บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


27 พฤศจิกายน 2554

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง คดีอากงที่ถูกตัดสินว่าผิดมาตรา 112 โดยการใช้เลข IMEI ของโทรศัพท์ ที่สามารถปลอมแปลงกันได้เป็นหลักฐานเอาผิด >>>

ศาลพิพากษาคดีเอสเอ็มเอส "อากง" ชี้ผิดกม.หมิ่นฯ-พ.ร.บ.คอมพ์ ลงโทษจำคุก 20 ปี

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 14:18:29 น.

เว็บไซต์ประชาไทรายงานข่าวเบื้องต้นจากศาลอาญา รัชดา ว่า วันนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายอำพล (สงวนนามสกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "อากง" ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี

ศาลพิพากษ์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี

ทั้งนี้ ศาลใช้วิธีอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เนื่องไม่สามารถนำตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาได้เพราะน้ำท่วมเรือนจำ หลังฟังคำพิพากษา ภรรยา ลูกและหลานๆ ของนายอำพลพากันร่ำไห้ ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจคดีดังกล่าวร่วมฟังคำพิพากษาราว 30 คน

สำหรับรายละเอียดการพิพากษา ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานว่า

ผู้พิพากษา ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ขึ้นบังลังค์เวลา 10.25 น. ที่ห้องเวรชี้ ชั้นล่างของศาลอาญา

ศาลพิพากษาว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตามที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือ

สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6 ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็นในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

นอกจากนี้ เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อ โมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ด 2 เลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเสาสัญญาณจากย่านที่จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย

การที่จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์มือถือของจำเลยเสียจึงนำไปซ่อมที่ร้านในห้างอิมพีเรียลสำโรง ศาลเห็นว่าจำเลยให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ จำเลยแจ้งในชั้นจับกุมว่าโทรศัพท์มือถือเคยเสียและนำไปซ่อมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 แต่แจ้งในศาลว่านำไปซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 อีกทั้งยังจำร้านที่นำโทรศัพท์ไปซ่อมไม่ได้ ทั้งที่การนำไปซ่อมต้องไปที่ร้านถึง 2 ครั้งคือตอนนำไปซ่อม และไปรับคืน จึงถือว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ

ศาลเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่งSMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง

แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน

ศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นเวลา 10.43 น. รวมระยะเวลา 18 นาที พิพากษาให้จำเลยมีความผิดในการส่งข้อความสั้นตามฟ้อง โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้การส่งเอสเอ็มเอสจะต้องส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก่อนประมวลผลไปถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ปลายทาง ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ประกอบข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 14 (2) และ (3) การกระทำของจำเลยมีหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักสุด ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี ความผิด 4 กระทง รวมโทษจำคุกทั้งหมด 20 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ซึ่งนั่งอยู่กับนายอำพลที่เรือนจำในห้องฟังคำพิพากษาได้กล่าว ผ่านระบบคอนเฟอร์เรนซ์ถามว่าคำพิพากษาว่าอย่างไร เพราะตลอดการฟังคำพิพากษาได้ยินเสียงไม่ชัด เจ้าหน้าที่ศาลจึงแจ้งอย่างสั้นๆ ไปว่า "ลุงติดคุก 20 ปี"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังฟังคำตัดสิน ครอบครัวนายอำพล ซึ่งประกอบด้วยภรรยา บุตรสาว 3 คน หลานสาว 4 คน อายุตั้งแต่ 4-11 ปี ได้เดินทางไปเยี่ยมนายอำพลที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และได้สอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ความว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องขังที่โทษสูงกว่า 15 ปี ดังนั้นจึงต้องมีการส่งตัวผู้ต้องขังไปยังเรือนจำคลองเปรม ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยม ยกเว้นญาติและทนายความ และมีความเป็นไปได้ว่าจะย้ายภายในวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.นี้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322032768&grpid=03&catid=03

--------------------------------------------------------------

ปัญหาเรื่องหมายเลข "อีมี่" ในฐานะ "หลักฐานสำคัญ" ที่ใช้ฟ้องร้องคดี "อากง"


วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 22:05:00 น.

"ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล" ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟท์แวร์ FireOneOne ได้เขียนข้อความตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาในการใช้หมายอีมี่ในโทรศัพท์มือถือมาเป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีกับนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ "อากง" ซึ่งเพิ่งถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 20 ปี ฐานกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก Shakrit Chanrungsakul

มติชนออนไลน์เห็นว่าข้อสังเกตของชาคริตมีเนื้อหาน่าสนใจ และน่าจะกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงทางปัญญาอย่างสร้างสรรค์ในสังคมไทยได้ จึงขออนุญาตนำสาระสำคัญของข้อถกเถียงดังกล่าวมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ ดังนี้

โจทก์แถลง : ข้อพิสูจน์ในคดีนี้คือ IMEI ประจำเครื่อง 14+1 หลักที่มีความสำคัญ

โดยในคดีนี้ เลข 14 หลักแรก + หลักสุดท้ายที่เป็นเลข 6 สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นยี่ห้อ Motorolla ส่วนถ้าเปลี่ยนหลักสุดท้ายไปเป็นเลขอื่นจะพบว่าไม่ตรงกับยี่ห้อใดเลยในท้องตลาด (ใช้การพิสูจน์ด้วยการค้น IMEI ในเว็บแห่งหนึ่ง)

