บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


27 สิงหาคม 2554

<<< การงดเก็บเงินเข้ากองทุนแบบฝนตกไม่ทั่วฟ้า ก็อย่าหมายว่าจะได้ผลในการลดค่าครองชีพ >>>

ที่มาของตารางข้อมูลและกราฟ :
http://www.eppo.go.th/info/Situation/index.html




















เริ่มที่ดีเซลก่อนเลย จากตารางจะเห็นว่าน้ำมัน B5
จากที่ ม.ค. มีคนใช้เยอะระดับหลายล้านลิตร
ลดลงมาจนเหลือไม่กี่แสนลิตร
แล้วหันไปใช้ดีเซลกันหมด
เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากมันไม่ B5 จริง
คือสวนผสมเอทานอล 5%
ได้ลดลงเหลือ 2% และ 3% ในช่วงนี้
ทำให้คนเริ่มจะไม่เชื่อถือเพราะบอกว่า B5
แต่เดี๋ยวผสม 5% เดี๋ยวผสม 2% เดี๋ยวผสม 3%
หามาตรฐานไม่เจอเครื่องรวนหมด
แถมอาจจะโดนฟ้อง สคบ. ได้ง่ายๆ ด้วย

เนื่องจากว่าราคาน้ำมันปาล์มแพงขึ้น
ราคาขายส่งเคยขึ้นไปลิตรละ 70 บาทต่อลิตร
ล่าสุดตกมาอยู่ที่ลิตรละ 34 บาทต่อลิตร
คิดดูแพงกว่าต้นทุนหน้าโรงงานของน้ำมันทุกประเภท
ที่อยู่ที่ 23-24 บาทเท่านั้น
นี่ไม่ใช่พลังทางเลือกแล้ว
นี้มันพลังขูดรีดแล้วหล่ะเราว่า

และราคาน้ำมันปาล์มจะแก้ไม่ไ่ด้เลยถ้ายังมี B5
ขนาดเปอร์เซ็นต์การใช้น้อยนิดมากเทียบกับที่ใช้ดีเซล
ที่ใช้ประมาณเดือนละ 55 ล้านลิตร
ถ้าไม่แก้ที่ต้นตอรับประกันได้แก้น้ำมันปาล์มราคาแพงไม่ได้
และอาจจะเกิดการขาดแคลนได้อีก
















ส่วนกรณีเบนซิน91 ที่มีข่าวว่าจะเลิกผลิตหลายครั้ง
เพื่อบีบให้คนหันไปใช้แก๊สโซฮอล 91 E10
ซึ่งใช้กับมอเตอร์ไซด์ได้ โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ ใช้ได้แล้ว
แต่คนบางกลุ่มก็ยังไม่อยากใช้ แต่อัตราการใช้ระหว่าง
เบนซิน91 กับแก๊สโซฮอล 91E10 เริ่มขยับเข้าใกล้กันแล้ว
เดือน พ.ค. อยู่ที่ 7.4 ลิตร กับ 5.3 ล้านลิตร
แต่ถ้าลดราคาน้ำมันเบนซิน91 อย่างเดียว
ไม่ลดแก๊สโซฮอล 91 E10 ด้วยรับประกันได้
คนแห่ไปเติม เบนซิน91 ซึ่งแพงกว่าหน่อยแทน





















ส่วนกรณีเบนซิน95 กับ แก๊สโซฮอล95
อัตราการใช้เดือน พ.ค.54 อยู่ที่ 1 แสนลิตร กับ 6.5 ล้านลิตร
เอามาเทียบกันไม่ได้เลยน่ะ
ดังนั้นการลดราคาเบนซิน95 ลงมา
ไม่มีผลต่อคนใช้รถเบนซินส่วนใหญ่แต่อย่างใด
ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนชั้นกลางจำนวนมากด้วย







































ดังนั้นการลดราคาน้ำมันครั้งนี้ไม่ส่งผลใดๆ มากนัก
กรณีดีเซลลดลง 3 บาทมาอยู่ที่ 26.99 บาท
ซึ่งราคา ดีเซล ก็เห็นอยู่ที่ราคาประมาณ 27 -30
ตั้งแต่กลางปี 52 มาแล้ว ก็เหมือนอยู่ในสถานการณ์เดิมๆ
ไม่ส่งผลต่อค่าครองชีพอะไรมากนัก




















เนื่องจากมีการอุ้ม ดีเซลมาแทบทุกรัฐบาล
เรียกว่ารัฐช่วยกันอุ้มสุดฤทธิ์
เพื่อไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร
ทั้งๆ ที่รถรุ่นใหม่อย่างเบนซ์ก็มีเครื่องยนต์ดีเซลขาย
หลายยี่ห้อก็มีเครื่องดีเซลให้เลือกซื้อแล้ว
ไม่ใช่รถเพื่อการพาณิชย์อย่างที่เข้าใจกันแล้ว
ถามว่าพวกที่ใช้ดีเซลส่วนใหญ่ตอนนี้
ต่างจากพวกที่ใช้เบนซินหรือแก๊สโซฮอลยังไง
ถ้ายังขืนบิดเบือนราคากันต่อไปแบบนี้
คนจำนวนหนึ่งก็จะไปเปลี่ยนเครื่องเป็นดีเซลโดยเฉพาะรถเก่า
หรือบางพวกก็อาจไปซื้อรถคันใหม่ที่ใช้ดีเซลได้
มันก็ทำให้คนใช้ดีเซลเพิ่มขึ้นจากที่มีมากกว่าเบนซินอยู่แล้ว
ทั้งๆ ที่ต้นทุนแพงกว่าเบนซินเสียอีก

ที่ราคาเบนซินตอนนี้ยังแพงกว่าดีเซลมาก
ทั้งๆ ที่รัฐลดการเก็บเงินเข้ากองทุนแล้ว
ก็เพราะว่ายังเก็บภาษีน้ำมันหน้าโรงกลั่น 7 บาทต่อลิตร
ในขณะที่ดีเซลเก็บแค่ 0.005 บาทต่อลิตรไม่ถึงสลึง
ตลกไหมปล้นเงินจากพวกหนึ่ง
ไปช่วยอีกพวกหนึ่งซึ่งก็ไม่ได้จนกว่ากัน















ส่วนผลของการลดราคาเบนซิน91 ลงมา
ก็จะทำให้คนใช้แก๊สโซฮอลหันไปใช้เบนซิน91 แทน
แพงขึ้นไปอีก ส่วนพวกใช้เบนซิน91
พวกที่ยอมใช้น้ำมันราคาแพงลิตรละ 41 บาท
พวกนี้อาจได้ประโยชน์ที่ไม่ยอมใช้แก๊สโซฮอล
แต่ก็ได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ทั้งๆ ที่จริง
ควรจะได้ใช้น้ำมันราคาต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตรเหมือนดีเซล

ส่วนลดเบนซิน95 คนได้ประโยชน์คือ
กลุ่มคนที่ใช้น้ำมันรวมกันประมาณ 1 แสนลิตรต่อเดือน
เทียบกับที่ใช้แก๊สโซฮอล E10 ใช้ประมาณ 6.5 ล้านลิตรต่อเดือน
และ E20 อีก 6 แสนลิตรต่อเดือน
ไม่ได้อะไรนอกจากโดนปล้นเหมือนเดิม
คือโดนโขกภาษีสรรพสามิต 6.3 บาทต่อลิตร
ในขณะที่ดีเซลเสียไม่ถึงสลึง
นี่คือความเป็นธรรมในสังคมคนใช้น้ำมันจริงหรือ

แล้วถ้ายังขืนดันทุรังแบบนี้ไปเรื่อยๆ
คนก็จะหันมาออกรถเครื่องดีเซลมากขึ้น
แล้วมันต่างอะไรกับลดราคาให้มันใกล้เคียงกัน
ทั้งๆ ที่ราคาหน้าโรงกลั่นเบนซิน 23.84 บาท
ถูกกว่าดีเซล 24.11 บาทแต่แกล้งบวกนั่นนี่เข้าไป
กลายเป็น 37 กว่าบาทสำหรับแก๊สโซฮอล
ส่วนดีเซลขายได้ที่ราคา 26.99 บาท
ราคาขายปลีกที่ปั๊มเทียบกับหน้าโรงกลั่น
ดีเซลเพิ่มขึ้นแค่ 2 บาทกว่าๆ เอง
ทำไมน้ำมันประเภทอื่นเพิ่มสิบกว่าบาท
ผมถือว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม
ในสังคมคนใช้น้ำมันอย่างแรง
เพราะคนที่ใช้ดีเซลไม่ทุกคนที่ใช้เพื่อการขนส่ง
พวกที่ใช้เพื่อการขนส่ง
หันไปใช้ LPG หรือ NGV กันเกือบหมดแล้ว



















