บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


27 พฤษภาคม 2556

<<< ข่าวดี ผบ.ทบ. รับปากว่าจะไม่ทำรัฐประหาร ข่าวร้าย ไม่เคยมี ผบ.ทบ. ที่ให้คำมั่นแบบนี้แล้วทำได้สักครั้งเดียว ฮา >>>

Maha Arai ได้แชร์ลิงก์ 

<<< ข่าวดี ผบ.ทบ. รับปากว่าจะไม่ทำรัฐประหาร ข่าวร้าย ไม่เคยมี ผบ.ทบ. ที่ให้คำมั่นแบบนี้แล้วทำได้สักครั้งเดียว ฮา >>>

http://www.posttoday.com/การเมือง/224524/ผบ-ทบ-รับปากนายกฯไม่ทำรัฐประหาร
  • Sibpakorn Songpun, Red Freedom, Pocky Waraporn และ คนอื่นอีก 2 คน ถูกใจสิ่งนี้
  • Maha Arai ไม่ต้องย้อนไปไกลถึงยุคชาติชาย จำไม่ได้ใครไปถามนายทหารใหญ่ว่าจะปฏิวัติรัฐประหารไหม ได้คำตอบประมาณมองหัวแม่ตีนก็รู้ใจอะไรเนี้ยะจำไม่ได้เอาเป็นว่ามีการปฏิเสธ ตลอด สมัยสนธิ บัง ด้วย เอาสมัยเมื่อไม่กี่ปีสมัยอนุพงษ์ดีกว่าตามข่าวนี้
    http://hilight.kapook.com/view/31303

  • Maha Arai จำข่าวอนุพงศ์ยกพวกไปออกทีวีช่อง 3 กดดันให้รัฐบาลลาออกไหม จนเป็นที่มาที่เขาว่าเป็นการปฏิวัติทางหน้าจอทีวีอ่ะ อย่างฮา เชื่อได้ไหมพวกเลือดทหารเนี้ยะ
  • Maha Arai ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันออกอากาศในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 โดยมี นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[8]

    ซึ่งการที่ผู้นำเหล่าทัพทั้งหมดได้พร้อมใจกันออกรายการโทรทัศน์เรียกร้องให้ รัฐบาลลาออกครั้งนี้ ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงมีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เป็น "การปฏิวัติผ่านหน้าจอ"[9]
    http://th.wikipedia.org/wiki/การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย_7_ตุลาคม_พ.ศ._2551
  • Maha Arai แม้เหตุการณ์มันจะไม่เรียงกันก็ตามแต่คำพูดกับการกระทำมันสวนกันตลอดสุดท้ายโดน ถีบด้วยพวกตลก. กรณีนี้ก็เหมือนกันตามโปรแกรม 29 นี้อาจแค่ลงมติว่าตัดสินเลยไม่ต้องไต่สวนมีที่เดียวในโลกที่จะทำแบบนี้ได้ ซึ่ง29-31 เป็นการอภิปรายงบประมาณเสียด้วยและ 31 ลงมติ
  • Maha Arai 28 ม็อบนั่นนี่จ่อมาชุมนุม ไม่รวมที่อยู่ในสนามหลวง รอดช่วงนี้ก่อนวันลงมติไปได้ ถ้าฟลุ๊คจริงๆ ก็ไปลุ้นเดือนหน้าและจนสิ้นปีงานนี้เขาจ้องถีบอยู่แล้วอยู่ที่ว่าช้าหรือ เร็ว เพราะฉะนั้นอย่าไปเคลิ้มมากว่า ผบ.ทบ.ไม่รัฐประหารแล้วจะรอดเพราะยังไม่มีพวกตลก.ออกมายืนยันว่าจะไม่ประหาร รัฐ ต่อให้ยืนยันเครดิตที่ผ่านทั้งพวกรถถังทั้งค้อนพอกันเชื่อไม่ได้หรอก
  • Maha Arai อีกอย่างมีแต่ผบ.ทบ.ที่เสียสติเท่านั้นที่เวลารัฐบาลถามหรือผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำรัฐประหารไหม แล้วตอบฉะฉานว่าทำแน่ จะทำวันนั้นวันนี้ บ้าแน่ๆ ดังนั้น คำถามที่ตอบตรงๆ ไม่ได้แบบนี้ก็ไม่น่าไปถามให้เสียเวลาเอามาเคลิ้มกันน่ะ ใครมันจะบอกล่วงหน้าว่าจะทำให้โดนปลดโดนเล่นก่อนนอกจากคุมสถานการณ์ไว้หมด แล้วไม่ยี่หร่ะอะไรพูดไปยังไงก็ได้รัฐไม่กล้าหือถึงกล้าพูดว่าจะทำรัฐประหาร จะทำไม ได้
  • Maha Arai เบื้องหน้าทำเนียนสุดชีวิตว่าจะไม่ทำการรัฐประหารเบื้องหลังแอบสั่งพรรคการเมือง ให้หนุนปชป.แถมพากันไปจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร อดีตที่สุดอัปยศกับคำมั่นสัญญาว่าจะไม่รัฐประหาร "
    "แต่ที่สำคัญสำคัญคือ มีคำขอจากนายทหารใหญ่อ้างบุคคลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งคิดว่า ถึงเวลานี้(ค่ำวันที่ 6 ธันวาคม) คงอนยู่กับพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน แต่เชื่อว่า ในวันลงมติเลือกนายกฯคงมีการทุ่มซื้อตัว ส.ส.กันอย่างมาก" แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเดิมกล่าว

    ขณะ เดียวกัน มีกระแสข่าวว่า ช่วงบ่ายวันที่ 6 ธันวาคม นายสุเทพ เทือกสุบบรณ นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ ส.ส.สัดส่วน นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายสุชาติ ตันเจริญ แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ พรรคเพื่อแผ่นดิน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวินบางส่วน เดินทางด้วยรถตู้ไปยังกองพันทหารรายที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นบ้านพักรับรองของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก่อนที่จะมีการร่วมแถลงข่าวที่ให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล "
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1228582285&grpid=10&catid=01

  • Maha Arai แถมกรณีสนธิบัง ปฏิเสธการทำปฏิวัติรัฐประหาร ที่เนียนได้ถ้วยเลย
    "เบื้องลึก “ข่าวลือปฏิวัติ”
    ย้อน กลับไปในเดือนพฤษภาคม 2549 ท่ามกลางความอึดอัดอันเนื่องมาจากสัมพันธภาพอันสั่นคลอนระหว่างกองทัพกับ รัฐบาล มีรายงานข่าวเชิงลึกระบุว่า วันหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปิดฉากถาม พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ตรงๆ ว่า...
    “พี่จะปฏิวัติผมเหรอ”!?
    คำตอบที่ได้รับจาก ผบ.ทบ.ที่ผ่านการรบมาโชกโชนก็คือ “ถ้าผมยังอยู่ในตำแหน่ง การปฏิวัติจะทำไม่ได้ แต่ถ้ามี คนที่จะทำได้คือผม”
    ...
    -13 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายอย่าเชื่อกระแสข่าวที่สร้างความหวาดระแวงแคลงใจกัน ระหว่างกองทัพกับรัฐบาล โดยระบุว่าข่าวที่ปรากฏเป็นงานด้าน “การข่าวลวง” เพื่อปรามผู้ที่คิดจะกระทำ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเลิกพูดเรื่องการปฏิวัติ “เพราะเป็นไปไม่ได้” แม้จะยอมรับว่าที่ผ่านมา ได้รับจดหมายจากประชาชนที่เรียกร้องให้ทหารออกมาจัดการปัญหาการเมือง จำนวนเกือบล้นลิ้นชัก

