บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


09 พฤศจิกายน 2554

<<< ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการนำ EM มาช่วยแก้กลิ่นเหม็นที่เกิดจากน้ำท่วมขังจนน้ำเหม็น แก้ปัญหาถูกวิธีหรือไม่ มีผลเสียอย่างไร >>>

<<< รายละเอียดเกี่ยวกับ EM จาก บริษัทผู้ผลิตในไทย >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2011/11/blog-post_8791.html

----------------------------------------------------

EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?

updated on:04 Nov 11
EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ ?
โดย กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน
ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้
EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ
  • กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
  • กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำใน บริเวณที่มีการท่วมขังอีกทางหนึ่ง โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวที่ยังคงเหลืออยู่ย่อมก่อให้เกิดความต้องการออกซิเจน ในน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงได้ และแม้แต่จุลินทรีย์ใน EM เอง เมื่อตายไปก็นับเป็นแหล่งสารอินทรีย์ในน้ำเช่นกันซึ่งก็ยังต้องใช้ออกซิเจน ในการย่อยสลายเช่นกัน ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณสารอินทรีย์ (ดังที่กล่าวถึงข้างต้น)
ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบท ความก่อนหน้านี้ (http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3881)
ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง
ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู
ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน
Content maintained by (04 Nov 11)

http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3915

--------------------------------------------------------

สื่อนอกตีข่าวไทยใช้ EM บอลแก้น้ำเสีย แต่ WHO ชี้อาจเปล่าประโยชน์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 พฤศจิกายน 2554 00:02 น.


วอลล์สตรีท เจอร์นัลด์ - สื่อต่างประเทศตีข่าวชาวบ้านในกรุงเทพฯกำลังหันไปพึ่งจุลินทรีย์ก้อนหรืออี เอ็มบอลที่ผู้นำเสนออ้างว่าสามารถบำบัดและฆ่าเชื้อโรคน้ำที่ท่วมขังทั่ว เมืองหลวง แต่ปัญหาคือไม่มีใครหรือแม้กระทั่งองค์การสาธารณสุขระดับโลกเองก็ไม่สามารถ ยืนยันได้ว่ามันจะได้ผลอย่างแท้จริง

ความพยายามทำและแจกจ่าย "เอฟเฟคทีฟ ไมโครออร์แกนิซึม" หรือ "อีเอ็มบอล" ได้แพร่กระจายไปทั่วเมือง โดยอาสาสมัครรวมตัวกันที่อัมรินทร์ พลาซ่าและสถานที่อื่นๆเพื่อปั้นอีเอ็มบอลหลายแสนลูกสำหรับแจกจ่ายในพื้นที่ ประสบอุทกภัย

ก้อนปั้นขนาดเท่าลูกเทนนิสมีส่วนประกอบของดิน รำ ดินทรายและจุลินทรีย์ เชื่อว่าเมื่อโยนอีเอ็มบอลหนึ่งก้อนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่น้ำท่วมขัง 5 ลูกบาศก์เมตร และอยู่ได้นานกว่า 1 เดือน ทำให้เกิดแนวคิดนำไปฆ่าเชื้อโรคตามพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขังที่อาจแพร่เชื้อ โรคหรือโรคติดต่อต่างๆ

แม้แรกๆสิ่งนี้นำพามาซึ่งความตื่นเต้น ทว่าต่อมาเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขต่างรู้สึกเคลือบแคลงว่ามันอาจไร้ ประโยชน์ โดยเฉพาะในน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนอยู่อย่างเช่นน้ำที่กำลังท่วมไทยในเวลา นี้

"ด้วยเหตุที่มีน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง การเพาะอีเอ็มจึงจะต้องใช้จำนวนมหาศาลถึงจะได้ผล" ดอกเตอร์ มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยกล่าว "นี่อาจเป็นการเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลโดยที่ยังไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์หรือไม่ จนกว่าจะผ่านการทดลองภายใต้การควบคุมเพื่อวัดถึงประโยชน์จริงๆของมัน" พร้อมบอกว่าขณะที่มีการกล่าวอ้างว่าเทคโนโลยีเอฟเฟคทีฟ ไมโครออร์แกนิซึม เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็นสึ นามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเฮอร์ริเคนแคทรินา แต่ก็มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนว่ามันจะได้ผลกับ สถานการณ์ในไทย

มีการถกเถียงกันในเรื่องนี้ตามเว็บบล็อกต่างๆว่าความพยายามปั้นอี เอ็มบอลนี้เปล่าประโยชน์หรือไม่ โดยในบล็อกแห่งหนึ่ง มีคนเอารายงานผลศึกษาของภาควิชาหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบอกว่าอีเอ็ม บอลยิ่งแต่ทำให้มลพิษทางน้ำเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากมันจะไปลดระดับออกซิเจน ในน้ำ

ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนลูกบอลนี้บอกว่าแม้มันจะช่วยอะไรได้ไม่มาก แต่ก็อย่างน้อยมันก็เป็นหนึ่งในความพยายามคลี่คลายปัญหาความโสโครกที่กำลัง ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้การปั้นลูกบอลก็เป็นการแสดงออกของชุมชนเพื่อแสดงความสนับสนุนผู้ ประสบภัยคนอื่นๆ

"นี่ไม่ใช่แค่แนวทางบำบัดน้ำ แต่มันยังเป็นแนวทางที่คนเข้าถึงและมีส่วนร่วม" นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์กล่าว

เทคโนโลยีอีเอ็มบอล ถูกใช้ครั้งแรกในญี่ปุ่น และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีการทดสอบในปีนัง มาเลเซีย เพื่อใช้ทำความสะอาดน้ำครำและป้องกันการเติบโตแพร่ขยายของสาหร่าย ซึ่งแตกต่างจากไทยที่กำลังต่อสู้กับน้ำเน่าจากซากสัตว์และสิ่งปฏิกูล ขณะที่อาสามัครที่ร่วมมือกันปั้นอีเอ็มบอลที่อัมรินทร์ พลาซ่า ได้รับคำแนะนำว่าหากหย่อนลูกบอลในบริเวณน้ำไหลเชี่ยวมันก็จะไม่เกิดประโยชน์ ใดๆ

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000142193

--------------------------------------------------------


น้ำดี น้ำเน่า EM ปูนขาว ก๊าซไข่เน่า ออกซิเจน พีเอช แบคทีเรีย vote ติดต่อทีมงาน

น้ำดี น้ำเน่า EM ปูนขาว ก๊าซไข่เน่า ออกซิเจน พีเอช แบคทีเรีย


หลาย คนคงกำลังให้ความสนใจประเด็น EM ใช้ได้หรือไม่ได้ แต่อ่านบทความ อ่านกระทู้แล้วก็ยังงงๆ เพราะข้อมูลที่ได้ไม่ได้เริ่มจากพื้นฐานเจดีย์ แต่เอาปลายๆเจดีย์มาให้ดูกันแต่ละปลาย

ในฐานะที่เป็นคนนึงที่ช่วง นี้ถูกถามเรื่อง EM กับเรื่องการบำบัดน้ำเสียที่เป็นกระแสในตอนนี้ มาตลอดหลายวัน จึงอยากเขียนกระทู้นี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนทั่วไปอ่านแล้ว เห็นภาพรวมของวัฏจักรธรรมชาติในส่วนนี้ และสามารถอ่านบทความต่างๆที่เป็นยอดเจดีย์ได้เข้าใจมากขึ้น

ทั้ง นี้เนื่องจากไม่ได้ความรู้สายบำบัดด้วยระบบทางชีวภาพมาหลายปี เลยลืมไปบ้าง ลืมศัพท์เทคนิคไปบ้าง อาจไม่ถึงกับแม่นเป๊ะตามตำรา แต่ก็น่าจะทำให้เห็นภาพได้ดี ถ้าผู้ใดเห็นจุดที่ผิดไปจากตำรา ช่วยโต้แย้งด้วยครับ




--- ย้ำอีกครั้งว่า ไม่ได้มาฟันธง ว่า EM ball จะใช้งานได้หรือไม่ เพียงแต่ให้ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้เมื่อไปอ่านที่เขาถกกัน จะได้เข้าใจมากขึ้น ----

แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 18:16:27
จากคุณ : GreenEyes
เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:36:46
ถูกใจ : gunpen2010, psychoshocker, นายสะพานหมอก, TinyNu, ตัวกลมๆผมม้า, ลาบเลือดน้ำตกซกเล็ก, นักมายากลแห่งรัสเซีย, miscellaneous, BigMooHuHu, นักลงพุง, backsubport, Fiorina, Due_n, Black Eyed Peas, MeeMuay, Ao+, ScubaBall, env42_tay, Dark Archon, รักเธอเพราะเธอน่ารัก, PlaPinky, ปีย์, bookalive, kiaw_sape, Choco-Mix, ลูกผู้ชายหัวใจคลาสสิค, fasai_jbt, เพียงพิณ, mrsky, BlueWhaleZE, ReHeat, No Sense of Humor, thep497, เส้นขอบฟ้าเวลาพระอาทิตย์ตกดิน, nanientertain, กริธ, ameloblast, พี่เจิด, Suddenly Psychotic, SleepingSickness, -=Jfk=-, DriftMaster, สลบชัย, sommass, ม้าหงอย, think4223, nippon_tsuki, แม่ไม้เลื้อย, wor_lek, ดิฉันขำขันมาก,,*, เฉาก๊วยกะบ๊วยเค็ม - -", ดอกฟ้ากับนายกระจอก, primjang, ประชามีสุข, mancunian, rsco4, AJ_da_NR, สามัญลักษณ์, bugkyu, groundtruth, นอนคือชีวิต, กระจายทรัพย์, Feudalz, Dev Nat, GOTIGER, นิยมวัตถุ, khonkuy, Domep31, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat, bakasama, ลูกสาวมาเฟีย, กลูเตียส แมกซิมัส, walk out, preedaake, NAPUS 57





      ความคิดเห็นที่ 1 ติดต่อทีมงาน

      น้ำดี ทำไมจึงเน่า? ... อะไรคือน้ำเน่า?


      ตามปกติ สิ่งที่เราไม่เห็นแต่มีอยู่จริงในน้ำ ก็คือ

      1. สารอินทรีย์ละลายน้ำ ที่มาจากซากนู่นนี่นั่นทำปฏิกิริยากับน้ำ กลายเป็นสารอินทรีย์ละลายน้ำ

      2. แบคทีเรีย ทั้งชนิดที่ใช้อากาศ (Aerobic) และชนิดที่ไม่ใช้อากาศ (Anaerobic)

      3. สารประกอบต่างๆ ออกซิเจน ไนไตร ไนเตรท ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟต ซัลไฟต์ คาร์บอเนท ฯลฯ

      ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่จะทำให้น้ำเน่าคือ สารอินทรีย์ละลายน้ำ (มาจากน้ำเสียจากบ้านเรือน ขยะที่คนเราทิ้งลงไป เศษอาหาร อึ ซากพืช ซากสัตว์ นั่นเอง) ซึ่งแบคทีเรียในน้ำใช้เป็นอาหาร

      น้ำที่ไม่เน่า ไม่รู้มีนิยามจริงจังหรือเปล่า แต่มันคือ น้ำที่มีออกซิเจนมากพอ ปลาหายใจได้ สภาพนี้แบคทีเรียที่ครองพื้นที่คือพวกใช้อากาศ พวกนี้โตเร็ว ทำงานเร็ว ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้เร็ว แต่ต้องมีออกซิเจนให้มันใช้เป็นตัวรับอิเล็คตรอน (หรือเรียกว่า เหมือนคนเราใช้หายใจก็ได้)

      ทีนี้พอในน้ำมีสารอินทรีย์ละลายน้ำมากเข้า แบคทีเรียใช้อากาศมันก็มีอะไรกินเยอะ มันก็โตเอาๆ จนใช้ออกซิเจนในน้ำหมด (ออกซิเจนในอากาศละลายลงไปเติมไม่ทัน) มันก็เดี้ยงเพราะไม่มีออกซิเจนไว้หายใจ (ไม่ได้ตายหมดเพียงแต่เหลือน้อย เหลือแถวผิวน้ำเป็นต้น)

      พอออกซิเจนในน้ำหมด พวกแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็ออกมาครองพื้นที่แทน (ฮี่ๆ ตากรูมั่งละ)

      พวก นี้ก็แบ่งเป็นหลายประเภท ใช้สารประกอบนุ่นนี่นั่นที่มีอยู่ในน้ำเป็นตัวรับอิเล็คตรอน (ขี้เกียจเปิดตำรา) บางชนิดโตช้า บางชนิดโตเร็ว แล้วแต่สารที่มันใช้ได้ .... ทีนี้ปัญหาคือ มีตัวนึง มันใช้ซัลเฟต แล้วได้ผลผลิตออกมาเป็นซัลไฟต์ ซึ่ง ที่ภาวะที่น้ำเป็นกรดคือต่ำกว่า 7 มันจะเริ่มอยู่ในรูปของ ไฮโดรเจนซัลไฟต์ และราวๆสักพีเอชน้อยกว่า 5 มันจะอยู่ในรูปไฮโดรเจนซัลไฟต์เกือบทั้งหมด ซึ่งมันระเหยได้ และเหม็นเหมือนไข่เน่านั่นเอง เลยถูกเรียกว่า ก๊าซไข่เน่า

      อย่างไรก็ตามพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจนพวกนี้เติบโตช้า ทำงานช้า ย่อยสารอินทรีย์ได้ช้าๆ

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:40:45
      ถูกใจ : gunpen2010, นายสะพานหมอก, Fiorina, รักเธอเพราะเธอน่ารัก, ปีย์, BlueWhaleZE, กริธ, Jackwill, SleepingSickness, -=Jfk=-, ดิฉันขำขันมาก,,*, masterdead, mancunian, rsco4, สามัญลักษณ์, นิยมวัตถุ, khonkuy, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat



      ความคิดเห็นที่ 2 ติดต่อทีมงาน

      ทีนี้เรารู้แล้วทำไมน้ำเน่า แล้วจะแก้ยังไง?


      1. เราก็เติมออกซิเจนเข้า ไป พอมีออกซิเจน พวกแบคทีเรียใช้ออกซิเจนที่โตเร็ว จะกลับมาครองพื้นที่แทนได้อย่างไว จบปัญหา ตราบใดที่ยังมีออกซิเจนพอ พวกนี้ครองพื้นที่แน่นอน และพอสารอินทรีย์ละลายน้ำหายไปหมดแล้ว น้ำก็จะไม่เน่าอีก

      2. ลดกลิ่นโดยการหาพวกแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศ แต่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นมาใส่ ซึ่งนี่คือที่เราถกเถียงกันเกี่ยวกับการใช้ EM นั่นเอง แต่ไม่ได้ช่วยให้มีออกซิเจนเพิ่มขึ้นนะ แค่ทำให้เน่าเร็วขึ้นแบบไม่เหม็น จนสุดท้ายสารอินทรีย์ละลายน้ำหมด น้ำถึงจะกลับมาดีได้ (แต่ก่อนที่กลับมาดี มันจะเน่าแบบไม่เหม็นจนสัตว์น้ำซึ่งต้องหายใจด้วยออกซิเจน ตายหมด)

      3. อย่างไรก็ตาม ในขั้นแรกสุดๆ คือเราอย่าทิ้งขยะใดๆลงในน้ำครับ (อย่าเพิ่มสารอินทรีย์ละลายน้ำ)

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:43:41
      ถูกใจ : gunpen2010, นายสะพานหมอก, Fiorina, ปีย์, BlueWhaleZE, กริธ, Jackwill, SleepingSickness, -=Jfk=-, San_GokU, ประชามีสุข, Dev Nat, นิยมวัตถุ, khonkuy, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat, Put'me, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 3 ติดต่อทีมงาน

      ปูนขาว ทำไมแก้น้ำเน่าได้?


      ปูน ขาวคือ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนสุก (แคลเซียมออกไซด์) ซึ่งปูนสุกก็มาจากการเผาหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต)

      การ เติมปูนขาวไม่ได้แก้น้ำเน่าได้ครับ แต่ลดการเกิดกลิ่นเน่าได้ โดย ปรับพีเอชให้เป็นกลางหรือด่างนิดๆ ทำให้ก๊าซไข่เน่าถูกเปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปที่ไม่ระเหยออกมา และแคลเซียมจะไปจับกับซัลเฟตแล้วเกิดการตกตะกอน หรือแม้จะไม่ตกตะกอนก็ยังทำให้ซัลเฟตบางส่วนแบคทีเรียเอาไปใช้ยากขึ้น

      ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ทำให้ขั้นตอนที่ให้ก๊าซไข่เน่ามันออกมานั้นช้าลงหรือน้อยลงมากนั่นเอง เป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นทันทีครับ

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:46:04
      ถูกใจ : gunpen2010, ปีย์, กริธ, Jackwill, SleepingSickness, -=Jfk=-, think4223, โปรแตสเซียม, ดิฉันขำขันมาก,,*, Dev Nat, miscellaneous, นิยมวัตถุ, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 4 ติดต่อทีมงาน

      EM คืออะไร?


