บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


20 เมษายน 2555

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง รอยเลื่อนในประเทศไทย ที่อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ >>>

เปิดข้อมูลรอยเลื่อนไทย อาจมีพลังแผ่นดินไหวใหญ่ได้!?!
วันพุธที่ 18 เมษายน 2555 เวลา 12:00 น.

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องหลังจากแผ่นดินไหวขนาด 8.6 ริกเตอร์ ลึกลงไปในทะเลประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 55 ที่ประเทศไทยก็ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยมีจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ในบริเวณ อ. ถลาง จ.ภูเก็ต ความรุนแรงขนาด 4.3 ริกเตอร์ ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยเริ่มกังวลและตื่นตระหนกกับภัยธรรมชาติที่ใกล้ตัวเข้ามาทุกที

ส่งผลให้นักวิชาการด้านแผ่นดินไหวของประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจกับรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งหากอ้างอิงจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ประมาณ 120 แห่ง มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร ในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหวบนรอยเลื่อนเหล่านี้มาแล้วหลายครั้ง แต่เป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น

นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 เม.ย. ขนาด 8.6 ริกเตอร์ และ 8.2 ริกเตอร์ที่เกิดตามมานั้น เป็นแผ่นดินไหวคนละเหตุการณ์กันไม่ใช่แผ่นดินไหวตามหรืออาฟเตอร์ช็อกตามที่เข้าใจในตอนแรก ซี่งการเกิดแผ่นไหว 2 ครั้งดังกล่าวส่งแรงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งเกิดบริเวณแขนงของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทำให้กรมทรัพยากรธรณีต้องเฝ้าระวังกลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยความยาว 150 ก.ม. และกลุ่มรอยเลื่อนระนอง ความยาว 270 ก.ม. ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และพังงาเป็นพิเศษ เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มรอยเลื่อน ถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีการขยับตัวชัดเจน ทั้งยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง แม้แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดจากรอยเลื่อนหลักแล้วจึงส่งผลไปรอยเลื่อนแขนง แต่เมื่อรอยเลื่อนแขนงขยับตัวแล้วก็อาจจะส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวบนตัวรอยเลื่อนหลักได้เช่นกัน

"จากการที่กรมทรัพยากรธรณีนำตะกอนดินของทั้ง 2 รอยเลื่อนไปตรวจสอบพบว่ามีการยกตัวของชั้นดินชัดเจน และเมื่อ 3,600 ปีที่ผ่านมา เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ ซึ่งมากที่สุดมาแล้ว และจากวันนี้เป็นต้นไปแผ่นดินไหวที่เกิดจาก 2 รอยเลื่อนดังกล่าวนี้สามารถเกิดได้ทุกเมื่อ แต่ขนาดจะไม่รุนแรงและเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง 5-6 ริกเตอร์เท่านั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่บนแนวการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกเหมือนกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น จึงไม่สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แต่รอยเลื่อนในประเทศไทยเป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก จึงสามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลางเท่านั้น” นายเลิศสิน กล่าว

ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นประเทศเสี่ยงแผ่นดินไหว แต่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวของประเทศไทยก็ยังปลอดภัยที่สุดกว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆ ที่อยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ดังนั้นประเทศไทยก็คงต้องเฝ้าระวังตามกลุ่มรอยเลื่อนต่างๆ ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีได้รวบรวมข้อมูลกลุ่มรอยเลื่อนล่าสุดเมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา พบ 14 รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยที่ต้องศึกษาและเฝ้าระวังประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จัน ครอบคลุมพื้นที่ จ.เชียงราย และเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนแม่ยม ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุม จ.ลำปาง เชียงราย และพะเยา

รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่ พังงา และทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต

