กกร.เตือนมหันตภัย ศก.โลก จ่อปะทุ “ชาติศิริ” แจงคนแห่กู้ดอลล์เพราะ ดบ.ถูกกว่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 ตุลาคม 2554 09:27 น.
ปธ.หอการค้าฯ ชี้วิกฤตหนี้ยุโรปไร้ทางออกสะเทือน ศก.ทั่วโลก กกร.เตรียมถกนายกฯ ในเวที กรอ. หาแนวทางรับมือ พร้อมชง 4 ประเด็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง ทั้งการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม การรับจำนำข้าว และค่าแรง 300 บาท นายกสมาคมแบงก์ยอมรับคนแห่กู้ดอลลาร์เพราะดอกเบี้ยถูกกว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ชี้เงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลาย แนะจับตาการประชุม กนง.กลางเดือนนี้
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวถึงการประชุมบอร์ด กกร.วานนี้ โดยระบุว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ กกร.เตรียมเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) 4 ประเด็น ได้แก่ ความเป็นห่วงในวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการส่งออก แม้ขณะนี้ตลาดส่งออกหลักของไทยกว่าร้อยละ 30 จะอยู่ในอาเซียน แต่ก็ยังไม่สามารถทิ้งตลาดหลักอย่างยุโรปที่มีสัดส่วนส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 10 ได้ และไม่แน่ใจว่าสหภาพยุโรป (อียู) จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้ได้หรือไม่ โดยขณะนี้มีสัญญาณว่ายอดคำสั่งซื้อสินค้าเริ่มชะลอตัวลงแล้ว ทำให้การส่งออกปีหน้าคาดว่าจะลดลงอยู่ร้อยละ 10 ส่วนการส่งออกปีนี้ยังไม่มั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ร้อยละ 20 หรือไม่
นอกจากนี้จะหารือถึงมาตรการฟื้นฟูหลังปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลงเพื่อช่วยหามาตรการบรรเทาความเดือดร้อน และมาตรการการรับจำนำข้าว ซึ่ง กกร.เป็นห่วงว่าจะกระทบเศรษฐกิจในระยะยาว และความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออกข้าวในตลาดโลก รวมถึงเม็ดเงินที่จะใช้ในการรับจำนำ จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาผลกระทบที่ชัดเจนและข้อเสนอแนะที่จะมีต่อรัฐบาล ส่วนมาตรการปรับค่าแรง 300 บาทต่อวัน กกร.เห็นว่าจะกระทบเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น-ระยะยาว และขีดความสามารถแข่งขันของประเทศให้ถดถอยลงมาก จึงยืนยันที่จะให้มีระยะเวลาในการปรับขึ้นค่าแรง พร้อมเปิดทางให้มีมาตรการอื่นเสริม เช่น ให้สามารถนำสวัสดิการที่จัดให้มาคำนวณเป็นค่าแรงได้
ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สมาชิกสมาคมได้หารือและยืนยันที่จะดูแลลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยจะมีมาตรการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
นายชาติศิริยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น และตลาดเงินในระดับหนึ่ง และเชื่อว่าจะกระทบต่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยไม่มาก และคงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในทางอ้อมซึ่งต้องประเมินสถานการณ์อีกระยะหนึ่ง ส่วนกรณีมีกระแสข่าวว่าผู้ส่งออกแห่กู้เงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าไทย ยอมรับเป็นไปตามสภาพตลาด และมีการกู้เงินสกุลดอลลาร์เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถือว่าผิดปกติ และปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นก็ไม่ควรมีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อในปีหน้า