ผู้รู้แถลง : เลข IMEI 15 หลักถูกก็อปปี้ขายกันเป็นล้านเครื่อง ตามมาบุญครองและเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือราคาถูก โดยเลข IMEI ที่ว่านี้จะประกอบไปด้วยเลข 14+1 หลัก ซึ่งหลักสุดท้ายจะไม่มีเลขอื่นนอกจาก checksum ของ 14 หลักแรก

ดังนั้นการที่มี IMEI 591154203237516

จะไม่มี 591154203237517 หรือลงท้ายด้วยเลข 8 หรือ 9 หรือ 0 หรือเลขอื่น ๆ นอกจากเลข 6 เนื่องจากมันเป็น checksum ของสิบสี่หลักแรก โดยคำนวนจาก Luhn Algorithm ดังนี้

เริ่มต้นจากเลขสิบสี่หลักแรกของ IMEI

59115420323751

ให้คูณ 2 เฉพาะตัวเลขที่เป็นหลักคู่

5(18)1(2)5(8)2(0)3(4)3(14)5(2)

แล้วค่อยนำมารวมกันเป็น

5+1+8+1+2+5+8+2+0+3+4+3+1+4+5+2 = 54

เพื่อทำให้ 54 หารด้วย 10 ลงตัว ต้องเพิ่มไปอีก 6 เพื่อให้เป็น 54+6 = 60

เอา 60 มาหาร 10 ตัวเลขสุดท้ายจึงต้องเท่ากับ 6

ดังนั้น การที่โจทก์ไปเสิร์ชหา 591154203237516 จึงตรงกับโมโตโรลล่ารุ่นที่อากงใช้ (และตรงกันกับโมโตโรลล่ารุ่นเดียวกันอีกหลายแสนเครื่องที่ขายกันอยู่ทั่วไป)

591154203237517 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237519 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237510 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

591154203237512 จึงไม่มีผลลัพธ์ตรงกับยี่ห้อไหนรุ่นไหนเลย

สรุปจากข้อมูลนี้ได้ว่า : IMEI ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เนื่องจากหมายเลข IMEI นั้น ไม่ใช่ Unique Number มีมือถือหลายเครื่องที่มี IMEI ซ้ำกันได้ โดยมีทั้งการที่ซ้ำกันมาตั้งแต่โรงงานผู้ผลิต และซ้ำกันเพราะมาแก้ไข IMEI เองในภายหลัง (คนนำเข้าโทรศัพท์เถื่อน, คนประกอบโทรศัพท์ ต่างก็รู้กันแล้วว่ายี่ห้อไหนรุ่นไหนที่จะต้องใช้ IMEI อะไรจึงจะถูกต้อง)

สิ่งที่เราในฐานะประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมายควรที่จะรู้ และต้องการจะรู้ก็คือ "ประจักษ์พยานหรือหลักฐาน" ที่ชี้ชัดได้ว่า

1. SMS ดังกล่าวมาจากเครื่องของจำเลยจริง

2. จำเลยเป็นคนส่งข้อความด้วยตัวเองจริง

3. จำเลยมีสายสัมพันธ์หรือสามารถติดต่อโดยตรงกับเลขานุการนายกรัฐมนตรีทางโทรศัพท์มือถือได้จริง

ความยุติธรรมจะเกิด ถ้าหากโจทก์สามารถหาข้อพิสูจน์ดังกล่าวมาใช้เป็นหลักฐานปรักปรำได้จริง

ซึ่งจำเลยต้องรับโทษตามกฎหมาย

แต่ถ้าโจทก์ไม่สามารถหาหลักฐานอื่นมาได้นอกเหนือจาก IMEI ที่มีโทรศัพท์รุ่นเดียวกันอีกนับหมื่นนับแสนเครื่อง และยืนยันที่จะใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการปรักปรำจำเลยในคดีนี้ ...

โจทก์จะต้องตอบคำถามกับสังคมให้ได้ว่าต่อจากนี้ไปสังคมไทยจะยอมรับการใช้ IMEI เป็นบรรทัดฐานในการหาตัวผู้กระทำผิดทุกคดีที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์มือถือด้วยหรือไม่ ...

ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ผมเชื่อว่าจะมีความวุ่นวายตามมาอีกหลายคดีอย่างแน่นอน -

อ้างอิง:
http://www.gsm-security.net/faq/imei-international-mobile-equipment-identity-gsm.shtml
http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Equipment_Identity
http://en.wikipedia.org/wiki/Luhn_algorithm
http://propakistani.pk/2011/04/27/blocking-handsets-with-duplicate-imei-can-go-ugly/
http://news.bbc.co.uk/2/hi/8387727.stm
http://www.facebook.com/notes/tong-gallus-spadiceus/imei-และ-อากงอำพล-กับ-หลักฐานที่ยืนยันความบริสุทธิ์-กลับถูกใช้ปรักปรำว่ามีความผิ/296278550404494

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322233300&grpid=01&catid=02

--------------------------------------------------------------

สรุปประเด็นคำถามสำคัญเรื่อง "เทคโนโลยีโทรคมนาคม" ต่อกระบวนการสอบสวน-ฟ้องร้องคดี "SMS อากง"
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.



