บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


06 พฤษภาคม 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง การขายหุ้นของทักษิณ >>>

ความจริงเรื่องนี้
มีการโต้เถียงกันหลายสิบกระทู้แล้ว
เรียกว่าโต้กันจนเบื่อ
แต่ก็ดีทำให้มีข้อมูลเก็บไว้จำนวนมาก
และคิดว่าครอบคลุมแทบทุกเรื่องที่กล่าวหากันแล้ว
แต่ขอสรุปง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ
แล้วตามอ่านคำชี้แจงต่างๆ เพิ่มเติม
อาจทำให้เข้าใจมากขึ้น
เรื่องการขายหุ้นมีการกล่าวหาในหลายประเด็นดังนี้
เรื่องขายหุ้นทำไมไม่เสียภาษี
เรื่องไปตั้งบริษัทบนเกาะฟอกเงิน
เรื่องแก้กฏหมายทำให้ขายหุ้นได้
เรื่องภาษีส่วนต่างต้องเสียไหมเรื่องนายเรืองไกรขายหุ้นทำไมเสียภาษี
สุดท้ายงัดเรื่องจริยธรรมมาเล่น
เรื่องเจตนารมณ์กฏหมายมาเล่น
ผมได้พยายามรวบรวมหลักฐาน
และคำชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง
ของกรมสรรพากร
และรวบรวมข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องมาลงไว้ด้วย
เพื่อให้ทุกท่านอ่านและสามารถวิเคราะห์ได้เองด้วย
โดย มาหาอะไร
---------------------------------------------

1. ประเด็นภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปฯ
1.1. (หากขายหุ้น 49% ตั้งแต่ปี42) คุณทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% (จากที่ตั้งบริษัทเองเมื่อ 22 ปีก่อน และเข้าตลาดหุ้นเมื่อ 15 ปีก่อน) หุ้นจำนวนนี้หากขายในตลาดหุ้น ไม่ว่าให้ลูกและลูกขายต่อให้ใคร ในฐานะนักลงทุนบุคคลในตลาดหุ้นไม่มีภาษีจากการขายหุ้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคุณทักษิณและครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อลดหรือเลี่ยงภาษี (เช่นกรณีแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลดหรือเลี่ยง
· ที่คุณทักษิณทำเรื่องบริษัทแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาหุ้นชินคอร์ปฯ 11% เข้าขายในตลาดหุ้นสหรัฐ (ดูหน้าข้อมูลประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน แต่หุ้นส่วนนี้ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ
1.2. (โอนไป หุ้น11%) คุณทักษิณโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่ เดิมถือเองอยู่ในฐานะบุคคล ให้ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมข้อ 1.1
· (ยกหุ้น49% ให้ลูก) ปลายปี 43 คุณทักษิณและภรรยา ขายโอนชินคอร์ปฯให้ลูกที่ต้นทุน ก่อนจะเป็นนายกฯ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ: เป็นหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคล) และเป็นตัวบริษัทแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 11%)
1.3. (โอนกลับ หุ้น11%) ต้นปี 49 พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่บริษัทแอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองตรงในฐานะบุคคล การโอนกลับก็เทียบเท่ากับตอนแรกที่ได้โอนไป คือ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมในข้อ 1.1
· โอนกลับ 11% จากแอมเพิลริช (มาถือในฐานะบุคคล) เพื่อมารวมกับส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคลมาตลอด) เท่าจำนวนหุ้นเดิม 49%
1.4. (ขายหุ้น 49% ปี 49) ต้นปี 49 พาน/พิณ จึงขายหุ้นทั้ง 49% ในตลาดหุ้นในฐานะบุคคลธรรมดา ไม่มีภาษี เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมตามข้อ 1.1
· ปรากฏว่า ถูกกล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีส่วนแอมเพิลริช 11% ตอนโอนกลับ และหากถูกกฏหมายก็หาว่าผิดจริยธรรม
1.5. ข้อกล่าวหาแบบที่ (1) ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท แล้วตอนขายได้ 49 บาท พาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 48 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ขาย
1.6. ข้อกล่าวหาแบบที่ (2) คล้ายกรณีบริษัทออกหุ้นราคาถูกพิเศษขายจูงใจให้พนักงาน (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP ที่ พนักงานสามารถซื้อหุ้นใหม่นี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าราคาหุ้นบริษัทที่ซื้อ ขายอยู่ในตลาดในวันนั้นๆ จงใจให้พนักงานมีกำไรจากการขายหุ้น อันเป็นวิธีหนึ่งในการจ่ายรายได้เพิ่มให้พนักงาน)
· ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯในตลาดหุ้นราคา 42 บาท เสมือนว่าพาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 41 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ซื้อ เลย(ภายหลังขายในตลาดหุ้นที่ 49 บาทไม่มีภาษีแล้วเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
1.7. ข้อกล่าวหาทั้งสองลักษณะ เป็นการตีความคนละหลักการ
· พาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริช เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่แอมเพิลริชถืออยู่กลับมาถือเองโดยตรงในราคาพาร์ต้นทุน ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
· เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ (หรือ บางข้อกล่าวหาว่าเหมือนการให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว) ล้วนเป็นการจ่ายให้ผู้รับมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ แต่กรณีพาน/พิณไม่มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
· จึง ดูเพียงครึ่งทางตอนขาโอนกลับอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งวงจร คือเจ้าของเดิมโอนไปครั้งแรกและโอนกลับครั้งหลัง ระหว่างตนเองกับบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ (แอมเพิลริช) ไม่เป็นการมีรายได้เพิ่ม มิเช่นนั้น ก็ควรต้องออกกฏหมายให้ชัดๆว่าการโอนโดยเจ้าของเดียวกันต้องเสียภาษี
1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณ หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ
· ข้อกล่าวหาโดยนักกฏหมายยังมีการตีความไปหลายแบบ (ที่ไม่ใช่ประเด็นถูกต้อง) ว่ามีเข้าข่ายต้องเสียภาษีในหลายกรณีที่แตกต่างกันมาก เพื่อยัดเยียดว่าต้องผิดจริยธรรมแน่นอน (การถูกผิดกฏหมายควรเป็นกรณีชัดเจนเพียงอันใดอันหนึ่ง)
· หาก แคลงใจในแง่กฏหมายว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี โดยการตีความไปต่างๆนาๆ ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่แค่เอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ สรรพากร และ กลต
1.9. เป็น สิทธิ์ของประชาชนตามกฏหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ก็เรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่ทุกคนยื่นแบบภาษีกันทุกปี
· ข้อ กล่าวหานี้ เปรียบไปคล้ายกับว่า ถนนข้างล่างว่าง ขับได้เร็วอยู่แล้ว คนขับมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ไปบอกว่าหากไม่ขึ้นทางด่วนเสียเงินค่าทางด่วน ถือว่าคนขับหลีกเลี่ยง
1.10. ตลาด หลักทรัพย์ตั้งใจยกเว้นภาษีกำไรให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาด เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุนได้
· บริษัท นิติบุคคลสามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
· บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน หรือเสียภาษี ก็หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องส่งเสริมเช่นนี้ มิเช่นนั้น นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายต้องทำบัญชี สอบบัญชี
1.11. ทั้งตัวคุณทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีให้รัฐทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ คุณทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
1.12. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับ แรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่


ข้อมูลประกอบ
ที่ SH 063/2542
11 มิถุนายน 2542
เรื่อง ขอชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ตามแบบ 246-2 ที่ผู้ถือหุ้นได้แจ้งให้สำนักงาน กลต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบแล้วนั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้ทราบดังนี้
เดิม ใหม่
1. นางพจมาน ชินวัตร 25.00% 25.00%
2. ...ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร 23.75% 11.88%
3. Ample Rich Investments Limited 0% 11.87%
(ถือหุ้นโดย พ... คุณทักษิณ ชินวัตร ทั้งหมด 100 %) 48.75% 48.75%
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ พ... ดร. คุณทักษิณ ชินวัตร ได้โอนหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 11.87% ให้กับ Ample Rich Investments Limited ซึ่งผู้ถือหุ้นถือเป็นบุคคลเดียวกันกับเจ้าของเดิม แสดงให้เห็นว่ามิได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นดังกล่าวไม่มีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นทั้งทางด้านส่วนตัวและบริษัทฯ โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัท โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารงานบริษัทฯ ยังคงเป็นเช่นเดิม
อย่างไรก็ตาม เพื่อชี้แจงให้เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า เป็นการเตรียมการเพื่อสนับสนุนการที่บริษัทฯ มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาขยายการลงทุนด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย ตามที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2542 ตามหนังสือเลขที่ SH 61/2542 แล้วนั้น
เพื่อให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศดังกล่าว บริษัทฯ มีความจำเป็นที่ต้องสำรองหุ้นบางส่วนจากผู้ถือหุ้นปัจจุบันทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อทดสอบความสำเร็จและสภาพคล่องของ ADR Level I ก่อนนำหุ้นที่เพิ่มทุนเข้าสู่ ADR Level III หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายบุญคลี ปลั่งศิริ)
กรรมการ
บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่นส์


ข้อมูลประกอบ
01/02/01ชินคอร์ปเลิกไปแนสแดค ระดมทุนในไทยไร้ปัญหา
กลุ่มชินฯ บอกลาตลาดหุ้นแนสแดค อ้างเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ดี ส่งสัญญาณบริษัทที่เหลือคงพับแผน นักวิเคราะห์มองกลุ่มนี้ไม่ มีปัญหา แม้ต้องใช้ เงินขยายธุรกิจอีกมาก ด้วยสถานะดีระดมทุนในประเทศได้ไม่ยาก
บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN ได้ ตัดสินใจที่จะเลื่อนแผนการเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแนสแดค จากเดิมที่จะต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในต้นปีนี้ ทั้งนี้เป็นผลมาจากตลาดแนสแดคได้เข้าสู่ช่วงขาลง
แหล่งข่าวจากกลุ่มชินฯ ให้เหตุ ผลว่า พวกเราประเมินกันแล้วว่าตลาดหุ้นของสหรัฐ โดยเฉพาะแนสแดคคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นตัว เห็นได้จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในแนสแดคส่วน ใหญ่มีรายได้ลดลง ซึ่ง เป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯที่อยู่ในช่วงชะลอตัว โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งซึ่งจะทราบผลใน วันนี้
"หากตลาดแนสแดคดีขึ้นเมื่อไหร่ เราคง จะหันมาทบทวนแผนการระดมทุนอีกครั้ง"
สิ่ง ที่เกิดขึ้นจะทำให้นักลงทุนในสหรัฐฯให้ความสนใจหุ้นในกลุ่มนี้ลดลงและอาจจะ เคลื่อนย้ายเงินลงทุนออกจากสหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลต่อราคาหุ้นที่จะนำไปเสนอขาย รวมไปถึ งแผนที่ทางกลุ่ม เคยคิดที่จะออกตราสารแทนหุ้นบริษัทและเปิดให้ซื้อขายในต่างประเทศได้ ซึ่ง คงจะต้องเปลี่ยนแผนไปเช่นกัน
นัก วิเคราะห์หลักทรัพย์กล่าวว่า การถอยจากการระดมทุนในสหรัฐของกลุ่มชินฯ ถือว่า เป็นสัญญาณบอกกับบริษัทอื่นๆ ที่มีแผนจะนำเอาบริษัทไปจดทะเบียนที่แนสแดคว่าคงจะต้องคิดเหมือนกลุ่มชินฯ เพราะกลุ่มตั้งความหวังไว้ส่วนใหญ่จะมีสถานะเป็นรองกลุ่มชินฯ แทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ตราสารของบริษัทในย่านเอเชียที่ออกเพื่อใช้ซื้อขายในสหรัฐฯเกือบทุกแห่งมีราคาตกลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นแนสแดคมีปัญหาเท่ากับเป็นการดับความหวังของบริษัทต่างๆ ที่คิดจะเข้าไประดมทุนในสหรัฐฯ
แม้ว่ากลุ่มชินฯ จะปรับแผนไม่ไป ระดมทุนที่สหรัฐฯ แต่คงไม่สร้างปัญหาให้กับกลุ่มชินฯ ทั้งๆ ที่ทางกลุ่มจะต้องใช้เงินอีกจำนวนไม่น้อยเพื่อขยาย ธุรกิจ เนื่องจากโดยศักยภาพของกลุ่ม นี้สามารถที่จะแหล่งเงินทุนได้ไม่ยากนัก และบริษัทลูกก็สามารถออกหุ้นกู้ได้เอง
…………………….
* ที่มา Kimeng & Manager
---------------------------------------------

2) การจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขต (Offshore Company
2.1. แอมเพิลริชเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นชินคอร์ปฯเฉยๆ ไม่ได้มีกิจการค้าขายธุรกรรมอื่น ไม่มีรายได้ในไทย ใน BVI หรือ ในประเทศใด จึงไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เสียในประเทศใด ขณะที่หุ้นชินคอร์ปฯที่ถืออยู่ เป็นของครอบครัวคุณทักษิณตั้งแต่ต้น สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่มีภาษีอยู่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะตั้งแอมเพิลริชเพื่อการหลีกเลี่ยงภาษี
· แอ มเพิลริชถือหุ้นชินคอร์ปฯซึ่งมีข้อมูลชัดเจนอยู่แล้ว ตามทะเบียนกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงไม่ใช่การตั้งขั้นเพื่อการหลบเลี่ยงการรายงาน ซ่อนหรือฟอกเงินหรือทรัพย์สิน
2.2. ประเทศไทยก็มีกฏหมายเปิดรับการจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษีในประเทศไทยเองเช่นกัน
· ประเทศที่จัดให้มีการตั้งบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี ที่นิยมกันมาก คือ บีวีไอ (กว่า 300,000 บริษัท), เบอร์มิวดา, เคย์แมน, บาฮามา, มอริเชียส, ฯลฯ รวมถึง สิงค์โปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยด้วย (วาณิชธนกิจ BIBF (Bangkok International Banking Facilities) ของแบงค์ชาติ มีสิบกว่าปีแล้ว)
· หลัก การคล้ายกันคือ เพื่อจูงใจให้ต่างชาติมาใช้บริการทางการเงินของประเทศ ประเทศก็จะมีบริการให้ต่างชาติสามารถมาตั้งบริษัทนอกอาณาเขตได้ เปิดบัญชีเงินดอลลาร์ หากไม่มีรายได้ที่เกิดจากการค้าขายในประเทศ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ประเทศ ดังนั้นบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี เป็นเรื่องปกติและถูกต้องตามกฏหมายในการทำธุรกิจสากล ดูข้อมูลประกอบ
2.3. ตลาดหุ้นสหรัฐเปิดรับบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษีจากทุกประเทศอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ห้ามหรือปิดกั้นอย่างที่กล่าวหา (รวมถึงตลาดหุ้นสากลใหญ่ๆทุกแห่ง ทั้ง อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์) บริษัทต่างชาติ ที่เข้าระดมทุนซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐจำนวนมาก ก็เป็นบริษัทนอกอาณาเขตแบบปลอดภาษี ดูข้อมูลประกอบhttp://www.sec.gov/divisions/corpfin/internatl/foreignsummary2004.pdf
2.4. แผนการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐของชินคอร์ปเป็นแบบซื้อขายหุ้นของชินคอร์ป ในลักษณะใบรับฝากหุ้นอเมริกา (ADR: American Depository Receipt) เป็น การเข้าสองตลาดหุ้นขนานพร้อมกัน ระหว่างตลาดหุ้นไทยเป็นหลักและตลาดหุ้นสหรัฐเป็นรอง โดยหุ้นชินคอร์ปส่วนที่แอมเพิลริชถืออยู่เป็นตัวเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐ
2.5. กรณี ชินแซท เป็นแผนการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยบริษัทไอพีสตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นเพื่อเน้นธุรกิจบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ทความ เร็วสูงผ่านดาวเทียมไอพีสตาร์ทั่วทั้งภูมิภาค บริษัทไอพีสตาร์จดทะเบียนในบีวีไอ เพราะความสะดวกในการ จัดตั้ง การขายและการลงทุนทั่วทั้งภูมิภาค และการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสากล (แต่ตัวบริษัทชินแซทเองก็สามารถเลือกทำ ADR แบบชินคอร์ปได้เช่นกัน)
2.6. กรณีที่นายกฯเคยพูดถึงรัฐสภาสหรัฐ กำลังแก้กฏหมายเรื่องการเก็บภาษีบริษัทนอกอาณาเขต ก็แสดงว่าที่ผ่านมาไม่ผิดกฏหมาย และไม่ใช่ทุกกรณีที่เลี่ยงภาษี
· รัฐสภาสหรัฐแก้กฏหมายเพื่อปรับปรุงการเก็บภาษีบริษัทหรือคนสหรัฐเองที่ค้าขายในสหรัฐ แต่ไปตั้งบริษัทแม่ หรือ สำนักงานใหญ่ นอกประเทศแบบนอกอาณาเขต ปลอดภาษี ไม่ใช่กรณีบริษัทต่างชาติไปทำ ADR หรือบริษัทต่างชาติเข้าตลาดหุ้นโดยตรง
· ประเทศ สหรัฐเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้าไปค้าขายได้มาก ทำให้มีคนหรือบริษัทสหรัฐจำนวนมากไปแสร้งตั้งบริษัทนอกอาณาเขตเพื่อค้า ขายกลับเข้าไปในสหรัฐ เพราะมีหลายกรณีจะเสียภาษีน้อยกว่าเป็นสัญชาติสหรัฐเอง (กระทั่งในสหรัฐก็มีรัฐปลอดภาษีเช่น เนวาดา เดลาแวร์ ใครเคยไปคงจำได้ว่า การซื้อของทางไปรษณีย์จากรัฐอื่นไม่ต้องเสียภาษีขาย (Sales Tax) ในขณะที่คนซื้อของจากผู้ขายในรัฐเดียวกันกับต้องเสียภาษี เป็นความแปลกแบบสหรัฐ เอาไทยไปเทียบไม่ได้)
· เป็น คนละกรณีกับแอมเพิลริชที่ทำหน้าที่เพียงถือหุ้นชินคอร์ปเพื่อเข้าตลาดหุ้น สหรัฐ พอไม่ได้เข้าหุ้นนี้ก็อยู่ที่เดิมตลอดมา ไม่มีการค้าขาย ส่วนสำนักงานใหญ่ชินคอร์ปอยู่เมืองไทย (ดูข้อมูลประกอบ)
· ส่วนในข่าวมีการใช้คำว่าไม่รักชาติ (non-patriotic) เป็นเพียงสำนวนนักการเมืองสหรัฐที่ใช้ศัพท์ให้เร้าใจเพื่อสร้างความสนใจและการสนับสนุนการแก้กฏหมาย
2.7. ข้อ กล่าวหาเรื่องฟอกเงิน เพราะมีรายงานบางฉบับบอกว่า มีการใช้บริษัทนอกอาณาเขตแบบนี้เพื่อการฟอกเงิน ค้ายาเสพติด อาชญากรรมจำนวนมาก ก็ไม่ได้หมายถึงทุกบริษัทนอกอาณาเขตเป็นสิ่งผิดกฏหมายทั้งหมด
· มิ เช่นนั้นจะกลายเป็นว่า บริษัทประกันภัย ธนาคารชั้นนำของโลกเกือบทุกราย รวมถึงหลายแห่งของไทย ก็มีบริษัทนอกอาณาเขตในแหล่งหลักๆเช่น บีวีไอ บาฮามา เคย์แมน ฯลฯ แปลว่าทุกคนผิดกฏหมายหรือ?
· หรือ กรณีว่าบัญชีธนาคารในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ขึ้นชื่อว่ามีอาชญกรจำนวนมากเปิดบัญชีใช้ฝากเงินผิดกฏหมาย อย่างที่เห็นบ่อยๆในภาพยนตร์ ดังนั้น แสดงว่าใครไปเปิดบัญชี ก็เป็นอาชญกรทั้งหมดหรือ?
· หุ้นชินคอร์ป อยู่ในทะเบียนกระทรวงพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่เงินที่นำไปฟอกได้
---------------------------------------------

3 การมีต่างชาติถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโทรคมนาคม
3.1 ครอบครัวดร.ทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปที่ตนเป็นเจ้าของ 49% ให้กองทุนเทมาเสกและพันธมิตร
· ไม่ใช่การขายทั้งบริษัท 100% เพราะที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นอื่น
· ไม่ใช่การขายตัวสัมปทาน, ความถี่, เครือข่าย, หรือหุ้นของบริษัทสัมปทานผู้ให้บริการมือถือ ดาวเทียม ทีวี
3.2 ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53%
· ดังนั้น ถือได้ว่าเทมาเสก (ผ่านการถือหุ้น49% ในชินคอร์ป) มีความเป็นเจ้าของ เอไอเอส 21% ชินแซทเทลไลท์ 20% ไอทีวี 26% (หากเอาของสิงเทลที่ถือหุ้นเอไอเอส 21% บวกกับส่วนที่เทมาเสกถือผ่านชินคอร์ปอีก 21% ก็จะมีต่างชาติถือหุ้นเอไอเอสรวม 42%) ทั้งหมดไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ถือว่าปกติ
3.3 การที่กองทุนเทมาเสกและพันธมิตรซื้อหุ้นชินคอร์ป และมีการทำการตรวจสอบประเมินมูลค่า (Due Diligence) ชิน คอร์ป รวมถึง เอไอเอส ชินแซทเทลไลท์ และไอทีวี ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ บริษัทเหล่านี้ไม่ต้องให้รายละเอียดเครือข่ายที่เป็นความลับใดๆ ของทั้งตนเองและผู้ใช้บริการแก่ผู้ถือหุ้นชินคอร์ปแต่อย่างใด
3.4 สิงเทล หนึ่งในบริษัทลูกของเทมาเสก ถือหุ้นในบริษัทโทรคมนาคมทั่วภูมิภาคจำนวนมาก เช่น
· ถือหุ้น 100% ใน Optus บริษัทดาวเทียมหนึ่งเดียวและบริษัทมือถืออันดับสองของออสเตรเลีย, ถือหุ้น 21% ในเอไอเอส บริษัทมือถืออันดับหนึ่งของไทย, ถือหุ้น 30% ใน Bharti บริษัทมือถืออันดับหนึ่งของอินเดีย, ถือหุ้น 44% ในบริษัท Globe บริษัทมือถืออันดับสองของฟิลิปปินส์, ถือหุ้น 35% ใน Telkomcel บริษัทมือถือ โทรศัพท์ และดาวเทียมอันดับหนึ่งของรัฐบาลอินโดนีเซีย, ถือหุ้น 20% ในบริษัท Apt Satellite บริษัทดาวเทียมอันดับสองของจีน
· ขณะที่ บริษัทสิงคโปร์เทคโนโลยี บริษัทลูก 100%ของเทมาเสก ถือหุ้น 42% ใน Indosat บริษัทมือถือ โทรศัพท์ และดาวเทียม อันดับสองของรัฐบาลอินโดนีเซีย
3.5 ประเทศอาเชียนเพื่อนบ้านเหล่านี้ ไม่ประท้วงการขายชาติหรือการขายสมบัติของชาติ ไม่ใช่เพราะโง่กว่าเราและเราฉลาดกว่า ที่เป็นชาตินิยม ปกป้องกีดกันการลงทุนจากต่างประเทศ
· การลงทุนโทรคมนาคมโดยทุนต่างชาติ สะท้อนถึงโลกาภิวัฒน์ในการเปิดเสรีโทรคมนาคม เป็นไปทั่วโลกอย่างรุนแรง เช่น บริษัทแม่ Vodafone แห่งอังกฤษ ถือหุ้นเกือบ 100% ในVodafone ญี่ปุ่น บริษัทมือถืออันดับสามของญี่ปุ่น, เทเลนอร์ ถือหุ้นใหญ่เกือบ 100% ในดีแทค บริษัทมือถืออันดับสองของไทย และ 61% ใน Digi บริษัทมือถืออันดับสองของมาเลเซีย, ชินแซทของไทยเองก็ถือหุ้น 50% ในบริษัทลาวโทรคมนาคม ซึ่งให้บริการโทรคมนาคมเต็มรูปแบบอันดับหนึ่งของรัฐบาลลาว
3.6 การ มีต่างชาติถือหุ้นและร่วมบริหารในบริษัทโทรคมนาคมไทย ไม่กระทบหรือมีประเด็นความมั่นคงของชาติ เพราะใบอนุญาตและผู้ให้บริการโทรคมนาคมล้วนอยู่ภายใต้กฏหมายไทยและเป็นเครือ ข่ายติดอยู่ในประเทศ (ถอดเครือข่ายออกไปไม่ได้)
· ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบและนโยบายของกระทรวงไอซีที, กทช (ซึ่งมีอำนาจถอดถอนใบอนุญาตได้หากละเมิดกฏหมาย), หน่วยราชการอื่นๆ (ตลาดหลักทรัพย์ กระทรวงพาณิชย์ สรรพากร, ฯลฯ) ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ (ข้อสังเกตุ: หน่วยงานกำกับดูแลเช่น กทช มีแนวโน้มจะมีปัญหาในการกำกับดูแลบริษัทโทรคมนาคมไทยขนาดเล็ก (เช่น กรณีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ท วิทยุชุมชน ที่บางรายอาจดื้อมากหรือมีอิทธิพล) มากกว่าการกำกับดูแลบริษัทใหญ่ที่มีต่างชาติถือหุ้น ฯลฯ)
· ปัจจุบันเป็นระบบ ยกทรัพย์สินให้ทางราชการ” (BTO: Build Operate Transfer) ผู้ ให้บริการเป็นผู้ลงทุน แต่ได้เพียงสิทธิในการบริหารเครือข่ายเพื่อหารายได้ (ในอนาคตเป็นระบบใบอนุญาต ไม่มีการยกทรัพย์สินให้ทางราชการ)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ….. มีสาระสำคัญดังนี้
5. การกำกับดูแลและมาตรการบังคับผู้รับใบอนุญาต
กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบการประกอบกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบ อนุญาตได้ และในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ คณะกรรมการอาจเข้าครอบครองและใช้อุปกรณ์ของผู้รับใบอนุญาตหรือจะสั่งให้ผู้ รับใบอนุญาตปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
ใน กรณีที่มีการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูก ต้อง ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้กำหนดค่าปรับทางปกครองได้ และถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้คณะกรรมการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนกรณีที่มีการกระทำร้ายแรงนั้น ให้มีโทษทางอาญาด้วย จากการประชุม ครม วันที่ 14 มีนาคม 2543 นายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯ
3.7 ดังนั้น ประเทศไทยต้องแยกเรื่อง เงินลงทุนและผู้ถือหุ้นออกจาก บริษัทและใบอนุญาต
· เงินทุนเคลื่อนไหวเร็ว เสรี ไม่มีพรมแดน โทรคมนาคมลงทุนสูง ต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
· ต้องหลีกเลี่ยงลัทธิปกป้องหรือกีดกันการค้า มิเช่นนั้นต่างชาติไม่มาลงทุนและจะกีดกันกลับ
· หากบริษัทโทรคมนาคมไทยกู้ยืมเงินจากธนาคารต่างชาติ ก็เสมือนต่างชาติเป็นเจ้าหนี้เจ้าของทางอ้อมอยู่ดี
· ในอนาคต จะต้องมีการลงทุนเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่เพื่อให้ทันกับการพัฒนา เช่น บรอดแบนด์ โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาท ทุนไทยมีข้อจำกัดอย่างแน่นอน
3.8 ประเทศไทยมีพันธสัญญาต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ปี 2538 ในเรื่องการเปิดเสรีโทรคมนาคม ภายในปี 2549 ต้องปฏิบัติตาม ไม่ใช่ทางเลือก มิเช่นนั้นจะมีปัญหาการค้ากับทั่วโลก
3.9 ปัจจุบัน ต่างชาติมีส่วนแบ่งการตลาดและความเป็นเจ้าของสูงมากในอุตสาหกรรมที่ดูเหมือน มีผลต่อความมั่นคงของไทย เช่นน้ำมัน ธนาคาร แต่ภาครัฐก็สามารถกำกับดูแลได้ดี
กรณีดาวเทียมไทยคม:
3.10การใช้วงโคจรที่ได้รับสิทธิจากสหประชาชาติ (UN) และ ITU ต้อง ทำตามกฏนานาชาติ เป็นเรื่องสากล เพราะดาวเทียมมีพื้นที่บริการครอบคลุมหลายประเทศ รัฐบาลไทยก็เพียงได้สิทธิ์วงโคจรดาวเทียมที่ประสานงานกับชาติอื่นผ่านแล้ว ไม่ใช่เจ้าของโดยสมบูรณ์ จากนั้นจึงมอบหมายให้บริษัทส่งดาวเทียมขึ้นไปให้บริการมีกำหนดเวลาตามอายุ ดาวเทียม
· ไม่ ใช่เรื่องที่แต่ละประเทศทำตามใจได้ การให้บริการต้องเป็นสากล เป็นกลางและเน้นธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อิงการเมืองไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละประเทศอนุญาตให้ใช้ดาวเทียมของประเทศอื่นๆได้โดย ไม่กีดกันอ้างเรื่องความมั่นคง หากฝั่งไทยอ้างหรือเน้นเรื่องความมั่นคงภายในหรือเรื่องชาตินิยมกันมาก ก็เท่ากับไปป่าวร้องให้ชาติอื่นห่วงเรื่องนี้ เกิดกีดกันระหว่างประเทศ ไปกันใหญ่
3.11ปัจจุบันดาวเทียมไทยคมมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศ กว่า 60% และเมื่อไอพีสตาร์และไทยคม 5 ให้บริการเต็มรูปแบบ จะมีลูกค้าและรายได้จากต่างประเทศกว่า 95% จึงต้องเป็นสากลและเป็นกลางอย่างยิ่ง
· ดาว เทียม ปาลาปาของรัฐบาลอินโดนีเซีย แอ็ปสตาร์ของฮ่องกงจีน อ็อปตัสของออสเตรเลีย ล้วนมีผู้ถือหุ้นต่างชาติสัดส่วนสูงมาก มีส่วนร่วมในการบริหารสูง ในอนาคตไทยคมก็จะมีบริษัทลูกในหลายประเทศ
3.12การที่อ้างประเด็นการขายสมบัติของชาติ ที่ผ่านมารัฐบาลส่งเสริมบริษัทโทรคมนาคมไทยอย่างไร?
· มีการเก็บภาษีสองต่อ ทั้งภาษีเงินได้และค่าสัมปทาน (ต่อมาเรียกบางส่วนเป็นภาษีสรรพสามิตด้วย) ราวกับเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มาเลเซียมีการให้สถานะ MSC (Multimedia Super Corridor) ให้สิทธิประโยชน์หลายอย่าง บ้านเรารัฐบาลให้อะไร?
· สัมปทานมือถือและดาวเทียมเดิม ต้องโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ ทำให้การบริหารงานและการกู้เงินซับซ้อนมาก ต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
· รัฐก็กำกับดูแลการแข่งขันให้เหมาะสมไม่ได้ ทำให้บริการมือถือไทยแข่งขันรุนแรงมาก จัดได้ว่าถูกที่สุดในโลก (การแข่งขันมากไปไม่ใช่ว่าดี แข่งกันเจ๊ง ลงทุนซ้ำซ้อนเสียเงินตราต่างประเทศมาก)
· เช่นกรณีโทรทั่วไทย 1 ชั่วโมง จ่าย 1 นาที (หากจ่าย 2 บาท/นาที เท่ากับ นาทีละ 3.3 สตางค์ ที่อเมริกา นาทีละ 15 เซ็นต์ เท่ากับ 6 บาท มากกว่าบ้านเรา 181 เท่า, ที่ออสเตรเลีย นาทีละ 25 เซ็นต์ เท่ากับ 6.25 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 189 เท่า, ที่จีน นาทีละ 50 เซ็นต์หยวน จ่ายทั้งผู้โทรออกและรับเข้า เท่ากับ 5 บาท/นาที มากกว่าบ้านเรา 151 เท่า ทั้งหมดนี้แค่โทรในเมืองเดียวกัน ทั่วประเทศแพงกว่านี้มาก) ขณะที่ต้นทุนอุปกรณ์และการเงินของเราแพงกว่า มีแค่บริหารต้นทุนและค่าแรงได้ต่ำกว่าเท่านั้น
3.13กรณี ยูคอม ดีแทค ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อันดับสองของไทย
· ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติ(บริษัทเทเลนอร์ เจ้าของใหญ่คือรัฐบาลนอร์เวย์) เป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด 100% (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีภาษีจากการขายหุ้นเช่นกัน มีการถือหุ้นทางอ้อมผ่านตัวแทน
· หาก กรณีชินคอร์ปไม่ถูกต้อง กรณียูคอมดีแทคก็เหมือนกัน ทำไมผู้ประท้วงกรณีชินคอร์ปไม่ประท้วงกรณียูคอมดีแทค เป็นแค่เกมการโจมตีการเมือง (ไม่ได้ต้องการกระทบดีแทค เพียงไม่ต้องการการเมืองสกปรก)
· 7 ปี ก่อน นายสนธิทำโครงการดาวเทียมลาวสตาร์ลงทุนแล้วเจ๊งไปหลายพันล้านบาท ให้ยูคอมซื้ออุ้มบริษัทไป เป็นเหตุให้เลือกปฏิบัติในการโจมตีกล่าวหา?
3.14กรณีนายสนธิทำโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ASTV แพร่ภาพในไทยโดยใช้ดาวเทียมต่างชาติ (New Sky Network) ผิดกฏหมายไทย สองกรณี
· การใช้ดาวเทียมต่างชาติที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้บริการได้ในไทยโดย กทช
· การ ออกอากาศแพร่ภาพโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยไม่มีใบอนุญาต อาศัยช่องโหว่ที่ทางราชการยังไม่มีมาตรการจัดการกับช่องโทรทัศน์ไทยผ่านดาว เทียมอย่างผิดกฏหมาย
· อาศัยอิทธิพลม็อบ อ้างสิทธิสื่อมวลชน และอ้างว่ารัฐปิดกั้นสื่อ ทั้งที่สื่อไทยโจมตีรัฐบาลได้ทุกรูปแบบ
3.15กรณีนายสนธิทำธุรกิจดาวเทียมลาวสตาร์ ในนามบริษัท ABCN (Asia Broadcasting & Communications Ltd)
· นายสนธิขอสัมปทานและร่วมทุนกับรัฐบาลลาว ตั้งเป้าขายตลาด ไทย ไต้หวัน จีน อินเดีย
· พยายาม ที่จะฝ่าฝืนกฏหมายไทยเพื่อขายช่องสัญญาณ และทำโทรทัศน์บอกรับสมาชิกในไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ เล็งที่จะแข่งกับดาวเทียมไทยคมและUBC
· แต่หลังลงทุนไปหลายพันล้านบาท ก็ล้มละลายและต้องเลิกไป คงยังเจ็บใจที่ทำแล้วเจ๊ง?
3.16ทั้ง หมดนี้ นายสนธิได้ช่วยส่งเสริมความมั่นคงของชาติและการไม่ขายชาติตรงไหน ในการร่วมมือกับต่างชาติเพื่อทำสื่อข้ามประเทศเข้ามาประเทศไทยอย่างผิด กฏหมาย
3.17นายสนธิยังผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรค 1 ทั้ง 4 ประเด็น เพราะ (1) พยายามล้มรัฐบาล (2) หมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอื่น (3) ก่อม็อบ และ (4) เนื้อหาหยาบคาย
· บุคคล ย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อ (1) รักษาความมั่นคงของรัฐ (2) เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น (3) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ (4) เพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน
---------------------------------------------

