บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


27 กันยายน 2554

<<< จำลองภาพ เทคนิคการปั่นค่าเงินบาท และ เทคนิคการทุบค่าเงินบาท พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย >>>

เทคนิคการปั่นค่าเงินบาท




โดยเริ่มจากสมมุติปริมาณเงินตั้งต้นดังนี้
1. ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ตั้งต้นในระบบ = 9,000,000 ล้านบาท
2. เงินทุนตั้งต้นในการปกป้องค่าเงินของแบงค์ชาติ (ธปท.) = 1,000,000 ล้านบาท กับ 100,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
3. กองทุนต่างชาติที่เข้ามาโจมตีค่าเงิน รวมเงินทุกกองทุนที่สามารถสุมหัวโจมตีได้ = 100,000,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

เมื่อกองทุนต่างชาติขนเงินเข้าไทย 100,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
ณ อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาท ต่อดอลล่าห์สหรัฐ
แบงค์ชาติจะได้เงินมา 100,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
และต้องหาเงินบาท 3,500,000 ล้านบาทไปให้
ด้วยการไปกู้เงินหรือออกพันธบัตรดูดเงินบาทที่ใช้จ่าย
หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงอยู่ในธนาคาร
และในมือบริษัทห้างร้านและประชาชนทั่วไป
อีก 2,500,000 ล้านบาท ทำให้เกิดเงินฝืดขึ้น
เพราะแทนที่เงินจำนวน 2,500,000 ล้านบาท
จะยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจหรือปล่อยกู้ให้ภาคการผลิตที่แท้จริง
ก็จะถูกดูดออกนอกประเทศหรือไปอยู่ในมือกองทุนต่างชาติ
โดยอาจนำไปเล่นหุ้นหากำไรช่วงยังที่ไม่ขนเงินกลับ
ตัวเลขเงินทุนสำรองก็ดูสวยเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
แต่ไม่สามารถนำไปทำอะไรได้ รอวันโดนซื้อคืนกลับไป

เมื่อมีเงินดอลล่าห์สหรัฐไหลเข้าประเทศมากขึ้น
ค่าเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้นโดยธรรมชาติ
อาจไม่ขึ้นเร็วทันทีทันใดเพราะมีแบงค์ชาติคอยปกป้องค่าเงินเป็นระยะๆ
แต่รวมๆ แนวโน้มมันจะค่อยๆ แข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ
ถ้าไม่มีเหตุการณ์พลิกผันหรือสถานการณ์ทำให้ตื่นตะหนกอะไร
เมื่อถึงเวลาได้กำไรมากๆ โดยเฉพาะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก
เช่นตัวอย่างขึ้นไปที่ 30 บาทต่อดอลล่าห์สหรัฐ
ก็จะนำเงิน 3,500,000 ล้านบาทมาขาย
ได้เงิน 116,666.67 ล้านดอลล่าห์สหรัฐคืนกลับไป
ซึ่งมีกำไร 16,666.67 ล้านดอลล่าห์สหรัฐด้วย
โดยแบงค์ชาติจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ประมาณ 500,000 แสนล้านบาท ณ 30 บาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐ
ไม่รวมดอกเบี้ยที่ไปกู้เงินบาทอีกจำนวนหนึ่ง
เมื่อแบงชาติคืนเงินกู้ 2,500,000 ล้านบาท
ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจก็กลับเพิ่มขึ้น
จากที่อยู่ในระยะเงินฝืดก็กลับมาเป็นเงินไหลลื่นมากขึ้น
เสี่ยงต่อการเกิดอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น
ถ้าระยะเงินฝืดเกิดนานจนรู้สึกชินไปแล้ว

--------------------------------------------------------

เทคนิคการทุบค่าเงินบาท





โดยเริ่มจากสมมุติปริมาณเงินตั้งต้นดังนี้
1. ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ตั้งต้นในระบบ = 9,000,000 ล้านบาท
2. เงินทุนตั้งต้นในการปกป้องค่าเงินของแบงค์ชาติ (ธปท.) = 1,000,000 ล้านบาท กับ 100,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
3. กองทุนต่างชาติที่เข้ามาโจมตีค่าเงิน รวมเงินทุกกองทุนที่สามารถสุมหัวโจมตีได้ =100,000,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

