<<< การตั้งผู้นำในองค์กรโดยเน้นเส้นสาย ไม่สนใจความรู้ความสามารถ องค์กรนั้นจะเสื่อมในไม่ช้า ถ้ามีวิกฤตมาทดสอบความสามารถผู้นำองค์กร >>>
Wake Up Guys และ อีก 6 คน ถูกใจสิ่งนี้
Maha Arai
บทเรียนที่เห็นได้ชัดกรณีนี้คือ การตั้งผู้ว่าแบงชาติ จนเกิดมีวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 40 นายเริงชัย ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่า อาจเป็นเพราะสนิทสนมกับนักการเมืองใหญสมัยนั้นทั้งๆ ที่ความเชี่ยวชาญส่วนใหญ่หนักไปทางคุมการผลิตแบงค์หรือโรงกษาปณ์อะไรพวกนี้
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
ในขณะคู่แข่งที่น่าจะได้รับการโปรโมทให้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าแบงคืชาติยามนั้นเพื่อรับมือกับวิกฤตค่าเงินที่กำลังก่อตัวในช่วงแรกๆ อย่างชัยวัฒน์ ซึ่งอยู่สายงานด้านการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนและรู้เรื่องการปกป้องค่าเงินดีกว่า
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
แต่เป็นเพราะการใช้เส้นสายในการแต่งตั้งคนมาทำงานโดยไม่สนใจความรู้ความสามารถถ้าสนใจคงไม่มีใครนำคนที่เชี่ยวชาญพิมพ์แบงค์มาคุมการปกป้องค่าเงินหรือรักษาอัตราแลกเปลี่ยนอะไรหรอก อาจเป็นเพราะว่าช่วงนั้นเป็นการตรึงค่าเงินบาทเลยอาจไม่เห้นความสำคัญในการต่อสู้ปกป้องค่าเงินแบบตั้งใครมาเป็นผู้ว่าแบงค์ชาติก็ได้อะไรแบบนั้น เลยเน้นคนของตนเองที่สามารถสั่งซ้ายหันขวาหันได้ ซึ่งเป็นลักษณะปกติของพวกนักการเมืองไม่ว่าพรรคไหนส่วนใหญ่ก็มักทำกันแบบนี้ แต่ไม่ดูว่าองค์กรไหนสำควรทำแบบที่ว่าหรือสมควรใช้มืออาชีพทำงาน
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
ดังนั้นเมื่อไม่ตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อสุ้ค่าเงินเป็นแม่ทัพใหญ่หรือผู้ว่าแบงค์ชาติก็เลยเกิดอาการทำเท่าที่สั่ง ในการให้การของชัยวัฒน์ต่อ ศปร. ตอนหนึ่งดังนี้
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
...117. ถ้าจะใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบนโยบายปกป้องค่าเงินบาทกับวงจรไฟฟ้าต่อไป ในเมื่อไม่มีกลไกอัตโนมัติที่มีอยู่ในระบบที่จะตัดปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ แล้ว อย่างน้อยก็ควรจะมีใครใน ธปท. ที่จะดึงสายออกถ้าเห็นว่าระบบวงจรไฟฟ้ากำลังมีปัญหา และอาจก่อให้เกิดอันตรายอันใหญ่หลวงได้ การแบ่งส่วนองค์กรของ ธปท. มิได้เอื้ออำนวยให้มีใครทำหน้าที่นั้น ยกเว้นตัวผู้ว่าการเอง
การแบ่งส่วนองค์กรภายใน ธปท. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องค่าเงินบาท
118. การแบ่งส่วนองค์กรภายใน ธปท. ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องเงินทุนสำรองและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ครั้งหนึ่งเคยมีเอกภาพพอสมควร เพราะกลไกที่ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทนั้นแทบทั้งหมดจะอยู่ในฝ่ายเดียวกันในองค์กร แต่การเริ่มใช้เครื่องมือใหม่อย่างเช่นธุรกรรม swap นั้นได้ทำให้เอกภาพนั้นหมดสิ้นไป
119. ภาพที่ 11 แสดงแผนภูมิของตำแหน่งต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องค่าเงินบาท ในด้านขวาของแผนภูมิจะแสดงถึงฝ่ายที่เคยมีบทบาทสำคัญในระบบเดิม(ก่อนปลายปี 2539) จุดศูนย์กลางในระบบนั้น จะอยู่ที่ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ดังได้กล่าวมาแล้วทุนรักษาระดับฯ เดิมเป็นหน้าต่างเดียวที่ ธปท. สัมผัสกับตลาดเงินตรา จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในยามปกติ และในอดีตจะเป็นจุดที่ใช้ปกป้องค่าเงินบาทเมื่อถูกโจมตี (ดูข้อ 107)