    -17 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ ยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่ใช้วิธีทางทหารเข้าไปแก้ไขปัญหาการเมือง และตอกย้ำว่า “ทหารอาชีพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” และ “การเมืองก็อย่าเข้ามายุ่งกับทหาร” "
    ...
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=7428
  • Maha Arai ประวัติช่วงปล้นอำนาจชาติชายน่าสนใจหลายเรื่อง กรณีปฏิเสธแม้วินาทีสุดท้ายตอนไปส่งชาติชายขึ้นเครื่องแบบนี้เนียนสุดๆ
    "เมื่อ ปี 2535 พล.อ.ชาติชาย นายกรัฐมนตรี ถูกจับกุมตัวบนเครื่องบินขณะนำ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกฯเข้าเฝ้าถวายสัตย์ มีนายทหารไปส่งกันเต็มไปหมด รวมทั้ง พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.ในสมัยนั้น ที่เพิ่งบินกลับด่วนจากสิงคโปร์ ก็ถูกนักข่าวที่เริ่มได้กลิ่นไอของการปฏิวัติ ถามว่า จะมีการปฏิวัติหรือไม่

    พล.อ.อ. เกษตร ก็ตอบนักข่าวว่า ไม่มี ใครจะปฏิวัติ ผมรับข่าวจากนักข่าวได้เพียง 30 นาที จากนั้นไม่นานนักข่าวก็ส่งข่าวมาอีกว่า "เรียบร้อยแล้วพี่" ผมสงสัยว่าเรียบร้อยอะไร ในเมื่อเอ็งส่งข่าวมาเสร็จเรียบร้อยตั้งนานแล้ว

    นัก ข่าวบอกกับผมว่า ทหารจับตัว พล.อ.ชาติชาย และ พล.อ.อาทิตย์ไว้บนเครื่องบินเรียบร้อยแล้ว และถือว่า รสช.ได้ก่อการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐเรียบร้อยแล้ว

    เวลา แค่ 20-30 นาทีเท่านั้นเอง เขาบอกว่าไม่มีปฏิวัติ ความลับต้องถูกปิดอย่างเงียบสนิท รู้ได้เฉพาะคนที่จะเข้าร่วมในการก่อการเท่านั้น บางคนที่ไม่ไว้ใจเขาไม่ให้เข้าร่วมสมคบคิด แต่ค่อยไปเอาปืนจ่อหัวมาทีหลัง
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=552892"

https://www.facebook.com/maha.arai

---------------------------------------------------

ผบ.ทบ.รับปากนายกฯไม่ทำรัฐประหาร
27 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:49 น.

ยุทธศักดิ์เผยวงถกนายกฯกับผบ.เหล่าทัพบนโต๊ะดินเนอร์ชื่นมื่น ผบ.ทบ.รับปากไม่ทำรัฐประหาร

สำนักข่าวทีนิวส์ รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ว่า บรรยากาศการพูดคุยและรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผบ.เหล่าทัพที่โรงแรมพลาซา แอทธินี รอยัล เมอริเดียน เมื่อคำวันที่ 26พ.ค. เป็นไปด้วยความชื่นมื่น คุยกันสนุกสนาน มีการหยอกเย้ากันบ้าง ผบ.ทบ.รับปากว่าจะไม่มีการทำรัฐประหาร และจะทำหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล ฝ่ายความมั่นคง และกองทัพ

"กินข้าวกันเมื่อคืนบรรยากาศดี คุยกันสนุกสนาน มีการหยอกเย้ากันบ้าง ทาง ผบ.ทบ.ท่านก็รับปากในที่ประชุมว่า จะไม่มีการทำรัฐประหาร เพราะทหารทำตามหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ท่านนายกฯ ได้ยินแบบนี้ก็ชื่นใจ ส่วนรัฐบาลเองก็ยืนยันไปว่า ไม่เคยมีความคิดที่จะย้าย ผบ.ทบ. การคุยกันครั้งนี้ทำให้เห็นความร่วมมือกันระหว่างความมั่นคง ทหาร และรัฐบาล" พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าว

http://www.posttoday.com/การเมือง/224524/ผบ-ทบ-รับปากนายกฯไม่ทำรัฐประหาร

---------------------------------------------------

บิ๊กป๊อก ย้ำผบ.เหล่าทัพลงมติ ไม่ปฏิวัติ ย้ำจุดยืน 3 หลัก



พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา

          "อนุพงษ์" เผย ผบ.เหล่าทัพลงมติ "ไม่ปฏิวัติ" แก้ปมการเมือง ย้ำจุดยืนกองทัพยึด 3 หลัก "รักษาสถาบันกษัตริย์ ป้องกันเหตุปะทะ ยึดหลักกฎหมาย" แก้วิกฤติชาติ ปัดต่อสายรายงานสถานการณ์ต่อนายกฯ

          เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 25 พ.ย. ที่กองทัพบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯว่า ต้องแยกเป็น 2 ส่วนในการทำให้สังคมสงบเรียบร้อย ส่วนหนึ่งเราจัดกำลังรวมกับตำรวจที่มีหน้าที่หลักไปรวมดูแลความสงบเรียบร้อย เดิมกองทัพดูอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม ซึ่งจัดจุดที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยเพิ่มอีกหลายจุดรวมกับตำรวจ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ อีกส่วนคือการดูแล กรณีที่จะมีกลุ่มพลังความเห็นต่างกันมาปะทะกัน เรามีแผนเตรียมไว้รองรับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิด แต่เราให้กำลังเตรียมพร้อมไว้แล้ว

          เมื่อถามว่า มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในประเทศเปรูหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้คุย ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ตนโทรศัพท์พูดคุยกับนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นเพียงข่าว เพราะตนติดอยู่ในที่ประชุม

          เมื่อถามว่า ห่วงหรือไม่ว่าพันธมิตรยั่วยุตำรวจจนเจ้าหน้าที่หมดความอดทน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จากการประชุม คตร. ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่าตำรวจจะไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการลงไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานมีความประนีประนอม อะลุ่มอะลวย ส่วนผู้ชุมนุมก็ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งสองฝ่ายไม่มีสัญญาณ หรือสิ่งบอกเหตุว่าจะมีความรุนแรง ดังนั้น ตำรวจคงไม่ต้องอดทน เพราะทำงานตามปกติ เราเป็นประชาชนเหมือนกัน  

          เมื่อถามว่า ส่วนตัวอยากให้กระแสสังคมตัดสินการชุมนุมแต่กองทัพอยู่เฉย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็ดี เพราะหากเราไปตัดสินไม่เป็นฉันทามติและจะไม่จบ เมื่อถามว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพจะดำเนินการอย่างไร เพราะพันธมิตรประกาศจะไปล้อมกองทัพไทย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพมีการพูดคุย เมื่อเช้าวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปลัดกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มีการพูดคุยและประเมินว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร ยืนยันว่าสถานการณ์ขณะนี้อยู่ในสถานะที่เป็นการแสดงความคิดเห็นไม่มีความ รุนแรง