นายเลิศสิน กล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม 2 รอยเลื่อนใหม่ที่มีพลังขึ้นมา คือ รอยเลื่อนแม่อิง จ.เชียงราย และ พะเยา และรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ แต่ขณะนี้รอยเลื่อนระนองและคลองมะรุ่ย ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังที่ต้องจับตาและเฝ้าระวังมากที่สุด ทั้งนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ 2 ครั้งล่าสุดที่ประเทศอินโดนีเซีย จะส่งผลกระทบไปถึงรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์เท่านั้น โดยอาจจะทำให้เกิดหลุมยุบในบริเวณแนวรอยเลื่อนเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่มีสภาพเป็นหินปูนและแผ่นดินไหวส่งผลต่อระบบน้ำใต้ดิน แต่ไม่ใช่ตัวเร่งให้เกิดแผ่นดิน ส่วนรอยเลื่อนอื่นที่เหลือไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด

จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ารอยเลื่อนมีพลังที่ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในประเทศไทยแล้วมี 9 แห่งด้วยกันคือ รอยเลื่อนเชียงแสน วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 21 ความรุนแรง 4.9 ริกเตอร์

รอยเลื่อนแพร่ อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริกเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รอยเลื่อนแม่ทา มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร

รอยเลื่อนเถิน อยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริกเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร เคยมีรายงานแผ่นดินไหวความรุนแรง 536 ริกเตอร์ที่รอยเลื่อนนี้เมื่อปี 2518

รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร เป็นรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงที่สุดบนพื้นดินประเทศไทยขนาด 5.9 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 22 เม.ย.26 รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร

รอยเลื่อนระนอง วางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร เคยมีรายงานแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์เกิดขึ้นที่รอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.21 และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร

ภัยพิบัติจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด การเตรียมตัวป้องกันอย่างมีสติจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดหากเกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เพราะถ้าทุกคนไร้ซึ่งสติและเต็มไปด้วยความตื่นตระหนกเมื่อเกิดปัญหา สติสัมปชัญญะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็จะลดน้อยลง ส่งผลให้สถานการณ์ที่อาจไม่รุนแรงมากนักกลับกลายเป็นเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลแก่ชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นได้

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/article/440/22891

-------------------------------------------------------

รอยเลื่อนในประเทศไทย

ข่าวการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดใกล้ตัวเรา
ทั้งขีดความรุนแรงและความถี่ เพิ่มขึ้น
จึงทำให้ต้องสนใจเรื่องของรอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลกอย่างจริงจัง

ล่าสุดนี้กรมทรัพยากรธรณี เร่งสำรวจรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย 3 แห่ง และดินเหลวใน กทม.
รับสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงห่วงใยในเรื่องของธรณีพิบัติ และความเป็นอยู่ของประชาชน
คาดใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คิดเป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท


**************************

จากบทความ
การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

โดย อ. อดิศร ฟุ้งขจร

...


 รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก
เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว
ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่า
ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน
ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา
เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์
เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย


ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่า
ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน
ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน
พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์
เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย

(http://www.dmr.go.th/geohazard/
earthquake/DMRActiveFault.htm)

       จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546)
พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับร้อยรอยเลื่อน
มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร
ในอดีตได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้ บ้างก็ทำให้ประชาชนรู้สึกสั่นสะเทือน
บ้างก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน
แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526
มีศูนย์กลางที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี วัดขนาดได้ 5.9 ริคเตอร์
แผ่นดินไหวนี้ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง
มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและกรุงเทพมหานคร


รอยเลื่อนเถิน (เส้นสีแดง) ที่ตัดผ่านชั้นกรวด ทราย และดินเหนียว
ที่หลักกิโลเมตรที่ 28+600 ถนนสายลำปาง - ลอง


การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault)
อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS)
ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต
รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี”

(http://earthquake.usgs.gov/image_glossary)

        การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า
“ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง”
เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส
(Incorporated Research Institutions for Seismology)
ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546
การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส
(Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003)
จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิก
ทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1)
แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง



        จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อน
ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง
แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด
แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป
สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด
เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย



 *************************

กรมทรัพยากรธรณี เร่งสำรวจรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย 3 แห่ง
และดินเหลวใน กทม.รับสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงห่วงใยในเรื่องของธรณีพิบัติ และความเป็นอยู่ของประชาชน
คาดใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คิดเป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท
      
