บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


11 กันยายน 2556

<<< ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อไทยแลนด์เคยเก็บภาษีชายโสดจริงๆ ด้วยอย่างฮาเลย >>>


<<< โครตฮาเลยเก็บภาษีคนโสด เพื่อกระตุ้นให้คนไทยขยันทำการบ้านจะได้มีลูกเยอะๆ กว่าแรงงานขาดแคลน นักวิชาเกินพวกนี้ลอจิคมีปัญหาน่ะเรา >>>

http://www.dailynews.co.th/businesss/231063
  • ถูกใจ Ma Li Keaw
  • Maha Arai คน ที่แต่งงานแล้วเขาไม่มีลูกก็เพียบน่ะเราว่า แบบเขาเน้นบันเทิงมากกว่าผลผลิตก็มีไม่น้อย แถมเศรษฐกิจไม่ดีบางคนเขาอยู่เป็นโสดดีกว่าจะไปสนับสนุนให้เขามีคู่เพื่อให้ เขามาผลิตประชากรเพิ่ม เราว่าตรรกะแก้ปัญหาผิดมากถ้าอยากให้มีเขาผลิตแรงงานให้มากๆ ในอนาคตง่ายมาก
  • Maha Arai แทน ที่จะไปเก็บภาษีคนโสด ไม่เพิ่มสวัสดิการคนมีลูกจะดีกว่ามี 2 คนจะได้ส่วนลดแลกแจกแถมอะไรก็ได้คนไทยชอบของลดของแจกอยู่ ดูเวลาห้างลดราคาหรือมีแจกอะไรรถติดทุกที เขาจะได้ขยันทำการบ้านกันฮา
  • Maha Arai สรุป ไม่ว่าจะเก็บภาษีหรือลดหย่อนอะไร ถ้าคนเขาไม่มีอารมณ์อยากผลิตลูกหรือเน้นบันเทิงมากกว่าผลผลิตมันก็ไม่มีผล อะไร ที่สำคัญมันไม่ใช่นึกอยากผลิตแล้วมันก็ผลิตได้ดั่งใจ บางทีบางคู่เขาก็ไม่สามารถมีบุตรได้ด้วยน่ะ
  • Maha Arai ที่ สำคัญ ถ้ามองอนาคตออกจะรุ้ว่าคนจะตกงานอีกเพียบ หลายอุตสาหกรรมมีแววให้เห็นแล้ว ดังนั้นอนาคตคนวัยทำงานน้อยลงปัญหาการตกงานก็น้อยลงด้วยน่ะ เฉพาะปัจจุบันก็เริ่มมีปัญหาคนว่างงานเพียบ ถ้ารวมสถิติการว่างงานของเกษตรกรหรือที่รับจ้างทำนาตัดอ้อยอะไรที่ปีๆ หนึ่งทำไม่กี่เดือนอีกจะมีแรงานที่ตกงานแฝงมากกว่าตัวเลขทางการที่ชอบเอาไป อวดชาวโลกมาหลายรัฐบาลแล้วที่ประเทศไทยมีตัวเลขการว่างงานต่ำสุดติดอันดับ Top5 ของโลกซึ่งมันเป็นไปไม่ได้หรือไม่จริงแต่เป็นเทคนิคทางการเก็บข้อมูลของไทย
  • Maha Arai ตอน นี้อุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ว่าจะมาแรงอนาคตดูแล้วเตรียมเจ๊งได้ เช่นอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ต่อไปมันจะไปบูมที่มือถือหมด แทบเล็ตก็แฟชั่นหรืออยู่ในสถาบันการศึกษา แต่คอมพิวเตอร์กำลังสูญพันธ์เรื่อยๆ ธุรกิจต่อเนื่องไม่ว่าจะ PC หรือ Notebook เตรียมตัวเจ๊งได้ ทั้งฮาร์ดดิสก์นั่นนี่เต็มไปหมด ซึ่งตอนนี้ส่อล้มละลายเจ๊งกันไปทีละเจ้าสองเจ้าตั้งแต่กระแสสมาร์ทโฟนที่ทำ อะไรได้เหมือนคอมพิวเตอร์มาแรงในตอนนี้
  • Maha Arai นอกนั้นวงการกล้องถ่ายรูปก็ร่อแร่เตรียมเจ๊งนั่นนี่เพียบเดี๋ยวไปขุดที่เคยเขียนไว้ว่ามีอุตสาหกรรมใดๆ ที่กำลังร่อแร่บ้างมาให้ดูอีกที
  • Maha Arai นี่เลยเขียนไว้ต้นปีนี้เอง
    <<< กล้องทีวีวิทยุโปรเจ็คเตอร์คอมพิวเตอร์ไฟฉายนาฬิกาปากกาสมุดเครื่องมือวาด ภาพอิเลคโทนเครื่องดนตรีเครื่องเล่นเกม=มือถือ >>>
    http://maha-arai.blogspot.com/2013/02/blog-post_1868.html
  • Maha Arai คิด ดูก็แล้วกันว่าอุตสาหกรรมจำนวนมากแต่ละอุตสาหกรรมยุบรวมเหลือแค่มือถือ หลับตาก็น่าจะคิดได้ว่าจำนวนคนตกงานจะเพิ่มากมายมหาศาลขนาดไหน ยังอุตริอยากให้มีจำนวนแรงงานเพิ่ม มันยุคเทคโนโลยี่เขานำหุ่นยนต์รวมทั้งเทคโนโลนี่มาใช้แทนแรงงานคนมากมายหลาย อุตสาหกรรมรวมทั้งเกษตรกรรม แล้ว ยังหลงยุคท่องจำตำราเห็นกราฟแรงงานวัยทำงานยุคหน้าจำนวนน้อยลงตกใจออกมาเร่ง ให้ผลิตมากขึ้นหลงทางชัดเจน สวนทางกับความเป็นจริงในอนาคตที่คนจะตกงานมากขึ้นมากขึ้น
https://www.facebook.com/maha.arai

