บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


09 พฤศจิกายน 2554

<<< รายละเอียดเกี่ยวกับ EM จาก บริษัทผู้ผลิตในไทย >>>

EM คืออะไร ? article
EM ย่อมาจากคำว่า Effective MicroorganismsTM ซึ่งมีความหมายว่า "กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ"
EM ค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ตามแนวทางของท่านโมกิจิ โอกาดะ ระหว่าง พ.. 2510-2525 ได้พบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เป็นดังนี้

ทั้งจุลินทรีย์ต้องการอากาศ
(Aerobic microorganisms) และจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic microorganisms) นั้นทำงานร่วมกันในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันบ้าง และขัดแย้งกันบ้าง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์ดี หรือกลุ่มสร้างสรรค์ มีประมาณ 5-10 %
2. กลุ่มจุลินทรีย์ก่อโรค หรือกลุ่มทำลาย มีประมาณ 5-10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีมากถึง 80-90 %

ลักษณะการทำงาน
1. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มดีหรือกลุ่มสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่ม ก่อโรค โลกจะอยู่ในสภาวะสร้างสรรค์ สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากมลพิษและโรคภัยทั้งปวง
2. ถ้ามีจุลินทรีย์กลุ่มก่อโรคหรือกลุ่มทำลายมากกว่ากลุ่ม ดี สภาวะโลกจะตรงข้าม คือเกิดมลภาวะเน่าเหม็น มีโรคระบาด เป็นสภาวะทำลาย
3. ส่วนกลุ่มเป็นกลางจะคอยช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่าให้สามารถแสดงปฏิกิริยาได้มากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ได้คัดสรรเอาเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มดีที่มีประโยชน์มาเลี้ยงรวมด้วยเทคนิคพิเศษ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM (Effective Microorganisms)
+++++

ทำไมต้องใช้ EM ? article

อาณาจักรพืช ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยซากพืช-ซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ย
อาณาจักรสัตว์ ต้องกินพืชหรือสัตว์ หรือทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในกระบวนการย่อยอาหารก็เป็นจุลินทรีย์
อาณาจักรจุลินทรีย์ เป็นผู้ย่อยสลายซากพืช-ซากสัตว์เป็นอาหารและขับถ่ายออกไปเป็นสารอาหารแก่พืชและสัตว์
การเกษตรเคมี เป็นการตัดวงจรธรรมชาติ ทำให้พืช สัตว์ และจุลินทรีย์มีปัญหา

ในสภาวะธรรมชาติ กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์อันมีซากพืช-ซาก สัตว์ให้กลายเป็นสารอาหารแก่พืชนั้น เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์ แต่ปัจจุบัน มีการทำลายป่า การเกษตรก็ใช้วิธีเผา ไถ ตากแดด พ่นสารพิษสารเคมี อันเป็นการทำลายจุลินทรีย์โดยตรง
ในสภาวะเช่นนี้ การจะงดเกษตรเคมี หันกลับมาใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรธรรมชาติ ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นหามีประโยชน์ใดไม่ และอาจจะมีผลเสียด้วยซ้ำ เพราะในดินธรรมชาติขาดผู้ย่อยสลายคือ จุลินทรีย์

การค้นพบ EM จึง เป็นหนทางที่จะนำไปสู่เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรธรรมชาติได้ โดยการเติมผู้ย่อยสลาย หรือจุลินทรีย์ลงไปในธรรมชาติความเป็นจริงจุลินทรีย์ตามธรรมชาติเกิดเองได้ แต่ต้องงดการใช้เคมี ไม่มีการเผา หรือไถตากแดดต่อเนื่องเป็นเวลา 5-10 ปี การทำเกษตรอินทรีย์จึงจะได้ผล แต่ปัญหาคือรอไม่ได้ EM จะช่วยทุ่นเวลา ณ จุดนี้ให้สามารถทำเกษตรธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ได้ทันที จุดเด่นสำคัญของ EM คือ ใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นในด้าน

กล่าวคือ เมื่อมี EM ก็ สามารถทำได้ทุกเรื่องแบบผสมผสาน ซึ่งเคมีทำมิได้ การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ จึงมีหนทางที่จะดำเนินการได้เป็นอย่างดี ทั้งเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรทฤษฎีใหม่หากมีการใช้ EM กันอย่างกว้างขวางแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะได้ กระบวนการทำงานของ EM จะเกิดออกซิเจน (O2) เนื่องจาก EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic) เป็นส่วนใหญ่ อันมีผลนำไปสู่การเพิ่มโอโซนในชั้นบรรยากาศ และลดการเกิดภาวะเรือนกระจก
+++++
EM ขยาย ไม่ใช่หัวเชื้อ EM article
เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีในการใช้ EM ขออธิบายความแตกต่างระหว่าง EM หัวเชื้อกับ EM ขยาย ดังนี้
EM หัวเชื้อ คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผลิตจากโรงงานของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด เท่านั้น และยังไม่ได้แปรสภาพ
EM ขยาย คือ การกระตุ้นให้จุลินทรีย์อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน โดยการให้อาหาร
ผู้ที่ได้เรียนรู้เรื่อง EM ขยาย แรกๆ ผสมอัตราส่วน 1:1:100 หมักไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง - 3 วัน ขยายต่อได้ไม่เกิน 5 ครั้ง
ต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนเป็น 1:1:50 ขยายต่อเนื่องได้ 3 ครั้ง
ปัจจุบันตั้งแต่ ปี 2542 เป็นต้นมา ใช้อัตราส่วนการขยาย EM 1:1:20 ไม่มีการขยายต่อ
ขอเรียนให้ผู้ใช้ EM ว่า เทคนิคการใช้ EM จะเปลี่ยนตามผลการวิจัยของ EMRO (EM Research Organization) ผลการวิจัยบ่งบอกว่า อัตราส่วน 1:1:20 ดี ที่สุด หรือมีประสิทธิภาพสูงสุด หากขยายต่ออีกจะทำให้จุลินทรีย์บางกลุ่มหายไป โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีความสำคัญที่สุดด้วย
เทคโนโลยี EM จำเป็นต้องปรับเทคนิควิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด การขยาย EM จึงเป็นดังปัจจุบันนี้ คือ ใช้ส่วนผสม EM : กากน้ำตาล : น้ำ ในอัตราส่วน 1:1:20
ระยะการหมัก 7 วัน
หลังการหมัก 7 วัน มวล จุลินทรีย์จะมีความหนาแน่นมากที่สุดอยู่เป็นเวลา 7 วัน ต่อจากนั้นก็จะมีจำนวนลดลง จึงมีคำแนะนำให้หมัก 7 วัน และใช้ให้หมดภายใน 7 วัน หลังการหมัก
ท่านที่ไปซื้อ EM ขยาย หรือไปรับ EM ขยาย แจก รู้หรือไม่ว่า เขาขยายมากี่วันแล้ว และจะเอาไปใช้กับอะไรให้หมด หลังการหมักขยายแล้ว 7 วัน ให้ทันเวลา 7 วัน ผู้ใช้ EM ต้องระลึกเสมอว่า
- EM มีชีวิต EM จะผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโต พืชจะเจริญงอกงาม
- EM ตาย จะมีกลิ่นเหม็นเน่า จะเป็นสารกำจัดพืชอย่างดี เมื่อนำไปใช้จะทำให้พืชตาย และแจกก็ควรบอกกับผู้รับด้วยว่า แจก EM ขยาย เพราะคำว่าแจก EM กับ EM ขยาย ความหมายนั้นต่างกัน
จึงขอสรุปว่า : อย่าเห็นแก่ของแจก อย่าดีใจกับของถูก ควรระลึกเสมอว่า ต้องได้ผลดี ของดีราคาถูกไม่มี ของฟรีวิเศษไม่มี ขยาย EM และใช้ด้วยตนเองนี่แหละดีแน่นอนที่สุด
คำเตือน : 1. อย่านำ EM ขยาย หรือจุลินทรีย์ที่อ้างว่าเป็น EM หรือ EM ที่ลอกเลียนแบบ ไปให้สัตว์กิน เพราะอาจเกิดผลเสีย และเป็นอันตรายต่อสัตว์
2. ผลจากการใช้ EM ขยาย ที่วางจำหน่ายหรือได้รับแจกจากหน่วยงานต่างๆ บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
ลักษณะของ EM ขยาย

