บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 มกราคม 2556

<<< ไปเจอนกยูงบนเขาดีสลัก >>>

ให้อาหารนกยูง เกิดมาเพิ่งใกล้ชิดกับมันแบบนี้


http://www.facebook.com/maha.arai

--------------------------------------------------

นกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_1.jpg

         ในบรรดาสัตว์โลกนานาชนิด นกยูงดู จะเป็นสัตว์ที่สร้างความสดใส รื่นเริงให้โลกเต็มไปด้วยชีวิตชีวามากที่สุด ไม่ว่าเสียงร้องขับกล่อม อันไพเราะหรือขนปีกหลากสีสัน ที่บางชนิดก็มีลวดลายแต่งแต้มจนดูน่าอัศจรรย์ และหนึ่งในจำนวนนกงามทั้งหลายนั้น นกยูงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ดังนั้นเรื่องราวของนกยูงจึงปรากฏอยู่ในภาพเขียน บทกวี และลัทธิความเชื่อ ของชนหลายประเทศ ทั้งชาวฮินดู จีน อียิปต์ และชนพื้นเมืองแถบเมดิเตอร์เรเนียนรวมทั้งไทยด้วย

[แก้ไข] มาทำความรู้จักกับนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_2.jpg

         การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
         อาณาจักร : Animalia
         ไฟลัม : Chordata
         ชั้น : Aves
         อันดับ : Galliformes
         วงศ์ : Phasianidae
         สกุล : Pavo,Linnaeus, 1758
         Speciues : Pavo cristatus, Pavo muticus
         นกยูง เป็นนกตระกูลไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 สกุล ในโลก คือ สกุลของนกยูงทางทวีปแอฟริกา ได้แก่ นกยูงคองโก และ สกุลของนกยูง ทางทวีปเอเซีย ที่ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน กับ นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว ซึ่งนักวิชาการบางท่าน ก็ไม่ถือว่านกยูงคองโกเป็นนกยูง เพราะลักษณะภายนอก และพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างจากนกยูงอินเดีย และนกยูงไทยมาก

[แก้ไข] สายพันธุ์ของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_3.jpg

         สำหรับนกยูงสีเขียว ยังแบ่งกระจายออกอีกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พม่า สายพันธุ์ชวา และ สายพันธุ์อินโดจีน ซึ่งสองสายพันธุ์หลังนี้ มีพบกระจาย พันธุ์ในประเทศไทย โดยสายพันธุ์ชวาพบอยู่ทางใต้ ส่วนสายพันธุ์อินโดจีน พบได้ทั่วไปในอาณาบริเวณที่อยู่เหนือคอคอดกระ สมัยก่อนตามริมลำน้ำสายใหญ่ ใกล้แนวป่า เช่น แถบลำ[[น้ำปิง ลำน้ำพอง ลำน้ำตาปี ลำน้ำแควใหญ่ และแควน้อย มักพบเห็น นกยูงได้ทั่วไป

ภาพ:Greenpeafowl_27.jpg

         ทว่าปัจจุบันนกยูงเหล่านี้ไม่มีผู้ใดได้พบเห็น หรือได้ยินเสียงร้องของมันอีกเลย เพราะอิทธิพลความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาของมนุษย์ ซึ่งปรับเปลี่ยนพื้นที่ตามริมลำน้ำ ให้กลายเป็น ชุมชน บ้านเรือน หรือพื้นที่เกษตรกรรม เป็นผลให้นกยูง สูญเสียถิ่นอาศัย และ นกยูงชนิดนี้ก็ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างนกยูงอินเดีย ประกอบกับยังถูกล่าเพื่อเอาขน และ ดักจับลูกนก มาขายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนนกยูงสีเขียว ที่เคยมีอยู่ทั่วทุกภาค ของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และหมดไปจากพื้นที่หลายแห่ง ไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหาอันน่าเป็นห่วงนี้ ในประเทศข้างเคียง ยกเว้นประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว ก็ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน กระทั่งในรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ และทรัพยากร ( IUCN ) ได้จัดให้เป็น สัตว์ที่กำลังถูก คุกคาม และ อาจหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้

[แก้ไข] ข้อมูลจำเพาะของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_4.jpg

         นกยูงทั่วโลก มีอยู่ 2 สกุล คือ สกุลของนกยูงทางทวีปเอเซีย ( Pavo ) และ สกุลของนกยูงทางทวีป แอฟริกา (Afropavo ) สกุล Pavo แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ นกยูงอินเดีย ( Indian peafowl หรือ Blue Peafowl ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavo cristatus และ อีกชนิดหนึ่งคือ นกยูงไทย ( Green Peafowl ) สำหรับนกยูงคองโกนั้น นักปักษีวิทยาหลายท่านยังไม่เห็นด้วย ที่จะจัดให้เป็นนกยูงชนิดหนึ่ง
         โดยเฉพาะคุณสุวัฒน์ สิงหพันธุ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และฝ่ายเพาะเลี้ยง กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งเคยไปเห็นนกยูงคองโก ตัวจริง ที่ประเทศอังกฤษ มีความเห็นว่า นกยูงคองโก มีลักษณะคล้ายนกยูงเท่านั้น แต่พฤติกรรม แตกต่างจาก นกยูงอินเดีย และ นกยูงไทย มาก จึงไม่น่าที่จะจัดให้อยู่ในสกุลนกยูง

[แก้ไข] ลักษณะทั่วไปของนกยูงไทย

ภาพ:Greenpeafowl_5.jpg

         นกจำพวกไก่ฟ้า ขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 120-210 เซนติเมตร ซึ่งรวมหางนกตัวผู้ที่มีความยาวถึง 100 เซนติเมตรด้วย มีขายาวสมส่วนกว่า ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย มีหงอน เป็นเส้นขน สีเขียวเหลือบ ชี้ ตรงอยู่บนหัว ไม่ได้เป็น รูปพัด อย่างนกยูงอินเดีย บนหัวและที่คอเป็นขนสั้นๆ เหลือบเขียวแกมน้ำเงิน , หน้าของนกยูงไทย ทั้งสองข้างมีสีฟ้า ดำ และเหลือง สวยงาม , ขนคอ ขนหน้าอก และ ส่วนบนของหลังเป็นขนที่มีปลายขน ลักษณะ ป้าน กลม , ตรงกลางขน เหลือบ สีน้ำเงินแก่ล้อมรอบด้วยสีเขียว และ สีทองแดง และตรงขอบขนปีก มีขอบสีเหลือบเขียวแกมดำ มองดูคล้ายๆ กับเกล็ดปลา, หลังเป็นขนสีเหลือบเขียวตรงกลางแล้ว กลายเป็นสีทองแดง แกม ดำ ไปทาง รอบๆ ขน

ภาพ:Greenpeafowl_30.jpg

         ส่วนนกยูงเพศผู้จะมีแพนขนปิดหาง( Train )ยาวหลายเส้น ที่ปลายแพนขนปิดหางนี้ มีดอกดวง ที่เรียกว่า "แววมยุรา" ซึ่งตรงกลางดวง เป็นสีน้ำเงินแกมดำ อยู่ในพื้นวงกลม เหลือบเขียว ล้อมรอบด้วย ลาย เป็นวงรูปไข่สีทองแดง เวลานกยูงรำแพน จึงเปรียบเหมือนพัดขนาดใหญ่ ที่มี สีสันงดงาม ผิดกับหางแท้ๆ ( trail ) นั้นมีสีน้ำตาล ไม่สวยงามอะไร
         นกยูงไทยเพศผู้ โตเต็มวัย มีความยาวของร่างกาย 180 - 300 ซม. ปีกยาว 46 -54 ซม. ขนหางยาว 40 - 47.5 ซม. แพนขนปิดหาง ยาว 140 - 160 ซม. และ แข้ง ยาว 16 -17 ซม. นกยูงเพศผู้ และ เพศเมีย มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือ เพศเมีย มีขนาดร่างกายเล็กกว่า สีขนโดยทั่วไปไม่สดใส เท่าตัวผู้ และมีเดือยสั้นกว่าเดือยของเพศผู้มาก นอกจากนั้นบริเวณขนต่าง ๆ ของเพศเมียมักมีสีน้ำตาลดำ หรือสี น้ำตาลแดงแทรกเป็นคลื่น จึงมองเห็นเป็นลายคลื่นทั่วทั้งลำตัว

[แก้ไข] พฤติกรรมโดยทั่วไปของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_6.jpg