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
120. ตลอดเวลาที่ ธปท. ผูกค่าของเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน จุดนี้จะเป็นจุดที่ ธปท. ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนทุกเช้า เพราะฉะนั้น ผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ จึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสูงในการกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ มาเป็นเวลานานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา
121. เนื่องจากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน เพราะฉะนั้นในอดีต ฝ่ายวิชาการจะอยู่ในสายงานเดียวกันกับทุนรักษาระดับฯ มาโดยตลอด เช่นเดียวกันในปี 2539-40 นายชัยวัฒน์ นอกจากจะเป็นผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ แล้ว ก็เป็นรองผู้ว่าการธนาคารที่คุมฝ่ายวิชาการ โดยมีนางเกลียวทอง เหตระกูล เป็นผู้อำนวยการ รายงานต่อรองผู้ว่าการ ผ่านผู้ช่วยผู้ว่าการ นางธัญญา ศิริเวทิน อย่างไรก็ตาม ความใกล้ชิดของทุนรักษาระดับฯ กับฝ่ายวิชาการ มิได้หมายความว่า ฝ่ายอื่นๆ จะมิได้มีส่วนร่วม มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในทุนรักษาระดับฯ อาทิเช่น ผู้ช่วยผู้ว่าการศิริ การเจริญดี ก็เป็นผู้ช่วยผู้จัดการทุนรักษาระดับฯ และผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร (นายบัณฑิต นิจถาวร) ก็เป็นเหรัญญิกของทุนรักษาระดับฯ ในช่วงปี 2539-2540 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีบุคคลจากฝ่ายอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยในทุนรักษาระดับฯ ในที่นี้จะเรียกกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางด้านขวาของภาพที่ 11 ว่า สายวิชาการ
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
27. จะเห็นได้จากภาพที่ 11 ว่า ในปี 2539-40 สายงานที่ปกติมีบทบาทสูงและมีเครื่องมือและความรู้ในด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (สายวิชาการ) กับสายงานที่ได้รับหน้าที่เป็นผู้ใช้เงินทุนสำรองปกป้องค่าเงินบาทนั้น (สายปฏิบัติการ) อยู่กันคนละสาย อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายสองสายนี้ตามหน้าที่การงานก็คือ สายหนึ่งเป็นฝ่ายกำหนด “ราคา” คืออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสายที่ทำการค้าขายและดูแลทรัพย์สินเพื่อรักษาราคาดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ทั้งสองสายนี้จะมาบรรจบกันตรงตัวผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเป็นผู้เดียวใน ธปท. ที่คุมทั้งสองสาย
128. การจัดองค์กรในรูปแบบนี้จะทำงานได้ดีจะต้องเป็นไปตามหนึ่งในสองเงื่อนไข เงื่อนไขแรกคือ จะต้องมีการส่งต่อข่าวสารข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ขาดสายระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่เนื่องจากงานเกี่ยวกับการปกป้องค่าเงินบาทและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรักษาข้อมูลที่ตนได้รับทราบมาเป็นความลับ และรายงานให้เฉพาะตามสายงานเท่านั้น ดังนั้น การรายงานข้ามสายจึงถูกจำกัดลงพอสมควรมีข้อยกเว้นอยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับทุนรักษาระดับฯ ในเมื่อนายบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายการธนาคาร เป็นเหรัญญิกของทุนรักษาระดับฯ อยู่ด้วย สายปฏิบัติการจะทราบความเคลื่อนไหวในด้านทุนรักษาระดับฯ ได้ดี แต่ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่จากสายวิชาการที่มีบทบาทในด้านการปฏิบัติการ
