใจประชาชน
ว่าจะทำให้เขาเดือดร้อนหรือไม่
ส่วนใหญ่เขาไม่อยากจดจำรัฐบาลนั้น
ต่อให้จำไม่ลืมก็มักเป็นเรื่องแย่ๆ มากกว่า
อีกอย่างรัฐบาลที่ดีไม่มีใครเขาหากำไรกับประชาชน
เขามีแต่จะทำทุกอย่างขาดทุนก็ไม่เป็นไร
แต่ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข
วันหนึ่งมันก็ส่งผลกลับไปถึงรายรับ
และความชื่นชมต่อรัฐบาลในที่สุด
โดย มาหาอะไร
FfF