          "จุดยืนกองทัพเห็นตรงกันว่า 1.ทหารทุกเหล่าทัพจะดูแลประเทศชาติบ้านเมือง โดยมีแนวคิดดูแลสถาบันหลักของชาติไว้ให้ได้ สถาบันพระมหากษัตริย์หรือประชาชนที่ต้องมีความสงบเรียบร้อย 2.ส่วนเรื่องประกันว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ผบ.เหล่าทัพเห็นตรงกันว่าจะใช้มาตรการและศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้คนมาปะทะกันทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น และ 3.ยึดแนวทางกระบวนการยุติธรรม หรือกฎหมายเป็นหลักในการช่วยกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว 

          เมื่อถามว่า แสดงว่าทหารจะไม่ใช้การปฏิวัติอย่างที่หลายฝ่ายเรียกร้อง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่าการปฏิวัติเป็นแนวทางอื่น ยังไม่น่าที่จะแก้ไขปัญหาประเทศได้ ซึ่งทุกส่วนและทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่าจะยึดแนวทางหลัก 3 ประการ เพื่อประคองให้สถานการณ์ประเทศชาติ ผ่านวิกฤติไปได้

          เมื่อถามว่า แนว ทางกดดันกลุ่มพันธมิตรรัฐบาลควรทำอย่างไรให้การบริหารเดินไปได้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ต้องไปถามรัฐบาล เมื่อถามว่า หากจะดำเนินการอะไรต้องรายงานให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทยรับทราบสถานการณ์หรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า พล.ต.อ.โกวิท ยังไม่ติดต่อมา และไม่ทราบท่านได้รับมอบหมายจากรัฐบาลมาอย่างไร

          เมื่อถามว่า แสดง ว่า ผบ.ทบ.จะรายงานตรงนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ไม่มีการรายงาน เพราะคงเป็นการรายงานรวมของสถานการณ์ของ ผบ.ตร. หากมีอะไรพิเศษ แต่ขณะนี้ยังไม่มีอะไรพิเศษ และตนยังไม่มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 

http://hilight.kapook.com/view/31303

---------------------------------------------------

เบื้องลึก ปชป.พลิกขั้วชิงธงแถลงตั้งรัฐบาล หนุน "อภิสิทธิ์"นายกฯ-ประกาศิต"คำขอ"ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 08:40:02 น.
 



เหตุผลที่ต้องเข้าร่วมกับพรรค ประชาธิปัตย์เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่เห็นว่า ถ้าให้เพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะเกิดวิกฤตในลักษณะเดิมคือการประท้วง ของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ที่สำคัญสำคัญคือ มีคำขอจากนายทหารใหญ่อ้าง"บุคคลที่ไม่อาจปฏิเสธได้"

เป็นการชิงไหวชิงพริบอย่างถึงพริกถึงขิงในการชิงธงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการสลายขั้วการเมืองเพราะ ส.ส.245 ชีวิตต้องวิ่งหาพรรคใหม่สังกัดให้ได้ภายใน 60 วัน

เมื่อโอกาสเปิดให้ มีหรือที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งชำนาญเกมการเมืองมาอย่างยาวนาน จะไม่เดินเกมเจรจาต่อรองกับกลุ่ม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลเดิมซึ่งกำลังแตกกระสานซ่านเซ็น กอปรกับสถานการณ์ของกลุ่ม ส.ส.พรรคพลังประชาชนที่ส่วนใหญ่ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทยไม่สามารถหาตัวนายก รัฐมนตรีคนที่ 27 ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนได้

รวมถึงเสียงเรียกร้องของนักธุรกิจ และฝ่ายต่างๆให้มีการเปลี่ยนการจับขั้วการเมือง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว คงเกิดการประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่หยุดหย่อนซึ่งจะนำไปสู่การปะทะนองเลือดและวิกฤตการเมืองที่ไม่มีทางออก

การเจรจาต่อรองทางการเมืองเริ่มขึ้นทันทีโดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ ส.ส.แบบสัดส่วนเป็นตัวหลัก และแกนนำของพรรคคนอื่นๆที่สามารถต่อสายกับกลุ่ม ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาลเดิมได้ เช่น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยที่ยังคงมีลูกน้องและบารมีเหนือ ส.ส.ในพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตเลขาธิการพรรค

ในการเจรจาต่อรองสาธารณชนพุ่งเป้าไปที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวินที่ที่อ้างว่า มีกำลังอยู่ 37 คน(แต่เอาเข้าจริงอาจมีประมาณ 20 คนเท่านั้น)ซึ่ง ไม่ยอมย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทยว่า จะเป็นตัวแปรสำคัญทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีมเสียงเกิน กึ่งหนึ่ง(224 เสียง)ในลักษณะที่มีเสถียรภาพเพียงพอคือประมาณ 250-260 เสียงได้

ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มของนายสรอรรถ กลิ่นประทุม แกนนำกลุ่มำภาคกลางของอดีต ส.ส.พลังประชาชนประมาณ 10 คน และกลุ่มวาดะห์ 2 คน

ช่วงคืนวันที่ 5 ธันวาคม ต่อ 6 ธันวาคม นายสุเทพ และนายนิพนธ์ ได้พบปะกับกลุ่ม ส.ส.และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมทุกพรรค เช่น นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทยในฐานะตัวแทนนายบรรหาร ศิลปอาชา  พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ตัวแทนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา  นายพินิจ จารุสมบัติ นายปรีชา เลาหะพงศ์ชนะ  ตัวแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน  นายเนวิน ชิดชอบ ตัวแทนกลุ่มเพื่อนเนวิน นายสรอรรถ  กลิ่นประทุม จนสามารถตกลงเงื่อนไขการร่วมรัฐบาลได้ทั้งหมด

ทั้งนี้หลักการสำคัญในการแบ่งโควตารัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ จะยึดหลัการว่า พรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่ม ส.ส. จะได้เก้าอี้เดิมเหมือนกับรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพื่อสานงานต่อเนื่อง เช่น พรรคชาติไทยเดิมจะได้เก้าอี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา กลุ่มเพื่อนเนวินได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ฯลฯ

แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นายเนวินให้เหตุผลที่ไปจับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากอยู่ขั้วเดิมต่อไปจะทำให้ความขัดแย้งไม่จบสิ้น และรัฐบาลจะมีอายุสั้น โดยมีการอ้างคำพูดตอนหนึ่งของนายเนวินที่พูดกับนายสุเทพว่า "ทักษิณไม่ไว้ใจผม อยู่ต่อไปก็ลำบาก"

แต่กลุ่มเพื่อนเนวินยื่นเงื่อนไขว่า นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลต้องเป็นนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์  ทำให้นายสุเทพ ต้องเกลี้ยกล่อมและชี้ให้เห็นว่า ถ้านายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี การต่อรองขอเก้าอี้และการต่อรองทางการเมืองจะทำได้ลำบากกว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ยอมรับความเป็นจริงทางการเมืองมากกว่า