4. การออกกฏหมายให้ต่างชาติถือหุ้นบริษัทโทรคมนาคมไทยได้ไม่เกิน 50%
4.1 เดิมบริษัทโทรคมนาคมไทยที่เป็นสัญชาติไทย ต้องมีสัดส่วนหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 50% ตามนิยามในกฏหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ไม่มีเจตนากีดกันหรือไม่ต้อนรับการลงทุนด้านโทรคมนาคมจากต่างชาติ
4.2 ต่อมาปี 2543 รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอร่าง พรบ การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นการออกกฏหมายลูกตามรัฐธรรมนูญใหม่ปี 2540 โดยสัดส่วนต่างชาติ ให้ใช้นิยามตาม พรบ การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ปี 2542 (ว่าต้องเป็นบริษัทไทย คือต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50%)
· แต่ในปี 2544 วุฒิสภาได้แปรญัตติให้สัดส่วนเป็นไม่เกิน 25% แทน ทำให้บริษัทโทรคมนาคมหลายราย คือ ดีแทค ออเร้นจ์ ทีทีแอนด์ที (บริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น, บริษัทซีพีออเร้นจ์ บริษัทไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น) มีปัญหา เพราะมีสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติเกินกว่านี้ จึงร้องเรียนเสนอพรรคการเมืองทุกพรรคให้ปรับสัดส่วนนี้
· มีการอภิปราย แปรญัตติ มาตลอด 4 ปี จึงผ่านการพิจารณาของทั้งสองสภาปลายปี 2548 ให้สัดส่วนต่างชาติตามพรบ การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ปี 2542 (ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50%) ตามร่างแรกเมื่อปี 2542
4.3 สัดส่วนนี้สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ พันธสัญญาต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในการเปิดเสรีโทรคมนาคมปี 2549 รวมถึงแนวโน้มการลงทุนเทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่เพื่อให้ทันกับการพัฒนา เช่น บรอดแบนด์โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 ซึ่งจะต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกหลายแสนล้านบาท ขณะที่ทุนไทยจะมีข้อจำกัดอย่างแน่นอน ต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก
4.4 การ กล่าวหาว่าตั้งใจแก้กฏหมายแล้วขายหุ้นทันที ความจริงแล้วจังหวะเวลาที่กฏหมายมีผลใช้ใกล้เคียงกับการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นความบังเอิญ ไม่ใช่การออกกฏหมายมาเอื้อการขายหุ้น
· มีการทำเรื่องนี้ทุกพรรคและทุกสภามา 4 ปี วันที่ผ่านสภาผู้แทน 14 กันยายน 2548
· กรณี นี้ไม่มีผลต่อชินคอร์ป เนื่องจากไม่ใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการโทรคมนาคมโดยตรง และยังไม่มีผลต่อเอไอเอสหรือชินแซทเทลไลท์ในขณะนี้ตามใบอนุญาตเดิม จะมีผลเมื่อมีใบอนุญาตใหม่ในอนาคต
คณวัฒน์ออกโรงป้องนายก โต้ไอซีทีไม่เกี่ยวข้องเรื่องแก้กฎหมายพรบ.คมนาคม แจงเริ่มแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2544 แล้ว

สำนักข่าวอีนิวส์
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีขณะนี้ มีกระแสข่าวถึงความเข้าใจผิดว่า รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้เร่งรัดแก้ไขพระราชบัญญัติการกระกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยเฉพาะประเด็นอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นจาก 25% เป็น 49% เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ครอบครัวของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเพื่อการขายหุ้นนั้น โดยในวันนี้ ( 20 ก.พ. ) นายคณวัฒน์ วศินสังวร ผู้ช่วยรมว.ไอซีที ได้จัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้น

ผู้ ช่วยรมว.ไอซีที เปิดเผยว่า การแก้ไขกฏหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ ดังกล่าว เริ่มต้นที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีออเร้นจ์ จำกัด และ บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น ได้เรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขกฏหมายดังกล่าว จำนวน 4 มาตรา คือ มาตรา 8, 58, 79 และ 80 เพราะ เห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการเปิดเสรีและปิดกันการแข่งขัน ดังนั้น ไอซีทีจึงไม่ได้เร่งแก้กฏหมายเอื้อประโยชน์ใคร และขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณ

ส่วนลำดับขั้นตอนการแก้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ นายคณวัฒน์ กล่าวว่า เริ่มจากวันที่ 18 ธ.ค. 2544 กระทรวงคมนาคมเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ตามที่เอกชนทั้ง 3 รายเสนอ หลังจากนั้น วันที่ 8 ต.ค. 2546 สภาฯ ชุดเดิมรับหลักการและตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแต่ไม่เสร็จ เพราะสภาฯ หมดวาระในปี 2547 จนกระทั่งวันที่ 27 เม.ย. 2548 สภาฯ ชุดปัจจุบันจึงตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาอีกครั้ง ก่อนผ่านสภาฯ ในวันที่ 14 ก.ย. 2548 ผ่านวุฒิสภาวันที่ 14 พ.ย. 2548 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2549

กระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ เริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เพราะ มีบริษัทโทรคมนาคมเรียก ร้องผ่านกระทรวงคมนาคม โดยหลังจากนั้น กระบวนการแก้ไขก็ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอย่างรอบคอบ ดังนั้น การแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จึงไม่ใช่การแก้กฏหมายอย่างเร่งรีบ เพราะถ้านับตั้งแต่กระทรวงคมนาคมเสนอขอแก้ไขจนถึงประกาศใช้รวมเวลาทั้งสิ้น 4 ปี แต่ถ้านับเวลาตั้งแต่สภาฯ ชุดที่แล้วรับหลักการต่อเนื่องมาถึงสภาฯ ชุดปัจจุบันใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ปี 3 เดือน นายคณวัฒน์กล่าว

โดย เสาวณิต อังคะทายาท
สภาผ่านร่างกฎหมาย กทช.แก้สัดส่วนต่างชาติถือหุ้น
สำนักข่าวเนชั่น 14 กันยายน 2548
เมื่อเวลา 13.30 น. มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ตาม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ไม่มีการอภิปรายใดๆ เนื่องจากร่างดังกล่าวเป็นร่างที่ค้างการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการของสภาผู้ แทนราษฎรชุดที่แล้ว และรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามมาตรา 178
โดยสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 2 และแบบที่ 3 ให้มีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 นั้น เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการระดมทุนจากการกู้ลงทุนต่างประเทศ หรือหากจะร่วมทุนกับต่างประเทศก็จะติดขัดปัญหาสัดส่วนการถือหุ้นของคน ต่างด้าว ส่งผลให้ผู้รับในอนุญาตทั้งรายเดิมและรายใหม่ไม่สามารถพัฒนาโครงข่ายหรือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เพื่อจัดการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
จึง สมควรแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นเสียใหม่เพื่อเอื้อต่อการระดมทุนจากนักลงทุนจาก ต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินอื่นที่มี ลักษณะเป็นเงินประกัน ส่วนการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะ …..