-------------------------------------------------

Maha Arai ได้แชร์ลิงก์
6 กันยายน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อไทยแลนด์เคยเก็บภาษีชายโสดจริงๆด้วยอย่างฮาเลย
https://www.facebook.com/maha.arai

-------------------------------------------------

การเมือง : ข่าวทั่วไป
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556

ไทยเคยเก็บ'ภาษีชายโสด'แค่ปีกว่าก็ล้มเลิก!

รู้ไหม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยเคยเก็บ 'ภาษีชายโสด' แต่แค่ปีกว่าก็ล้มเลิก! : สำนักข่าวอิศรารายงาน

              จากปัญหาโครงสร้างประชากรที่ไม่สมดุล ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยขาดแคลนคนที่อยู่ในวัยแรงงาน หนึ่งในสาเหตุก็มาจากคนไทยมีลูกน้อย กอรปกับสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัวแล้ว
              ภาระหนักตกอยู่ที่รัฐที่จะต้องเสียงบประมาณมหาศาลเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ
              พลันที่นักวิชาการมหาวิทยาลัยชื่อดัง เปิดแนวคิดการเก็บภาษีคนโสด เก็บภาษีคนไม่มีลูก เพื่อหวังกระตุ้นให้คนไทยมีครอบครัวนั้น วันนี้ได้กลายเป็นประเด็นร้อนระอุ ถกเถียงกันว่าด้วยเรื่อง "ภาษีคนโสด" ไปเสียแล้ว
              แต่ใครเคยรู้หรือไม่ว่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเคยมีการเก็บ "ภาษีชายโสด"มาแล้วครั้งหนึ่ง ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติภาษีชายโสด พ.ศ.2487 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2487
              เฟชบุ๊ก นักกฎหมายไทย มีหลักฐานมายืนยัน
              เนื้อหาการเก็บภาษีชายโสดน ระบุว่า ภาษีชายโสดมีลักษณะเป็นภาษีที่จัดเก็บเสริมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กล่าวคือ ชายโสดผู้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีละ 960 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีชายโสด 5 บาท หรือในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะมากกว่า
              แต่โชคดี !สำหรับชายโสด ที่การจัดเก็บนี้ กระทำเพียงเวลาปีเศษ ก็เลิกจัดเก็บตั้งแต่ 9 มกราคม 2488