อย่างไรก็ตามหลังจากที่นายสุเทพ แถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลว่าจะให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ ส.ส.บางคนในกลุ่มเพื่อนเนวินไม่พอใจและมีกระแสข่าวว่า อาจกลับไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ขณะเดียวกันก็มีกข่าวเช่นกันว่า แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคนมีข้อเสนอแลกเปลี่ยนในการให้ ส.ส.กลุ่มเพื่อเนวินมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยเป็นตัวเลขถึงา 7 หลัก จึงต้องดูว่า วันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีว่า เสียงจะออกมาพลิกขั้วอีกตลบหรือไม่ ซึ่งในช่วงนี้จนกว่าจะมีการเปิดประชุมสภาคงมีการล็อบบี้และการทุ่มเงินซื้อ ตัว ส.ส.กันอย่างดุเดือด

นอกจากกระแสข่าว การทุ่มซื้อตัว ส.ส.แล้ว แกนนำพรรคประชาธิปัตย์รายหนึ่งเปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคเพื่อไทยหลายคน เช่น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี  คนสนิทของนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล โทรศัพท์มาหาพล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ในช่วงบ่ายวันที่ 6 ธันวาคมหลายคนโดยเสนอให้ พล.ต.สนั่นเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการสนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่พล.ต.สนั่นปฏิเสธ

แกนนำกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิมยอมรับว่า เหตุผลที่ต้องเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์เพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่เห็น ว่า ถ้าให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลจะเกิดวิกฤตในลักษณะเดิมคือ การประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ

"แต่ที่สำคัญสำคัญคือ มีคำขอจากนายทหารใหญ่อ้างบุคคลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งคิดว่า ถึงเวลานี้(ค่ำวันที่ 6 ธันวาคม) คงอนยู่กับพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน แต่เชื่อว่า ในวันลงมติเลือกนายกฯคงมีการทุ่มซื้อตัว ส.ส.กันอย่างมาก" แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเดิมกล่าว

ขณะเดียวกัน มีกระแสข่าวว่า ช่วงบ่ายวันที่ 6 ธันวาคม นายสุเทพ เทือกสุบบรณ  นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ ส.ส.สัดส่วน นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายสุชาติ ตันเจริญ แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ พรรคเพื่อแผ่นดิน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวินบางส่วน เดินทางด้วยรถตู้ไปยังกองพันทหารรายที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นบ้านพักรับรองของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก่อนที่จะมีการร่วมแถลงข่าวที่ให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

ด้านนายจตุพรกล่าว พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชนกล่าว่า ขณะนี้มีกระแสว่า บุคคลในชุดเขียวออกมาเคลื่อนไหวล็อบบี้ให้มีการเปลี่ยนขั้วการเมือง และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็ออกมาเคลื่อนให้ตีความเรื่องสถานะของ ส.ส.สัดส่วนและการเป็นคณะรับมนตรีรักษาการ ดูผิวเผินอาจจะไม่มีอะไร แต่ความจริงคือต้องการสร้างอุปสรรคในการตั้งรัฐบาล และอยากเตือนให้นักการเมืองทุกฝ่ายได้ตระหนักว่ามีแผนเบื้องหลังของการออกมา เคลื่อนไหวของชุดสีเขียวว่ากำลังจ้องจะล้มสภา 

"ไม่ว่าจะมีการสลับขั้ว หรือเอาใครขึ้นมาเป็นนายกฯ สถานการณ์การเมืองก็จะไม่ราบรื่น การเคลื่อนของ 40 ส.ว.ก็จะเป็นการทำหมันหรือฆ่าตัดตอน ส.ส. ผมอยากบอกว่า ตอนนี้นักการเมืองกำลังถูกต้ม ขณะนี้มีทหารออกมาล็อบบี้บอกว่า ออกมาช่วยชาติ แต่ความจริงแล้วมาข่มขู่ คุกคาม เมื่อจะแทรกแซงการเมืองก็ควรปฏิวัติเต็มรูปแบบไปเลย พวกเราจะได้ต่อสู้กันตรงๆ ดีกว่า มาทำเรื่องให้สลับซับซ้อนเป็นอีแอบอยู่อย่างนี้" นายจตุพรกล่า

นายจตุพรกล่าวว่า นักการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายกำลังถูกทหารใช้เป็นเครื่องมือ เมื่อถึงจุดแตกหักแล้วคนนอกก็จะเข้ามาสวมรอยบริหารประเทศ

 จากข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งหมด แม้พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถรวบรวมแกนนำพรรคและกลุ่ม ส.ส.ชิงธงแถลงจัดตั้งรัฐบาลได้เหนือกว่าพรรคเพื่อไทยที่อ้างว่า ได้ ส.ส.ในมือ 228 เสียง

แต่การชิงไหวชิงพริบทำให้สถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเชื่อว่า "บงการ"อยู่เบื้องหลังพรรคเพื่อไทยยอมแพ้ไม่ได้ เนื่องจากมีทรัพย์สินกว่า 76,000 ล้านบาทและการหลุดพ้นจากคดีอาญาเป็นเป็นเดิมพัน

ดังนั้นกว่าจะถึงวันเปิดประชุมสภา ยังไม่รู้ว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ชื่อ"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"หรือไม่

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1228582285&grpid=10&catid=01

---------------------------------------------------

ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (3) แกะรอยยุทธการหักเขี้ยว ตท.10 - แฉนาทีกดปุ่มรัฐประหาร!!

หมายเหตุ : กลุ่มรณรงค์สื่อต้านคอร์รัปชัน ได้รับการสนับสนุนต้นฉบับเรื่อง ลับสุดยอด! "ปฐพี149" ผ่าแผนโค่นทักษิณ จากกัลยาณมิตรในแวดวงน้ำหมึก ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมการจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายโดยทั่วไป แต่เนื่องด้วยปัญหาอุปสรรคบางประการจึงไม่ได้จัดพิมพ์ และไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อน กลุ่มรณรงค์สื่อต้านคอร์รัปชัน เห็นว่าเป็นงานเขียนที่น่าสนใจและมีนัยระหว่างบรรทัดมากมาย จึงขอนำมาทะยอยเผยแพร่ ณ ที่นี่
บทที่ 3 ชิงเหลี่ยมรัฐประหาร
หลัง จากที่สังคมไทยปรับตัวรับรู้ข้อเท็จจริงและเหตุผลความจำเป็นของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ในการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว สิ่งที่หลายฝ่ายข้องใจก็คือ
รัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ระแคะระคายมาก่อนบ้างหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์?
คำตอบคือ “น่าจะรู้” เพราะระดับรัฐบาลจะไม่รู้ได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนทั่วไปยังได้ยิน “ข่าวลือ-ข่าวปล่อย” มาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็คงรู้ แต่อาจคาดไม่ถึง หรือประเมินสถานการณ์ผิด ดังที่เขาได้ให้สัมภาษณ์หลังสิ้นบัลลังก์อำนาจว่า...
"คิด ไม่ถึงจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ตอนมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตอนกลับเป็นคนตกงาน แต่ไม่เป็นไร เป็นคนไทยคนหนึ่ง เมื่ออาสาเข้ามาทำงาน แล้วเขาไม่ให้ทำ ก็ไม่ทำ"      
ส่วนที่ว่ารู้แล้ว เหตุใดจึงดูเหมือนไม่มีแผน “ป้องกัน-ต่อต้าน” นั้นเป็นเรื่องน่าคิด หรือแท้จริงแล้วก็อาจจะมีแต่ “ล้มเหลว” ก็ได้ เพราะพลันที่ฝุ่นควันแห่งการ “รัฐประหาร” จางลง ก็มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างวงในว่า
ก่อนจะเดินทางไปต่างประเทศเที่ยว นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทิ้ง “ยุทธปัจจัย” ส่วนตัวระดับ 9 หลักไว้กับ “ใครบางคน” เพื่อใช้แก้ปัญหาหากเกิด “สถานการณ์ฉุกเฉิน”
          แต่ทว่า “กระสุน” ดังกล่าวไม่ได้ถูกไปใช้ตามเป้าหมาย จะด้วยเหตุผลกลใดไม่แน่ชัด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็ต้องถือว่าเป็น “เคราะห์ดี” ของประเทศไทย หรือด้วยบุญญาบารมีแห่งองค์พระสยามเทวาธิราช ที่ดลบันดาลให้เลือดไทยไม่ต้องนองปฐพี  
  