         ปกติ นกยูง จะหากินอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก โดยพบ ตั้งแต่ 2 - 6 ตัว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวเมีย และ นกที่ยังโตไม่เต็มวัย ซึ่งมักติดตามนกตัวเมียอยู่เสมอ อันเนื่องจาก ความสัมพันธ์ในสมัยที่ยังเป็น ลูกนกคอย ติดตามแม่ ดังนั้นนกยูงตัวเมียใหญ่ จึงมีบทบาทในการนำ สมาชิก ออกหากิน และ คอยดูแลฝูงให้ปลอดภัย ส่วนนกยูงตัวผู้ที่โตเต็มวัยแล้ว นอกฤดูผสมพันธุ์ มักอยู่ร่วมหากินกับ ฝูงตัวเมียด้วย แต่เมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์ นกยูงตัวผู้จะแยกออกจากฝูง อยู่ตามลำพัง อย่างเด่นชัด
         ในรอบวันหนึ่งๆ นกยูง มีกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ การบินออกจากคอนไม้ลงสู่พื้นป่าเบื้องล่าง เพื่อหากิน และ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยๆไปจนเย็น โดยในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน นกยูงจะออกหากินตามหาดทราย ในช่วงหลัง 06.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว เวลาหากิน จะเลื่อนไปช้ากว่าเดิม อีก ราวหนึ่งชั่วโมง หรือชั่วโมงครึ่ง เพราะตอนเช้าในฤดูนี้ บริเวณเหนือลำน้ำจะมีหมอกปกคลุมอยู่หนา ไม่สามารถมองเห็นได้ไกล ศัตรูของ นกยูง เช่น เสือ ชะมด อีเห็น อาจแอบซุ่มรออยู่ตรงไหนก็ได้ นกยูง จึงต้องรอให้แดดออกกล้า เผาหมอกให้จางลงเสียก่อน จึงจะลงจากคอนหากิน แต่ก็มีบางครั้ง ที่อาจพบนกยูงบินร่อนลงสู่หาด ขณะที่กำลังมีหมอกหนา อยู่

[แก้ไข] อาหารของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_7.jpg

         การหากินของ นกยูง ตามหาดริมลำห้วย มักจะเดินตามกันอย่างช้าๆ สลับกับการหยุดยืนนิ่งเฉย เป็นเวลานานๆ มันจะไม่ใช้เท้าคุ้ยเขี่ย หาอาหารอย่างไก่ป่า แต่จะใช้ปากจิกกิน อาหารที่กินส่วนมากเป็น เมล็ดหญ้า และ ใบอ่อนของพืชล้มลุกหลายชนิด เช่น กก แห้วหมู พง อ้อ ผักโขมใบหนาม กุ่มน้ำ ละว้าตีเมีย โสนดง หงอนไก่ป่า ใบบอน ฯลฯ นอกจากนี้ยังกินแมลงชนิดต่างๆ ตลอดจน กบ เขียดขนาดเล็ก เช่น กบบัว กบสีขาวดำ หรือ หากเจอลูกปลา ที่ติดอยู่ใน แอ่งน้ำ ตื้นๆ นกยูง ก็จะจัดการเช่นกัน เมื่อ นกยูง หากินไปจนสุดหาด จะบินข้ามน้ำไปหากินบนหาดอื่นถัดไป แต่ถ้าเป็นหาดที่อยู่ใกล้ และ น้ำไม่ลึกนัก มันจะเดินท่อง ผ่าน กระแสน้ำไปเลย
         นอกจากจะหากินตามหาด และ ที่ราบริมน้ำแล้ว นกยูง จะสลับเข้าไปหากินตามโป่งใหญ่ๆ ที่มักมีแหล่งน้ำอยู่ด้วย และ ในบริเวณที่โล่งแจ้งกลางป่า โดยเฉพาะป่าโปร่งแถบริมห้วย ที่มีพวกไผ่หนาม ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ ขึ้นปะปน ซึ่งใบและขุยไฝ่ เหล่านี้เป็นอาหารอย่างดีของ นกยูง นอกจากนั้น ไม้เถา และ พืชล้มลุก ที่นกยูงชอบกิน เช่น เกาขี้กา ผักเป็ด ผักคาดหมู มะเขือพวง และ ผลไทร ที่หล่นตามใต้ต้น ก็มีให้เลือกกินอยู่มาก ทั้งหญ้า และไม้พุ่ม ที่ขึ้นกระจัดกระจาย ในบริเวณป่า ยัง เป็นแหล่งกำบังอย่างดี ช่วยอำพราง นกยูง ให้พ้นจากศัตรูธรรมชาติ ดังนั้น นกยูง จึงมักแวะเข้าไปหากิน และ หลบพักผ่อน ตามที่โล่งแจ้ง กลางป่าในเวลากลางวันเป็นเวลานานๆ อย่างไรก็ตาม การใช้พื้นที่หากินของ นกยูง ไม่มีแบบแผนลำดับช่วงเวลาตายตัว ว่าจะเข้าไปหากินในพื้นที่ ประเภทใดก่อน แต่ขึ้นอยู่กับโอกาส และการหลบหลีกศัตรู

[แก้ไข] นิสัยของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_8.jpg

         นิสัยอย่างหนึ่ง ที่เป็นภัยต่อตัวนกยูงเอง คือ มักมีปฎิกริยาต่อเสียงดังผิดปกติ เช่น เสียงปืน เสียงไม้หัก ไม้ล้มดัง นกยูงจะส่งเสียงร้อง และ การส่งเสียง ร้องบนกิ่งไม้ที่จับคอนนอน ในเวลาเช้าตรู่ และ ตอนใกล้ค่ำ เป็นการเปิดเผยที่ซ่อน ให้ศัตรูผู้ล่าเห็นตัวได้โดยง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ นกยูงถูกล่า โดย พราน และ ศัตรู โดยธรรมชาติ

[แก้ไข] สัญชาตญาณระวังภัยของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_9.jpg

         นกยูง เป็น นกที่ค่อนข้างพิถีพิถัน ในการจัดแต่งขน และ ดูแลความสะอาดอยู่เสมอ มันชอบ ไซ้ขน นอนอาบแดด และ คลุกดินฝุ่น เพื่อให้เห็บ ไร ตามตัวหมดไป โดยระหว่างการหากิน นกยูง อาจหยุดพักไซ้ขนปีกหาง เป็นระยะๆ แต่ทั่วไปแล้ว การไซ้ขน และ การจัดแต่งขนจะทำจริงจัง หลังจากที่หากิน เรียบร้อยแล้ว การจัดแต่ง และ ไซ้ขนบริเวณคอ และ บริเวณรอบๆ หัว ให้แก่กัน เมื่อไซ้ขนเสร็จ ถ้าบริเวณนั้นมีที่โล่ง ซึ่งปลอดภัย และ แดดจัด มันจะพากันนอนอาบแดด โดยกางปีกข้างหนึ่งออก คลุกพื้นดิน เพื่อผึ่งแดดสัก 2 - 3 นาที แล้วจึงสลับข้าง หรือ ไม่บางตัว ก็อาจขยับตัว นอนตะแคงข้าง แล้ว ยกปีกข้างหนึ่งชี้ขึ้นสูง หันบริเวณปีกออกรับแสง แล้วจึงสลับปีก หากอาบแดดแล้ว เห็บ ไร ยังไม่ถูกกำจัด มันก็อาจลงนอนคลุกฝุ่นไปมา แล้วลุกขึ้นสลัดฝุ่นทิ้ง การนอนคลุกฝุ่น ส่วนใหญ่ของ นกยูง มักทำในบริเวณป่า มากกว่า ตามหาดทรายริมลำน้ำ เพราะ มีดินฝุ่นละเอียด และ แห้งกว่า

ภาพ:Greenpeafowl_10.jpg

         นอกจากนี้ยังพบว่า นกยูงทั้งตัวผู้ และ ตัวเมีย มักระวังและรักษาหางเป็นอย่าดี ขณะที่เดินข้ามน้ำ มันจะยกหางขึ้นสูงให้พ้นน้ำ ถ้าเป็น นกยูงตัวผู้ ที่มีแพนขน ปิดหาง ยาวมากๆ ระหว่างเดินบนหาด ก็จะ ยกแพนหาง ให้พ้นจากพื้นเช่นกัน ยกเว้นขณะที่เดินช้าๆ หรือ หยุดยืนจึงปล่อยขนหางให้ลู่ลงกับพื้น นกยูง ยังเป็นสัตว์ ที่มีสัญชาตญาณ ระวังภัยสูง มักหวาดระแวง และ สงสัย กับสิ่งผิดปกติเสมอ ดังนั้น ในการ ปรากฏตัวตามที่โล่ง เช่น ตามหาดทราย บริเวณโป่ง หรือ ที่โล่งแจ้งในป่า หากไม่แน่ใจว่า บริเวณนั้นจะปลอดภัยพอ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปใช้ หรือ อาจบินไปเกาะสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้สูง จนแน่ใจว่าปลอดภัย จึงบินร่อนลงเข้าไป ใช้พื้นที่นั้น แม้แต่ขณะที่หากิน เมื่อก้มลงจิกอาหาร 2 - 3 ครั้ง มันจะยกหัวขึ้นมองรอบๆ ครั้งหนึ่ง ทำอยู่เช่นนี้ สลับกันไป จนแน่ใจ ก็อาจเพิ่มจำนวนครั้ง การจิกกินเป็น 4 - 5 ครั้ง แล้วจึง ยกหัวขึ้นมอง
         ขณะเดียวกันถ้ามีเสียงผิดปกติ เช่น เสียงกิ่งไม้หัก หรือ เสียงร้องเตือน ของสัตว์ป่าอื่นๆ ที่หากินอยู่ใกล้เคียง อาทิ พวกพญากระรอก นกกระแตแต้แว้ด และ นกจาบคาเคราน้ำเงิน ที่จะร้อง ทุกครั้ง เมื่อเห็น คน หรือ เหยี่ยวใหญ่ มันจะหยุดหากิน แล้วมองดูรอบๆ ถ้าเสียงยังคงดังอีก นกยูง จะวิ่งหนีเข้าไปในแนวป่ารกทึบทันที เพราะเป็นที่ หลบ ซ่อนอย่างดี เนื่องจาก ขนของนกยูง สามารถพัฒนา ให้ปรับระดับ ความเข้มของสีได้อย่างรวดเร็ว คือ ถ้าอยู่กลางแดด สีขน จะเด่นใส แวววาว แต่ถ้ามันเดินเข้าในที่ร่ม ขนสีเขียวเหลือบน้ำเงินสดใส จะปรับเป็นสีเขียวน้ำเงินหม่น กลมกลืน ไปกับสีเขียว ของพุ่มใบ ต่างๆ จนสังเกตเห็นได้ยาก แต่ถ้าอันตรายอยู่ในระยะประชิดตัว นกยูง วิ่งหนีไม่ทัน มันจะบินหนีก่อน แล้วค่อยร่อนลงสู่พื้นป่า วิ่งหนี หรือ อาจบินขึ้นเกาะที่สูงก่อน แล้วจึงร่อนลง วิ่งหนี