สรุปรัฐจะไปโปรโมทผ่านเว็บ ผ่านทีวี
ผ่านนสพ. หรือผ่านสื่ออะไรก็แล้วแต่
แต่ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง
ที่วันหนึ่งมีคนหยิบมาพูด ถ้าเป็นสื่อดัง
หรือนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
ก็จะทำให้แทนที่จะได้หน้าเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ก็อาจได้แค่บางส่วน
อีกอย่างผมละขำกลิ้งเลย
ที่เห็น รมต. ออกมาอ้อนวอน
ให้คนไทยช่วยใช้แก๊สโซฮอลต่อไป
แทนที่จะกำหนดนโยบายลงมา
เพื่อกระตุ้นให้คนไทยยังใช้แก๊สโซฮอลต่อไป
แค่ลดราคาขายแก๊สโซฮอลลงมามากหน่อย
คนก็กลับไปใช้แก๊สโซฮอล
โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกมาอ้อนวอนใดๆ เลย
สมัยก่อนทำไมน้ำมันปาล์มยังอยู่ที่ลิตรละประมาณ 20 บาท
เอทานอลไม่ถึง 20 บาทดีได้
แต่ทำไมปัจจุบันจึงโก่งราคากันไปอยู่ที่ลิตรละ 34
ควรลดลงมา่ให้ต่ำกว่า 30 บาทด้วยซ้ำ
















ขอย้ำอีกทีว่า
คนที่ใช้เบนซินไม่ได้รวยกว่าคนที่ใช้ดีเซล
และตอนนี้ปริมาณใช้ดีเซลสูงกว่าเบนซินมาก
เพราะรัฐอุ้มคนเลยแห่ไปซื้อรถกระบะ
หรือเครื่องยนต์ดีเซลใช้
ทั้งๆ ที่ไม่ได้ซื้อมาเพื่อการขนส่งอะไร
แถมสามารถออกป้ายแดงกันให้คึกได้
แต่คนใช้เบนซินบางคน
ยกตัวอย่าง ตัวผมนี่ก็ได้
รถยังต้องซื้อมือสองราคาแสนกว่าบาท
แต่ซ่อมไปหลายแสนแล้วอิอิ
ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับพวกออกป้ายแดงรถใช้ดีเซล
ราคาคันละเกือบล้านหรือเกินล้านก็มี
แล้วแบบนี้มาปล้นคนเบี้pน้อยหอยน้อย
ไปโป๊ะพวกเบี้ยใหญ่หอยใหญ่ทำไมกัน
ไม่ยุติธรรมทั้งปวง
ดังนั้น ถ้าไม่ลดราคาแก๊สโซฮอลลงมา
ผมก็ไม่ใช้
อะไรถูกก็ใช้อันนั้นแหล่ะ
หมดสมัยแล้วไทยช่วยไทยที่ชอบเอาเปรียบไทยด้วยกัน
จะรณรงค์ไทยช่วยไทยได้หมายความว่า
ราคาสินค้าไทยต้องถูกกว่าต่างประเทศ
แต่คุณภาพอาจยังด้อยกว่าก็ยังพอรับได้
แต่ถ้าโก่งราคาหน้าเลือดฟันกำไรกัน
ชนิดไม่เห็นหัวไม่คิดว่าเป็นคนไทยด้วยกัน
จะทำมาบ้าจี้รณรงค์ไทยช่วยไทย
มันก็ไม่ต่างอะไรกับการรณรงค์
ไทยช่วยไทยฟันไทยด้วยกันดีๆ นี่เอง

สรุปว่า ราคาขายเอทานอลหน้าโรงกลั่น
จะต้องไม่แพงกว่าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น
ถ้าแพงกว่าก็เลิกผลิตไปได้เลย
เพราะถือว่าเป็นพลังงานที่มีราคาแพงไม่น่าสนับสนุน

อาจมีบางคนสงสัยว่า
ถ้าไม่ลดราคาแก๊สโซฮอลลงมา
แล้วจะทำให้ความพยายามลดค่าครองชีพไม่ได้ผล
อันที่จริงทั้งเบนซินและแก๊สโซฮอล
ถ้าทำให้ลงต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตร
รัฐบาลแทบไม่ต้องไปบริหารอะไรเลย
แค่บริหารใบหน้าอย่าให้ตีนกาขึ้นมากเท่านั้น
เพราะอาจยิ้มได้ทั้งวัน

ยกตัวอย่างชีวิตผมก็แล้วกัน
แบบว่ารันทดดี เอามาเป็นแบบอย่างได้ อิอิ
คือว่าขนาดกลับบ้านริมนาที่ลำลูกกาแค่อาทิตย์ละ 2 ครั้ง
ไปกลับที่ทำงานแถวแจ้งวัฒนะ
นอกนั้นนอนคอนโดแถวดอนเมือง
ห่างจากที่ทำงานประมาณ 5 กิโลเมตร
ไม่นับที่ออกนอกเส้นทาง
เอาแค่เส้นทางทำงานประจำแวะไปบ้านริมนาบ้างแค่เนี้ยะ
เจอค่าน้ำมันปาเข้าไป 4-5 พันบาท
ถ้าไปครบ 5 วันคาดว่าเฉียดหมื่นบาท

ถามว่าด้วยเงินประมาณนี้ ถ้าน้ำมันถูกลง
ผมอาจเสียค่าน้ำมันแค่ 2-3 พันบาท
ที่เหลือก็ช่วยชาติด้วยการกระจายรายได้
คือช็อปปิ้งแหลกจนหมดอยู่แล้วตามฟอร์ม
เงินแทนที่จะไปจ่ายให้น้ำมันหมด
ก็ถูกนำมาหมุนเวียนในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น
เฉพาะผมก็หลายพันบาท ถ้าทั้งประเทศหล่ะเท่าไหร่

ธุรกิจต่างๆ ทั้งธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร บาร์เธค นั่นนี่
ร้านช้อปปิ้งตามห้างอีก จะเฟื่องฟูขึ้นทันตาเห็นๆ
รัฐแทบไม่ต้องกู้เงินจากไหนมาถลุงละลายแม่น้ำ
เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจเลย มันกระตุ้นง่ายๆ ในตัวมันเอง
แค่นั่งยิ้มรับคำชมอย่างเดียวและระวังอย่าให้ตีนกาขึ้นมากก็พอแล้ว

วิธีง่ายๆ แบบนี้คิดกันไม่ได้ กลับไปพยายามคิดหาวิธียากๆ
เลียนแบบรัฐบาลที่แล้ว เดี๋ยวรีดภาษีเดี๋ยวแจก
บ้าไปหมดหาทิศทางไม่เจอ ไปกันคนละทิศคนละทางเลย
อีกอย่างเห็นรัฐอยากช่วยอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
กลับมีนักวิชาการบางคนมาบอกว่า
กลัวว่าลดราคาน้ำมันแล้วคนจะใช้ฟุ่มเฟือยเช่นไปเที่ยว
นี่ก็เพี้ยนหนักสรุปว่าอยากจะกระตุ้นเศรษฐกิจ
อยากช่วยธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจต่างๆ หรือว่า
อยากทำให้คนอยู่กลับบ้าน ทุกคนโดนขูดเงินจนไม่เหลือไปเที่ยว
ไม่มีอารมณ์ไปช้อปปิ้งดี เลือกทิศทางให้ถูก
ว่าอยากจะกระตุ้นเศรษฐกิจหรืออยากจะทำให้เศรษฐกิจมันหดตัว

ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอแนะนำการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ทั้งหมดเลยคือ
ให้เก็บภาษีสรรพาสามิตน้ำมันทุกประเภท
ก๊าซทุกชนิด 0.5-2 บาทต่อลิตรแล้วแต่สถานการณ์
นอกนั้นยกเลิกกองทุนน้ำมันทิ้งทั้งหมด
จะได้เงินมากกว่า ที่เดี๋ยวเก็บบางประเภทแบบโขกสุดฤทธิ์
แต่บางประเภทไม่เก็บอะไรแบบนี้
และน้ำมันทุกชนิดควรทำให้ราคาต่ำกว่า 30 บาททั้งหมดหมด
โดยค่าการตลาดไม่ให้เกิน 2 บาท ทุกอย่าง
แก๊สโซฮอล เอทานอลและ B100 ถ้าผลิตมา
ขายไม่ต่ำกว่าต้นทุนน้ำมันพอที่นำไปผสมแล้ว
ราคาไม่ลดต่ำกว่า 3 บาทก็เลิกผลิตไปได้เลย
สมัยก่อนเริ่มใหม่ๆ ราคาสิบกว่าบาทยังผลิตกันได้
ตอนนี้ทำมาโขกราคาแถมเวลาจะลงยังยึกยัก
ลงที 60 สตางค์เคี่ยวแบบนี้จะไปจูงใจใครมาใช้

อีกอย่างน้ำมันโลกช่วงนี้และอีก 5 ปีข้างหน้า
จนเข้าสุ่ยุครถพลังงานไฮโดรเจนออกมาวิ่งให้เกร่อ
ราคาน้ำมันจะไม่แพงเหมือนช่วงที่ผ่านมาแล้ว
แค่นี้ก็แทบจะเจ๊งกันหลายประเทศ ที่ร่อแร่อีกเพียบแล้ว
แถมยังลามเข้าประเทศกลุ่มค้าน้ำมันเอง
ด้วยค่าครองชีพที่สูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประเทศ
เลิกกังวลว่าจะแพงอีกได้แล้วในช่วงไม่กี่ปีนี้
ไม่ต้องไปเก็บเงินตุนไว้หรอก