เบื้องลึก “ข่าวลือปฏิวัติ”    
ย้อน กลับไปในเดือนพฤษภาคม 2549 ท่ามกลางความอึดอัดอันเนื่องมาจากสัมพันธภาพอันสั่นคลอนระหว่างกองทัพกับ รัฐบาล มีรายงานข่าวเชิงลึกระบุว่า วันหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เปิดฉากถาม พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ตรงๆ ว่า...
“พี่จะปฏิวัติผมเหรอ”!?
คำตอบที่ได้รับจาก ผบ.ทบ.ที่ผ่านการรบมาโชกโชนก็คือ “ถ้าผมยังอยู่ในตำแหน่ง การปฏิวัติจะทำไม่ได้ แต่ถ้ามี คนที่จะทำได้คือผม”
อัน เป็นคำตอบที่ คม ชัด ลึก และแฝงด้วยนัยเชิงป้องปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างสุภาพบุรุษ เพราะกระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารนั้นมีอยู่ 2 ด้าน
ด้านหนึ่ง คือแนวโน้มที่กลุ่ม “เตรียมทหารรุ่น 10” (ตท.10) เพื่อนร่วมรุ่น พ.ต.ท.ทักษิณ อาจเคลื่อนไหว “ค้ำบัลลังก์ทักษิณ”
ด้าน หนึ่ง คือแนวโน้มที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล หรือกลุ่มที่ถูกกล่าวหาว่ามีเป้าหมายลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ตามเบาะแสจากปากคำของ จ.ส.อ.ชาคริต จันทระ หรือ “จ่ายักษ์” หนึ่งในผู้ต้องหา “คดีคาร์บอมบ์” ที่ให้การกับตำรวจว่า...
“แผนลอบ สังหาร” พ.ต.ท.ทักษิณ มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างดี โดยแผนแรกคือ “คาร์บอมบ์” ทำให้ต้องผุดแผนสอง คือ ถล่มด้วย จรวดอาร์พีจี หรือ เอ็ม 79 หากยังไม่สำเร็จอีก แผนขั้นสุดท้ายก็คือ “การปฏิวัติ”            
อย่าง ไรก็ตาม หากพลิกแฟ้มข่าวย้อนหลังจะพบว่า ก่อนที่จะมีการรัฐประหาร 19 กันยายน พล.อ.สนธิ ได้ท่าทีต่อกระแสข่าวลืออย่างชัดเจนถึง 2 ครั้ง คือ
-13 กันยายน 2549 พล.อ.สนธิ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายอย่าเชื่อกระแสข่าวที่สร้างความหวาดระแวงแคลงใจกัน ระหว่างกองทัพกับรัฐบาล โดยระบุว่าข่าวที่ปรากฏเป็นงานด้าน “การข่าวลวง” เพื่อปรามผู้ที่คิดจะกระทำ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเลิกพูดเรื่องการปฏิวัติ “เพราะเป็นไปไม่ได้” แม้จะยอมรับว่าที่ผ่านมา ได้รับจดหมายจากประชาชนที่เรียกร้องให้ทหารออกมาจัดการปัญหาการเมือง จำนวนเกือบล้นลิ้นชัก  
-17 กันยายน  2549 พล.อ.สนธิ ยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่ใช้วิธีทางทหารเข้าไปแก้ไขปัญหาการเมือง และตอกย้ำว่า “ทหารอาชีพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” และ “การเมืองก็อย่าเข้ามายุ่งกับทหาร”
คำพูดและท่าทีของ พล.อ.สนธิ ดังกล่าว น่าจะเป็นหลักประกันที่มีความชัดเจนในตัวอย่างยิ่งว่า ผบ.ทบ.ผู้นี้ไม่คิดจะทำ “รัฐประหาร” อย่างแน่นอน หากไม่มี “ตัวแปร” หรือ “ปัจจัยแฝง” จนเกินกว่าที่จะแบกรับไว้ได้ 

แผนม็อบชนม็อบ : ชนวนเร่งรัฐประหาร
จาก แถลงการณ์ของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ในคืนวันที่ 19 กันยายน ระบุถึงเหตุผลในการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล “ทักษิณ” รวม 3 ข้อ คือ
1. การบริหารประเทศของรัฐบาล ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. ประชาชนส่วนใหญ่เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระ ถูกครอบงำทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
3. การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อย ครั้ง
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า เหตุผลข้อ 1 น่าจะเป็น “ตัวแปร” หรือ “ชนวน” แห่งการตัดสินใจรัฐประหาร เพราะวันที่ 20 กันยายน คือ วันดีเดย์ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะเริ่มชุมนุมใหญ่อย่างยืดเยื้อเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ท่ามกลางแนวโน้มสูงยิ่งว่า การชุมนุมครั้งนี้จะไม่เป็นอย่างราบรื่นเหมือนที่ผ่านๆ มา โดยจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เพราะมีรายงานว่าฝ่ายรัฐบาลได้ตระเตรียมการจัดตั้ง “ม็อบชนม็อบ” ตามแผนการของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “กลุ่มซ้ายทมิฬ”
ดังที่ นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำขบวนการอีสานกู้ชาติ ได้ออกมาเปิดโปงเปิดข้อเท็จจริงภายหลังการรัฐประหารว่า ขบวนการอีสานกู้ชาติได้ส่ง “สายข่าว” แฝงตัวเข้าไปร่วมประชุมกับ “กลุ่มซ้ายทมิฬ” ในพรรคไทยรักไทยมานานแล้ว จนได้รับทราบความเคลื่อนไหวว่า “หมอคนหนึ่ง” ในรัฐบาล ได้มอบเงินกว่า 20 ล้านบาทให้กลุ่มแกนนำอีสานใต้ เตรียมนำกำลังเข้ากรุงมาชนกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการประกาศภาวะฉุกเฉิน และฉวยโอกาสกวาดล้างฝ่ายต่อต้าน รวมทั้งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. และ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3
“ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ต่างฝ่ายต่างทราบกันดี จนเป็นสาเหตุให้เกิดการยึดอำนาจก่อนที่หายนะใหญ่หลวงจะเกิดกับบ้านเมือง” นายไทกรย้ำ
อัน เป็นข้อมูลที่สอดรับกับรายงานข่าวที่ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มแกนนำอีสานใต้ หรือ “อดีตสหาย พคท.เขตงานอีสานใต้” นั้น อยู่ในการประสานดูแลของ นายเนวิน ชิดชอบ รมต.สำนักนายกฯ ผู้สนองรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ดั่งใจในแทบทุกเรื่อง    
นอกจากนี้ยังมีข่าวมา อย่างต่อเนื่องว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัตน์ เจ้าของฉายา “ยุทธ ตู้เย็น” เจ้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ซุ่มสั่งการให้จัดตั้ง “กองกำลังติดอาวุธ” จากลูกจ้างป่าไม้และหน่วยเสือไฟของกรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยมีการฝึกยิงปืนเอ็ม 16 และเอชเค 33 บนเขาใหญ่ และมีการฝึกยุทธวิธี “สลายม็อบ” เพื่อเตรียมพร้อมปฏิบัติการตามคำสั่ง            
นี่เอง อาจเป็นเหตุให้ คณะปฏิรูปฯ ต้องมีคำสั่งให้ทั้ง “ยงยุทธ-เนวิน” เข้ารายตัวที่ บก.คปค. (กองทัพบก) และเชิญไปพักผ่อนในที่ปลอดภัยระยะหนึ่ง

