บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


30 มีนาคม 2555

<<< อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขาอาชีพ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 >>>

เปิดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 22 สาขาอาชีพ ใช้บังคับ 1 เมษายน สูงสุด 775 บาท/วัน
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:44:51 น.

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันที่  ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มีการเผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๓)

ประกาศระบุว่า ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้กำหนด อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม ๒๒ สาขาอาชีพ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๔) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ ๓ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

(๑) สาขาอาชีพช่างสีรถยนต์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท

(๒) สาขาอาชีพช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบบาท

(๓) สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท

(๔) สาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท

(๕) สาขาอาชีพพนักงานนวดไทย ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยยี่สิบบาท

(๖) สาขาอาชีพนักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด) ระดับ ๑ เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบบาท และระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(๗) สาขาอาชีพช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๘) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๙) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๐) สาขาอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ ๑ เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ ๓ เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๑) สาขาอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์) ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(๑๒) สาขาอาชีพช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ สี่ร้อยหกสิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยเจ็ดสิบบาท

(๑๓) สาขาอาชีพช่างเชื่อมแม็ก ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๔) สาขาอาชีพช่างเชื่อมทิก ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบห้าบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(๑๕) สาขาอาชีพช่างไม้ก่อสร้าง ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท

(๑๖) สาขาอาชีพช่างก่ออิฐ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสี่สิบห้าบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท

(๑๗) สาขาอาชีพช่างฉาบปูน ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท

(๑๘) สาขาอาชีพช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบห้าบาทระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อย แปดสิบห้าบาท

(๑๙) สาขาอาชีพช่างเย็บ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(๒๐) สาขาอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยห้าสิบบาท

(๒๑) สาขาอาชีพช่างเครื่องเรือนไม้ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสามสิบห้าบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อย สามสิบห้าบาท

(๒๒) สาขาอาชีพช่างบุครุภัณฑ์ ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท

ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ตามข้อ ๓ (๑) ถึง (๒๒) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติ ของลูกจ้าง

ข้อ ๕ นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น

ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ ๕ ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป

ข้อ ๗ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333029393&grpid=00&catid=&subcatid=

-------------------------------------------------
FfF