(ที่มา เว็บไซต์ประชาไท)

คดีของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "คดีอากง" ดูจะได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องกระบวนการสอบสวนอันเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ซับซ้อน

เว็บไซต์สำนักข่าวประชาไท ได้ทำรายงานสรุปประเด็นข้อโต้แย้งสำคัญในคดีดังกล่าว ซึ่งมีที่มาจากคำแถลงของทนายฝ่ายจำเลย มาเผยแพร่ มติชนออนไลน์เห็นว่ารายงานข่าวชิ้นนั้นจะช่วยทำให้สังคมไทยสามารถพิจารณาถึงแง่มุมเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารใน"คดีอากง" ได้อย่างรอบด้านมากขึ้น จึงขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนมาเสนอ ณ ที่นี้

สรุปประเด็นสำคัญ

1.หมายเลขโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อความ คือ xxxxx15 (ระบบเติมเงินของDTAC) และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลย คือ xxxxx27 (ระบบเติมเงินของ TRUE) เป็นคนละหมายเลขกัน แต่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีหมายเลขอีมี่ตรงกัน

2.หมายเลขอีมี่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลขหมายใดก็ได้ และเมื่อแก้ไขเแล้วก็จะไปปรากฏยังระบบของผู้ให้บริการ การตรวจสอบและเชื่อมโยงการกระทำความผิดจากหมายเลขอีมี่จึงไม่มีความ น่าเชื่อถือในการนำมาใช้ลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่ามีการกระทำความผิดได้ เพราะหมายเลขอีมี่ไม่เหมือนดีเอ็นเอที่สามารถระบุความเป็นตัวตนของเครื่อง โทรศัพท์ได้

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ TRUE ได้ให้การว่า "ข้าฯเคยได้ยินมาว่ามีการเปลี่ยนหมายเลขอีมี่กลางโดยการจ้างช่างโทรศัพท์เป็นเลขอีมี่อย่างอื่นได้"และ "อีมี่กลางนั้นสามารถใช้กับโทรศัพท์หลายๆ เครื่องได้"

>พยานโจทก์ เจ้าหน้าที่ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ได้ให้การว่า "หมายเลขอีมี่สามารถให้ช่างเครื่องซ่อมโทรศัพท์มือถือที่เชี่ยวชาญเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้หมายเลขอีมี่ที่ถูกเปลี่ยนนั้นไปปรากฏยังฐานข้อมูลของบริษัทผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงด้วย"

>เอกสาร ที่ทนายจำเลยนำส่งศาลระบุว่า มีความแพร่หลายในวิธีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมายเลขอีมี่ทั้งจากข้อมูลในอิน เทอร์เน็ตและมีเปิดสอนหลักสูตรในโรงเรียนสอนซ่อมมือถือดังกล่าว"เลขหมายอีมี่สามารถเปลี่ยนใหม่สำหรับเครื่องที่ถูกขโมยมาได้ และ 10% ของหมายเลขอีมี่ก็ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ"

3. โจทก์ก็ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานในการตรวจสอบอีมี่จากทั้ง 3 บริษัทของผู้ให้บริการโทรศัพท์ในประเทศไทย (ไม่ได้ตรวจของเอไอเอส) จึงไม่อาจอ้างได้ว่าอีมี่นี้มีผู้ใช้เพียงเบอร์เดียว

4. กระบวนการสืบสวนตามพยานเอกสารไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเริ่มต้นขอความร่วมมือจาก TRUE โดยนำเบอร์ xxxxx27 ของจำเลยมาตรวจสอบข้อมูลการโทร ทั้งที่ยังไม่ทันได้เลขอีมี่จากเบอร์ xxxxx15 ซึ่งเป็นเบอร์ใช้ก่อเหตุ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเจาะจงขอข้อมูลจากหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยมาตั้งแต่ต้น โดยที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงจากหมายเลขอีมี่เป้าหมายแต่อย่างใด และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยก็ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด

5. คดีนี้มีความผิดพลาดในการสอบสวนสืบสวน มีที่มาของพยานหลักฐานโดยมิชอบ เนื่องจากพยานหลักฐานส่วนใหญ่ในคดีเป็นพยานเอกสาร นอกจากนั้น พยานหลักฐานของโจทก์กลับขัดแย้งกับคำเบิกความของพยานโจทก์อย่างชัดแจ้ง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เบิกความ ซึ่งทำให้ไม่มีความสมเหตุสมผลในการเชื่อมโยง ติดตามหาตัวจำเลยว่าเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบหมายเลขอีมี่ของหมายเลขที่กระทำความผิดเป็นลำดับท้ายสุด