      จากที่อาจารย์บอก
      EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria)

      ผมขยายความให้

      คือ EM นี่ เขาเน้นออกแบบมาใช้ “หมัก”

      หมัก คือการเอาสารอินทรีย์นั่นนี่ มาหมกๆ ให้แบคทีเรียย่อย สภาพมักเป็นแบบไร้อากาศ ซึ่งสารอินทรีย์จะถูกย่อยให้โมเลกุลเล็กลงๆๆ (หมักอึ หมักปุ๋ย) แล้วเราก็เอาซากที่เหลือไปทำปุ๋ย หรือเอามีเทนที่เกิดไปทำก๊าชชีวภาพ เป็นต้น

      EM ที่เป็นส่วนผสมของเจ้าจุลชีพสามกลุ่ม ทำงานได้ทั้งภาวะมี และไม่มีอากาศ

      Lactic Acid Bacteria แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นตัวสำคัญมาก แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถสร้างกรดแลคติก กรดฟอร์มิค เอทานอล และคาร์บอนไดออกไซด์ โตได้ทั้งภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน

      ที่สำคัญกรดแลคติกที่เกิดขึ้น ก็ไม่เหม็นด้วย ออกจะกลิ่นดีนิดนึง แถมพวกนี้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูง (เน่าสุดๆ) ซึ่งพวกจุลินทรีย์ที่ก่อนให้เกิดการเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นๆ มันอยู่ไม่ค่อยได้

      ยีสต์ (Yeasts) เป็นราเซลล์เดี่ยว ยีสต์จะทำให้เกิดกระบวนการหมักโดยเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอททิลแอลกอฮอล์และ คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆอีกนิดหน่อยเช่น Glyceral, Acetic Acid, Organic Acid, Amino Acid, Purines, Pyrimidines และ Alcohol ยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่เป็นกรดสูง ซึ่งก็คือ สภาพเน่าๆนั่นแหละ

      Phototrophic Bacteria กลุ่มนี้ผมไม่ค่อยรู้จัก เท่าที่หาอ่านๆดู เป็นพวกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงได้ จุดสำคัญของตัวนี้อยู่ที่สามารถเปลี่ยนซัลไฟด์เหม็นๆที่มีในน้ำเน่าให้เป็น ซัลเฟต ซึ่งละลายอยู่ในน้ำไม่ใช่แก๊สเหม็นๆนั่นเอง

      พวกนี้ชอบกินน้ำตาล เวลาทำ EM เลยต้องใส่กากน้ำตาลหรืออะไรพวกนั้นไปด้วย ทำงานได้ทั้งภาวะมีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:49:05
      ถูกใจ : gunpen2010, Fiorina, ปีย์, BlueWhaleZE, กริธ, SleepingSickness, -=Jfk=-, สามัญลักษณ์, เกาะร้าง, phoenixia, นิยมวัตถุ, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat



      ความคิดเห็นที่ 5 ติดต่อทีมงาน

      เติม EM ลงไปในน้ำ แล้วเกิดอะไรขึ้น?

      ขั้นแรกเลย มันก็จะเจริญเติบโตด้วยการกินสารอินทรีย์ในน้ำ โดยใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็คตรอน กลับไปดูหัวข้อทำไมน้ำจึงเน่าใหม่ คุณก็จะได้คำตอบว่า ... ดังนั้นน้ำก็จะเน่า คือไม่มีออกซิเจนเหลือ และปลาตายแน่ๆ (ปลาอึดๆอย่างปลาช่อนคงรอด)

      ขั้นต่อมา ออกซิเจนหมดแล้ว มันก็โตต่อภายใต้ภาวะไร้อากาศ กินสารอินทรีย์ที่กินได้ต่อไป ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ จะไม่เกิดกลิ่นเหม็น แต่ถ้าไม่เป็นไปตามที่คิด ก็จะเน่าเร็วยิ่งกว่าเดิม



      กรณี ที่เห็นเอาไปราดตรงนั้นตรงนี้ ตามตลาดสดแล้วหายเน่า ก็ต้องทำในลักษณะการหมัก EM ก่อนเพื่อเพิ่มจำนวน แล้วพอหมักได้ที่ สารอินทรีย์ละลายน้ำในน้ำหมักหมดแล้ว เหลือแต่เชื้อ ก่อนที่เชื้อจะตาย เราก็เอามันไปปล่อยในที่ที่เราต้องการให้มันไปไล่กินสารอินทรีย์ละลายน้ำ คือหมักให้ได้ที่ก่อนเอาไปใช้

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:50:43
      ถูกใจ : gunpen2010, Fiorina, ปีย์, BlueWhaleZE, กริธ, SleepingSickness, ธีรภัทร์2, -=Jfk=-, ประชามีสุข, สามัญลักษณ์, phoenixia, นิยมวัตถุ, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat



      ความคิดเห็นที่ 6 ติดต่อทีมงาน
      อะไรคือประเด็น ที่ถกเถียงกัน

      1. มันก็เหมือนเติมแบคทีเรียลงไปในน้ำ ออกซิเจนก็ถูกใช้หมดอยู่ดี ปลาตายอยู่ดี

      2. ถ้าเน่าแล้วค่อยใส่ อาจส่งผลดีเพราะน้ำจะไม่เหม็น ถ้าเชื้อกลุ่ม EM นี้มันโตได้นะ เพราะจริงๆอาจไม่โตก็ได้ ถ้าไม่โตก็เน่าเร็วกว่าเดิม

      3. ที่ปั้นเป็น EM ball กัน ถ้าเป็นผสมขี้ผสมกากน้ำตาลผสมอะไรพวกนี้ลงไป จะยิ่งเพิ่มสารอินทรีย์ละลายน้ำมากขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้ออกซิเจนหมดไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ละลายน้ำด้วย

      4. EM ที่เอามาใช้กันในแต่ละที่ เป็น EM หรือเปล่า หรือเป็นไปในลักษณะน้ำหมักป้าเช็ง EM และ EM นั้น ไม่ใช่การเอาหัวเชื้อในโรงบำบัดน้ำเสียมาใช้นะ

      5. แบคทีเรียพวกนี้ปล่อยออกซิเจนไม่ได้นะ

      ดังนั้นสมมติว่า มีมวลน้ำก้อนหนึ่งที่มีสารอินทรีย์ละลายน้ำปนอยู่มากมาย

      กรณี 1
      ใช้ EM เติมลงไปแบบไม่ผสมขี้หรือกากน้ำตาล ผลที่ได้คือ ออกซิเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นน้ำที่ไม่มีออกซิเจน สัตว์น้ำจะตาย เหลือแต่แบคทีเรีย ซึงถ้า EM นี้โตชนะเชื้ออื่นๆในน้ำได้ น้ำจะไม่เหม็น ถ้าไม่ชนะน้ำจะเหม็น

      กรณี 2
      ถ้า เติมลงไปแบบมีผสมกากน้ำตาลด้วย ยิ่งทำให้ออกซิเจนลดลงเร็วขึ้นไปอีก เพราะเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ในน้ำ หลังจากนั้นก็จะคล้ายๆกรณี 1

      กรณี 3
      ถ้า นั่นไม่ใช่ EM จริงๆตามทฤษฎี และปั้นแบบ EM ball คือผสมขี้หญ้ากากน้ำตาลไปด้วย ผลลัพพ์จะยิ่งเลวร้าย ผมคงไม่ต้องบรรยาย คุณคงคาดการณ์ผลลัพพ์ได้แล้วจากความรู้ข้างต้น

      กรณีที่ 4
      เอา EM ไปใช้หมักปุ๋ย หมักอี ในภาชนะบรรจุ บำบัดน้ำในบ่อขัง .... ถูกแล้วครับ มันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ถังอึ ถังหมัก บ่อน้ำขังเน่าๆ ไม่ใช่แหล่งน้ำธรรมชาติที่ต้องมีออกซิเจนให้สัตว์น้ำหายใจ

      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 18:55:32
      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 12:53:49
      ถูกใจ : gunpen2010, นายสะพานหมอก, ส้มตัดเทา, สาวน้อยร้อยแปด, Fiorina, kittenishly, ปีย์, KanJaZaWa, [death of a party], mrsky, BlueWhaleZE, ~รักความรุนแรง~, it doesn't mean i don't miss u, กริธ, Jackwill, Laevateinn, จันทร์สุขสดใส, SleepingSickness, -=Jfk=-, San_GokU, สันป่าตอง, think4223, wor_lek, ตุ่มโบ๊ะ, ดิฉันขำขันมาก,,*, ถ้าจะรักใครสักคน, primjang, ประชามีสุข, mancunian, Si_plus, KillingMoon, Humble, สามัญลักษณ์, Singing Blue Jay, นอนคือชีวิต, เกาะร้าง, Khamjoy, Nai_Sara, Dev Nat, วัวน้อยในไร่หญ้า, gade_gear, amphup, ต้น หนองกระพ้อ, ^oio^, นิยมวัตถุ, บานอฟฟี่พาย, Top27, แม่ต้นหอม, Sgt.Oat, กลูเตียส แมกซิมัส, piekai, lalabel



      ความคิดเห็นที่ 7 ติดต่อทีมงาน
      ...ขออนุญาตปาด+กิ๊ฟ+โหวตนะครับ...จขกท ดูแลตัวเองดี ๆ ด้วยครับ อาจโดนสับเละได้ถ้าพูดความจริง >_<...
      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 13:14:50
      จากคุณ : gunpen2010
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 13:10:11





      ความคิดเห็นที่ 8 ติดต่อทีมงาน
      smile ดีมากครับ ให้กีปสนับสนุนคนรู้จริง รู้จักใช้คำบอกเล่าง่ายๆ อ่านสนุกลุกนั่งสบาย
      จากคุณ : TinyNu
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 13:45:11





      ความคิดเห็นที่ 9 ติดต่อทีมงาน
      ขอบคุณครับ
      จากคุณ : หางแหลม
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 14:02:06





      ความคิดเห็นที่ 10 ติดต่อทีมงาน
      กรณี 1-3 นั้น ก็น้ำมันเน่าอยู่แล้ว ออกซิเจนก็ไม่เหลืออยู่แล้ว
      ถึงต้องการนำ EM ball มาใช้ไง ซึ่งก็คือกรณีที่ 4 นั่นเอง

      จะมากั๊กพูดความจริงไม่หมดทำไม เหมือนกับพยายามเปิดช่องว่า
      EM ball ทำให้ออกซิเจนในน้ำหมดไป

      ก็มันหมดแล้ว ถึงได้นำมาใช้ไง ไม่ใช่เอามาใช้ให้มันกินออกซิเจนให้หมด

      เป็นการพูดสลับเหตุมาเป็นผล เอาผลไปเป็นเหตุ

      จากคุณ : แ ต ง ก ว า *
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 14:11:20
      ถูกใจ : ช้างยิ้ม, ชอบกินหมูน้ำตก, ประชามีสุข, ดวงตาตะวัน, En.kong



      ความคิดเห็นที่ 11 ติดต่อทีมงาน
      จาก คห. ที่ 4
      EM ที่เป็นส่วนผสมของเจ้าจุลชีพสามกลุ่ม ทำงานได้ทั้งภาวะมี และไม่มีอากาศ

      จาก คห. ที่ 5 และ ที่ 6 กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 สรุปได้ว่า

      ใน ช่วงแรกของการใช้ EM จุลินทรีย์แบบใช้อากาศในเจ้า EM จะเจริญเติบโตได้ดี กินสารอินทรีย์เป็นอาหาร เพราะฉะนั้นช่วงนี้จะสามารถบำบัดกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำได้

      และต่อมา เมื่อออกซิเจนหมด จุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศใน EM จะเจริญเติบโตแทนที่ กินสารอินทรีย์เป็นอาหาร ซึ่งตรงส่วนนี้จะเกิดก๊าซไข่เน่าจากจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน

      และ จาก คห.2 ข้อ 2 บอกว่า ลดกลิ่นโดยการหาพวกแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศ แต่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นมาใส่ แบคทีเรียตัวนี้มีด้วยเหรอครับ ถ้าแบคทีเรียตัวนี้มีแสดงว่าการบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะไม่ทำให้เกิดกลิ่น และในบอล EM ก็น่าจะใช้เจ้าแบคทีเรียตัวนี้ ซึ่งแปลว่าการใช้ EM ได้ผลดีในการกำจัดกลิ่นเช่นกัน

      ผมสรุปผิดถูกยังไงชี้แนะด้วย

      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 14:41:02
      จากคุณ : ลาบเลือดน้ำตกซกเล็ก
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 14:35:56





      ความคิดเห็นที่ 12 ติดต่อทีมงาน
      อ็อกซิเจนมันละลายลงไปในน้ำเรื่อยๆครับ
      แต่ถ้าอัตราการใช้ไปมากกว่าอัตราการละลาย มันก็หมดและเริ่มเน่า
      การบำบัดน้ำเสียเลยต้องมีขั้นตอนช่วยเร่งการเติมอ็อกซิเจนลงไปในน้ำโดยเครื่องปั่น

      จากคุณ : เจกัน
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 14:47:02 A:124.120.227.95 X: TicketID:204597





      ความคิดเห็นที่ 13 ติดต่อทีมงาน
      ผมมีความเห็นว่าพวกแบคทีเรีย จุลชีพ จุลินทรีย์ นี่ ควบคุมลำบาก ยิ่งเป็นแหล่งน้ำเปิดและไหล ขอบเขตกว้างและไม่ชัดเจน การควบคุมที่ทำให้เกิดผลยิ่งทำได้ลำบาก
      จากคุณ : ลาบเลือดน้ำตกซกเล็ก
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 14:48:18





      ความคิดเห็นที่ 14 ติดต่อทีมงาน
      #11
      ที่ผมนึกออกน่าจะเป็นพวก Chromatiaceae ครับ
      มีใครนึกตระกูลอื่นหรือมีข้อมูลจากผู้ผลิตก็เสริม-แย้งกันมาได้ครับ

      ส่วนได้ผลไม่ได้ผล มันอยู่ที่ว่า
      ที่ใส่ลงไป มันไปเจริญเติบโตได้มากเท่าที่ต้องการหรือไม่
      เพราะมันมีเจ้าถิ่นอยู่ก่อนแล้ว และการที่จะเลือกให้ชนิดไหนเจริญเติมโตในสภาวะเปิดแบบนี้มันยากมากๆ
      ดีไม่ดี กลายเป็นว่าที่โยนลงไปแพ้เจ้าถิ่น ตายหมดแถมโดนยึดก้อนน้ำตาลไปเป็นอาหารเพิ่มเสียอีก


      ป.ล.
      สงสัยอย่าง
      ทำไมคนทำไม่บอกสายพันธุ์ไปเลย
      แล้วจะรู้ได้ไงที่เพาะเลี้ยง(sub-culture)ต่อๆกันมา พันธุ์เดิมมันยังอยู่
      (Lab แถวนี้ เวลาเลี้ยงไปนานๆ ยังต้องตามตรวจเป็นระยะเลย ว่ายังใช่ตัวนี้อยู่ หรือมีปนเปื้อนไปเป็นตัวอื่นแล้ว)

      จากคุณ : KL
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 15:16:56
      ถูกใจ : Deckard, ม้าหงอย, earth after rain, เฉาก๊วยกะบ๊วยเค็ม - -", สามัญลักษณ์, foreverpyre



      ความคิดเห็นที่ 15 ติดต่อทีมงาน
      อธิบายได้ชัดเจนมากครับ

      อย่างนี้เติม em ลงคลองแสนแสบ แบบน้ำก็ช่วยกลบกลิ่นได้ดี แต่ถ้าแบบก้อนนี่คงสร้างปัญหามากกว่าเน่าหนัก แต่เอาเรือไปวิ่งในคลองแสนแสบ นี่เติม ออกซิเจน ให้ นี่แก้ตรงที่สุด ^^

      จากคุณ : BigMooHuHu
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 15:55:56





      ความคิดเห็นที่ 16 ติดต่อทีมงาน
      เชื้อมั่วไปหมด
      จากคุณ : varitpum2
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 15:57:21





      ความคิดเห็นที่ 17 ติดต่อทีมงาน
      แตงกวา :

      ผม ไม่ได้มาฟันธง ว่าดีหรือไม่ เพราะมันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เวลาเขียนก็ต้องให้ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นปกติคือยังไม่เน่า จนถึงขั้นที่น้ำเน่า ไม่ได้มากั๊ก แต่จะเขียนมั่วๆไม่ได้