[แก้ไข] รูปแบบ และการส่งเสียงร้อง

ภาพ:Greenpeafowl_11.jpg

         การส่งเสียงร้องของนกยูงนั้น จะมีขึ้นตลอดทั้งวัน และ ดังก้องทั่วผืนป่า โดยมันจะเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่ เช้ามืด ประมาณตี 5 และร้องถี่ขึ้นในช่วงเวลา 06.30 - 07.30 น. ก่อนที่จะบินลงจากคอนหากิน ในเวลากลางวัน และ บ่าย จะได้ยินเสียงร้อง ของ นกยูงอยู่บ้าง แต่จะร้องถี่มาก ขึ้น อีกครั้ง ในช่วงเวลาเย็น ตั้งแต่ 18.00 - 19.00 ส่วนเวลากลางคืน นกยูง จะไม่ส่งเสียงร้อง นอกจากเมื่อตกใจ จะร้อง " โต้ง โฮ้ง " เพียงครั้งเดียว
         เสียงร้องของ นกยูง มีหลายเสียง ซึ่ง จะขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมในช่วงนั้นๆ คือ

[แก้ไข] เสียง " โต้ง โฮ้ง โตังโฮ้ง .... "

         เป็นเสียงร้องทั่วไปของนกยูงตัวผู้ ที่ใช้ร้องทั้งวัน อันเป็นการร้อง เพื่อประกาศเขตแดนทั่วๆไป แต่ในระยะผสมพันธุ์ เสียงร้องดังกล่าว จะเพี้ยนต่างไปเล็กน้อย โดยลากเสียงยาวมากขึ้น และ ลงท้ายคล้ายเสียงแมวร้อง ทำให้ได้ยินเป็นเสียง " โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "

[แก้ไข] เสียง " ตั๊ก ..ตั๊ก "

         สั้นๆ ดังขึ้นเป็นช่วงๆ เป็นเสียงร้องเตือนภัย เมื่อเห็นศัตรู หรือ เกิดความสงสัย

[แก้ไข] เสียง "กอก กอก กอก ... "

         ติดต่อกันเป็นเวลานานเมื่อตกใจ หรือ บางครั้งอาจร้อง " โต้งโฮ้ง " เพียงครั้งเดียว

[แก้ไข] เสียง " อ้าว อ้าว .." หรือ " อ่า ฮาก... "

         เป็นเสียงนกยูงตัวผู้ ขณะรำแพนหาง หรือ ขณะลงกินโป่ง เพื่อเรียกหาตัวเมีย หรือ เชิญชวนให้นกตัวเมีย เข้ามาใกล้ จะได้รำแพนหางออก หรือ บางครั้ง อาจใช้ในเวลา ตื่นตกใจ หนีไปคนละทิศละทาง

[แก้ไข] เสียง " ก -รอก...ก ก-รอก...ก "

         รัวเบาๆ เป็นการเรียกหากัน ให้กลับมารวมฝูง หลังจากตื่นตกใจ หนี ไปคนละทิศละทาง

[แก้ไข] การเลือกแหล่งที่นอน

ภาพ:Greenpeafowl_12.jpg

         เมื่อถึงเวลาเย็น นกยูง ที่หากินอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นริมห้วย หรือ ภายในบริเวณป่า ก็จะต้องหาแหล่งนอน ในบริเวณนั้นๆเลย โดยปกติ ช่วงเวลาที่ นกยูง จะบินขึ้นคอนนอน มักอยู่ในช่วง 18.00 - 18.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว จะบินขึ้นเร็วกว่าเดิม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง นกยูง จะเกาะนอนบนต้นไม้สูงใหญ่ทั่วไป โดยไม่เลือกชนิดของต้นไม้ การบินขึ้นเกาะคอน จะบินขึ้นสู่กิ่งต่ำๆ ก่อน ทีละตัว แล้วค่อยๆ ไต่ไปตามปลายกิ่ง โดยใช้ การบิน หรือ กระโดด ขึ้นไปเกาะกิ่ง ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงตำแหน่งประมาณเหนือกลางต้นเล็กน้อย ก็จะจับคอนนอน นอกจากนี้พบว่า นกยูง ในฝูง จะเกาะ นอน บนต้นไม้เดียวกัน หรือ บางครั้งอาจต่างต้น แต่เป็นกลุ่มของหมู่ไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆกัน คอนไม้ใด ที่นกจับนอน หากมีสิ่งรบกวนทำให้มันตกใจ มันจะบิน ออกไป หา แหล่งนอนใหม่ แต่ถ้า มีดแล้ว ก็จะนอนในบริเวณนั้นเลย

[แก้ไข] พฤติกรรมในฤดูผสมพันธุ์ของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_13.jpg

         ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของ นกยูงสีเขียว มีความผันแปร แตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ทราบ ช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับพม่า ที่ตั้งอยู่ใน ตำแหน่งใกล้เคียงกันแล้ว Smythies คาดว่า ฤดูผสมพันธุ์ จะตกอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม แต่สำหรับ นกยูง ในป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน อยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม

[แก้ไข] ความเป็นอยู่ช่วงผสมพันธุ์

         ในช่วงระยะผสมพันธุ์ความเป็นอยู่ของนกยูง จะเปลี่ยนไปจากช่วงเวลาปกติ คือ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป นกยูงตัวผู้ จะมีแพนขนปิดหาง ( train ) ซึ่งมีลักษณะเป็น ดอกดวง สวยงาม งอก ยาวออกมาเรื่อยๆ และจะยาวสุดประมาณ ต้นเดือนมกราคม บางตัวอาจยาวถึง 150 ซม. เมื่อหางยาวมากขึ้น การร้อง ประกาศ อาณาเขต ก็จะถี่เกือบตลอดทั้งวัน โดยเสียงร้องจะลากยาวขึ้นกว่าเดิม และ เสียงลงท้ายดังคล้ายเสียงแมวร้อง คือ "โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว "
         ขณะเดียวกัน ในระยะนี้ นกยูงตัวผู้ ก็ เริ่มจับจองพื้นที่อยู่อาศัย และ หากินค่อนข้างคงที่ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นบริเวณป่าที่โล่ง และ หาดทรายริมฝั่งน้ำ พื้นที่ดังกล่าว อาจทับ ซ้อน กับนกยูงตัวผู้อื่น ก็ได้ แต่ภายในบริเวณนั้น นกตัวผู้แต่ละตัว จะกำหมดจุดพื้นที่ หวงห้ามของตนไว้ เพื่อ การเกี้ยวพาราสี และ ผสมพันธุ์ ( mating territory ) โดยจะป้องกันไม่ให้นกตัวผู้ อื่น เข้ามาล้ำแดน โดยเด็ดขาด ซึ่งได้แก่ บริเวณหาดทรายริมน้ำนั่นเอง ความเข้มงวด เกี่ยวกับการป้องกันดินแดน จะสูงมากในช่วง 2 - 3 เดือนแรก ของ ฤดูผสมพันธุ์ และ จะค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ ไปจนถึงปลายฤดู ผสมพันธุ์ ก็จะหมดไป

