กราฟแสดงการระบายน้ำขอเขื่อนสิริกิต์
จากสถิติการปล่อยน้ำ
ปี 2555 เส้นสีแดง
ปี 2554 เส้นสีน้ำเงิน
ปี 2553 เส้นสีเขียว
ปี 2549 เส้นสีฟ้า (น้ำท่วมใหญ่ช่วง คมช. ครองเมือง)
เมื่อสองสามวันมานี้มีข่าวว่าที่อยุธยาน้ำท่วมอีกแล้ว
ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการเร่งระบายน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองเขื่อน
ตามแผนป้องกันน้ำท่วมหน้าฝน แต่มันทำให้รู้ว่า
ถ้าเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์ปล่อยน้ำเกินวันละ 50 ลบ.ม.ต่อวัน
จะทำให้เกิดน้ำท่วมบางพื้นที่ได้แล้ว
ลองย้อนไปดูเส้นสีน้ำเงินและปีที่น้ำท่วมใหญ่อีกปีสมัยคมช.
มีบางช่วงที่ปล่อยน้ำเกิน 50 ล้านลบ.ม. ต่อวัน และก็เกิดน้ำท่วม
ปีที่แล้วยิ่งเห็นชัด ต้นปีนี้ยิ่งเห็นชัดใหญ่
เพราะฝนตกก็จริงแต่ยังไม่มากเท่าหน้าฝนปกติ
แต่มีข่าวและดูจากสถิติปล่อยน้ำเกิน 50 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน
ส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองทั่วไปที่เชื่อมโยง
มีประมาณน้ำสูงจนเอ่อล้นท่วมสองฝั่งในบางพื้นที่ได้แล้ว
วันนี้เราไม่พูดเรื่องว่าทำไมถึงปล่อยน้ำ
เพราะว่างวดนี้จำเป็นต้องปล่อยไม่ปล่อยตอนนี้หน้าฝนน้ำมาก
เขื่อนรับไม่ไหวจะปล่อยเกินวันละ 50 ล้านลบ.ม.
จนอาจเกิน 100 ล้านลบ.ม.ต่อวันเหมือนปีที่แล้วอีกได้
และน้ำระดับสองสามพันล้านลบ.ม. มากแค่ไหน
ดูปริมาณน้ำที่หลุดมาท่วมกรุงเทพดูก็ได้
ซึ่งก็ไม่มากเลย ปริมาณแค่เสี้ยวหนึ่งของเขื่อนทั้งสองด้วยซ้ำ
แต่เล่นท่วมในกรุงบางจุดก็เกือบมิดหัวโดยเฉลี่ยระดับเอว
อันที่จริงควรจะปล่อยตั้งแต่ต้นปีแล้วหรือปลายปีที่แล้ว
สัก 30 ล้านลบ.ม.ต่อวัน ก็จะไม่เกิดน้ำท่วมเท่าไหร่
เอาเป็นว่าคิดช้ามาก ถึงได้บอกให้รีบปล่อยตั้งแต่ต้นปี
ยิ่งปล่อยให้นานไปแล้วมารีบปล่อยช่วงใกล้หน้าฝน
รับประกันท่วมเละแน่ๆ เพราะระดับน้ำแค่ 50 ล้านลบ.ม. ต่อวัน
ยังมีข่าวเริ่มเอ่อล้นตลิ่ง ถ้าปล่อยแบบปีที่แล้ว
ที่ระดับ 100 ล้านลบ.ม. ต่อวัน ติดๆ กันหลายวัน
และระดับ 50 ล้านลบ.ม. ต่อวันนานหลายเดือน
อย่างเขื่อนสิริกิต์นี่เกือบสามเดือน
คำนวนปริมาณน้ำดูซิว่าขนาดไหน
นี่ก็เหมือนเป็นการทดลองให้เห็นว่า
การปล่อยน้ำสองเขื่อนใหญ่ระดับเกิน 50 ล้านลบ.ม. ต่อวัน
มีผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองทางภาคกลาง
ทำให้ท่วมได้ด้วยถ้าปล่อยนานๆ ติดต่อกัน