+++++

EM ไม่ได้มาจากการหมักเศษอาหาร article

"วิภูษิต"
wipusit_sp@hotmail.com

+++++

เกษตรธรรมชาติคิวเซคืออะไร ? article

ท่านโมกิจิ  โอกาดะ  ผู้ริเริ่มเกษตรธรรมชาติคิวเซ
ท่านโมกิจิ โอกาดะ
ผู้ริเริ่มเกษตรธรรมชาติคิวเซ
คิวเซ แปลว่าช่วยเหลือโลก เกษตรธรรมชาติคิวเซ คือการทำเกษตรธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือโลก
เกษตรธรรมชาติคิวเซ เป็นการเกษตรที่ดำเนินตามปรัชญาของท่าน โมกิจิ โอกาดะ ผู้ก่อตั้งองค์การเกษตรธรรมชาติขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.. 2478 ได้กล่าวเตือนว่า อีก 60 ปีข้างหน้าจะมีอาหารเต็มท้องตลาด แต่หารับประทานไดไม่ และบอกว่าหากจะทำเกษตรธรรมชาติต้องทำให้ "ดินมีชีวิต"

ดินมีชีวิต คือ ดินที่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากมาย สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ช่วยให้ดินมีพลัง ทำให้พืชเจริญงอกงาม สมบูรณ์ แข็งแรง ทนทาน ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวน

สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินที่สำคัญที่สุด คือ
จุลินทรีย์ เกษตรธรรมชาติคิวเซได้อาศัยเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือ Effective MicroorganismsTM (EM) เพื่อสร้างความสมบูรณ์ในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นเทคนิคเกษตรธรรมชาติที่งดการใช้เคมีได้ 100 % อัน มีผลทำให้สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างระบบนิเวศธรรมชาติขึ้นมาใหม่ได้ และทำให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพสูง สามารถใช้ได้ทั้งการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เป้าหมายของเกษตรธรรมชาติคิวเซ
1. เสริมสร้างสุขภาพของมนุษย์ โดยการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ สารเคมี มีคุณภาพทางโภชนาการ และรสชาติดี
2. ให้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและจิตใจ ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
3. เป็นการเกษตรที่ง่าย ทุกคนสามารถทำได้
4. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพิ่มพลังของดิน
5. ผลิตอาหารได้เพียงพอต่อการเพิ่มของประชากรโลกในอนาคต
+++++
การประยุกต์ใช้ EM แบบน้ำ article
การใช้ EM แบบน้ำ เป็นการใช้ EM หัวเชื้อโดยตรง และนำ EM หัวเชื้อ ไปประยุกต์เป็น EM ขยาย, สารขับไล่แมลง, ฮอร์โมน ฯลฯ

EM หัวเชื้อ

1. EM หัวเชื้อ ใช้ประโยชน์ได้ทุกอย่าง แต่บางกรณีควรใช้ EM ขยายแทน ยกเว้นในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ การใช้ในครัวเรือน และเพื่อการหมักทุกชนิดให้ใช้ EM หัวเชื้อ ซึ่งจะมีรายละเอียดการใช้เฉพาะเรื่องนั้นๆ ต่อไป
2. EM ขยาย เป็นการปลุกจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพักให้ตื่นขึ้น โดยการให้อาหาร ทำให้เพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นๆ
วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) ใส่น้ำครึ่งลิตร เติม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 40 ซีซี (4 ฝา หรือ 4 ช้อนแกง) เขย่าให้ละลาย แล้วเติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้ และควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน
หมายเหตุ
1. น้ำต้องสะอาด เช่น น้ำฝน น้ำบ่อ หากเป็นน้ำประปาต้องใส่ภาชนะ เปิดฝาไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหย
2. ภาชนะที่ใช้ในการหมักควรเป็นภาชนะที่ไม่แตก ง่าย เนื่องจากจะเกิดแรงดันในระยะที่หมัก และต้องมีฝาที่ปิดสนิท เช่น ฝาเกลียว หากภาชนะไม่มีฝา ใช้พลาสติกคลุม ยางรัดแน่น
3. คำว่าฝาหมายถึง ฝาแกลลอน EM ขนาด 1 ลิตร

EM 5 หรือสุโตจู
EM5 หรือสุโตจู เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่นเป็นประจำ พืชจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน
ส่วนผสม
1. EM
1
ส่วน

2. กากน้ำตาล
1
ส่วน
3. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 %
1
ส่วน
4. เหล้า 35-40 ดีกรี
1
ส่วน
5. น้ำสะอาด
6
ส่วน
ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวง ภาชนะหมัก หากทำในปริมาณไม่มาก สามารถใช้ขวดน้ำอัดลมได้ แต่ควรมีลักษณะเป็นฝาเกลียว ปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้
วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) ใส่น้ำครึ่งลิตร เติมกากน้ำตาล น้ำส้มสายชู เหล้า และ EM อย่างละ 100 ซีซี (10 ฝา หรือประมาณครึ่งแก้ว) เขย่าให้ละลาย แล้วเติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 15 วัน แล้วนำไปใช้ได้*ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน

วิธีใช้ ผสมน้ำ 1,000 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ EM5 1 ฝา) ฉีดพ่น
- พืชผัก ทุก 5-7 วัน
- ไม้ดอก ทุก 7-10 วัน
- พืชไร่ พืชสวน ทุก 15 วัน
หากมีแมลงศัตรูพืชมาก ฉีดพ่นให้บ่อยขึ้น

หมายเหตุ
1. ถ้าเป็นพืชใบแข็งใช้อัตราส่วน 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ EM5 2 ฝา)
2. สามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ได้
3. ควรฉีดพ่นช่วงก่อนค่ำ หรือเช้าตรู่
4. สารเอสเทอร์ที่เกิดจากการหมัก EM5 จะทำให้ระบบการย่อยอาหารของแมลงศัตรูพืชไม่สามารถทำงานได้ ทำให้ท้องอืดตาย
5. สามารถผสมสารจับใบ เช่น กากน้ำตาล นมสด น้ำว่านหางจระเข้ ใน อัตราส่วนเท่ากับ EM5 ได้


ซูเปอร์ EM 5 หรือซูเปอร์สุโตจู
ซูเปอร์ EM5 เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชเฉพาะกิจ แทน EM5 ในช่วงที่แมลงลงมาก หรือหมัก EM5 ไม่ ทัน ใช้เป็นสารกดใบอ่อน และใช้ ในด้านการประมง การเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการกำจัดเหา เห็บ หมัด รังแค ด้วย
ส่วนผสม

1. EM
1
ส่วน
2. กากน้ำตาล
1
ส่วน
3. น้ำส้มสายชูกลั่น 5 %
1
ส่วน
4. เหล้า 35-40 ดีกรี
2
ส่วน
ส่วน ยึดตามภาชนะที่ใช้ตวง ภาชนะหมัก หากทำในปริมาณไม่มาก สามารถใช้ขวดน้ำอัดลมได้ แต่ควรมีลักษณะเป็นฝาเกลียว ปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้
วิธีทำ กรณีที่จะขยายในภาชนะ 1 ลิตร (ภาชนะที่ใช้ต้องมีฝาปิดสนิท) เติมกากน้ำตาล น้ำส้มสายชู และ EM อย่างละ 200 ซีซี (1 แก้ว) และเหล้า 400 ซีซี (2 แก้ว) เขย่าให้ละลาย ปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปใช้ได้
*ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน

วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 1,000 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 1 ฝา) ฉีดพ่นช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชมาก
2. ใช้กดใบอ่อนระยะผลิดอกออกผล เกิดใบอ่อน ผสมน้ำ 1 : 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 2 ฝา)
3. ใช้แก้ปัญหาการประมง เช่น กรณีมีโรคระบาด หรือมีอาการผิดปกติของสัตว์น้ำ ใช้ซูเปอร์ EM5 ไร่ละ 3-5 ลิตร (ขึ้นอยู่กับอาการของโรค)
4. ใช้กำจัดเหา เห็บ หมัด และแมลงต่างๆ ที่เป็นอันตราย รวมถึงรังแคของสุนัข ผสมน้ำ 50 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ซูเปอร์ EM5 1 แก้ว) อาบ หรือฉีดพ่น
5. สามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ได้
6. สามารถผสมสารจับใบ เช่น กากน้ำตาล นมสด น้ำว่านหางจระเข้ ในอัตราส่วนเท่ากับซูเปอร์ EM5 ได้

สารสกัดพืชหมัก (EM F.P.E.)
สารสกัดพืชหมัก (EM Fermented Plant Extract) มี คุณภาพเป็นปุ๋ย ฮอร์โมน และภูมิต้านทานโรค เป็นการนำยอดพืชที่อายุยืน แมลงไม่ชอบ โดยเก็บก่อนถูกแสงอาทิตย์ หรือเป็นพืชอื่นๆ ที่ยังอ่อนอยู่ เช่น หญ้า หน่อไม้ ผลไม้ เป็นต้น ให้ได้หลายๆ ชนิด มาหมักใช้ประโยชน์แทน EM5 ได้
ส่วนผสม
1. ยอดพืชหลายชนิด หน่อไม้ หญ้า หรือผลไม้อ่อน(หล่น)
10
ลิตร
2. น้ำสะอาด
10
ลิตร (ท่วมพอดี)
3. EM
100
ซีซี (ครึ่งแก้ว)
4. กากน้ำตาล
100
ซีซี (ครึ่งแก้ว)
5. น้ำทะเล หรือเกลือแกง (ถ้ามี)
1
ช้อน
อัตราส่วน โดยประมาณ
วิธีทำ
- สับหรือหั่นพืชที่ เป็นส่วนผสมให้ละเอียด ใส่ภาชนะหมัก 10 ลิตร เติมน้ำอีก 10 ลิตร (ท่วม พอดี)
- เติมกากน้ำตาล 100 ซีซี หรือประมาณครึ่งแก้ว
- เติม EM 100 ซีซี หรือประมาณครึ่งแก้ว
- เติมน้ำทะเล 100 ซีซี เท่ากัน หากไม่มีเติมเกลือแกง 1 ช้อน
- คนให้เข้ากันแล้วปิดไม่ให้อากาศเข้าออกได้ หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน กรองแยกน้ำและกาก ออกจากกัน กากนำไปฝังเป็นปุ๋ย น้ำใส่ภาชนะปิดฝาเก็บไว้ใช้


วิธีใช้ ผสมน้ำ 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ EM F.P.E. 2 ฝา) พ่นได้ทุกระยะ
- ผัก 3-5 วัน/ครั้ง
- ไม้ดอก 7-10 วัน/ครั้ง
- ไม้ยืนต้น พืชไร่ นา เดือนละ 2 ครั้ง


ประโยชน์ เป็น ปุ๋ย เป็นฮอร์โมน ทำให้ขั้วเหนียว ผลโต ยาว รสดี และมี ภูมิต้านทานโรค แมลงศัตรูพืชได้ดี ในการหมักนำพืชสมุนไพรผสมด้วยก็ได้


*ต้องใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน

ฮอร์โมนผลไม้
ฮอร์โมนผลไม้ เป็น ฮอร์โมนธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง สามารถเรียกราก ดอก ผลได้ดี ผลสวย รสดี และมีคุณภาพเป็นปุ๋ยด้วย โดยใช้ผลไม้สีเหลือง โดยเน้นผลไม้หาง่าย ราคาต่ำ คุณภาพดี
ส่วนผสม
1. กล้วยน้ำหว้าสุก
2
..
2. มะละกอสุก
2
..
3. ฟักทองแก่จัด
2
..
4. น้ำ
10
ลิตร
5. EM
40
ซีซี
6. กากน้ำตาล
40
ซีซี
วิธีทำ
- สับหรือหั่นผลไม้ทั้งเปลือก ทั้งเมล็ด ให้มีขนาดเล็ก
- นำใส่ภาชนะหมัก
- เติมน้ำสะอาด กากน้ำตาล และ EM ให้เต็มพอดี
- คนให้เข้ากัน ปิดฝา - หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน เปิดฝา ออกจะพบไขมันสีเหลืองลอยหรือติดด้านข้างภาชนะหมัก ใช้ช้อนตักใส่ภาชนะ เก็บไว้ใช้เป็นฮอร์โมนเรียกราก สำหรับกิ่งตอน กิ่งชำ
- กรองแยกกาก - น้ำ ออกจากกัน


กาก นำไปเป็นปุ๋ย (ฝังดิน) หรือผสมเป็นอาหารสัตว์ อาหารปลา
น้ำ บรรจุภาชนะไว้ใช้ เก็บได้นานไม่เกิน 3 เดือน

วิธีใช้
- ผสมน้ำ 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ฮอร์โมนผลไม้ 2 ช้อน) พ่นระยะก่อนผลิดอกต่อเนื่องกระทั่งติดผลเล็กๆ
- ไม้ให้ผลผลิตตลอดปี พ่นทุก 15 วัน ตลอดไป

ข้อสังเกต
ไม่ควรนำไปใช้กับผักกินใบ และพืชระยะกำลังเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผลิดอกเร็ว

ฮอร์โมนและสารเสริมอื่นๆ
ยัง มีอินทรียวัตถุอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยหรือฮอร์โมน ที่มีประโยชน์ต่อพืชได้ เช่น ปลา ไส้ปลา หัวปลา หอยเชอรี่ รกสุกร ไข่ นมสด ฯลฯ นำมาหมักกับ EM โดยใช้ EM 1 % กากน้ำตาล 2 % คือ กรณีที่จะหมักในภาชนะ 10 ลิตร ใส่อินทรียวัตถุและน้ำ เติมกากน้ำตาล 200 ซีซี (1 แก้ว) EM 100 ซีซี (ครึ่งแก้ว) ให้พอดีกับภาชนะ หมักไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน แล้วนำไปใช้ได้
หากอินทรียวัตถุที่นำมาหมักมีเคมีผสมมาก เช่น หอยเชอรี่ ควรเพิ่มปริมาณ EM และกากน้ำตาลให้มากขึ้น

หลักการหมัก
- บรรจุให้พอดีกับภาชนะ
- ปิดฝาสนิท ไม่ให้อากาศเข้าออกได้
- บางอย่างต้องสับหรือป่นก่อนหมัก
- หากมีกลิ่นเหม็นต้องเพิ่ม EM และกากน้ำตาลจนกว่าจะหายเหม็น จึงนำไปใช้

วิธีใช้ ผสมน้ำ 500 เท่า (น้ำ 10 ลิตร ใช้ฮอร์โมน 2 ช้อน) ฉีด พ่นเหมือนฮอร์โมนทั่วๆ ไป แต่เน้นที่พื้นดิน จะใช้พ่นที่ใบและต้นบ้างเล็กน้อย ใช้บำรุงดินเป็นอาหารทางรากดีที่สุด*ต้องใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
หมายเหตุ
การจะทำให้เกษตรธรรมชาติมีผลต่อการผลิดอกออกผล นอกฤดูกาล ต้องทำให้ดินสมบูรณ์ ฮอร์โมนเหล่านี้มีประโยชน์ แต่ต้องไม่ลืมบำรุงดินด้วยโบกาฉิ และมีอินทรียวัตถุคลุมดินสม่ำเสมอด้วย ในการหมักบางครั้งผสมรำละเอียดด้วยก็ให้ประโยชน์เพิ่มขึ้น บางครั้งผสมมะกรูดด้วย กลิ่นจะหอม ไม่เหม็น ไม่ทำให้คุณภาพเสื่อม
+++++
การประยุกต์ใช้ EM แบบแห้ง article
อินทรียวัตถุที่แห้ง สามารถนำมาหมักกับ EM คือ
- วัชพืช เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ กากอ้อย กากมัน ฯลฯ
- มูลสัตว์ทุกชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ไก่ สุกร นก ฯลฯ
- เศษเหลือจากการเพาะเห็ด