[แก้ไข] การต่อสู้ป้องกันดินแดนของนกยูงตัวผู้

         พงษ์ศักดิ์ พลเสนา เคยพบว่า เมื่อนกยูงตัวผู้ตัวหนึ่ง ล้ำเข้าไปใน ดินแดนของอีกตัวหนึ่ง นกยูงเจ้าของ ถิ่น จะส่งเสียงร้องเตือน บางครั้งก็รำแพน ขนหาง ขู่ หากยังไม่ยอมถอยออกไป ก็จะเข้าต่อสู้ โดยนกยูงเจ้าของถิ่น จะเดินเข้าไปหาผู้บุกรุก แล้วเดินสวนไปมา บางครั้งก็จะหยุด ยืนนิ่งเคียงกัน แล้ว เดินต่ออีก จากนั้นก็กระโดด เตะกัน สูงราว 2 - 3 เมตร แล้วค่อยร่อน ลงมา พร้อมกับ เดินสวนกัน และ ตามกันอยู่เกือบ 10 นาที จึงกระโดดเตะกันอีกครั้ง การต่อสู้ ทำอยู่เช่นนี้ จนกว่าจะมีฝ่ายใดยอมแพ้ ถอยออกไปจากพื้นที่ ซึ่งเท่าที่เคยพบ ผู้บุกกรุกจะเป็นฝ่ายแพ้ และ หนีจากไป , ลักษณะ การต่อสู้ของ นกยูง เช่นนี้ ดูไปก็คล้ายๆกับลีลาการแสดง โขน หรือ ลิเก ในฉากการต่อสู้ ที่ต้องมีชั้นเชิง จดจ้อง แล้วต่อย เข้า ปะทะกัน จากนั้น ก็ จะแยก ห่างไป จดจ้อง แล้วเข้าปะทะกัน อีก

[แก้ไข] การเกี้ยวพาราสี และการผสมพันธุ์

         เมื่อฝูงนกยูงตัวเมีย หากินผ่านเข้าไปในดินแดนของตัวผู้ ตัวผู้นั้น ก็จะเข้าไป ร่วม หากินด้วย จากนั้น จะแสดง การรำแพนหาง เพื่อ โอ้อวดตัวเมีย ด้วยการเกร็ง ขนคลุมหาง หรือ แพนหาง ให้ขนานกับพื้น แล้วค่อยๆ ยกขึ้นตั้งฉากกับพื้น พร้อมกับคลี่แพนหาง ออก เป็นรูปพัด ขนาดใหญ่ สีเขียว ที่แต่งแต้มด้วยแววมยุรา สีน้ำเงินเขียวเหลือบฟ้าอมส้ม กระจาย ทั่วทั้งแผ่น , กางปีกทั้งสอง ข้าง ออก พยุงลำตัว ชูคอขึ้นสูงเล็กน้อย แล้วจึงย่างก้าว เดิน หมุนตัวไปรอบๆ ตัวเมีย พลางส่งเสียงร้อง บางครั้งก็สั่นขนหาง ให้เกิดเสียงดังเป็นช่วงๆ แล้วเอี้ยวไปมาเล็กน้อย ทำให้แพนหางเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว
         จากนั้นก็หมุน ตัวกลับ หันแพนหางด้านหลังให้กับพวก นกตัวเมีย การหันส่วนต่างๆ และ สั่นขนหาง นี้ จะทำสลับไปมา อยู่ตลอดเวลา เพื่อเรียกความสนใจ จากตัวเมียมากยิ่งขึ้น การรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ จะนาน 5 -10 นาที ไปจนถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของตัวเมีย หากตัวเมียพร้อมจะผสมพันธุ์ ก็จะเดินเข้าใกล้ตัวผู้ และ จิกขนของตัวผู้ ตามที่ต่างๆ จากนั้นจะเดินไปทางด้านหน้าตัวผู้ พร้อมกับ ย่อตัวลงเพื่อให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ ซึ่ง นกตัวผู้ ก็จะขึ้นขี่ ตัวเมียทันที โดยมันจะใช้จะงอยปาก จิกที่หัวของตัวเมีย เพื่อกันพลัดตก
         ขณะขึ้นผสม แพนหางของนกตัวผู้จะพับลงกับพื้น โดยแพนหาง ยังคงคลี่คลุมพื้น อยู่เล็กน้อย การผสมพันธุ์ใช้เวลาสั้นมากประมาณ 6 -10 วินาที ซึ่งจะได้ยินเสียงหวีดร้อง ขึ้นครั้งหนึ่ง คาดว่าเป็นเสียงร้องของ นกตัวผู้ ที่ทำการผสม หลังจากเสร็จ ภารกิจ นกตัวผู้จะกระโดดลงจากหลังตัวเมีย แล้วรำแพนหางต่อ โดย หันหลังให้กับนกตัวเมียตลอดเวลา รำแพนอยู่สัก 2 - 3 นาที ก็จะพับแพนขนหางปีกลง ในขณะที่ นกตัวเมีย จะลุกขึ้น สะบัดเนื้อตัว ออกเดินหากินในบริเวณนั้นต่อไป
         นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางครั้ง นกตัวผู้ สามารถผสมพันธุ์ได้ติดต่อกันถึง 2 ครั้ง โดยเมื่อผสมกับตัวเมียตัวแรก เสร็จ หากตัวเมียอื่นเข้ามาในดินแดน ของตนอีก ตัวผู้จะเริ่มรำแพนหางใหม่ และ ดำเนินกิจกรรมเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเกี้ยวพาราสีของตัวผู้ บางครั้ง ก็ไม่ประสพผล หากตัวเมียไม่ให้ความสนใจ และไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ ทั้งนี้อาจเพราะนกตัวเมีย ยังไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ หรือ เพราะลีลารัก ของตัวผู้ยังไม่ถึงระดับ ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของตัวเมียได้

[แก้ไข] พฤติกรรมหลังจากผสมพันธุ์

         หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะเริ่มหาพื้นที่วางไข่ ในบริเวณพื้นป่า โดยมีใบไม้ใบหญ้าเป็นวัสดุรองรัง รังที่สร้างไม่ค่อยมิดชิดนัก ดูคล้ายกับรังของไก่ป่า แต่กว้างกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 ซม. แม่นก จะออกไข่ครั้งละ 4 - 8 ฟอง และ ใช้เวลาฟักประมาณ 27 - 30 วัน ซึ่งการวางไข่และกกไข่นี้ จะอยู่ในระยะตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึง มีนาคม และในช่วงเวลานี้ มักพบเห็นนกตัวเมียใหญ่แยกออกจากฝูง มาหากินตามลำพัง แล้วจะรีบกลับเข้าไปกกไข่ต่อ ในราวเดือนมกราคม เป็นต้นไป ก็จะเริ่มพบเห็นลูกนกยูงเล็กๆ ออกมาหากินกับแม่ บางครั้งอาจพบเห็น นกตัวเมีย พาลูก ออกหากิน ร่วมกันตามหาดทราย และ ที่ราบริมน้ำ แต่ก็ไม่บ่อยครั้งนัก เพราะการหากินตามที่โล่ง จะเป็นอันตรายต่อลูกนก ที่จะถูกศัตรู พวกเหยี่ยวรุ้ง หรือ เหี้ย ตะกวด จับกิน
         สำหรับนกยูงตัวผู้ เมื่อสิ้นฤดูผสมพันธุ์ ในราวเดือน มีนาคม แพนขนปิดหาง ที่ยาวและสวยงาม จะเริ่มหลุดร่วงลงตามพื้นป่า และ หาดทรายที่มันเดินหากิน แต่จะพบมากที่สุด ตามใต้ต้นไม้ที่นกยูงจับคอน นอน แพนขนปิดหางนี้ จะหลุดร่วงลงเรื่อยๆ จนหมด ราวต้นเดือนเมษายน ซึ่งระยะนี้ ลักษณะความแตกต่าง ระหว่าง ตัวผู้และตัวเมีย แทบจะมองแยกกันไม่ออกเลย

[แก้ไข] การเลือกแหล่งทำรังของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_28.jpg

         นกยูงตัวเมีย เป็นผู้สร้างรัง โดย ปูพื้นด้วยเส้นหญ้ายาว ใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ ในทุ่งหญ้า หรือ ใต้พุ่มไม้หนาม รังอาจสร้าง ทั้งใต้พุ่มไม้ซึ่งเป็นร่มเงา หรือ ในทุ่งโล่ง แต่ต้องเป็นทุ่งหญ้าชนิดต้นยาว หรือ ในพุ่มไม้หนาม ซึ่งต้องหมอบคลานเข้าไป จึงจะเข้าถึงรังได้

[แก้ไข] การฟักไข่

ภาพ:Greenpeafowl_29.jpg

         นกยูงตัวเมียเท่านั้นที่ฟักไข่ ใช้เวลาฟักราว 26 - 28 วัน หรือไม่เกิน 30 วัน นกยูงวางไข่ครอกละ 3 - 8 ฟอง เคยพบมากถึง 12 ฟอง แต่ส่วนใหญ่จะพบครอกละ 3 - 4 ฟอง ในแต่ละครอก จะมีไข่อยู่ 1 - 2 ฟอง ที่ไม่ฟักออกเป็นตัว ลูกนกจะบินได้ในปีแรก ที่เกิด แต่จะยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ จนถึง ฤดูผสมพันธุ์ในปีถัดไป มีรายงานว่า ในปีที่สอง ลูกนกที่เป็นตัวผู้ มักถูกขับไล่ ออกจากฝูงนกตัวเมีย เพื่อให้ออกไปหากินนอกฝูงตามลำพัง

[แก้ไข] การอพยพย้ายถิ่นของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_14.jpg

         นกยูงเป็นนกประจำถิ่น แต่เชื่อว่า มีการอพยพย้ายถิ่นตามแหล่งหากินในประเทศ ด้วยการแพร่กระจายพันธุ์ นกยูงไทย ทั้งสามสายพันธุ์ มีกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียตนาม กัมพูชา มณฑลยูนนานของจีน จนถึงคาบสมุทรมาลายู และ เกาะชวา ( ไม่ปรากฏว่าพบในสุมาตรา และ บอร์เนียว )