อีกอย่างถ้ารัฐยังคิดยึดติดหารายได้จากบริษัทน้ำมัน
เช่นได้เงินจากภาษีมาก ก็จะอุ้มบริษัทน้ำมันไปเรื่อยๆ
ไอ้การที่บอกว่าจะหาพลังงานทดแทน
เช่น พลังงานไฮโดรเจน อะไร
ก็จะถูกซื้อเวลาเพราะจะมากระทบรายได้
ที่ได้รับจากบริษัทน้ำมัน ก็เลยทำให้ไม่ได้เริ่มกันเสียที
แทนที่จะเป็นโอกาสเหมาะเป็นประเทศแรกๆ
ที่ลุยพลังงานด้านนี้จะได้เป็นประเทศผู้นำกับเขาบ้าง
ไม่ใช่เป็นแต่ประเทศผู้ใช้ผู้ตามเพียงอย่างเดียว

โดย มาหาอะไร

-----------------------------------------------

ผู้ถือหุ้นใหญ่ ปตท.
1. กระทรวงการคลัง 1,459,885,575 51.24
2. กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 217,900,000 7.65
3. กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 217,900,000 7.65
4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 85,548,296 3.00
5. CHASE NOMINEES LIMITED 42 72,953,201 2.56
6. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 60,707,913 2.13
7. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 45,344,275 1.59
8. NORTRUST NOMINEES LTD. 39,824,126 1.40
9. สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) 25,498,700 0.89
10. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 24,277,729 0.85
11. THE BANK OF NEW YORK MELLON 15,787,214 0.55
12. GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION C 14,432,800 0.51

http://www.set.or.th/set/companyholder.do;jsessionid=CACD8FA51FC67CF5CF374A40B158C680?symbol=PTT&language=th&country=TH

-----------------------------------------------

โรงกลั่นขานรับยกเลิกเบนซิน91
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2010 เวลา 10:17 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ลงทุน-อุตสาหกรรม - ลงทุน-อุตสาหกรรม

โรง กลั่นน้ำมันหนุนยกเลิกเบนซิน 91 ชี้ไม่มีผลกระทบปริมาณน้ำมันที่เหลือ พร้อมนำไปป้อนให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและส่งออกแทน ขณะที่กระทรวงพลังงาน เร่งผลักดันยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 เร็วขึ้นอีก 1 ปี มาเป็นปีหน้าแทน หวังเพิ่มการใช้เอทานอลให้ได้ตามเป้า แต่ยังห่วงรถมอเตอร์ไซค์จะเอาด้วยหรือไม่ หลังจากรณรงค์ใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ผล

น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ว่า ที่ผ่านมาได้ให้นโยบายโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไปศึกษาผลดีผลเสียและเตรียม ความพร้อมสำหรับการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 แล้ว จากที่มีการตั้งเป้าหมายจะดำเนินการในปี 2555 ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยให้มีการใช้เอทานอลไปผสมในน้ำมันเบนซินเป็น แก๊สโซฮอล์ในปริมาณ 9 ล้านลิตรต่อวันภายในปี 2565 ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนที่วางไว้ 15 ปีได้ จากปัจจุบันที่มีการใช้อยู่เพียง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหากยกเลิกผลิตการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ได้จะช่วยให้มีการใช้เอทานอลขึ้นไปในระดับ 800,000-900,000 ลิตรต่อวันได้ เนื่องจากปัจจุบันยังมีการใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 อยู่ในระดับ 8-9 ล้านลิตรต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ผลของการยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 เหลือจากกระบวนการกลั่นน้ำมันจำนวนหนึ่ง เพราะต้องหันไปผลิตน้ำมันเบนซินพื้นฐานเพื่อมารองรับการผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งส่วนนี้อาจจะไปกระทบต่อกระบวนการกลั่นน้ำมันและการต้องส่งออกน้ำมัน เบนซิน ออกเทน 91 ที่เหลือไปต่างประเทศ โดยในส่วนนี้ทางโรงกลั่นจะต้องไปเตรียมความพร้อมหรือหาแนวทางที่จะรับมือกับ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างไร
แหล่งข่าวจากผู้บริหารระดับสูง กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พยายามที่จะเร่งให้มีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ให้เร็วยิ่งขึ้นจากเดิมในปี 2555 มาเป็นประมาณปลายปี 2554 แทน แต่ติดปัญหาที่ว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีอยู่จำนวน 15 ล้านคัน จะให้การยอมรับหรือหันมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทนหรือไม่ เพราะเห็นได้จากการรณรงค์ ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ในช่วงที่ผ่านมาตามภาคต่างๆ ไม่ได้ผล ซึ่งเวลานี้กำลังคิดกันอยู่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งหากผลักดันให้รถมอเตอร์ไซค์หันมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ได้ 10 ล้านคัน จะช่วยให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 เพิ่มขึ้นมาได้ 10 ล้านลิตรต่อวัน จากปัจจุบันที่มีการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 เพียงกว่า 4 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
ส่วน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโรงกลั่นน้ำมันนั้น คงจะมีปัญหาไม่มาก เพราะสามารถนำน้ำมันเบนซิน 91 ไปแปลงเป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมีได้ หรือส่งออกหากมีตลาดรองรับ ซึ่งเวลานี้ทางบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) ก็ให้การสนับสนุนเรื่องนี้อย่างเต็มที่

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยว่า การยกเลิกใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ในส่วนของโรงกลั่นไทยออยล์ คงไม่มีปัญหา เพราะปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์ผลิตเบนซินอยู่ประมาณ 10 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งเวลานี้ก็ได้มีการศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาไว้แล้ว สำหรับเบนซิน ออกเทน 91 ที่เหลือ ซึ่งจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมีในกลุ่มของบมจ.ไทยออยล์เอง และบางส่วนที่เหลืออาจจะต้องหันไปส่งออกแทน เพราะมีตลาดอยู่แล้ว โดยประมาณกลางปีหน้าโรงกลั่นไทยออยล์จะมีการผลิตน้ำมันเบนซิน มาตรฐานยูโร 4 ออกมาจำหน่าย เพื่อรองรับนโยบายของภาครัฐที่จะบังคับให้วันที่ 1 มกราคม 2555 คุณภาพน้ำมันดีเซลและเบนซินของประเทศจะต้องเป็นมาตรฐานยูโร 4 ทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ก็ได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อรองรับการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ไว้ด้วยแล้ว และจะทำให้แก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายภายในประเทศมีมาตรฐานตามยูโร 4 ไปด้วย
ทั้ง นี้ การจะยกเลิกเบนซิน ออกเทน 91 ได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นกับผลกระทบของโรงกลั่น แต่ขึ้นอยู่กับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีอยู่จะทำอย่างไร จะรณรงค์ให้หันมาใช้ได้หรือไม่ ขณะเดียวกันหากยกเลิกไปแล้ว ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอลมีเพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเอทานอลที่สูงขึ้น ซึ่งผลกระทบจะส่งผ่านมาถึงประชาชนจะทำอย่างไร

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยว่า ในส่วนของโรงกลั่นบางจากเอง พร้อมดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงพลังงานอยู่แล้ว หากน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ที่ผลิตได้เหลือ แนวทางหนึ่งก็ต้องส่งออก แต่ปัญหาการส่งออกอาจจะได้ราคาไม่ดี จำเป็นต้องไปหาตลาดในประเทศแทน ซึ่งจะหนีไม่พ้นต้องป้อนให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ขณะเดียวกันอาจจะต้อง ไปจัดหานำน้ำมันดิบที่กลั่นได้เบนซินน้อยลงเข้ามา เพื่อให้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ออกสู่จากกระบวนการกลั่นให้น้อยที่สุด ซึ่งทางบมจ.บางจาก ก็ได้เตรียมแผนงานต่างๆไว้แล้ว โดยเฉพาะการดำเนินงานควบคู่กับการปรับปรุงแครกเกอร์ เพื่อให้ได้น้ำมันเบนซินตามมาตรฐานยูโร 4 ที่จะแล้วเสร็จในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปีหน้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,557 15-18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=38796:91&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418

-------------------------------------------------------

เลิกขายเบนซิน91ยังเสี่ยง เร่งแก้ปมเอทานอลไม่พอ-ผู้ใช้ยังไม่มั่นใจโซฮอล์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2554 23:02 น.

