บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 ตุลาคม 2556

<<< บทเรียนจากโกดัก การยึดติด การไม่ยอมปรับตัว และ การมองอนาคตไม่ออก คือที่มาของการตกต่ำจนแทบล้มละลายและกำลังจะหายไปจากโลกธุรกิจทั้งๆที่อยู่ มานานนับร้อยกว่าปี >>>


บทเรียนจากโกดัก การยึดติด การไม่ยอมปรับตัว และ การมองอนาคตไม่ออก คือที่มาของการตกต่ำจนแทบล้มละลายและกำลังจะหายไปจากโลกธุรกิจทั้งๆที่อยู่ มานานนับร้อยกว่าปี

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380352302&grpid=01&catid&subcatid

  • Maha Arai การยึดติดกับกล้องแบบฟิลม์เพราะตอนนั้นขายได้ดีแม้จะเป็นผู้พัฒนากล้องดิจิตอล เป็นเจ้าแรกๆก็กลัวว่าจะมาทำลายตลาดฟิลม์ที่ตนเองยึดครองอยู่
  • Maha Arai หารู้ไม่ว่าในโลกธุรกิจตนเองไม่ทำคนอื่นก็อาจมาทำแข่งขันชิงตลาดไปแทนได้
  • Maha Arai ซึ่งก็เป็นสาเหตุของการไม่ยอมปรับตัวรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ และการมองอนาคตไม่ออกว่าสิ่งไหนกำลังจะสูญพันธ์
  • Maha Arai เหมือนบริษัทที่ทำงานเราถ้าเราบริหารเราคงโล๊ะทุกผลิตภัณฑ์หลายสิบแท้แต่พนังงาน ยังจำไม่ได้ไม่คุ้มทุนให้เหลือไม่เกิน5ผลิตภัณฑ์ เช่นลุยโครงข่ายต้องทำให้ดีไม่สนใจเส้นใครสั่งต้องเลือกที่สามารถต่อยอดอัพ เกรดได้ดีด้วย
  • Maha Arai adsl และการเทคโอเวอร์หรือร่วมทุนกับบริษัทมือถือไอโมบายหรือทำเองแข่งนอกนั้น โล๊ะทิ้งได้ไร้สาระเอามาทุ่มสามตัวนี้เพราะอนาคตมือถือจะคือทุกสิ่งคือ ปัจจัยที่6ลองจาก5คือรถ
  • Maha Arai อีกอย่างใครอาจด่าว่าทำไมผู้บริหารโกดักมองอนาคตไม่ออกเชาอาจมองออกแต่เขาเน้น ผลประโยชน์เฉพาะหน้าไม่สนใจอนาคต เช่นเดียวกับที่ยังสนับสนุนรถใช้น้ำมันบ้างแก๊สโซฮอลบ้างนี่ก็คือคนที่มีแนว คิดแบบเดียวกับผู้บริหารโกดักในสมัยนั้นทั้งๆที่รถไฟฟ้ากำลังมาแรงแทนที่จะ มุ่งไป ทางนั้นธุรกิจน้ำมันไม่เจ๊งวันนี้วันหน้าก็ต้องเจ๊งเหมือนกล้องฟิลม์ไปอุ้ม ยังไงเจอกล้องดิจิตอลมือถือถ่ายรูปได้ก็เจ๊งในที่สุดรวมทั้งกล้องดิจิตอลก็ กำลังเจ๊งเพราะทุกอย่างจะไปรวมที่มือถือต้องมีบริษัทผลิตมือถือเองแบบไอโม บายให้ได้
  • Orca Gustaf เคยไปงานสัมนาของ โกดัก ประเทศไทย ยังต่อว่าร้านอัดรูปอยู่เลยว่า ทำกันยังไงให้ กระดาษอัดรูป โกดักโกลด์ ตกกระป๋อง หุหุ
--------------------------------------------------

บทเรียน "จุดหักเห..โกดัก"

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:00:14 น.
 


คอลัมน์ คลื่นคิดข่าว โดย เรวดี พงศ์ไชยยง


ช่วง กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากศาลสหรัฐมีคำตัดสินให้บริษัท อีสต์แมนโกดัก เจ้าของผลิตภัณฑ์โกดัก ผู้ผลิตฟิล์มและอุปกรณ์ถ่ายภาพชื่อดังของสหรัฐหลุดจากภาวะล้มละลาย

ทำให้หลายคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของอดีตบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้านการถ่าย ภาพรายใหญ่แห่งนี้ จับตาดูทิศทางการปรับตัว หลังจากโกดักเผชิญกับภาวะวิกฤตมานานนับสิบปี

