ความต้องการให้เรียนรด.5ปีเพื่อต้องการล้างสมองถึงป.ตรีมากกว่าที่นำมาอ้างเรื่องอาวุธอะไร
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360057489&grpid=00&catid&subcatid
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360057489&grpid=00&catid&subcatid
- ทั้ง Buapan Musketeers และ Luy Maka ถูกใจสิ่งนี้
- Maha Arai คงรู้สึกล้างสมองเด็กระดับป.ตรีไม่ได้ล้างได้แค่ระดับมัธยมเลยมีความพยายามผลักดันเรื่องนี้มากกว่าที่อ้างว่ายิงปืนไม่เป็น
- Maha Arai เพราะสมัยเรียนก็ไม่เห็นทำอะไรมากนอกจากฝึกเพื่อเดินสวนสนามและไปเขาชนไก่อยู่อาทิตย์กว่าๆแล้วก็สอบแบบผ่านๆไปแค่นั้น
- Maha Arai แต่ในระหว่างฝึกจะมีการเรียนตำราอะไรที่ใช้สอบลอกกันที้งห้องเผลอคนคุมบอกคำตอบ ให้เสร็จสรรพสอบไปงั้นแต่ระหว่างเรียนเรื่องอาวุธภาคทฤศฎีหรือเรื่องนั่นนี่ ของพวกทหารในตำราที่แจกเล่มหนาๆเล่มหนึ่งจะมีพวกกอรมน.มาล้างสมองด้วย
- Maha Arai อย่างหลายคนพวกล้างสมองก็จะสร้างอคติว่าเป็นพวกหนีเข้าป่านั่นนี่อาจไม่ใช่ทุกคน แต่ที่เจอมาเป็นยังงั้นพร้อมปลูกฝังล้างสมองดังนั้นพวกเด็กพวกเนี้ยะ รับประกันได้เกลียดเสื้อแดงกันแทบทั้งนั้นชื่นชมพวกทหารพอดีมาเรียนป.ตรี เกิดตาสว่างแถมมาปีนเกลียวต่อต้านพวกเผด็จการก็เลยอยากจะตามมาล้างสมองต่อ มากกว่าที่อ้างว่าฝึกอาวุธไม่เป็นอะไร
- Maha Arai ที่อ้างว่ามีสนธิสัญญาห้ามเด็กถืออาวุธทำไมพวกปี3สมัยเราเรียนเมื่อยี่สิบกว่า ปีมาแล้วถึงให้ยิงปืนจริงมี้เป้าเช็คคะแนนเพื่อนบางคนยิงแม่นส่วนเราแทงสนุก ใกล้ๆยังไม่แม่นเลยพวกให้ยิงห่างเกือบร้อยเมตรหรือเกิรไม่รู้ไกลมากตาก็สั้น ยิงไปแจกให้คนอื่นหมดเลยเป้าสะอาดอิอิ
- Maha Arai ดังนั้นอ้างข้อนี้ไม่ได้หรอกเพราะยิงจริงมายี่สิบกว่าปีแล้วเพียงแต่ไม่ได้ฝึกยิงอะไรแค่ท่าได้ก็ให้หลับหูหลับตายิงกันไปแล้วเก็บคะแนน
- Maha Arai เมื่อ ข้ออ้างไม่มีเหตุผลจริงก็แสดงว่าต้องการคุมนิสิตให้ได้ไม่งั้นมันอาจเป็นพวก ฟรีสมยศตาสว่างอะไรมากกว่าแถมพวกเรียนเพิ่มอีกสองปีก็ไม่คิดว่าจะเก่ง มากกว่าดูจากการฝึกมาสามปีหนักไปทางฝึกจัดแถวเพื่อเดินสวนสนามวันจบให้สวยๆ มีระเบียบอะไรมากกว่า
http://www.facebook.com/maha.arai
----------------------------------------------------------
ทบ.เล็งแก้กฎกลาโหม ชง ร.ด.ต้อง "เกณฑ์ทหาร" จ่อให้อภิสิทธิ์เฉพาะคนเรียนจบปี 5
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 16:57:17 น.