"พลังงาน" ตั้งเป้าอีก 3 ปี เลิกขายเบนซิน 91 ได้แน่ "วรรณรัตน์" ยอมรับปริมาณการใช้ในปัจจุบัน ยังมีสูงถึงวันละ 8 ล้านลิตร พร้อมระบุ รถรุ่นใหม่ใช้แก๊สโซฮอล์ได้หมดแล้ว ขณะที่ สนพ.เร่งศึกษาผลกระทบทั้งระบบ ผลสำรวจ ชี้ รง.เอทานอลส่วนใหญ่ผลิตได้เพียง 30-40% จากกำลังการผลิตทั้งหมด เพราะวัตถุดิบการเกษตรในแต่ละปีมีปริมาณไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องของผู้ใช้บางส่วนที่ยังไม่มั่นใจในเรื่องของคุณภาพอีกด้วย คาดหากเลิกใช้เบนซิน 91 จะส่งผลให้ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น 10%

นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 โดยคาดว่า กระทรวงพลังงานจะสามารถดำเนินการได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อปริมาณการใช้ลดลง โดยปัจจุบันรถรุ่นใหม่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ทั้งหมด และพบว่ารถยนต์บางรุ่น สามารถรองรับการใช้แก๊สโซฮอล์ อี20 ได้แล้ว

รมว.พลังงาน ยอมรับว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 ในปัจจุบันอยู่ที่ 8 ล้านลิตรต่อวัน จึงยังไม่สามารถยกเลิกจำหน่ายได้ทันที เพราะรถบางรุ่นยังจำเป็นต้องใช้ หากยกเลิกจะทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มได้รับผลกระทบ จึงต้องพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป"

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 รวมทั้งต้องพิจารณาปริมาณเอทานอลด้วย เพราะหากเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 จะส่งผลให้ปริมาณใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น 10% จึงต้องมีปริมาณเอทานอลรองรับเพียงพอ

โดยผลการตรวจสอบข้อมูลพบว่า โรงงานผลิตเอทานอลส่วนใหญ่ผลิตเอทานอลได้เพียง 30-40% จากกำลังการผลิตทั้งหมด เพราะวัตถุดิบการเกษตรในแต่ละปีมีปริมาณไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องของผู้ใช้บางส่วนที่ยังไม่มั่นใจในเรื่องของคุณภาพอีกด้วย

http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9540000001542

-------------------------------------------------------

นโยบายรัฐลดส่วนผสมB100พ่นพิษ ค่ายบางจากกัดฟันผลิตทั้งขาดทุน-แบกสต๊อกอ่วม
Submitted by info on Sun, 2011-04-03 10:26

บาง จากรับเดินเครื่องผลิต B100 "ขาดทุน" สต๊อกยังสูง 4 ล้านลิตร ขณะที่ความต้องการใช้แค่ 100,000 ลิตร/วัน หารือกระทรวงพลังงานเพิ่มสัดส่วนผสมเป็น 3% แต่ติดปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ หวั่นปาล์มน้ำมันมีปัญหาอีกรอบ ขอให้ผสมที่ 2% ไปก่อน ล่าสุดบางจากจับมือบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง-ล็อกซเล่ย์ศึกษาการผลิตไบ โอดีเซลจากสาหร่าย คาดลงทุนอีก 1,000 ล้าน

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ โรงงานผลิตไบโอดีเซล (B100) มีกำลังผลิต 300,000 ลิตร/วัน ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินเครื่องผลิตแบบขาดทุน เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้น้อยมาก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายของกระทวงพลังงานที่ลดสัดส่วนการผสม B100 ในเนื้อน้ำมันดีเซลลงเหลือเพียงร้อยละ 2 (จากเดิมที่ร้อยละ 3-5) เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนปาล์มน้ำมันในภาคการบริโภค

โดยในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา โรงงานไบโอดีเซลเดินเครื่องผลิตเพียง 10 วัน หลังจากนั้นได้หยุดเดินเครื่อง แต่ก็ยังมีสต๊อก B100 สูงถึง 3-4 ล้านลิตร ขณะที่ความต้องการใช้จริงเพื่อผสมและจำหน่ายหน้าสถานีบริการน้ำมันบาง จากอยู่ที่เพียง 100,000 ลิตร/วันเท่านั้น

ทั้งนี้ ได้มีการหารือและรายงานสถานการณ์น้ำมันไบโอดีเซลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พลังงานเบื้องต้นว่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับเพิ่มสัดส่วนการผสม น้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มเป็นร้อยละ 3 ได้หรือไม่ เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มเริ่มจะปรับสู่สภาวะปกติ แต่กระทรวงพลังงานยังคงกังวลปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมในภาคใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มเป็นหลัก อาจจะส่งผลให้ปริมาณผลปาล์มในระบบได้รับผลกระทบไปด้วย จึงยังขอรอดูสถานการณ์อีกระยะ ซึ่งบริษัทบางจากฯพร้อมจะสนองนโยบายภาครัฐอยู่แล้ว

"ตอนนี้น้ำท่วม ภาคใต้ บางจากได้ส่งทีมงานลงไปดูว่าพื้นที่ที่เราสั่งซื้อผลปาล์มเพื่อเข้ามาผลิต ที่โรงงานบางปะอินมีปัญหาหรือไม่ หรือมีปัญหาเรื่องการขนส่งหรือไม่ เพราะตอนนี้ถนนถูกตัดขาดหลายเส้นทางมาก แต่เรายังโชคดีที่ผู้รับซื้อในพื้นที่มีสต๊อกผลปาล์มบางส่วนไว้ที่โกดัง จังหวัดสมุทรสงคราม หากไม่สามารถขนส่งผลปาล์มมาจากภาคใต้ได้ สามารถใช้สต๊อกนี้ได้ทันที"

นายอนุสรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้ำมันปาล์มในระบบตอนนี้เริ่มมีปริมาณมากขึ้น และอาจจะล้นระบบด้วยซ้ำในขณะนี้ จึงกระทบต่อราคาไบโอดีเซล B100 ที่ลดลงมาเรื่อยๆ มาอยู่ที่ประมาณ 35-36 บาท/ลิตร จากเดิมที่เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 70 บาท/ลิตร จึงยิ่งทำให้บริษัทบางจากฯยังไม่เร่งสำรอง สต๊อก B100 เพิ่มขึ้น เพราะเกรงว่าราคา B100 อาจจะลดต่ำลงไปกว่านี้อีก

ล่าสุด บริษัท บางจากปิโตรเลียมได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ชีวภาพจากสาหร่ายน้ำมัน ระหว่างบริษัท บางจากฯกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากสาหร่ายน้ำมันมาเป็นน้ำมันไบโอดีเซล หรือน้ำมันเครื่องบินได้ ซึ่งผลผลิตน้ำมันต่อพื้นที่การเพาะเลี้ยงสูงมากสูงถึง 30 เท่า เมื่อเทียบกับ ปาล์มน้ำมัน

นอกจากนี้ ยังสามารถแก้ปัญหาการแย่งพืชอาหารมาสู่พืชพลังงานได้ด้วย และที่สำคัญ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง และยังยืนอยู่ที่เฉลี่ย 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายน้ำมันน่าจะอยู่ที่ 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

ทั้งนี้ บริษัท บางจากปิโตรเลียมคาดว่าในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาจะใช้งบประมาณอยู่ที่ 10 ล้านบาท และหากต้องลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายน้ำมันที่ 30,000 ลิตร/วัน จะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ มีมติให้ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มขวดลิตรที่ 47 บาทต่อไปอีก 3 เดือน จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย.54

http://www.biothai.net/news/8402

-------------------------------------------------------

พลังงานพับแผนเลิกขายเบนซิน91
Tuesday, 17 May 2011 06:22

น.พ.วรรณ รัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างติดตามการใช้แก๊สโซฮอล์อย่างใกล้ชิด ซึ่งพบว่ามียอดการใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 เพื่อบังคับให้ผู้ค้าน้ำมันเปลี่ยนมาเป็นแก๊สโซฮอล์แทนทั้งหมดได้ เนื่องจากยังมีรถยนต์เก่าจำนวนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเบนซินอยู่หลาย หมื่นคัน ซึ่งรถพวกนี้จะไปใช้อย่างอื่นไม่ได้ แต่ได้ทยอยเปลี่ยนเป็นรถใหม่ไปค่อนข้างมากแล้ว คิดว่าคงต้องดูจุดนี้ก่อน
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าและผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยอดการใช้เอทานอลยังอยู่ในระดับ 1.2-1.3 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแม้จะมีรถยนต์รุ่นใหม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 ได้แล้ว แต่มีรถยนต์กลุ่มหนึ่งหันไปใช้แอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) เพราะรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาแอลพีจีภาคขนส่งอยู่ วันนี้ต่อให้รัฐบาลยกเลิกการใช้เบนซิน 91 เพื่อส่งเสริมให้ใช้เอทานอลเพิ่มขึ้น ก็คงช่วยอะไรไม่ได้มาก ดังนั้น นโยบายส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนของรัฐ ควรต้องดูราคาพลังงานตัวอื่นๆ ให้สอดคล้องด้วย--จบ--

--ข่าวสด ฉบับวันที่ 18 พ.ค. 2554 (กรอบบ่าย)--
http://its.in.th/index.php/component/content/article/1-latest-news/7126-91

-------------------------------------------------------

บางจากฯ ลุ้นรมว.พลังงานคนใหม่เลิกเบนซิน 91 หนุนเอทานอล
โพสต์โดย : ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม วันเวลา่ : 2011-08-09 13:44:43

บิ๊กบางจากฯ ฝากความหวังรมว.พลังงานคนใหม่ ยกเลิกใช้เบนซิน 91 ใน 2 ปี แก้ปัญหาเอทานอลล้นตลาด

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากฯ กล่าวว่า คาดหวังว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่จะมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมัน เบนซินออกเทน 91 ภายใน 1-2 ปีนี้ เพื่อสนับสนุนการใช้เอทานอล