---------------------------------------------

5. ประเด็นการใช้ตัวแทนถือหุ้นให้ต่างชาตินอมินี (Nominee)
5.1 ตาม ที่กล่าวหาว่า ต่างชาติใช้ตัวแทนถือหุ้นชินคอร์ป เพื่อจงใจหลีกเลี่ยงและผิดกฏหมาย พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปัญหาเกิดจากการเอาประเด็นกฏหมายสองฉบับมาปนกัน
5.2 ตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ปี 2542
· ธุรกิจตามบัญชีหนึ่ง สงวนไว้เฉพาะสัญชาติไทย ห้ามต่างด้าวทำ (มีกิจการโทรคมนาคมและสื่อโทรทัศน์)
· ธุรกิจตามบัญชีสอง อนุญาตให้ต่างด้าวทำได้ แต่หุ้นไทยไม่น้อยกว่า 40% (มีกิจการการบินในประเทศ)
· นิยามความเป็นต่างด้าวคือ มีต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% (และห้ามสัญชาติไทยถือหุ้นแทนแบบนอมินี)
· มีข้อกำหนดเรื่องการถือหุ้นในบริษัทต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจตามบัญชี1-3 (ธุรกิจนอกบัญชีไม่เกี่ยว ไม่ได้ห้ามคนต่างด้าวทำ)
· ไม่มีข้อพิจารณาเรื่องสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การครอบงำกิจการ หรือ การพิจารณาการถือหุ้นทุกทอด (Chain Principle) ตาม กฏ กลต.
5.3 ตาม กฏ กลต เรื่องการครอบงำกิจการ
· หากมีผู้ซื้อหุ้นเกิน 25% ของบริษัทจดทะเบียน ต้องทำข้อเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด (Tender Offer) วัตถุประสงค์เพียงเพื่อคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายอื่น หากไม่ชอบ ให้มีโอกาสถอนตัวออกไป (Exit)
· ปกติต้องการจะดูการถือหุ้นทุกทอด ทั้งตรงและอ้อม (Chain Principle) และมีหน้าที่ต้องรายงาน เพื่อดูสัดส่วนอำนาจในการบริหารกิจการ การถือหุ้นแทนแบบนอมินีก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดอะไร
· ไม่ได้ดูเรื่องสัญชาติไทยหรือความเป็นต่างด้าว ตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
5.4 ประเด็นชินคอร์ป ตาม พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
· ชินคอร์ปเป็นบริษัทไทย มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกิน 50% และไม่ได้ทำธุรกิจตามบัญชี พรบ. ธุรกิจต่างด้าว แต่ชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ทำ (ชินคอร์ปถือหุ้นในเอไอเอส 43% ในชินแซทเทลไลท์ 41% ในไอทีวี 53% ในไทยแอร์เอเชีย 49%)
· กรณีไทยแอร์เอเชีย มีมาเลเซียถือหุ้นอยู่แล้ว 49% ซึ่งมีแนวโน้มเรื่องสัญชาติได้ จึงดำเนินการแก้ไขอยู่
5.5 ประเด็นชินคอร์ป ตาม กฏ กลต. เรื่องการครอบงำกิจการ
· หากต่างชาติซื้อหุ้นชินคอร์ป 25% แล้วต้องทำ Tender Offer ซื้อหุ้นหมด 100% ตาม กฏ กลต จะทำให้มีประเด็นสัญชาติได้
· เทมาเสกไม่ได้ต้องการซื้อทั้งหมด 100% จึงมีการนำพันธมิตรมาร่วมซื้อและถือหุ้นหลายราย ทั้งบริษัทกุหลาบแก้ว และธนาคารไทยพาณิชย์ (ซึ่งเป็นของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) เพื่อให้เป็นสัญชาติไทยถูกต้อง เป็นความเหมาะสมในทางธุรกิจ
5.6 แนวคิดอื่นๆในการแก้ปัญหา
· 1. หากผู้ถือหุ้นชินคอร์ปสัญชาติไทยที่เหลือ เก็บหุ้นไว้ ไม่ขายให้ตาม Tender Offer
· 2. กลต. อนุญาตให้ไม่ต้องทำ Tender Offer (มีกฏและความเหมาะสม เช่น กรณีทำให้เกิดความเสียหายต่อมูลค่าของบริษัท กรณีนี้หากทักท้วงกันมาก ก็น่าจะพิจารณาให้เข้าข่ายได้)
· 3. ให้สัญชาติไทยอื่นมาซื้อ โดยเฉพาะในบริษัทย่อยเช่น ไทยแอร์เอเชีย ITV หรือ ชินแซท
5.7 ข้อเท็จจริงอื่นๆ
· ครอบครัวนายกฯขายหุ้นชินคอร์ป 49% ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ ไม่ได้ขายทั้งบริษัทเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของส่วนที่เหลือ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบปัญหานี้
· ปัญหา ประเด็นสัญชาติหรือการถือหุ้นแทนใดๆ เป็นปัญหาของผู้ซื้อหุ้นชินคอร์ป คือ เทมาเสกและพันธมิตร ในการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่ปัญหาของผู้ขาย คือครอบครัวนายกฯ
5.8 ดูรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ๆในตลาดหลักทรัพย์ มีคำว่า นอมินี (Nominee) ในบริษัทดังๆจำนวนมาก (ไม่มีชื่อว่านอมินีแต่เป็นก็มี) ดูข้อมูลประกอบ
· เป็น เรื่องปกติในธุรกิจ มีเหตุผลความจำเป็นหลากหลาย หากผิดหรือห้ามก็จะมีปัญหากับบริษัทอีกจำนวนมากที่ทำอยู่ และมีปัญหาการลงทุนจากต่างชาติ เพราะหลายๆประเทศเปิดกว้างให้ต่างชาติถือหุ้นมากกว่าบ้านเรามาก
5.9 กรณี ยูคอม ดีแทค ปลายปี 48 ตระกูลเบญจรงคกุล ได้ขายหุ้นอย่างซับซ้อน (ดูบทที่ 3) รวมถึงการใช้ตัวแทนนอมินีด้วย ทำให้ต่างชาติเป็นเจ้าของดีแทคเกือบทั้งหมด (มากกว่ากรณีชินคอร์ปมาก) ไม่มีใครพูดถึง
---------------------------------------------

อ่านรายละเอียดเรื่องอื่นๆ ได้เพิ่มเติมที่นี่
http://shincase.googlepages.com


---------------------------------------------

"สรรพากร-ก.ล.ต.-ตลท." แจงตรวจสอบหุ้น"ชิน" ประสานเสียงไม่พบ"ผิด"

หมาย เหตุ - ผู้บริหารกรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมแถลงข่าวชี้แจงตรวจสอบกรณีการขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ให้กับกลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงการคลัง

@ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.

ก. ล.ต.มีข้อมูลการโอนหุ้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่โอนหุ้นในบริษัทแอมเพิล ริชฯ 100% ให้กับนายพานทองแท้ (ชินวัตร บุตรชายของนายกฯ) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 แต่ไม่ใช่ข้อมูลปกติที่ต้องรายงานเป็นประจำต่อ ก.ล.ต. โดยเป็นข้อมูลที่ ก.ล.ต.ใช้อำนาจให้ส่งข้อมูล เพื่อใช้ในการตรวจสอบ แต่เป็นเอกสารลับ ไม่ใช่เอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดย ก.ล.ต.ได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544 เอกสารเลขที่รับ 17656 ในสมัยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.

อย่างไร ก็ตาม กลับไม่มีเอกสารการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ จากเดิมที่นายพานทองแท้ถือ 100% เหลือ 80% และนางสาวพิณทองทา (ชินวัตร บุตรสาวของนายกฯ) ถือ 20% ซึ่งนายพานทองแท้และพิณทองทาได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 แอมเพิล ริชฯได้เพิ่มทุนจาก 1 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 5 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ก.ล.ต.พอใจข้อมูลเบื้องต้น แต่ยังต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากต่างประเทศด้วย

กรณีที่แอมเพิล ริชฯขายหุ้นบริษัทชินฯ ราคา 1 บาท และนายพานทองแท้และพิณทองทานำหุ้นมาข่ายต่อในราคา 49.25 บาท เป็นประเด็นเข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) ตามมาตรา 214 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือไม่นั้น

หากพิจารณาเชิง กฎหมายชัดเจนว่าการซื้อหุ้นชินฯของทั้ง 2 คน ไม่เข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายใน เพราะทั้งนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทาซื้อจากบริษัทที่ตัวเองถือหุ้นอยู่ และไม่ใครอื่นถือหุ้นในบริษัทนั้น ดังนั้น จึงไม่ได้เอาเปรียบใคร เป็นการซื้อขายหุ้นบริษัทตัวเอง เป็นการเอาเปรียบตัวเอง ไม่ใช่เอาเปรียบประชาชน


การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯแล้วกระโดดข้าม 25% และต้องทำคำเสนอซื้อหุ้น (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) หรือไม่นั้น เป็นประเด็นทางเทคนิค ซึ่ง ก.ล.ต.ยังไม่มีข้อยุติ จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม แต่เบื้องต้นน่าจะเข้าข่าย การไม่รายงานการถือหุ้น ตามมาตรา 246 และมาตรา 247 แม้ว่า ก.ล.ต.จะได้รับหนังสือจากแอมเพิล ริชฯ ปี 2544 แต่ไม่ถือว่าเป็นรายงานตามมาตรา 246 ดังนั้น ก.ล.ต.ต้องตรวจอย่างละเอียด ถ้าเข้าข่ายฝ่าฝืนก็ต้องเข้ากระบวนการเปรียบเทียบปรับต่อไป หากมีความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่าง ไม่ลดหย่อนหรือรุนแรงขึ้นตามความรู้สึก แต่จะใช้ไม้บรรทัดเดียวกันกับที่ดำเนินการกับบริษัทจดทะเบียนทุกแห่ง

ก. ล.ต.มีหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดและยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการหย่อนต่อ กฎหมายในกรณีการซื้อขายหุ้นชิน แต่อยากให้เข้าใจด้วยว่า ก.ล.ต.ไม่สามารถปฏิบัติเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ยืนยันให้ทุกคนมั่นใจว่า ก.ล.ต.ทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่เคยหย่อนต่อกฎหมาย

@ กิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตลาด หลักทรัพย์อยู่ระหว่างการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
(มหาชน) หรือ ADVANC ว่ามีการใช้ข้อมูลภายในมาซื้อขายหุ้นหรือไม่ เนื่องจากพบว่ามีกรรมการบางคนขายหุ้น ADVANC ออกมาก่อนที่จะประกาศการซื้อขายหุ้น อาจเพราะทราบว่าราคาที่จะต้องทำคำเสนอซื้อ ADVANC ต่ำกว่าราคาตลาดมาก จึงรีบขายหุ้นออกมาหรือไม่ ซึ่ง ก.ล.ต.ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่ากรรมการบริษัทดังกล่าวมีการทยอยขายหุ้นออก มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 จนถึงปัจจุบันในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน แต่การขายหุ้นในรอบ 6 เดือนนั้น ขายหุ้น ADVANC น้อยกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรให้กับพนักงาน (ESOP) ในเดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งข้อมูลยังไม่เพียงพอ ต้องตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

ตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบการ ซื้อขายหุ้นของกรรมการ ADVANC ว่า เข้าข่ายผิดปกติหรือไม่ และจะไม่นิ่งนอนใจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ที่จะเข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น

@ ศิโรตม์ สวัสดิ์พานิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร

บริษัท ชินฯมีหนังสือหารือกรมสรรพากรกรณีการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ และกรมสรรพากรมีหนังสือตอบไปเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2548 สรุปสาระสำคัญดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคา ตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ส่วนต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ ประกอบกิจการในประเทศไทย ขายหุ้นให้แก่บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทย หากไม่มีเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษีและนำส่งตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร

กรณี บุคคลธรรมดาขายหุ้น หากขายออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมา (เงินได้เกินกว่าที่ลงทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากบุคคลธรรมดาขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรต้องรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด และต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน การปฏิบัติหน้าที่ของเราก็ถูกกฎเกณฑ์ และกฎหมายมีความชัดเจนเสมอมา เพียงแต่องค์ประกอบของแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกันจึงจำเป็นที่ต้องวินิจฉัย กันไปตามกรณี การวินิจฉัยของเราเที่ยงตรงเสมอ ขอให้มั่นใจในความซื่อสัตย์ของกรมสรรพากร

@ โมรีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย กรมสรรพากร

การ ซื้อของถูกกว่าราคาตลาดไม่นับเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เพราะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 จะต้องเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 จึงจะต้องเสียภาษี โดยมีระบุเพียงมาตรา 40(4) คือ เรื่องของการโอนหุ้น ไม่มีการระบุเรื่องการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด จึงไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39

(ผู้สื่อข่าวถามถึง กรณีกรมสรรพากรเคยออกหนังสือตอบข้อซักถามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อปลายปี 2543 เรื่องการซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดว่าส่วนต่างถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 แต่ทำไมวันนี้บอกว่าไม่ใช่)

โดยหลักการแล้ว การซื้อของถูกไม่ถือว่ามีเงินได้ตามมาตรา 39 และ 40 แต่ถ้ากรณีขายแล้วได้กำไรต้องถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ช) แต่กรณีที่กรมเคยตอบข้อหารือไปในวรรค 2 ว่า "กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมี ผลต่างระหว่างราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย"


แต่ ก่อนที่จะอ่านคำว่า "เว้นแต่" ในฐานะนักกฎหมาย ขอให้อ่านประโยคแรกก่อนว่า ผู้ซื้อไม่มีเงินได้พึงประเมิน แสดงว่าขณะซื้อไม่มีเงินได้จริง แต่ประโยคต่อมาบอกว่า เว้นแต่เป็นการซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค่าอันพึงมี ผลต่างระหว่างราคาหรือค่าอันพึงมีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ผู้ซื้อหุ้นต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย เป็นประโยคที่ทุกคนจะมองว่า 1 บาท กับ 48 บาท เป็นส่วนต่างที่ผู้ซื้อจะต้องนับเป็นเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่ส่วน นี้ต้องดูว่าที่กรมตอบไปว่า "เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39" ซึ่งกรมเอาไปผูกกับมาตรา 39 ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องนี้จะผูกด้วยอัตโนมัติว่าเป็นเงินได้เลย และในมาตรา 39 เขียนไว้ว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภท ต่างๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย


ดังนั้น การที่จะระบุว่าเงินได้ตามมาตรา 39 จะต้องเข้าลักษณะตามมาตรา 40 ด้วย แสดงว่าต้องดูมาตรา 40 ประกอบด้วย ซึ่งระบุว่า เงินได้พึงประเมินนั้นคือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเราต้องไล่ไปดู (1) (2) และ (5) ซึ่งมีข้อความว่า "ประโยชน์อื่นใดที่ได้" ประกอบด้วย (1) การจ้างงาน (2) การรับทำงานให้ (5) การเช่าทรัพย์สิน

ส่วนมาตรา 40 (4) (ช) เขียนว่า "ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคล อื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน" ซึ่งไม่พูดถึงประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ เวลาวินิจฉัยกฎหมายเราจึงไม่ใช่เรื่องซื้อขายโดยทั่วๆ ไป เช่น การซื้อหุ้น การซื้อทองที่ถูกกว่าคนอื่น นี่คือที่มาของการวินิจฉัยว่าเราพิจารณา มาตรา 39 มาตรา 40 และมาไล่ดู ตาม (1) (2) และ (5)

มติชน 03 กุมภาพันธ์ 2549


---------------------------------------------


วันที่ 19 ธ.ค. 2548 นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร แถลงยืนยันว่า การที่กรมสรรพากรไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขายหุ้นให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ขายหุ้นให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย

นางไพฑูรย์กล่าวว่า กรมสรรพากรมีแนวทางปฏิบัติที่ต้องทำตามกฎหมาย เทียบเคียงกับแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ผ่านมา ซึ่งมีอยู่ 3 กรอบหลักๆ ไม่ว่าคุณจะโอนแบบไหน โอนให้ใคร โอนอย่างไร ก็อยู่ภายในกรอบ 3 ประเด็นนี้ คือ

กรอบที่ 1 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับหุ้นโดยเสน่หา ผู้ได้รับหุ้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่มีข้อยกเว้น หากได้รับหุ้นหรือสินทรัพย์ใดๆ ในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีหรือได้รับจากการอุปการะโดย หน้าที่ธรรมจรรยา ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา 39 และมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็มีข้อแม้ว่า กรมสรรพากรจะต้องเข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบพยานเอกสารหลักฐานในอดีตว่า ระหว่างผู้ให้กับผู้รับมีความเกี่ยวพันกันด้วยจริงไม่

กรอบที่ 2 กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ผลต่างจากราคาซื้อกับราคาตลาดดังกล่าวในปีที่ซื้อยังไม่ถือเป็นเงินได้ที่ ต้องเสียภาษี เนื่องจากเงินได้ของบุคคลธรรมดาเกิดขึ้นเมื่อได้รับเงินจริงในแต่ละปีภาษี เมื่อปีภาษีใดมีการขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมาและได้รับเงิน จริง ผลต่างดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาในปีภาษีนั้น แต่ในประเด็นที่ 2 ก็ยังมีข้อยกเว้น คือการขายหุ้นทุกกรณีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบุคคลธรรมดาให้ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 39 และมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร

กรอบที่ 3 กรณีพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา ได้รับแจกหุ้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือได้ซื้อหุ้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจริงตามสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้นลูกจ้าง กรรมการ ที่ปรึกษา ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ใน หุ้นนั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียในกรณีได้รับแจกหุ้นหรือได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อ ตกลงพิเศษ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ทั้งนี้จากการวินิจฉัย ของกรมสรรพากร พบว่าในกรณีการซื้อขายหุ้นของนายเรืองไกรเข้าข่ายกรอบที่ 2 คือซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่นายเรืองไกรไม่ทราบว่า กรมสรรพากรยึดการพิจารณาเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาตามเกณฑ์เงินสด หากได้รับซื้อหุ้นมาแล้วยังไม่ขายหุ้นออกไป ก็ยังไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นนายเรืองไกรจึงได้ยื่นแบบเสียภาษีผิดไป โดยนำเงินได้จากการซื้อหุ้นในครั้งนั้นมากรอกในแบบเสียภาษีด้วย จึงทำให้เครื่องประมวลผลออกมาว่าจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งนายเรืองไกรก็รีบจ่ายเงินให้กรมสรรพากรและไม่ได้อุทธรณ์ กรมสรรพากรจึงไม่รู้ และไม่สามารถแก้ไขให้ได้ตั้งแต่ต้น แต่ภายหลังเกิดเป็นประเด็นข่าวขึ้น กรมก็ได้เรียกนายเรืองไกรมาชี้แจงว่าการซื้อหุ้นดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่จะ ต้องเสียภาษี และจ่ายเงินคืนไป

นางไพฑูรย์ ยังกล่าวถึงกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ซื้อหุ้นต่อจากนายกรัฐมนตรีว่า กรมสรรพากรวินิจฉัยตามเงื่อนไขที่มีพบว่า เข้าข่ายการรับซื้อขายหุ้นในกรอบที่ 2 เช่นเดียวกับนายเรืองไกร คือมีการซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดจริง โดยตามหลักจะต้องเสียภาษี แต่จะเสียก็ต่อเมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้รับโอนได้ขายหุ้นหรือโอนหุ้นไป ให้คนอื่น และมีส่วนต่างของราคา จึงนำส่วนต่างของราคามาคิดคำนวณเสียภาษี เว้นแต่จะโอนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษีเพราะถือเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการตลาดทุน

" การซื้อขายหุ้นในตลาดทุนฯทุกคนก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ใครขายก็ไม่เสีย จะโอนกันกี่ร้อยรอบก็ไม่เสีย ตรงนี้กรมสรรพากรไม่ได้ปล่อย เราพิจารณาตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ใครก็ตามที่เข้าเกณฑ์ก็ให้ทุกคน ไม่ได้เลือกปฏิบัติ ถ้าคุณเป็นนาย ก. แล้วให้ ส่วนนาย ข. ไม่ให้ เราไม่เคยทำอย่างนั้น" รองอธิบดีกรมสรรพากรกล่าว

สำหรับกรณีคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ที่โอนหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชาย โดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้น นางไพฑูรย์กล่าวว่า กรมสรรพากรวินิจฉัยแล้ว จัดเป็นการโอนหุ้นโดยเสน่หา ตามกรอบที่ 1 แม้ตามกรอบนี้ผู้ที่ได้รับหุ้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เนื่องจากมีข้อยกเว้นว่าหากได้รับโอนหุ้นตามพิธีหรือตามโอกาสก็จะมีสิทธิ ยกเว้นการเสียภาษีได้ ซึ่งในกรณีนี้กรมสรรพากรได้ทำการพิสูจน์พยานหลักฐานและเอกสารแล้ว พบว่า ผู้ให้กับผู้รับหุ้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นพี่น้องกัน และทั้งคู่ก็เคยมีประวัติการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน อย่างเรื่องการค้ำประกันเงินกู้ในอดีต ซึ่งมีเอกสารชัดเจน ดังนั้นจึงเข้าสิทธิการรับโอนหุ้นโดยเสน่หาได้ พร้อมกันนี้การโอนหุ้นชินคอร์ปในครั้งนั้น ก็พบว่าเป็นการโอนให้ในพิธีแต่งงานของนายบรรณพจน์ถือว่าเข้าสิทธิการได้รับ ยกเว้นภาษีตามกรอบที่ 1 อย่างชัดเจน

นางไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า เรื่องที่กมธ.วุฒิสภาที่ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าตรวจสอบการทำงานของกรมสรรพากรนั้น กรมสรรพากรพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. จึงไม่สามารถตอบแทนอะไรมากนัก

---------------------------------------------

อดีตบิ๊กคลังให้การหนุน "พจมาน"

โพสต์ ทูเดย์ อดีตรองอธิบดีสรรพากร ให้การศาลยัน "บรรณพจน์-พจมาน" โอน 4.5 ล้านหุ้นโดยเสน่หา ไม่ต้องเสียภาษี

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก มีการสืบพยานจำเลยครั้งแรกในคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัว ฐานร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษี

ทั้งนี้ ทนายความจำเลยนำนายปรีดี บุญยัง อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร มาเบิกความเกี่ยวกับหลักการชำระภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (10) ว่า กรณีที่คุณหญิงพจมานโอนหุ้นบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิว นิเคชั่น 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ให้แก่นายบรรณพจน์ จำนวน 546 ล้านบาท ถือเป็นการให้โดยอุปการะ, โดยหน้าที่ธรรมจรรยา, มรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จะได้รับการยกเว้นภาษี

นอกจากนั้น กรณีที่บุคคลซื้อขายหลักทรัพย์กันในตลาดหลักทรัพย์ หรือบุคคลโอนหุ้นให้กันโดยผ่านโบรกเกอร์ในตลาดหลักทรัพย์ ก็เข้าข้องดเว้นไม่ต้องชำระภาษีด้วย

อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การตีความเรื่องการให้ด้วยการอุปการะตามมาตรา 42 (10) จะต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นซึ่งแนวทางปฏิบัติขณะยังรับราชการนั้น จะดูจากฐานะผู้ให้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ และเจตนาเป็นหลัก

สำหรับ เรื่องกำหนดวันที่ให้นั้น นายปรีดีกล่าวว่า อาจไม่ตรงกับวันพิธีการนั้นก็ได้ เพราะสิ่งที่พิจารณาคือ ผู้ให้มีเจตนาให้ตามข้อกำหนดมาตรา 42 (10) หรือไม่

ทั้งนี้ ทนายความจำเลยได้นำสำเนาคำพิพากษาฎีกาที่ 1793/2548 ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ภาระการชำระภาษีตามมาตรา 42 (10) ในคดีอื่น ซึ่งฎีกาวินิจฉัยว่าการให้หุ้นอุปการะไม่ต้องเสียภาษียื่นเป็นพยานเอกสาร ด้วย

ทั้งนี้ นายปรีดีเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมศุลกากร และอธิบดีกรมธนารักษ์ ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=finance&id=190680
11-9-50

---------------------------------------------

โฆษกตระกูล"ชินวัตร" ไขปริศนา"แอมเพิล ริชฯ" "วันนี้ผมไม่ได้รับมอบหมายให้พูดเรื่องจริยธรรม"

หมาย เหตุ - เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูล ชินวัตรและดามาพงศ์ ได้แถลงข่าวกรณี กองทุนแอมเพิล ริชฯ ที่ถือหุ้นอยู่ในชินคอร์ป 11.87% ต่อมาหุ้นนี้ถูกขายต่อให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในราคาหุ้นละ 1 บาท จากนั้นนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา นำมาขายให้กลุ่มเทมาเส็ก จากสิงคโปร์ ซึ่งเกิดข้อสงสัยว่าเจ้าของแอมเพิล ริชฯ คือใคร เพราะจำนวนหุ้น 11.87% ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่อย่างใด

1.ทางครอบครัวชินวัตร โดยนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร มีหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549 เพื่อชี้แจงลำดับความเป็นมาในการซื้อขายหุ้นทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่ชี้แจงล่าช้า เพราะต้องใช้เวลาในการค้นหาและรวบรวมเอกสารที่สามารถยืนยันได้ เพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ที่ผ่านมา 6 ปีแล้ว และเป็นเรื่องเก่าที่เป็นข่าวแล้วทั้งสิ้น

2. กองทุนแอมเพิล ริชฯ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้น 100% เพื่อรับโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 32.92 ล้านหุ้น (ต่อมามีการลดพาร์จาก 10 บาทเป็น 1 บาท จำนวนหุ้นจึงเพิ่มเป็น 329.2 ล้านหุ้น) เพื่อเตรียมนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดแนสแด็ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหุ้นที่นำไปซื้อขาย จะต้องเป็นหุ้นในกระดานต่างประเทศ จึงต้องใช้บริการบริษัทต่างประเทศ คือ แอมเพิล ริชฯ เป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งทางแนสแด็กได้ออกเอกสาร เอดีอาร์ (America Drawing Right) เพื่อใช้เป็นตราสารในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นแนสแด็ก แต่ด้วยสภาพตลาดแนสแด็กในปี 2543 ตกต่ำมาก บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จึงยกเลิกแผนการเข้าตลาดหุ้นแนสแด็ก ทำให้หุ้นค้างอยู่ที่แอมเพิล ริชฯ จนถึงปัจจุบัน

3.เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 พ.ต.ท.ทักษิณได้ขายหุ้นแอมเพิล ริชฯให้นายพานทองแท้ทั้งหมด ก่อนการเลือกตั้งในปี 2544 เรื่องนี้ ก.ล.ต.เคยสอบถามเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 และแอมเพิล ริชฯ ได้มีหนังสือตอบยืนยันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544

4.เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ได้มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ โดย น.ส.พิณทองทาได้เข้าถือหุ้น 20% ส่วนนายพานทองแท้ถือ 80% จนถึงปัจจุบัน

5. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 กองทุนแอมเพิล ริชฯ ที่ถือหุ้นโดยนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ได้ขายหุ้นชินฯนอกตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 329.2 ล้านหุ้นให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา คนละ 164.6 ล้านหุ้น เนื่องจากไม่ประสงค์จะเก็บเงินที่ได้จากการขายหุ้นไว้ในต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายถือเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน จึงไม่มีประเด็นการใช้ข้อมูลภายในในการนำหุ้นมาขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ในวันที่ 23 มกราคม 2549

6.ในการรายงานการขายหุ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 ให้กับ ก.ล.ต.ได้มีการกาเครื่องหมายผิดพลาดในช่องของแบบรายงาน 246-2 ว่าเป็นการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการแก้ไขรายงานต่างๆ ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549

7.ประเด็นเรื่องภาษีนั้น ได้มีการหารือกับกรมสรรพากร และกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือที่ กค.0706/7896 ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ว่า การขายหุ้นจากแอมเพิล ริชฯ ให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ในราคาทุนที่ซื้อมาพาร์ 1 บาท เป็นการขายในราคาทุน ไม่มีกำไร จึงไม่ต้องเสียภาษี และต่อมาบุคคลทั้ง 2 ได้นำหุ้นจำนวนดังกล่าวไปขายผ่านตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งหนึ่งนั้น เข้าเงื่อนไขไม่ต้องเสียภาษีตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ออกตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ ทางครอบครัวชินวัตรตระหนักเป็นอย่างดี ถึงความสนใจของสาธารณชนและสื่อมวลชนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาพพจน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน การดำเนินการทุกอย่างจึงต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและกฎหมาย เพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ ในการชี้แจงเรื่องทั้งหมดทุกขั้นตอน ทางครอบครัวจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สาธารณชนจะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกันทุกฝ่าย และขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านในโอกาสนี้

@ จะมีการเปิดเผยผลการดำเนินงานประจำปีของแอมเพิล ริชฯ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบหรือไม่?