ในการสืบจำเป็นต้องทราบหมายเลขอีมี่ก่อนจึงจะทำการตรวจสอบได้ แต่เอกสารดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามีการตรวจสอบจากหมายเลขของจำเลย (xxxx27) ซึ่งไม่ใช่หมายเลขในการส่งข้อความโดยตรง พยานหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสืบสวนสอบสวนมุ่งโดยตรงมาที่จำเลย ตั้งแต่ต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบมาจากอีมี่ตั้งแต่แรกตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
6. บันทึกคำให้การผู้ให้ถ้อยคำของบุตรสาวจำเลย ก่อนจะมีการจับกุมตัวจำเลยก็ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่
7. หนังสือแจ้งผลการตรวจข้อมูลโทรศัพท์จากดีแทคระบุวันที่ไม่ตรงกับวันเกิดเหตุ"ทางบริษัทได้แจ้งข้อมูลการโทรให้ทราบแล้ว แต่ยังมีประเด็นเรื่องรหัสประจำเครื่อง(IMEI)ที่ขณะนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ บริษัทได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าในช่วงวันที่ 10-15 มิถุนายน 2553 โทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลข xxxxx15 ใช้คู่กับโทรศัพท์(IMEI)หมายเลข xxxxxxxxxxxxxx 0" เจ้าหน้าที่บริษัทให้การว่าใส่วันที่ผิด แต่พบข้อพิรุธว่า มีการระบุว่า "ยังตรวจสอบไม่ได้", ไม่มีการแนบข้อมูลการโทรมีเพียงการระบุอีมี่ อีกทั้งในการส่งเอกสารมาครั้งแรกไม่มีการเซ็นรับรองเอกสาร แต่เพิ่งมาเซ็นรับรองเอกสารในครั้งที่สอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ
8. โจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะแสดงได้ว่าจำเลยเป็นคนกดข้อความ หรือส่งข้อความดังกล่าวไม่มีพยานเอกสารหรือพยานบุคคลใดยืนยันได้ว่าจำเลยซึ่งอายุหกสิบเอ็ดปีแล้ว สามารถส่งข้อความได้ มีเพียงพยานเอกสารซึ่งพยายามเชื่อมโยงว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความและเครื่องโทรศัพท์ของจำเลยเป็นเครื่องเดียวกัน
9. คำให้การพยานโจทก์จากทรู ยังให้การต่อศาลว่า "จากข้อมูลการใช้โทรศัพท์ [หมายเลข xxxxx27 ซึ่งเป็นของนายอำพล-ประชาไท] ไม่ปรากฏว่ามีการส่งข้อความ sms จากเครื่องโทรศัพท์ดังกล่าว"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322312127&grpid=&catid=03&subcatid=0305

--------------------------------------------------------------

หมายเลขอีมี่ การปลอมแปลง กับความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการ

« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 06:13:10 pm »
โดย wad rawee
วาด รวี: หมายเลขอีมี่ การปลอมแปลง กับความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการไต่สวนในคดีส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ศาล พิพากษาว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตาม ที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่ น่าเชื่อถือ

สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6  ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็น ในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง

นอกจากนี้ เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อ โมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ด 2 เลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเสาสัญญาณจากย่านที่ จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย
   
การที่จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์มือถือของจำเลยเสียจึงนำไปซ่อมที่ร้านในห้างอิมพีเรียลสำโรง ศาลเห็นว่าจำเลยให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ จำเลยแจ้งในชั้นจับกุมว่าโทรศัพท์มือถือเคยเสียและนำไปซ่อมเมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่แจ้งในศาลว่านำไปซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 อีกทั้งยังจำร้านที่นำโทรศัพท์ไปซ่อมไม่ได้ ทั้งที่การนำไปซ่อมต้องไปที่ร้านถึง 2 ครั้งคือตอนนำไปซ่อม และไปรับคืน จึงถือว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ

ศาลเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่งSMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง

แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้ อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของ ตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้ เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน


(ดู ข่าวที่http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322032768&grpid=&catid=03&subcatid=0305 และ http://www.prachatai3.info/journal/2011/11/37991 และ  http://thaienews.blogspot.com/2011/11/20sms-101.html )



จากคำพิพากษาข้างต้น มีประเด็นที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของกระบวนการดำเนินคดี ไต่สวน และพิพากษา ดังต่อไปนี้


1.   ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตาม ที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่ น่าเชื่อถือ


“ข้อมูลจราจร” ที่กล่าวอ้างในส่วนนี้ก็คือ หมายเลข อีมี่ (IMEI - International Mobile Equipment Identity) โดยสามัญสำนึกของคนไทยผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไป ไม่ได้สนใจตรวจสอบ “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” ของผู้ให้บริการ หรือแม้แต่หมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์มือถือของตน ก็มีคนเป็นส่วนน้อยมากเท่านี้ที่รู้และตรวจสอบ คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าหมายเลขอีมี่คืออะไร สิ่งที่ผู้ใช้บริการทั่วไปสนใจตรวจสอบในกรณีที่เกี่ยวกับบริษัทผู้ให้บริการ ตามที่ศาลกล่าวอ้าง โดยสามัญสำนึกทั่วไปแล้ว ก็คือ บิลค่าโทรศัพท์ แต่เมื่อลองตรวจสอบบิลค่าโทรศัพท์แบบรายเดือนแล้ว พบข้อมูลที่ปรากฏนอกจากบันทึกการโทรศัพท์และค่าโทร ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อผู้จดทะเบียน, เลขที่ลูกค้า, วันที่ออกใบแจ้งค่าใช้บริการ, เลขที่ใบแจ้งค่าใช้บริการ, วงเงินค่าใช้บริการ, โปรโมชั่น, วันสิ้นสุดโปรโมชั่น

ในส่วนของแบบฟอร์มสำหรับชำระค่าบริการที่ธนาคาร มีข้อมูลคือ service code, Customer No., Reference No., วันครบกำหนดชำระรอบปัจจุบัน