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากฯ กล่าวว่า คาดหวังว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่จะมีการประกาศยกเลิกการจำหน่ายน้ำมัน เบนซินออกเทน 91 ภายใน 1-2 ปีนี้ เพื่อสนับสนุนการใช้เอทานอล หลังจากในช่วงที่ผ่านมาการใช้เอทานอลไม่เติบโตตามแผน แม้จะมีอี 20 และอี 85 ในตลาดแล้วก็ตาม โดยล่าสุดยอดใช้เอทานอลอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านลิตร/วันเท่านั้น ซึ่งหากมีการยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 จริงจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีก 800,000 ลิตร/วัน ช่วยแก้ไขปัญหาเอทานอลล้นตลาด ขณะเดียวกันเกษตรกรก็จะได้ประโยชน์จากการขายผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลควรจะเดินหน้าการส่งเสริมการส่งออกเอทานอลของไทยให้เป็นศูนย์กลางการ ผลิตและจำหน่ายเอทานอลในภูมิภาคนี้ หากรัฐบาลมีแผนงานที่ชัดเจนในเรื่องส่งเสริมเอทานอล บางจากอาจจะพิจารณาเข้าไปลงทุนร่วมผลิตเอทานอลเพิ่มอีก จากปัจจุบันมีการร่วมทุนแล้ว 2 โรงงาน ได้แก่ สัดส่วนร้อยละ 40 ของบริษัท ไทยอะโกรอินดัสตรี กำลังการผลิต 360,000 ลิตร และโรงงานอุบลไบโอเอทานอล สัดส่วนร้อยละ 21 กำลังการผลิต 400,000 ลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของโรงงานอุบลไบโอเอทานอลเป็นการผลิตจากมันสำปะหลัง และตลาดส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน

นายอนุสรณ์กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นและ ขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีคุณภาพดียิ่งขึ้นจะได้ดีเซลสัดส่วนสูงขึ้นถึงร้อย ละ 70 ของกำลังการกลั่นโดยรวม และทำให้กำลังกลั่นเฉลี่ยสามารถเพิ่มขึ้นจาก 100,000 บาร์เรล/วัน เป็น 110,000 บาร์เรล/วัน คาดว่าจะลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้จะทำให้ได้ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น เพราะประสิทธิภาพน้ำมันดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพรวมการใช้น้ำมันของประเทศจะลดลง เพราะมีพลังงานทดแทนทั้งเอ็นจีวี แอลพีจี เอทานอล และไบโอดีเซล มาทดแทนน้ำมัน แต่จากที่เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ขยายตัวและมีข้อตกลงประชาคมอาเซียน (เออีซี) ใน 2558 ก็จะทำให้ความต้องการน้ำมันในภูมิภาคนี้สูงขึ้น ทำให้สามารถนำน้ำมันจากในประเทศที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิตเหลืออย่างน้อย ร้อยละ 15 ส่งออกได้มากขึ้น และขณะนี้บางจากมียอดส่งออกไปยังลาว กัมพูชา และพม่า เพิ่มสูงขึ้นด้วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่บางจากกล่าวด้วยว่า ในส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ บางจากมีเป้าหมายผลิต 500 เมกะวัตต์ หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่จะมีการปรับแผนส่งเสริมการผลิตโซ ลาร์เซลล์ในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยมีการปรับปรุงค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม หรือแอดเดอร์ ซึ่งอาจจะปรับไปเป็นระบบฟีดอินทรารีฟ หรือรูปแบบอื่น บางจากก็พร้อม โดยเห็นว่าจากค่าลงทุนแผงโซลาร์เซลล์ที่ลดลง การให้แอดเดอร์เพิ่ม 6.50 บาท/หน่วย จากเดิม 8 บาท/หน่วย เป็นอัตราที่เหมาะสม โดยเห็นว่าควรพิจารณาค่าแอดเดอร์ทุก 2 ปี ทำให้ไม่เพิ่มต้นทุนในค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) มากเกินไป

ที่มา : สำนักข่าวไทย
ผู้เสนอ : กลุ่มวิเคราะห์ข่าวและฐานข้อมูล

ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย
http://www.thailandindustry.com/news/view.php?id=14710§ion=3

-------------------------------------------------------

"พิชัย"เล็งขึ้นภาษีสรรพสามิตดีเซล ใช้วิธีทยอยปรับ "บางจาก"เตรียมกลับมาขายเบนซิน91
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:41:19 น.

รัฐมนตรี พลังงานนัดถกคลัง หาทางปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตดีเซลขึ้นก่อนกำหนดต้นปีหน้า เหตุราคาตลาดโลกทยอยลดลงหลังเศรษฐกิจสหรัฐกับยุโรปร่วง ยันไม่ปรับลดแก๊สโซฮอล์ แต่ไม่กระทบยอดขาย เหตุแค่มาตรการชั่วคราว

นาย พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เบื้องต้นกระทรวงได้หารือกับกระทรวงการคลังถึงการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต น้ำมันดีเซล หลังจากลดการจัดเก็บเหลือ 0.0005 บาทต่อลิตร จากเดิมจัดเก็บ 5.83 บาทต่อลิตร ตามนโยบายการกำหนดราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้มีราคาเกิน 30 บาทต่อลิตร โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน และเตรียมหารืออีกครั้งหลังจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลในวันที่ 23-24 สิงหาคม เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงจนถึงช่วงสิ้นปี จากปัจจัยเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐและในยุโรป ทำให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจโลกลดลง มีผลต่อการบริโภค และการผลิตของภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก และปัจจัยทางการเมืองในลิเบียกำลังจะคลี่คลายก็จะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาด โลกลดลงด้วยเช่นกัน จึงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมทยอยปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่เคย ยกเว้นการเก็บไปก่อนหน้านี้

นายพิชัยกล่าวว่า เดิมรัฐบาลมีแผนปรับขึ้นภาษีดีเซลในช่วงต้นปี 2555 แต่ช่วงนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในการยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชั่วคราวของน้ำมันเบนซิน 91 เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล ในส่วนของดีเซลราคาจะปรับลดลง 2.80 บาทต่อลิตร การทยอยปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตทำให้ประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก มาตรการยกเว้นการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลนี้ เป็นนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา การบังคับใช้รัฐบาลสูญเสียรายได้จากภาษีส่วนนี้ในงบประมาณปี 2554 (ก.ย.2554) ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท เป็นผลกระทบต่อภาษีสรรพสามิต 42,480 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 1.9 พันล้านบาท

นายพิชัยกล่าวว่า สำหรับการยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราว สำหรับน้ำมัน เบนซิน 95 เบนซิน 91 และ น้ำมันดีเซล จะยังคงตามนโยบายการลดราคา 3 ชนิดนี้เท่านั้น ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จะไม่มีการลดภาษีหรือยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันชั่วคราวแต่อย่างใด กรณีกังวลว่าประชาชนจะหันไปเติมน้ำมันเบนซินมากกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เนื่องจากราคาใกล้เคียงกันนั้น ไม่น่ากระทบต่อยอดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากนัก เนื่องจากเป็นนโยบายระยะสั้นประมาณ 6 เดือนเท่านั้น

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน หากทำให้ผู้ใช้น้ำมันหันไปเติม น้ำมันเบนซินมากกว่าแก๊สโซฮอล์ บางจากจึงเตรียมมาตรการรองรับไว้ 2 มาตรการ คือ มาตรการส่งเสริมการจำหน่ายในช่วง 1-2 เดือน หากยอดจำหน่ายลดลงไม่เกิน 10% ในช่วง 2 เดือนแรก และหากยอดจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ลดลงมากกว่า 20% จะมีการพิจารณาในการกลับมาจำหน่ายน้ำมัน เบนซิน 91 เดิมมีแผนยกเลิกการจำหน่ายทั้งหมดในช่วงต้นปี 2555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314074641&grpid=03&catid=05&subcatid=0505

-------------------------------------------------------

เบนซิน 95 ลง 8 บาท 91 ลง 7 บาท ดีเซล ลง 3 บาท พรุ่งนี้ แก๊สโซฮอล์ คงเดิม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 สิงหาคม 2554 15:31 น.