เมื่อรู้เช่นนี้ก็ไม่ควรเก็บไว้เยอะ แต่ปีที่แล้วปล่อยเยอะ
เพราะต้นทุนเกือบครึ่งเขื่อนผสมลานิญาฝนตกหนักน้ำมากทำลายสถิติ
จนน้ำล้นเขื่อนต้องปล่อยแบบกลัวเขื่อนจะแตกกัน
เป็นบทเรียนที่ควรจดจำ
แถมยังพิสูจน์ให้เห็นอีกอย่างว่า
การแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการเที่ยวไปโปรโมทจะสร้างเขื่อน
ทั้งแก่งเสือเต้นหรืออีกเขื่อนหนึ่งแล้วโฆษณากันว่า
จะช่วยป้องกันน้ำท่วมได้เป็นการคิดผิดแน่นอน
การทดลองปล่อยน้ำสองเขื่อนใหญ่งวดนี้ พิสูจน์ชัดเจนว่า
ต่อให้สร้างอีกกี่เขื่อนถ้าสองเขื่อนใหญ่ปล่อยน้ำมากแบบนี้ติดๆ กัน
สะสมกันจนระดับหลายพันล้าน ลบ.ม.
ก็มีสิทธิ์โดนน้ำท่วมใหญ่ได้ทันที
ดังนั้นวิธีการแก้โดยการสร้างเขื่อนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด
การแก้ปัญหาที่ตรงจุดจริงๆ ก็คือ การสร้างระบบท่อส่งน้ำใยแมงมุม
อย่างถ้าน้ำเยอะอยากปล่อยน้ำทิ้งเพื่อรอเข้าหน้าฝน
แทนที่จะปล่อยลงทะเลไปเฉยๆ และยังไปท่วมบ้านเรือนสองฝั่งแม่น้ำอีก
ก็ส่งไปตามท่อขนาดใหญ่ระดับอุโมงค์ส่งขึ้นทางเหนือกับทางอีสาน
ไปช่วยพื้นที่ที่เริ่มมีข่าวว่าแล้งขาดน้ำแล้ว
ก็จะไม่กระทบทำให้ชาวบ้านใต้เขื่อนน้าท่วม
หรือปล่อยน้ำทิ้งลงทะเลไปฟรีๆ ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด
และถ้าน้ำมากระบายไม่ทันก็ส่งตรงทิ้งลงทะเลผ่านระบบท่อ
หรือส่งไปให้เขื่อนทางใต้หรือทางตะวันออกช่วยเก็บไปบ้างก็ได้ทั้งนั้น
ถ้ามีระบบท่อใยแมงมุมเชื่อมทุกเขื่อน
และเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคอีสาน
ก็สามารถที่จะคิดหาหนทางระบายน้ำให้เกิดประโยชน์ได้
ดีกว่าปล่อยทิ้งไปเฉยๆ แถมยังไปทำให้ท่วมบริเวณแม่น้ำลำคลองท้ายเขื่อนอีกด้วย
แถมยังช่วยพักน้ำในท่อที่ยาวโยงใยไปทั่วหลายร้อยกิโลเมตร
ช่วยแบ่งน้ำไปพักในท่อยังดีกว่าไปเที่ยวเวนคืนพื้นที่หลายล้านไร่
เพื่อปล่อยให้น้ำท่วมยามหน้าฝน หรือผลักน้ำไปท่วม
ทำชาวบ้านในบริเวณที่ต้องการให้เป็นแก้มลิงเดือดร้อน
อีกอย่างการมีเขื่อนแบบนี้ อาจมีสักวันที่เขื่อนแตก
หรือมีงานปล่อยน้ำระดับหลายพันล้านลบ.ม. ออกมา
รับประกันได้ว่ามิดทั่วถึง ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว
น้ำทั้งสองเขื่อนใหญ่ถ้าเต็มเขื่อนแล้วแตกทันที
สามารถจมทุกเมืองไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพ
ที่จะเห็นเฉพาะตึกสูงเกิน 5 ชั้นโด่เด่เท่านั้น