อินทรียวัตถุส่วนนี้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ และคือปุ๋ยของพืชต่อไปเมื่อผ่านการย่อยสลาย เพื่อให้ EM แข็งแรง ทำงานได้ดี จึงมี
- กากน้ำตาล เป็นอาหารเบื้องต้น
- รำละเอียด เป็นอาหารต่อมา
- อินทรียวัตถุที่นำมาหมัก และ
- อินทรียวัตถุในดิน

โบกาฉิมูลสัตว์
โบกาฉิมูลสัตว์ เป็น ปุ๋ย ใช้บำรุงดิน เป็นอาหารสัตว์ และบำบัดน้ำเสีย ได้ โดยการนำเอามูลสัตว์แห้งป่นละเอียด มาหมักกับแกลบ และรำละเอียด
ส่วนผสม
1. มูลสัตว์
1
ส่วน
2. แกลบดิบ
1
ส่วน
3. รำละเอียด
1
ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500 ผสมแยกไว้ ( น้ำ 1 บัวรดน้ำประมาณ 10 ลิตร EM กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
ส่วน คือตามภาชนะตวง เป็นปี๊บ กระสอบ หรือรถ ฯลฯ

กองกับพื้นคอนกรีต
วิธีทำ - ผสมมูลสัตว์กับแกลบให้เข้ากัน
- นำ EM + กากน้ำตาล + น้ำ มารด คลุกให้เข้ากัน ความชื้น 50 % คือใช้มือกำ ส่วนผสมบีบแน่น หากมีน้ำไหลตามง่ามมือ แสดงว่าน้ำมากเติมส่วนผสม หากกำแน่น แบมือออกเป็นก้อนยุ่ยๆ นั้นพอดี หากยัง ไม่เป็นก้อนก็เติมน้ำอีก (ผสม EM + กากน้ำตาล เท่าเดิม)
- เมื่อได้ความชื้นพอเหมาะแล้ว นำ รำละเอียดมาผสม แล้วหมักไว้จนกว่าจะเย็น และแห้ง

วิธีหมัก นิยมหมักเป็น 4 แบบ คือ
1. กองกับพื้นคอนกรีตหรือดินแข็ง ในที่ร่มกันแดดกันฝนได้ ให้เป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน สแลน หรืออื่นๆ กลับกองทุกวันถ้ายังร้อนอยู่
2. หมักในกระสอบปุ๋ย ใช้กระสอบปุ๋ยที่มีรูพรุน (น้ำรั่วได้)
- บรรจุครึ่งกระสอบ มัดปากกระสอบ แล้วตะแคงกระจายปุ๋ยให้เต็ม กระสอบ วางหมักบนไม้รอง กลับกระสอบทุกวัน
- แห้งเย็น นำไปใช้ เวลาจะใช้ป่นให้ละเอียด
3. หมักในตะกร้า,เข่ง โดยบรรจุส่วนผสมในตะกร้า หรือเข่ง ให้สูง ประมาณ 15 เซนติเมตร วางเรียงซ้อนกันได้ คลุมด้วยกระสอบหรือสแลนถึงพื้น
4. หมักแบบไร้อากาศ ขอยกตัวอย่าง 2 แบบ คือ
4.1 บรรจุถุงพลาสติก เช่น ถุงดำ บรรจุทีละน้อย หนาประมาณฝ่ามือ แล้ว อัดแน่น ก่อนมัดปากถุง ไล่อากาศออกให้หมด แล้วมัดแน่น หมักไว้ 15-20 วัน นำ ไปใช้ได้
ใช้ถุงดำก็ได้ แต่ขาดง่าย ควรใส่กระสอบ หรือถุงซ้อนอีกชั้นหนึ่ง
4.2 บรรจุในถังหรือตุ่ม ที่มีฝาปิดสนิท หรือสามารถใช้พลาสติกปิด แล้ว รัดยางแน่นก็ได้ บรรจุทีละน้อย คือให้หนาประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วอัดแน่นต่อเรื่อยๆ กระทั่งเต็ม (ต้องให้เต็มภาชนะ) ปิดแน่น หมักไว้ 15-20 วัน
หมายเหตุ หากรีบด่วนหมักอย่างน้อย 7 วันก็ใช้ได้ แต่ 15-20 จะดีที่สุด
หมักในกระสอบปุ๋ย
หมักในตะกร้า,เข่ง

โบกาฉิฟาง
โบกาฉิฟาง ไม่นิยมผลิต เพราะควบคุมอุณหภูมิได้ยาก หากร้อนมากเกิน 45 ํC จะไหม้เป็นสีแดง คุณภาพไม่ดี แต่จำเป็นสำหรับการเพาะเห็ด หรือใช้หมักเศษอาหาร
ส่วนผสม
1. ฟางแห้งสับสั้นประมาณ 1-2 ซ.ม.
1
ส่วน
2. แกลบ
1
ส่วน
3. รำละเอียด
1
ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500 ผสมแยกไว้ ( น้ำ 1 บัวรดน้ำประมาณ 10 ลิตร EM กากน้ำตาลด อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
ส่วน คือตามภาชนะตวง เป็นปี๊บ กระสอบ หรือรถ ฯลฯ

วิธีทำ
- นำ EM + กากน้ำตาล + น้ำ รด ฟางให้เปียกโดยทั่วไป และ
- นำแกลบเข้าผสม วัดความชื้น 50 %
- นำรำละเอียดเข้าผสม
- นำไปหมัก

วิธีหมัก
- กองบนพื้นคอนกรีต หรือพื้นดิน แข็ง ในที่ร่มกันแดดกันฝนได้ ให้สูงประมาณ 15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือสแลน หรือฟาง ฯลฯ
- กลับกองทุกครั้งที่อุณหภูมิเกิน 45 ํC ต้องตรวจอุณหภูมิบ่อยๆ ระวัง อุณหภูมิเกิน 45 ํC จะไหม้เป็นสีแดง

วิธีใช้
- ใช้กับการเพาะเห็ด โดยผสม EM โบกาฉิฟาง 6 % และใช้ EM โบกาฉิ มูลสัตว์อีก 4 % ของส่วนผสมทั้งหมด
- ใช้เพื่อการหมักเศษอาหาร
- ใช้กับพืชผัก เช่น รองก้นหลุมและคลุมดิน
- เป็นอาหารปลา

ซูเปอร์โบกาฉิ
ซูเปอร์โบกาฉิ เป็น EM โบกาฉิที่มีคุณภาพสูง ใช้เป็นปุ๋ย ผสมอาหารสัตว์ อาหารปลา อาหารกุ้ง และบำบัดน้ำเสียได้ แต่ลงทุนสูงเล็กน้อย
ส่วนผสม
1. เปลือกหอย กระดองปู กระดูกป่น และถ่านแกลบ อย่างละ 200 กรัม
2. ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 6 กิโลกรัม
3. รำละเอียด 20 กิโลกรัม
4. EM 10 ซีซี กากน้ำตาล 10 ซีซี น้ำ 5 ลิตร

วิธีทำ
- ผสมเปลือกหอย กระดองปู กระดูกป่น ถ่านแกลบ ปลาป่น กากถั่ว เข้าด้วยกันดีแล้ว นำส่วนผสมน้ำ มี EM + กากน้ำตาล + น้ำ ไปรด คลุกให้ทั่ว
- นำรำเข้าผสม คลุกให้เข้ากัน แล้ว นำไปหมัก

วิธีหมัก มี 2 วิธี คือ
1. บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ถัง กระป๋อง ให้มีช่องว่าง 10% ปิดแน่น ไว้ 15 วัน นำมากระจาย ผึ่งลมให้แห้ง แล้วบรรจุถุงเล็กๆ นำไปใช้หรือจำหน่ายได้
2. บรรจุในกระสอบป่าน ผูกปากให้แน่น แล้วนำบรรจุลงถุงพลาสติกดำ ทึบแสง ไล่อากาศออก แล้วมัดปากถุงแน่น หมักไว้ 3 วัน กลับถุงทุกเช้าเย็น
เมื่อครบ 3 วัน นำกระสอบออกจากถุงพลาสติก วางไว้ในที่ร่ม และกลับ กระสอบทุกวันเช่นกัน เมื่อหมักได้ที่แล้วจะมีกลิ่นหอม
วิธีใช้
1. ผสมอาหารสัตว์ เช่น สุกร ไก่ ปลา กุ้ง กบ แทนหัวอาหาร 1-2 %
2. ใช้กับผัก ไม้ผล หรือทำเป็นน้ำโบกาฉิ คือใช้ซุปเปอร์โบกาฉิ 1 ก.ก. น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดผัก ผสมน้ำอีก 100 เท่า ผักที่ปลูก ใหม่จะฟื้นตัวเร็ว
3. ใช้บำบัดน้ำเสีย ด้วยการหว่านลงไปในน้ำ
ซูเปอร์โบกาฉิ เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง อัตราการใช้จะใช้เพียงเล็กน้อย และสามารถใช้ได้หลายประการ ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม

EM โบกาฉิ 24 ชั่วโมง
EM โบกาฉิ 24 ชั่วโมง เป็นการนำวัชพืช เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ที่มีจำนวน มาก ทั้งสดหรือแห้งมาหมัก ก่อนนำไปใช้เป็นปุ๋ยคุณภาพจะดีขึ้น แต่ต้องสับหั่นให้ มีขนาดเล็กหน่อย ฟางฟ่อนต้องตัดให้มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร หาก เป็นฟางจากเครื่องสีใช้ได้เลย เพราะนิ่มดีแล้ว
ส่วนผสม
1. วัชพืช เช่น ฟาง หญ้า
10
ส่วน
2. EM โบกาฉิ
1/2
ส่วน
3. รำละเอียด
1/2
ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500 ผสมแยกไว้ ( น้ำ 1 บัวรดน้ำประมาณ 10 ลิตร EM กากน้ำตาลด อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
ส่วน คือตามภาชนะตวง เป็นปี๊บ กระสอบ หรือรถ ฯลฯ

วิธีทำ
- นำน้ำผสม EM กากน้ำตาล มา รดฟาง คลุกให้ทั่ว ให้มีความชื้นโดยทั่ว (ระวังน้ำไหลนองพื้น)
- นำ EM โบกาฉิผสมกับรำ แล้ว นำมาโรยให้ทั่วฟาง คลุกให้เข้ากัน
- หมักโดยการกองปุ๋ยเป็นฝาชี คว่ำ หรือเป็นกองยาวๆ สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่านหรือ สแลน หรือคลุมด้วยฟางแห้งหญ้าแห้งก็ได้
- หมักไว้ 18 ชั่วโมง กลับกอง แล้วหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง นำไปใช้ได้

วิธีใช้
- ใช้รองก้นหลุม หรือคลุมดินในการเพาะปลูก
- ใส่ในแปลงนาโดยทั่วแล้วไถกลบ
- ใส่ในไร่ แล้วไถกลบ
- ใส่คลุมดินในไร่ ในสวน

ปุ๋ยคอกหมัก
ปุ๋ยคอกหมัก เป็นการหมักมูลโค หรือสัตว์กินหญ้า เป็นปุ๋ยสำหรับการเพาะ ปลูกพืชผัก หรือไม้ระยะเจริญเติบโต หรือใช้ผสมเป็นดินเพาะก็ได้
ส่วนผสม
1. มูลคอก (สัตว์กินหญ้า)
1
ส่วน
2. แกลบเผา (ถ่านแกลบ)
1
ส่วน
3. รำละเอียด
1
ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500 ผสมแยกไว้ (น้ำ 1 บัวรดน้ำประมาณ 10 ลิตร EM กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
ส่วน คือตามภาชนะตวง เป็นปี๊บ กระสอบ หรือรถ ฯลฯ

วิธีทำ
- ผสมมูลคอกที่ป่นละเอียดแล้ว กับแกลบ คลุกให้เข้ากัน
- นำน้ำผสม EM กากน้ำตาล มา รด คลุกให้เข้ากัน ความชื้น 50 %
- นำรำเข้าผสม คลุกเคล้าอีกครั้ง เมื่อ ผสมรำแล้วจะไม่เพิ่มน้ำอีก


วิธีหมัก
- ตั้งกองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 15 เซนติเมตร
- คลุมด้วยกระสอบป่าน
- กลับกองทุกวันๆ ละครั้งหากมีความร้อน
- เมื่อแห้งและเย็น นำไปใช้ได้

วิธีใช้
- โรยผิวดิน ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ ในการเตรียมแปลง
- โรยผิวดิน บริเวณใต้ร่มของไม้ผลระยะเจริญเติบโต
- ใช้ผสมดินเพื่อเป็นดินเพาะปลูกก็ได้ โดยทำปุ๋ยผสมกับดิน และแกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3

EM โบกาฉิดิน
EM โบกาฉิดิน เป็นปุ๋ยหมักเพื่อการเพาะกล้า ชำกิ่งโดยเฉพาะ ไม่ควรทำ เพื่อการปลูกพืชอื่นๆ เพราะหนัก และผสมยาก
ส่วนผสม
1. ดินดีๆ ป่นละเอียด
5
ส่วน
2. มูลคอก (สัตว์กินหญ้า)
2
ส่วน
3. แกลบเผา (ถ่านแกลบ)
2
ส่วน
3. รำละเอียด
2
ส่วน
4. EM + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 500 ผสมแยกไว้ (น้ำ 1 บัวรดน้ำประมาณ 10 ลิตร EM กากน้ำตาล อย่างละ 20 ซีซี หรือ 2 ช้อน คนให้ละลาย)
ส่วน คือตามภาชนะตวง เป็นปี๊บ กระสอบ หรือรถ ฯลฯ

วิธีทำ
- ทุบดินให้ละเอียด (รอไว้)
- ผสมมูลคอกกับแกลบเผาเข้า ด้วยกัน
- นำ EM + กากน้ำตาล + น้ำ มา รดมูลคอกกับแกลบเผาที่ผสมกันไว้ คลุก ให้ทั่ว ความชื้น 60-70 %
- นำไปผสมกับดิน และรำตาม ลำดับ
- คลุกให้เข้ากันโดยทั่ว ตั้งกองหมัก

วิธีหมัก
ตั้งกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 15 เซนติเมตร คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือสแลน กลับกองวันละครั้ง เมื่อแห้งและเย็นนำไปผสมเป็นดินเพาะกล้าและ ชำกิ่ง

วิธีใช้
1. ดินเพาะ นำ EM โบกาฉิดิน 1 ส่วน ผสมดินดีๆ อีก 1-5 ส่วน แกลบเผา 1-3 ส่วน ใส่ถุงหรือ กระบะเพาะ 1 : 1 : 1 (EM โบกาฉิดิน + ดิน + แกลบเผา) หรือ 1 : 5 : 3 (EM โบกาฉิดิน + ดิน + แกลบเผา)
2. ดินชำกิ่ง ให้เพิ่มขุยมะพร้าว เข้าไปอีกเท่ากับแกลบเผา หากไม่มีขุย มะพร้าว ใช้หญ้าสับละเอียด หรือป่นใบไม้เข้าผสมแทนก็ได้
3. ผสมเป็นดินปลูก ใส่ถุงไว้จำหน่าย สูตรเดียวกับดินเพาะ ไม่ควรผสม ปุ๋ยเคมี เพราะจะทำให้ดินแข็ง รดน้ำ ไม่ซึม
+++++
การนำ EM ไปใช้ กับการปลูกพืช article
วัสดุที่ใช้
1. EM ขยาย
2. EM โบกาฉิ หรือ ปุ๋ยคอกหมัก
3. สารเสริม เช่น EM5 ฮอร์โมนผลไม้ EM F.P.E.