      กรณีที่ 1-3 ที่ผมยกตัวอย่าง ผมก็ไม่ได้ระบุว่าน้ำนั้นเน่า แต่น้ำนั้นมีสารอินทรีย์ละลายอยู่มาก
      - ถ้าน้ำนั้นมีการไหล อากาศจะซึมลงน้ำเร็ว น้ำก็ไม่เน่าเสีย
      - ถ้าน้ำขังนิ่งๆ อากาศจะละลายได้แค่ผิวบนๆ ก็จะเกิดการเน่าเหม็น

      แล้วก็สมมติว่าเติม EM ลงไป

      ถ้าให้เป็นเคส น้ำยังไม่เสีย ยังมีอากาศอยู่บ้าง ผลก็ตามที่ยกตัวอย่างว่าขั้นแรก ออกซิเจนจะลดลงเร็วกว่าปกติ แล้วเป็นขั้น 2

      ถ้า เป็นเคสน้ำเสียแล้ว เน่าเหม็นแล้ว (กรณีนี้ นอกจากปลาช่อนปลาเข็ม ปลาอื่นแทบไม่รอดแล้ว) ก็ข้ามขั้นที่ 1 ไปขั้นที่ 2 เลย คือกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ แล้วแต่กรณีว่า EM นั่นมันทำจากอะไร


      ส่วนในพื้นที่แต่ละพื้นที่ และ รูปแบบของ EM ball ที่เขาใช้กันประกอบขึ้นจากอะไร ใช้แล้วผลจะเป็นยังไง ก็ดูไปแต่ละเคส อย่างที่บอกว่าผมนำเสนอ แค่ให้เห็นภาพกว้างๆเป็นพื้นฐาน พอไปอ่านที่เขาถกกันซับซ้อนจะได้ไม่งง

      เปรียบไปก็จะคล้ายๆเรือดันน้ำ ที่ออกแบบมาใช้งานได้แน่ๆในคูคลองที่ไม่ใหญ่ แต่ถ้าใช้ในแม่น้ำ ผลจะดีหรือไม่ก็ไม่รู้ได้ชัดนัก

      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 18:19:11
      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 18:00:18
      ถูกใจ : hideto b1, -=Jfk=-, โอ-ต่อ, prayingly, EvaNe, เพลีย'D', hydro_switch, PlaPinky, ดาวกระจ่างฟ้า, makebymyself, Darth Prin, mG_Sy, ประชามีสุข, สามัญลักษณ์, นอนคือชีวิต, Garlamare, Warish, Dev Nat, phoenixia, Sili Man, becutie, kora_sandpiper, Sgt.Oat, แหนมน้อยท่องโลก, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 18 ติดต่อทีมงาน
      ลาบเลือดน้ำตกซกเล็ก :

      โดยปกติ ถ้าน้ำนั้นยังมีอากาศอยู่มาก ระบบโดยรวมยังเป็นแบบใช้อากาศ น้ำไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นอยู่แล้วครับ (ถึง มี หรือ ไม่มี EM ก็ไม่เหม็น)

      ส่วน EM เท่าที่อ่านมา เขาเน้นมาใช้หมักโดยให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ดังที่แปะไว้ใน คห 4

      ถ้า EM พวกนั้นทำงานได้ตามที่ออกแบบ ก็น่าจะทำให้ไม่เหม็นครับ แต่ไม่รู้ว่าจะไม่เหม็นตลอดไปไหม เพราะดูสารผลิตภัณฑ์ที่ได้ ก็นับว่ายังย่อยสลายต่อได้อีกอยู่ดี

      แต่ ถ้ามันไม่ทำงานตามที่คิด ก็คงจะเหม็นครับ จริงๆแล้วไม่ใช่ว่าใส่แบคทีเรียอะไรลงไปแล้วมันจะทำงานได้ดังที่คิด บางทีปรับตัวสู้พวกเชื้อท้องถิ่นไม่ได้ ก็แพ้ไป

      แต่ EM จะทำงานได้แค่ไหน คาร์บอนในน้ำก็ค่อนข้างไม่ค่อยลดลงแค่เปลี่ยนรูปไป ซึ่งยังน้ำได้อยู่ (แต่บางส่วนก็กลายเป็น CO2 ได้) ต่างจากพวกแบคทีเรียใช้ออกซิเจนที่เปลี่ยนคาร์บอนอินทรีย์ไปเป็น CO2 ปลิวออกจากน้ำไปเลย


      ถ้าผสมกากน้ำตาล มูลสัตว์ ฯลฯ ลงไปด้วย ก็ยิ่งเพิ่มสารอินทรีย์ละลายน้ำที่เน่าได้ลงไปด้วย

      แล้วปริมาณ EM ที่ใส่ไปกับปริมาณกากน้ำตาลมูลสัตว์ ฯลฯ ที่ใส่ลงไปละ อย่างละเท่าไร หรือปั้นแต่อาหาร EM แล้วโยนลงน้ำ

      เจ้ากาก+มูลสัตว์พวกนั้น นอกจาก EM กินได้ แบคทีเรียทุกชนิดในน้ำก็ชอบครับ
      น้ำตาล นี่ตัวดีเลย คงยังจำตอนเรือน้ำตาลล่มได้ น้ำจะเน่าอย่างรวดเร็ว พวกใช้อากาศก็รีบกินรีบโตจนออกซิเจนหมด จนพวกไร้อากาศมาทำงานต่อ จนเน่าเลย



      เอาเป็นว่า ผมจึงให้ข้อมูลแบบกว้างๆ เพราะ จะให้ฟังธงว่า ใช้งานได้หรือไม่นั้น ผมตอบไม่ได้ ไม่เก่งขนาดนั้น

      ที่ สำคัญ เดิมที เขาใช้ในการ "หมัก" ซึ่งนั่นความเข้มข้นและระบบ จะต่างกับ น้ำเสียจากน้ำท่วมอยู่มากเหมือนกัน ยิ่งแบบ EM ball ดูแล้วยิ่งทำให้งงเพราะใส่สารอินทรีย์ลงน้ำเพิ่มไปอีกด้วย


      เหมือน เรือดันน้ำน่ะครับ เดิมทีใช้งานได้แน่ๆ กับคลองเล็กๆ แต่พอเป็นแม่น้ำ ผมก็ไม่แน่ใจว่าใช้งานได้หรือไม่ ถึงมันจะดูคล้ายๆกันก็ตาม

      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 19:23:56
      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 18:14:34
      ถูกใจ : earth after rain



      ความคิดเห็นที่ 19 ติดต่อทีมงาน
      เอามาฝากภาพนึง ตัวนี้ไม่ใช่ EM และบำบัดน้ำไม่ได้แน่นอน เพราะมันเป็นหมาข้างบ้านผมเอง

      ดูมันมีความสุขมากกับน้ำท่วมแบบตื้นๆ (ถ่ายเมื่อเช้า ในซอยใกล้ๆเพชรเกษม 23)


      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 18:25:12
      ถูกใจ : หม่องน้ำอิ๊ว, PlaPinky, moofngz, oh_neung, surinkrub, นายข่วย, Natthanuch1, hideto b1, ดิฉันขำขันมาก,,*, เทาขาว, ชินเอมอนซัง, mG_Sy, primjang, สามัญลักษณ์, นอนคือชีวิต, Dev Nat, Sgt.Oat, bakasama, กลูเตียส แมกซิมัส, walk out



      ความคิดเห็นที่ 20 ติดต่อทีมงาน
      ผมอยากเสนอ ให้เอาไปคนละคลองเลยครับ แล้วแข่งกันว่าใครสามารถ ลดปัญหาน้ำเน่าเสียกันได้มากกว่ากัน โดยแยกออกเป็น 2 ประเด็น
      1. กลิ่น สี ความพอใจของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่
      2. คุณภาพน้ำทางวิทยาศาสตร์ ที่วัดได้เช่นค่าอ๊อกซิเจนในน้ำ ฯลฯ ที่ต้องวัด วัดกันทุกๆ 3 วัน ดูสิวิธีใครได้ผลดีกว่ากัน

      โดย ส่วนตัวใช้ EM อยู่ครับ ทั้งทำน้ำหมัก และรดที่น้ำเน่าเสีย ค่อนข้างพอใจอย่างมาก สำหรับปัญหาเรื่องกลิ่น และคุณภาพน้ำ แต่การใช้ EM เราต้องคอยเติมอ๊อกซิเจน ในถังหมักต้องคน ทุกๆ 1-2 วัน ส่วนในน้ำเสีย กลิ่นจะค่อยๆดีขึ้น

      จากคุณ : ปัญหามีเยอะแล้ว ช่วยๆกันแก้ (k_po)
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 18:34:22
      ถูกใจ : -=Jfk=-



      ความคิดเห็นที่ 21 ติดต่อทีมงาน
      เมื่อกี้ดูข่าวแล้วทำให้อยากแนะนำอีกนิด

      เนื้อ ข่าวมีถ่ายภาพประชาชนกลุ่มหนึ่งในชุมชน ชี้ให็ดูว่าในชุมชนน้ำมาอยู่นาน เริ่มเน่าเหม็นแล้ว ภาพที่เห็นคือน้ำเริ่มดำ กับขยะเป็นถุงๆมัดๆจำนวนมากลอยไปมา

      และประชาชนกลุ่มนี้ร้องขอ EM ball !!



      สำหรับคนที่เข้าพื้นที่หรือสามารถเล่าต่อกับคนอื่นๆที่ประสพปัญหาได้ อยากให้ใช้วิธีนี้นะครับว่า

      ขั้นแรกสุดเลย ซึ่งสำคัญที่สุด คือ ถ้าน้ำมา รีบเอาขยะขึ้นจากน้ำ ซากพืชซากสัตว์เอาขึ้นให้หมด คิดซะว่าทำเพื่อตัวเราเอง ชุมชนเราเอง เอาไปมัดรวมไว้ที่ไหนก่อนก็ได้ เพราะถ้ามันลงน้ำ ไม่นาน น้ำเน่าแน่นอนครับ

      ส่วนพอเอาขยะขึ้นหมดแล้ว จะเติม EM หรือไม่ รูปแบบน้ำหมัก หรือ แบบ ball ค่อยลองกันอีกทีละกัน แต่ช่วยเอาขยะขึ้นก่อน สำคัญมาก

      บางทีถ้าเอาขยะขึ้นมาหมด ไม่กี่วัน น้ำอาจหายเหม็นแล้วด้วยครับ

      และ อย่าทำสิ่งต่อไปนี้ คือ อย่าทิ้งขยะลงไปอีก เศษอาหาร น้ำมันพืช อะไรพวกนี้ห้ามเลย อึก็ใส่ถุงโรยปูนขาวหาที่มัดรวมไว้ก่อน น้ำลดค่อยเอาไปทิ้ง มิเช่นนั้น น้ำเน่านี้จะเป็นบ่อเกิดของโรคได้ครับ


      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 19:09:04
      ถูกใจ : catstevens, gunpen2010, ปีศาจแสงจันทร์, hideto b1, ม้าหงอย, earth after rain, Darth Prin, primjang, Sgt.Oat, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 22 ติดต่อทีมงาน
      .... ล่าสุด รู้สึกว่าผมเองอาจต้องอบยพกับเขาในอีกไม่นาน ถ้าไปแล้วอาจไม่มีคอมให้ตอบอะไรได้อีก .....

      ผมอยู่ซอยเพชรเกษม 23 ปากซอยท่วมหมดแล้ว แต่ด้านในยังดีอยู่ และออกไปทางอื่นได้อีกมากมายหลายทาง

      จุดที่อยู่คือ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นแขวงสุดท้ายของภาษีเจริญ ที่น้ำยังไม่ท่วมจนมิด - -"

      เมื่อเย็น มีคนของ กทม มาบอกว่า อีกวันสองวันน้ำอาจล้นทำนบ และแจ้งชาวบ้านริมคลองให้อบยพ .... ซวยละ

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 19:27:40
      ถูกใจ : รักเธอเพราะเธอน่ารัก, jackfruit_k, hideto b1, ดาวกระจ่างฟ้า



      ความคิดเห็นที่ 23 ติดต่อทีมงาน
      ขอบคุณที่ช่วยทำให้อ่านง่ายขึ้นครับ
      จากคุณ : kittenishly
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 20:03:18





      ความคิดเห็นที่ 24 ติดต่อทีมงาน
      ขอให้อพยพโดยปลอดภัยครับ
      จากคุณ : Ao+
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 20:29:54





      ความคิดเห็นที่ 25 ติดต่อทีมงาน
      อยากรู้เหรอค่ะว่า EM มันดี-ไม่ดียังไง......

      ไม่เห็นจะยากเลย...........................

      ก็แค่ทดลองเอาถังมา 2 ใบ

      ใบแรกใส่น้ำที่เน่า + EM
      ใบที่ 2 ใส่แต่น้ำเน่าลงไป

      ผ่านไป 3 วัน เอาปลาหางนกยูงใส่ลงไป ปลาตายไม่ตายเด๋วก็รู้เอง

      การเรียนรู้โดยการทดลองด้วยตัวเองทำให้เรารู้จริง และมีประสบการณ์ค่ะ

      การเรียนรู้ที่เรียนจาก "เค้าบอกมา" บางทีจริงไม่จริงก็ฟังเค้ามาอีกที มันทำให้เราขาดประสบการณ์ และความสนุกในชีวิตลดลงนะค่ะ


      อยากรู้อะไรจริงไม่จริง ต้องลงมือทำด้วยตัวเองค่ะ ^-^

      จากคุณ : worrawan... (Rapboy)
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 20:37:56
      ถูกใจ : apple-polisher, fina_jul, เล่นยามว่าง, napaporn.ph, ชอบกินหมูน้ำตก, Seraphina



      ความคิดเห็นที่ 26 ติดต่อทีมงาน
      ธรรมชาติมันซับซ้อน
      โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ระบบนิเวศ
      มันไม่ใช่กฎทางฟิสิกส์ที่ฟันธงกันง่าย ๆ
      สิ่งมีชีวิต คือ เครื่องจักรที่ใช้กฎทางฟิสิกจำนวนมากมาย
      ระบบนิเวศน์คือระบบที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมาย

      สรุปว่าอย่างพึ่งฟันธง

      จากคุณ : Ao+
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 20:38:18
      ถูกใจ : PERTUSSIS



      ความคิดเห็นที่ 27 ติดต่อทีมงาน
      ขอบคุณมากครับ
      จากคุณ : เส้นขอบฟ้าเวลาพระอาทิตย์ตกดิน
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 21:23:35





      ความคิดเห็นที่ 28 ติดต่อทีมงาน
      ผมเคยลองใส่อ่างบัวที่บ้านแล้วครับ ปลาบอลลูนผมเกือบตายหมด ตอนแรกเห็นน้ำเริ่มขุ่น ขี้เกียจเปลี่ยนน้ำ ไปเจอสรรพคุณ EM อันดีเลิศ เลยใช้ EM คิดว่าช่วยได้ ตื่นเช้ามาปลาลอยคอ ดูดอ๊อกซิเจนที่ผิวน้ำกันใหญ่ ตามที่เจ้าของกระทู้กล่าวมาครับ แต่เรื่องกลิ่นอันนี้ผมไม่ทราบครับ อาจจะพอช่วยได้บ้าง

      ตอนนี้ EM เอาไว้ล้างส้วม ขี้หมา อย่างเดียวครับ ไม่ใส่ อ่างปลาอีก

      จากคุณ : X-Sy
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 21:57:33
      ถูกใจ : it doesn't mean i don't miss u, gunpen2010, สามัญลักษณ์, ToonFx



      ความคิดเห็นที่ 29 ติดต่อทีมงาน
      ขอบคุณมากๆ เลยนะ

      อยากได้งานเขียนแบบนี้แหละ ไม่ต้องวิชาการจัด แต่ให้ความรู้ในแบบที่เข้าใจง่าย

      ขอให้อพยพอย่างปลอดภัยนะคะ ^________^

      แอบนอกเรื่อง น้องหมาใน คห.19 ใช่ตัวที่จขกท.เคยถ่ายรูปเค้าคาบรองเท้าแตะสีฟ้าหรือเปล่าหว่า

      แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 54 22:11:31
      จากคุณ : PlaPinky
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 22:08:05





      ความคิดเห็นที่ 30 ติดต่อทีมงาน
      ปิด ปิด ปิด (พุทธทาสภิกขุ)

