http://maha-arai.blogspot.com/2011/11/blog-post_8791.html
----------------------------------------------------
EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?
updated on:04 Nov 11
ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้
EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ
ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบท ความก่อนหน้านี้ (http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3881)
ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง
ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู
ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน
Content maintained by (04 Nov 11)
EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?
โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้
อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ
- กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
- กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน
ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบท ความก่อนหน้านี้ (http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3881)
ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง
ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู
ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน
Submitted by ITStaff1 on Fri, 04/11/2011 - 13:51.
http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3915
--------------------------------------------------------
สื่อนอกตีข่าวไทยใช้ EM บอลแก้น้ำเสีย แต่ WHO ชี้อาจเปล่าประโยชน์
| ||||
ความพยายามทำและแจกจ่าย "เอฟเฟคทีฟ ไมโครออร์แกนิซึม" หรือ "อีเอ็มบอล" ได้แพร่กระจายไปทั่วเมือง โดยอาสาสมัครรวมตัวกันที่อัมรินทร์ พลาซ่าและสถานที่อื่นๆเพื่อปั้นอีเอ็มบอลหลายแสนลูกสำหรับแจกจ่ายในพื้นที่ ประสบอุทกภัย
ก้อนปั้นขนาดเท่าลูกเทนนิสมีส่วนประกอบของดิน รำ ดินทรายและจุลินทรีย์ เชื่อว่าเมื่อโยนอีเอ็มบอลหนึ่งก้อนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่น้ำท่วมขัง 5 ลูกบาศก์เมตร และอยู่ได้นานกว่า 1 เดือน ทำให้เกิดแนวคิดนำไปฆ่าเชื้อโรคตามพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขังที่อาจแพร่เชื้อ โรคหรือโรคติดต่อต่างๆ
แม้แรกๆสิ่งนี้นำพามาซึ่งความตื่นเต้น ทว่าต่อมาเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขต่างรู้สึกเคลือบแคลงว่ามันอาจไร้ ประโยชน์ โดยเฉพาะในน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนอยู่อย่างเช่นน้ำที่กำลังท่วมไทยในเวลา นี้
"ด้วยเหตุที่มีน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง การเพาะอีเอ็มจึงจะต้องใช้จำนวนมหาศาลถึงจะได้ผล" ดอกเตอร์ มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยกล่าว "นี่อาจเป็นการเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ จนกว่าจะผ่านการทดลองภายใต้การควบคุมเพื่อวัดถึงประโยชน์จริงๆของมัน" พร้อมบอกว่าขณะที่มีการกล่าวอ้างว่าเทคโนโลยีเอฟเฟคทีฟ ไมโครออร์แกนิซึม เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็นสึ นามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเฮอร์ริเคนแคทรินา แต่ก็มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนว่ามันจะได้ผลกับ สถานการณ์ในไทย
มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ตามเว็บบล็อกต่างๆว่าความพยายามปั้นอี เอ็มบอลนี้เปล่าประโยชน์หรือไม่ โดยในบล็อกแห่งหนึ่ง มีคนเอารายงานผลศึกษาของภาควิชาหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่าอีเอ็ม บอลยิ่งแต่ทำให้มลพิษทางน้ำเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากมันจะไปลดระดับออกซิเจน ในน้ำ
ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนลูกบอลนี้บอกว่าแม้มันจะช่วยอะไรได้ไม่มาก แต่ก็อย่างน้อยมันก็เป็นหนึ่งในความพยายามคลี่คลายปัญหาความโสโครกที่กำลัง ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้การปั้นลูกบอลก็เป็นการแสดงออกของชุมชนเพื่อแสดงความสนับสนุนผู้ ประสบภัยคนอื่นๆ
"นี่ไม่ใช่แค่แนวทางบำบัดน้ำ แต่มันยังเป็นแนวทางที่คนเข้าถึงและมีส่วนร่วม" นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์กล่าว
เทคโนโลยีอีเอ็มบอล ถูกใช้ครั้งแรกในญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีการทดสอบในปีนัง มาเลเซีย เพื่อใช้ทำความสะอาดน้ำครำและป้องกันการเติบโตแพร่ขยายของสาหร่าย ซึ่งแตกต่างจากไทยที่กำลังต่อสู้กับน้ำเน่าจากซากสัตว์และสิ่งปฏิกูล ขณะที่อาสามัครที่ร่วมมือกันปั้นอีเอ็มบอลที่อัมรินทร์ พลาซ่า ได้รับคำแนะนำว่าหากหย่อนลูกบอลในบริเวณน้ำไหลเชี่ยวมันก็จะไม่เกิดประโยชน์ ใดๆ
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142193
--------------------------------------------------------
|
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
| ||||||||||||||
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11292055/X11292055.html
--------------------------------------------------------
คณะวิทย์ฯจุฬาฯสรุปผล"อีเอ็มบอล"ไม่ได้ช่วยแก้น้ำเสีย ยังส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลง
จากกรณีการถกเถียงเรื่อง การนำอีเอ็ม (EM-effective microorganism) มาใช้ในการบำบัดน้ำเสียอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปของน้ำอีเอ็ม และลูกบอลอีเอ็ม (EM ball) ในช่วงน้ำท่วมว่า ได้ผลในการบำบัดน้ำเสียจริงหรือไม่นั้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันวิชาการที่เป็นเสาหลักของประเทศไทย นำโดย 1.ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ 2.รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ธนียวัน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา 3.รองศาสตราจารย์ ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา 4.รองศาสตราจารย์ ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล 5.ศาสตราจารย์ ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี 6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา 7.อาจารย์ ดร.อนุสรณ์ ปานสุข อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา และ 8.อาจารย์ ดร.สราวุธ ศรีทองอุทัย อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด และทางเลือกในการใช้อีเอ็มสำหรับสถานการณ์น้ำท่วม ดร.สุพจน์กล่าวว่า ผลการตรวจสอบสรุปว่าการเติมอีเอ็ม หรือเติมผลิตภัณฑ์จากอีเอ็ม ลงไปในน้ำเสียจากแหล่งน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นในทางตรงกันข้าม การเติมอีเอ็มลงไปในน้ำ กลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนภายในน้ำลดลง ซึ่งผลการศึกษาที่ได้ออกมาในครั้งนี้จึงช่วยยืนยันข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีใจความสรุปว่า ถ้าต้องการนำอีเอ็มมาใช้กับน้ำเสียในสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ควรใช้เฉพาะน้ำอีเอ็ม ไม่ใช่ลูกบอลอีเอ็มโดยให้ใช้เฉพาะในบริเวณน้ำท่วมขังเป็นพื้นที่แคบ และให้ตระหนักว่าเป็นการใช้แก้ขัด เพียงเพื่อบรรเทากลิ่นเหม็นและช่วยให้น้ำใสขึ้นชั่วคราวเท่านั้น การใช้อีเอ็มไม่ได้ทำให้น้ำเสียมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นน้ำดีได้ และวิธีการบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุดอย่างยั่งยืน คือ ช่วยกันเก็บขยะของเสียออกจากแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะเพิ่ม เร่งระบายน้ำให้ไหล ไม่ขังนิ่ง และหาทางเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา |
--------------------------------------------------------
FfF