"พลังงาน" มีมติลด น้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 7.17 บาท เบนซิน 95 ลิตรละ 8.02 บาท และดีเซล 3.00 บาท มีผลพรุ่งนี้ 6 โมงเช้า หลังที่ประชุม กพช. มีมติ ลดเก็บเงินเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ "พิชัย" ลั่นแก๊สโซฮอล์ ยังไม่มีการปรับราคา และให้คงราคาเดิมเอาไว้ แนะ ปชช. หันมาใช้แก๊สโซฮอล์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ขณะที่ปั๊มจำนวนมากมืดแปดด้าน คาดยอดขายแก๊สโซฮอล์วูบ เพราะเลิกขายเบนซินไปแล้ว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยระบุว่า เป็นการมอบนโยบายมาตรการเร่งด่วนในการลดค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของน้ำมัน 3 เรื่อง คือ ในส่วนของการลดราคาน้ำมันเบนชิน 91 เบนชิน 95 และน้ำมันดีเซล โดยได้ให้กรอบตามที่ให้ไว้กับประชาชน ทั้งนี้ ยังมอบให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) นำไปพิจารณารายละเอียดต่อไป 2.เป็นเรื่องของการให้แนวทางการรณรงค์การประหยัดพลังงาน 3.เรื่องแนวทางการหาพลังงานทดแทนว่าจะมีการส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างไร

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ส่วนภาคปฏิบัติได้มอบให้กบง. ลงไปศึกษารายละเอียดต่อไป ส่วนการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันทั้ง 3 ชนิด จะเป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ทั้งนี้ ในส่วนผลลัพธ์อยากเห็นราคาน้ำมันที่ลดลงแต่วิธีการเจรจาและการปฏิบัติ ต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ ซึ่งเป็นเรื่องของคณะกรรมการ (บอร์ด) กบง.หารือต่อไป ซึ่งในหลักการให้มีการลดราคา 3 ตัว แต่จะให้ กบง.ศึกษาผลกระทบทั้งหมดด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมฯยังได้หารือถึงแนวทางการหาพลังงานทดแทน และแนวทางการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันประหยัดพลังงานอีกด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุม กบง.ได้ดำเนินการประชุมต่อจากการประชุม กพช. ทันที เพื่อหารือรายละเอียดในการดำเนินตามนโยบายดังกล่าว

นายพิชัย นริพทะพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กล่าวว่า ได้ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาเบื้องต้น คือจะให้มีการชะลอการเก็บเงินกองทุนน้ำมัน เบนซิน 95 อยู่ที่ 8.20 บาท เบนซิน 91 อยู่ที่ 7.17 บาท และดีเซล 3 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลในเวลา 06.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม 2554 (พรุ่งนี้)

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ส่งผลให้ราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการ ในวันพรุ่งนี้ เป็นดังนี้ ราคาน้ำมันเบนซิน 95 จะอยู่ที่ 39.32 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 91 จะอยู่ที่ 34.77 บาทต่อลิตร และดีเซล อยู่ที่ 26.99 บาทต่อลิตร

ทั้งนี้ รัฐบาลจะมีการทบทวนมาตรการดังกล่าว ก่อนเดือนมกราคม 2554 เพื่อพิจารณาว่าจะเรียกเก็บเงินกองทุนน้ำมันต่อหรือไม่ หรือจะต้องกู้เงินตามกรอบเงินที่รัฐบาลชุดเดิมได้วางไว้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะสูญเสียรายได้จะการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุน ประมาณ 6,160 ล้านบาท โดยกองทุนน้ำมันฯ ได้เตรียมเงินไว้สำหรับการชดเชยน้ำมันที่คงค้างในสถานีบริการประมาณ 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีการดูในเรื่องความเหมาะสมว่า หลังจากที่ประชาชนมีรายได้ดีขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น จะมีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การชะลอการเก็บเงินกองทุนน้ำมัน จะดำเนินการไม่เกิน 1 ปี

ส่วนเรื่องแก๊สโซฮอล์จะยังไม่การปรับราคา และให้คงราคาเดิมไว้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และอยากให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ส่วนผลกระทบกับการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ คงจะต้องมีการติดตามว่าจะมีผลต่อการใช้ลดลงอย่างไร โดยขอรอดู 1-2 สัปดาห์ก่อน

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในเวลา 22.00 น.วันนี้ รัฐมนตรีพลังงาน จะมีการปล่อยคาราวานตรวจสอบราคาน้ำมันทั่วประเทศ 1.7 หมื่นแห่ง โดยจะมีการตรวจสอบตั้งแต่เวลา 24.00 น. ถึง 06.00 น. ว่าแต่ละปรับปั๊มได้ปรับราคาตามที่กระทรวงพลังงานและกบง.ได้มีมติหรือไม่

ขณะเดียวกันนักวิชาการหลายคนได้ออกมาเเสดงความคิดเห็นในมุมมองที่ เเตกต่างกันไป เช่น นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า รัฐบาลควรดำเนินนโยบายนี้เพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการยอดขายน้ำมันแก๊สโซฮอล์แน่นอน โดยรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์บ้าง เพราะที่ผ่านมาก็มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนมาตลอด ซึ่งปัจจุบันเชลล์ไม่ได้จำหน่ายทั้งเบนซิน 95 และเบนซิน 91 แต่จำหน่ายเฉพาะน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์มากกว่า 5 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตาม เชลล์ยังไม่ตัดสินใจว่าจะหันกลับมาจำหน่ายน้ำมันกลุ่มเบนซินอีกหรือไม่ แต่ต้องการให้รัฐบาลมีความชัดเจนในเรื่องนโยบายส่งเสริมพลังานทดแทนตามแผน 15 ปี

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลกระทบมีแน่นอนโดยเฉพาะเรื่องยอดขายแก๊ซโซฮอล์ที่จะลดลง โดยบางจากมีปั๊มน้ำมันที่ไม่ได้ขายน้ำมันเบนซินแล้วจำนวน 600 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปั๊มของดีลเลอร์เกือบทั้งหมด จึงต้องหามาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือดีลเลอร์เหล่านี้ ให้อยู่ได้ก่อน โดยในสัปดาห์หน้าบางจากจะออกมาตรการทางการตลาดมากระตุ้นยอดขายแก๊สโซฮอล์ต่อ ไป

ทั้งนี้ หากยอดขายแก๊ซโซฮอล์ลดลงจะส่งผลกระทบไปถึงยอดการ ซื้อเอทานอลด้วย โดยในช่วงไตรมาส 4 คาดว่าจะมีการลดการซื้อเอทานอลแน่นอน และที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ หากน้ำมันขายไม่หมด หรือไม่สามารถส่งออกได้อาจจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตของโรงกลั่นลง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันเครื่องบินด้วย

อย่างไรก็ตาม บางจากจะกลับมาขายน้ำมันเบนซินอีกครั้งหรือไม่ คงจะเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะนำมาใช้ และต้องรอให้เป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ โดยในระยะแรกคงต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน รวมทั้งจะรอดูมาตรการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของรัฐบาลด้วยว่าจะออกมาใน รูปแบบใด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการพูดถึงการลดภาษีสรรพสามิตแก๊ซโซฮอล์ เพื่อเพิ่มส่วนต่างราคา แต่ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจะนำมาใช้หรือเปล่า

นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า พรุ่งนี้ผู้ค้าน้ำมันจะประกาศลดราคาตามมติ กบง.ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ซึ่งสิ่งเป็นห่วง คือ เมื่อราคาแก๊สโซฮอล์และเบนซินมีราคาใกล้กันมากขึ้น ประชาชนอาจหันมาเติมเบนซินมากขึ้น คงต้องขอความร่วมมือประชาชนว่าควรสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อไป เพื่อลดภาระในการนำเข้าน้ำมันและช่วยเหลือเกษตรกรที่ใช้พลังงานทดแทน

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าราคาที่แตกต่างกันจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ ทางรัฐบาลน่าจะมีการเข้ามาช่วยเหลืออุดหนุนแก๊สโซฮอล์ เพื่อให้การต่างราคาทำให้ประชาชนหันมาใช้มากขึ้น

http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9540000107793

-------------------------------------------------------

นักวิชาการ-ผู้ค้ารุมวิพากษ์แผนลดเก็บเงินเบนซิน-ดีเซล

นักวิชาการ-ผู้ค้าน้ำมัน วิพากษ์นโยบายชะลอเก็บเงินน้ำมันเบนซิน-ดีเซลเข้ากองทุนฯ หวั่นสร้างภาระประชาชนระยะยาว เชื่อต้องใช้น้ำมันราคาแพงต่อหลายปี เหตุต้องชดเชยภาระหนี้สินกองทุนฯ

หวั่นกระตุ้นความฟุ่มเฟือยผู้ใช้ น้ำมันเหตุราคาถูก เชื่อยอดขายแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดลดลง ด้านสมาคมเอทานอลห่วงประชาชนหันกลับมาใช้เบนซิน ฉุดยอดใช้เอทานอลลดลง

หลังจาก นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกมาระบุว่า ภารกิจเร่งด่วนที่จะดำเนินการ คือ การชะลอเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 เบนซิน 91 และน้ำมันดีเซล เป็นการชั่วคราวหรือไม่เกิน 1 ปี โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อประกาศใช้ก่อนวันที่ 1 ก.ย.นี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ส่วนเงินที่จะนำมาชดเชยภาระของกองทุนน้ำมันฯ เดือนละประมาณ 3 พันล้านบาทนั้น จะใช้วิธีกู้เงิน หรือออกพันธบัตรเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่าย ปีละประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

เมื่อรัฐบาลสามารถเพิ่มรายได้และค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นผล สำเร็จภายในระยะเวลา 1 ปี กระทรวงพลังงานจะเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในอัตราปกติ รวมทั้งทยอยปรับราคาพลังงานทุกประเภท เพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด

นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวถึงการที่รัฐบาลจะชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเบนซิน 91 เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ว่า จะส่งผลกระทบต่อสถานะของกองทุนน้ำมันฯ ในอนาคต หากกองทุนน้ำมันฯ ต้องมีภาระหนี้จากการกู้เงินมาใช้จ่าย ทั้งการชดเชยราคาแอลพีจี และเอ็นจีวี เดือนละ 3-4 พันล้านบาท เมื่อสิ้นสุดมาตรการผู้ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล จะเป็นผู้รับภาระในการชดใช้หนี้สินกองทุนน้ำมันฯ โดยราคาน้ำมันจะไม่ลดต่ำลงตามกลไกราคา เพราะต้องนำเงินส่วนหนึ่งส่งคืนกองทุนน้ำมันฯ เพื่อชดเชยภาระหนี้สิน

