บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


01 กันยายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา >>>

ปิโตรเลียมเขมรเอาใจปู-เหลี่ยม เผยจรกาสวมตอดอดเจรจาลับ


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ฟิฟทีนมูฟ — ปิโตรเลียมเขมรเอาใจยิ่งลักษณ์-ทักษิณ เร่งเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ตนลากมั่ว หวังเปิดทางสำรวจน้ำมันแบ่งผลประโยชน์ ออกแถลงการณ์คายเรื่องลับ สุเทพดอดเจรจาลับ ซก อาน หลายครั้งทั้งที่ฮ่องกงและคุนหมิง ต้องการเจรจาเรื่องให้จบภายในรัฐบาลมาร์ค เขมรอ้างคายเรื่องลับเพื่อปกป้องตนเองและทักษิณจากพวก ปชป.
องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การกำกับของนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยกล่าวว่า องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การแนะนำของรัฐบาลกัมพูชามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะแสวงหาหนทางสลาย ความขัดแย้งให้มีความเท่าเทียมและโปร่งใส บนพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของพระราชอาณาจักรไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งบันทึกความเข้าใจฯ นี้ ได้แจกแจงเกี่ยวกับพื้นที่ที่ต้องกำหนดเขตแดน (Area to be Delimited) และพื้นที่ที่ต้องพัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area)
แถลงการณ์กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจฯ ๒๕๔๔ ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นชอบบนกระดาษเท่านั้น หากแต่ประเทศทั้งสองได้ใช้ทรัพยากรและความเอาใจใส่อย่างสูงในการปฏิบัติตาม บันทึกความเข้าใจฯ นี้ โดยตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม อนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะทำงาน ๒ คณะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดนและการพัฒนาร่วม
การหารือและเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองมีความก้าวหน้าอย่างมากในระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๕๐ ประเทศทั้งสองได้มีข้อเสนอที่แตกต่างกันสองแบบสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) กล่าวคือ ข้อเสนอสลายข้อติดขัด (Break-through Proposal) (แบ่งเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่) เสนอโดยฝ่ายกัมพูชา และข้อเสนอแบ่งพื้นที่พัฒนาร่วมออกเป็น ๓ เขต (Three-zone Proposal) ที่เสนอโดยฝ่ายไทย
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ ส.ค. ๕๔แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ ส.ค. ๕๔
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
ในระยะสามปีที่ผ่านมานี้ แม้ไม่ใช่การประชุมคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) อย่างเป็นทางการก็ตาม รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ต่อสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อเจรจาปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลหลายครั้ง รวมทั้งมีการประชุมระหว่างสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ที่ จ.กณดาล ประเทศกัมพูชา และการพบกันอย่างลับ ๆ ระหว่างนายสุเทพ และรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน ที่ฮ่องกง เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และที่คุนหมิง วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างการพบกันนั้น นายสุเทพได้แจ้งความต้องการอย่างสูงที่จะแก้ปัญหานี้ให้จบในสมัยของรัฐบาล อภิสิทธิ์ การเจรจาลับเกิดขึ้นตามการร้องขอของอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ยืนยันว่าได้รับการแต่งตั้งจากอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นว่าเหตุใดต้องมีการเจรจาเป็นการลับ? ในช่วงของรัฐบาลก่อน ๆ ทุกการเจรจาทำขึ้นอย่างเปิดเผย แต่ถูกกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีผลประโยชน์ซ่อนเร้น กัมพูชามีความเคลือบแคลงอย่างมากว่า เหตุอะไรรัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจำเป็นต้องทำการเจรจาลับ? ประชาชนไทยหรือสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ทราบเกี่ยวกับการเจรจานี้ด้วยหรือ ไม่? ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ชี้แจงไปจนถึงกล่าวหา ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่เจรจาแบบเปิดเผยกับกัมพูชา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงกับกัมพูชา และขัดขวางการดำเนินการเจรจาระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทย ในการเจรจากับกัมพูชา กัมพูชามีความจำเป็นต้องแสดงเรื่องปกปิดอำพรางนี้ เพื่อการปกป้องตนเองของกัมพูชา และ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อต้านการบิดเบือนจากพวกประชาธิปัตย์ในประเทศไทย
รัฐบาลใหม่ นำโดยนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้มีการพบหารือหรือยกข้อเสนอใดกับรัฐบาลกัมพูชา ในการแก้ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนแต่อย่างใด อย่าว่าแต่จะมีข้อเสนอใดเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์ส่วนตัว ดังที่ได้มีการกล่าวหาโดยนางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาฯ ไทย ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔

แถลงการณ์กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลกัมพูชายินดีต้อนรับการเริ่มต้นเจรจากันอีกครั้งอย่างเปิดเผยและเป็น ทางการในปัญหานี้ และต่อเนื่องการแก้ปัญหาการงานนี้ให้ได้โดยเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง
http://www.15thmove.net/news/petroleum-khmer-reveals-suthep-secret-talk/
--------------------------------------
การเมือง
วันที่ 30 สิงหาคม 2554 20:20
กัมพูชาแถลงการณ์อัด'อภิสิทธิ์'ชม'ทักษิณ'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กัมพูชา ออกแถลงการณ์เปิดรับ'ยิ่งลักษณ์'เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล การันตี'ทักษิณ ไม่มีผลประโยชน์ร่วม แฉรัฐบาล'อภิสิทธิ์'ขอเจรจาลับ

