ข่าวต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ -- พฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2553 08:17:13 น.
กรุงเทพ--1 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ได้มีจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553 แสดงความกังวลเกี่ยวกับการกักขังและการปฏิบัติต่อผู้กักขังภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงข่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่องค์กรดังกล่าวได้หยิบยก ดังนี้
1. สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ที่ถูกจับกุมในช่วงการชุมนุมประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้รับการเคารพอย่างเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ) ก็มีบัญญัติมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาทิ การจำกัดระยะเวลาการควบคุมตัวผู้ถูกกักขังภายใต้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ไว้ไม่เกิน 30 วัน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จะต้องมีการอนุมัติการขยายเวลากักขังจากศาลทุกๆ 7 วัน และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วและยังมีความจำเป็นที่จะต้องกักขังบุคคลนั้นๆ ต่อไปอีก พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามกระบวนการปกติตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ในช่วงเวลาของการถูกกักขัง ญาติและทนายความของผู้ถูกกังขังสามารถเข้าเยี่ยมได้ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำรายงานรายชื่อผู้ถูกจับกุมทั้งหมดภายใต้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ โดยสำเนารายงานที่เสนอต่อศาลจะเก็บบันทึกเป็นหลักฐานไว้ที่ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ชื่อของผู้ถูกกักขัง สถานที่กักขัง สภาพความเป็นอยู่ และสถานภาพของบุคคลดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ขณะที่สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้เผยแพร่รายชื่อ รายละเอียดของสถานที่ที่กักขัง รวมทั้งข้อมูลติดต่อของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดูแลคดีของผู้ถูกกักขัง ซึ่งรายชื่อดังกล่าวมีปรากฏในเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ http://www.saranitet.police.go.th/pdf/news09062553.pdf
2. พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ได้วางกรอบกฎหมายและกำหนดมาตราที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและการใช้เครื่องพันธนาการ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไป กฎหมายกำหนดให้ใช้เครื่องพันธนาการได้ก็ต่อเมื่อผู้ต้องขังเป็นบุคคลที่อาจจะพยายามหลบหนี หรือเพื่อป้องกันการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น หรือเมื่อมีกฎกระทรวงกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปในการใช้เครื่องพันธนาการที่เน้นความจำเป็นของการดำเนินการบนหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความเหมาะสมของการใช้เครื่องพันธนาการดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่สมควรกล่าวถึงการใส่กุญแจมือผู้ถูกจับกุมในระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในลักษณะว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไป หรือพยายามเชื่อมโยงเรื่องนี้กับเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
3. พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ ได้รับการประกาศใช้เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นบูรณาการ และทันท่วงทียิ่งขึ้น เพื่อรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นกรณีความจำเป็นที่ได้รับการยอมรับภายใต้ข้อ 4.1 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ การใช้ พ.ร.ก. ดังกล่าวมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอโดยคำนึงถึงการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่และความจำเป็นของ การใช้ พ.ร.ก. เพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงหรือการกระทำผิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น การใช้ พ.ร.ก. นี้มิได้มีผลกระทบ ต่อประชาชนทั่วไปในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการประกอบธุรกิจของประชาชนแต่อย่างใด อีกทั้งรัฐบาลก็ได้ยืนยันว่า การที่ พ.ร.ก. ยังมีผลบังคับใช้อยู่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการรณรงค์หาเสียงสำหรับการเลือกตั้งในเขตการเลือกตั้งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม 2553 นอกจากนี้ โดยที่รัฐบาลและรัฐสภายังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ การกล่าวหาว่าประเทศไทยปกครองด้วย พ.ร.ก. และบริหารโดยฝ่ายทหารในทางพฤตินัยจึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง
4. โดยหลักการแล้ว รัฐบาลเปิดกว้างต่อการตรวจสอบและพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบตามกรอบของกฎหมาย การสอบสวนกำลังดำเนินอยู่ในหลายกรอบ ทั้งโดยกรมการสืบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง ซึ่งมีนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน โดยรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
http://www.ryt9.com/s/mfa/932157
--------------------------------------------------------
“ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง” ทะลุเป้า ! : คำขอบคุณที่แทรกผ่านลูกกรงจากเพื่อนสู่เพื่อน
ก.ค. 28
ภาพธารน้ำใจจากเพื่อนถึงเพื่อน
การประมูลเพิ่งเปิดผ่านไปได้เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นแต่น้ำใจจากเพื่อน เสื้อแดงหลั่งใหลเข้ามาอย่างมากมาย ขั้นต้นเราเปิดโครงการได้เพียงสามวันก็คาดการณ์เอาไว้ว่าจะซื้อของให้แก่ เพื่อนในเรือนจำที่กรุงเทพก่อน โดยใช้งบประมาณคนละ 300บาท ซึ่งอาจได้เพียงไม่กี่อย่าง แต่กลายเป็นว่ายอดบริจาคจากเพื่อนเรามีมามากกว่าที่เราคาดจึงเป็นที่มาของ “ของขวัญแดงแด่เพื่อนสีแดง”
เมื่อวันที่25ก.ค.54 เรานัดหมายเพื่อนๆจากในเฟสบุ๊คว่าเราจะมาให้กำลังใจเพื่อนเราที่เรือนจำ ทั้ง3เรือนจำ ที่หลายคนยังไม่ทราบว่าเพื่อนของเรายังมีอยู่อีกมากและลำบาก ทั้งนี้เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีอยู่ 49 ราย เรือนจำคลองเปรม 1ราย และเรือนจำทัณฑสถานหญิงอีก 4ราย รวมทั้งหมด 54 ราย
กิจกรรมครั้งนี้จัดด้วยใจและความหวังว่าเพื่อนเราที่อยู่ในเรือนจำที่ ไม่ได้รับความยุติธรรมยังไม่ได้ถูกลืมจากเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน และกำลังใจจากเราสำคัญต่อและมีคุณค่ากับพวกเขามากมาย “เราไม่ทอดทิ้งกัน”
ค่าใช้จ่ายจากน้ำใขของเพื่อนมีดังนี้
รายรับ
เงินรับจากธนาคาร ๒๗,๐๐๐
เงินรับจากกล่องบริจาค ๘,๘๑๐
เงินบริจาคเรือนจำ ๗๕๐
เงินบริจาคเรือนจำ ๒,๐๐๐
รวม ๓๘,๕๖๐
รายจ่าย
เรือนจำพิเศษ ๒๘,๕๗๘
ทัณฑสถานหญิง ๓,๗๔๐
เรือนจำคลองเปรม ๖๒๐
รวม ๓๒,๙๓๘
คงเหลือ ๓๘,๕๖๐-๓๒,๙๓๘ = ๕,๖๒๒ บาท
ฝากเข้าบัญชีหลักทั้งหมด
ยอดเงินปัจจุบัน ๕๖,๒๘๘.๒๙ บาท
เรายังคงจัดกิจกรรมการประมูลต่อไปและจะจัดกิจกรรมคั้งหน้าวันที่19ส.ค.54 ”เราไม่ทอดทิ้งกัน”
รายชื่อเพื่อนนักโทษทางการเมืองในกรุงเทพฯรายชื่อเพื่อนนักโทษทางการเมือง ก.ค.54
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | แดน | เรือนจำ |
1 | อนุวัฒน์ อินทรต์ละออ | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
2 | จเด็ด โชคพานิชย์ | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
3 | สงวนศักดิ์ จวงจันทร์ | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
4 | อเนก สิงขุนทด | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
5 | สรเทียน สิงกันยา | 2 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
6 | สิทธิชัย เกียรติกมลชัย | 2 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
7 | ธเนตร อนันตวงษ์ | 2 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
8 | เอกชัย มูลเกษ | 2 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
9 | พิทยา แน่นอุดร | 3 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
10 | คำรณ ชัยสิทธิ์ | 3 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
11 | จ๋า จักราช | 3 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
12 | คมสันต์ สุดจันทร์ฮาม | 3 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
13 | ทองสุข หล่าสพ | 3 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
14 | วันชัย แซ่ตัน | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
15 | ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์ | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
16 | พศิน แสนจิตต์ | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
17 | ไพรวัลย์ สุธงษา | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
18 | อาทิตย์ เบ้าสุวรรณ | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
19 | เพชร แสงมณี | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
20 | สายชล แพบัว | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
21 | สุรชัย นิลโสภา | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