หากมีการกู้เงินมาใช้ในกองทุนน้ำมันฯ ประชาชนจะได้ใช้น้ำมันราคาต่ำในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อสิ้นสุดมาตรการอาจต้องใช้น้ำมันในราคาแพงต่อไปในระยะยาว แม้ราคาน้ำมันในช่วงนั้นจะปรับตัวลดลงก็ตาม เพราะต้องนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้หนี้ของกองทุนน้ำมันฯ นายมนูญกล่าว

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลจะทยอยปรับราคาพลังงานชนิดต่างๆ ให้สะท้อนราคาตลาดโลกภายในเวลา 1 ปี หลังดำเนินมาตรการเพิ่มรายได้ประชาชนสำเร็จนั้น ตนเห็นว่าเรื่องรายได้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้อาจไม่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม แต่การขึ้นราคาพลังงานจะกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเชื่อว่าประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจะออกมาเรียกร้อง และเป็นไปได้ว่ารัฐบาลอาจต้องตัดสินใจชะลอการปรับขึ้นราคาพลังงานออกไป เรื่อยๆ เหมือนในอดีต

นอกจากนั้น การชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของเบนซิน 91 เบนซิน 95 และน้ำมันดีเซล จะส่งผลให้สัดส่วนราคาของน้ำมันประเภทแก๊สโซฮอล์กับน้ำมันเบนซินปกติใกล้ เคียงกันมาก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ อาจต้องหยุดชะงักไปหลังดำเนินการมาหลายปี หากรัฐบาลจะยกเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อให้ราคาน้ำมันลดลง ก็ควรหามาตรการช่วยเหลือพลังงานทดแทนในกลุ่มแก๊สโซฮอล์ให้ราคาลดลงด้วย เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายแก๊สโซฮอล์

สำหรับอัตราการจัดเก็บเงินจากเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ของกองทุนน้ำมันฯ ประกอบด้วย เบนซิน 95 จัดเก็บ 7.50 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 จัดเก็บ 6.70 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 จัดเก็บ 2.40 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 จัดเก็บ 0.10 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล จัดเก็บ 2.80 บาทต่อลิตร ขณะที่กองทุนน้ำมันฯ มีภาระอุดหนุนพลังงานทดแทน เอ็นจีวีและแอลพีจี เป็นจำนวนมาก โดยอุดหนุนแก๊สโซฮอล์ อี 20 ในอัตรา 1.30 บาทต่อลิตร อุดหนุนอี 85 ในอัตรา 13.50 บาทต่อลิตร อุดหนุนแอลพีจีเดือนละ 3,200 ล้านบาท อุดหนุนเอ็นจีวีกิโลกรัมละ 2 บาท รวมเป็นเงินเดือนละประมาณ 3,800 ล้านบาท

นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หลังรัฐบาลชะลอการเก็บเงินน้ำมันทั้ง 3 ชนิดเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นการชั่วคราว จะมีผลกระทบหลายเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เช่น ความฟุ่มเฟือยของคนไทย ซึ่งจะใช้น้ำมันแบบไม่ประหยัดเมื่อเห็นว่าราคาต่ำลง ส่งผลให้ต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นจากปกติ คาดปีนี้จะต้องนำเข้าน้ำมันกว่า 1 ล้านล้านบาท ส่งผลต่อดุลการค้าของประเทศ และอาจส่งผลให้ปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ลดลง

หากรัฐบาลยังตรึงราคาแอลพีจีและเอ็นจีวี อาจทำให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ต้องกู้เงินมาอุดหนุนราคา คาดจะใช้วงเงินกู้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4 หมื่นล้านบาท หากลดราคาแก๊สโซฮอล์ลงมาด้วย วงเงินกู้จะสูงกว่าปีละ 5 หมื่นล้านบาทแน่นอน นายพรายพลกล่าว

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การชะลอเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของเบนซิน 95 และเบนซิน 91 จะส่งผลกระทบต่อยอดขายแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดทันที และจะกระทบต่อยอดขายน้ำมันของบางจาก ปัจจุบันบางจากจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์สูงถึง 80% ของยอดขาย ส่วนอีก 20% เป็นการจำหน่ายเบนซิน 91

หากไม่ต้องการให้การจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ได้ รับผลกระทบ จะต้องมีส่วนต่างราคาที่ต่ำกว่าเบนซินธรรมดาไม่น้อยกว่าลิตรละ 1.50-2 บาท เพื่อจูงใจผู้บริโภค หากไม่มีส่วนต่างราคาประชาชนจะไม่สนใจใช้แก๊สโซฮอล์ นายอนุสรณ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม บางจากยังคงผลักดันโครงการแก๊สโซฮอล์อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นน้ำมันที่ไทยสามารถผลิตได้เอง เชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะมีทางออกในเรื่องนี้ เพราะหากไม่สามารถจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ได้ จะกระทบต่ออุตสาหกรรมเอทานอล ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่โรงงานผลิตไปจนถึงเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อย

นายสิริวุฒิ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า หากราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ใกล้เคียงกับราคาแก๊สโซฮอล์ ประชาชนจะกลับมาใช้น้ำมันเบนซิน ส่งผลให้ยอดการใช้เอทานอลลดลงอย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาเอทานอลล้นตลาดให้มีความรุนแรงขึ้น โดยปัจจุบันโรงงานผลิตเอทานอล 19 แห่งในประเทศ มีปริมาณการผลิตรวม 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์ 1.3-1.4 ล้านลิตรต่อวัน มีกำลังการผลิตเหลือถึง 1.5.-1.6 ล้านลิตรต่อวัน ถ้าส่วนต่างของแก๊สโซฮอล์ลดลง อาจส่งผลให้ปริมาณการใช้เอทานอลลดลงเหลือเพียงวันละ 1 ล้านลิตร เท่ากับว่ามีกำลังการผลิตล้นเกินกว่าวันละ 2 ล้านลิตร

ภาคเอกชนคงต้องหาทางส่งออกเอทานอลส่วนเกินให้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ แต่ยังติดปัญหาการขาดโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น คลังกักเก็บ จึงไม่สามารถส่งออกได้อย่างเต็มที่ สุดท้ายผลกระทบจะตกมาสู่ผู้ผลิต และเกษตรกรหลายแสนครัวเรือนที่เกี่ยวข้อง เพราะราคาอ้อยและมันสำปะหลังจะลดลง นายสิริวุฒิกล่าว

http://daily.bangkokbiznews.com/detail/18863

--------------------------------------------------

ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2554)




เงินสดในบัญชี
14,369
ล้านบาท
- เงินฝาก ธ.ออมสิน (สลากออมสิน (อายุ 5 ปี) ตามมติ กบง.)
5,000
ล้านบาท
- เงินฝาก ธ.ก.ส. (โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์ม (อายุ 10 ปี))
500
ล้านบาท
- เงินคงเหลือในบัญชี
8,869
ล้านบาท
หนี้สินกองทุน
-13,928
ล้านบาท
- หนี้อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายชดเชย
-13,740
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG (ค่าขนส่งก๊าซในประเทศ)
-204
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ปี 2554 (ชดเชยช่วง ม.ค.- 15 ส.ค. 54)
-4,936
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.2/53 ชดเชยช่วง มี.ค. - ส.ค. 53 ) *
-381
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.4/53 ชดเชยช่วง ก.ย. 53 - ก.พ. 54) **
-2,069
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.8/54 ชดเชยช่วง มี.ค. 54 - มิ.ย. 54) **
-1,580
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กพช.3/54 ชดเชยช่วง ก.ค. 54 - ก.ย. 54) ***
-582
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์
-1,367
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4
-468
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน (มติ กบง.2/54 เริ่มชดเชย 14 ม.ค.54)
-1,859
ล้านบาท
+ หนี้เงินชดเชยส่วนลดราคาก๊าซธรรมชาติโรงไฟฟ้าขนอม
-294
ล้านบาท
- งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว
-188
ล้านบาท
ฐานะกองทุนฯ
441
ล้านบาท




หมายเหตุ ยังไม่รวมหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ (มติ กพช. 4/52) ประมาณ 130 ล้านบาท
* ชดเชยไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อเดือน
** ชดเชยตามปริมาณของกรมธุรกิจพลังงาน โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท
*** ชดเชยตามปริมาณการประมาณการของ สนพ. (1 ก.ค. - 15 ส.ค 2554) โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท
http://www.efai.or.th/theoil/theoil-money.htm

--------------------------------------------------



NGV LPG

1. แหล่งก๊าซ

เป็นก๊าซที่มาจากอ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศพม่า ซึ่งก๊าซที่นำมาจากอ่าว ไทย จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงแยกก๊าซ ซึ่งจะทำการแยกก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปออก จะเหลือเฉพาะก๊าซที่มีคาร์บอน 1 ตัว ซึ่งเรียกว่าก๊าซมีเทน และจะถูกส่งเข้าระบบท่อ เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า รองลงมาจะถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และบางส่วนนำมาใช้ในภาคขนส่ง โดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ NGV หรือ CNG