ผมไม่ทราบ ต้องถามทางครอบครัวชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นว่าจะเปิดเผยหรือไม่

@ การขายหุ้นมีการคำนึงถึงจริยธรรมหรือไม่ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นทั้งเจ้าของ และเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย?

ผม ไม่เก่งเรื่องการเมือง แต่กรณีการซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ถือว่าเป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้นำประเทศจะต้องคำนึงถึง คือ จะต้องทำตามกฎหมาย ให้ข้อเท็จจริงทุกประการ และมีเอกสารอ้างอิง โดยรายได้จากการขายหุ้น ก็จะมีการนำไปใช้เพื่อสังคม ส่วนคำถามเรื่องจริยธรรมว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ผมไม่ได้รับมอบหมายให้มาพูดเรื่องนี้ บอกได้แต่เพียงว่า การซื้อขายครั้งนี้ไม่มีภาษี เรื่องอื่นนั้น อยู่นอกขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย ส่วนการชี้แจงจะสามารถสร้างความเข้าใจได้หรือไม่นั้น ผมได้รับมอบหมายให้มาชี้แจง ส่วนการจะสร้างความเข้าใจได้หรือไม่ คงไม่สามารถคาดเดาได้ เป็นเรื่องของความรู้สึก

แต่การขายหุ้นชินฯ ครั้งนี้ ประเทศชาติได้ประโยชน์ เพราะเงินเข้าประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น โดยในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งขึ้นจาก 40 กว่าบาทต่อดอลลาร์มาเป็น 38-39 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ดุลการชำระเงินเราดีขึ้น เป็นการดีต่อเศรษฐกิจประเทศ

@ เหตุใดแอมเพิล ริชฯ จึงไม่ขายตรงให้กับกลุ่มเทมาเส็ก การขายผ่านบุคคลทั้ง 2 ถูกมองว่าเป็นการเลี่ยงภาษี?

ต้องกลับ ไปที่วัตถุประสงค์เดิมที่ให้แอมเพิล ริชฯ ถือหุ้นชินฯ ก็เพื่อจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่สหรัฐ ดังนั้น การให้แอมเพิล ริชฯ ขายหุ้นให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ก็เพื่อนำหุ้นกลับมา ส่วนการให้แอมเพิล ริชฯ ขายหุ้นโดยตรงให้กลุ่มเทมาเส็กนั้น เป็นเพราะผู้ถือหุ้นมองว่า การขายหุ้นในประเทศจะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะชินคอร์ปเป็นบริษัทไทย เป็นของคนไทย หากแอมเพิล ริชฯ ขายตรงให้กับต่างชาติ ก็ถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติขายหุ้นให้กับต่างชาติ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี และจะทำให้เงินไม่เข้าประเทศ ขณะที่การขายผ่านบุคคลทั้ง 2 ซึ่งก็ไม่มีภาษีเช่นกัน แต่จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมากกว่า

ผมอยากแจ้งข้อมูลให้ทราบว่า ตลอด 22 ปีของกลุ่มชินฯ กลุ่มชินฯเสียภาษีนิติบุคคล 50,000 ล้านบาท หากมองว่าครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ทั้งจากเงินปันผล ค่าจ้าง ตลอดเวลาที่ผ่านมาแล้วจำนวน 3,000 ล้านบาท

@ กรณีที่นายพานทองแท้ ซึ่งถือหุ้นชินฯอยู่แล้ว 24.99% เมื่อเดือนเมษายน 2543 ต่อมาได้รับโอนการถือหุ้นในแอมเพิล ริชฯ ซึ่งถือหุ้นชินฯอยู่ 7.8% อีกด้วย ทำให้นายพานทองแท้เข้าข่ายถือหุ้นชินฯเกินกว่า 25% ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) ใช่หรือไม่?

เกณฑ์ของ ก.ล.ต.ในขณะนั้น คือ เมื่อปี 2543 ยังไม่ได้กำหนดการนับรวมหุ้น เพราะเกณฑ์ดังกล่าวเพิ่งมากำหนดขึ้นในภายหลัง

@ กรณีที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทาขายหุ้นชินฯให้กับเทมาเส็กนั้น เงินที่ได้จากการขายหุ้น หากนำเข้ามาในประเทศ จะต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่?

ผมไม่แม่นในกฎระเบียบของกรมสรรพากร แต่ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ กรณีคนไทยไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย แล้วมีเงินได้เข้าประเทศ หากนำเงินรายได้เข้ามาในปีเดียวกัน ก็ต้องเสียภาษี แต่หากทิ้งเงินไว้ต่างประเทศ แล้วเอาเข้ามาในปีถัดไป ก็ต้องไม่เสียภาษี โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 41 ของกรมสรรพากร เพราะมาตรานี้ให้เสียรายได้ในปีเดียวกัน แต่ผมไม่เก่งตรงนี้ อาจต้องหารือกับกรมสรรพากร

@ การขายหุ้นครั้งนี้มีเงินเข้าประเทศจริงหรือไม่?

มี เงินเข้ามาจริง เพราะเป็นการขายผ่านโบรกเกอร์ในประเทศ 6 ราย ได้แก่ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บล.ภัทร บล.ทรีนิตี้ บล.ธนชาติ บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.ยูบีเอส ซึ่งจะมีการโอนเงินระหว่างกัน และฝ่ายผู้ซื้อจะต้องชำระเงินผ่านโบรกเกอร์

@ จากกรณีที่ชี้แจงว่าการขายหุ้นของนายกรัฐมนตรีให้ลูกๆเป็นเรื่องที่ก.ล.ต. รับทราบมาตลอด แต่ทำไมก.ล.ต.ต้องสอบถามกลับมาว่า ทั้งแอมเพิล ริชและพานทองแท้และพิณทองทา เป็นบุคคลเดียวกันเมื่อไหร่

25 กรกฎาคม 2544 ได้รายงานพานทองแท้ถือ 100%หลังจากนั้นพิณทองทาได้รับการโอนหุ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ก.ล.ต.ไม่ทราบเรื่อง เพราะไม่มีกฎหมายว่าจะต้องแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของต่าง ประเทศ เป็นเรื่องของต่างกรรมต่างวาระ

มติชน 2 กุมภาพันธ์ 49
---------------------------------------------

แถลงการณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ณ วันที่ 11 กันยายน 2550
ตาม ที่ คตส. ได้แถลงข่าวเรื่องการซุกหุ้นของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นรอบสอง โดยมีการกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นเจ้าของหุ้นแอมเปิ้ลริช และเป็นเจ้าของกองทุนวินมาร์ค และกล่าวอ้างต่างๆนานาว่ามีหลักฐานข้อมูลที่คตส. อ้างว่าเชื่อถือและนำมาเป็นเหตุในการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น เป็นที่น่าสังเกตุว่าข้อมูลที่ คตส. นำมากล่าวอ้างนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องที่มีการชี้แจงต่อ คตส. แล้ว แต่ คตส. เลือกที่จะดูข้อมูลบางส่วนบางตอน มาพยายามสร้างเรื่อง "ซุกหุ้น" รอบสองขึ้นมาใหม่

ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงให้พี่น้องประชาชนรับทราบดังนี้

1. ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นเจ้าของบริษัทแอมเปิ้ลริชจริง แต่ได้มีการโอนขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทดังกล่าวให้แก่บุตรชายและบุตรสาวแล้ว ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว และเรื่องนี้ก็ได้มีการรายงานให้คณะกรรมการ กลต.ทราบและก็ได้มีการชี้แจงทางการเมืองให้พี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนทราบ แล้ว ส่วนเอกสารที่ คตส นำมากล่าวอ้างว่า ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นผู้มีอำนาจลงนามสั่งการในบัญชีหุ้นของบริษัท แอมเปิ้ลริชตลอดเวลาที่ท่านยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อมูลที่ทาง คตส. ขอไปก็เป็นเพียงเอกสารในการเปิดบัญชีหลายปีก่อนท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายก ซึ่งภายหลังจากที่ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ขายหุ้นชินคอร์ปไปหมดแล้ว ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้มีอำนาจลงนามในบัญชีดังกล่าวแต่อย่างใด ความจริง ในการตรวจสอบของ คตส. ถ้ามีใจเป็นธรรม คตส.ก็ควรจะสอบสวน หรือตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนที่จะมาสรุปเอาเองโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบ เช่นนี้

2. ข้อกล่าวหาที่ว่าท่านซุกหุ้นผ่านกองทุนวินมาร์คนั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มี มูล และขณะนี้ทาง ดีเอสไอก็อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้อยู่และยังหาข้อสรุปไม่ได้ แต่ คตส.กลับสามารถสรุปประเด็นนี้ได้เองเหมือนแอมเปิ้ลริช การโอนหุ้นโดยธนาคารที่ทำหน้าที่เป็นคัสโตเดียนก็เป็นธุรกรรมการลงทุนโดย ทั่วไปของนักลงทุนซึ่งไม่ได้มีอะไรชอบมาพากลหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ อย่างใด

3. ทาง คตส กล่าวอ้างว่ามีการโอนเงินปันผลของบริษัทชินคอร์ปเข้าบัญชีของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร จึงเป็นเหตุที่ทางคตส.มากล่าวอ้างว่าหุ้นทั้งหมดของชินคอร์ปยังคงเป็น กรรมสิทธิ์ของท่าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตลอดเวลาที่ท่านยังเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นข้ออ้างว่าท่านอดีตนายกฯซุกหุ้นรอบสอง และอ้างต่อไปด้วยว่าด้วยเหตุนี้ ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจึงดำเนินการต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มชินคอร์ปซึ่งคตส.อ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของท่า นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอยู่ตลอดเวลา ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ชี้แจงมาโดยตลอดว่า ท่านได้ขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่บุตร ธิดา ก่อนท่านเข้ารับตำแหน่งนายกฯ และเมื่อบุตรธิดาของท่านได้รับเงินปันผลค่าหุ้นของชินคอร์ปมา ก็นำเงินดังกล่าวมาชำระหนี้ค่าหุ้นโดยจ่ายเข้าบัญชีคุณหญิงพจมาน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งตามกฏหมายและตามทำนองคลองธรรม และขอเรียนยืนยันว่าภายหลังจากที่มีการโอนขายหุ้นชินคอร์ปไปแล้ว ทั้งท่านพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน
ชินวัตร ไม่เคยได้รับเงินปันผลจากชินคอร์ปอีกเลย

4. ในขณะที่ทางคตส.มากล่าวอ้างว่า ทั้งบริษัทแอมเปิ้ลริช กองทุนวินมาร์ค และการโอนขายหุ้นให้บุตรธิดาของท่านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น "ตัวแทนเชิด" ในอีกคดีหนึ่ง คตส.เองกลับไปมีคำวินิจฉัยว่า นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร ได้ซื้อหุ้นจากบริษัทแอมเปิ้ลริช มาขายให้กองทุนเทมาเสคในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่เสียภาษี โดยในคดีภาษีอากรดังกล่าว คตส. รับรองว่าหุ้นของแอมเปิ้ลริช และหุ้นของชินคอร์ปเป็น "กรรมสิทธิ์" ของ นายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร และ คตส.ได้มีคำสั่งให้กรมสรรพากรทำการประเมินภาษีสืบเนื่องจากกรณีดังกล่าวด้วย จึงต้องถาม คตส.ว่าตกลง คตส.มีกี่มาตรฐาน มีกี่สมมติฐานในการดำเนินการสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหา ถ้า คตส. กลับลำมากล่าวอ้างว่าหุ้นของแอมเปิ้ลริช และหุ้นชินคอร์ปเป็นของท่านพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็จะขัดกับการกล่าวหาในคดีประเมินภาษี จึงต้องเรียนถามด้วยว่าถ้า คตส.กลับลำแบบนี้ จะยกเลิกการประเมินภาษีนายพานทองแท้ และนางสาวพิณทองทา ชินวัตรหรือไม่

http://www.truethaksin.com/legal_fact/justice_statement_11sep_th.html

---------------------------------------------

ต้นแบบขาย SHIN คือการขาย UCOM ให้กับกลุ่ม เทเลเนอร์
ขายกันก่อน พรบ.โทรคมนาคมฉบับที่ 2 ออกหลายเดือน

UCOM : บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 11/04/2548
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 9,191 % การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 34.96
ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 07/04/2549 ประเภทการปิดสมุด : XM
จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 3,698 % การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น 99.83

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1 บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด 255,090,589 58.69
2 TELENOR ASIA PTE LTD 129,661,610 29.83
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 8,402,227 1.93
4 CLEARSTREAM NOMINEES LTD 4,846,384 1.11

+++++++++++++++

ข้อมูลเบื้องต้นบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์

ข้อมูลเบื้องต้นบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
รายชื่อกรรมการบริษัท-กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- นาย ศรีภูมิ ศุขเนตร
- นาย คนุท บอร์เก็น
- นาย กุนนาร์ เบอร์เทลเส็น
- นาย คริสเตียน สตอร์ม
- นาย สมยศ สุธีรพรชัย

กรรมการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท คือ 1. นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายคนุท บอร์เก็น, นายกุนนาร์ เบอร์เทลเส็น, นายคริสเตียน สตอร์ม กรรมการ 2 ใน 4 คน ลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท 2. นายศรีภูมิ ศุขเนตร, นายคนุท บอร์เก็น, นายกุนนาร์ เบอร์เทลเส็น, นายคริสเตียน สตอร์ม กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ในเอกสารที่ใช้ยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่