พืช อาศัย อาหารจากดิน อาหารในดินก็คือ ซากพืช ซากสัตว์ ที่ผ่านการย่อยของจุลินทรีย์แล้ว ดังนั้นแปลงปลูกพืชจะต้องยึดหลัก 3 ประการ
1. การคลุมดิน ช่วยให้รักษาความชื้น ป้องกันวัชพืช และกลายเป็นปุ๋ย
- แปลงเพาะปลูกพืชผัก ต้องคลุม แปลง
- ในสวนไม้ผล จัดหาหญ้า ฟาง ใบไม้ใส่ หากมีหญ้า ก็ตัดคลุมดิน ถ้าไม่ตัดก็ปล่อยไว้ ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า
- ในไร่ ในนา ปล่อยหญ้าฟางไว้ ไม่ควรเผา หรือกำจัด ใช้วิธีไถเพื่อกำจัด จะกลายไปเป็นปุ๋ย


2. ไม่ไถพรวน ยกเว้น
- เพื่อการกำจัดวัชพืช
- เพื่อการยกแปลงใหม่
จะทำไร่ ทำนา หญ้าในแปลงมากมายเป็นเรื่องดี ใส่ EM โบกาฉิ พ่น EM แล้วไถพรวน หญ้าจะถูกย่อยเป็นปุ๋ย หรือไถแล้วยกแปลงเพื่อการปลูกผัก ข้าวโพด มัน อ้อย และอื่นๆ ที่ปลูกบนแปลง


3. งดเคมี หากไม่งดจะทำให้การพัฒนาดินเป็นไปได้ช้า เพราะ
- เคมีทำให้ดินแข็ง
- EM ทำให้ดินร่วน


หากใช้ร่วมกับเคมีอยู่เสมอๆ ดินจะไม่พัฒนา ผลผลิตจะไม่เพิ่ม ปัญหาโรค และแมลงศัตรูพืชแก้ไม่ได้โดยวิธีธรรมชาติ

การปลูกผัก

1. การเตรียมแปลง
- ยกแปลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- ใส่ EM โบกาฉิหรือปุ๋ยคอกหมัก ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ
- ใช้จอบสับให้ปุ๋ยเข้ากับดินก่อน คลุมแปลงด้วยหญ้า ฟางแห้ง
- รด EM (EM ขยาย + กากน้ำตาล + น้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 1,000) ให้เปียกโดยทั่ว หมักไว้ก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน แล้วนำผักมาปลูก

2. การปลูก
- ปลูกด้วยเมล็ด เปิดฟางคลุมแปลงออก หยอดหรือโรยเป็นแถว แล้วคลุมฟางเหมือนเดิม ปลูกด้วยกล้าแหวกฟางปลูก แล้วทำร่มด้วย
ดูแลให้น้ำ EM5 , EM และ EM F.P.E. สม่ำเสมอ

3. การดูแล
- ให้น้ำเช้า-เย็น ผสม EM ในน้ำที่ให้ ทุก 3 วัน
- พ่น EM5 หรือ EM F.P.E. เสมอๆ ทุก 5 วัน
ผักรากยาว เช่น แครอท ผักกาดหัว การเตรียมแปลงควรแหวะท้องหมู หรือขุดแปลงเป็นรูปตัว V ใส่อินทรียวัตถุ EM โบกาฉิ และรด EM ก่อนยกแปลง แล้วดำเนินการดังกล่าวมาข้างต้นอีกครั้ง

การปลูกไม้ผล

ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น ยางพารา ปาล์ม ฯลฯ การเพาะปลูกและการดูแลก็คล้ายกัน เพียงแต่ว่าไม้ที่ประสงค์ดอกผล ใช้ EM โบกาฉิมูลสัตว์ (ไก่ สุกร นก) จะ ได้ผลดี และให้ฮอร์โมนเพิ่มเติมด้วย ไม้กำลังเจริญ หรือไม้ไม่ต้องการผล ควรใช้ปุ๋ยคอกหมัก แต่ถ้าหากใช้ EM โบกาฉิมูลสัตว์ ให้ใส่วัชพืชคลุมดินมากๆ พ่น EM F.P.E. เสมอๆ ไม้ผลขอแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

1. ระยะเจริญ
- คลุมดินให้สม่ำเสมอ
- ใส่ EM โบกาฉิทุกเดือน หากมีน้ำหรือมีความชื้น
- พ่น EM5 และ EM F.P.E. เสมอๆ

2. ระยะให้ผลผลิต ใส่ EM โบกาฉิมูลสัตว์ ประมาณปีละ 4 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ระยะหลังเก็บผลผลิต ควรพ่น EM ด้วย
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกประมาณ 3 เดือน แต่ต้องมีน้ำให้ด้วย
ครั้งที่ 3 ก่อนผลิดอก
ครั้งที่ 4 เมื่อติดผลเล็กๆ

ยกเว้นลำไย ระยะที่ 3-4 ให้เมื่อมีผลเล็กๆ และเมล็ดเริ่มดำ

ข้อควรจำ
- ใส่ EM โบกาฉิทุกครั้ง ต้องพ่นด้วย EM ขยาย กากน้ำตาล ผสมน้ำ (1 : 1 : 1,000) เสมอ
- ไม้ที่ให้ผลผลิตทั้งปี ใส่ EM โบกาฉิทุกเดือน ให้ฮอร์โมนทุก 15 วัน ตลอด ไปรวมทั้ง EM F.P.E. ด้วย

พืชไร่
พืชไร่ เป็นการเตรียมแปลงที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้ความพยายามดำเนินการ ดังนี้
1. หากมีวัชพืชสูงควรตัดก่อนป่นลงบนแปลง
2. ใช้ EM โบกาฉิไร่ละ 100-200 กิโลกรัม
3. พ่น EM ขยาย กากน้ำตาล ผสมน้ำ (1 : 1 : 1,000) 4. ไถ-พรวน หมักไว้ 10-15 วัน พรวนอีกครั้ง
5. ปลูกได้
การดูแล
1. พ่น EM ทุกเดือน
2. พ่น EM5, EM F.P.E. ทุก 15 วัน
3. พืชไร่ที่ต้องการผล, ฝัก เมื่อเริ่มมีช่อดอกให้พ่นฮอร์โมนผลไม้ด้วย ทุก 10-15 วัน ตลอดไปจนกระทั่งติดผลเล็กๆ ยกเว้นพืชที่มีดอกผลตลอดปี ก็จะพ่นตลอดไปเช่นกัน เช่น พริก มะเขือ

พืชไร่บางชนิด ให้ผลผลิตสูง คือ มีผลโต เช่น แตง ฟักทอง แคนตาลูป หลุมปลูกต้องรองก้นหลุมด้วยหญ้าฟาง มูลสัตว์ EM โบกาฉิ และ EM ก่อนปิดแปลง หรือปิดหลุม หมักไว้ก่อน 7 วัน จึงนำพันธุ์มาปลูก เริ่มผลิดอก ใช้ EM โบกาฉิ ทุก 15 วัน และเพิ่มมากขึ้นเมื่อติดผล
การรองก้นหลุม ทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. ขุดเป็นหลุมเฉพาะต้น ก็จะรองก้นหลุมเฉพาะต้น
2. ขุดเป็นร่องลึกยาว ใส่วัชพืช มูลสัตว์ EM โบกาฉิ EM แล้วชักร่องปิด เพื่อปลูกบนแปลงอีกครั้งหนึ่ง

การทำนา

อุปกรณ์
1. EM ขยาย 10 ลิตร/ไร่
2. EM โบกาฉิ 100 ../ไร่
อาจมีการใช้ EM F.P.E. หรือ EM5 ฉีดพ่นประมาณเดือนละ 2 ครั้ง
การทำนาในอดีตจะมีการไถนา 2 ครั้ง คือ ไถดะและไถแปร ไถดะเพื่อกำจัดวัชพืชที่เป็นต้น เร่งให้เมล็ดพืชงอก จึงมีการไถแปรอีกครั้ง ห่างจากระยะแรกประมาณ 20-25 วัน