ณ สิ้นปี 2549 ปริมาณก๊าซที่นำขึ้นจากอ่าวไทย มีปริมาณวันละประมาณ 2,225 ล้านลูกบาศก์ฟุต ผ่านขบวนการแยกก๊าซ C2 (อีเทน) C3 (โพรเพน) และ C4 (บิวเทน) ออกประมาณ 512 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 23 ส่วนที่เหลือ(ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) ประมาณ 1,713 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะถูกส่งกลับเข้าระบบท่อ

สำหรับก๊าซที่นำเข้าจากพม่า จะถูกนำมาใช้โดยตรง โดยไม่ผ่านโรงแยกก๊าซ โดยมีการนำเข้าทั้งสิ้น 865 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน




เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ

1. โรงแยกก๊าซ ปตท. ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตที่ 54%
2. โรงกลั่นน้ำมัน มีสัดส่วนการผลิตที่ 40%
3. โรงงานปิโตรเคมี มีสัดส่วนการผลิตที่ 6%

หมายเหตุ การผลิต LPG มีปริมาณ 180.36 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน มาจากโรงแยกก๊าซ 96.66 ล้านกิโลกรัม จากโรงกลั่น 73.44 ล้านกิโลกรัม และจากโรงงานปิโตรเคมี 10.26 ล้านกิโลกรัม (ข้อมูลเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2549)


2. คุณสมบัติ

NGV มีก๊าซมีเทน (C1) เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่บรรยากาศโดยรวดเร็ว และจะคงสถานะของก๊าซได้ภายใต้ความดันสูง

สำหรับขีดจำกัดการติดไฟต้องมีปริมาณก๊าซตั้งแต่ 5-15% จึงจะมีโอกาสลุกติดไฟได้เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้น ส่วนอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงถึง 650 องศาเซลเซียส




LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมระหว่างก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) ซึ่งมีคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะสะสมตามพื้น เมื่อโดนประกายไฟสามารถลุกไหม้ได้

LPG เป็นก๊าซที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวได้ ภายใต้ความดันตั้งแต่ 6-7 บาร์ ส่วนขีดจำกัดการติดไฟจะต่ำกว่า NGV คือประมาณ 2-9.5% โดยปริมาตร ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีปริมาณก๊าซ LPG ตั้งแต่ 2% ขึ้นไป สามารถจะลุกติดไฟได้ ส่วนอุณหภูมิติดไฟจะประมาณ 480 องศาเซลเซียส ซึ่งจะต่ำกว่าก๊าซ NGV


3. ความปลอดภัย

NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัยที่สุด เมื่อเทียบกับ LPG น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหลจะกระจายตัวขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศด้านบน อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการสะสมตัวเหมือน LPG รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟ และอุณหภูมิติดไฟด้วยตัวเองจะสูงกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น




LPG เป็นก๊าซที่อันตรายกว่าก๊าซ NGV เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะเกิดการสะสมตัวตามพื้นล่าง และสามารถลุกติดไฟได้ถ้าเกิดประกายไฟ รวมถึงขีดจำกัดการติดไฟและอุณหภูมิติดไฟต่ำกว่าก๊าซ NGV


4. ระบบการจัดจ่าย

ระบบการขนส่ง NGV จะมี 2 รูปแบบ คือ

1) ขนส่งผ่านทางระบบท่อส่งก๊าซ โดยสถานีที่ใช้การขนส่งทางระบบท่อ จะต้องเป็นสถานีที่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดภาระค่าขนส่งลงได้ แต่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณก๊าซ

2) ขนส่งโดยใช้รถบรรทุก ซึ่งสถานีที่ไม่อยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซจำเป็นต้องใช้รถบรรทุกหัวลาก (Trailer) และรถบรรทุกหกล้อ วิ่งขนส่ง โดยการขนส่งแต่ละเที่ยวของรถหัวลาก จะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 3.5 ตัน ส่วนรถบรรทุกหกล้อจะบรรทุกก๊าซได้ประมาณ 1.5 ตัน ซึ่งการขนส่งนี้รถบรรทุกจะวิ่งเติมก๊าซจากสถานีแม่ และวิ่งไปส่งที่สถานีลูก




LPG จะใช้การขนส่งโดยรถบรรทุกจากคลังก๊าซ แต่ละแห่ง (ปตท. มีคลังก๊าซ LPG 7 คลัง ทั่วประเทศ) ไปยังสถานีเติมก๊าซ LPG ซึ่งการขนส่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้นำรถบรรทุกมาเติมก๊าซ ที่คลังเอง และรถบรรทุกที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถขนาด 8 ตัน


5. การนำมาใช้กับเครื่องยนต์

NGV สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน การใช้ NGV จะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ


1) ระบบดูดก๊าซ จะมีการทำงานคล้ายกับระบบคาร์บูเรเตอร์ ของเครื่องยนต์เบนซิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 38,000 – 45,000 บาท

2) ระบบฉีดก๊าซ เป็นระบบที่มี ECU ควบคุมการจ่ายก๊าซตามลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ โดยมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 58,000 – 65,000 บาท

ส่วนอัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง NGV อยู่ที่ 15.26 กิโลเมตร/กิโลกรัม ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ NGV จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.59 บาท ทั้งนี้ NGV ประหยัดกว่า LPG ร้อยละ 35 และประหยัดกว่า แก๊สโซฮอล์ ร้อยละ 74




LPG สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซลเช่นเดียวกับ NGV โดยการนำมาใช้เครื่องยนต์เบนซิน จะมี 2 ระบบเช่นเดียวกับ NGV คือ

1) ระบบดูดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 15,000 – 28,000 บาท

2) ระบบฉีดก๊าซ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ประมาณ 35,000 – 43,000 บาท

ส่วนอัตราความสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง LPG อยู่ที่ 11.1 กิโลเมตร/ลิตร ซึ่งเป็นอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยของการวิ่งทดสอบในเมือง, นอกเมือง และบนทางด่วน (โครงการทดสอบรถยนต์ใช้ NGV, LPG และเบนซิน โดยกรมธุรกิจพลังงาน) ถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อ 1 กิโลเมตร การใช้ LPG จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.92 บาท


6. ราคาขาย

NGV 8.50 บาท/กิโลกรัม


LPG ประมาณ 11.00 บาท/ลิตร
(ตอนนี้ราคา 18.13 บาทแล้ว)



หมายเหตุ
  • ค่าความร้อน NGV 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35,947 BTU, ค่าความร้อน LPG 1 ลิตร เท่ากับ 25,380 BTU
  • เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าติดตั้งและราคาขาย จะพบว่าราคาค่าติดตั้งของ NGV จะแพงกว่า LPG แต่เมื่อเทียบราคาค่าเชื้อเพลิง NGV จะถูกกว่า LPG ถึงร้อยละ 33
  • ในอนาคตรถยนต์ NGV คงจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำลังพัฒนาการผลิตรถยนต์ใช้ NGV จากโรงงานออกสู่ตลาดอยู่หลายราย

http://pttweb2.pttplc.com/webngv/TH/kw_df.aspx

--------------------------------------------------

เรียนรู้ NGV & LPG

เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอลNGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจาก แหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ

ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบายสนันสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผลเสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศรัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์

ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเ รัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช้ LPG เหมือนกับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัทเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบเสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคงราคา NGV ไว้ ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มาเร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก

... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุนการใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้

1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่า ผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรีซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุนของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็นต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็นค่าแก๊ส
3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร
4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคาถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่าไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่าLPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ

การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก้ส NGVปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้พลังงานทางเลือก และควรกำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม

เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขายแก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่าการเปิดปั้มเบนซิน ดีเซลแต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิตในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพงมาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV

... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุนการใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ(ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมาณ 66 mol% LPG(c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมากลั่นทำไม
อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่ http://www.eppo.go.th/info/T25.html

เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจากพม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า
ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่http://www.eppo.go.th/info/T34.html
ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก้ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก้ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลืออีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม


LPG ได้มาจากสามแหล่งคือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซินดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก้ส ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก้สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจากการกลั่นจากธรรมชาติ
NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยากราคาสูงและต้องใช้ถังแก้สความดันสูงจำนวนมาก

จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบเอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก้สธรรมชาติจากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศ

ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก้สLPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซลประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่งเองเหมือนประเทศไทย

ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแทกซี 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก้ส LPG ด้วยการให้เงินสนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก้ส LPG (ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล

เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตรส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%) ใช้กับยานยนต์ 200 ล้านลิตรที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้านอยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน

ชดเชยให้คนใช้รถ .. 200x6 = 1,200 ล้าน
ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน .. 1,000x6 = 6,000 ล้าน
ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน
ชดเชยให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!!

เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 %
แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วนหนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 %
LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊สธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ

ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่มากกว่า
ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกลั่นเหลือใช้จนต้องขายต่างประเทศ
การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือเบนซินในแก๊สโซฮอล 80กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน(ให้อัตราสิ้นเปลืองLPGมากกว่าประมาณ 10 %)แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติมากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้องไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน
***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิมหากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้นใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่

http://www.crma.ac.th/medept/fuel/ngvlpg.htm

--------------------------------------------------


























-------------------------------------------------


FfF