ในวันนี้(30 ส.ค.) องค์การปิโตเลียมแห่งชาติกัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงการดำเนินการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ในอ่าวไทย ซึ่งในการเจรจาภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสมเด็จฮุน ขอปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา รวมถึงข้อกล่าวหาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ทำลายการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลลง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นี้ก็มีความพยายามติดต่อเจรจาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมายังรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น ด้วย

นอกจากนี้ แถลงการณ์ได้แสดงความยินดีจะเปิดการเจรจากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกี่ยวกับเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ทั้ง 2 ประเทศ

ในแถลงการณ์ มีเนื้อหาระบุ โดยได้อ้างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิ.ย.2544 และการจัดตั้งเขตพัฒนาร่วม ซึ่งเอ็มโอยูปี 2544 ไม่ใช่เอกสารธรรมดา แต่เป็นเอกสารบันทึกความเข้าใจของ 2 ประเทศ ที่ได้จัดตั้งคณะงานทางเทคนิค ขึ้นมาเจรจาในเรื่องเขตแดน ในระหว่างปี 2544 - 2550 โดย 2 ประเทศประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งได้เกิดข้อเสนอในหลายประการ ทั้งในเรื่องการแบ่งโซนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทย

แถลงการณ์ ระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานไม่ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการ แต่ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ พยายามติดต่อเพื่อเปิดเจรจาในเรื่องนี้กับทางรัฐบาลฮุน เซ็น โดยมีการประชุมระหว่างสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ที่ จ.กันดาน ใกล้กับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระหว่างนายสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ที่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2552 และที่คุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชน ในวันที่ 16 ก.ค.2553 ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว นายสุเทพ ได้แสดงความตั้งใจ และอ้างพันธะที่ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ ในการดำเนินการเปิดเจรจาดังกล่าว ที่นำไปสู่คำถามจากรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น ว่า ทำไมถึงต้องมีการประชุมลับ ทั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ สามารถเจรจากับกัมพูชาได้อย่างเปิดเผย

แถลงการณ์ ได้อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหาการเจรจาครั้งก่อนๆ ว่า เต็มไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวมากมาย ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงขอถามว่า ทำไมภายใต้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะต้องมีประชุมลับเช่นนี้ด้วย ซึ่งประชาชน ส.ส.ของไทย และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ทราบถึงการเจรจาทางลับนี้หรือไม่ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขระนี้ ได้ประกาศยืนยันความโปร่งใสครั้งแรกครั้งเหล่า แล้วที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น นายอภิสิทะ ได้กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งทำงานกับกัมพูชาอย่างเปิดเผย ว่า มีผลประโยชน์ส่วนตัวกับกัมพูชา นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังคงพยายามขัดขวางการเจรจาระหว่างรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความจำเป็นเปิดเผยความลับนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ประชุมใดๆ กับกัมพูชา หรือมีข้อเสนอใดกับกัมพูชา เกี่ยวกับการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวหาในการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 23 - 25 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยินดีจะเปิดการเจรจาอีกครั้งในเรื่องนี้ ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 2 ประเทศ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20110830/407204/กัมพูชาแถลงการณ์อัดอภิสิทธิ์ชมทักษิณ.html
--------------------------------------

"นายกฯ สั่งกต.สอบเหตุเขมรอ้างเจรจาลับสุเทพ

“นายกฯปู” เต้นห่วงสัมพันธ์ไทย-เขมรร้าว สั่ง กต.สอบแถลงการณ์เขมร ซัด”สุเทพ-ประวิตร”ถกลับเอี่ยวผลประโยชน์พลังงาน ยัน ทักษิณไม่มีธุรกิจพลังงาน...

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 10.45 น. นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึง กรณีที่องค์กรปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ออกแถลงการณ์ระบุว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม เดินทางไปเจรจาลับผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ที่ฮ่องกงและคุนหมิง ประเทศจีน ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดข้อสงสัย จึงได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศไปดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพราะเป็นห่วงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ขณะนี้มีแนวโน้วที่จะดีขึ้น และนายกฯ ยังตั้งใจที่จะเดินทางไปเยือนกัมพูชาในเร็ว ๆ นี้ด้วย

นางฐิติมา กล่าวว่า ทั้งนี้นายกฯยืนยันว่าการเจรจา ในทุกรัฐบาลควรจะต้องมีขั้นตอน มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นรัฐบาลชุดนี้จึงต้องการให้ทุกอย่างมีความโปร่งใส และไม่อยากให้ประชาชนเกิดความสงสัยในรัฐบาลชุดนี้ และถ้าจะมีการเจรจาจะต้องเป็นการเจรจาเปิดเผยเหมือนอย่างที่รัฐบาลชุดก่อน ๆ ปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือนายสมัคร สุนทรเวช ไม่อยากให้ทำในทางลับเหมือนอย่างรัฐบาลที่แล้วที่ถูกกล่าวหาว่าเจรจาในทางลับ ซึ่งภาษาไทยคำว่าทางลับก็เข้าใจง่ายๆ ว่าทางลับแสดงว่ามีอะไรหรือเปล่า มีผลประโยชน์อะไรทับซ้อนหรือไม่

เมื่อถามว่า ที่รัฐบาลออกมาส่ง กต.ตรวจสอบเรื่องนี้เป็นการแก้เกี้ยวหรือเบี่ยงเบนประเด็น กรณีที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีผลประโยชน์ทางธุรกิจในกัมพูชาหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าไม่มีธุรกิจนี้ ซึ่งเราต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้บริหารพรรคเพื่อไทยด้วย

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวการเมือง
1 กันยายน 2554, 12:45 น.

http://www.thairath.co.th/content/pol/198526
--------------------------------------

FfF