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน โกดักโดดเด่นในโลกของฟิล์มและอุปกรณ์ถ่ายภาพที่เหนือคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่เมื่อเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการถ่ายภาพ ก็โค่นยักษ์ใหญ่อย่างโกดัก จนต้องประสบกับภาวะถดถอย โดยเฉพาะช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในสถานะขาดทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์จนต้องยื่นต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์เมื่อเดือนมกราคม 2555

อีสต์แมนโกดัก นับเป็นบริษัทที่เก่าแก่กว่า 131 ปี ก่อตั้งในนครนิวยอร์กของสหรัฐ

ทั้งกล้องดิจิตอลตัวแรกของโลกถูกคิดค้นด้วยคนของโกดัก แต่ความรั้นของผู้บริหารที่ปฏิเสธนวัตกรรม และติดกับดักความสำเร็จในอดีต และกลัวว่าจะมาแย่งตลาดฟิล์ของตัวเอง ทำให้เลือกที่จะดันทุรังเดินไปตามแผนธุรกิจเดิมๆ ด้วยความเชื่อแบบผิดๆ ว่าจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยไม่สนใจว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคของเทคโนโลยีดิจิตอลแล้ว

จากจุดสูงสุดของธุรกิจในช่วงทศวรรษ 1990 โกดักเคยมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และความถดถอยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าทางการตลาดหายไปกว่า 98%

ช่วงเวลาสำคัญที่ถือเป็นจุดต่ำสุดของโกดัก คือ ช่วงปี 1997 หรือปี 2540 ที่คู่แข่งรายใหญ่อย่างแคนนอนและนิคอน เริ่มผลิตกล้องดิจิตอลออกมาเปิดตลาดกล้องยุคใหม่ แทนการใช้ฟิล์มแบบม้วน เป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับตลาดโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาเป็นแบบถ่ายรูปได้ จนกลายเป็นตลาดของสมาร์ทโฟนที่ครองตลาดทั่วโลกอย่างทุกวันนี้ ทำให้ตลาดของโกดักถูกบีบให้เล็กลงไปในเวลาอันรวดเร็ว

สภาพที่ตกอยู่ในภาวะถูกต้อนแบบหลังพิงฝา จนโกดักต้องตัดสินใจขอพิทักษ์ทรัพย์จากเจ้าหนี้เมื่อต้นปีที่แล้ว ถูกจับตาจากทั่วโลก ว่าวงจรธุรกิจฟิล์มของโกดัก จะนับถอยหลังของฟิล์มม้วนสุดท้ายหรือไม่

ช่วงเวลาประมาณ 20 เดือนของการปรับโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูกิจการ โกดักตัดใจขายกิจการหลัก และลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีของตัวเอง รวมทั้งขายผลิตภัณฑ์ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก เพื่อหาทางสร้างรายได้เอาไปจ่ายหนี้ และเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกิจการผลิตฟิล์มขายปลีก กระดาษอัดรูปและร้านถ่ายภาพขนาดเล็กอีกกว่าแสนแห่งทั่วโลก

กลยุทธ์โค้งนี้ โกดักเลือกหันหัวเรือมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เน้นให้บริการภาพถ่ายแก่ตลาด ธุรกิจ ประกอบด้วย การทำบรรจุภัณฑ์ การพิมพ์เพื่อการใช้งาน การสื่อสารกราฟิกและการให้บริการแบบมืออาชีพ

กับโครงสร้างใหม่ที่เหลือพนักงานอยู่ประมาณ 8,500 คน จาก 1.2 แสนคน เมื่อปี 2516 มีศูนย์ผลิตและเทคโนโลยีใน 10 ประเทศ

ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า โกดักจะกลับมายืนผงาดอยู่ในแถวหน้าของธุรกิจภาพถ่ายได้หรือไม่ จากยุทธศาสตร์ที่ดูแล้วไม่น่าจะมี "จุดแข็ง" พอที่จะเบียดคู่แข่งที่เข้มแข็งอยู่บนโลกธุรกิจขณะนี้ได้

แต่เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ที่การ "ฝืน" กระแสอาจเป็นคุณสมบัติหนึ่งของนวัตกรรม แต่การฝืนโดยไม่มีตรรกะและแผนรองรับที่ดีพอ อาจนำไปสู่ "หายนะ" มากกว่าจะ "คว้าชัยชนะ" ในเกมธุรกิจ

บทเรียนจากความสำเร็จของหลายองค์กร อาจทำให้เรามองเห็นแบบอย่างที่ดี

แต่การเรียนรู้จากความล้มเหลวอย่างนี้ ก็ทำให้ได้เห็นวิถีการตัดสินใจ ที่ผู้บริหารหลายองค์กรยัง "ติดกับ" ความสำเร็จในอดีตแบบสลัดไม่หลุดเสียที

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380352302&grpid=01&catid&subcatid

--------------------------------------------------

FfF