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารต้องเกณฑ์ทหารว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมาทาง นรด.มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวาห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ น.ศ.วิชาทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเทียบเท่าการฝึกทหารเกณฑ์ ซึ่งคนที่เรียนจบ ร.ด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งเป็นทหารยศนายสิบ หากต้องออกมาปฏิบัติงานก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะถ้าการฝึกผู้บังคับบัญชาอ่อนกว่า จะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกเพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำ
พล.ท.วิชิตกล่าวว่า ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นนั้น ต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม แต่ในส่วน พ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.2503 คงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น โดยในปีหนึ่งๆ จะมี น.ศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุด คือ กล้าเสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องประเทศชาติ ส่วนกรณีที่มีปัญหาว่า มีผู้ปกครองวิ่งเต้นให้บุตรหลานได้เรียน รด. เพื่อไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบ ไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้มาก ว่า อย่าไปเชื่อใครที่บอกว่า จะช่วยเหลือต่างๆ ได้
"กองทัพไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามา ก็ต้องเจอกัน อย่าคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ เพราะบางคนมีบุตรชาย แต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ขอย้ำว่าการเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิด และเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ผมให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ทั้งนี้ ยอมรับว่าหากเปิดให้มีการเรียน รด.มากขึ้น จะเกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน เพราะคนที่เรียน รด.ได้ คือ คนที่จบ ม.3 และต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนต่อ จบ ม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงานจะไม่มีโอกาสได้เรียน รด. และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ผมมองว่า ไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้เรียน รด. 100 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าแล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร" พล.ท.วิชิตระบุ
ด้าน พล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงิน ที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียน รด. ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วอาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือน เหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้นไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหาร จะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากลระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4-5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็น ก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้ อาจเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด
พล.ต.ทวีชัยกล่าวต่อว่า ขณะนี้มี น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 1-3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่ 4-5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียน รด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่ 4-5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนชั้นปีที่ 3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบ ต้องการให้ น.ศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่ 5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเอง และปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรองเพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐ ที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์เป่านกหวีดปรี๊ดเดียวก็มีกำลังพล 2 กองพล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที
"น.ศ.วิชาทหารของไทย มีระดับการเรียนเกรด 3-4 ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้ว สติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้" พล.ต.ทวีชัยระบุ
ขณะที่ พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ตามเจตนารมณ์ 6 ข้อ ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มอบให้ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 เรื่องการพัฒนาระบบกำลังสำรอง เป็นเจตนารมณ์ประการหนึ่ง ที่ให้มีการพิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นทหาร ตลอดจนพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ทหารกองประจำการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา ทั้งนี้ ระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกให้เกิดความเหมาะสม เช่น พิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหาร โดยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในการเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร นอกจากนี้ หากมีการรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราส่วนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการในแต่ละผลัดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติงานของหน่วย ที่มีการบรรจุทหารกองประจำการได้
"หากจะมีการปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร จะมีการประชุมหารือเพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการปฏิบัติงานในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม" พ.อ.ธนาธิปกล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360057489&grpid=00&catid&subcatid
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 16:57:17 น.