หักเขี้ยว ตท.10 : ชิงเหลี่ยมรัฐประหาร 
แหล่ง ข่าวระดับสูงในวงการทหารเปิดเผยว่า แท้จริงแล้วในทางยุทธศาสตร์นั้นอาจกล่าวได้ว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน คือ “สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเกิด” หากไม่มีแนวโน้มความรุนแรงจากแผนการของแกนนำรัฐบาลดังกล่าว
เนื่อง เพราะก่อนหน้านั้น ผบ.ทบ.ได้ดำเนินยุทธการ “รัฐประหารเงียบ” หรือตัดทอนขุมกำลังสำคัญใน “ระบอบทักษิณ” ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2549
จากการที่กองทัพบกได้มีคำสั่งมีการโยกย้าย เพราะในวันนั้นได้มีการโยกย้ายผู้คุมกำลังสำคัญของรัฐบาลอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะผู้บังคับกองพันใต้บังคับบัญชาของ “แกนนำ ตท.10” ถูกสับเปลี่ยนไม่มีเหลือ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเปรียบได้ดั่งการ “หักเขี้ยวเล็บ ตท.10” และ “เด็ดปีกทักษิณ” ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ “ปราม” และหยั่งเชิงท่าทีฝ่ายการเมืองว่าจะ “มีน้ำยา” เกินกว่าที่คาดคิดไว้หรือไม่  
กล่าวคือ การยุทธ์ทางทหารนั้น ผู้ที่จะสั่งเคลื่อนกำลังหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งก็คือ นายทหารระดับผู้บังคับกองร้อย ผบ.ร้อย) และผู้บังคับกองพัน (ผบ.พัน) ตามลำดับ ส่วนนายทหารระดับ ผู้การกรม, ผบ.พล. และแม่ทัพ คือ ฝ่ายอำนวยการที่ให้การสนับสนุน หรือให้คุณให้โทษกับนายทหารระดับ ผบ.ร้อย และ ผบ.พันเท่านั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องปรามสถานการณ์ที่อ่อนไหว ท่ามกลางข่าวลือแกนนำ ตท.10 อาจเคลื่อนไหวค้ำ “บัลลังก์ทักษิณ” คำสั่งกองทัพบกที่ 423/2549 เรื่อง ให้นายทหารรับราชการจำนวน 129 นายในระดับผู้บังคับกองพัน ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2549 จึงออกมาอย่างสายฟ้าแลบในรูปแบบการโยกย้ายนอกฤดูกาล ที่อยู่ในอำนาจของ ผบ.ทบ.โดยตรง  
เพราะหากเกิดรัฐประหาร หน่วยกำลังหลักในกรุงที่สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหน่วยหลักๆ ในระดับกองพล 3 หน่วย ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ตท.10 ดังนี้ 
-กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) มี พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต (ตท.10) เป็นผู้บัญชาการ
-กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2 รอ.) พล.ต.ศานิต พรหมาศ (ตท.10) เป็น ผบ.พล.ม. 2 รอ.
-กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) พล.ต.เรืองศักดิ์ ทองดี (ตท.10) เป็น ผบ.พล.ปตอ.
ทั้ง 3 กองพลที่ ตท.10 คุมกำลังอยู่นี้ มีหน่วยกองพันที่ตั้งในเขต กทม.รวม 15 กองพัน โดยแบ่งเป็น พล.1 รอ. จำนวน 6 กองพัน (กรมทหารราบที่ 1 และกรมทหารราบที่ 11 แห่งละ 3 กองพัน) พล.ม.2 รอ. จำนวน 3 กองพัน และ พล.ปตอ.อีก 6 กองพัน
และหากจำแนกหน่วยกำลังหลักในการทำรัฐประหารแต่ละ ครั้ง หน่วยที่ขาดไม่ได้ก็คือ ร.1 พัน 1 และ ม.พัน 4 กล่าวคือต้องอาศัยทหารราบและทหารม้าที่คุมกองกำลังรถถังทั้ง 2 หน่วยนี้เป็นหัวใจของปฏิบัติการ
การย้ายฟ้าผ่าครั้งนี้ กองพันที่เป็นหัวใจในการรัฐประหารทั้ง 2 หน่วย ก็เป็นหนึ่งใน 129 รายชื่อ ดังนี้
พ.ท.โฆษิต ชินวลัญช์ ผบ.ม.พัน.4 รอ. (ตท.23) ลูกเขยของ พล.ต.ศานิต พรหมาศ (ตท.10) ผบ.พล.ม. 2 รอ. เป็น เสธ.จทบ.สระบุรี ได้ติดยศพันเอกแต่หลุดจากวงโคจรคุมกำลัง
พ.ท.เวชศักดิ์ ขันธ์อุบล ผบ.ร.1 พัน.1 รอ. (ตท.25) เป็นติดยศพันเอกที่ตำแหน่ง หน.ฝ่ายข่าว มทบ. 13 (ลพบุรี) หน่วยนี้ถือว่าเป็นกองพันหมายเลข 1 ของเหล่าทหารราบ จึงปรากฏว่าผู้ที่ถูกส่งมาแทนจะต้องเป็นคนที่ไว้วางใจจริงๆ นั่นคือ พ.ท.ปริญญ รื่นภาควุฒิ (ตท.30) ทส.ของ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งแม้จะเป็น ตท.10 แต่ก็ถูกเพื่อนร่วมรุ่นตั้งข้อหาว่า “ไม่เอาเพื่อน” และไม่อยากเข้าร่วมในปฏิบัติการ “ค้ำบัลลังก์ทักษิณ”
เห็น ได้ชัดจากการพบปะพูดคุยแทบทุกครั้งที่ พล.ปตอ.นั้น แม่ทัพภาคที่ 1 ผู้นี้ไม่เคยเข้าร่วม จนถูกเหน็บว่าไม่ใช่ ตท. 10 แต่เป็น ตท. 10/1
สำหรับผู้บังคับการกองพันในบังคับบัญชาของ พล.ต.พฤณฑ์ สุวรรณทัต ถูกย้ายสลับในรอบนี้ถึง 4 กองพัน จากเดิมที่มีอยู่ 6 กองพัน
ผู้ บังคับกองพัน (ผบ.พัน) ทั้ง 15 หน่วยใน กทม. ล้วนแล้วแต่เป็นรุ่นพี่รุ่นร้องไล่รุ่นกันมา ในรุ่นของ ตท. 24 - 27 จึงมักมีการพบปะสังสรรค์อยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั่นเพราะว่าอำนาจทางการทหารในทางปฏิบัติที่แท้จริงอยู่ที่ ผบ.พัน ไม่ใช่นายพลที่บัญชาการกองพล คำสั่งให้เอารถถังออกนั้นอยู่ที่ ผบ.พัน
ในขณะนั้นมีข่าวทำนองว่า การโยกย้ายดังกล่าว คือ ยุทธศาสตร์ป้องกันการก่อรัฐประหารโดยขุมกำลังใต้บังคับบัญชาของ ตท.10
หาก แต่ท้ายที่สุดในค่ำคืนวันที่ 19 กันยายน กำลังที่เข้าควบคุมพื้นที่เมืองหลวงก็คือ ทหารภายใต้การบังคับบัญชาของ ผบ.พันชุดใหม่ ที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นั่นเอง 