ขนาดปีที่แล้วระดับสองสามพันล้าน ลบ.ม. ยังแทบแย่
ถ้าระดับหมื่นล้าน ลบ.ม. ขึ้นไป
และทันทีทันใดแบบเขื่อนแตก
ไม่อยากจะนึกภาพเลย นี่คือจุดอ่อนชัดๆ
ไม่ต้องพูดถึงยามศึกสงครามเลยน่ะ
เอาแค่แกล้งกันเองก็แย่แล้ว
โดย มาหาอะไร
---------------------------------------------
อยุธยา-ผู้ว่าฯ ลงพื้นที่ดูแลชาวเสนาถูกน้ำท่วม
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางไปรับทราบความเดือดร้อนของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมน้ำในอำเภอเสนา ที่แม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และพืชผลการเกษตร เสียหาย
หลังจากที่นายกรัฐมนตรี ทราบปัญหาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม จากการระบายน้ำในเขื่อนภูมิพล และ เขื่อนสิริกิติ์ จึงมีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านนั้น
วันนี้ นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปรับทราบปัญหาของชาวบ้านที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา เบื้องต้นได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เขื่อนทั้งสองแห่งยังคงต้องระบายน้ำลงอีกอย่างแต่เนื่อง ไม่สามารถหยุดยั้งได้ และจะระบายน้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ และในอีก 2 เดือนจะระบายน้ำเพิ่มมากขั้น ขณะนี้ทำได้อย่างเดียวคือ ทำอย่างไรที่จะป้องกันน้ำล้นตลิ่งได้
ทั้งนี้ในที่ประชุมมีการพูดคุยกันหลากหลาย อันดับแรกคือ ต้องไม่ให้น้ำไหลเข้าทุ่งนาเพื่อไม่ให้ชาวนาต้องเดือดร้อนสามารถทำนาได้ ขณะที่นายกเทศมนตรีตำบลหัวเวียง ได้ร้องขอให้ทางจังหวัดเร่งซ๋อมแซมท่อระบายน้ำ และ ประตูระบายน้ำตลอดคันกั้นน้ำที่ชำรุดจากมหาอุทกภัยที่ผ่านมาทั้งหมด และ ให้เร่งทำประตูระบายน้ำคลองตานึ่งก่อน เนื่องจากประตูพังเสียหายอย่างมาก ซึ่งการประชุมยังคงถกเถียงหาแนวทางป้องกันอย่างหลากหลาย
และบ่ายวันนี้ เทศบาลตำบลหัวเวียงได้รับแจ้งว่า นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะนำคณะลงมาตรวจสอบสภาพน้ำในแม่น้ำน้อย
http://www.krobkruakao.com/ข่าว/51785/อยุธยา-ผู้ว่าฯ-ลงพื้นที่ดูแลชาวเสนาถูกน้ำท่วม.html
-----------------------------------------
ชาวเสนาเป็นงง เจอน้ำท่วมรอบใหม่ โวยเดือดร้อน ผอ.เขื่อนภูมิพลเผยแผนระบายน้ำ
วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 19:46:49 น.