พล.ท.วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) มีแนวคิดที่จะให้ผู้ที่จบหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารต้องเกณฑ์ทหารว่า เรื่องนี้ยังเป็นแนวคิด ขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้ในทันที แต่ที่ผ่านมาทาง นรด.มีความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะอนุสัญญาเจนีวาห้ามไม่ให้เด็กฝึกอาวุธ จึงทำให้ น.ศ.วิชาทหารไม่สามารถฝึกอาวุธได้อย่างเข้มข้นเทียบเท่าการฝึกทหารเกณฑ์ ซึ่งคนที่เรียนจบ ร.ด.ชั้นปีที่ 3 จะได้รับการแต่งตั้งเป็นทหารยศนายสิบ หากต้องออกมาปฏิบัติงานก็มีสิทธิปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้ เพราะถ้าการฝึกผู้บังคับบัญชาอ่อนกว่า จะไปออกคำสั่งได้อย่างไร ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกเพื่อให้สมกับที่มีการประดับยศเป็นผู้นำ
พล.ท.วิชิตกล่าวว่า ส่วนการผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นนั้น ต้องแก้ไขในระดับกฎกระทรวงกลาโหม แต่ในส่วน พ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.2503 คงไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้กำหนดระดับชั้น เป็นเพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น โดยในปีหนึ่งๆ จะมี น.ศ.วิชาทหารกว่าแสนคน แต่เรียนจบจริงประมาณ 8 หมื่นคน โดยการฝึกวิชาทหารอยู่ภายใต้แนวคิดลูกผู้ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารที่มีวินัยสูงกว่าคนปกติ เพราะทหารมีอุดมการณ์สูงสุด คือ กล้าเสียสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องประเทศชาติ ส่วนกรณีที่มีปัญหาว่า มีผู้ปกครองวิ่งเต้นให้บุตรหลานได้เรียน รด. เพื่อไม่ต้องการเป็นทหารเกณฑ์ นรด.เป็นหน่วยตรวจสอบ ไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชา ซึ่งปีนี้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้มาก ว่า อย่าไปเชื่อใครที่บอกว่า จะช่วยเหลือต่างๆ ได้
"กองทัพไม่ต้องการบุคคลที่ไม่แข็งแรงเข้ามาเป็นทหาร ถ้าโกงหรือวิ่งเต้นเข้ามา ก็ต้องเจอกัน อย่าคิดว่าเสียเงินแล้วสามารถวิ่งเต้นได้ เพราะบางคนมีบุตรชาย แต่ไม่อยากให้เป็นทหาร ขอย้ำว่าการเป็นทหารไม่ได้โหดร้ายอย่างที่คิด และเป็นหน้าที่ของลูกผู้ชายไทย ผมให้เกียรติทหารทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและกองทัพ ทั้งนี้ ยอมรับว่าหากเปิดให้มีการเรียน รด.มากขึ้น จะเกิดความเหลื่อมล้ำแน่นอน เพราะคนที่เรียน รด.ได้ คือ คนที่จบ ม.3 และต้องกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเท่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนต่อ จบ ม.3 แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงานจะไม่มีโอกาสได้เรียน รด. และจำเป็นต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารแทน ผมมองว่า ไม่ยุติธรรม แต่หากเปิดให้เรียน รด. 100 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าแล้วจะเอาใครมาเป็นทหารเกณฑ์ เพราะกองทัพต้องมีทหาร" พล.ท.วิชิตระบุ
ด้าน พล.ต.ทวีชัย กฤษิชีวิน ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่า น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ปัจจุบันไม่ต้องเป็นทหาร ทำให้มีการแย่งชิงกันเข้าเรียน และเกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีเงิน ที่ไม่ต้องการให้ลูกเป็นทหารด้วยการมาเรียน รด. ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องพูดคุยว่า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วอาจจะต้องเป็นทหารต่อประมาณ 6 เดือน เหมือนกับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี โดยใช้สิทธิสมัคร ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 5 นั้นไม่ต้องเป็นทหารต่อ แต่ถ้า น.ศ.วิชาทหารที่เรียนจบชั้นปีที่ 3 แล้วไม่ต้องการเป็นทหาร จะต้องเรียนให้จบชั้นปีที่ 5 ที่สำคัญกฎหมายสากลระบุว่า เด็กไม่สามารถฝึกอาวุธได้ จึงจำเป็นต้องขยายหลักสูตร โดยปรับไปอยู่ชั้นปีที่ 4-5 เพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารมากขึ้น ไม่เช่นนั้น น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 3 ยังไม่ทันยิงปืนเป็น ก็เรียนจบแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะยุติธรรมที่สุด ถ้าไม่ทำแบบนี้ อาจเป็นการเอาเปรียบคนยากจนได้ ทางกองทัพต้องหาวิธีการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งจะต้องไปศึกษารายละเอียด