เริ่มจากกองทุนต่างชาติ เข้ามาระดมเงินบาท
เพื่อใช้ในการทุบค่าเงินบาทด้วยการกู้เงิน
จาก
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย
จากตัวอย่างกู้ไป 3,500,000 ล้านบาท
ทำให้เกิดเงินฝืดในระบบหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
เพราะปริมาณเงินจาก 9,000,000 ล้านบาท
ลดเหลือ 5,500,000 ล้านบาท

เมื่อได้เงินกู้แล้วกองทุนต่างชาติก็ขายเงินบาททันที
ที่อัตราแลกเปลี่ยน ช่วงนั้นสมมุติ 35 บาทต่อดอลล่าห์
ก็จะได้เงิน 100,000 ล้านดอลล่าห์กลับไป
ส่วนแบงค์ชาติก็จะมีเงินบาทเพิ่มขึ้นเป็น 4,500,000 ล้านบาท
แต่เงินบาทไม่นับเป็นเงินทุนสำรองเหมือนเงินดอลล่าห์สหรัฐ
การไม่มีเงินทุนสำรองหนุนหลังเงินบาท
ก็จะทำให้เงินบาทไม่น่าเชื่อถือ
จะกลายเป็นแบงค์กาโม่ได้ในสายตาชาวโลก
จึงจำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินจาก IMF มาเป็นทุนสำรอง
ซึ่งก็ต้องเข้าโปรแกรมมหาโหดของ IMF เป็นการตอบแทน
จากตัวอย่างที่สมมุติขึ้นยืมมา 30,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

การที่มีการขายเงินบาทจำนวนมากๆ ก็ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง
สมมุติว่าอ่อนไปที่ 40 บาท ต่อดอลล่าห์สหรัฐ
กองทุนต่างชาติก็นำเงิน 100,000 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ
เข้ามาขายแล้วซื้อเงินบาทกลับไปได้เงิน 4,000,000 ล้านบาท
นำไปใช้หนี้เงินกู้ 3,500,000 ล้านบาทรวมทั้งดอกเบี้ย
ก็จะได้กำไรประมาณ 500,000 ล้านบาท
ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจากเงินฝืดก็กลับเป็นเงินไหลลื่น
จนอาจเกิดเงินเฟ้อได้ถ้าเกิดเงินฝืดนานจนชิน
เมื่อแบงค์ชาติคืนเงินกู้ให้ IMF ครบเมื่อไหร่
ประเทศไทยก็จะหลุดจากโปรแกรมมหาโหดของ IMF ทันที

--------------------------------------------------------

จะเห็นได้ว่าด้วยปริมาณเงินของกองทุนต่างชาติที่มีมหาศาล
สามารถปั่นและทุบเงินบาทได้อย่างง่ายดาย
แต่กรณีทุบถ้าแบงค์พาณิชย์ใหญ่ๆ ในไทยไม่ร่วมมือ
ไม่อยากได้กำไรจากความพินาศของประเทศ
โอกาสที่ต่างชาติจะหาเงินบาทมากๆ มาทุบก็ลำบากมากขึ้น
วิธีการหนึ่งที่แบงค์ชาติทำเพื่อปกป้องการทุบค่าเงิน
ก็คือการแยกตลาดเงินออกเป็น 2 ตลาดคือ ออนชอร์ กับ ออฟชอร์
ทำให้ต่างชาติไม่สามารถมากู้เงินบาทในประเทศได้ง่ายๆ
ซึ่งวิธีการนี้สู้จนเจ๊งในปี 40 แล้วถึงคิดทำกัน

ปล. เพื่อความเข้าใจหลักการปั่นและทุบค่าเงินบาท
ผมจึงได้พยายามทำให้เห็นภาพง่ายๆ
โดยตัดภาพการซื้อขายประจำวันทิ้ง
และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ
เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ชัดเจนขึ้น

โดย มาหาอะไร
FfF