ไม่ปรากฏหมายเลขอีมี่อยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใดของบิลค่าโทรศัพท์จากผู้ให้บริการแต่อย่างใด

การอ้างว่าหาก “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” จัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ นี้ จึงมีเหตุผลเฉพาะข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับค่าโทรศัพท์ ไม่เกี่ยวกับหมายเลขอีมี่ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่โจทก์อ้างใช้ในการระบุ เครื่องโทรศัพท์แต่อย่างใด


2.   จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขอีมี่ แม้ว่าจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ “คนทั่วไป” ทราบ แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ “ทราบกันโดยทั่วไป” ใน วงการร้านค้าโทรศัพท์มือถือ ทั้งร้านขาย และร้านซ่อม  สำหรับผู้ที่ซื้อโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศและต้องการใช้ซิมในเมืองไทย บางครั้งก็ต้องปลดล็อกและแก้ไขหมายเลขอีมี่ ซึ่งก็มีร้านให้บริการทั่วไป ดังเช่นโฆษณานี้ เป็นต้น
ปลดล็อคซัมซุง แก้อีมี่ Sumsung นอก ให้มีสัญญาณใช้ซิมไทยได้ ซัมซุงแก้ซิมนอก แก้เครื่อง
(http://www.mydrmobile.com/shopmobile/sumsung.html )


ทั้ง นี้ การแก้ไขเลขอีมี่ของโทรศัพท์มือถือ หาได้เป็นเรื่องลึกลับพิเศษพิสดาร ต้องตามล่าหาผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด หากแต่เป็นเทคนิกง่าย ๆ ที่แพร่หลายกันทั่วไป ดังเช่นตัวอย่างนี้

วิธีการแก้อีมี่ IMEI เครื่อง Nokia
(http://www.geocities.ws/phonethai/nkimei.htm )


และยังเป็นข้อเท็จจริงทั่วไปทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังข่าวนี้

ซอฟต์แวร์ปลดล็อกอีมี่ เปิดขายเกลื่อนทั่วเน็ต
(http://hitech.sanook.com/mobile/news_01614.php )


อัน ที่จริงแล้ว การแก้ไขเลขอีมี่นี้ คนที่สนใจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีก็สามารถทำเองกับบ้านได้ มีเว็บไซต์ที่สนทนากันเกียวกับความรู้เรื่องนี้แพร่หลายโดยทั่วไป เช่น

วิธีแก้ไข product code XXXXXXXXX และ IMEI เปลี่ยน 004999010640000
(http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=375068&PN=1)

หรือ



ดัง นั้น การที่ศาลอ้างว่า จำเลยไม่สามารถหาผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ว่าหมายเลขอีมี่สามารถถูกปลอมแปลง ได้ เมื่อพิจารณาเรื่องโดยสามัญสำนึกแล้ว ต้องกล่าวว่า

อีเดียด!

(หมายความว่า การใช้ความคิดสติปัญญาอ่อนกว่าสามัญสำนึกโดยทั่วไป)


3.   เอกสาร ในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6  ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็น ในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว

หมาย เลขอีมี่ หรือ IMEI ย่อมาจาก International Mobile Station Equipment Identity เป็นรหัสประจำเครื่อง หรือ serial no. ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีจำนวน 15 หลัก และถ้าหากเป็นมือถือที่ระบุซอฟแวร์ก็จะใช้รหัส IMEISV (IMEI Software Version) ซึ่งจะมีตัวเลข 16 หลัก โดยตัวสุดท้ายจะระบุซอฟท์แวร์ สำหรับเลข IMEI 15 หลัก จะแบ่งเลขออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือ TAC (Type Approval Code) ประกอบด้วยตัวเลข 6 ตัวแรก เป็นตัวเลขที่ระบุเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดและที่อยู่ของโทรศัพท์ กลุ่มที่สอง FAC (Final Assembly Code) มี 2 หลัก ระบุโรงงานผู้ผลิต กลุ่มที่สาม มี 6 หลัก เป็น Serial number ของโทรศัพท์ และตัวสุดท้าย มีหลักเดียว (ถ้าเป็น IMEISV ก็จะมีตัวเลขต่อมาอีกหนึ่งหลักระบุซอฟท์แวร์) เป็นตัวเลขสำหรับตรวจสอบ (CD - check digit) เพื่อคำณวณ Luhn algorithm เพื่อตรวจสอบ

ความหมายของตัวเลขสุดท้าย
ตัว เลขสำหรับตรวจสอบนี้คือ Luhn check digit โดยก่อนปี 2003 ตาม GSMA guideline จะให้หมายเลขนี้ปรากฏขึ้นใน network เป็น 0 เสมอ อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2003 แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการระบุหมายเลขเวอร์ชั่นของซอฟแวร์เพิ่มเข้ามาเป็นหมายเลข IMEISV ระบบ Luhn algorithm นี้ คิดค้นโดย Hans Peter Luhn นักวิทยาศาสตร์ของ IBM เป็นที่รู้จักในชื่อ modulus 10 หรือ mod 10 algorithm ใช้ในการแยกแยะระบุตัวเลข และเป็นระบบเดียวที่ใช้กับบัตรเครดิต เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความผิดพลาด (ดู http://en.wikipedia.org/wiki/International_Mobile_Equipment_Identity และ http://www.gsm-security.net/faq/imei-international-mobile-equipment-identity-gsm.shtml)