พล.ต.ทวีชัยกล่าวต่อว่า ขณะนี้มี น.ศ.วิชาทหารชั้นปีที่ 1-3 ทั่วประเทศประมาณ 3 แสนกว่าคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก ส่วนชั้นปีที่ 4-5 มีอยู่ประมาณหมื่นกว่าคน จึงทำให้เกิดการแย่งกันเข้าเรียน รด.เพื่อไม่ต้องเป็นทหาร แต่คนที่เรียนชั้นปีที่ 4-5 ต้องใจรักจริง โดยจะได้ยศเทียบเท่า ร.ต. เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ส่วน น.ศ.วิชาทหารที่เรียนชั้นปีที่ 3 จะได้ยศเทียบเท่ายศนายสิบ ในฐานะที่ตนเป็นครูฝึกและเป็นหน่วยที่รับผิดชอบ ต้องการให้ น.ศ.วิชาทหารเหล่านี้เรียนจบชั้นปีที่ 5 เพื่อศักดิ์ศรีตนเอง และปลูกฝังเรียนรู้เรื่องวิชาทหาร โดยเฉพาะการช่วยเหลือสังคม ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยใช้ทหารกำลังสำรอง และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก็เพิ่งฟื้นฟูระบบกำลังสำรองเพื่อจัดให้เป็นรูปแบบระบบใหม่ โดยจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐ ที่มีการพัฒนาเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะสิงคโปร์เป่านกหวีดปรี๊ดเดียวก็มีกำลังพล 2 กองพล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที
"น.ศ.วิชาทหารของไทย มีระดับการเรียนเกรด 3-4 ถือว่ามีสติปัญญาดี แต่เมื่อมาฝึกระยะสั้นจะไม่ได้ผล แม้ว่าครูฝึกจะมีการสอนภาคปฏิบัติต่างๆ ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปร่าง แต่ถ้าเรียนต่อไปถึงปี 5 จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ถ้านำคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือมาเกณฑ์ทหารนั้น ความรู้ความสามารถอาจจะน้อยกว่าผู้ที่เรียนหนังสือ กองทหารที่พัฒนาแล้วจะต้องมีทหารที่มีสติปัญญา เพราะนอกจากกำลังกายแล้ว สติปัญญาก็สำคัญ กองทัพต้องมีการพัฒนา แต่ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้เลือก อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวจะต้องไปแก้ไขที่กฎกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร กองทัพไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจ เพราะทุกอย่างเป็นกฎหมายหมด และคิดว่าคงยังไม่เกิดในเร็วนี้" พล.ต.ทวีชัยระบุ
ขณะที่ พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ตามเจตนารมณ์ 6 ข้อ ของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มอบให้ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บังคับหน่วยขึ้นตรง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 เรื่องการพัฒนาระบบกำลังสำรอง เป็นเจตนารมณ์ประการหนึ่ง ที่ให้มีการพิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามาเป็นทหาร ตลอดจนพิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์ทหารกองประจำการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา ทั้งนี้ ระบบการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกให้เกิดความเหมาะสม เช่น พิจารณาทบทวนวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชาทหาร โดยให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในการเข้ามารับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร นอกจากนี้ หากมีการรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราส่วนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการในแต่ละผลัดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในการปฏิบัติงานของหน่วย ที่มีการบรรจุทหารกองประจำการได้
"หากจะมีการปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร จะมีการประชุมหารือเพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบัน โดยพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการศึกษาและการปฏิบัติงานในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม" พ.อ.ธนาธิปกล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360057489&grpid=00&catid&subcatid
----------------------------------------------------------
แถมอีกประเด็น
การเน้นผลิตนายทหารเยอะๆ เป็นแสนๆ คนต่อปี
เวลามีเหตุมีเรื่องต้องใช้ในสงคราม
จะมีนายทหารเยอะกว่านายสิบหรือพลทหารอีก
ถามว่า มันใช่วิธีการจัดการกองทัพจริงหรือ
โดย มาหาอะไร
FfF