ยกเว้นเมื่อผู้ว่าการเรียกประชุม เนื่องจากข้อจำกัดในการส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสองสาย จึงต้องพึ่งเงื่อนไขที่สอง กล่าวคือ ผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้ที่สามารถรวบรวมเอาข้อมูลจากทั้งสองสายมาแปรเป็นแนวนโยบายที่สั่งการต่อไปได้ เพราะในที่สุด ในเรื่องนี้ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนแล้วอำนาจสุดท้ายภายใน ธปท. อยู่ที่ผู้ว่าการ ที่จะต้องเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุมัติและดำเนินการ นายเริงชัยได้ให้คำชี้แจงแก่ ศปร. ที่สะท้อนให้เห็นว่าเงื่อนไขทั้งสองเป็นไปได้หรือไม่
"ในการบริหารงานเกี่ยวกับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารทุนสำรองทางการนั้น กระผมตระหนักดีว่า มีความสำคัญ และกระผมมีประสบการณ์ความรู้ในเรื่องนี้น้อย จึงได้กำหนดให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการธนาคาร และทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน และได้แต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ที่ดีที่สุดรับผิดชอบในสายงานด้านนี้ให้สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ของทุนรักษาระดับฯ ด้วย”
แก้ไขแล้ว · ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
129. แต่ฝ่ายนายชัยวัฒน์ ผู้ซึ่งอยู่สายทุนรักษาระดับฯ กลับมีความเห็นตามบันทึกคำชี้แจงต่อไปนี้
"ต่อคำถามที่ว่ารู้หรือไม่ว่าแทรกแซงไปเท่าไรและใช้ทุนสำรองไปเท่าไร และมีภาระผูกพันอีกเท่าใดนั้น นายชัยวัฒน์ชี้แจงว่า ในหลักปฏิบัตินั้นเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องลับมากและจะรู้กันในเฉพาะสายงานเท่านั้น ซึ่งสายงานด้านนี้ ผู้ว่าการได้มอบหมายให้ผู้ช่วยผู้ว่าการ [คือนายศิริ การเจริญดี] รายงานโดยไม่ต้องผ่าน รองผู้ว่าการ ดังนั้นในเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ไม่ปฏิเสธว่ามีบางจุดที่เกี่ยวข้องในแง่ของการมองภาพรวม แต่ในบางสิ่งก็จะมีบทบาทจำกัดอยู่เท่าที่ได้รับมอบหมายให้เกี่ยวข้องรับผิดชอบ แต่การที่จะไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของฝ่ายการธนาคารทุกวันนั้น คงไม่เป็นการสมควรเนื่องจากไม่ได้ อยู่ในสายงาน สำหรับคำถามที่ว่าหากไม่รู้ตัวเลขทุนสำรองนั้นจะสามารถให้คำปรึกษาหารือในการประชุมได้อย่างไรนั้น นายชัยวัฒน์ได้ชี้แจงว่า คงขึ้นอยู่กับกรอบที่ว่าเขาต้องการให้ตนเองรู้มากขนาดไหน ได้ย้ำว่า การที่ไม่ได้อยู่ในสายงานแต่ไปดิ้นรนคงไม่เป็นการสมควร อีกทั้งการจัดระบบงานก็ไม่ได้ให้ตนเองดูแลการที่จะให้มารายงานวันต่อวัน คงเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามได้เคยถามตัวเลขและก็ได้รับคำตอบเป็นครั้งคราว ในลักษณะที่ถามครั้งก็ได้รับคำตอบครั้ง นอกจากนี้แล้วนายชัยวัฒน์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นตัว key และบางครั้งจะมองเหมือนว่าตนเองเป็นผู้รับผิดชอบมากมาย แต่ในกระบวนการตัดสินใจนั้น บางครั้งเมื่อที่ประชุมตกลงกันก็ยังมอบหมายให้คนอื่นเป็นผู้ดำเนินการต่อไป
ต่อคำถามที่ว่าหากไม่รู้ตัวเลขต่างๆ นั้น จะสามารถ brief เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้รัฐมนตรีอำนวยทราบได้อย่างไร นายชัยวัฒน์ได้ตอบว่า เรื่องทุนสำรองนั้น ตอบได้เฉพาะในส่วนของ EEF [ทุนรักษาระดับฯ] และท่านรัฐมนตรีถาม net position ว่าเท่าไรก็ไม่สามารถตอบได้ จนกระทั่งได้ยินผู้ว่าการเริงชัยตอบจึงได้ยินเป็นครั้งแรก”
แก้ไขแล้ว · ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