6เหตุผลไม่เห็นเด้วยเก็บภาษีคนโสด

              สำหรับประเด็นนี้ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ แสดงความเห็นในเฟชบุคส่วนตัว เชื่อว่า นโยบายนี้เกิดได้ยากในบริบทของสังคมไทย อีกทั้งเชื่อว่า มีสิทธิผิดรัฐธรรมนูญเพราะละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน
              นโยบาย ลูกคนแรก - เก็บภาษีคนโสดนั้น ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวว่า ที่ "ไม่เห็นด้วย"  มีสาเหตุหลายข้อ 
เหตุผลข้อ 1
              จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติในไตรมาสแรก ปี 2556 พบประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด (นับเฉพาะอายุ 15 ขึ้นมา) ภายใน 10 ปีข้างหน้า แรงงานกลุ่มนี้จะทยอยออกจากตลาดแรงงาน
              หากเรานำนโยบายลูกคนแรก-ภาษีคนโสดมาใช้ ใน 2-3 ปี ข้างหน้า แสดงว่า อีก 7-8 ปี คนที่อยู่ในกำลังแรงงานที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี (กลุ่มที่มีแนวโน้มจะมีลูกมากที่สุด) จะต้องรับภาระสองด้านคือ
              1) เลี้ยงดูลูกของตัวเองและลูกของคนอื่น 2) เลี้ยงดูประชากรสูงวัยของประเทศ ซึ่งจะมีทั้งค่าใช่จ่ายทางตรงสำหรับสมาชิกในครอบครัว (ค่าเทอมลูก ค่ายาของปู่) และค่าใช้จ่ายทางอ้อมในรูปของภาษี เพราะตามที่ผู้เสนอนโยบายนี้ออกแบบมารัฐจะต้องจ่ายเงินสนับสนุน แสดงว่า เงินของคนจน ก็จะถูกใช้ไปเลี้ยงดูลูกของคนที่รวยกว่า และเงินของคนที่รวยกว่าก็จะใช้ในการเลี้ยงดูลูกของคนจนด้วย
              จึงเป็นคำถามเชิงปริมาณว่า นโยบายนี้จะส่งผลต่อโครงสร้างแรงจูงใจอย่างไร
              ผู้เสนอบอกเองว่า คนมีฐานะดีขึ้น จึงมีลูกน้อยลง เพราะมัวแต่ทำงาน ทำให้อนุมานได้ว่า นโยบายนี้ต้องการให้คนมีรายได้ปานกลางถึงสูงปั๊มลูกออกมาให้มากขึ้น แสดงว่า เงินของคนจนจะถูกนำไปใช้ในการเลี้ยงลูกของคนรวย นี่คือเหตุผลแรกที่ทำให้ไม่เห็นด้วยกันแนวคิด
เหตุผลข้อ 2
              ผู้เสนอบอกว่า เราจำเป็นจะต้องเพิ่มคนเพื่อทดแทนกับประชากรเดิม นั่นคือ เราจะต้องมีประชากรราว 65-67 ล้านคนต่อไป ต้องมองย้อนกับไปก่อนว่า การที่ประชากรราว 1 ใน 3 ของเรามีอายุเกิน 50 ปี (นับเฉพาะกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป) แสดงว่า ช่วงที่ประชากรเพิ่มขึ้นมากๆ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังส่งเสริมภาคเกษตรเพื่อการส่งออก แต่ตอนนี้สถานการณ์ของเราเปลี่ยนไปแล้ว
              ข้อมูลชุดเดียวกันกับที่ใช้ในข้อ 1 บอกว่า แรงงานไทยจำนวน 38.5 ล้านคน มีประมาณ 15% ที่ทำงานไม่เต็มเวลา
              ตีความอ้อมๆ ก็คือ ตอนนี้เราจ้างคนมากเกินกว่าจุดที่มีประสิทธิภาพ แสดงว่า เราจะสามารถสร้างผลผลิตรวมของประเทศ (GDP) โดยใช้คนให้น้อยกว่านี้ได้
              "ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาจำนวนประชากรไว้ที่ 65-67 ล้านคน ถ้าเอา 15% ที่กล่าวไปมาคิด แสดงว่า จริงๆ แล้วเราต้องการคนแค่ 85% ของที่มีอยู่ นั่นคือ จำนวนประชากรไทยสามารถลดลงไปเหลือ 55 ล้านคนได้โดย GDP ไม่ได้รับผลกระทบ ถ้าเรารู้จักพัฒนาคนให้ทำงานได้เต็มศักยภาพ คุณภาพการศึกษาจึงสำคัญกว่าการเพิ่มจำนวนหัวของประชากร นี่คือเหตุผลที่ 2 ที่ทำให้ผมไม่เห็นด้วยกันแนวคิด"
เหตุผลข้อ 3
              ผู้เสนอห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย (ผมตีความว่าค่าใช้จ่ายต่อหัว) ซึ่งจะกลายเป็นกำลังซื้อรวมของประเทศ ว่าถ้ามีคนไม่พอ กำลังซื้อรวมจะลดลง และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ
              คณิตศาสตร์เบื้องต้นบอกเราว่า ถ้าตัวตั้งเท่าเดิมแต่ตัวหารลดลง แต่ละคนจะได้มากขึ้น จากข้อ 2 เมื่อ GDP เราไม่ลด แต่คนเราน้อยลง รายได้ต่อหัวของเราจะมากขึ้น ผลทางด้านกำลังซื้อจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วง แถมการที่คนมีรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการออมและการลงทุนเพิ่มขึ้น จึงไปเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอีกด้วย
              นี่คือเหตุผลข้อที่ 3 ที่ทำให้ไม่เห็นด้วยกันแนวคิดนี้
เหตุผลข้อ 4
              กรณีส่วนใหญ่ การมีลูก (ถ้าไม่หน้ามืด) เป็นการตัดสินใจบนเหตุผล คนจะเป็นพ่อเป็นแม่ต้องคิดสะระตะว่าจะมีปัญญาเลี้ยงลูกได้หรือไม่  การที่เขาเลือกยังไม่มีลูก เพราะเขายังไม่พร้อม ไม่ใ้่่ช่เป็นการก่ออาชญากรรมขนาดจะต้องมีมาตรการออกมาให้เขามีลูกก่อนเวลา อันควร
              "ลองนึกดูว่า ถ้าเราอยู่คอนโดขนาด 30 ตารางเมตร เราอยากจะให้ลูกเกิดมาและโตในพื้นที่แค่นี้หรือ  พื้นที่และสภาพแวดล้อมส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก การเติบโตมาในที่ที่ไม่เหมาะสมย่อมส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของ เด็ก แสดงว่าถึงเขาโตขึ้น เขาก็ไม่สามารถใช้ความสามารถของตนเองได้ 100% นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงลูกยังมีภาระทางจิตใจต่อพ่อกับแม่ ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถเ้ข้ามาช่วยแบกรับได้เลย การคิดเชิงคณิตศาสตร์โดยไม่คิดถึงมิติความเป็นมนุษย์ของพ่อแม่ประกอบไปด้วย ผมยังเชื่อว่า "มีลูกเมื่อพร้อม" คือนโยบายที่ดีที่สุด นี่คือเหตุผลข้อที่ 4 ที่ทำให้ผมไม่เห็นด้วยกันแนวคิด"
เหตุผลข้อ 5
            