22 | สมศักดิ์ วังซ้าย | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
23 | วัชราวุธ สุทธิพันธ์ | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
24 | ธาดา เปี่ยมฤทัย | 4 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
25 | วีรยุทธ สุภาพ | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
26 | ธวัชชัย เอี่ยมนาค | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
27 | ชาตรี ศรีจินดา | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
28 | ประสงค์ มณีอินทร์ | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
29 | โกวิทย์ แย้มประเสริฐ | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
30 | จักรพงษ์ เขียววิไล | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
31 | วิจิตร ตรีกุล | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
32 | ยุทิน สังข์ชิมาศ | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
33 | พรชัย โลหิตดี | 5 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
34 | พินิจ จันทร์ณรงค์ | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
35 | ยุทธชัย สีน้อย | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
36 | โชคอำนวย สุรการ | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
37 | เสถียร รัตนวงศ์ | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
38 | ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
39 | คำหล้า ชมชื่น | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
40 | อำพล ตั้งนพกุล | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
41 | สุริยันต์ กกเปลือย | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
42 | กฤษณะ ขรรค์เพชร | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
43 | ธนพงษ์ บุตรดี | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
44 | วิศิษฎ์ แกล้วกล้า | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
45 | นคร สังสุวรรณ | 8 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
46 | เลอพงศ์ วิชัยคำมาศ | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
47 | วราวุธ ฐานังกร | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
48 | สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ | 6 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
49 | สมยศ พฤกษาเกษมสุข | 1 | เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ |
50 | แสวง กงกันยา | 8 | เรือนจำคลองเปรม |
51 | นฤมล วรุณรุ่งโรจน์ | แรกรับ | ทัณฑสถานหญิงกลาง |
52 | เจียม ทองมาก | แรกรับ | ทัณฑสถานหญิงกลาง |
53 | พะยอม หนูสูงเนิน | แรกรับ | ทัณฑสถานหญิงกลาง |
54 | ดารณี เชิงชาญศิลปกุล | แรกรับ | ทัณฑสถานหญิงกลาง |
--------------------------------------------------------------
Download ข้อมูลคนที่ถูกจับกุมช่วง พรก.ฉุกเฉินปี 53 ทั้งหมด
คลิกเลือก Download ที่ Link1 หรือ Link2 ด้านล่างนี้
Link1
Link2
ซึ่งปัจจุบันเหลือร้อยกว่าคนแล้ว ตามข้อมูลล่าสุด
สุดท้ายนี้
ลองอ่านทบทวนสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศยุคอภิสิทธิ์
ตอบ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย อีกที
"กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงข่าวให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่องค์กรดังกล่าวได้หยิบยก ดังนี้
1. สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้ที่ถูกจับกุมในช่วงการชุมนุมประท้วงของ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้รับการเคารพอย่างเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ) ก็มีบัญญัติมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาทิ การจำกัดระยะเวลาการควบคุมตัวผู้ถูกกักขังภายใต้พระราชกำหนดสถานการณ์ ฉุกเฉินฯ ไว้ไม่เกิน 30 วัน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จะต้องมีการอนุมัติการขยายเวลากักขังจากศาลทุกๆ 7 วัน และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วและยังมีความจำเป็นที่จะต้องกักขังบุคคลนั้นๆ ต่อไปอีก พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตามกระบวนการปกติตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา "
หลายคนโดนคดีฝ่าฝืน พรก.
ติดคุกนานกว่าคนโดนคดีแรงกว่านี้
แถมบางคนไปทำไม่ดีมากมายก็ยังไม่ติดคุกก็มี
งานนี้คงไม่ใช่เรื่องสองมาตรฐาน แต่ไม่มีมาตรฐานต่างหาก
โดย มาหาอะไร
FfF