       นายทศพร นุชอนงค์ ผู้อำนวยการกองธรณีสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี
เปิดเผยถึงความเป็นมาของโครงการสำรวจลอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย 13 แห่ง
และดินเหลวในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า
สืบเนื่องจากกรมทรัพยากรธรณีได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ใ
ห้เข้าเฝ้าถวายสมุดแผนที่ทรัพยากรธรณีประเทศไทย
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรง มีกระแสพระราชดำรัสห่วงใยในพสกนิกรไทย
เกี่ยวกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
กรมฯ น้อมรับพระราชดำรัสเร่งดำเนินการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังทั้ง 13 แห่ง และดินเหลวใน กทม.
ที่มาของการรับรู้แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้อยู่เสมอ
เพื่อหาวิธีการ มาตรการในการรับมือ ควบคุมการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
      
       “โครงการสำรวจนี้ตามที่วางแผนไว้จะเริ่มในปี 2550
แต่ด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง และวัดแรงสั่นสะเทือนได้สูงขึ้น
และเป็นการสนองพระราชดำรัสในเรื่องของธรณีพิบัติและความเป็นอยู่ของประชาชน
ท่านอธิบดีได้สั่งการเร่งด่วนให้ดำเนินโครงการสำรวจลอยเลื่อนมีพลังในปีนี้เป็นต้นไป
จะใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 5 ปี คิดเป็นงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท
ซึ่งจะดำเนินการสำรวจดินเหลวในเขต กทม.ก่อน
โดยทำควบคู่ไปกับการสำรวจลอยเลื่อนอื่นไปด้วย” นายทศพร กล่าว
      
       นายทศพร กล่าวอีกว่า ในการสำรวจและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ นั้น
ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของธรณีวิทยา
วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจน
สามารถชี้แจงให้กับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดมาตรการต่างๆ ที่จะตามมาได้
ถึงความสำคัญในข้อกำหนดนั้นๆ ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมด

ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์ 14 กันยายน 2550,
http://www.natural.co.th/faults.html
และเว็บไซท์ของกรมทรัพยากรธรณี : www.dmr.go.th
http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=10143.0

--------------------------------------------------

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

อ. อดิศร ฟุ้งขจร

---------------------------------------------

บทนำ

        รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย (http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm)

        จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับร้อยรอยเลื่อน มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร ในอดีตได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้ บ้างก็ทำให้ประชาชนรู้สึกสั่นสะเทือน บ้างก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีศูนย์กลางที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี วัดขนาดได้ 5.9 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวนี้ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและกรุงเทพมหานคร การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่ง ครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี” (http://earthquake.usgs.gov/image_glossary)

        การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า “ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง” เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546 การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส (Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003) จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิกทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1) แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง

        จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อนได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย



รอยเลื่อนในประเทศไทย

จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้
  1. รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  2. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
  3. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  4. รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  5. รอยเลื่อนหนองเขียว พาดผ่านอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในแนว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  6. รอยเลื่อนเชียงดาว พาดผ่านอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  7. รอยเลื่อนเมืองแหง พาดผ่านอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  8. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
  9. รอยเลื่อนขุนยวม พาดผ่านอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  10. รอยเลื่อนแม่ลาน้อย พาดผ่านอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร
  11. รอยเลื่อนแม่ลาหลวง พาดผ่านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวาร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  12. รอยเลื่อนแม่สะเรียง พาดผ่านอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
  13. รอยเลื่อนพร้าว พาดผ่านอำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาว ประมาณ 23 กิโลเมตร
  14. รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  15. รอยเลื่อนวังเหนือ พาดผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  16. รอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหมในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  17. รอยเลื่อนดอยปุย พาดผ่านอำเภอแม่ริม และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  18. รอยเลื่อนแม่ไผ่ พาดผ่านอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  19. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  20. รอยเลื่อนจอมทอง พาดผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศเหนือ-ใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  21. รอยเลื่อนฮอด พาดผ่านอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกัน มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  22. รอยเลื่อนอมก๋อย พาดผ่านอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกันมีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  23. รอยเลื่อนเมืองปาน พาดผ่านอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร
  24. รอยเลื่อนแม่หยวก พาดผ่านอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  25. รอยเลื่อนแม่ทะ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร



  26. รอยเลื่อนกิ่วลม พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  27. รอยเลื่อนแม่วัง พาดผ่านอำเภอเกาะคา และอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนกิ่วลม มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  28. รอยเลื่อนแม่อ่าง พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่วัง มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  29. รอยเลื่อนท่าสี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่อ่าง มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  30. รอยเลื่อนงาว พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  31. รอยเลื่อนแม่ติป พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก เฉียงใต้ทางตอนล่าง กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  32. รอยเลื่อนดอยหลวง พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางตะวันออก มีความยาวประมาณ 41 กิโลเมตร
  33. รอยเลื่อนวังชิ้น พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
  34. รอยเลื่อนสามเงา พาดผ่านอำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตากในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
  35. รอยเลื่อนผาแดง พาดผ่านอำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  36. รอยเลื่อนลานสาง-วังเจ้า พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  37. รอยเลื่อนอุทัยธานี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมือง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 178 กิโลเมตร
  38. รอยเลื่อนแม่กลอง พาดผ่านอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 69 กิโลเมตร
  39. รอยเลื่อนแม่ปิง พาดผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 161 กิโลเมตร
  40. รอยเลื่อนกระเพรียวแดง พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  41. รอยเลื่อนเขาราวเทียน พาดผ่านอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคด และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 94 กิโลเมตร
  42. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  43. รอยเลื่อนแม่ยม พาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  44. รอยเลื่อนแพร่ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  45. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  46. รอยเลื่อนน้ำปาด พาดผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อน อุตรดิตถ์มีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร
  47. รอยเลื่อนเขาดำ พาดผ่านอำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนน้ำ ปาด มีความยาวประมาณ 126 กิโลเมตร
  48. รอยเลื่อนน้ำภาค พาดผ่านอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  49. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
  50. รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร



  51. รอยเลื่อนหนองบัวลำภู พาดผ่านอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลางและอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  52. รอยเลื่อนภูเรือ พาดผ่านอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  53. รอยเลื่อนวังสะพุง พาดผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  54. รอยเลื่อนภูเขียว พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภักดีชุมพรและอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 72 กิโลเมตร
  55. รอยเลื่อนผาหลวง พาดผ่านอำเภอภูหลวง และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  56. รอยเลื่อนแก่งคร้อ พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอคอนสวรรค์ อำเภอแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  57. รอยเลื่อนหนองบัวแดง พาดผ่านอำเภอบ้านเขว้า อำเภอเมือง และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  58. รอยเลื่อนซับไม้แดง พาดผ่านอำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน และอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  59. รอยเลื่อนโคราช พาดผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเมือง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนิน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 193 กิโลเมตร
  60. รอยเลื่อนสตึก พาดผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  61. รอยเลื่อนลำพญากลาง พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  62. รอยเลื่อนท่าจีน พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมือง อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 186 กิโลเมตร
  63. รอยเลื่อนวิเศษชัยชาญ พาดผ่านอำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  64. รอยเลื่อนป่าโมก พาดผ่านอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร
  65. รอยเลื่อนผักไห่ พาดผ่านอำเภอบางบาล อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  66. รอยเลื่อนเจ้าพระยา พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมือง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  67. รอยเลื่อนมวกเหล็ก พาดผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 17 กิโลเมตร
  68. รอยเลื่อนลำตะคอง พาดผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  69. รอยเลื่อนหินลับ พาดผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  70. รอยเลื่อนคลองไผ่ พาดผ่านอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร
  71. รอยเลื่อนเขาปีป-วังน้ำเย็น พาดผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านสร้าง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอศรีมหาโพธและอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 112 กิโลเมตร
  72. รอยเลื่อนองครักษ์ พาดผ่านอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอพนามสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อำเภอหนองแค อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี อำเภอภาชี อำเภอนครหลวง อำเภอท่าเรือ และ อำเภอบ้านแพรกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 177 กิโลเมตร
  73. รอยเลื่อนพระประแดง พาดผ่านอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  74. รอยเลื่อนบางพลี พาดผ่านเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอบางปะกง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  75. รอยเลื่อนแกลง พาดผ่านอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลงจังหวัดระยอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร



  76. รอยเลื่อนสอยดาว พาดผ่านอำเภอแก่งหางแมว และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  77. รอยเลื่อนจันทบุรี พาดผ่านอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 65 กิโลเมตร
  78. รอยเลื่อนปิล็อค พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรอยเลื่อนคดเคี้ยวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร
  79. รอยเลื่อนองค์ทัง พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  80. รอยเลื่อนบ่องาม พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  81. รอยเลื่อนไทรโยค พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
  82. รอยเลื่อนแควใหญ่ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร
  83. รอยเลื่อนแควน้อย พาดผ่านอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  84. รอยเลื่อนเจ้าเณร พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบนมีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
  85. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  86. รอยเลื่อนจอมบึง พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
  87. รอยเลื่อนปากท่อ พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอจอมบึง อำเภอเมือง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 89 กิโลเมตร
  88. รอยเลื่อนกุยบุรี พาดผ่านอำเภอปราณบุรี และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบ-คีรีขันธ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  89. รอยเลื่อนประจวบ-ทับสะแก พาดผ่านอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านตะวันออกของอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร
  90. รอยเลื่อนบางสะพาน พาดผ่านอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  91. รอยเลื่อนกระบุรี พาดผ่านอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และเลยเข้าไปในทะเลอันดามัน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 187 กิโลเมตร
  92. รอยเลื่อนท่าแซะ พาดผ่านอำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  93. รอยเลื่อนปากจั่น พาดผ่านอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  94. รอยเลื่อนละอุ่น พาดผ่านอำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  95. รอยเลื่อนชุมพร พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร
  96. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และเลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร
  97. รอยเลื่อนราชกรูด พาดผ่านอำเภอละอุ่น อำเภอกระเปอร์ จังหวัระนองและอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  98. รอยเลื่อนพะโต๊ะ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร
  99. รอยเลื่อนสวี พาดผ่านอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  100. รอยเลื่อนกะเปอร์ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร



  101. รอยเลื่อนเขาเด่น พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  102. รอยเลื่อนคุระบุรี พาดผ่านอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
  103. รอยเลื่อนเขาย้อย พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  104. รอยเลื่อนตะกั่วป่า พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์-ธานี อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  105. รอยเลื่อนขนอม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานและทางด้านทิศใต้ของอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร
  106. รอยเลื่อนสิชล พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและทางด้านทิศใต้ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร
  107. รอยเลื่อนไชยา พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  108. รอยเลื่อนลำรู่ พาดผ่านอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  109. รอยเลื่อนคลองชล พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  110. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา และเลยลงไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร
  111. รอยเลื่อนอ่าวลึก พาดผ่านทะเลอันดามัน ทางด้านทิศใต้ของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 47 กิโลเมตร
  112. รอยเลื่อนเคียนซา-เกาะลันตา พาดผ่านอำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และเลยลงไปในอ่าวไทยทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตก มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  113. รอยเลื่อนนาสาร-คลองท่อม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกทางตอนบน และแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  114. รอยเลื่อนเขาหลวง พาดผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  115. รอยเลื่อนทุ่งสง พาดผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  116. รอยเลื่อนห้วยยอด พาดผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  117. รอยเลื่อนทุ่งหว้า พาดผ่านอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  118. รอยเลื่อนสตูล พาดผ่านอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทาง ตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 49 กิโลเมตร
  119. รอยเลื่อนสะบ้าย้อย พาดผ่านอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
  120. รอยเลื่อนยะลา พาดผ่านอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 59 กิโลเมตร
  121. รอยเลื่อนบางลาง พาดผ่านอำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร

http://www.naturalsoft.com/faults.html

-------------------------------------------------------------

แผนที่รอยเลื่อนในประเทศไทยฉบับภาษาไทยอย่างละเอียด
http://www.dmr.go.th/images/active_fault-2012_table.pdf
-------------------------------------------------------------
FfF