บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 ตุลาคม 2556

<<< แนวคิดอุดมคติโดยปราศจากการคิดเผื่อว่าคนยังมีกิเลส มักนำมาซึ่งความล้มเหลวในเวลาต่อมา กรณีลัทธิคาลมาร์กกับกรณีภูฏานล่าสุดคือตัวอย่างอย่างดี >>>


<<< แนวคิดอุดมคติโดยปราศจากการคิดเผื่อว่าคนยังมีกิเลส มักนำมาซึ่งความล้มเหลวในเวลาต่อมา กรณีลัทธิคาลมาร์กกับกรณีภูฏานล่าสุดคือตัวอย่างอย่างดี >>>

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380539310&grpid&catid=02&subcatid=0207
  • ทั้ง ณฐพล จันทรอัมพร และ Komon Sermboonkrong ถูกใจสิ่งนี้
  • Maha Arai นักคิดนักเขียนนักปกครองที่มีเพาเว่อร์ในการชี้นำผู้คนในสังคมที่ชอบใช้แต่ จินตนาการแล้วคิดค้นนโยบายหรือรูปแบบการปกครองแบบต่างๆ โดยลืมที่จะนึกว่าคนก็คือคน ที่ยังมีกิเลสรักโลภโกรธหลง ไม่ได้บรรลุโสดาบันกันหมด จึงนำมาซึ่งความล้มเหลวอย่างที่เห็น
  • Maha Arai เช่นกรณีของคาลมาร์กที่ออกแนวสังคมนิยมสุดขั้วกับแนวทุกคนเท่าเทียมกันสุดท้ายพอเอาเข้าจริง ถ้าเป็นสังคมนิยมเต็มร้อยก็จะเกิดคนขี้เกียจมากขึ้นพวกขยันก็พลอยขี้เกียจ ตามและขาดแรงกระตุ้นคิดค้นวิจัยอะไรใหม่ๆ คิดได้ก็เผ่นไปอยู่ประเทศที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเกิดสมองไหลมากมาย
  • Maha Arai คนเท่าเทียมกันแบบสมัยเหมาแต่เอาเข้าจริงพวกผู้มีอำนาจและพรรคพวกก็พยายามทำตัวไม่เท่าเทียมกับชาวบ้านคือยกตัวสูงกว่าแล้วพยายามกดหัวชาวบ้านให้จนเท่า เทียมกันทุกคนประเทศย่ำแย่แต่สุดท้ายเปลี่ยนแนวแบบตะวันตกสมัยเติ้ง ตามนโยบายสี่ทันสมัยอะไรนั่น สภาพตอนนี้ดีกว่าก่อนมากมาย
  • Maha Arai กรณีล่าสุดภูฏานบอกไม่เน้นเรื่อง GDP ถูกต้องแล้วเห็นด้วย แล้วบอกว่าจะเน้น GNH อะไร คือจะบอกว่าเน้นตัวชี้วัดความสุขโดยรวมของประชาชนในประเทศมากกว่าความเจริญ โดยรวม แต่พอเอาเข้าจริงก็หนีไม่พ้นเจริญตามรอยทุกชาติที่เคยเจริญมาก่อนก็จะเกิดปัญหาแบบนั้นด้วย
  • Maha Arai คือพวกชาติตะวันตกเจริญมาก่อนทุกวันนี้ก็เกิดปัญหานั่นนี่พวกยังไม่เจริญก็มอง ว่าไม่ดีนั่นนี่ แต่พอวันหนึ่งประเทศตนเองเปิดรับความเจริญมากขึ้นเจริญขึ้นปัญหาที่ประเทศ เจริญแล้วเจอก็ต้องเจอเหมือนๆ กัน ทั้งความเหลื่อมล้ำทั้งอบายมุขทั้งปัญหาค่าครองชีพนั่นนี่เพียบ
  • Maha Arai จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพรรคที่ชูแนวเดิมคือเน้นความสุขของประเทศจึงแพ้งวดนี้ เพราะประชาชนไม่มีความสุขไง และความสุขเดี๋ยวนี้ถ้าบอกว่าไม่ต้องใช้เงินก็ต้องเข้าป่าใช้ชีวิตแบบดึกดำบรรพ์ ถ้าใช้ชีวิตปัจจุบันก็ต้องใช้เงินทั้งนั้นทั้งค่านั่นนี่ เมื่อมีค่าใช้จ่ายก็ต้องดิ้นรนหารายได้ ไม่รวมเรื่องกิเลสของมนุษย์ที่อยากมีอยากเด่นอยากได้นั่นนี่แถมมีของใหม่ๆ ออกมาวางขายอยู่เรื่อยๆ ยั่วกิเลสยังไงก็ต้องเสียเงินกันจนได้เมื่อไม่มีเงินจะสุขไปได้ยังไง
  • Maha Arai จะเห็นว่าแนวคิดที่ยกตัวอย่างเป้นแนวคิดที่ดีดีมากๆ ด้วยถ้าทำได้ แต่ความเป็นจริงมันทำไม่ได้เพราะมันติดอยู่ที่มนุษยืมีกิเลสไม่ใช่หุ่นยนต์ จะสั่งซ้ายหันขวาหันนั่นนี่ซึ่งถ้าทำแบบนั้นก็ต้องแนวเผด็จการเต็มรูปแบบเท่านั้นที่ยังพอทำได้เช่นกรณีเกาหลีเหนือชาวบ้านอดตายไม่มีความสุขยังไงก็ไม่มีข่าวเพราะทุกอย่างรัฐคุมหมดและไม่มีใครกล้าหือออกมาค้านด้วย
--------------------------------------------------------

ปัญหาของ ภูฏาน เมื่อ GNH กลายพันธุ์ โดย ศิรพงษ์ วิทยวิโรจน์

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 21:35:00 น.
 