      ปิด-ปิดตา: อย่าสอดส่าย ให้เกิดเหตุ

      บางประเภท แกล้งทำบอด ยอดกุศล

      มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน

      เอาไฟลน ตนไป จนใหม้พอง

      ปิด-ปิดหู: อย่าให้แส่ ไปฟังเรื่อง

      ที่เป็นเครื่อง กวนใจ ให้หม่นหมอง

      หรือเร้าใจ ให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง

      ผิดทำนอง คนฉลาด อนาถใจ

      ปิด-ปิดปาก: อย่าพูดมาก เกินจำเป็น

      จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นใส้

      ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป

      ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ


      จากคุณ : tawansu
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 22:36:59
      ถูกใจ : Blub, เมฆน้อยสีฟ้า, oh_neung, Suddenly Psychotic, EvaNe, สามัญลักษณ์



      ความคิดเห็นที่ 31 ติดต่อทีมงาน
      เขียนเข้าใจง่ายดีครับ

      ขอบคุณครับ จขกท. และท่านอื่นๆที่ให้ คห. เพิ่มเติม

      จากคุณ : ไก่gosobig
      เขียนเมื่อ : 5 พ.ย. 54 23:22:36 A:110.49.233.22 X: TicketID:252022





      ความคิดเห็นที่ 32 ติดต่อทีมงาน
      ผมขอชื่นชม จขกท. ครับ

      ที่มาให้ข้อมูล อย่างดีเยี่ยมภาษาก็เข้าใจง่ายๆ

      อ่านแล้วคิดได้เองเลยครับว่าใช้ได้ ในกรณีไหน

      ไม่ได้ในกรณีไหน

      ไม่ต้องไปโต้เถียงอะไรกับเขาเลย


      ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ


      ให้ 3 กิ๊ฟเลยครับ

      จากคุณ : ReHeat
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 04:49:19
      ถูกใจ : Suddenly Psychotic



      ความคิดเห็นที่ 33 ติดต่อทีมงาน
      ถามนิดนึงครับ
      ในกรณีที่จุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน(em ball)ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำจนออกซิเจนหมดแล้วตัวจุลินทรีย์จะตายหรือหยุด ทำงานใช่มั้ยครับ เมื่อออกซิเจนหมดสัตว์น้ำก็ตาย หรือมีขยะถูกทิ้งเพิ่มเข้ามาก็จะกลายเป็นเพิ่มสารอินทรีย์ในน้ำขึ้นมาอีก
      ที นี้จะกลายเป็นว่าตัวจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนก็จะทำหน้าที่ย่อยสลายสาร อินทรีย์แทน ก็เกิด H2S ซึ่งก็เกิดทั้งกลิ่น และน้ำเน่าอีกถูกต้องมั้ยครับ

      จากคุณ : elitesaint
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 05:40:16





      ความคิดเห็นที่ 34 ติดต่อทีมงาน
      เวลานี้ไม่ใช่เวลาสร้างออกซิเจนในน้ำค่ะ ถึงทำได้ก็แพง ยังไงน้ำก็ต้องลดอยู่แล้วเป็นที่ทราบกันดี ลดกลิ่นไปก่อนเพราะมันส่งผลกับสุขภาพโดยตรง ขอไวนิดนึงค่ะ
      จากคุณ : ไวไว
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 09:00:34 A:117.123.193.100 X: TicketID:337086





      ความคิดเห็นที่ 35 ติดต่อทีมงาน
      สงสัยมาหลายกระทู้แล้วครับ หลายๆคนบอกว่าให้เอาถังใส่น้ำมาทดลองเอง หรือโยนลงบ่อ เพื่อพิสูจน์ EM อยากทราบว่าการทดลองแบบนี้เทียบกับน้ำที่ท่วมอยู่เสกล และปัจจัยต่างๆมันเทียบได้รึปล่าวครับแล้ว EM ทำในถังหรือบ่ออาจได้ประสิทธืภาพแต่ในสภาวะน้ำท่วมที่มีขนาดใหญ่ ตัวแปรเยอะ ผลจะต่างกันรึปล่าวครับ?
      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 09:55:30
      จากคุณ : Jackwill
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 09:55:04





      ความคิดเห็นที่ 37 ติดต่อทีมงาน
      2. แบคทีเรีย ทั้งชนิดที่ใช้อากาศ (Aerobic) และชนิดที่ไม่ใช้อากาศ (Anaerobic)

      >> ต้องมีชนิด facultative ด้วยสิครับ ในการบำบบัดน้ำท่วมขังมันจะอยู่ไม่เกิน 1 เมตรจะบำำบัดแบบ facultative อันนี้จุฬาไม่พูด ผมถามต่อก็ไม่ตอบว่าผลลัพธ์ของ EM ที่บำบัดแบบ anaerobic แล้วมันจะไปไหนมันจะ โครตเน่า หรือน้ำจะมีคุณลักษณะ ของน้ำที่ดีขึ้น ตรงนี้กลุ่มวิศวะสิ่งแวดล้อมมักไม่พูดตรงนี้เพราะเค้าไม่เข้าใจ ว่าตรงๆ เรียน Bio น้อยกว่าสาย biology หรือ Biotechnology มาก วิศวะสิ่งแวดล้อมเลยยึดพวก เครื่องมือ การออกแบบ การใช้เคมีเก่ง เห็นไหมครับพอคนถามเรื่องปูนขาว กลับบอกดี ลองไปถามคนเรียน Bio สิครับ ปูนขาวดีไหม?
      ถ้าเค้ายังมองแค่ BOD COD SS TOD TOC F/M ratio เป็นแค่สิ่งที่เอาเข้าโปรแกรม คำนวณขายแบบ มันก็มองได้แค่นั้น ไม่แปลกใจทำไมเค้าถึงด่า em และห่วงเรื่องออกซิเจนกันมาก ทั้งๆที่จริงน้ำท่วมขังมันแทบไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย

      อธิบายภาพนี้หน่อย ทำไมคุณลักษณะของน้ำจึงดีขึ้น http://www.dasta.or.th/th/News/detail_knowledge.php?ID=1054
      http://www.dasta.or.th/upload/knowlage/javaword/html_library/dasta%20ball.jpg

      แต่ ข้อมูลที่แกพูด แกเปรียบเทียบออกสื่อ คำบางคำ คน Biotech รับไม่ได้ อย่างที่รู้คนวิศวะสิ่งแวดล้อมที่ผมรู้จัก เมื่อถาม Biology ที่เป็น path...way ลึกๆ แกจะไม่ทราบ ไม่ต้องพูดถึงระดับ ดร. หรอกเพราะจบมา โท เอก ไม่ได้เสริมเรื่องพื้นฐานแบบนี้ หรอก เค้าไม่เข้าใจ ค่า BOD COD SS TDS N P K F/M ratio ต่างๆเค้าเอามาดูแค่คำนวณ หลักลึกๆจะไม่ทราบ สีของเชื้อที่ดีในบ่อ ประเมินไม่ได้ แยก Fungi กับเชื้อที่ดี เลว แยกไม่ออก ซึ่งแกต้องยอมรับจุดนี้ ขืนเป็นแบบนี้เท่ากับ EM รวมถึงกลุ่มจุลินทรีย์บำบัดน้ำ โดนชกข้างเดียว น่ะสิครับ

      ผมว่า EM มันไม่ถึงวาระแห่งชาติเลยครับ ถ้าน้ำลดวาระแห่งหมู่บ้านก็ยังไม่มีใครสน ผมห่วงแต่บาดแผลที่ จุฬาทำครั้งนี้ จะไปบล๊อค องค์ความรู้เรื่องจุลินทรีย์ทั้ง หมด ทั้งวงจร ทำไมไม่เอาแต่ยี่ห้อ EM มาแฉล่ะครับ คิดแบบหัวโล่งๆ คุณว่า dasta ball กระทบไหม โครงการเค้าใหญ่กว่า บริษัท EM ขี้เล็บไม่รู้กี่ร้อยเท่า ออกมาสื่อก็ต้องรับผิดชอบ

      จากคุณ : biotechman (กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 10:49:55
      ถูกใจ : ช้างยิ้ม, Ao+, Seraphina, แม่ต้นหอม, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 38 ติดต่อทีมงาน
      ได้ลองเข้าไปหาข้อมูลขององค์กรที่เป็น "ต้นตอ" ของ EM ด้วยความหวังว่าน่าจะได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและน่าจะช่วยทำให้เราวัด ความน่าเชื่อถือวของข้อมูลอื่นๆที่ล้นเข้ามาทาง TV และ internet ในขณะนี้ได้ดีขึ้น ซึ่งก็ได้พบว่า องค์กรที่ชื่อ EMRO ย่อมาจาก Effective Micro-organisms Research Organization คือองค์กรต้นตอ โดยมี ศจ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ EM เป็นประธานองค์กร และได้ก่อตั้ง EMRO Asia เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เพื่อพัฒนาประเทศไทย และประเทศในแถบเอเชียโดยการใช้ EM เทคโนโลยี

      Website ของ EMRO สนง.ใหญ่ที่ญี่ปุ่น คือ http://emrojapan.com/
      Website ของ EMRO Asia ที่ปทท. คือ http://www.emro-asia.com/about-em/about-em.html

      ซึ่งเป็น จุดเริ่มต้นที่ดี ของการหาข้อมูล
      ส่วน ขอมูลเกี่ยวกับ EM Ball และ การบำบัดน้ำเสียนั้น website ของ EMRO Asia ไม่มีข้อมูลที่แปลเป็นไทยแล้ว ต้องเข้าไปดูที่ EMRO Japan ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ โดยอยากแนะนำให้ดู 4 หน้านี้เป็นหลัก

      กาำรทำ EM Ball หรือ เค้าเรียกว่า EM Mudballs http://emrojapan.com/about-em/em-products/activated-materials/howtomakeballs.html

      การใช้ผลิตภัณฑ์ EM ต่างๆในสถานการณ์ภัยพิบัติ http://emrojapan.com/application/disatertreatment.html

      การใช้ผลิตภัณฑ์ EM ต่างๆในการ "ช่วย" กระบวนการบำบัดน้ำเสีย http://emrojapan.com/application/environment/water-purification.html

      การใช้ผลิตภัณฑ์ EM ต่างๆใน "ระบบบำบัดน้ำเสีย"
      http://emrojapan.com/application/environment/sewege-treatment.html

      ซึ่ง หลังจากอ่านทั้งหมดนี้แล้ว (รวมทั้งบทความจากจุฬาฯ หรือล่าสุดจากเอแบค) ก็คิดว่า EM มีศักยภาพจริง แต่กระบวนการผลิตและการนำไปใช้ ตองทำอย่างมีความรู้ความเข้าใจตามหลักวิชาการจึงจะได้ผลดี (เท่าที่ศักยภาพของ EM จะพึงมี) และไม่ทำให้เกิดผลเสียโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
      และได้พบหน้านี้เพิ่มเติมใน website ของ EMRO Japan
      http://emrojapan.com/application/disatertreatment.html

      จาก ที่อ่านดู จะเห็นว่า EMRO แนะนำให้ใช้ EM Ball ใน แม่น้ำ. ทะเลสาบ และทะเล/มหาสมุทร ในกรณีที่ต้องการลดปริมาณของ "กากตะกอน (sludge) และขี้โคลน (slime) เป็นหลัก ส่วนการช่วยปรับสภาพน้ำเสียในกรณีน้ำท่วม เช่น ที่ EMRO ได้ทำร่วมกับ Poland Flood 2010 นั้น จะเป็น สูตรน้ำที่เรียกว่า EM-1 ค่ะ ยังไม่มีปรากฏว่า EMRO ใช้ EM Mud Balls ในการบำบัดน้ำเสียตามที่ตอนนี้ดูเสมือนว่าองค์กรและปชช.หลายฝ่ายเข้าใจ

      ที่มา http://www.facebook.com/kanika.rkul

      จากคุณ : biotechman (กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 11:24:48
      ถูกใจ : Seraphina, Singing Blue Jay, ดวงตาตะวัน, เหรียญเงิน, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 39 ติดต่อทีมงาน
      ยังมีคนอ่านไม่เข้าใจอยู่อีก จะไปทดลองกับน้ำเสีย ตักมาหนึ่งถังลองดูอีก
      เขาก็บอกอยู่แล้วว่า ใช้ได้บางสถานการณ์ แต่อาจใช้ไม่ได้กับน้ำท่วมไหลปริมาณมาก
      แล้วยังจะทำลองกับน้ำที่เขาบอกว่าใช้ได้อีก เฮ้อ ไม่เคยเห็นมีใครบอกว่าEMมันใช้ไม่ได้เลย

      เขาเถียงกันประเด็นไหน จับให้ได้

      จากคุณ : จันทร์สุขสดใส
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 11:45:22





      ความคิดเห็นที่ 40 ติดต่อทีมงาน
      #37
      มั่วแระ สิ่งที่จุฬาทำจะไปบล๊อกองค์ความรู้?
      จับ ประเด็นให้ได้ซิ เขาว่าอะไร และทางวิชาการ ไม่ว่าจุฬาหรือจุราม ไปบล๊อกอะไรใครไม่ได้หรอก ความจริงต้องเป็นความจริง ไม่ใช่เรื่อวยากที่จะพิสูจน์เลย เดี๋ยวไม่กี่วันก็รู้แล้ว เพราะเรามีน้ำท่วม เรามีEM ball

      ส่วนเรื่องน้ำนิ่งขัง ควบคุมได้ อันนั้นก็ไม่มีใครขัดแย้งว่าEM ช่วยไม่ได้ ทุกฝ่ายเห็นตรงกัน

      จากคุณ : จันทร์สุขสดใส
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 11:51:43
      ถูกใจ : ม้าหงอย



      ความคิดเห็นที่ 41 ติดต่อทีมงาน
      #40 เอ๊ะ ไม่มั่วนะ เพราองค์กรที่เกี่ยวกับ EM ที่ใช้ได้จริงเค้าเดือดร้อน เพราะ จุฬาให้ข้อมูลป้าเช็ง เพื่อ ดิสเครดิต EM วงการมันไม่เสียยังไง?
      ลองพิจารณาดูครับ http://thaiview.wordpress.com/2011/11/05/em-halucination/
      จะใช้หรือไม่ใช้ EM เราทำอะไรกันได้บ้าง?

      เมื่อ วันที่ ๑๘ ตุลาคม มจธ.ร่วมกับ BIOTEC ได้ให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจเรื่องการกำจัดน้ำเน่า มจธ.และไบโอเทค แนะวิธีจัดการกับปัญหาน้ำเสียให้อยู่หมัด พร้อมเทคนิคใช้ EM ให้ได้ประสิทธิภาพ ลงในนสพ.กรุงเทพธุรกิจ มีคำแนะนำที่ดีๆหลายข้อ

      ใน ระหว่างนี้ ท่านที่ได้ฟัง อาจารย์ ดร.ธงชัยแล้วเห็นด้วยกับ อ.ดร.ธงชัย ท่านสามารถช่วยเรื่องน้ำเน่าได้ดีกว่าการทำ EM Ball ด้วยวิธีต่างๆดังนี้ครับ (เป็นหัวข้อที่ผมรวมรวมมาจากการประชุมกับผู้เชี่ยวชาญในหลายๆครั้ง หากท่านใดจะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็จะเป็นพระคุณยิ่ง)