130. จะเห็นได้ว่าคำชี้แจงของนายเริงชัย มะระกานนท์ กับนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสายปฏิบัติการกับสายวิชาการ และในบทบาทของแต่ละฝ่าย ดังนั้นในการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้นอกจากประเด็นที่จะต้องดูแลอยู่แล้วคือใครตัดสินใจอะไรอย่างไรและเมื่อใด ยังจะต้องเน้นเป็นพิเศษในประเด็นที่ว่า ใครทราบอะไรเมื่อใด อีกด้วย
131. ความจริงแล้ว ถ้าผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. สามารถบริหารงานกันได้อย่างกลมเกลียว สมกับปณิธานของผู้ว่าการเริงชัย มะระกานนท์ (“ในโอกาสที่กระผมรับตำแหน่งผู้ว่าการ ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคี ทำงานร่วมกันเป็นทีมเดียวกันเพื่อดึงศักยภาพของพนักงานในธนาคารออกมาให้มากที่สุด”) สายบังคับบัญชาอย่างเป็นทางการก็จะเป็นอุปสรรคน้อยกว่าที่เป็น เพราะจะถูกทดแทนกันด้วยการสื่อสารข้ามสายอย่างไม่เป็นทางการโดยไม่สูญเสียความลับที่จำเป็นต้องมีอยู่ ในช่วงวิกฤตนั้นการทำงานร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ อาจจะดีกว่าการเกร็งอยู่กับสายบังคับบัญชา ในด้านนี้ หลังจากที่ได้รับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ ธปท. ทั้งหลาย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วย ศปร. มีข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างนายเริงชัยกับนายชัยวัฒน์ มิได้เป็นความสัมพันธ์ฉันมิตรที่เคยร่วมทำงานในองค์กรเดียวกันมาเป็นเวลานับสิบปี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะสองท่านนี้เป็นผู้ที่มี บทบาทสูงในด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนและการปกป้องนโยบายดังกล่าว
...
http://maha-arai.blogspot.com/2009/05/blog-post_5771.html
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
จะเห็นว่าที่ศปร.สรุปว่า ผู้ว่าที่ไม่รู้เรื่องหรือเชี่ยวชาญการปกป้องค่าเงินกับรองผู้ว่าที่เชี่ยวชาญมากกว่าเพราะทำมานานหลายสิบปี ไม่กลมเกลียวกันมันก็แหงอยู่แล้วถ้าใช้หลักจิตวิทยา การเลือกให้ใครมาเป็นแม่ทัพก็ต้องแสดงว่าคนนั้นต้องเชี่ยวชาญการรบมากกว่าเพื่อนถ้าเป็นลักษณะนี้ก็จะไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าเลือกคนไม่เก่งกว่ามานำคนที่เก่งกว่าจะเกิดอาการปีนเกลียวกันขึ้น ถ้าคนที่เก่งกว่าไม่ได้เป็นแม่ทัพ ก็จะไม่เต็มที่แม้ปากจะบอกว่าช่วยแต่ยังไงก็ต่างจากที่เขาเป็นแม่ทัพมันเต็มที่มากกว่ากัน
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
ในสามก๊กช่วงโจโฉแตกทัพก็มีกล่าวถึงความสำคัญของแม่ทัพ ที่เชี่ยวชาญการรบทางน้ำ ทำให้ฝ่ายจิ๋วยี่และขงเบ้งยังไม่กล้าลุยตรงๆ กับทัพโจโฉ หลังจากออกอุบายให้เจียวก้านพวกขยันแต่โง่โดนซ้อนกลจนโจโฉหลงกลกำจัดแม่ทัพที่เชี่ยวชาญทางน้ำของตนด้วยความระแวง แล้วยังหลงเชื่อกลยุทธ์ห่วงโซ่บังทองผูกเรือติดกันมันจะได้ไม่โคล่งทหารจะได้ไม่เมา สุดท้ายโดนเผาเรียบหนีตายไปได้ไม่กี่คนชนิดโจโฉต้องอ้อนวอนขอชีวิตเพื่อเอาตัวรอดเลยทีเดียวหลังจากอหังกาช่วงทัพยังไม่แตกมีทหารเรือนแสน
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
Maha Arai
นี่ก็ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ถ้าผู้นำทัพหูเบา ไม่เชี่ยวชาญการรบจริง ไม่รอบคอบพอ อาศัยบารมีหรือมีไพร่พลมากๆ มานำการรบ ก็อาจจะโดนหลอกล่อจากฝ่ายตรงข้ามทำความฉิบหายให้กับกองทัพของตนจนแพ้ย่อยยับได้ไม่ยากเหมือนกัน
ถูกใจ · แก้ไข · 15 มกราคม
http://www.facebook.com/maha.arai
--------------------------------------------------
FfF
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.