ข่าวชวนฮือฮา เกี่ยวกับภูฏาน ประเทศเล็กๆ ที่ว่ากันว่าเป็นต้นแบบต้นคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ กรอส เนชั่นแนล แฮปปี้เนส (Gross National Happiness) จากแนวคิดพื้นฐานดั้งเดิมว่าหากประชาชนไม่มีความสุข ก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาล แนวคิดนี้ปักหลักหนักแน่นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสืบทอดมาสู่รัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2008 ที่ยึดเอา GNH เป็นเป้าหมายหลักของประเทศ แทนการวัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP (Groos Domestic Product)

ปรากฏ ว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเมื่อต้นปี พรรครัฐบาลที่ยึดมั่นใน GNH พ่ายแพ้แก่พรรคฝ่ายค้าน ได้รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ซีริง โทบเก ซึ่งเมื่อเดือนก่อนออกมายำ GNH ให้สะใจโก๋บางคนว่า GNH ย่อมาจาก Government Needs Help มากกว่า เพราะภูฏานวันนี้เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงลิ่ว การขาดแคลนเงินตรา ปัญหาการว่างงาน และคอร์รัปชั่น

โทบเกว่าจะเอาแต่พูดถึง GNH โดยไม่ทำงานก็เปล่าประโยชน์ GNH ที่ไม่ส่งมอบบริการขั้นพื้นฐานก็เปล่าประโยชน์

เกิด อะไรขึ้นกับหนึ่งในประเทศที่ถูกจัดว่ามีความสุขที่สุดในโลกจนแทบจะเป็นต้น แบบให้หลายประเทศใหญ่น้อยอยากจะเจริญรอยตาม ลองมาดูข้อมูลการสำรวจที่มาจากรายงานความสุขโลกของสหประชาชาติ ปี 2013 กันสักนิด เพราะมีบางอย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ผู้ชายภูฏานร้อยละ 49 มีความสุข ขณะที่ผู้หญิงราวหนึ่งในสามเท่านั้นที่มีความสุข?

และเมื่อส่องลงไป ในด้านของผู้ไม่มีความสุขที่เป็นหญิงร้อยละ 69 และผู้ชายร้อยละ 30 นั้น พบว่าร้อยละ 84 อาศัยอยู่ในชนบท มีในทุกกลุ่มอายุ แต่มากถึงร้อยละ 57 อายุ 40 ปีขึ้นไป ขณะที่ร้อยละ 90 ของคนภูฏานที่ไม่มีความสุขนั้นไม่ได้ผ่านการศึกษาอย่างเป็นทางการ เทียบกับคนที่มีความสุขล้วนๆ จะมีการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป

และร้อยละ 79 ของคนภูฏานที่ไม่มีความสุขเป็นเกษตรกร

ข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่น่าแปลกใจนักเพราะสอดคล้องกับประเทศอื่นในโลกที่คนมีฐานะดีกว่า มีการศึกษามากกว่าจะมีความสุขกว่า

และ มันยังย้ำเตือนด้วยว่าการเน้นที่ความสุขอย่างเดียวไม่ได้หมายความถึงทำให้ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น จากรายงานพบว่า 1 ใน 4 ของชาวภูฏานเป็นคนยากจน ที่ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย และไฟฟ้า

ยิ่ง สำหรับภูฏานซึ่งเริ่มเปิดรับการพัฒนาและความทันสมัยปัญหาก็ยิ่งวิ่งเข้าใส่ โดยอาจจะตั้งตัวไม่ทัน หรือมัวแต่คิดถึง GNH มากเกินไปตามที่นายกรัฐมนตรีโทบเกว่าก็ได้ ทั้งยาเสพติด แก๊งอันธพาล การว่างงานของคนรุ่นใหม่ๆ

หรือแอลกอฮอลิสม์ที่เป็นกันมากในภูฏานก็มา จากรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เหล้าเป็นสิ่งที่หาได้ทั่วไปทั้งจากที่ผลิตกันเองตามบ้านและนำเข้า และก่อปัญหาตามมาทั้งโรคทางกายอย่างโรคตับที่มาจากเหล้ามากที่สุด และความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า เป็นต้น

ที่จริงก็แปลกอยู่ เหมือนกัน เพราะความจริงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในขั้นพื้นฐานควรจะเป็นดัชนีชี้วัดที่ รวมอยู่ใน GNH ด้วย แต่ก็อย่างว่าเมื่อดูดัชนีชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดี หรือ Better Life Index ที่ใช้วัดกันในกลุ่มประเทศ OECD และถูกใช้เป็นพื้นฐานของ GNH ด้วยนั้นมันมีตัวชี้วัดอย่างเช่น ทอยเล็ต อินเด็กซ์อยู่ด้วย พูดง่ายๆ ถ้าบ้านไหนไม่มีส้วมก็แปลว่าชีวิตพร่องไปหนึ่งอย่างสำหรับความเป็นอยู่ที่ดี

ไม่มีส้วมที่บ้านความสุขก็ติดลบหักออกไปหนึ่งคะแนนจากความสุขโดยรวม

ส่วนการไม่ต้องล้างขัดทำความสะอาดส้วมเองเพราะที่บ้านไม่มีส้วมนั้นไม่มีระบุไว้ในดัชนีว่าจะวัดเป็นความสุขอย่างหนึ่งหรือเปล่า



(ที่มา:มติชนรายวัน 30 กันยายน 2556)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์www.facebook.com/MatichonOnline

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1380539310&grpid&catid=02&subcatid=0207

--------------------------------------------------------

FfF