      หากน้ำยังไม่ท่วม ขอให้เก็บขยะทุกชนิดเข้าถุงหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำท่วมถึง
      อย่าลืมว่าขยะมีสามชนิด คือ อินทรีย์​ สารพิษ และวัสดุจิปาถะ ส่วนที่เป็นอินทรีย์​หมายถึงเศษอาหาร กิ่งไม่ ใบไม้ อุจจาระ และซากศพ ส่วนที่เป็นสารพิษได้แก่สารเคมี และสิ่งที่มีสารพิษเช่นแบตเตอรี่ทุกชนิด ยาฆ่าแมลง วัสดุจิปาถะได้แก่ ถุงพลาสติก ไม้เนื้อแข็ง เหล็ก พวกนี้ไม่เน่า ฯลฯ พวกอินทรีย์ และสารพิษ ขอให้ทุกท่านช่วยกันป้องกันห้ามลงน้ำ หากจะใส่ปูนขาวหรือ EM Ball อย่างหนึ่งอย่างใดลงในถุงด้วยก็จะดี
      ในช่วงน้ำท่วม หากพบซากสัตว์ อุจจาระ ควรเขี่ยไปอยู่บนที่แห้ง และโปรยปูนขาวฆ่าเชื้อ ระวังอย่าไปสัมผัสกับน้ำและปฏิกูล
      ช่วงน้ำท่วม มนุษย์ไม่ควรถ่ายลงในน้ำ เพราะจะทำให้น้ำเน่าเพิ่มขึ้น ควรใส่ถุง ผูกปิดให้มิดชิด ในถุงจะใส่ปูนขาว หรือ EM Ball ก็ได้ เลือกเอาเพียงอย่างเดียว เพราะปูนขาวเอาไว้ฆ่าเชื้อแต่ไม่ย่อยสลาย แต่หากมี EM Ball มันก็จะช่วยย่อยสลายโดยมีอากาศ พอน้ำลด ถุงใส่อุจจาระก็จะกลายเป็นดิน เอาไปฝังกลบได้เลย
      หากมีน้ำท่วมขัง และเป็นน้ำเน่า แต่ที่บ้านท่านมีปั๊มน้ำ หรือไดรโว่ ท่านสามารถลดปัญหาโดยปั๊มน้ำขึ้นมาเพื่อเทลงกลับที่เดิมเพื่อเติมออกซิเจนลง ไปในน้ำ พยายามเปิดหน้าต่างและให้มีแสดงแดดเข้ามามากๆ แสงแดดและอากาศในน้ำ จะช่วยให้จุลินทรีย์ที่ย่อยสารอินทรีย์ในน้ำทำงานได้ดีโดยไม่ส่งก๊าซไข่เน่า เมื่อใดที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งก็จะทำงานย่อยสลายเหมือนกัน แต่มันจะปล่อยก๊าซไข่เน่าออกมา เหม็นมาก พวกเราคงชอบจุลินทรีย์ชนิดย่อยสลายแบบไม่เหม็นมากกว่า สิ่งดีๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัย EM Ball ครับ
      มี จุลินทรีย์ชนิดผง (ต้องละลายน้ำ) และ ชนิดเหลว (เทลงในน้ำเน่าได้เลย) ซึ่งสามารถผลิตได้จำนวนมาๆ ซึ่งจะเหมาะสมกับปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้มากกว่า ทางกลุ่มเครือข่ายแก้ปัญหา EM Ball คงจะเสนอให้ ศปภ. เร่งดำเนินการสั่งการผลิต และจ่ายแจกออกไปโดยเร็ว ท่านที่สนใจ กรุณาบอกต่อครับ

      อันนี้อีก link ข้อมูลแนวนี้จะดีกว่า http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20111102/417111/news.html

      จากคุณ : กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 12:33:56
      ถูกใจ : เม็ดทรายสีฟ้า



      ความคิดเห็นที่ 42 ติดต่อทีมงาน
      อาจารย์เองก็ต้องยอมรับว่า มีคนที่คิดว่าผมไม่มั่ว
      จาก อีเมล์ท่านหนึ่ง ..."ที่อ.ธงชัยให้สัมภาษณ์ก็มีประโยชน์อยู่บ้างแต่บางประเด็นคลาดเคลื่อนมาก เช่นพูดถึงจุลินทรีย์ต้องการออกซิเจนอย่างเดียว แต่จุลินทรีย์ที่บำบัดน้ำเสียเป็นประเภทที่ไม่ใช่ออกซิเจนก็มาก (anaerobic) กระบวนการทำงานของจุลินทรีย์มันซับซ้อนมาก แล้วก็ขึ้นอยู่กับชนิดหรือกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ใช้ด้วย จุลินทรีย์บางตัวย่อยน้ำมันยังได้เลย อย่าว่าแต่น้ำเสีย และแกมองก้อนจุลินทรีย์ไปที่องค์ประกอบของวัตถุดิบ เช่น กากน้ำตาล รำ เป็นต้นเป็นหลัก แต่ไม่ได้มองถึงประเภทหรือความซับซ้อนของการทำงานของจุลินทรีย์

      พี่ น้องพวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ EM (ของดร.ฮิงะ) แต่ใช้ IMOs (จุลินทรีย์ท้องถิ่น Indigenous Microorganisms) ซึ่งเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ทดลองใช้ในทางปฏิบัติ ได้รับการพิสูจน์ระดับหนึ่งแล้ว เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ทำงานได้หลายอย่างมาปนๆกัน ประมาณการใช้สมุนไพรที่ไม่ได้สกัดเอาสารตัวใดตัวหนึ่งมาใช้นั่นแหละ

      แต่ แน่นอนว่าเราไม่อาจเคลมได้ว่าก้อนจุลินทรีย์จะสามารถแก้ปัญหาได้เด็ดขาด ขึ้นอยู่กับกลุ่มจุลินทรีย์และสภาพน้ำขังที่เรนาเจอด้วยครับ เพราะพวกเราเองหลายคนก็รำคาญกับพวกที่โฆษณาจุลินทรีย์หรือน้ำหมักเกินจริงไป เหมือนกัน"

      หรือแม้แต่ สร้างความขัดแย้งระหว่งองค์กรภาครัฐเอง สูตรของกรมพัฒนาที่ดิน (พด.6) เค้าก็เดือดร้อน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320488217&grpid=00&catid&subcatid
      นาย โชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า อีเอ็มที่ ทส.โดยกรมทรัพยากรน้ำ และกรมควบคุมมลพิษใช้อยู่ เป็นวัสดุที่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน (พด.6) ใช้มาแล้วกว่า 20 ปี มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (แล็ป) และมีงานวิจัยรับรองที่ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาก่อนที่กรมควบคุมมลพิษจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำเสียที่ใดก็จะต้องทำ งานอย่างมีขั้นตอน ได้แก่ 1.ไปเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อใช้ในการวัดปริมาณอ๊อกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ หลังจากนั้นก็จะนำอีเอ็ม บอลล์ หรืออีเอ็ม น้ำ นำไปใส่ตามปริมาณน้ำที่คำนวณไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 3-4 วันก็จะไปเก็บตัวอย่างน้ำในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อวัดปริมาณอ๊อกซิเจนที่ละลายในน้ำอีกครั้ง ซึ่งพบว่าปริมาณอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้น แสดงว่าคุณภาพน้ำดีขึ้น


      "รับรอง ว่าไม่ใช่ป้าเชงแน่นอน เพราะว่าคนที่ทำคือนักวิทยาศาสตร์เหมือนกัน เรียนก็เรียนมาเท่ากัน ก่อนจะมาพูดอะไรคิดว่าน่าจะมีการถกเถียงในเชิงวิชาการกันก่อน กระทรวง ทส.เองก็ยอมรับในงานวิชาการ ยอมรับว่าอีเอ็ม มีหลายชนิด แต่ไม่ใช่การออกมาพูดอย่างนี้ ในช่วงนี้เวลานี้ เพราะจำทำให้ประชาชนเกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม ทส.จะได้แถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง โดยจะนำนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ไปร่ำเรียนมาจากเมืองนอก ซึ่งทำงานด้านนี้โดยตรงมาชี้แจงให้ประชาชนฟัง ประชาชนจะได้ไม่สับสน และยืนยันว่าอีเอ็ม ไม่ได้เพิ่งมาทำตอนน้ำท่วม แต่ทำมาแล้วและเห็นผลมาแล้วกว่า 20 ปี" นายโชติ กล่าว


      ***ข้อเท็จจริง ไม่ได้มั่วนั่งเทียน นะครับ คห. 40***

      จากคุณ : กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 12:39:31
      ถูกใจ : rsco4, สามัญลักษณ์, เม็ดทรายสีฟ้า



      ความคิดเห็นที่ 43 ติดต่อทีมงาน
      Hmm คุณกิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      คนรอบตัวผมหลายๆคน ทั้งนักชีววิทยา นักนิเวศวิทยา นักจุลชีววิทยา
      บางคนทำทางด้านการเปลี่ยนแปลงcommunityของmicro-organismด้วย
      ยังสงสัยในตัว EM-Ball ในการแก้เรื่องนี้ครับ

      หลักๆของเรื่องนี้ มันอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงcommunityในบริเวณนั้นๆ
      เพื่อให้พันธุ์ที่ต้องการเข้าแทนที่เจ้าถิ่น
      แต่การเปลี่ยนแปลงพวกนั้นไม่ได้ง่าย ที่จะคาดการ จริงไหมครับ
      (ไม่งั้นพวกนักนิเวศวิทยา คงสบายมากกว่านี้)
      ถ้ามันแทนเจ้าถิ่นไม่ได้
      organic loadที่เพิ่มขึ้น จะทำให้สภาวะไม่ยิ่งแย่ไปกว่านี้หรือ ?

      คุณกิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ คงเคยเพาะเลี้ยงเชื้อมาพอควร
      ก็น่าจะทราบดี ถึงการควบคุมให้เชื้อที่ต้องการ
      บางครั้งแม้แต่เราควบคุมปัจจัยหลายๆอย่างในlab
      แต่ไม่ง่ายเลยที่จะได้สิ่งที่เราต้องการ
      ยิ่งในสิ่งแวดล้อมเปิด
      ซิ่งมีปฏิสัมพันธ์จากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอื่นมากมาย
      ยิ่งยากในการคาดการณ์

      จากคุณ : KL
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 13:08:59
      ถูกใจ : ม้าหงอย, สันป่าตอง, เฉาก๊วยกะบ๊วยเค็ม - -"



      ความคิดเห็นที่ 44 ติดต่อทีมงาน
      #43 นั่นหล่ะครับที่ควรบอกสังคม การเติม Seed เข้าไปในน้ำทิ้ง ก็เหมือนกัน เราไม่ทราบได้ว่าคุณลักษณะน้ำทิ้งจุดนั้นมันเหมาะให้ EM เร่งเกิดได้ไหม แทนเจ้าถิ่นไม่ได้ก็มีโอกาสสูงครับ แต่น้ำทิ้งขุมชน EM ก็ยังเป็นโอกาส

      แต่ ความเห็นที่สังคมรับกับ EM ที่ออกมาพูดมันไม่ได้สื่อไปทางวิชาการ มันสื่อไปทางป้าเช็ง ซึ่งอันนั้นผมก็ว่า ป้าแกมั่ว เอามาเทียบได้ไง คนที่เค้าทำได้ทำไมไม่เอามาอ้าง ทั้งที่ ดาสต้าบอล ก็โยน เหมือนกัน ผมว่าแก อคติกับ EM ครับ

      จากคุณ : กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 13:15:54





      ความคิดเห็นที่ 45 ติดต่อทีมงาน
      Rapboy: จริงครับ น่าทำการทดลองเทียบๆดู ว่ามีปัจจัยอะไร พารามิเตอร์ตัวไหนเปล่ยนไปอย่างไรบ้าง จะได้ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เหมาะกับเหตุมากขึ้น

      PlaPinky: เจ้าตัวนั้นสิ้นชีวิตไปปีนึงแล้วครับ สอบถามเจ้าของ เขาบอกว่ามันน่าจะไปกินยาเบื่อที่เขาวางให้หนูกิน T T ตัวนี้เป็นพี่น้องกัน แต่ตัวเล็กกว่าเยอะเลย

      elitesaint: พอออกซิเจนหมด ปลาที่ยังรอดได้คือพวกที่หายใจเอาอากาศโดยตรงจากอากาศได้ (ไม่ใช่โดยเหงือก) ส่วนจุลินทรีย์มักไม่ตายหมดครับ มันมีอยู่เสมอ เพียงแต่ลดจำนวนลงตามออกซิเจนที่ยังพอมีเหลือที่ผิวน้ำเป็นต้น ที่นี้ พวกแบคทีเรียที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนก็เติบโตมาแทนที่ครับ ซึ่งมันมีมากมายหลายกลุ่ม บางกลุ่มทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า .. แต่ EM จะคัดพวกที่ไม่ทำให้เหม็นมาครับ

      Jackwill: อันนี้ผมคงตอบชัดเจนไม่ได้ เอาเป็นว่า คนที่วิจัยด้านนี้ตรงๆคง คิดรูปแบบการทดลองที่พอใช้เทียบได้



      กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ: เห็นด้วยครับ EM มีอยู่จริง และมีประโยชน์เพียงแต่ผู้ใช้ต้องใช้ให้เป็น

      EM นับเป็นเรื่องใหม่สำหรับผมเหมือนกันครับ เพราะสมัยเรียนไม่มี เท่าที่อ่านมาผมก็ย่อๆได้ตาม คห 4

      ผมเห็นใน Fb ที่พวกผมสร้าง group มาคุยกันเรือ่ง EM มีบางคนเข้าใจว่า
      - EM สร้างง่ายๆจากการเอาไอ้นู่นไอ้นี่มาหมักตามสูตร
      - EM สร้างจากการเอาขยะมาหมัก แบบป้าเช็ง
      - EM ได้จากการไปขอก้อนแบคทีเรียในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศในโรงบำบัด
      ไม่รู้ว่ามีอันไนถูกไหม หรือผิดทุกข้อ

      สำหรับ สายวิศวกรรม ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะไม่สนใจ pathway แต่จะเน้นการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง แบคทีเรียก็ไม่ได้เน้นว่าชนิดไหน แต่จะนับเป็นกลุ่มตามสถาวะที่มันอยู่ หรือผลงานที่มันจะทำให้ ฯลฯ

      ถ้าจะให้สนใจ pathway จริงๆจังๆหรือสนใจถึง species คงต้องสายวิทยาศาสตร์

      แต่ในระดับ advance อย่างพวกงานวิจัย ป โท ป เอก อันนี้แล้วผู้วิจัยว่าจะสนใจไปทางไหน ซึ่งมักผสมผสานทั้งทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 15:45:43
      ถูกใจ : ดาวกระจ่างฟ้า



      ความคิดเห็นที่ 46 ติดต่อทีมงาน
      อันนี้ก็น่าสนใจนะครับ

      คำชี้แจงข้อเท็จจริง กรณี อีเอ็ม บอล หรือ ก้อนจุลินทรีย์

      วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 17:27:23 น

      ตาม ที่มีการนำเสนอข่าวสารว่าการใช้ EM Ball ไม่เกิดผลในการบำบัดน้ำเสียและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมด้วยนั้น ทำให้ผู้มีจิตอาสาจำนวนมากเกิดความสับสนและกระทบต่อการระดมอาสาสมัครช่วยทำ EM Ball ในหลายแห่งรวมถึงคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญซึ่งร่วมกับศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ABAC Flood R - SA) เร่งผลิต EM Ball ให้ได้จำนวน 100,000 ลูก ภายใน 2-3 วันเพื่อนำไปช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยจังหวัดนนทบุรีในสัปดาห์หน้า

      ดังนั้น คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงใคร่ขอชี้แจงข้อมูลอีกด้านหนึ่งเพื่อสร้างความเข้าใจผ่านสื่อมวลชน ดังนี้

      1. การทำงานของ EM Ball มิใช่เป็นการบำบัดน้ำเสียโดยตรง แต่ใช้หลักการนำเอาจุลินทรีย์ชนิดดีมีประสิทธิภาพไปแย่งอาหาร( ของเสีย ซากพืชสัตว์ที่ไหลมากับน้ำ) จากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในน้ำที่กำลังจะเน่าเสียหรือ ในน้ำเสีย สกัดกั้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสีย การใช้ EM Ball ในน้ำที่เริ่มจะเน่าเสียจะเห็นผลเร็วกว่าในน้ำที่เน่าเสียแล้ว

      2. การผลิต EM Ball ที่จะช่วยปรับสภาพน้ำได้ต้องใช้กรรมวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม กล่าวคือ

      2.1 ใช้หัวเชื้อน้ำจุลินทรีย์เข้มข้นชนิดดี มีคุณภาพซึ่งประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มที่ใช้ หรือไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ นำมาผสมให้เจือจางในอัตราพอเหมาะเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญ

      2.2 เลือกใช้สูตรและส่วนผสมในการปั้นขึ้นรูปที่มีสารอาหารน้อยที่สุดเพียง ประทังชีวิตของจุลินทรีย์ชนิดดีให้พออยู่ได้ก่อนการนำไปใช้งาน เนื่องจากมีสูตรและส่วนผสมในการผลิตหลากหลายและมีความเหมาะสมในการใช้งานตาม วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ห้ามใช้สูตรที่มีส่วนผสมกากน้ำตาลหรือมูลสัตว์ซึ่งมีสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์มากเกินไป

      2.3 EM Ballที่ทำเสร็จแล้วไม่สามารถนำไปใช้ได้ทันที ต้องผึ่งลมไว้เป็นเวลา 2-3 วัน ห้ามตากแดดเป็นอันขาด

      3. การใช้งาน EM Ball ที่เหมาะสมต้องนำไปใช้เฉพาะพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขังหรือน้ำไม่ค่อยไหลเวียนและต้องใช้ในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม EM Ball ขนาดลูกเทนนิส 1 ลูก ใช้ได้สำหรับน้ำท่วมขัง 4-5 ลบ.ม.โดยจะยังไม่เห็นผลต่อสภาพในทันทีเพราะ EM Ball จะค่อยๆ ปลดปล่อยจุลินทรีย์ออกมาทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 7 วัน หากเร่งใส่ EM Ball จนเกินจำนวนที่กำหนดจะทำให้มีสารอาหารหลงเหลือในน้ำมากเกินไปและอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพน้ำได้ ทั้งนี้ EM Ball ที่ผลิตเสร็จแล้วต้องนำไปใช้ภายใน 30 วัน