หมาย เลขอีมี่นี้โทรศัพท์จะมีอยู่บนเครื่องและในชิพของโทรศัพท์ วิธีดูจากหน้าจอก็คือกด *#06# โดยหมายเลขนี้สามารถนำไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ http://www.numberingplans.com/?page=analysis&sub=imeinr 

โดย ทั่วไปเมื่อกรอกหมายเลขลงไปแล้วเว็บไซต์ก็จะประมวลผลตอบกลับมาว่าหมายเลขดัง กล่าวเป็นของโทรศัพท์เครื่องอะไรรุ่นอะไร เข้าใจว่าเว็บไซต์ที่ พ.ต.อ.ศิริพงษ์ใช้พิสูจน์ให้ศาลดู ก็น่าจะเป็นเว็บไซต์เดียวกันนี้ (ดู http://atcloud.com/stories/56404 และ http://community.siamphone.com/viewtopic.php?p=40684)

อย่าง ไรก็ตามเมื่อผมตรวจสอบหมายเลขอีมี่จากโทรศัพท์ของตนเอง ลองกรอกไปในเว็บไซต์ดังกล่าว ปรากฏเพียงข้อความว่า หมายเลขถูกต้อง แต่ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะระบุ และ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับรุ่นของโทรศัพท์ปรากฏขึ้นมาแต่อย่างใด

แต่ประเด็นสำคัญที่สุดของคำพิพากษาในส่วนนี้ก็คือตรงที่ขีดเส้นใต้ ศาลอ้างว่า พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อ พิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง ถึงแม้ว่าจะเป็นจริงตามที่ศาลอ้าง ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ได้จากรหัส 14 หลักดังกล่าว ก็เพียงสามารถระบุ “รุ่น” ของโทรศัพท์เท่านั้น ไม่สามารถระบุ “เครื่อง” โทรศัพท์ได้ และโทรศัพท์รุ่นหนึ่ง ๆ ข้อเท็จจริงโดยทั่วไปก็ไม่ได้ผลิตเพียงเครื่องเดียว ซึ่งหมายความว่า กระบวนการพิสูจน์ที่ศาลอ้างมาดังกล่าว ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า โทรศัพท์ของจำเลยเป็นโทรศัพท์ “เครื่อง” ที่ใช้ก่อเหตุ และการอ้างต่อมาว่า ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย ก็หมายความเช่นเดิมว่า ตัวเลขทั้ง 14 หลักดังกล่าว สามารถบอกได้แค่ “รุ่น” ของเครื่องแต่เพียงเท่านั้น แต่เพียงระบุได้แค่รุ่นของเครื่อง ศาลกลับโยงไปสู่ข้อสรุปว่า จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว  การที่ศาลระบุดังนี้ เป็นการละเลยข้อเท็จจริงที่เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปว่า ไม่มีโทรศัพท์รุ่นใดผลิตออกมาเพียงเครื่องเดียว ดังนั้น การสามารถระบุรุ่นของโทรศัพท์ ย่อมห่างไกลจากการสามารถระบุ “ตัว” เครื่องโทรศัพท์ ตามที่ศาลกล่าวอ้าง และยิ่งห่างไกลจากการระบุตัว “ผู้ใช้เครื่อง” โทรศัพท์ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินว่าจำเลยผิดหรือไม่


4.   เนื่อง จากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อ โมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้

หากจับความตามคำพิพากษานี้ ศาลได้อาศัยเพียงแค่ “รุ่น” ของโทรศัพท์ต้องสงสัย ว่าตรงกับ “ยี่ห้อ” ของโทรศัพท์ที่นายอำพลใช้ และอาศัยปากคำของนายอำพลว่าใช้อยู่ผู้เดียว ในการสรุปว่า “ยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้” น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าโดยทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในเมืองก็มักจะป็นการ “ใช้อยู่ผู้เดียว” ดังที่ปรากฏเป็นข้อเท็จจริงทราบโดยทั่วไปว่า ในการติดต่อกันระหว่างบุคคลเพื่อการใด ๆ ก็ดี ก็มักจะมีการให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือให้กันไว้ โทรศัพท์มือถือที่เป็นโทรศัพท์ส่วนบุคคลนั้นย่อม “ใช้อยู่ผู้เดียว” เป็นเรื่องปรกติ เหตุใดศาลจึงนำข้อเท็จจริงทั่วไปนี้มาสรุปว่า “ยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้” ซึ่งเท่ากับศาลได้ตัดความเป็นไปได้อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การที่มีผู้แอบใช้โทรศัพท์โดยที่จำเลยไม่ทราบ การลอบใช้โทรศัพท์โดยวิธีอื่น หรือกระทั่งการซ้ำกันของหมายเลขอีมี่ เป็นต้น


5.   พบ ว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ด 2 เลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน

ศาลกล่าวสั้น ๆ เพียงว่า พบว่าโทรศัพท์ของจำเลยมีการใช้กับซิมการ์ด 2 หมายเลข โดยที่ศาลไม่ได้ตั้งข้อสังเกตใด ๆ เกี่ยวกับหมายเลขที่สอง แต่ศาลกลับใช้สิ่งที่เป็น “ข้อเท็จจริงโดยทั่วไป” ว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน โดยในที่นี้ ศาลไม่ได้ระบุว่า โทรศัพท์ของจำเลยเป็นโทรศัพท์ชนิดที่สามารถใช้เพียงซิมเดียวหรือสองซิม ในกรณีที่เป็นโทรศัพท์ซิมเดียว ย่อมใช้ซิมการ์ดได้ทีละเลขหมาย กล่าวคือ หากจะเปลี่ยนมาใช้อีกเลขหมาย ก็ต้องถอดซิมหนึ่งออก และใส่อีกซิมหนึ่งเข้าไป ดังนั้น โทรศัพท์ชนิดนี้ ซิมการ์ดจึง “ไม่มีทางที่จะถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน” ได้ แต่ศาลกลับเอาสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมดา (คือซิมการ์ดสองหมายเลขไม่ถูกใช้ในเวลาซ้ำกัน) มากล่าวว่าเป็น “หลักฐานชี้ชัด” ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงที่ “รู้โดยไม่ต้องประจักษ์” อยู่แล้วว่า ถ้าเป็นโทรศัพท์ซิมเดียวก็จะใช้ในเวลาซ้ำกันไม่ได้

ส่วน ในกรณีที่เป็นโทรศัพท์สองซิม ศาลต้องพิจารณาต่อไปว่า เป็นโทรศัพท์สองซิมที่สามารถใช้ซิมทั้งสองพร้อมกันได้หรือไม่ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงทั่วไปของโทรศัพท์สองซิมหรือมากกว่านั้น คือมีที่ใส่ซิมการ์ดได้สองหมายเลขหรือมากกว่า แต่การใช้งานจะใช้ได้เพียงทีละหมายเลขเท่านั้น หมายความว่า เมื่อจะใช้อีกซิมหนึ่ง ก็ต้องปิดซิมที่ใช้อยู่เสียก่อน ดังนั้น ข้อเท็จจริงของกรณี ก็จะเป็นเช่นเดียวกับโทรศัพท์ซิมเดียว คือ การใช้สองหมายเลขในเวลาซ้ำกันนั้น เป็นไปไม่ได้ เป็นข้อเท็จจริงโดยปรกติอยู่แล้ว อีกประเภทคือ เป็นโทรศัพท์หลายซิมที่สามารถใช้ 2 หมายเลขในเวลาเดียวกันได้ แต่ความสามารถดังกล่าวไม่ใช่เป็นความสามารถของโทรศัพท์ทั่วไป แต่เป็นเทคโนโลยีทันสมัย ดังเช่นที่ปรากฏในข่าวนี้ (วันที่ 9 สิงหาคม 2554)

Nokia C2-00 เป็นโทรศัพท์มือถือ 2 ซิมเครื่องแรกของอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ ที่ทั้งสองซิมสามารถเปิดรอรับสาย (Stand by) ได้พร้อมกัน การรับสายเรียกเข้าและข้อความต่างๆ ที่ส่งมา สามารถทำได้พร้อมๆ กันทั้ง 2 หมายเลข Nokia C2-00 มาพร้อมฟังก์ชั่นสลับง่ายหลายซิม ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากค่าบริการที่แตกต่างกันในแต่ละเครือข่าย และใช้เครื่องโทรศัพท์ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวโดยแต่ละคนสามารถใช้ซิมของตัว เอง อีเมล์และข้อความแชตสามารถส่งตรงไปยังโทรศัพท์ด้วยบริการ Nokia Messaging พร้อมฟังเพลงจากวิทยุเอฟเอ็มหรือเครื่องเล่นเพลงจากคลังเพลง รองรับการ์ด microSD สูงสุดถึง 32GB
http://news.siamphone.com/news-04326.html

ซึ่ง (สมมติ – เพราะเป็นไปไม่ได้เนื่องจากโทรศัพท์แบบนี้เพิ่งมี) ถ้าหากว่าอากงใช้โทรศัพท์มือถือไฮเทคดังโฆษณา (ซึ่งก็ไม่ใช่รุ่นโมโตโรล่าและไม่ทราบว่ายี่ห้อโมโตโรล่ามีเทคโนโลยีดัง กล่าวหรือไม่) แนวไต่สวนของศาลก็จะยิ่งวิกลเข้าไปอีก เพราะถ้าการที่ซิมการ์ดทั้งสองไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน (ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงปรกติ) กลายมาเป็น “หลักฐานชี้ชัด” ว่าจำเลยเป็นผู้ต้องสงสัยในความเห็นของศาล หากจำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่าหมายเลขทั้งสองถูกใช้ในเวลาที่ซ้ำกันได้ หมายความว่า จำเลยก็จะพ้นจากข้อสงสัยกระนั้นหรือ? และถ้าในกรณีที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ทันสมัยที่สามารถใช้ซิมสองซิมพร้อมกัน คนร้ายก็เพียงเปิดรอสายไว้ที่ซิมปรกติ และใช้ซิมอีกหมายเลขก่อเหตุ จากนั้นก็ทิ้งซิมที่ก่อเหตุไป ถ้าตำรวจใช้หมายเลขอีมี่ตามมาถึงตัวและถูกจับ คนร้ายก็สามารถใช้ข้อเท็จจริงที่ว่า หมายเลขต้องสงสัยนั้นได้ถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกับหมายเลขของตน เท่านี้ ก็จะสามารถพิสูจน์ความผิดกับศาลได้กระนั้นหรือ?