การทำนาโดยการใช้เทคโนโลยี EM ก็ดำเนินการเช่นกัน แต่เพิ่มกระบวนการสร้างจุลินทรีย์ในดินก่อน ดังนี้
1. หว่าน EM โบกาฉิ ไร่ละ 100 กิโลกรัม
2. พ่น EM ขยาย ไร่ละ 10 ลิตร ผสมน้ำ 500 เท่า (ถ้าดินแห้งผสมน้ำ 1,000 เท่า) 3. ไถดะ (การไถครั้งแรก) หากพรวนด้วยจะดีมาก เป็นการไถเพื่อกลบวัชพืชให้จุลินทรีย์ใน EM ย่อย และเร่งให้เมล็ดวัชพืชงอก หมักไว้ 20-25 วัน
4. ไถแปร เป็นการกำจัดวัชพืชที่งอกใหม่ และเพื่อทำเทือก หว่านหรือดำ หรือหยอด ตามถนัดของเกษตรกร
5. หลังเพาะปลูก พ่น EM ขยายผสมน้ำ 500 เท่า ทุกเดือน (ประมาณ 2 ครั้งต่อรุ่น)
ข้อสังเกต
1. ข้าวธรรมชาติจะเจริญช้า มั่นคง และแข็งแรง
2. แม้ถึงอายุเกี่ยว หากมีความชื้น ข้าวจะไม่ตาย ใบและต้นยังเขียว หากรวงเหลืองก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เมล็ดลีบมีต่ำมาก เพราะต้นข้าวไม่ตาย
3. แปลงเพาะกล้าในนาดำ ไม่ควรใส่ EM โบกาฉิก่อนไถ ทำเทือกแล้วจึงใส่ และพ่น EM เพื่อให้รากลอย ถอนง่าย
4. ไม่ควรใส่ EM โบกาฉิหลังปลูกข้าวแล้ว จะทำให้รากลอย ล้มง่าย หากจำเป็นให้ใส่ในระยะข้าวแตกกอ หรือก่อนออกรวง
+++++
การใช้ EM กับการปศุสัตว์ article
การใช้ EM กับการปศุสัตว์

อุปกรณ์
1. EM หัวเชื้อ
2. EM
ขยาย
3. EM5
หรือ EM F.P.E.

การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ปีก การเลี้ยงโดยอาศัยเทคโนโลยี EM นั้นง่าย สะดวก สบายกาย สบายใจ สัตว์ทุกชนิดใช้หลักการเหมือนกันคือ

1. EM หัวเชื้อ ผสมน้ำ 5,000 เท่า ให้กินเป็นประจำ เปลี่ยนทุกวัน หากมีโรคระบาด ควรเพิ่ม EM ให้มากขึ้นเป็น 1:4,000 หรือ 1:1,000 หรือ 1:100 ก็ได้ สัตว์จะมีภูมิต้านทานสูง

2. EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า พ่นคอก พ่นเล้า พ่นที่อาศัย ที่เลี้ยง และบริเวณโดยรอบเสมอๆ
- ไก่ สุกร อาจพ่นทุกวันถ้าอากาศร้อน ถ้าอากาศเย็นก็เว้นบ้าง
- โค ไม่บ่อยนัก แต่ควรพ่นบริเวณที่เลี้ยงด้วย

3. สุกร โค ต้องใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า ล้างคอก และควรมีบ่อบำบัด

4. สัตว์ป่วย ใช้ EM หัวเชื้อรักษาด้วยการหยอด หรือกรอกปาก
- ไก่ตัวเล็ก 1-2 หยด
- ไก่ใหญ่ 4-5 หยด
- สุกรเล็ก 2-3 ซีซี
- สุกรใหญ่ 5-6 ซีซี
- โคก็เช่นกัน

5. ใช้ EM หมักอาหาร
- อาหารไก่ 1 .. ต่อ EM 10 ซีซี
- ฟางหมักด้วย EM ขยาย เหมือนปุ๋ย 24 ชั่วโมง แต่ไม่ต้องใส่รำและ EM โบกาฉิ เป็นอาหารวัว
- การเตรียมเล้าก่อนปล่อยไก่-เป็ด เข้าเลี้ยง อาจฉีดพ่นด้วย ซูเปอร์ EM5 หรือ EM F.P.E. ผสมสมุนไพรด้วยก็ได้
+++++
การใช้ EM กับการประมง article
การใช้ EM กับการประมง

อุปกรณ์
1. EM หัวเชื้อ
2. EM ขยาย
3. EM โบกาฉิ
4. ซูเปอร์ EM5
5. ซูเปอร์โบกาฉิ

การเลี้ยงปลา กุ้ง กบ ตะพาบ ฯลฯ เป็นสัตว์น้ำที่กำลังนิยมเลี้ยงและจะมีการเลี้ยงกันมากขึ้น เพราะสัตว์น้ำธรรมชาติลดน้อยลง การเลี้ยงสัตว์น้ำ การดูแลสำคัญที่สุด การรักษาน้ำควรจะดำเนินการตั้งแต่ก่อนนำน้ำเข้า เพื่อทำให้พื้นบ่อสะอาด เมื่อนำน้ำเข้าบ่อจะไม่ทำให้น้ำสกปรก
การเลี้ยงสัตว์น้ำปัจจุบันควรใช้ระบบปิด คือมีบ่อเก็บน้ำไว้ใช้ของตนเองแยกจากบ่อเลี้ยง

นำน้ำจากข้างนอกเข้าบ่อพัก แล้วบำบัดด้วย EM โบกาฉิ และ EM ขยาย ให้น้ำสะอาดก่อนนำเข้าบ่อเลี้ยง

วิธีเตรียมบ่อเลี้ยง
- หว่าน EM โบกาฉิ ไร่ละ 100 ..
- พ่น EM ขยาย ไร่ละ 20 ลิตร ผสม น้ำ 500 เท่า (ถ้าบ่อแห้งให้ผสมน้ำ 1,000 เท่า) หมักไว้ 2-3 วัน นำน้ำเข้า
- ใส่ EM โบกาฉิ แล้วพ่น EM ขยาย อีกครั้งในปริมาณเท่าเดิม หมักไว้อีก 4-5 วัน น้ำจะเขียว จะมีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น นำพันธุ์สัตว์น้ำมาปล่อย โดยไม่ต้องให้อาหารสำเร็จได้หลายวัน
การดูแลสัตว์น้ำทุกชนิด ใช้ EM ขยายพ่นเสมอๆ เมื่อสัตว์โตก็พ่นบ่อยขึ้น หากสัตว์มีจำนวนมากควรพ่นบ่อยขึ้น
- อาหารผสม EM ด้วยอาหาร 1 กิโลกรัม EM 10 ซีซี
- สัตว์มีปัญหา มีอาการป่วย พ่น EM บ่อยขึ้น หรือใช้ซุปเปอร์ EM5

การเก็บผลผลิต สูบน้ำเข้าบ่อพัก จับเสร็จแล้วก็เตรียมบ่อต่อ

การเลี้ยงกุ้ง

อุปกรณ์
1. EM หัวเชื้อ
2. EM ขยาย
3. EM โบกาฉิ
4. ซูเปอร์ EM5
5. ซูเปอร์โบกาฉิ

การ เลี้ยงกุ้งที่ได้ผลคือ การเลี้ยงระบบปิด ที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องการประมง การเตรียมบ่อก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน นำน้ำจากแหล่งน้ำเข้าบ่อพัก บำบัดก่อนนำเข้าบ่อเลี้ยง เมื่อจะจับสัตว์เลี้ยงก็สูบกลับเข้าบ่อพัก ไม่มีน้ำไหลออกไปข้างนอกซึ่งทำให้เกิดมลภาวะ

การ เลี้ยงกุ้งมีรายละเอียดในเรื่องการเตรียมพันธุ์ การเตรียมก่อนปล่อยพันธุ์กุ้ง การปรับสภาพน้ำให้มีความเค็มใกล้เคียงกัน เป็นรายละเอียดที่ผู้เลี้ยงจะต้องทำความเข้าใจ จะนำมากล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ EM เท่านั้น

การเตรียมบ่อ
- บางรายปล่อยให้บ่อแห้งก่อนหว่าน EM โบกาฉิ แล้วพ่น EM ขยาย
- บางรายบ่อแห้งหมาดๆ ก็หว่าน EM โบกาฉิ แล้วพ่น EM ขยาย
- บางรายบ่อยังเปียกอยู่ก็หว่าน EM โบกาฉิ พ่น EM ขยาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินและสภาพแวดล้อมที่นั่นด้วย EM โบกาฉิไร่ละ 200 กิโลกรัม EM ขยาย ไร่ละ 40 ลิตร

หลังปล่อยน้ำเข้าก็จะใส่ EM โบกาฉิ พ่น EM ขยาย อีกครั้งเท่ากับครั้งแรก เพื่อบำบัดน้ำและทำให้เกิดอาหารธรรมชาติ เมื่อนำพันธุ์กุ้งมาปล่อย การให้ EM สม่ำเสมอ มีความจำเป็น