      ทั้ง นี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.วิยดา กุนทีกาญจน์ (ปริญญาเอกด้านจุลชีววิทยา University of California, Davis) โทร. 087-715-6699 e-mail:viykun@gmail.com หรือ ดร. เชิดชัย เชี่ยวธีรกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา คณบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 02-719-1515

      คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
      วันที่ 5 พฤศจิกายน 2554

      http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320488949&grpid=&catid=03&subcatid=0305
      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 15:49:50
      ถูกใจ : ม้าหงอย, preedaake



      ความคิดเห็นที่ 47 ติดต่อทีมงาน
      คุณกิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ ไม่ต้องไปอ้างถึง EMRO เลย เพราะที่ทำๆอยู่นี่เป็นเชื้ออะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้มีการคัดสายพันธุ์จริง

      ถ้า เป็นนัก biotech จริง ควรจะรู้ว่าการเลี้ยง culture ให้ได้คงเดิมเป็นเรื่องยุ่งยากและต้องควบคุมสภาพแวดล้อมตลอดจน carbon source, electron source อะไรต่างๆมากมาย การที่จะเลี้ยงได้แล้วเอาไปเทในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง มันไม่สามารถจะรักษา culture นั้นให้คงเดิมได้ และผลมันจะเกิดสั้นมากๆ ปกติเวลานำน้ำหมักชีวภาพ (ขอไม่เรียกว่า EM เพราะที่ใช้กันทั่วไปในเมืองไทยไม่ใช่ EM) ไปฉีดพ่นก็ต้องทำบ่อยๆ และไม่ใช่เอาไปเทในน้ำเสียปริมาณเยอะมากๆ ถึงจะได้ผลดี

      การย่อยสลาย แบบ anaerobic มันไม่ใช่ว่ามีแบคทีเรียพระเอกอยู่ตัวเดียวที่ย่อยสลายตั้งแต่ต้นจนจบ ได้สารที่ไม่มีกลิ่น เห็นอ้าง pathway ดังนั้นคุณน่าจะรู้ว่าในกระบวนการย่อยสลายแบบ anaerobic มันต้องมี intermediate ที่เป็นพวกกรดอินทรีย์หรือสารที่มีกลิ่นเหม็นอยู่ดี เช่น H2S

      และ คุณก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับคนที่จบวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาเอก เพราะจริงๆแล้วในระดับนี้เรียนไม่ต่างจากวิทยาศาสตร์ เพราะต้องเข้าใจกลไกพื้นฐานของการย่อยสลาย ไม่ได้เรียนแค่ BOD COD หรือการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย (ซึ่งเรียนตอนป.ตรี) ดังนั้นผมว่าคุณดูถูกอาจารย์ธงชัยเกินไป เพียงแต่เวลาให้สัมภาษณ์ไม่ใช่การสอนหนังสือที่จะมาพูดเรื่องกลไกการย่อย สลายในรายละเอียด

      สุดท้าย ถ้าคุณดูรูปในเวปที่คุณเอามาแปะดีๆ จะเห็นเลยว่ามีการปรับสีของรูป หรือถ่ายในสภาพแสงต่างกัน สังเกตได้จากสีของใบไม้ที่ต่างกันอย่างชัดเจน และผมจะบอกให้ว่าโครงการมากมายในเมืองไทยไม่เคยมีการวัดผลอย่างถูกหลัก วิชาการ มีแต่การออกมาบอกว่าได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปีต่อๆไป

      ขออถัยแก้คำผิดหลายที :P

      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 17:05:44
      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 17:04:45
      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 17:02:48
      จากคุณ : ม้าหงอย
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 16:55:41
      ถูกใจ : earth after rain, ดาวกระจ่างฟ้า, foreverpyre



      ความคิดเห็นที่ 48 ติดต่อทีมงาน
      จะแก้กลิ่นเหม็นของน้ำเน่า ไม่ใช่ทำให้น้ำเน่าเป็นน้ำดี หรือกลายเป็นน้ำสะอาดกันใช่ไหม

      ดูๆไปแล้วมีตั้งหลายวิธีในการลดกลิ่น เลือกใช้ให้ถูก ตามหลัการใช้งาน ของแต่ละชนิด ละกันนะ

      จากคุณ : think4223
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 17:29:20





      ความคิดเห็นที่ 49 ติดต่อทีมงาน
      เราชอบแนวคิดคุณ worrawan... (Rapboy) #25 ค่ะ

      EM ball ควรใช้กับสภาพแวดล้อมแบบไหน โยนไปกี่ลูกถึงจะช่วยในการปรับสภาพน้ำ

      แบบที่เป็นน้ำ เทลงไปเลย ใช้ได้มั้ย ... ถ้าได้ ต้องเทลงไปมากน้อยแค่ไหน

      เรามาช่วยกันรับมือกับวิกฤติการณ์น้ำท่วมกันดีกว่าค่ะ : )))

      Napaporn

      จากคุณ : napaporn.ph (napaporn.ph)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 17:36:28





      ความคิดเห็นที่ 50 ติดต่อทีมงาน
      ปัญหาที่เราพบจากวิกฤติการณ์น้ำท่วมดูจะเป็นเรื่องกลิ่น

      ถ้าเราสามารถกำจัดกลิ่นของน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำอยู่ในสภาวะไร้ออกซิเจน

      คนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมคงเป็นสุข​มากขึ้น : )))

      Napaporn

      จากคุณ : napaporn.ph (napaporn.ph)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 17:37:33





      ความคิดเห็นที่ 51 ติดต่อทีมงาน
      คห.47
      คุณกิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ ไม่ต้องไปอ้างถึง EMRO เลย เพราะที่ทำๆอยู่นี่เป็นเชื้ออะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้มีการคัดสายพันธุ์จริง
      >>>>>>>คุณโจมตีเค้าแบบนี้ยากที่จะบอกเพราะผมไม่ใช่คน EMRO

      ถ้า เป็นนัก biotech จริง ควรจะรู้ว่าการเลี้ยง culture ให้ได้คงเดิมเป็นเรื่องยุ่งยากและต้องควบคุมสภาพแวดล้อมตลอดจน carbon source, electron source อะไรต่างๆมากมาย การที่จะเลี้ยงได้แล้วเอาไปเทในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง มันไม่สามารถจะรักษา culture นั้นให้คงเดิมได้ และผลมันจะเกิดสั้นมากๆ ปกติเวลานำน้ำหมักชีวภาพ (ขอไม่เรียกว่า EM เพราะที่ใช้กันทั่วไปในเมืองไทยไม่ใช่ EM) ไปฉีดพ่นก็ต้องทำบ่อยๆ และไม่ใช่เอาไปเทในน้ำเสียปริมาณเยอะมากๆ ถึงจะได้ผลดี
      >>>>>>> การเลี้ยงให้นิ่งจริงๆมันไม่ยากอย่างที่คิด เดี๋ยวนี้เค้ามีีระบบธนาคาร stock culture ที่สามารถทำเชื้อบริสุทธิ์มาเพาะต่อได้ เหมือนกับตัวต้นแบบ อันนี้มีรายละเอียด เช่นเชื้อ ยาคูลท์ คุณเอาเชื้อไปต่อไม่ได้ ทำไมยังผลิตจากโรงงานได้ เค้าเอาเชื้อ lactobacillus ที่นิ่งๆ มาจากไหนครับ? ภ้าไม่ใช่ระบบธนาคารเชื้อ

      การย่อยสลายแบบ anaerobic มันไม่ใช่ว่ามีแบคทีเรียพระเอกอยู่ตัวเดียวที่ย่อยสลายตั้งแต่ต้นจนจบ ได้สารที่ไม่มีกลิ่น เห็นอ้าง pathway ดังนั้นคุณน่าจะรู้ว่าในกระบวนการย่อยสลายแบบ anaerobic มันต้องมี intermediate ที่เป็นพวกกรดอินทรีย์หรือสารที่มีกลิ่นเหม็นอยู่ดี เช่น H2S>>>>>>>> แต่สุดทางมันก็ถูกกำจัดไป ผมพูดในระบบ facultative ครับ อย่าเอาข้อมูลด้านเดียว

      และคุณก็เข้าใจผิดเกี่ยว กับคนที่จบวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาเอก เพราะจริงๆแล้วในระดับนี้เรียนไม่ต่างจากวิทยาศาสตร์ เพราะต้องเข้าใจกลไกพื้นฐานของการย่อยสลาย ไม่ได้เรียนแค่ BOD COD หรือการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย (ซึ่งเรียนตอนป.ตรี) ดังนั้นผมว่าคุณดูถูกอาจารย์ธงชัยเกินไป เพียงแต่เวลาให้สัมภาษณ์ไม่ใช่การสอนหนังสือที่จะมาพูดเรื่องกลไกการย่อย สลายในรายละเอียด
      >>>>>>>> ตัวเรียน microbiology น้อยกว่าจริง ไปดูหลักสูตรที่ไหนมาอ้างก็ได้ ผมทำงานกับกลุ่มนี้ ออกแบบโรงงานใหญ่ๆต้องใช้ Biotech ทำไมจะไม่ทราบ? ที่ผมมองอาจารย์เพราะแกเต็มไปด้วยอคติ ไม่งั้นไม่เอาป้าเช็งมาเป็นจำเลยสังคม

      สุดท้าย ถ้าคุณดูรูปในเวปที่คุณเอามาแปะดีๆ จะเห็นเลยว่ามีการปรับสีของรูป หรือถ่ายในสภาพแสงต่างกัน สังเกตได้จากสีของใบไม้ที่ต่างกันอย่างชัดเจน และผมจะบอกให้ว่าโครงการมากมายในเมืองไทยไม่เคยมีการวัดผลอย่างถูกหลัก วิชาการ มีแต่การออกมาบอกว่าได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปีต่อๆไป
      >>>>>>> สังคมที่คุณพบเจอมาอย่างไรก็กล่าวหากันไป ที่เห็นข้อความรู้สึกคุณจะ anti หน่วยงานราชการนะครับ อย่าเอาหน่วยงานที่แย่ๆที่สองที่มาเปรียบอย่างเสียหายถ้ามีข้อมูลคุณก็ฟ้อง สิครับ แต่ที่ดีๆ Mtech สวทช เท่าที่ผมทราบไม่มีแบบนี้ครับ โครงการที่มากมายที่โกงงบ อะไรบ้างหล่ะครับ ตอบมาซิ

      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 18:32:31
      จากคุณ : กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 18:30:06





      ความคิดเห็นที่ 52 ติดต่อทีมงาน
      ที่มา http://www.facebook.com/sl:-)4life/posts/2602864514585?notif_t=feed_comment
      ช่วย เผยแพร่ด้วยค่ะ.. : พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการใช้อีเอ็มบำบัดน้ำเสียและแก้ไขปัญหาขยะ จนได้รับฉายา “นายพลอีเอ็ม” กล่าวว่า ทราบมาว่าโครงการแก้ปัญหาขยะกับน้ำเน่าเสียของกองทัพต้องหยุดชะงักไปเพราะ ไม่ได้รับงบประมาณ ซึ่งเขาไม่ทราบสาเหตุ เพราะเกษียณอายุราชการออกมาแล้ว แต่ถ้าเป็นเหตุผลที่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาคัดค้านการใช้อีเอ็มนั้น ขอฝากบอกไปยังรัฐบาลว่าอย่าไปฟังคนที่ไม่มีประสบการณ์ตรง

      “จุลินทรีย์ ที่พวกเราใช้ทำอีเอ็ม เป็นสูตรของ ดร.เทริโอะ ฮิกะ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ใน 150 ประเทศทั่วโลก สมัยที่ผมเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 เมื่อปี 2549 ก็เคยร่วมกับการเคหะแห่งชาติเอาไปใช้แก้ไขปัญหาน้ำเสียที่อ่างเก็บน้ำแม่มาน จ.แพร่ จนประสบความสำเร็จมาแล้ว ทำให้ค่าดีโอ (ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ) จาก 0.25 เพิ่มเป็น 7 ในเวลาอันรวดเร็ว”

      “อีกครั้งหนึ่งที่เห็นผล ชัดเจน คือการนำอีเอ็มบอลและอีเอ็มน้ำไปโยนและฉีดที่อ่าวปัตตานี ตอนนั้นผมเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้น้ำในอ่าวปัตตานีที่เคยเหม็นใกล้เน่ากลับใสขึ้น และสัตว์น้ำที่เคยหายไปก็กลับมา”

      พล.อ.พิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ทำอีเอ็ม เป็นกลุ่มสังเคราะห์แสง ยีสต์ และราบางชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจน ส่วนที่นักวิชาการแค่ 2 คนออกมาพูดนั้น อาจจะเป็นจุลินทรีย์คนละกลุ่มกัน และอาจจะไม่เคยปฏิบัติจริง คือไม่มีประสบการณ์ รู้แต่ในตำราเท่านั้น

      “จุลินทรีย์มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มดี 10% กลุ่มไม่ดีที่เป็นเชื้อโรค 10% ส่วนอีก 80% เป็นกลุ่มกลางๆ หลักการก็คือเราให้จุลินทรีย์กลุ่มดีไปสู้กับกลุ่มไม่ดี เพื่อให้กลายเป็นกลุ่มกลาง ผมทำมาหมดแล้ว มีประสบการณ์ตรง ศึกษามาด้วยตัวเอง และทำจริง ไม่ใช่รู้แต่ในตำรา”

      เขาบอกด้วยว่า ที่อ่างเก็บน้ำแม่มาน เราใช้จุลินทรีย์ 18,000 ล้านลิตร และทำถึง 6 ครั้ง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เร็วมาก

      นอกจากนั้น ยังเคยทำที่บ่อบำบัดน้ำเสียของการเคหะฯที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พื้นที่ 1 ไร่ เทอีเอ็มน้ำลงไป 4 พันลิตร แค่ 1 ชั่วโมงน้ำก็ใสขึ้นทันที ส่วนที่อ่าวปัตตานีเราใช้อีเอ็มบอล 1 ล้านลูก ให้ชาวบ้านช่วยกันปั้นและออกเรือไปโยน รวมทั้งนำหัวเชื้อที่เป็นน้ำไปฉีดอีกจำนวนหนึ่ง

      พล.อ.พิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และที่ออกมาพูดไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกองทัพแล้ว แต่อีเอ็มน้ำที่กองทัพนำไปแจกจ่ายประชาชนที่สนามกีฬากองทัพบก เป็นจุลินทรีย์กลุ่มดีตรงกับที่เคยใช้และประสบความสำเร็จ จึงอยากให้สังคมเข้าใจ หากไม่ใช้อีเอ็มจัดการปัญหาน้ำเน่าและขยะ จะเกิดสงครามเชื้อโรคอย่างแน่นอน
      คนที่ใช้ได้ผล
      http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=CTSDnQpLLsk#!