ชาวอ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เร่งเก็บข้าวของหนีน้ำท่วมรอบใหม่ | รับชมข่าว VDO
ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ รายงาน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำท้องกระทะของภาคกลาง มีระดับเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันเป็นช่วงเริ่มเข้าสู่หน้าแล้ง ขณะที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนสิริกิตต์ จ.อุตรดิตถ์ เร่งปล่อยน้ำเหนือเขื่อนประกอบกับมีฝนตกในเขตภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้ชาวบ้านในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เพิ่งจะผ่านภาวะน้ำท่วมหนักไปเมื่อปลายปี2554 ผวากับสภาพน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บ้านพักของนายลำยอง สัญญสาล อายุ 71 ปี เลขที่ 12 หมู๋ที่1 ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากน้ำเอ่อท่วมใต้ถุนบ้านแล้วกว่า 30-40 เซ็นติเมตร จนต้องทำสะพานทางเข้าออกตัวบ้านกับถนนระยะทางกว่า 200 เมตรนายลำยองกล่าวว่า พื้นที่ย่านนี้ลุ่มต่ำ แต่ในช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน น้ำไม่เคยท่วม แต่ปีนี้น้ำท่วมแต่ต้นปีเลย "ผมรู้สึกงงกับน้ำท่วม ทั้ง ๆ ที่น้ำเพิ่งจะแห้งไปเมื่อเดือนสองเดือนที่แล้วเอง เกิดมาก็ไม่เคยพบเคยเห็นน้ำท่วมในหน้าร้อน มันไม่เป็นธรรมชาติ คนเองเป็นชาวบ้านคิดว่ายิ่งแก้ยิ่งไปกันใหญ่ เป็นลิงแก้แหไปแล้ว หากแก้ไม่ได้ปล่อยเป็นธรรมชาติดีที่สุด"นายลำยองกล่าว นายลำยองกล่าวว่า น้ำท่วมแต่ต้นปีเช่นนี้ได้รับความเดือดร้อน สะพานเพิ่งจะรื้อไปไม่นาต้องนำกลับมาสร้างกันใหม่อีกครั้งเสียเวลาและ เหนื่อยที่สุด ดูแล้วปี 2555 สงสัยน้ำจะท่วมบ้านทั้งปี ด้านนายชัย ทิพย์เกสร อายุ 54 ปี หมู่ที่9 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เร่งช่วยเพื่อนบ้านเก็บของใต้ถุนบ้านที่ปลูกติดริมแม่น้ำน้อย เพราะน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมใต้ถุนบ้านสูงกว่า 20 ซม. นายชัย กล่าวว่า น้ำท่วมหน้าร้อนงงมาก เพราะน้ำเพิ่งจะแห้งไปเมื่อตอนปลายปีหากน้ำจะท่วมก็ต้องเป็นกลางฤดูฝนจนถึง ปลายฤดูฝนของทุกปี หากท่วมแบบนี้ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ไม่ต้องปลูกอะไรกินแล้ว ลำบากมาก เพราะน้ำท่วมเพิ่งจะแห้งไปได้เดือนสองเดือนเท่านั้นก็กลับมาท่วมอีกแล้ว นายชัยกล่าวว่า ทราบข่าวเขื่อนเร่งปล่อยน้ำ แต่อยากให้ปล่อยน้ำแบบคิดและคำนึงถึงคนท้ายน้ำบ้าง "ตอนนี้พวกผมกลัวาต่อไปทุก ๆ จะเกิดน้ำท่วมกันตลอดทั้งปีและท่วมกันทุกปี หากเอาพื้นที่ไปทำแก้มลิงอีกจึงไม่อยากจะคิดเลยว่าน้ำจะมหาศาลขนาดไหนที่จะ ให้พวกเราแบกรับน้ำแทนคนอื่น"นายชัยกล่าว ที่เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำในอ่างเขื่อนภูมิพล จะคงเหลือร้อยละ 45 ของความจุของอ่างน้ำในทะเลสาบแม่ปิง ทั้งนี้นายณรงค์ ไทยประยูร ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล ระบุการระบายน้ำในอ่างเขื่อนภูมิพลลงในพื้นที่ท้ายเขื่อน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 จนถึงวันที่ 7 กุมถาพันธ์ 2555 สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว ประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เดือนกุมภาพันธ์ –มีนาคม 2555 ระบายน้ำเฉลี่ย 1,500 ล้าน ลบ.ม./เดือน และที่เหลือใน เดือนเมษายน 2555 จะระบายน้ำประมาณ 700 ล้านลบ.