เดือนแรก พ่นทุก 5 วัน เดือนที่ 2 พ่นทุก 3 วัน เดือนที่ 3 พ่นทุก 2 วัน
อาหารกุ้งควรผสม EM หัวเชื้อ 10 ซีซี ต่อ อาหาร 10 ..
หากมีปัญหาสารพิษ มีโรค ใส่ซูเปอร์สุโตจูหน้าใบพัด ไร่ละ 3-5 ลิตร การตีน้ำ
- กลางวัน ตีน้ำเพื่อไล่ EM ให้ทั่วบ่อ และตีน้ำเพื่อช่วยให้กุ้งหายเครียด
- กลางคืนตีน้ำตลอดคืน

จะเลี้ยงกุ้งด้วย EM ควรไปศึกษากับผู้ที่เลี้ยงมาก่อน จะเข้าใจได้ดีขึ้น
+++++
การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม article
การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม

การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อมขอแบ่งเทคนิคการใช้ออกเป็นเรื่องย่อยๆ ดัง ต่อไปนี้

1. การกำจัดขยะ
2. การบำบัดน้ำเสีย
3. การกำจัดกลิ่น
4. การกำจัดขยะเปียก


1. การกำจัดขยะ
1.1 ขยะที่กระจัดกระจายบนผิวดิน นำมากองรวมกัน หรือทับถมกัน อยู่ในน้ำ ทำให้เกิดกลิ่น แมลงวัน กำจัดด้วยการใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า (หาก ขยะแห้ง ผสมน้ำ 1,000 เท่า) ฉีดพ่นให้ทั่วทุกครั้งที่นำขยะมาทิ้ง จะส่งผลให้
- ขยะถูกย่อยได้เร็ว - แมลงวันลดลง - กลิ่นหมดไป - น้ำที่ไหลออกไปเป็นน้ำปุ๋ย
1.2 ขยะที่กองในที่ลุ่ม หรือมีหลุมฝังกลบ ใช้ EM พ่นต่อเนื่อง เมื่อมีการนำขยะมาทิ้งใหม่ 5-7 วัน กลบดินบางๆ การกลบดินจะช่วยให้เกิดการหมักและย่อย สลายได้เร็วขึ้น จะยุบและถมต่อได้อีกหลายครั้ง
1.3 การนำขยะไปทำปุ๋ย ต้องหมักด้วย EM จึงจะไม่เป็นพิษภัย เพราะขยะหลายชนิดมีพิษ
1.4 ขยะมีพิษ ขุดหลุมฝังอย่างเดียว ก่อนกลบควรพ่น EM ให้ทั่วแล้วกลบ จะไม่เกิดพิษต่อไปได้อีก

2. การบำบัดน้ำเสีย
ใช้อุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ EM ขยายกับ EM บอล (ดังโหงะ)
- EM ขยาย ใช้ฉีดพ่น 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร (1 : 10,000)
- EM บอล (ดังโหงะ) กำจัดโคลนตมใต้ผิวน้ำ และบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะเคลื่อนไหว 1 ลูก ต่อน้ำ 10 คิว (ลูกบาศก์เมตร)
การ บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน โรงแรม โรงเลี้ยงสัตว์ โรงอาหาร จะมีแหล่งเกิดน้ำเสียชัดเจน การแก้ปัญหาน้ำเสีย ทำดังนี้
2.1 พ่น EM ขยาย หรือใช้ EM บอล (ดังโหงะ) บำบัดน้ำเสียทั้งหมดในบ่อบำบัดและแหล่งเก็บอื่นๆ
2.2 ผสม EM ขยาย กับน้ำที่ไหลออกจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียตลอดเวลา (เช่น ระบบน้ำหยด) แล้วน้ำจะไม่เน่าเสีย แต่ควรมีบ่อบำบัดด้วย

3. การกำจัดกลิ่น
กลิ่นเกิดจากขยะเน่าเสีย น้ำเสียจากโรงงานและแหล่งเลี้ยงสัตว์ หากบำบัดน้ำสะอาดแล้วด้วย EM กลิ่นจะหายไปด้วย แต่ยังจะมีกลิ่นจากมูลสัตว์ กากมัน และอื่นๆ กำจัดได้ด้วย EM ขยายเช่นกัน ด้วยการผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่ว

4. การใช้ EM กำจัดขยะเปียก
ขยะ เปียก หมายถึง ขยะจากโรงครัว เป็นเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร และน้ำซาวข้าว หากทิ้งทั่วไปเป็นตัวทำให้เกิดมลภาวะมากที่สุด การบำบัดก่อนด้วย EM จะเป็นประโยชน์และป้องกันมลพิษได้ มี 2 ลักษณะ คือ
4.1 ขยะจากเศษอาหาร หากนำไปทิ้ง จะเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะและเชื้อโรคได้มาก ควรบำบัดก่อนโดยวิธีหมักดังนี้
วิธีหมัก
- สับหรือหั่นให้ละเอียด ผสมโบกาฉิในอัตราส่วน เศษอาหาร 1 กิโลกรัม ต่อโบกาฉิ 1 กำมือ (100 กรัม)
- ใส่ถังหมักที่ทำขึ้นเอง หรือถังสำเร็จ ครั้งเดียวเต็มถัง หรือหลายครั้งก็ได้
- เมื่อเต็ม หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
หมักครบ 7 วัน เปิดน้ำใส่ภาชนะไว้ใช้ กากนำไปเป็นปุ๋ย โดยวิธีฝัง หรือเป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ ปลา น้ำหมักนำไปใช้ดังนี้
1. ผสมน้ำ 500 เท่า เป็นปุ๋ยรดพืชผัก
2. ผสมน้ำ 100 เท่า เช็ดถูพื้นห้องน้ำ กระเบื้องโมเสด
3. บำบัดน้ำเสียด้วยการเทลงโถส้วม แหล่งน้ำ สาธารณะ

4.2 น้ำซาวข้าว หากปล่อยทิ้งลงร่องน้ำ แหล่งน้ำเสีย จะเป็นบ่อเกิดของมลภาวะสูงสุด หากมีการบำบัดก่อนทิ้ง จะลดการเกิดมลภาวะได้มากทีเดียว

วิธีหมัก
- น้ำซาวข้าว 1-2 ลิตร ผสม EM หัวเชื้อ 10 ซีซี (1 ช้อนแกง) และกากน้ำตาลเท่ากัน คนให้ละลาย บรรจุในภาชนะให้เต็ม หมักไว้ 5-7 วัน
- ระยะหมักได้ 2-3 วัน ควรเปิดให้แก๊สออกบ้าง

วิธีใช้
1. ผสมน้ำ 500 เท่า รดพืชผักเสมอๆ มีคุณภาพเป็นปุ๋ย
2. ผสมน้ำ 100 เท่า สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยแช่ไว้ก่อน 20-30 นาที ขยี้แล้วล้าง 1 น้ำ ตาก
3. ผสมน้ำ 100-200 เท่า ล้างจาน ชาม เช็ดถูพื้น ผนัง ห้องน้ำ-ส้วม กระจก เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ฯลฯ (ต้องบิดผ้าให้สะเด็ดน้ำ)
4. ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่น ปรับสภาพอากาศในบ้าน หรือแหล่งที่อากาศ ไม่บริสุทธิ์
5. บำบัดน้ำเสีย โดยใส่โถส้วม เทลงร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำสาธารณะ
ฯลฯ
http://www.emkyusei.net
--------------------------------------------------------
โปรดใช้วิจารณญาณก่อนจะเชื่อตามคำโฆษณาข้างต้น
จุดประสงค์ของผมต้องการนำความรู้เกี่ยวกับอีกด้านของ EM
มาเผยแพร่เพื่อใช้ในการวิจัยศึกษาข้อดีข้อเสียต่อไป
ไม่ขอรับผิดชอบใดๆ ถ้าหากมีใครนำไปทำตามหรือซื้อไปทำตาม
แล้วไม่ได้ผลหรือเกิดผลเสียใดๆ ตามมาทั้งสิ้น

โดย มาหาอะไร
FfF