      ส่ง ผลกระทบต่องบ EM ของกองทัพ(โครงการแก้ปัญหาขยะกับน้ำเน่าเสียของกองทัพต้องหยุดชะงักไปเพราะ ไม่ได้รับงบประมาณ)แล้วนะครับ อาจารย์ที่บอกยอมโดนถล่มออกมาชี้แจงด้วยครับ

      แก้ไขเมื่อ 06 พ.ย. 54 18:45:33
      จากคุณ : กิ๊กครัวเมล็ดกาแฟ
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 18:44:09





      ความคิดเห็นที่ 53 ติดต่อทีมงาน
      ถ้าอยากทดลอง ฝากไปคิดเรื่องจำลองสภาพแวดล้อมที่จะทดลองนิดนึงครับ

      ทดลองในถังปิดฝา มันคนละเรื่องกับที่เอาไปใช้จริงนะครับ

      จากคุณ : earthchie
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 19:09:15





      ความคิดเห็นที่ 54 ติดต่อทีมงาน
      ในฐานะที่ทำงานอยู่ในมุมของสรีรวิทยาของ จุลินทรีย์....มาให้ข้อมูลเรื่องแบคทีเรียกลุ่มที่จะสามารถใช้ H2S ซึ่งก็คือเจ้าก๊าซไข่เน่านั่นเอง เผื่อจะเข้าใจท่านอาจารย์จากจุฬาฯ ว่าเหตุใดท่านจึงทักท้วง

      เอาเป็นว่าจะอธิบายอย่างง่ายที่สุดนะคะ
      แบคทีเรียกลุ่มที่สามารถใช้ H2S ได้มี 2 กลุ่ม
      1) กลุ่ม Photosynthetic bacteria พวก sulfur purple photosynthetic bacteria กลุ่มนี้ใช้แหล่งพลังงานสำหรับสังเคราะห์ ATP และ reducing power (NADH) คือแสง สังเคราะห์ ATP โดยใช้ cyclic photophosphorylation และการจะสังเคราะห์ NADH ได้เขาจะใช้ reverse electron flow เป็นผลให้ต้องมีตัวรีดิวซ์คอยช่วยเติม electron ให้ระบบของเขาด้วย ซึ่งตัวรีดิวซ์นั้นมีเจ้า H2S และสารประกอบซัลเฟอร์อื่น ๆ เช่น thiosulfate, ผงกำมะถัน เป็นสมาชิกอยู่ด้วย

      .....สภาวะนี้เกิดได้ ต้องไม่มีอากาศ ....สภาวะนี้เกิดได้ต้องมี...แสง.... ดังนั้น ถ้าการเน่าเสียของแหล่งน้ำนั้นมากถึงระดับน้ำดำคล้ำ แสงผ่านลงไปไม่ได้ การสังเคราะห์ ATP ของแบคทีเรียกลุ่มนี้....เกิดไม่ได้...เมื่อเกิดไม่ได้จะเอา ATP จากที่ไหนไปใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่

      ...นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ท่านอาจารย์จุฬาฯ ท่านออกมาทักท้วง และจากช่วงที่มีการใช้ EM กันอย่างแพร่หลาย มีท่านอาจารย์หลายท่านในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาว่ามีเจ้ากลุ่ม phototrophic bacteria กลุ่มนี้อยู่ใน EM บ้างไหม ? ...ถ้าใครเป็นนักวิชาการและอยากทราบคำตอบลองใช้ google ค้นดูนะคะ

      2) กลุ่ม Sulfur oxidizer พวกนี้เป็น chemolithotroph ใช้สารอนินทรีย์ก็คือ H2S, thiosulfate รวมทั้งผงกำมะถัน เป็นแหล่งของพลังงาน พูดง่าย ๆ คือใช้เพื่อสังเคราะห์ ATP และ reducing power แต่ต่างจากกลุ่มบนที่ ....ต้องมีอากาศ...ออกซิเจน...นั่นเอง
      ...พิจารณาจาก bioenergetic ของแบคทีเรียกลุ่มนี้จากภาพนะคะ..

      ดัง นั้น...ถ้าจะบำบัดก๊าซไข่เน่า ในน้ำเสียในระดับดำคล้ำ แบคทีเรียกลุ่มนี้คือตัวเลือก แต่ผลผลิตที่ตามมาคือน้ำจะมีสภาพเป็นกรดเพราะผลผลิตที่เกิดขึ้นคือกรด ซัลฟิวริก...
      ..ในสภาพการบำบัดจริง.ไม่มีระบบบำบัดใดที่ใช้จุลินทรีย์ เพียงชนิดเดียวหรือกลุ่มเดียวในการบำบัดของเสีย และการบำบัดต้องเข้าใจสภาพของของเสียก่อน จากนั้นเลือกที่จะบำบัดอะไรก่อน...ระหว่างบำบัดเกิดอะไรขึ้นบ้างและจะต้อง จัดการอย่างไร...จากนั้นจะต้องทำอะไรต่อเพื่อให้น้ำกลับมามีสภาพเป็นปกติ เหมือนเดิม

      ... มองใน case ที่ใช้ EM ball แล้วประสบความสำเร็จ อาจเนื่องจากว่า EM ball...นำไปใช้กับน้ำที่การเน่าเสียยังไม่ถึงที่สุด โดยแบคทีเรียใน EM อาจไปเจริญแข่งกับแบคทีเรียกลุ่ม sulfate reducer ที่ผลผลิตจากการเจริญของเขาคือ H2S และทำให้กลุ่มนี้ลดลงไปหรือล้มหายตายจากไป .....

      จากคุณ : ..มันเป็นงงงง.. (MissMicrobe)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 19:56:23
      ถูกใจ : ช้างยิ้ม, pinestand, ม้าหงอย



      ความคิดเห็นที่ 55 ติดต่อทีมงาน
      กลับไปอ่านอีกรอบ..
      เอ๊ะ...อาจารย์เขาท้วงหรือเขาสนับสนุนให้ใช้.....งง..

      และภาพไม่ขึ้น.......

      กลับไปวาดภาพประกอบ...วาดเสร็จกดส่ง....

      ระบบขึ้นว่า..ไม่อนุญาตให้ระบบมือถือทำการโพสต์......ฮ่า....เป็นงง

      คุณ Webmaster คะ...ดิฉันสมัครระบบบัตรประชาชนค่ะ และวิ่งเล่นอยู่ในห้องหว้ากอ
      ตั้งแต่ยังไม่มีระบบสมัครสมาชิก ...ใช้ชื่อเล่น ๆ ว่า Rhodoferax....

      ..ก็เลยยิ่งงง...

      .เอาเป็นว่าพยายามแล้วนะคะ..

      จากคุณ : ..ยิ่งงงมากกว่าเก่า.. (MissMicrobe)
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 20:31:27





      ความคิดเห็นที่ 56 ติดต่อทีมงาน
      ผมว่า คนตั้งกระทู้ ควรเปลี่ยน คำว่า "น้ำเน่า" เป็น "น้ำเสีย" นะครับ
      จากคุณ : ซื่อสัตย์ มั่นคง
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 21:45:50





      ความคิดเห็นที่ 57 ติดต่อทีมงาน
      อาจารย์จุฬา ต้องไปเครียสกันเองก่อน


      เพราะอาจารย์ชีวะ ออกมาพูดอย่างหนึ่ง

      ส่วน อาจารย์วิศวะ ออกมาพุดอย่างหนึ่ง มันขัดแย้งกัน

      ใครได้เรียน แต่ คหห 37 พูดถูกแล้ว อ.วิศวะ นั้น พูดไม่หมด ทำให้ขาดความเข้าใจเรื่องจุลินทรีย์ในการบำบัดไปมากทีเดียว

      โดย พูดแต่เรื่องที่นำมันจะถูกใช้ไป EM มันเป็น Facultatvie ส่วนใหญ่นะ

      แค่ไอเดีย พูดเรื่อง ออกซิเจนหมดไปจากน้ำ มันพลาดไปไกลแล้ว

      เพราะ สารอินทรีย์ขนาดนั้น น้ำดำขนาดนี้ เอาเครื่องวัด DO ไปจิ๋ม

      มัน 0 mg/l เห็นๆ แต่ไหนแต่ไหร นะครับ

      จากคุณ : ช้างยิ้ม
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 22:24:42





      ความคิดเห็นที่ 58 ติดต่อทีมงาน
      อ่านแล้วก็พอจะเข้าใจบ้างอ่ะค่ะ แต่ไม่ทราบว่า ณ. สถานการณ์ตอนนี้ ในแหล่งน้ำท่วมขัง ชนิดแบบว่ากำลังจะกลายเป็นบ่อน้ำเน่าแล้ว ควรใช้ EM ball หรือไม่ (คือว่า เราจะห่วงมนุษย์ หรือสัตว์น้ำดีอ่า) ถ้าห่วงมนุษย์ เราก็ควรใช้ ใช่หรือไม่ เพราะอย่างน้อยมนุษย์ก็ไม่ต้องทนกับกลิ่นเหม็น แต่ถ้าห่วงสัตว์น้ำ เราก็ไม่ต้องใส่ ใช่หรือไม่ (แต่ถ้าน้ำขังแบบนี้ ต่อไปมันก็เน่าอ่ะ สัตว์น้ำตายอยู่ดี ใช่หรือไม่)

      แบบหนูชาวบ้านตาดำดำ เริ่มงงแล้วว่า จะห่วงคน หรือสัตว์น้ำ โอย งง สรุปแล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนอ่า...ว่าควรจะใช้ หรือไม่ควรจะใช้ ให้คิดเอาเองแบบนี้ หนูต้องไปลองเองอีกใช่มั๊ยคะ

      จากคุณ : nong noo
      เขียนเมื่อ : 6 พ.ย. 54 22:51:36 A:223.207.42.150 X: TicketID:337205





      ความคิดเห็นที่ 59 ติดต่อทีมงาน
      อ่านแล้วเข้าใจแบบนี้นะ

      ถ้าจะใช้ ต้องเป็นในแหล่งน้ำที่เลวร้ายที่สุด หากยังมีดีอยู่บ้างไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้เลวร้ายกว่าเดิม
      สำหรับเรื่องปัจจัยควบคุมอื่นไม่ขอพูดถึงนะ


      จากคุณ : ซ่อนนาม
      เขียนเมื่อ : 7 พ.ย. 54 02:22:09
      ถูกใจ : Ryuichi, สามัญลักษณ์, เทาขาว



      ความคิดเห็นที่ 60 ติดต่อทีมงาน
      แล้วถ้านำพวกอินทรีย์ทั้งหลายมาหมักด้วย EM พอย่อยสลายเสร็จเห็นมีการส่งเสริมให้นำไปใช้แทนปุ๋ยเคมี ทั้งน้ำที่หมักได้ และตะกอนของมัน อยากถามผู้รู้ในนี้ว่ามันมีธาติอาหารครบตามที่เชื่อกันมาจริงมั๊ย
      จากคุณ : ประชามีสุข (ประชามีสุข)
      เขียนเมื่อ : 7 พ.ย. 54 09:08:46





      ความคิดเห็นที่ 61 ติดต่อทีมงาน
      คห 57
      "อาจารย์จุฬา ต้องไปเครียสกันเองก่อน เพราะอาจารย์ชีวะ ออกมาพูดอย่างหนึ่ง ส่วน อาจารย์วิศวะ ออกมาพุดอย่างหนึ่ง มันขัดแย้งกัน "

      ตรงไหนครับที่พูดขัดแย้งกัน ระบุด้วย

      จากคุณ : JD300
      เขียนเมื่อ : 7 พ.ย. 54 11:21:07





      ความคิดเห็นที่ 62 ติดต่อทีมงาน
      สภาพบ้านผมล่าสุด หมานอนเล่นไม่ได้ละ

      จากคุณ : GreenEyes
      เขียนเมื่อ : 7 พ.ย. 54 21:34:59
      ถูกใจ : Grenadine1oz, punkskate208, ดิฉันขำขันมาก,,*, think4223



      ความคิดเห็นที่ 63 ติดต่อทีมงาน
      นั่นสิ อยากรู้เหมือนกันว่า

      วิศวะสิ่งแวดล้อม

      กับ

      นักไบโอเคมี

      ใคร จะแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ดีกว่ากัน นักไบโอเคมีบอกว่าวิศวะไม่ได้เรียนชีวะ ถามลึก ๆ ไม่รู้ วิศวะสิ่งแวดล้อมบอกนักไบโอไม่รู้สภาพหน้างาน ทำแล็บในห้องวิจัยจะไปรู้เรื่องแม่น้ำลำคลองได้งัย (10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่เท่ากับ 10,000 ล้านลูกบาศก์ลิตร นะเจ๊ ฟังผ่านเจ๊คนหนึ่งให้สัมภาษณ์)

      จริง ๆ เห็นว่าเป็นวิวาทะทำให้เกิดปัญญานะ มีคนจุดประกายให้ฉุกคิด เป็นสังคมที่ศิวิไลส์พอควรคงโต้เถียงด้วยสติปัญญา แต่คนไทยบางกลุ่มคงไม่ชอบนัก (แบบชอบดราม่าแรง ๆ มากกว่า)

      จากคุณ : จุลินซวย
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 00:33:15 A:125.24.165.187 X: TicketID:137537





      ความคิดเห็นที่ 64 ติดต่อทีมงาน
      เรื่องนี้เป็นชนวนให้เราเลือกที่จะเชื่อครับ ดีเเล้วๆ
      ^^'

      จากคุณ : ToonFx
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 01:43:53





      ความคิดเห็นที่ 65 ติดต่อทีมงาน
      #63
      ขอเสริมสักนิด
      ปรกติเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องร่วมมือกันนะ
      แต่คนไทยมักทำงานเป็นทีมไม่ค่อยเก่ง... (ก็เพราะโต้เถียงด้วยปัญญาไม่เป็นอย่างที่ท่านว่าล่ะมั้ง ?)

      นี่แหละปัญหาสำคัญ
      เพราะคนที่เก่งสุด ๆ แต่ทำงานแค่คนเดียว ยังไงก็สู้คนที่เก่งน้อยกว่าแต่ทำงานเป็นทีมไม่ได้

      จากคุณ : ซ่อนนาม
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 02:06:38





      ความคิดเห็นที่ 66 ติดต่อทีมงาน
      คุณ JD ดู รศ.ดร. ท่านหนึ่ง จุลชีวิวิทยา พูดซิครับ
      พูดผ่านสื่อเหมือนกัน แต่ ไม่ดังเท่านะจ๊ะ ออกมาต่อจาก ท่านศ. เลยล่ะครับ

      จะได้รู้ว่ามันขัดแย้งกัน

      ปล. ฝากถามศ. ให้ผมหน่อย

      ที่อ้างว่า EM บอลมีโลหะหนัก มันมาจากไหน

      ฝากประเด็นนี้ด้วยนะครับ

      จากคุณ : ช้างยิ้ม
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 08:45:12





      ความคิดเห็นที่ 67 ติดต่อทีมงาน
      จะว่าไปเรื่ิงนี้ทำห้ผมได้ความรู้เรื่องจุลินทรีย์บำบัด น้ำเสียขึ้นเยอะเลย จากเมื่อก่อนคิดว่าจะซื้อมาใส่ตุ้ปลาทองแต่ไม่เอาละเดี่ยวปลาตาย
      จากคุณ : เชื่อเสียงหัวใจ
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 10:14:46





      ความคิดเห็นที่ 68 ติดต่อทีมงาน
      ความคิดเห็นที่ 66


      คุณ JD ดู รศ.ดร. ท่านหนึ่ง จุลชีวิวิทยา พูดซิครับ
      พูดผ่านสื่อเหมือนกัน แต่ ไม่ดังเท่านะจ๊ะ ออกมาต่อจาก ท่านศ. เลยล่ะครับ

      จะได้รู้ว่ามันขัดแย้งกัน

      ปล. ฝากถามศ. ให้ผมหน่อย

      ที่อ้างว่า EM บอลมีโลหะหนัก มันมาจากไหน

      ฝากประเด็นนี้ด้วยนะครับ
      จากคุณ : ช้างยิ้ม

      เอาเฉพาะ EM บอลมีโลหะหนัก ในคลิปที่ไป สัมภาษณ์ อ.แกบอกว่า ตัวอย่าง Em Ball ที่ส่งไปวิเคราะห์ อะไรซักอย่างของเนเธอแลนด์

      (ไม่ใช่ Em ball ที่กำลังนั่งปั้นกันอยู่ในเมืองไทยครับ)

      จากคุณ : pinestand
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 13:06:58





      ความคิดเห็นที่ 69 ติดต่อทีมงาน
      ถ้าไม่เชื่อว่าไม่มีประโยชน์จงพิสูจน์ว่ามันไร้ประโยชน์
      ถ้าเชื่อว่ามีประโยชน์จงพิสูจน์ว่ามีประโยชน์จริง อย่าปล่อยให้เป็นเพียงงานวิชาการวางไว้บนหิ้ง
      ว่าแต่บ้านเราใครจาทามจนถึงจุดสูงสุดนั้น

      จากคุณ : เด็กไบโอเทค เป็ดๆ (goody jelly bear)
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 13:12:42





      ความคิดเห็นที่ 70 ติดต่อทีมงาน
      ความคิดเห็นที่ 66
      "คุณ JD ดู รศ.ดร. ท่านหนึ่ง จุลชีวิวิทยา พูดซิครับ พูดผ่านสื่อเหมือนกัน แต่ ไม่ดังเท่านะจ๊ะ ออกมาต่อจาก ท่านศ. เลยล่ะครับ จะได้รู้ว่ามันขัดแย้งกัน"

      ช่วยบอกข้อความมาด้วยครับ ผมไม่ได้ฟัง


      "ปล. ฝากถามศ. ให้ผมหน่อย ที่อ้างว่า EM บอลมีโลหะหนัก มันมาจากไหน ฝากประเด็นนี้ด้วยนะครับ"

      ไม่รู้จักท่านเป็นการส่วนตัว และไม่เคยเจอครับ

      จากคุณ : JD300
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 13:23:57





      ความคิดเห็นที่ 71 ติดต่อทีมงาน
      อันนี้ไม่มั่นใจ
      จากที่อ่าน ๆ มา สรุปได้เหมือน #59 ของคุณซ่อนนาม
      เหมือน EM ball ลดกลิ่น แต่ไม่สามารถทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ใช่ใหม?

      จากคุณ : สิริธีรีน
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 16:39:43





      ความคิดเห็นที่ 72 ติดต่อทีมงาน
      แตงจุกเลย..