[แก้ไข] นกยูงในประเทศต่างๆ

ภาพ:Greenpeafowl_15.jpg

         ในอดีต นกยูงมีการแพร่กระจายกว้างขวางตั้งแต่ภาคเหนือ ไปจด ภาคตะวันออกของอินเดีย ภาคใต้ของจีน พม่า ไทย และ ทุกประเทศในแถบ อินโดจีน คาบสมุทรมาลายู และ อินโดนีเซีย จำนวนประชากร เคยประมาณการว่ามีถึง 5,000 - 10,000 ตัว และ ลดลงทุกปี แม้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับนกยูง ที่จะอาศัยอยู่ได้ ยังพอมีเหลืออยู่มากก็ตาม สถานะ ของ นกยูงสีเขียวในประเทศต่างๆ เป็นดังนี้ คือ

[แก้ไข] อินเดีย

ภาพ:Greenpeafowl_20.jpg

         ชนิดย่อย P . m. spicifer เหลือเป็นเพียงฝูงเล็กๆ ใน Mizoram , Manipur และ อัสสัม ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 นกยูงสีเขียว ยังพบอยู่มาก ที่เมือง Cachar และ Mizoram แต่ในปัจจุบัน พบเพียงทางตอนเหนือของภูเขา Cachar Hill โดยนกยูงสีเขียว ถูกแทนที่โดย นกยูงพันธุ์สีฟ้า (นกยูงอินเดีย ) เนื่องจากนกยูงพันธุ์อินเดีย มีการปรับตัวเข้ามาอยู่ในแหล่งอาศัยของคน และ ปรับตัวให้กินอาหาร ได้หลากหลายกว่า ปัจจุบันนกยูงสีเขียวในอินเดีย อยู่ในภาวะ ใกล้สูญพันธุ์ เหลือเพียงจำนวนน้อย บริเวณใกล้ชายแดนพม่า มีราว 12 ตัว ในสวนสัตว์ และมีการเพาะเลี้ยง เพื่อปล่อยคืน สู่ธรรมชาติจำนวนเล็กน้อยที่ Bengal ( Daniel 1957 )

[แก้ไข] จีน

         นกยูงมีอยู่จำกัดในมณฑลยูนนาน ( เชื่อว่ามีอยู่ในทิเบตด้วย ) ประมาณการว่า จีน มีนกยูง อยู่ราว 800 - 1,100 ตัว โดยรวบรวมจาก คำบอกเล่า ของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ยังมีนกยูงอยู่ แต่ Xu Yangong (1998 ) ประมาณการว่า น่าจะเหลือเพียง ไม่เกิน 500 ตัว . ก่อนปี ค.ศ. 1960 นกยูงยังพบอยู่มาก ในแถบ ภาคตะวันตก และ ภาคใต้ ของมณฑลยูนนาน แต่ปัจจุบัน พื้นที่ถูกแผ้วถาง ออกเป็นหย่อมๆ ผืนป่าไม่ติดต่อกัน นกยูงฝูงใหญ่ที่สุดพบที่เมือง Shuangbai ในปี ค.ศ. 1993 ประมาณการว่า มีราว 150 - 250 ตัว การสำรวจครั้งล่าสุด พบว่า นกยูงสูญพันธุ์ไปแล้ว จากบริเวรตอนใต้ของภาคตะวันออก ของยูนนาน , Mengzi , Jinping , Luchun , Hekou , Kaiyuan และ Wenshan Zhuang นอกจากนี้ก็ กำลังจะหมดไปจาก Yingjiang และ เมือง Lushui

[แก้ไข] บังคลาเทศ

         ชนิดย่อย P . m. spicifer เคยเป็นนกประจำถิ่น ในแนวทิศใต้ ถึง ตะวันออก ของ บังคลาเทศ แต่นกยูงเริ่มเป็นนกหายาก มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1921 - 1930 ( Baker ) และไม่มีรายงาน อีกเลย ( Harvey 1990 ) มีรายงานการพบ 2 - 3 ตัว อยู่กระจัดกระจาย ในแถบ Chittagong Hill Tracts แต่เชื่อว่าคงจะ สูญพันธุ์ไปในไม่ช้า

[แก้ไข] พม่า

         ในตอนกลางศตวรรษที่ 19 นกยุงในพม่า ยังมีอยู่มาก ในบริเวณบางแห่ง จนถึง ตอนต้นศตวรรษที่ 20 บริเวณที่พบมากที่สุดคือ รัฐ เปกู ( Pegu state ) , Tharrawaddy district , ที่ลุ่มต่ำของ Bhamo district , สองฝั่งลำน้ำใหญ่ บนที่ราบรอบๆ เมือง Talawgyi , Shan Hill พบมากในที่ราบต่ำกว่า 900 เมตร จาก ระดับน้ำทะเล , ที่ราบลุ่มน้ำอิรวดี ระหว่างปี ค.ศ. 1930 - 1940 ปริมาณนกยูง ยังมีอยู่มาก ทางตอนใต้ของพม่า ( Smith 1942 ) ปัจจุบันไม่มีการสำรวจอย่างจริงจัง แต่เชื่อว่า จำนวนลดลง และ เริ่มหายากแล้ว บริเวณที่พอจะมีรายงานว่ามีนกยูงอยู่มาก คือ หมู่บ้าน Hukaung vally ในรัฐคะฉิ่น และ จังหวัด Sagaing และ ป่าแถบ ชายแดน ติดต่อกับ อินเดีย

[แก้ไข] ลาว

         ในปี ค.ศ. 1920 นกยูง พบกระจัดกระจายตามบริเวณที่ป่า ยังมีสภาพดีอยู่ โดยชุกชุมพอๆกับไก่ป่า ซึ่งนิยมล่ากันมากที่สุด ของประเทศ แถบ อินโดจีน Delacour และ Jabouille รายงานในปี ค.ศ. 1925 ว่า นกยูง พบได้บ่อยมาก ทางตอนใต้ของจังหวัดสาละวัน แขวงจำปาศักดิ์ และ เมืองอัตปือ จำนวนยัง มาก อยู่จนถึงต้นปี ค.ศ. 1930 ช่วงปี ค.ศ 1949 - 1950 David Beaulieu รายงานว่า นกยูง พบได้ บ่อยมาก ในจังหวัดสุวรรณาเขต ในปี ค.ศ. 1944 ปริมาณนกยูง เริ่มลดลง จนพบได้น้อยลงมาก
         แม้ในอดีต นกยูง เคยพบมากแพร่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ( Delacour 1929 ) ( Emgelback 1932 ) ปัจจุบันพบฝูงเล็กๆ แถบภาคกลาง และ ภาคใต้ ของลาว มีรายงานพบที่ Ban Houayseai ชายแดน ติดต่อพม่า เคยเก็บตัวอย่างนกยูงตัวผู้เต็มวัยได้ 1 ตัว แถบริมลำน้ำโขง ในเดือนธันวาคม 1938 - มกราคม 1939 ที่ Xiang Khouang พบถึงต้นปี 1940 ที่พื้นที่ราบ และ ที่ Ban Ban พบที่ระดับความสูง 400 เมตร , Nan Xan พบถึงต้นปี 1940 , Nam Ngiap , Ban Nakhay , Xe Banghiang แขวงสุวรรณเขต แถบชายแดนด้านตะวันออก , ที่ราบสูงโบโลเวน มีการซื้อขายนกยูงที่ Quan Moor ซึ่งอยู่เชิงเขา แต่ปัจจุบัน ที่แห่งนี้ กลายเป็น หมู่บ้านไปแล้ว , Dong Khanthung , Xe Pian , Dong Kalo , Ta Hoi (ที่นี่มีนกยูงชุกชุม จนถึงต้นปี 1930 จึงหมดไป )
         ปัจจุบัน นกยูงในลาว เป็นนกหายากมาก บางแห่งที่เมื่อ 50 - 100 ปีที่แล้วมีอยู่ชุกชุม ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดสิ้น คาดว่า ขณะนี้ปี ค.ศ. 2000 เหลืออยู่ราว 100 - 200 ตัว ในพื้นที่ 6 แห่งในลาว ได้แก่ Ban Nakhay แถบภูเขา Khouay ซึ่งมีอยู่ราว 20 - 30 ตัว , ที่ Dong Hua Sao เหลืออยู่ราว 70 ตัว ประชากรที่ Xe Pian สำรวจพบเพียง 2 - 3 ตัว มีชาวบ้านบอกว่า ยังพอจะเห็นนกยูง อยู่บ้าง แต่น้อยมากที่ Dong Khanthung