              ขนาดรถคันแรกยังผ่อนกันไม่ค่อยไหว  ลูกคนแรกดูแลยากกว่า

เหตุผลข้่อ 6
              ความโสดไม่ใช่ความผิด แค่โสดก็เหงาจะแย่แล้ว ไม่ควรซ้ำเติมกันอีก...
..........

(หมายเหตุ : รู้ไหม สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยเคยเก็บ 'ภาษีชายโสด' แต่แค่ปีกว่าก็ล้มเลิก!   : สำนักข่าวอิศรารายงาน)

http://www.komchadluek.net/detail/20130906/167596/ไทยเคยเก็บภาษีชายโสดแค่ปีกว่าก็ล้มเลิก!.html#.UjAi_H9royJ

-------------------------------------------------

ซ้ำเติมคนโสด นักวิชาการหนุนเก็บภาษีเพิ่ม

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556 เวลา 20:11 น.
นายเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ เลขานุการคณะเศรษฐศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยในการอภิปรายหัวข้อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการรอง รับในสองทศวรรษหน้าว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล และต้องเสียงบประมาณดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก หลังประชากรในวัยรุ่นวัยทำงานมีแนวโน้มเพิ่มต่ำลง สวนทางกลับกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มต่อเนื่อง โดยอัตราการเจริญพันธุ์ของไทยขณะนี้ต่ำมากเพียง 1.6 ต่อครอบครัว หรือ 1 คู่สมรส มีลูกเพียง 1 คนกว่าเท่านั้น ทั้งที่จริงต้องมีลูกขั้นต่ำ 2-3 คน ถึงจะเพียงพอต่อการทดแทนประชากรเดิมที่ตายไป

ทั้งนี้สาเหตุที่คนไทยมีลูกน้อย มาจากแนวโน้มสังคมเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีหนุ่มสาวจะเลือกทำงานเพื่อสร้างฐานะ ความมั่นคงในชีวิตมากกว่าการหาคู่แต่งงานสร้างครอบครัว ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพ และต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ทั้งค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล สินค้าข้าวของแพงขึ้น ครอบครัวส่วนใหญ่จึงเลือกมีลูกน้อย เพราะกลัวจะดูแลได้ไม่ดี ซึ่งต่างจากอดีตในสังคมเกษตร ที่คนไทยมีลูกมากเพราะต้นทุนการเลี้ยงดูไม่สูง
นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า แนวทางแก้ไขภาครัฐควรออกนโยบายสนับสนุนให้คนไทยมีลูกเพิ่มขึ้น เช่น โครงการลูกคนแรก โดยรัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดูให้กับครอบครัวที่มีลูกคนแรก รวมถึงให้เงินอุดหนุน หรือลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกคน 2 และ 3  นอกจากนี้ควรเรียกเก็บภาษีคนโสด ภาษีคนไม่มีลูก กระตุ้นให้มีครอบครัวเพื่อลดภาระงบประมาณ การใช้สวัสดิการดูแลของภาครัฐในอนาคต
“สถิติตั้งแต่ปี 47 พบว่าสังคมไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ถึง 10% ของประชากรรวม และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 67 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น คือ มีสัดส่วนคนอายุเกิน 60 ปี สูงเกิน 20% ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาพรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในประเทศ เพราะแต่ละช่วงอายุมีพฤติกรรมใช้จ่ายที่แตกต่างกัน”

http://www.dailynews.co.th/businesss/231063
 
-------------------------------------------------
FfF