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 19 ตุลาคม 2554 นั้น นายชาติศิริ กล่าวว่า คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กนง. แต่มองว่าขณะนี้แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้
http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125988
-------------------------------------------
การที่การที่นายแบงค์มาบอกว่า
ผู้ส่งออกแห่กู้เงินดอลล่าห์
เพราะอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าไทย
มองแล้วเป็นเรื่องแก้ตัวมากกว่า
กู้เงินเยนน่าจะถูกกว่าดอลล่าห์ทำไมไม่ไปกู้
<<< เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในแต่ละประเทศ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/10/blog-post_7380.html
แต่ที่มีการกู้เงินดอลล่าห์ก็เพื่อจะเก็งกำไรมากกว่า
เพราะค่าเงินดอลล่าห์กำลังแข็งค่าขึ้น
ดูกราฟเงินบาทมีแนวโน้มกำลังอ่อนค่าลง
และในตลาดโลกเงินดอลล่าห์กำลังแข็งค่าขึ้น
ในขณะที่ทองน้ำมันหุ้นร่วงกราว
พวกมากว้านซื้อเงินดอลลล่าห์แบงค์ช่วงนี้
อาจไม่ใช่ผู้ส่งออก อาจเป็นกองทุนเก็งกำไรของต่างชาติ
และเผลอๆ อาจมีการรวมมือกันกับแบงค์ใหญ่ในไทย
ผสมร่วมเก็งกำไรด้วย สมมุติผมเป็นนายแบงค์
ต้องการจะทำกำไรในขณะเห็นแนวโน้มว่าเงินบาทกำลังอ่อน
จะทำยังไงง่ายมาก ก็ไปตั้ง บ. ต่างแดน
แล้วขอกู้เงินดอลล่าห์ระยะยาวแห่กู้กันมากๆ
ก็ฉุดดอลล่าห์แข็งเงินบาทอ่อนลงโดยอัตโนมัต
เดี๋ยวพอไหลไปที่ 35 บาท ก็ขายได้กำไรส่วนต่างมากมาย
เช่น ลงทุน 3 แสนล้านอาจได้คืนประมาณเกือบ 5 หมื่นล้านได้เหมือนกัน
แล้ววันไหนแห่ขายกันมากๆ เดี๋ยวดอลล่าห์ก็อ่อน
ก็ไปซื้อมาใช้หนี้ เล่นกันไปเล่นกันมาแบบนี้
ยิ่งมีแบงค์หนุนหลังก็อาจไม่จำเป็นต้องรีบหาเงินดอลล่าห์มาคืน
อาจกู้ระยะยาวหลายปี ดอลล่าห์อ่อนเมื่อไหร่ค่อยซื้อคืนก็ได้
หรืออีกหลายวิธีในการทุบเงินบาท
โดยการกว้านซื้อเงินบาทในต่างประเทศ
แล้วเทขายในตลาดต่างประเทศ
หรือนำมาซื้อดอลล่าห์ในไทยก็ได้
พอดอลล่าห์แข็งค่าขึ้นก็เอามาขายเพื่อซื้อเงินบาท
ก็กำไรเหมือนกันโดยไม่ต้องใช้วิธีกู้
สรุปมันเป็นวิธีการเก็งกำไรค่าเงินดีๆ นี่เอง
ถ้าไม่พูดถึงการอิจฉาคนมีเงินมีช่องทางทำกำไร
ค่าเงินอ่อนสัก 35 บาทต่อดอลล่าห์ก็ดีกับการส่งออก
เรียกว่าถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องกำไรขาดทุนของแบงค์ชาติ
ซึ่งอันที่จริงก็เอาไม่อยู่หรอกยิ่งปล่อยปล่ะขนาดนี้
ที่ปล่อยให้มาเก็งกำไรค่าเงินโดยอ้างว่าผู้ส่งออกมาขอกู้ดอลล่าห์
คงปกป้องไม่ไหวแถมเขามาแลกก็ต้องรับ
ดังนั้นแยกสองตลาดก็ดีหาทางป้องกันแต่เนิ่นๆ
อย่าให้พวกหาเงินบาทโดยการกู้ในประเทศ
แล้วเอามาซื้อดอลล่าห์โดยผ่านการแวะซื้อหุ้นวันสองวัน
แล้วขายทิ้งเพื่อหลบกฏหมายห้ามกู้เงินบาทมาซื้อดอลล่าห์ตรงๆ
ก็แวะไปซื้อหุ้นแล้วขาย แล้วนำมาซื้อดอลล่าห์อีกทีก็ได้ทั้งนั้น
มีหลายวิธีให้เล่น ต้องสู้ด้วยการออกกฏเกณฑ์อย่างเดียวเลย
เหมือนฟีฟ่าเตะบอลแข่งกับทีมเก่งๆ อย่างบราซิล
ฟีฟ่าชนะเพราะเตะไปออกกฏเกณฑ์ห้ามไป
เพื่อให้ฝ่ายตนเองได้ประโยชน์
แต่ถ้าไปลงเตะตรงๆ แพ้ทุกครั้งแน่นอน
โดย มาหาอะไร
FfF