[แก้ไข] กัมพูชา

         ในอดีต พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนมากตามแนวชายแดน ติดต่อกับ ไทย และ ลาว ซึ่งอาจเป็นนกยูงฝูงเดียวกันก็ได้ บริเวณที่เคยมีรายงานในปี ค.ศ. 1990 คือ Stung Treng , Preah Viheor , Pursat , Kampong Speu , Kratie , Battambang , Ratanakiri ในปี 1996 พบกระจัดกระจาย แต่จากากรสำรวจล่าสุดในปี 1998 ไม่พบเลย , Phumi Yuon Dong ซึ่งมีการนำขนนกยูง มาขายใน กรุงพนมเปญ โดยระบุว่าได้มาจาก บริเวณภูเขา Laoka Hill , ในเดือนพฤษภาคม 2000 สำรวจพบที่ Spuol Wildlife Sanctuary โดยพบรวม 15 ตัว , ที่ Kirirom NP ที่ระดับ 200 เมตร จาก ระดับน้ำทะเล ได้ยินเสียงร้อง 1 ตัว , Bokor NP ดักจับลูกนกได้ 2 ตัว และได้ยินเสียงร้อง 1 ตัว ในเดือนกุมภาพันธ์ 1998 มีรายงานที่ไม่ยืนยัน เช่น มีการขาย ขนนกยูงที่ตลาดเสียมเรียม โดยอ้างว่าได้มาจาก Phnom Kulen NP อยู่ในพื้นที่ของ อ. เสียมเรียม
         แม้ว่าในอดีต กัมพูชา จะเคยมีนกยูงชุกชุมพอๆกับไก่ป่า ในปี ค.ศ. 1920 แต่พอถึงปี 1960 ก็พบเฉพาะในป่าที่ยังกว้างขวาง และ หนาทึบอยู่ ปัจจุบัน ยังไม่มีการสำรวจแน่ชัดว่าเหลืออยู่เท่าใด บริเวณที่มีการยืนยันว่า ยังมีนกยูงเหลืออยู่ คือ จังหวัด Mandulkiri ติดชายแดนเวียตนาม ( P . davidson 2000 ) , จังหวัด Preah Vihear ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของกัมพูชา ยังพบมากในพื้นที่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2001 ซึ่งทั้งสองแห่ง เชื่อได้แน่ว่า ปริมาณจะลดลงทุกปี

[แก้ไข] เวียดนาม

          ในปี ค.ศ. 1920 ยังพบนกยูงมีมากในบริเวณป่าทั่วๆไป และ หาได้ง่ายพอๆกับไก่ป่า ในปี ค.ศ. 1925 Delacour และ Jabouille รายงานการพบนกยูงมากกว่า 40 ตัว ในพื้นที่เกษตรกรรม 3 แห่ง ใกล้เมือง Mai Lanh และ หลังฤดูเก็บเกี่ยว เป็นเรื่องธรรมดามาก ที่จะเห็นฝูงนกยูงมากกว่า 24 ตัว ลงกินเมล็ดข้าว ที่ร่วงหล่นในนา ระหว่างปี 1933 - 1936 พบนกยูงที่จังหวัด Gia Lai และที่นี่ยังมีอยู่ชุกชุม ในศตวรรษที่ 20 นกยูงเริ่มลดลง อย่างมาก จากพื้นที่ที่เคยมีอยู่ชุกชุม สูญพันธุ์สิ้นเชิงไปจากภาคเหนือของเวียตนาม และ ภาคกลาง ในตอนต้นปี ค.ศ. 1990 พบเพียง 17 ตัว ในพื้นที่ราว 13 ตารางกิโลเมตร ของอุทยานแห่งชาติ Cat Tien NP และปริมาณเริ่มเพิ่มขึ้น แต่ก็อยู่กระจัดกระจายมากขึ้น เนื่องจากการบุกรุก แผ้วถางป่ารอบๆ อุทยาน แหล่งที่พบนกยูงมากที่สุด ของเวียตนาม อยู่ที่จังหวัด Dac Lac ซึ่งฝูงใหญ่ที่สุดพบครั้งละไม่เกิน 8 ตัว
         จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 20 นกยูงสูญพันธุ์ไปจาก ภาคกลาง และ ภาคเหนือ แหล่งสำคัญคือ จังหวัด Dac Lac ซึ่งนกยูงราว 40 % ของทั้งหมดที่เวียตนามมีอยู่ที่นี่ โดยพบนกยูงได้ตามป่าแนวฝั่งแม่น้ำ ในรัศมีไม่เกิน 2 กม. จากแม่น้ำ และ ต้องห่างจากที่อยู่อาศัยของคนมากกว่า 2 กม. ฝูงใหญ่สุดพบครั้งละไม่เกิน 8 ตัว บางครั้งอาจพบนกยูง มาเดินอยู่ตาม ริมถนนบ้าง

[แก้ไข] มาเลเซีย

         ตอนต้นศตวรรษที่ 20 นกยูงชนิดย่อย P . m. muticus เคยพบทั่วไปตั้งแต่ตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู จนถึง รัฐ เดดาห์ ทางตอนใต้ โดยพบได้ง่ายๆ ตามหาดทราย เกาะแก่ง ของแม่น้ำ Pahang River , ในปี ค.ศ. 1900 นกยูงยังพบได้บ่อยมากตามที่ราบลุ่ม ของรัฐปะหัง แต่ทาง ชายฝั่ง ทะเลด้านตะวันออก นกยูงพบได้กระจัดกระจาย และ ในปี ค.ศ. 1922 ไม่มีรายงานการพบ ทางแถบฝั่งตะวันตกอีกเลย
         ในปี ค.ศ. 1950 ยังมีรายการพบนกยูงบินข้ามถนนใน รัฐ ตรังกานู และ Mersing , ยะโฮร์ และยังพบได้บ่อยใน Setul , Perlis และ Kedah รวมถึงตามแม่น้ำ ใน กลันตัน และ ตรังกานู รายงานสุดท้าย ที่พบนกยูง อยู่ในปี ค.ศ. 1960 โดย Medway และ Wells ปัจจุบัน นกยูงในธรรมชาติสูญพันธุ์ไปแล้ว จากมาเลเซีย เหลือแต่ในสถานที่เพาะเลี้ยงเท่านั้น แต่ บางแห่งมีโครงการ ปล่อยคืนสู่ ธรรมชาติ ด้วย

[แก้ไข] อินโดนีเซีย

         ในอดีตนกยูงบนเกาะชวา มีอยู่ชุกชุมมาก ประมาณการว่ามีมากถึง 2,000 - 3,000 ตัว แหล่งที่เคยมีนกยูงชุกชุมในชวา คือ ที่ Ciletu ( อ่าว Pelabuhonbatu ) ( vorderman 1887 ) แต่นกยูงที่นี่สูญพันธุ์ไปในระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1920 หลังจากมีการให้สัมปทานตัดไม้ซุงสัก และ การเปิดแหล่งเกษตรกรรม ใหม่ๆ ประชากรนกยูงในชวา ก็ลดลงเหลือ 915 - 1,149 ตัว ในปี ค.ศ. 1990 ซึ่งก่อนหน้านั้น คือในปี ค.ศ. 1941 Ujung Kulan เคยรายงานว่าพบนกยูงถึง 15 ตัว บนต้นปาล์มน้ำมันเพียงต้นเดียว เมื่อ เดือนพฤษภาคม 1941 ( Hoogerwerf 1948 ) พอถึงปี 1970 นกยูงลดลงเหลือ 200 - 250 ตัว โดยพบอยู่มากที่สุดที่ Baluran NP ซึ่งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ เดิมเป็นที่สงวนไว้ล่าสัตว์ตามฤดูกาล จึงทำให้เหลือป่า และ นกยูงอยู่ ปัจจุบัน อุทยานนี้เป็นแห่งเดียว ที่พบนกยูง อยู่มากที่สุด ในอินโด - นีเซีย ที่จริงแล้ว นกยูงเริ่มเป็นนกที่หายากในอินโดนีเซีย มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 แล้ว
         การสำรวจในปี ค.ศ. 1980 ประมาณการว่า มีนกยูงเหลืออยู่ ตามสถานที่ 3 แห่งดังนี้ คือ Baluran NP 408 - 616 ตัว , Alas Purwo 168 - 268 ตัว , Ijen ( Krepekon รวมกับ Lijen ) เหลือ นกยูง 64 - 88 ตัว หลังจากนั้น 10 ปี คือ ค.ศ. 1990 พบนกยูงในแหล่งธรรมชาติเพียง 2 แห่ง คือ Lijen มีนกยูง 10 -20 ตัว และ ที่ Krepekan พบนกยูงไม่เกิน 30 ตัว ( Indrawan และ van Balen 1991 ) สรุปคือ อินโดนีเซีย จากอดีตที่เคยมีนกยูง 2,000 - 3,000 ตัว ปัจจุบันนี้ ทั้งประเทศ เหลือนกยูงไม่ถึง 100 ตัว ในธรรมชาติ

[แก้ไข] นกยูงไทย

ภาพ:Greenpeafowl_16.jpg

         สำหรับประเทศไทย นกยูงไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ( sub species ) คือ
         1. สายพันธุ์พม่า ( Burmese green peafowl ) P . m. imperator มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย และ ในประเทศ พม่า และ ไทย
         2. สายพันธุ์อินโดจีน ( Indo - chinese green peafowl ) P . m. muticus มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย มณฑลยูนนานของจีน พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา และ เหนือบริเวณคอคอดกระของไทย
         3. สายพันธุ์ชวา ( Javanese green peafowl ) P . m. muticus มีถิ่นกระจายตั้งแต่ใต้คอคอดกระของไทย จนถึงคาบสมุทรมาลายู และ หมู่เกาะชวา แต่ไม่ปรากฏพบในสุมาตรา และ บอร์เนียว