เห็นได้ชัดว่าหลัก ความจริงมูลฐานที่ศาลใช้พิสูจน์ความผิดในคำพิพากษาส่วนนี้เต็มไปด้วยความ ฟั่นเฟือน และไม่เข้าใจเทคโนโลยี เอาสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงทั่วไปมาเป็นเหตุแห่งการชี้เฉพาะ และระบุว่าเป็นหลักฐาน ในขณะเดียวกันก็ไม่มีความตระหนักว่าข้อเท็จจริงมูลฐานทั่วไปที่มาที่มาจาก เทคโนโลยีนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้


สรุป
คำพิพากษาของ ศาลในคดีอากงนี้ ทั้งอีเดียด (ในความหมายของการอ่อนสติปัญญากว่าสามัญสำนึกโดยทั่วไป) และ ฟั่นเฟือน ขาดความรู้ ขาดความรอบคอบ ไม่เข้าใจเทคโนโลยี และสำคัญที่สุด ในกรณีของการใช้หมายเลขอีมี่ระบุตัวจำเลยนั้น ถึงแม้ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี ก็ควรใช้สามัญสำนึกไตร่ตรองได้ว่า การสามารถระบุรุ่นของโทรศัพท์นั้น ย่อมไม่ได้หมายความว่าสามารถระบุตัวเครื่องโทรศัพท์ และในเมื่อจำเลยให้การว่าแม้แต่ส่งเอสเอ็มเอสก็ทำไม่เป็นแล้ว จะให้ไปหาผู้เชี่ยวชาญมาต่อสู้นั้น จำเลยจะมีแง่มุมความคิดใดหรือข้อมูลใดเป็นพื้นฐานว่าต้องไปตามผู้เชี่ยวชาญ ในลักษณะใด ดังนั้นย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องทำให้กระบวนการไต่สวนเป็นไปโดย ยุติธรรม และสำคัญที่สุดคือ ในเมื่อข้อเท็จจริงของกรณี ได้เห็นแล้วว่า ตัวเลข 15 หลักนั้น หลักสุดท้ายในบันทึกการจราจรไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ของจำเลย และการพิสูจน์ผ่านเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตก็สามารถระบุได้เพียง “รุ่น” ของเครื่องเท่านั้น การที่จำเลยมีโทรศัพท์ “รุ่น” เดียวกับโทรศัพท์ต้องสงสัย ย่อมไม่ได้หมายความว่าเป็นโทรศัพท์เครื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์หรือตำรวจผู้ดำเนินคดี ที่จะต้องจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาเพื่อพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับ และเปิดเผย ให้ได้ว่า ข้อมูลในบันทึกการจราจรที่ได้มานั้น สามารถโยงไปสู่โทรศัพท์ “เครื่อง” ของจำเลยได้อย่างไร เห็นได้ชัดว่า ภาระของการหาผู้เชี่ยวชาญนี้เป็นภาระของโจทก์ ไม่ใช่ของจำเลยดังที่ศาลกล่าวอ้าง

นอกจากนี้ ดุลยพินิจในเรื่องการปลอมแปลงหมายเลขอีมี่ของศาลยังเป็นไปอย่างขาดสามัญ สำนึก ทั้งที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขประจำเครื่องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าทำกันโดยทั่วไป ถึงแม้ว่าศาลขาดความรอบรู้ ไม่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องไต่สวนหรือเรียกหาพยานมาให้ข้อมูล

โดยข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏโดยทั่วไปนั้น การที่โทรศัพท์ถูกเปลี่ยนหมายเลขอีมี่นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ดังเช่นกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้

ส่งเข้าศูนย์แล้วเลข IMEI เปลี่ยนไป
http://www.nokiagang.com/forums/imei-t43358.html

หรือ

แฟลช Rom เลขอีมี่เครื่องเปลี่ยน รบกวนผู้รู้ แนะนำวิธีแก้ไขเรียกคืน
http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=464079&PN=1&TPN=1

ยิ่ง ไปกว่านั้น ข้อเท็จจริงโดยทั่วไปเกี่ยวกับหมายเลขอีมี่ในเมืองไทยนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าหากซื้อโทรศัพท์มือสอง หรือแม้แต่โทรศัพท์ที่ใช้เป็นโทรศัพท์ที่ซื้อจากศูนย์ แต่ถ้า “เคย” นำไปซ่อมที่ร้าน ก็มีโอกาสตลอดเวลาที่เลขอีมี่จะถูกเปลี่ยนแปลง และโทรศัพท์มือสองโดยทั่วไปนั้น มีเลขอีมี่ที่ซ้ำกันเป็นเรื่องปรกติ ดังเช่น บทสนทนาที่เว็บไซต์สยามโฟนนี้ http://community.siamphone.com/viewtopic.php?t=12848 ซึ่งโพสต์ไว้ตั้งแต่ปี 2003

http://www.thaipoetsociety.com/index.php?topic=4040.0
 
--------------------------------------------------------------
FfF