นาที “กดปุ่ม” รัฐประหาร
ภาย หลังการโยกย้าย ผบ.พันชุดใหม่ดังกล่าว ก็เริ่มมีข่าวลือหนาหูขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพลิกเกมโดยการโยก พล.อ.สนธิ ไปเป็น ผบ.สส.ในเดือนตุลาคม
ภาพ สะท้อนที่ตอกย้ำความบาดหมางไม่ไว้วางใจกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเยือนพม่าอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม  โดยพล.อ.สนธิ ถูกเรียกตัวให้ร่วมเดินทางไปด้วยอย่างกะทันหัน
รายงานข่าวบางกระแส ระบุว่า เหตุผลที่ พ.ต.ท.ทักษิณ “หนีบ” พล.อ.สนธิ ไปด้วยก็เพื่อฉวยจังหวะ “เคลียร์ใจ” และล้วงลูก “โผทหาร” หรือบัญชีรายชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี 49 ที่ใกล้จะคลอด ถ้ารอมชอมกันไม่ได้ก็คงต้อง “หักกัน” และดูเหมือนในที่สุดก็สามารถประนีประนอมกันได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะตำแหน่งสำคัญๆ ในโผทหารที่ “สะเด็ดน้ำ” เมื่อวันที่ 8 กันยายน และอยู่ในขั้นรอคอยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายหลังกลับจากต่างประเทศนั้น ชื่อของ ผบ.ทบ.ยังคงเป็น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน (ตท.6) และ พล.อ.พรชัย กรานเลิศ (ตท.10) ก็ยังคงเป็น ผช.ผบ.ทบ.เช่นเดิม แต่มีการโยก พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร (ตท.7) แม่ทัพภาคที่ 3 และ พล.ท.องค์กร ทองประสม (ตท.8) แม่ทัพภาคที่ 4 เข้ากรุมาเป็น ที่ปรึกษาพิเศษ ทบ. (อัตราพลเอก)   
แผนการโยก พล.ท.สพรั่ง ออกจากตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 มาเข้ากรุดังกล่าว นัยว่าเป็นการ “ตัดวงจรรัฐประหาร” เพราะฝ่ายการข่าวของรัฐบาลก็พอรู้ระแคะระคายว่านายทหาร “ลูกป๋า” ผู้นี้...คิดอะไรอยู่!?
แต่ความสุกงอมของสถานการณ์ขณะนั้นเปรียบได้ดั่งภาษิตที่ว่า “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้เสียแล้ว”!!
เพราะ ตอนเช้าของวันที่ 19 กันยายน พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 ได้เดินทางเข้ากรุงและเข้าพบ “ผู้ใหญ่ที่นับถือ” โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรึกษากับผู้ใหญ่ท่านนั้นว่า “ไม่สามารถที่จะทนต่อสภาพปัญหาของบ้านเมืองได้อีกต่อไป” และขณะนี้ได้เคลื่อนกำลังพลมาเตรียมพร้อมในเขตปริมณฑลเรียบร้อยแล้ว 
ผู้ใหญ่ ท่านนั้นย้ำว่า “จะใช้แค่กำลังของทัพภาค 3 ทำไม่ได้ ถ้าจะทำต้องขอความร่วมมือจากผู้นำเหล่าทัพทั้งหมด ตามชั้นยศและสายการบังคับบัญชา” 
ดังนั้น พล.ท.สพรั่ง จึงรีบรุดเข้าพบ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อันเป็นช่วงจังหวะเวลาเดียวกับที่ พล.อ.สนธิ ปฏิเสธเข้าร่วมประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาล
พล.ท.สพรั่ง ได้เล่ารายละเอียดของการเตรียมการ ตลอดจนความในใจและความจำเป็นในการทำรัฐประหารโค่นล้ม “ระบอบทักษิณ” พร้อมทั้งแจ้งว่าก่อนเดินทางมานี้ได้ ตนเข้าไปหารือกับผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นการเรียบร้อยแล้ว
เมื่อ พล.อ.สนธิ รับฟังเสร็จสิ้น จึงตัดสินใจในนาทีนั้นว่า “ต้องทำรัฐประหาร”!! 