ภาพ:Greenpeafowl_17.jpg

         ในประเทศไทย เคยมีกระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ แต่ปัจจุบัน ได้ลดจำนวนอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากป่าถิ่นที่อยู่อาศัยได้ลดจำนวนลง อย่างรวดเร็ว และ ถูกจับล่า ดังนั้น นกยูงจึงคงเหลืออยู่แต่ใน พื้นที่ป่า อนุรักษ์ เพียง 10 แห่ง เท่านั้น คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม , อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ , อุทยานแห่งชาติภูพาน , อุทยานแห่งชาติเขาสก , อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (รวมเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงเกริงกะเวีย - หนองน้ำซับ เข้าไว้ด้วย ) , และ เขตสุดท้ายที่สำรวจพบ ล่าสุดคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำภาชี
บริเวณที่พบนกยูงมากที่สุด คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีจำนวนประมาณ 400 ตัว รองลงมาคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร

[แก้ไข] นกยูงในประเทศไทยในอดีต

ภาพ:Greenpeafowl_18.jpg

         ชนิดย่อย P.m. imperator เคยแพร่กระจายตามที่ราบลุ่มในภาคเหนือ , ที่ราบสูงภาคตะวันออก , ภาคตะวันตก และ ภาคใต้พบลงไปถึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , ชนิดย่อย P.m. muticus พบทางภาคใต้ ตั้งแต่ คอคอดกระลงไป จนถึงใต้สุดของไทย ( Deignan 1963 ) , Narapuch ( 1986 ) เคยรายงานว่า พบนกยูงตัวเมีย ชนิดย่อย P.m. muticus พร้อมลูกเล็ก ที่ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี แต่รายงานนี้ไม่ได้รับการยืนยัน . ปี ค.ศ. 1914 มีรายงานหลายครั้ง ว่า พบนกยูงริมแม่น้ำโขง อ. เชียงแสน ( Gyldenstolpe 1916 , Deignan 1945 ) ปี ค.ศ. 1930 นกยูงยังพบได้ทั่วไป ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดอยหลวงเชียงดาว มีการเก็บตัวอย่างได้ที่ ระดับความสูง 450 เมตร จากระดับน้ำทะเล และ ยังพบได้ทางตะวันออก ของ ดอยหลวงเชียงดาว แถบ ลำน้ำปิง จำนวนยังมากอยู่ ในช่วงเดือน ธันวาคม 1931 - มกราคม 1932 ( Diagnan 1945 ) , โครงการพระราชดำริ ห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เดือน พฤศจิกายน 1999 พบราว 80 ตัว ปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจาก นกยูงที่ปล่อยจาก ที่เพาะเลี้ยง , การล่าที่ลดลง , และ การขยายตัวของพื้นที่ป่าชั้นรอง โดยรอบอ่างเก็บน้ำ ในโครงการฯ . เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียง โล จ. พะเยา และ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ทั้งสองแห่งอยู่ในพื้นที่ จ. พะเยา ที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จ. แพร่ มีรายงานในเดือน มีนาคม 1996 ทั้ง 3 แห่ง ประมาณว่ามีนกยูงรวมกันในราว 200 ตัว

ภาพ:Greenpeafowl_19.jpg

         อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เคยพบในป่าดิบแล้ง บริเวณที่ปัจจุบัน คือ กม 13 - 18 ( Diagnan 1945 ) , ที่อุทยาน และ พื้นที่ใกล้เคียง เคยเก็บ ตัวอย่างได้ นกยูงตัวผู้ 2 ตัว ในปี 1915 , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำสาละวิน มีรายงานพบในปี 1998 ( P .D. Rould 1998 ) อ. ชุมทอง จ. เชียงใหม่ พบในเดือน มีนาคม 1999 ( วีนา เมฆวิชัย ) , อ. เด่นชัย ได้ยินเสียงร้อง ในระหว่างปี 1912 ( Deignan 1945 ) และ พบนกยูงเป็นฝูง ตามลำน้ำปิง บริเวณหมู่บ้าน Mut Ka ในเดือนธันวาคม 1935 ( Diagnan 1945 ) , อุทยานแห่งชาติศรีน่าน , อุทยานแห่งชาติแม่จริม , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม ( ในเขตจังหวัดน่าน - อุตรดิตถ์ ) ในเดือนธันวาคม 1999 ประมาณไม่เกิน 100 ตัว (วีนา เมฆวิชัย - P.D. Rould 2000 ) , อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบนกยูงจำนวน 1 - 2 ตัว ในเดือนมีนาคม 1999 , ตามลุ่มน้ำปิง ยังคงพบได้ค่อนข้าง บ่อย แถบ ต. วังพระธาตุ ระหว่าง จ. กำแพงเพชร และ จ. นครสวรรค์ 1949 เคยมีการพบนกยูง ในเดือน มกราคม ( Madoc 1950 ) , บ้านสลักพระ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ พบโดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าสลักพระ จำนวน 1 ตัว ระหว่างปี 1975 - 1977 บริเวณระยะทางห่าง 64 กม. ทาง ตะวันออก ของ อ.อุ้มผาง และ อ. แม่วงก์ ไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่ที่นี่ในอดีต เคยเก็บตัวอย่างได้ 3 ตัว ที่ระดับความสูง 300 เมตร จากระดับ น้ำทะเล ในเดือน กุมภาพันธ์ 1991
         มีรายงานการพบนกยูง วัยรุ่นฝูงใหม่ บริเวณลำห้วยทับเสลา ทางตะวันออกของห้วยขาแข้ง ซึ่งอยู่ในไร่ชาวบ้าน ที่อยู่นอกเขตรักษาพันธุ์ ที่นี่พบนกยูง รัง และ ลูก ในไร่ข้าวโพด ของ ชาวไร่ด้วย , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีรายงานพบ 2 - 3 ตัว แต่ไม่ระบุ ปี ที่พบ , ที่ Chong Bat Lak จ. ศรีสะเกษ ติดชายแดนกัมพูชา พบรอยมูล และ รอยเท้านกยูง แต่รายงานนี้เป็นการพบ ที่ค่อนข้าง ผิดปกติ , ที่ห้วยสัก มีการเก็บตัวอย่างได้ 2 - 3 ตัว เมื่อ กุมภาพันธ์ 1917 , บ้านเกาะกราบ ชาวบ้านยิงนกยูงได้ 2 - 3 ตัว ในเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม 1913 , ถ้ำละว้า มีรายงานได้ยินเสียง ในเดือน กุมภาพันธ์ 1962 ( Jonnson 1966 ) , บ้านนาครัว จ. ตรัง และ ในเขตจังหวัดตรัง เก็บตัวอย่างได้ 3 ตัว ในปี 1910 , Kuala Maluk จ. ปัตตานี ใกล้กับหมู่บ้าน ยะหา เก็บตัวอย่าง นกตัวผู้ 2 ตัว ในเดือน กรกฎาคม 1901

ภาพ:Greenpeafowl_21.jpg

         จ. กระบี่ ชาวบ้านยิง นกยูงได้ ตัวผู้ 3 ตัว ในเดือนมกราคม 1918 ซึ่งชาวบ้าน อ.บ้านบางเตียว บอกว่า ในปี 1945 ยังพบนกยูง ในแถบนี้ได้บ่อยๆ แถบ อ. คลองท่อม จ. กระบี่ ( ที่นี่นกยูง สูญพันธุ์ไปแล้ว และกำลังจะสูญพันธุ์ ตามไปอีก หนึ่งชนิด คือ นกแต้วแล้วท้องดำ ถือเป็น บันทึกทางประวัติศาสตร์ ของชาว ต. บ้านบางเตียว อ. คลองท่อม จ. กระบี่ www.bird-home.com ขอบันทึก ไว้ให้ลูกหลานในอนาคตของท่านได้ทราบ พฤติกรรมในอดีต และ ปัจจุบัน ของ ชาวหมู่บ้านบางเตียว อ.คลองท่อม จ. กระบี่ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย )เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว และอุทยานแห่งชาติไทรโยค มีรายงานพบในปี 1980 , เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงเกริงกะเวีย มีรายงานการพบ นกยูง 1 ตัว ระหว่างปี 1986 - 1987 และ สูญพันธุ์ไป หลังการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลม ในระหว่าง กลางปี ถึง ปลายปี 1980 ( P.D. Rould 1998 ) พื้นที่แห่งนี้ภายหลัง ได้ถูกรวมเข้าในอุทยานแห่งชาติเขื่อนเขาแหลม จ . กาญจนบุรี