      ขอบคุณที่ท่าน จขกท.อธิบายได้ชัดเจนครับ..smile

      จากคุณ : Muyan
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 16:53:16





      ความคิดเห็นที่ 73 ติดต่อทีมงาน
      งั้นฝากถามไม่ได้ ล่ะครับ คุณ JD300

      ^_^

      สวัสดีครับ

      คุณ pinestand

      เรื่องนี้ มันเป็นประเด็นทีเดียวที่พูดคุยนะครับ

      การที่ อ.ธงชัย ออกมาพูดยกตัวอย่างว่าประเทศหนึ่ง มีโลหะหนักอันตรายอยู่ใน EM

      อันนี้เลยต้องถามกลับไปว่า เอามาพูดเพื่อจุดประสงค์ใด ถ้าจะตอบว่าไม่ได้เกี่ยวกับ EM ในเมืองไทย

      อันนี้ จงใจให้ คนอื่นฟังเข้าใจผิดหรือเปล่า เพราะประเด็น EM มันคือจุลินทรีย์

      ส่วนโลหะหนักอาจจะปนมากับวัสดุ ที่ทำ ball เช่นดิน ที่แย่กว่านั้นคือ
      ในดินจะมีโลหะพวกนี้ น้อยหรือ มาก อันนี้ มันขึ้นกับแหล่งดิน

      นอกจากนี้โลหะในดิน ยังแบ่งคราวๆ ได้ อีก 4 องค์ประกอบการ ที่ทำพันธะอยู่กับดิน

      ไม่ว่าจะเป็น exchangable ที่ละลายน้ำง่าย หรือ จะละลายต่อเมื่อมีกรด หรือ ละลายต่อเมื่อมีด่าง หรือ เป็น Residual ซึ่งละลายง่าย

      ประเด็นนี้ทำให้คนฟัง ที่มีความเข้าใจไม่มาก เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า EM ball

      มีโลหะอันตรายปน ใช่หรือไม่

      อันนี้การสื่อ จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ผมว่าควรระมัดระวังนะครับ

      จากคุณ : ช้างยิ้ม
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 17:42:30





      ความคิดเห็นที่ 74 ติดต่อทีมงาน
      สว่างเลยอะ ขอบคุณครับ
      จากคุณ : AlternateX (AlternateX)
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 21:19:20





      ความคิดเห็นที่ 75 ติดต่อทีมงาน
      http://www.nia.or.th/download/activity/20060120_presentation.pdf


      น่าสนใจในเชิงวิชาการ ลองดูเกี่ยวกับจุลินทรีย์สีม่วง กับการบำบัดน้ำเสียคะ

      จากคุณ : leknoy1
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 21:23:40





      ความคิดเห็นที่ 76 ติดต่อทีมงาน
      คุณกิ๊กครัวเมล็ดกาแฟบอกว่า
      "การเลี้ยงให้นิ่งจริงๆ มันไม่ยากอย่างที่คิด เดี๋ยวนี้เค้ามีีระบบธนาคาร stock culture ที่สามารถทำเชื้อบริสุทธิ์มาเพาะต่อได้ เหมือนกับตัวต้นแบบ อันนี้มีรายละเอียด เช่นเชื้อ ยาคูลท์ คุณเอาเชื้อไปต่อไม่ได้ ทำไมยังผลิตจากโรงงานได้ เค้าเอาเชื้อ lactobacillus ที่นิ่งๆ มาจากไหนครับ? ภ้าไม่ใช่ระบบธนาคารเชื้อ "

      ผมถึงบอกไงว่ามันไม่ได้ รักษากันง่ายนัก ต้องทำใน lab หรือ ธนาคารเชื้อ แต่พอเอามาโปรย สิ่งแวดล้อม อาหาร มันเปลี่ยนไปหมด แถมยังมีเชื้อเจ้าถิ่นอีกเพียบ culture มันจะรอดหรือไม่รอด มันจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน เอาแค่ตอนปั้นมันก็เปลี่ยนไปแล้ว

      จากคุณ : ม้าหงอย
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 22:04:34
      ถูกใจ : PERTUSSIS



      ความคิดเห็นที่ 77 ติดต่อทีมงาน
      จาก คห 75 ขออนุญาต เอามาแปะ คะ

      จากคุณ : leknoy1
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 22:45:18





      ความคิดเห็นที่ 78 ติดต่อทีมงาน
      Dear K. leknoy1

      เป็นเอกสารที่ดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ

      ดูรูปแล้ว ระบบเติมอากาศ 24 ชั่วโมงเลย ^^

      ขอ เสริมนิดนึงค่ะ ว่าระบบเติมอากาศบางที่ในเมืองไทย ก็เลี้ยงตะกอนได้สีแดงแบบนี้เลยค่ะ ไม่ต้องคัดเชื้อมาเติมด้วยนะคะ คือมันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าเลี้ยงเชื้อในสภาวะที่เหมาะสมหรือไม่ ยิ่งเติมอากาศเต็มที่ขนาดนี้ โอกาสจะเกิด H2S ยิ่งยากอยู่แล้วค่ะ

      เป็นตัวอย่างที่ดีมีประโยชน์ค่ะ แต่อาจจะไม่ตรงกับสภาพแวดล้อมในน้ำท่วมระบบเปิดน่ะค่ะ ขอบคุณอีกครัง้ค่ะ

      จากคุณ : sinnilicious (sinilicious)
      เขียนเมื่อ : 8 พ.ย. 54 23:40:45





      ความคิดเห็นที่ 79 ติดต่อทีมงาน
      ความรู้ที่แท้จริง บางครั้ง คนมักไม่ยอมรับ

      เช่น สมัยหนึ่ง คนส่วนใหญ่เชื่อว่า โลกแบน ใครบอกว่า โลกกลม ก็โดนหาว่า บ้า

      คน ส่วนใหญ่ เชื่อว่า โลก เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะจักรวาล ใครมาบอกว่า แท้จริง แล้ว ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะจักรวาล ก็โดนหาว่า บ้า


      กับความรู้ครึ่งๆกลางๆ ยิ่งเป็นอันตราย ไม่รู้ เสียเลยจะดีกว่า

      บางคนรู้ครึ่งๆกลางๆ เอาความไม่รู้ มาปนกับความรู้ ที่รู้ไม่จริง มาพูด มาบอกให้คนอื่นเชื่อ

      แบบนี้อันตรายมากๆ

      เช่น การใช้ EM ของชาวบ้าน ทั่วไป

      วิศวกรด้านสิ่งแวดล้อม มาบอกมากล่าว ก็ไม่มีคนเชื่อ


      บางคนบอกว่า EM กำจัดกลิ่นได้ ตรงนี้ คนที่บอกว่า กำจัดกลิ่นได้ รู้ไหมว่า ทำไมมันกำจัดกลิ่นได้

      คนที่ใช้ ไม่มีใครรู้ ถ้ารู้ รับรองว่า จะไม่ใช้

      ลองเอา EM ใส่กองอุจจาระดู กองอุจาระ จะไม่มีกลิ่น

      ผ่านไปไม่นาน (2-3 วัน) กองอุจจาระ ก็จะกลับมามีกลิ่นอีก

      ก็ต้องใส่ EM ลงไปอีก ทำแบบนี้ ไปเรื่อยๆ

      ในขณะที่ กองอุจจาระ ก็ยังอยู่อย่างเดิม พร้อมกับ เปลี่ยนสภาพ

      จากก้อนแข็งๆกลายเป็นกองน้ำที่เลอะออกไป (จากน้ำหมักEM)

      ผลคือ ใช้ EM ระงับกลิ่น เหมือน คนที่ถูกพิษ แล้ว ยิ่งดื่มยาพิษ เข้าไปมากยิ่งขึ้น

      (ตรงนี้ ผมมีประสบการณ์จากส้วมที่บ้านตัน ก็มีกลิ่น ใส่ EM แล้ว ดับกลิ่นได้จริง แต่ว่า อุจจาระเปลี่ยนเป็นกองน้ำสีออกน้ำตาลดำๆ)


      ตอนนี้ มาดู กระบวนการกำจัดของเสีย

      เมื่อมีการเน่าเกิดขึ้น จึงจะมีกลิ่น การย่อยสลายแบบนี้ คือ กระบวนการย่อยโดยไม่มีอากาศ

      มีขั้นตอน 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ

      ขั้นตอนที่ 1 การเปลี่ยนสารอินทรีย์ทั้งหมด ให้เป็นกรดอินทรีย์

      ขั้นตอนที่ 2 การเปลี่ยนกรดอินทรีย์ ให้เป็นกาซชีวภาพ (กาซมีเทน)

      ในขั้นตอนที่ 1 จะไม่มีกลิ่นเกิดขึ้น เพียงแต่สารอินทรีย์เปลี่ยนรูป ไปเป็นกรดอินทรีย์(อาจมีกลิ่นเปรี้ยว)

      ส่วน ขั้นตอนที่ 2 จะมีกลิ่นเกิดขึ้น ถ้า ระบบอยู่ในสภาวะที่เป็นกรด(พีเอช ต่ำกว่า 7) ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) จะรวมตัวกับกรด เกิดเป็น กาซไข่เน่า

      การใส่ EM ลงไป ทำให้ ขั้นตอนที่ 2 ไม่เกิดขึ้น

      ก็ไม่มีกลิ่นเหม็น เกิดขึ้น หลายคนก็นึกไปว่า มีการกำจัดน้ำเสีย หรือของเสียแล้ว

      เป็นการเข้าใจที่ผิด เพราะว่า ไม่รู้


      ในทางวิชาการ ของเสีย ที่เป็น คาร์โบไฮเดรท จะถูกย่อยสลาย แล้ว ได้ กาซคาร์บอนไดออกไซค์กับน้ำ

      ของเสีย ที่เป็น ไขมัน และโปรตีน จะถูกย่อยสลาย แล้ว ได้ กาซไนโตรเจน

      ไม่ใช่ เปลี่ยนรูปดังที่ EM ทำงาน

      แล้วคนในสังคม ส่วนใหญ่ ไม่รู้ ก็มีความเชื่อที่ผิดๆ


      สำหรับ ความรู้ ด้าน EM และการกำจัดของเสีย ผมกล้าท้า คนทั้งโลก มาพูดคุยวิจารณ์ ได้

      จากคุณ : phon77
      เขียนเมื่อ : 9 พ.ย. 54 00:54:07





      ความคิดเห็นที่ 80 ติดต่อทีมงาน
      อ่านทู้นี้แล้วได้ความรู้ดีจัง ชอบค่ะ
      จากคุณ : กดไลค์
      เขียนเมื่อ : 9 พ.ย. 54 01:07:57 A:113.53.128.168 X: TicketID:328519





      ความคิดเห็นที่ 81 ติดต่อทีมงาน
      ในแง่ ทางด้านวิชาการผมขอเสนอว่า

      ให้อาจารย์ทางด้านชีววิทยา

      อาจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จัดประชุมพูดคุยกันดีกว่า

      ทั้ง 2 สาขา ต่างก็มีตำรา ทางด้านวิทยาศาสตร์มาเหมือนๆกัน

      ส่วนคนภายนอก บางครั้ง ไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้ง พูดไปบางครั้ง เข้าใจประเด็นผิดพลาด


      ศาสตร์ทางด้านการกำจัดของเสีย มีมานานแล้ว

      ทาง ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมก็ศึกษามานาน ส่วนทางด้านชีววิทยา เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ที่ ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม นำมาประยุกต์ใช้งานสำหรับ การกำจัดของเสีย


      การศึกษา การย่อยสลายสารอินทรีย์โดยทางชีววิทยา แบบไร้อากาศ มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มากมาย ศึกษาครอบคลุมทุกประเด็น ทั้งทางด้าน เคมี กายภาพ และทางด้านชีววิทยา

      ใน ขณะที่การศึกษา ทางด้านชีววิทยา เกี่ยวกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ แบบไร้อากาศ มีการศึกษาระดับปริญญาเอก น้อยกว่า ทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

      มันมีการคาบเกี่ยวกัน ระหว่าง 2สาขา ดังนั้น ต้องแยกให้ออกว่า ทางด้านไหน มีความชำนาญมากกว่ากัน

      วิศวกรรม สิ่งแวดล้อม เป็นวิศวกรรมศาสตร์ ที่ศึกษาทางด้านชีววิทยาและก็ ไบโอเคมี ด้วย เพียงแต่บางครั้ง พูดให้คนทั่วไปฟัง ไม่จำเป็น ต้องลงลึกในทางด้านวิชาการมาก

      จากคุณ : phon77
      เขียนเมื่อ : 9 พ.ย. 54 01:08:16





      ความคิดเห็นที่ 82 ติดต่อทีมงาน
      จาก คห.57 ของคุณช้างยิ้ม
      เพราะ สารอินทรีย์ขนาดนั้น น้ำดำขนาดนี้ เอาเครื่องวัด DO ไป"จิ๋ม"
      ขำๆพอคลายความตึงเครียดนะครับ หยอกเย้า
      ออ ขอบคุณจขกท.ด้วยจ้า

      แก้ไขเมื่อ 09 พ.ย. 54 01:58:57
      จากคุณ : neoultema
      เขียนเมื่อ : 9 พ.ย. 54 01:58:10





      ความคิดเห็นที่ 83 ติดต่อทีมงาน
      สรุปว่าให้เอาไปใส่ในน้ำเน่า น้ำนิ่งๆ ที่ไม่ค่อยไหล
      เพื่อให้ EM ช่วยย่อยสลาย สารจุลินทรีย์ได้เร็วขึ้น
      แต่ถ้าในน้ำมีขยะมาก ก็ต้องใช้เวลามาก ไม่ใช่ใส่ปุ้บ 1-2 วัน ย่อยขยะหมด

      ส่วนน้ำไหล ไม่จำเป็นต้องใส่ EM
      เพราะน้ำมีการไหลเวียน น้ำที่ไหลมักจะไม่เน่า เพราะออกซิเจนละลายในน้ำไหลได้ดีกว่า

      จากคุณ : webkit
      เขียนเมื่อ : 9 พ.ย. 54 12:10:20








http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11292055/X11292055.html


--------------------------------------------------------

คณะวิทย์ฯจุฬาฯสรุปผล"อีเอ็มบอล"ไม่ได้ช่วยแก้น้ำเสีย ยังส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลง


วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 17:22:07 น.



จากกรณีการถกเถียงเรื่อง การนำอีเอ็ม (EM-effective microorganism) มาใช้ในการบำบัดน้ำเสียอย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปของน้ำอีเอ็ม และลูกบอลอีเอ็ม (EM ball) ในช่วงน้ำท่วมว่า ได้ผลในการบำบัดน้ำเสียจริงหรือไม่นั้น

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันวิชาการที่เป็นเสาหลักของประเทศไทย นำโดย 1.ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ 2.รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ธนียวัน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา 3.รองศาสตราจารย์ ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา 4.รองศาสตราจารย์ ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล 5.ศาสตราจารย์ ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี 6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา 7.อาจารย์ ดร.อนุสรณ์ ปานสุข อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา และ 8.อาจารย์ ดร.สราวุธ ศรีทองอุทัย อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด และทางเลือกในการใช้อีเอ็มสำหรับสถานการณ์น้ำท่วม
ดร.สุพจน์กล่าวว่า ผลการตรวจสอบสรุปว่าการเติมอีเอ็ม หรือเติมผลิตภัณฑ์จากอีเอ็ม ลงไปในน้ำเสียจากแหล่งน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นในทางตรงกันข้าม การเติมอีเอ็มลงไปในน้ำ กลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนภายในน้ำลดลง ซึ่งผลการศึกษาที่ได้ออกมาในครั้งนี้จึงช่วยยืนยันข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีใจความสรุปว่า ถ้าต้องการนำอีเอ็มมาใช้กับน้ำเสียในสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ควรใช้เฉพาะน้ำอีเอ็ม ไม่ใช่ลูกบอลอีเอ็มโดยให้ใช้เฉพาะในบริเวณน้ำท่วมขังเป็นพื้นที่แคบ และให้ตระหนักว่าเป็นการใช้แก้ขัด เพียงเพื่อบรรเทากลิ่นเหม็นและช่วยให้น้ำใสขึ้นชั่วคราวเท่านั้น การใช้อีเอ็มไม่ได้ทำให้น้ำเสียมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นน้ำดีได้ และวิธีการบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุดอย่างยั่งยืน คือ ช่วยกันเก็บขยะของเสียออกจากแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะเพิ่ม เร่งระบายน้ำให้ไหล ไม่ขังนิ่ง และหาทางเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น การใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328091780&grpid=00&catid=&subcatid=

--------------------------------------------------------

FfF