ระทึกขวัญ! คืนวันรัฐประหาร
พลัน ที่ตัดสินใจ “กดปุ่ม” รัฐประหารในช่วงสายของวันที่ 19 กันยายน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน (ผบ.ทบ.) ก็ได้สั่งการถึง พล.ท.อนุพงษ์  เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.สุเจตต์ วัฒนสุข แม่ทัพภาคที่ 2 พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 ให้เคลื่อนกำลังเข้ายึดอำนาจทันที ส่วน พล.ท.องค์กร ทองประสม แม่ทัพภาคที่ 4 ให้อยู่แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ต่อไป
เมื่อ สั่งการไปแล้ว ต่อมา พล.อ.สนธิ จึงได้โทรศัพท์ถึง “ผู้ใหญ่ที่นับถือ” เพื่อรายงานสถานการณ์ให้ทราบ ซึ่งก็เห็นพ้องด้วยกับการตัดสินใจของ ผบ.ทบ.
อีก ด้านหนึ่งนั้นปรากฏว่า พล.อ.พรชัย กรานเลิศ ผช.ผบ.ทบ. และ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง ได้เรียก พล.ต.พฤณท์ สุวรรณทัต ผบ.พล.1 และ พล.ต.ศานิต พรหมาศ ผบ.พล.ม.2 เพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ที่คุมหน่วยกำลังสำคัญในกรุงไปหารือเป็นการด่วน
จากนั้น พล.อ.พรชัย และ พล.ต.อ.จุมพล จึงได้เข้าพบกับ ผบ.ทบ. ที่บ้านพักสะพานเกษะโกมล เพื่อรับทราบสถานการณ์และท่าทีของ ผบ.ทบ.
ต่อ มา พล.อ.สนธิ ได้มีคำสั่งเรียกตัว พล.ต.ศานิต พรหมมาศ ผบ.พล. ม.2 และ พล.ต.พฤณท์  สุวรรณทัต ผบ.พล.1 เข้าพบ และแจ้งให้นายทหารทั้งสองทราบว่า ขณะนี้ได้ทำการรัฐประหารแล้ว หากกลุ่ม ตท.10 ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการครั้งนี้ ก็ให้วางเฉย อย่าได้ขัดขวางเป็นอันขาด โดยรับปากว่าจะไม่มีการคำสั่งปลดหรือโยกย้ายกลุ่ม ตท.10
เมื่อคุยกันประสาพี่น้องที่เคย “กินข้าวหม้อเดียวกันมา” อย่างไม่มีปัญหา ผบ.ทบ.จึงสั่งการให้กักตัวทั้งสองไว้ที่ บก.ทบ.ชั่วคราว
          สำหรับความเคลื่อนไหวในซีกรัฐบาลนั้น เมื่อรู้ว่าเกิดการรัฐประหารแน่ชัดแล้ว พล.ต.อ.ชิดชัย  วรรณสถิตย์ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง น.พ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช  เลขาธิการนายกฯ และรัฐมนตรีอีกหลายคน ได้ไปตั้งมั่นอยู่ที่ กองบัญชาการทหารสูงสุด ถนนแจ้งวัฒนะ ร่วมกับ พล.อ.เรืองโรจน์  มหาศรานนท์ ผบ.สส. เพื่อติดตามสถานการณ์และรอคำบัญชาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะตัดสินตอบโต้ด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉินข้ามโลก
มีรายงานว่าระหว่าง ที่ พล.อ.พรชัย และ พล.ต.อ.จุมพล หารืบกับ ผบ.ทบ.อยู่นั้น พล.อ.พรชัย ได้รับการติดต่อจาก พล.อ.เรืองโรจน์ (ผบ.สส.) ว่า ขณะนี้ได้เตรียมกำลังทหารเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉินตามบัญชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ดังนั้น ขอให้ ผบ.ทบ.เดินทางไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดทันที แต่ทว่า พล.สนธิ ปฏิเสธที่จะรับคำสั่งดังกล่าว
นับ จากนั้นจุดพลิกผันที่มีความสำคัญยิ่งต่อการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือ การช่วงชิงผู้นำเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้เข้าร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างมีเอกภาพ
สเต็ปแรก พล.อ.สนธิ ได้เชิญ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กับ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เข้าประชุมหารือที่ห้องประชุมลับในกองบัญชาการกองทัพบก
ประโยคแรกที่ พล.อ.สนธิ ได้รับจาก 2 ผู้นำเหล่าทัพซึ่งล้วนแต่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.6 โดยเฉพาะ ผบ.ทร.ก็คือ “จะดีเหรอ”!?
พล.อ.สนธิ ใช้เวลาหารือและแจงเหตุผลความจำเป็นในการรัฐประหารกับ ผบ.ทร.และ ผบ.ทอ.เป็นเวลานานพอสมควร แต่ก็ปรากฏว่าทั้งคู่ก็ยังมีท่าทีไม่เห็นด้วย
ดังนั้น พล.อ.สนธิ จึงจำต้องตัดบทว่า “หากไม่ร่วมปฏิบัติการก็ขอให้วางเฉย” 
จาก นั้นจึงได้สั่งการให้กองกำลังทหารส่วนหนึ่ง บุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่องซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
สเต็ปที่สอง พล.อ.สนธิ ได้พยายามติดต่อกับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ทางโทรศัพท์ตลอดเวลา แต่ปรากฏว่าไม่สามารถติดต่อได้ เพราะไม่มีสัญญาณตอบรับ
สเต็ปที่สาม พล.อ.สนธิ ได้โทรศัพท์เจรจากับ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยขอให้ยุติความเคลื่อนไหวทันที และเข้าร่วมกับคณะปฏิรูปฯ แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้
กระทั่งเวลาประมาณ 23.00 น.คณะปฏิรูปฯ จึงได้ออกประกาศฉบับแรก
หลัง ประกาศคณะปฏิรูปฯ ผ่านไป 2 ฉบับ เวลาประมาณ 24.00 น. พล.อ.สนธิ, พล.ร.อ.สถิรพันธ์ และ พล.อ.อ.ชลิต จึงได้เดินทางเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการนำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
สเต็ปที่สี่ หลังกลับจากการเข้าเฝ้าฯ พล.อ.สนธิ จึงได้ต่อสายถึง พล.อ.เรืองโรจน์ อีกครั้งหนึ่ง โดยแจ้งว่าตนได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ แล้ว ผบ.สส.จึงได้ยินยอมเข้าร่วมกับคณะปฏิรูปฯ และได้เข้ารายงานตัวต่อ พล.อ.สนธิ ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ เวลาประมาณ 00.30 น.
เวลานั้นจึงเหลือเพียง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.เท่านั้น ที่ พล.อ.สนธิ ยังไม่สามารถต่อสายถึง   
พล.อ.สนธิ จึงตัดสินใจรอโอกาส “ครั้งสุดท้าย” โดยได้โทรศัพท์ไปยังนายพลตำรวจร่วมรุ่นผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ พล.ต.อ.โกวิท และแจ้งให้ทราบว่า ตนได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ แล้ว 
เช้าวันที่ 20 กันยายน พล.ต.อ.โกวิท จึงได้เดินทางไปเข้าร่วมแถลงเหตุผลความจำเป็นในการยึดอำนาจผ่านสถานี โทรทัศน์ ในฐานะ 1 ใน 5 แกนนำผู้ก่อการรัฐประหาร 
ความสำเร็จในการ โน้มน้าวเชิญชวน ผบ.สส.และ ผบ.ตร.เข้าร่วมกับคณะปฏิรูปฯ คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การโค่นล้ม “ระบอบทักษิณ” และ “ปิดฉากรัฐตำรวจ” จบลงอย่างสวยงาม และไม่มีความสูญเสียแม้แต่น้อย
-------------------------
ลิงค์ทั้งหมด...
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (1)
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/02/26/entry-2
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (2) เปิดแผนลวงเคลื่อนกำลัง - ปม ทักษิณ คิดผิดในคืนรัฐประหาร!?
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/03/01/entry-2
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (3) แกะรอยยุทธการหักเขี้ยว ตท.10 - แฉนาทีกดปุ่มรัฐประหาร!!
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/03/06/entry-2
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (4) แกะรอยนาทีต่อนาทีก่อน-หลังรัฐประหาร
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/03/18/entry-2
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (5) แกะรอยตัวละครสำคัญ - จิ๊กซอว์รัฐประหาร 19 กันยาฯ
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/04/20/entry-1
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (จบ) วิเคราะห์จุดพ่ายวันรัฐประหาร -อุทธาหรณ์ ใช้คนไม่ถูกกับงาน
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/04/23/entry-1
ลับสุดยอด! ปฐพี149 ผ่าแผนโค่นทักษิณ!! (ภาคผนวก) พลิกแฟ้ม "บังธิ" ผู้เดินตามรอยเท้า "สุรยุทธ์" - ถอดรหัส "ปฏิวัติ-รัฐประหาร"!?
http://www.oknation.net/blog/Anti-Corruption/2007/04/25/entry-1

โดย สายสืบภาคประชาชน

---------------------------------------------------
FfF