[แก้ไข] นกยูงในประเทศไทยปัจจุบัน

ภาพ:Greenpeafowl_22.jpg

         นกยูงในประเทศไทย เป็นนกที่พบได้ไม่บ่อยนัก ในภาคตะวันออก และ ยังเป็นนกที่หายากมาก ของภาคเหนือ , ในปี ค.ศ. 1913 ยังมีรายงานว่า พบหากิน กระจัดกระจายอยู่ทางตอนใต้ ชอง ลุ่มน้ำแม่ปิง ซึ่ง Gyldenstolpe รายงานว่า แถบนั้น ยังมีนกยูงอยู่กระจัดกระจาย แต่ การที่มันเป็นนกที่ระแวงภัยสูง จึงไม่ค่อยมีข่าวว่า ถูกล่า หรือ พบเห็นโดยนักท่องเที่ยว แต่ ยามเย็น และ เช้าตรู่ ยังมีคนได้ยินเสียงร้องของมันอยู่
         ในปี ค.ศ. 1910 Gairdner รายงานว่า พบเห็นนกยูงได้ แบบกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัด ราชบุรี และ จ. เพชรบุรี , เดือนกุมภาพันธ์ 1933 มีผู้พบนกยูง เป็นฝูงขนาดเล็กลงกินน้ำในแม่น้ำโขง เวลาเย็น ที่ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย บางวันพบลงกินน้ำเป็นฝูงขนาดใหญ่ด้วย . ปี ค.ศ. 1945 - 1950 Madoc และ Deignan รายงานว่า นกยูง ยังพบได้ง่าย แถบลุ่มน้ำแม่ปิง ระหว่าง จ. กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ โดย พบแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ของ ภาคเหนือ , ปี ค.ศ. 1930 นกยูงพบได้ บ่อยมาก ในที่ราบเชิงดอยหลวงเชียงดาว และ พบได้ทั่วไปใน จังหวัดน่าน โดยเฉพาะตาม ลำน้ำน่าน และ ยังพบนกยูงลงกินน้ำเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ริมฝั่งลำน้ำปิง

ภาพ:Greenpeafowl_23.jpg

         ในปี ค.ศ. 1960 นกยูงยังจัดว่า พบได้ง่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ปริมาณนกยูงทางภาคใต้ จำนวนลดลงรวดเร็วกว่าภาคอื่น ปี ค.ศ. 1913 Robinson รายงานว่า นกยูงลงกินข้าวเปลือก ในนาข้าว ที่บ้านเกาะคราม เป็นฝูงใหญ่ มีตัวอย่าง 2 - 3 ตัว ถูกเก็บได้จากพื้นที่ ของ จังหวัดกระบี่ . ค.ศ. 1951 Glenister รายงานว่า ที่ อ. คลองท่อม จ.กระบี่ เคยมีนกยูงอยู่ชุกชุม ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และ เริ่มหมดไป ในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งก่อนหน้านี้ ที่ จ. ปัตตานี และ จ. ตรัง ก็ยังพบอยู่มากเช่นกัน
         ปี ค.ศ. 2000 Philip D. Rould ประมาณการว่า ไทยมี นกยูงเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 500 - 700 ตัว โดยแบ่งเป็นอยู่ในเขตฯ ห้วยขาแข้งราว 200 ตัว และ เพิ่มเป็น 225 - 270 ตัว ในปี ค.ศ. 1986 - 1987 โดยนับจากเสียงร้อง , รอยเท้าที่พบ และเห็นตัวระหว่างการสำรวจนับ และ ปริมาณเริ่มลดลงหลังจาก มีที่โล่ง จากการ บุกเบิกใหม่และการตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านทับเสลา , นอกจากนี้ ประชากรอีกราว 200 ตัว กระจายอยู่ระหว่างตอนเหนือ ของ อุทยานแห่งชาติแม่ยม กับ ตอนใต้ ของ อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง และ ที่เขตพื้นที่โครงการ ในพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้ มีนกยูงอยู่ราว 80 ตัว ที่นี่ เป็นแหล่งล่าสุด ในภาคเหนือที่พบนกยูง และ เชื่อว่าที่นี่ จะทำให้มีปริมาณนกยูง ของ ภาคเหนือ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ มีนกยูงบางส่วนจากที่เพาะพันธุ์ได้ในสวนสัตว์เชียงใหม่ ถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แห่งสุดท้ายที่สำรวจพบนกยูง ใน ปัจจุบัน คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ลุ่มน้ำพาชี ปริมาณยังอยู่ระหว่างการสำรวจ

[แก้ไข] พื้นที่ที่มีการอนุรักษ์นกยูงในประเทศต่างๆ

ภาพ:Greenpeafowl_24.jpg

         ตามแหล่งที่ยังมีการพบนกยูงอยู่ในธรรมชาติ มีอยู่ราว 25 แห่ง ตามประเทศต่างๆ ได้แก่

[แก้ไข] จีน

         Qinghua ( Beiying Green Peafowl Nature Reserve ) , Tongbiguan Nature Reserve , Wuling Shan Nature Reserve , Ailashan National Nature Reserve , Dazueshan Nature Reserve , Weiyuan Jing Nature Reserve , Nangunhe Nature Reserve , Laiyang He Nature Reserve , Mango Nature Reserve , Xishuangbanna National Nature Reserve .

[แก้ไข] พม่า

         Maymyo , Shwesettaw และ Tamanthi ที่อยู่ระหว่างเตรียมการ คือ Pidaung และ Shwe - U - Daung

[แก้ไข] ลาว

         ปัจจุบัน นกยูง ยังพอพบได้ในลาว ที่ Dong Hua Sao NBCA , Ban Nakhay ใน Phao Khao Khouay NBCA ปัจจุบัน Canada Fund กำลังสร้างมวลชน และ ทำโครงการเพื่อหา ความเป็นไปได้ ในการตั้งกลุ่มอนุรักษ์นกยูง ในลาว ซึ่งคาดว่ายังเหลือนกยูงอยู่ราว 20 - 30 ตัว

[แก้ไข] เวียตนาม

         Cat Tien NP และ Cat Loc ดำเนินการโดย WWF และ Yok Don NP

[แก้ไข] อินโดนีเซีย

         Ujung Kulon NP , Cikepuk Nature Reserve , Leuweng Sanctuary Nature Reserve , ranu Darungan ติดกับ Bromo - Sengger NP , The Yang Highland ที่นี่เป็นสถานที่จัดไว้ล่านก บางชนิดที่กฎหมายอนุญาตให้ล่าได้ตามฤดูกาล แต่ ก็สามารถควบคุมได้ ซึ่งที่นี่มีนกยูงอยู่จำนวนเล็กน้อย , Meru Betiri NP , Baluran NP , Krepekan Lijen Nature Reserve , Kawak Ijen / Ungup - Ungup Nature Reserve , Alas Purwo NP , Gunung Ringgit Nature Reserve , Leuweng Sancang NatureReserve , Lebakharjo Nature Reserve , Gunung Raung ( Mountain com[lex Nature Reserve ) , Baluron and Ujong Protected Area

[แก้ไข] ประเทศไทย

ภาพ:Greenpeafowl_25.jpg

         ปัจจุบัน มีอยู่อย่างน้อย 4 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงโล จ.พะเยา , อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง , อุทยานแห่งชาติแม่ยม , อุทยานแห่งชาติศรีน่าน, อุทยานแห่งชาติแม่จริม , อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และ พื้นที่ในโครงการพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้
         การเพาะเลี้ยงเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในกรณีที่สำรวจพบว่า นกยูงในธรรมชาติเหลือลดน้อยลง ต่ำกว่า 2,000 ตัวในธรรมชาติ เมื่อถึงเวลานั้นการเพาะเลี้ยงในกรงอย่างเป็นทางการ ได้ถูกนำมา พิจารณาเป็นหนทางสุดท้าย ถึงความเหมาะสม, ในชวามีสถานที่เพาะเลี้ยง คือ Gunung Muriah ( or Muryo ) , Pangandaron Nature Reserve ในชวาตะวันตก และในมาเลเซียมี ความพยายามเพาะเลี้ยง ชนิดย่อย P.m. muticus ในแหล่งที่เป็นสวนปาล์ม แต่ ประสบ ปัญหา อย่างมาก ในการควบคุมศัตรูทางธรรมชาติ จำพวก สัตว์ฟันแทะ ทั้งหลาย
         ส่วนในจีน และ ประเทศไทย มีฟาร์มที่เพาะเลี้ยงนกยูงไทย และนกยูงอินเดีย ที่รู้กันดีแพร่หลาย ก็มีปัญหาอยู่มาก เรื่อง ความอ่อนแอของสายพันธุ์ เนื่องจากการผสมกันเองในชั้น ลูก - หลาน และปัญหาการผ่าเหล่า และการผสม ข้ามสายพันธุ์ เนื่องจากความไม่ระมัดระวัง และ เคร่งครัด ในการจับคู่ให้นกในกรงเลี้ยง ทำให้ไม่อาจวางใจได้ว่า จะมีผลเสียอย่างไร ถ้าปล่อยนกยูงที่ไม่ใช่พันธุ์แท้ออกสู่ ธรรมชาติ

[แก้ไข] สถานภาพปัจจุบันของนกยูง

ภาพ:Greenpeafowl_26.jpg

         นกยูงในป่าธรรมชาติค่อนข้างหายากและปริมาณน้อย นอกจากบางแห่งเช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ยังพบได้บ่อยและปริมาณปานกลาง กฎหมายจัดให้นกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต 

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/นกยูง 

--------------------------------------------------
FfF