ม. นายณรงค์กล่าวว่า แผนการระบายน้ำจะเป็นไปตามเป้าหมายของ กยน.7,000 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะรับพายุฝนตกหนัก 3-4 ลูกในพื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ในห้วงหน้าฝนเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2555 ใน 3 เดือนข้างหน้าได้ ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ปรับแผนการระบายน้ำใหม่ ไปในพื้นที่ท้ายเขื่อน เมื่อ 2-3 วันก่อน ปรับแผนการระบายน้ำใหม่ จากร้อยละ 49 ให้เหลือร้อยละ 45 ของความจุของอ่างเขื่อนภูมิพล เพื่อให้เหลือพื้นที่รับน้ำในบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลได้มากขึ้น สามารถรองรับน้ำ และพายุฝนที่ตกหนักในเดือนสิงหาคม กันยายน และเดือนตุลาคม 2555 ที่คาดว่า ในห้วงระยะเวลาดังกล่าว 3 เดือนหน้าฝน จะมีฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพลรับน้ำได้เต็มที่เฉลี่ย 6,500 ล้าน ลบ.ม. ด้านนายบารมี หงส์ลำพอง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตาก กล่าวว่า การระบายน้ำไปในพื้นที่ท้ายเขื่อน เฉลี่ย 60 ล้าน ลบ.ม./วัน จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทำนาปี และนาปรัง ในพื้นที่ท้ายเขื่อน ในตัวเมืองตาก และอ.วังเจ้า จ.ตาก ตัวเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร ที่เป็นพื้นที่ราบทำนา ได้ถึง 3 ครั้ง ประมาณ 1,000,000 ไร่ และในพื้นที่จ.นครสวรรค์ ที่เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำ 4 แคว แม่น้ำปิง วัง ยม และแม่น้ำน่าน จะส่งน้ำไปยังลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้ประมาณ 10 ล้านไร่
|
'เขื่อนภูมิพล' ลดปล่อยน้ำหวังช่วยบรรเทาท่วม 'เสนา'
เขื่อนภูมิพลลดอัตราการพร่องน้ำลง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร หวังช่วยลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา คาดใช้เวลาอีกประมาณ 10 วัน จึงจะเห็นผล...
เมื่อวันที่ 13 ก.พ. มีรายงานว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก อยู่ที่ 250.90 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับน้ำสูงสุด 260 เมตร ลดลงจากเมื่อต้นปีประมาณ 10 เมตร ปริมาณน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในอ่าง 10.524.95 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78.81 โดยปริมาณลดลงเรื่อยๆ เขื่อนระบายเพื่อการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้าวันละ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเดิมระบายกว่า 62 ล้านลูกบาศก์เมตร ลดลง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ การระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลเพียงแห่งเดียวเป็นไปตามแผนที่ กยน. วางไว้ คือ เดือน ก.พ. แผนระบายน้ำอยู่ที่ 1.740 ล้านลูกบาศก์เมตร เดือน มี.ค. อยู่ที่ 1.860 ล้านลูกบาศก์เมตร และเดือน เม.ย. อยู่ที่ 1.800 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนจะลดการระบายน้ำลง จนถึงเดือน พ.ค.นี้ น้ำในเขื่อนจะเหลือประมาณ 6.000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 45 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีที่สำหรับรับน้ำใหม่ได้อีกจากการลดการระบายน้ำลง อาจส่งผลทำให้แผนที่ กยน. วางไว้เป็นไปตามเป้าหมาย และอาจทำให้น้ำตกค้างในเขื่อนในปริมาณมาก และถ้าหากปริมาณน้ำฝนที่คาดกันปีนี้มีมากก็อาจทำให้การบริหารจัดการน้ำทำงานยากลำบาก
มีรายงานเพิ่มว่า สำหรับเส้นทางเดินของน้ำที่ระบายจากเขื่อนภูมิพลลงสู่แม่น้ำปิง ใช้เวลาเดินทางจาก อ.สามเงา ถึงตัวเมืองตาก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง ถึงจังหวัดกำแพงเพชรใช้เวลา 3 วัน ถึงจังหวัดนครสวรรค์ 5 วัน ถึงเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาทประมาณ 7 วัน และอีก 10 วัน จะเดินทางถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้ปริมาณน้ำท่วมในลุ่มเจ้าพระยาจะลดลง
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2555, 10:36 น.
http://www.thairath.co.th/content/region/238036
---------------------------------------------
FfF