รายชื่อ จำนวน (หุ้น)
1. บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี แอลทีดี 19,600,000
2. บริษัท โบเลโร จำกัด 10,480,000
3. นายบุญชัย เบญจรงคกุล 3,960,000
4. บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) 3,959,993
5. บริษัท แซนดาลวูด โฮลดิ้งส์ จำกัด 800,000
6. บริษัท เพทรูส จำกัด 600,000
7. บริษัท อมาโรนี่ จำกัด 600,000
8. อื่น ๆ 7
รวม 40,000,000

ทุนจดทะเบียนบริษัท 400,000,000 บาท

---------------------------------------------

วันที่ 23 มกราคม 2549 ถึงการที่เทมาเซกตกลงซื้อหุ้นชินคอร์ป หรือ SHIN โดยสัดส่วนการเข้าถือหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้ประกอบด้วย ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ 38.6% และเทมาเซก 11% ทั้งนี้ ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย เทมาเซก 49% ธนาคารไทยพาณิชย์ 9.9% และบริษัท กุหลาบแก้ว 41.1% คิดเป็นมูลค่าการลงทุนครั้งนี้ 73,300 ล้านบาท

บริษัท กุหลาบแก้ว มีนายพงส์ สารสิน ถือหุ้น 51% เทมาเซกถือ 49%

------------------------------------

กรณีกุหลาบแก้วที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนอมินี่ในช่วงนั้น
และมีคณะกรรมการตรวจกันใหญ่
ถามว่าจนถึงวันนี้ผ่านมา 3 ปีกว่าแล้ว
ทำไมเรื่องเงียบไป
ไม่เห็นไปยึดบริษัท SHIN มาจาก เทมาเสก เสียที

---------------------------------------------
เรื่องภาษีส่วนต่างต้องเสียไหม
...
หนังสืออีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 (ที่ กค. 0709.31/18325 ลงนามโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากรภาค 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร) ชี้แจงเรื่องนี้ต่อนายเรืองไกรซึ่งเป็นการพลิกคำวินิจฉัยเดิมทั้งหมดว่า การซื้อขายทรัพย์สิน (หุ้น) ราคาต่ำกว่าราคาตลาด "ส่วนต่าง" ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ของประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น
หนังสือดังกล่าวพยายามอธิบายว่า การซื้อทรัพย์สินโดยปกติจะมีราคาตลาดสำหรับซื้อทรัพย์สินนั้น โดยราคาตลาดจะมีหลายราคา หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปใช้เองหรือเป็นผู้บริโภค ผู้ซื้อจะซื้อตามราคาของผู้ขายปลีก หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปขายซึ่งต้องซื้อเป็นจำนวนมาก ผู้ซื้อจะต้องซื้อในราคาต่ำโดยอาจซื้อราคาตลาดที่เป็นของผู้ผลิตหรือผู้ขาย ส่ง

ดังนั้น ทรัพย์สินชนิดเดียวกัน อาจมีราคาซื้อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานะของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ราคาซื้อดังกล่าวถูกกว่าราคาตลาด เช่น การส่งเสริมการขาย สินค้าตกรุ่น เลหลังสินค้า เลิกกิจการ ขายทอดตลาด ความพอใจ ความสัมพันธ์ส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไป ตามมาตรา 453 ป.พ.พ.

"การซื้อทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าว จะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อจำนวนเงินของผู้ซื้อที่มีอยู่ ทั้งจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป ดังนั้น ไม่ว่าการซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคาถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตามราคาที่ตกลงกัน..0 การที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินในราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใด ก็เป็นเงินของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจาก ผู้อื่นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันที เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด" หนังสือของกรมสรรพากรระบุ

จากนั้นสรุปว่า กรณีของนายเรืองไกรซึ่งซื้อหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพจากบิดาต่ำกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการซื้อขายทรัพย์สินกันระหว่างนายเรืองไกรกับบิดาซึ่งเป็นการซื้อขายอัน เป็นเรื่องปกติในทางการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงวกันได้โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สินตามที่ ตกลงกันนั้นตามมาตรา 453 แห่ง ป.พ.พ.
"ดังนั้น กรณีท่าน (นายเรืองไกร) ซึ่งเป็นผู้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาด ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น" หนังสือระบุ

จากคำชี้แจงดังกล่าวสรุปได้ว่า การซื้อขายหุ้นต่ำกว่า ราคาตลาด "ส่วนต่าง" ที่เกิดขึ้น มิได้เป็นผลประโยชน์ที่ได้รับมาตั้งแต่ต้น จึงไม่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินมาตั้งแต่ต้น เพราะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินตามปกติ โดยมีเงื่อนไข เช่นความสัมพันธ์ส่วนตัว ความพอใจ ดังนั้นต่อไปไม่ว่า ผู้ซื้อจะขายหุ้นนั้นไปในราคาสูงเท่าใด ก็ไม่ต้องเสียภาษีที่เกิดขึ้นจาก "ส่วนต่าง" มาตั้งแต่ต้น
เป็นการพลิกแนวคำวินิจฉัย 3 ครั้งแรก ที่ระบุว่า ถ้าขายหุ้นไปแล้วมีกำไร เกิด "ส่วนต่าง" เกินกว่าที่ได้ลงทุน (ซื้อมา) ต้องเสียภาษี "ส่วนต่าง" ดังกล่าว

---------------------------------------------
เรื่องนายเรืองไกรขายหุ้นทำไมเสียภาษีจริงหรือ
1) ตอนยื่นแบบ ภงด. ในปี 46.. คุณเรืองไกร"เจตนา"กรอกเงินได้จำนวน 55,000 บาท(มูลค่าหุ้นที่ได้รับโอน) ลงในช่อง "เงินได้ในการคำนวณภาษี".. แต่เวลาคำนวณค่าภาษี กลับ"ละเลย"ตัวเลข 55,000 บาทนี้ โดยไม่ยอมนำมาใช้คำนวณด้วย..

ทั้งๆ ที่ คุณเรืองไกร"ไม่จำเป็น"ต้องกรอกจำนวนเงินดังกล่าว ลงในช่อง"เงินได้ในการคำนวณภาษี".. เนื่องจากเป็นหุ้นที่ได้รับโอนจากบิดา และยังมิได้นำไปขายให้เกิดรายได้..
เมื่อกรอกไปแล้ว แต่กลับไม่ยอมเอามาใช้คำนวณ.. ผลลัพธ์"มูลค่าภาษี"จึงไม่สอดคล้องกับจำนวนรายได้ทั้งหมดที่ระบุไว้..

2) เมื่อ จนท.สรรพากร ได้ตรวจสอบการคำนวณค่าภาษี จาก"เงินได้ทั้งหมด"(รวม 55,000 บาทด้วย เพราะกรอกว่าเป็น"เงินได้").. จึงพบว่า คุณเรืองไกร"คำนวณค่าภาษีไม่ถูกต้อง" ยอดภาษีน้อยกว่าที่สรรพากรคำนวณได้ = 21,350 บาท.. จึงได้แจ้งคุณเรืองชัยให้ไปชำระภาษีเพิ่ม..
ซึ่งจนท.สรรพากร ก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นการ"กรอกข้อมูลผิด"

3) คุณเรืองไกร ได้ยื่นอุทธรณ์ภาษีในกรณี"สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่มไม่ถูกต้อง" (แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในกรณี"กรอกข้อมูลผิด" และหุ้น 55,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี)
ซึ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ ก็ได้พิจารณาการคำนวณภาษีจาก"ยอดเงินได้ทั้งหมด(ที่กรอกไว้)".. และเห็นว่าคุณเรืองไกร คำนวณมาไม่ถูกต้องจริง และต้องเสียภาษีเพิ่มตามที่ จนท.สรรพากรได้ประเมินไว้.. จึงได้"ยกคำร้องอุทธรณ์"

-------------------------

กรณีนี้ จึงเป็นเรื่องของการ"คำนวณค่าภาษีไม่ถูกต้อง".. จากการ"กรอกข้อมูลผิด"ของผู้เสียภาษีเอง..
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นว่า"การโอนหุ้นจากบิดาให้กับบุตร" จะต้องเสียภาษีหรือไม่??
ลองมาอ่านคำพิพากษาดูนะครับ..

โดยเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า หลังจากที่โจทก์ถูกแจ้งให้ไปชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2546 จำนวน
21,350 บาท

โจทก็ได้นำเงินภาษีไปชำระให้จำเลยพร้อมกับยื่นอุทธรณ์การประเมินระบุว่าการคำนวณเงินได้ไม่ถูกต้อง และโจทก์ขอให้ยกเลิกการประเมิน

แล้ว ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์หลังจากพิจารณาแล้วว่า โจทก์ไม่ได้นำผลประโยชน์จากการรับโอนหุ้นจำนวน 55,000 บาท มารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีด้วย

ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏ*ว่าหลังจากนั้น โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผลการประเมินภาษีต่อศาล* ดังนั้น
การพิจารณาประเมินภาษีโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ต้องชำระเงินภาษีเพิ่มจำนวน 21,350 บาท จึงถือเป็นที่สุด

ดัง นั้นจำเลยหรือเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลการวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฝ่ายบริหารที่ถือเป็นที่สุดแล้วให้เป็น อย่างอื่นได้

การที่จำเลยมีหนังสือคืนเช็คพร้อมส่งเช็คคืนเงินภาษีให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พิพากษา ให้จำเลยรับคืนเช็ค ลงวันที่ 31 ก.ค. 2548 จากโจทก์ และให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์และค่าทนายความแทนโจทก์ จำนวน 2,000 บาท

ทั้งนี้ นางปาริชาติ ภู่สำรวจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง กล่าวด้วยว่า คดีนี้ศาลวินิจฉัยเฉพาะเรื่องของอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน หรือกรมสรรพากรในการเปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เท่านั้น

"โดยไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาว่า คำวินิจฉัยของคณกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเกี่ยวกับภาระภาษีจากการรับโอนหุ้นถูกต้องหรือไม่"
---------------------------------------------
ข้อกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม
เอม ระบุอยู่เมืองไทยไม่ครบ 180 วัน ซึ่งได้รับยกเว้นเสียภาษี

11:58 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่น.ส.พิณทองทา ชินวัตร จะขึ้นลิฟท์ ไปชี้แจงคณะอนุกรรมการฯ ผู้สื่อข่าวได้ตะโกนถามนางสาวพิณทองทาว่า " อยู่เมืองไทยครบ 180 วันหรือไม่"
นางสาวพิณทองทา ส่ายศีรษะพร้อมกับตอบเพียงสั้นๆ ว่า "ไม่ครบค่ะ"
ผู้ สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หากนางสาวพิณทองทาอยู่ในประเทศไทยไม่ครบ 180 วัน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41
---------------------------
มาตรา 41 ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

ผู้อยู่ในประเทศไทยมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้า มาในประเทศไทย
ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2494 ใช้บังคับปีภาษี 2494 เป็นต้นไป )
---------------------------------------------

มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด
(4) เงินได้ที่เป็น
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคล อื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน


( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ข้อ 2 (30) )

http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata38

+++++++++++++

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 201 (พ.ศ. 2539) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 219 (พ.ศ. 2542) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 241 (พ.ศ. 2546) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 252 (พ.ศ. 2548) )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 254 (พ.ศ. 2548) )


http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata38

+++++++++++++++++

ข้อ 2 ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
(แก้ไข เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 187 (พ.ศ. 2534) ความเดิมยังคงใช้บังคับดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลและพันธบัตรของรัฐบาลที่ เริ่มจำหน่ายก่อน 8 พฤศจิกายน 2534)

http://www.rd.go.th/publish/2502.0.html

-------------------------------------------------------------

http://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/tax_investor_t.html

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติของผู้มีเงินได้ทุกคน สำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน ผู้ลงทุนย่อมมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของตัวเงิน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าผู้ลงทุนนั้นจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ตาม ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาและได้รับเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด สำหรับรายละเอียดของภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สรุปได้ ดังนี้

กรณีผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา
ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทย
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไปใน 1 ปีปฏิทิน)

ผู้ลงทุนต่างชาติ
( ผู้ลงทุนที่เป็นคนไทยและต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน)

เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
- ได้รับยกเว้น
(เว้น แต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้)
- ได้รับยกเว้น
(เว้น แต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้)

เงินปันผล
1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1. นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ ประเภทอื่น ซึ่งจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล 3 ใน 7 ของเงินปันผลที่ได้รับ
2. ไม่นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผลในอัตราร้อยละ 10 = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี เว้นแต่ผู้ลงทุนยอมให้หักไว้ตาม
ภาษีสิ้นปี : สามารถเลือกดำเนินการได้ 2 วิธี
1. นำเงินปันผลที่ได้รับทั้งสิ้นในปีนั้นมารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น
2. ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10 โดยสิ้นปีผู้ลงทุนไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีตอนสิ้นปี โดยกรณีนี้ถือว่าผลลงทุนยอมเสียภาษีสำหรับเงินปันผล = อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

3. กรณีได้รับเงินปันผล จากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี

1) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
1. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป จะต้องเสียภาษีเหมือนผู้ลงทุนไทย
2. ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สิ้นปี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น

2. เงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มีภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีรวมกับเงินได้ประเภทอื่น

3) กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือ BOI : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15
ภาษี สิ้นปี : มีสิทธิเลือกที่จะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปีหรือไม่ก็ได้ ผู้ลงทุนต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วัน : เหมือนผู้ลงทุนไทย
อากรแสตมป์
(ตราสารการโอน) การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์
1. กรณีมีตราสารการโอน ติดอากรในอัตรา 1 บาท สำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้ว หรือตามราคาในตราสารการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. กรณีโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนไม่ต้องติดอากรแสตมป์
3. กรณีไม่มีตราสารการโอน เช่น โอนในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) ไม่ต้องติดอากรแสตมป์
การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์ : เหมือนผู้ลงทุนไทย

กรณีผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล

ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินกำไรที่ได้มารวมคำนวณหากำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15 เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ไม่ต้องถูกหักภาษี
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี

เงินปันผล
1. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้รับ ยกเว้นผู้รับเงินปันผลในกรณีต่อไปนี้
- บริษัทจดทะเบียนได้รับเงินปันผล หากได้ถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนและหลังวันที่มีเงินได้จากเงินปันผล
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีทั้งจำนวน
- ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน แต่เป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทผู้จ่ายเงินปันผล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และผู้จ่ายเงินปันผลมิได้ถือหุ้นในบริษัทผู้รับเงินปันผล หากได้ถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนและหลังวันที่มีเงินได้จากเงินปันผล
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีทั้งจำนวน

2. กรณีได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ยกเว้นผู้รับเงินปันผลในกรณีต่อไปนี้
- บริษัทจดทะเบียน ได้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนและหลังวันที่ได้รับเงินปันผล ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีทั้งจำนวน บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน ได้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนและหลังวันที่มีได้รับเงินปันผล ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีกึ่งหนึ่ง
- บริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีทั้งจำนวน

3. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัท ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI
ภาษี ณ ที่จ่าย : ได้รับยกเว้น
ภาษีสิ้นปี : ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
1. กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตราร้อยละ 10
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี

2. กรณีได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวม ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ภาษี ณ ที่จ่าย: ไม่มี
ภาษีสิ้นปี: ไม่มี

3.กรณีได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI : เหมือนผู้ลงทุนไทย

ดอกเบี้ยหุ้นกู้
ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 1
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีด้วย ภาษี ณ ที่จ่าย : ถูกหักในอัตรา ร้อยละ 15
ภาษีสิ้นปี : ไม่มี
อากรแสตมป์
(ตราสารการโอน) การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์
1. กรณีมีตราสารการโอน ติดอากรในอัตรา 1 บาท สำหรับทุกจำนวน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้ว หรือตามราคาในตราสารการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. กรณีโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนไม่ต้องติดอากรแสตมป์
3. กรณีไม่มีตราสารการโอน เช่น โอนในระบบไร้ ใบหุ้น (Scripless) ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ การติดอากรแสตมป์สำหรับการโอนหลักทรัพย์ : เหมือนผู้ลงทุนไทย


หมาย เหตุ : ในกรณีของผู้ลงทุนชาวต่างชาติบางประเทศนั้น อัตราภาษีดังกล่าวข้างต้นอาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาภาษีซ้อน


อนุสัญญาภาษีซ้อน

ปัจจุบัน ในกรณีของผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลต่างชาติบางประเทศนั้น อัตราภาษีสำหรับการได้ สำหรับเงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ เงินปันผล และดอกเบี้ยหุ้นกู้ อาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญา ภาษีซ้อน ขณะเดียวกัน กรณีผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาต่างชาติ อาจได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินปันผล และดอกเบี้ยหุ้นกู้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาภาษีซ้อน ทั้งนี้ มีประเทศที่เป็นคู่สัญญาอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 44 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี นอร์เวย์ เบลเยี่ยม มาเลเซีย สเปน อิตาลี สหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ แคนาดา นิวซีแลนด์ โปแลนด์ โรมาเนีย สวิสเซอร์แลนด์ อิสราเอล สาธารณรัฐเชค ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ลักเซมเบอร์ก สวีเดน แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เดนมาร์ก เนปาล ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐปากีสถาน สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐไซปรัส สาธารณรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐมอริเชียส สาธารณรัฐออสเตรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐฮังการี สาธารณรัฐอาร์เมเนีย

---------------------------------------------

ข้อกล่าวหาเรื่องจริยธรรม

ผมเห็นพวกที่พูดเรื่องจริยธรรม
เงียบกริบเวลาเห็นคนผ่านการเกณฑ์ทหารไม่ถูกต้อง
คนช่วยซิกแซกให้ไปเป็น
โดนลงโทษทางวินัย
โดนคดีอาญา
ไม่รู้ตอนเอาเอกสารไม่ครบไม่ถูกต้อง
ไปยื่นสมัครเป็นอาจารย์รร.นายร้อยจปร.
ใช้จริยธรรมคุณธรรมสูงขนาดไหน
เงียบกริบ
พวกที่พูดเรื่องจริยธรรมคุณธรรม
เงียบกริบมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์เขายายเที่ยง
สรุปก็คือใช้กับทักษิณคนเดียว
เรื่องจริยธรรม
ห้ามใช้กับสุรยทธ์
ห้ามใช้กับมาร์ค
ถึงว่า
ที่เขาว่า 1 ประเทศ 2 มาตรฐานเป็นแบบนี้เอง

อีกอย่างถ้ามีกฏหมายให้ทำได้
แล้วสื่ออาจารย์นักวิชาการบางคน
ให้ยึดเนื้อหาหรือหลักจริยธรรมส่วนตัว
ไม่ดูข้อกฏหมาย
มันจะอยู่กันได้ไหมประเทศนี้
ไม่ต้องอะไรแค่คำว่าจริยธรรมยังเลือกใช้เลย
อย่างที่บอกสมัยทักษิณ
สื่ออาจารย์สารพัดออกมาพูดเรื่องจริยธรรม
พอเจอเขายายเที่ยงเงียบ
เจอจดทะเบียนซ้อน4 คนเลยเงียบ
เจอซิกแซกไปเป็นอาจารย์สอนทหาร
ทั้งๆ ที่หลักฐานไม่ครบ
ชายไทยยุคมาร์คเป็นหนุ่มเป็นต้นมา
จะไปเป็นภารโรงยังต้องตรวจหลักฐาน
เรื่องได้หมดภาระการเกณฑ์ทหารแล้วเลย
แล้วไปเป็นอาจารย์ได้ยังไง
เมื่อหลักฐานไม่สมบูรณ์
เรื่องพวกเนี้ยะไม่เห็นออกมาพูดเรื่องจริยธรรม
หรือฉีกบัตรที่กรุงเทพไม่ผิด
แต่ฉีกบัตรเลือกตั้งคราวเดียวกันอีกจังหวัดติดคุก
คุณคิดว่ามีกฏหมาย
แล้วใช้จริยธรรมส่วนตัว
เนื้อหาอะไรส่วนตัวตัดสิน
มันจะเหมือนกันไหม
ถ้าเปลี่ยนคนตัดสิน
ถ้าต้องตัดสินคนมีเส้นกับไม่มีเส้น
เขาถึงต้องยึดตัวกฏหมายเป็นหลัก
ถ้ามันไม่ผิดก็คือไม่ผิด
แล้วจะไปแก้ให้มันผิดทีหลังก็ทำไป
แต่ไม่มีผลย้อนหลัง
ไม่ใช่กฏหมายบอกไม่ผิด
แต่จะหาเรื่องให้ผิดให้ได้
ลองเปลี่ยนเป็นผม
ไปตัดสินคนที่ชอบพูดเรื่องจริยธรรม
รับประกันได้ถ้าใช้หลักจริยธรรมของผม
ผมสามารถหาข้อผิดของคนพวกนั้นได้
แม้จะไม่มีกฏหมายรองรับอะไร
เห็นรึยังว่าหลักจริยธรรมแต่ละคนก็แต่ละแบบ
ที่ประเทศมันมีสองมาตรฐาน
ก็เพราะยึดการตัดสิน
ตามความคิดเห็น
ตามความรู้สึก
ตามหลักจริยธรรมส่วนตัว
ไม่ยึดกฏหมายเป็นหลัก
มันถึงได้วุ่นอยู่ทุกวันนี้
และเสื่อมความน่าเชื่อถือยังไง

เรื่องการวางแผนภาษีไม่ใช่การโกง
ไม่งั้นคงไม่มีวิชาวางแผนภาษีหรอก
ถ้าท่านจบมามีโอกาสได้ทำงาน
ท่านก็ต้องมาวางแผนภาษี
ตอนจ่ายภาษีสิ้นปี
ถ้าทำอยู่แล้ว
อาจไม่รู้ว่าที่ทำอยู่ทุกปี
ที่เที่ยวไปเอานั่นนี่มาหักภาษี
นั่นแหละเขาเรียกว่าวางแผนภาษีไม่ใช่โกง
อยากถามอาจารย์นักวิชาการ
ที่ออกมาพูดเรื่องจริยธรรมอะไร
ทุกสิ้นปีเคยวางแผนภาษีโกงรัฐ
เพื่อจ่ายภาษีน้อยๆ หรือเปล่า
เช่นเอาค่านั่นนี่มาลดหย่อน
ถึงแม้จะถูกกฏหมายรัฐให้ทำได้
แต่เจตนารมย์รัฐต้องการเงินไปใช้มากๆ ปีนี้
ดังนั้นเที่ยวหานั่นนี่มาลดหย่อนเยอะๆ
จะผิดเจตนารมย์ของการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ทำให้รัฐเก็บได้น้อยลงอะไรประมาณนั้นหรือเปล่า

---------------------------------------------



เรื่องเจตนารมณ์ของกฏหมาย

การที่สื่อ อาจารย์ นักวิชาการบางพวก
เน้นเรื่องการเก็บภาษีเข้ารัฐอย่างเดียว
โดยดูว่ารัฐเสียเปรียบหรือไม่
ไม่ดูข้อกฏหมายว่าเขาทำถูกหรือไม่
เป็นเจตนารมณ์ของกฏหมาย
ที่เคยได้ยินมาว่า
ปล่อยคนผิด 10 คน ดีกว่าจับคนไม่ผิดติดคุกหรือไม่
การพิจารณาข้อกฏหมาย
ไม่ได้ดูว่าใครได้เปรียบเสียเปรียบ
แต่ควรดูว่ากฏหมายว่ายังไง
ผิดกฏหมายหรือไม่
ไม่เช่นนั้นเขาไม่เรียกกฏหมาย
เขาเรียกว่ากฏใครกฏมัน
และถ้าตอนที่เขาทำ
มันมีกฏหมายอยู่ให้ทำได้
จะมาปรับปรุงภายหลัง
เพื่อไปกล่าวหาก็ไม่ถูกต้องนัก
และถ้าพูดถึงเจตนารมณ์ของกฏหมายเรื่องภาษี
จะให้ใครเป็นคนตัดสิน
ก็เขาถามไปที่กรมสรรพากร
กรมสรรพากรบอกไม่ผิด
ถ้าเป็นท่าน ท่านจะต้องถามไปที่ศาลอีกไหม
หรือกรมสรรพากรตอบกลับมาว่ายังไง
ต้องไปถามใครอีก
เพื่อเข้าใจในเจตนารมณ์ของกฏหมาย
แล้วถ้ากรมสรรพากรตอบแล้วเชื่อถือไม่ได้
ถามหน่อยว่าควรไปถามใคร
สมมุติท่านไปทำงานด้านภาษี
แล้วท่านมีปัญหาถามกรมสรรพากร
แล้วเขาตอบท่านมาแล้วท่านทำตาม
แล้วไปขึ้นศาล
สมมุติว่าศาลบอกผิดเจตนารมณ์กฏหมาย
ถ้าเช่นนั้นทำไมไม่ส่งเรื่องไปถามศาลทุกๆ เรื่องเลยหล่ะ
แล้วถ้าอนาคตท่านโดนกรณีนี้บ้างหล่ะ
นี่เป็นกรณีตัวอย่าง
ดังนั้นใครทำตามที่กรมสรรพากรแนะนำ
ก็อาจติดคุกหรือโดนกล่าวหาว่าโกงภายหลังก็ได้

"1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณ หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ"

ระวังไว้ก็แล้วกันสำหรับนักบัญชีทั้งหลาย
อนาคตอาจเข้าคุกหรือทำผิดกฏหมาย
หรือโดนกล่าวหาว่าโกง
เพราะทำตามที่กรมสรรพากรแนะนำมา
ดังนั้นที่ทุกวันนี้คนเป็นร้อยเป็นพัน
ที่โทรไปถามปัญหากับกรมสรรพากร
เพื่อความชัวร์โทรไปหาเหล่าอาจารย์นักวิชาการ
ที่ออกมาพูดเรื่องจริยธรรม และศาลอีกครั้ง
เพื่อจะได้เข้าใจเจตนารมณ์กฏหมายไปในทิศทางเดียวกัน
ไม่งั้นทำตามอาจซวยได้
และอีกหน่อยอาจเป็นแบบครอบครัวนี้

สรุปส่งท้ายเรื่องนี้
ที่มันมั่วๆ และคนไม่เข้าใจอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะพยายามยกตัวอย่างการขายสินค้า
ว่าต้องเสียภาษี
แล้วทำไมขายหุ้นไม่เสีย
ก็กฏเกณฑ์ข้อบังคับมันต่างกัน
ขายหุ้นเขามียกเว้น
และภาษีเงินได้ก็มียกเว้น
มันต่างจากการขายสินค้า
ถ้ามันเหมือนกัน
จะแยกกฏหมายเรื่องขายหุ้นกับขายสินค้ากันทำไม
ข้างล่างคือกฏหมายของตลาดหลักทรัพย์

"กรณีผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล

ประเภทเงินได้ ผู้ลงทุนไทยและผู้ลงทุนต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ภาษี ณ ที่จ่าย : ไม่มี
ภาษีสิ้นปี : ต้องนำเงินกำไรที่ได้มารวมคำนวณหากำไรสุทธิ
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล "

เขาขายกลับมาในราคาเท่าทุนมันก็ไม่มีกำไร
ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ถูกแล้วไง
ทำไมตอนโอนไปก็ราคาพาร์
ตอนโอนกลับก็ราคาพาร์
มันแปลกตรงไหน
แต่ถ้าเอากำไรตัวเองสิถึงแปลก
จะต้องไปสืบสวนเบื้องหลังอีกว่า
อยู่ดีๆ มาหากำไรตัวเองทำไม
มีอะไรลึกลับซ้อนเงื่อนผูกอยู่
หรือลืมกินยาผิด
ถึงคิดมาเอากำไรตัวเอง
ซึ่งเขาจะขายราคาพาร์
ราคาเอากำไรตัวเอง
หรือขาดทุนอะไร
มันเรื่องของเขา
ไม่มีใครไปบังคับเขาได้ว่าห้ามขายเท่าทุน
ไม่มีข้อห้ามนี้
เมื่อไม่มีข้อห้ามนี้เขาจะขายก็เรื่องของเขา
หุ้นของเขา
แล้วจะไปเจ้ากี้เจ้าการ
บังคับให้เขาขายเอากำไรตัวเอง
เพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้
ซึ่งคนที่เสียภาษีเงินได้
ก็คือบริษัท แอมเพิลริช
ในฐานะที่ได้รับหุ้นที่โอนไปให้
แล้วโอนกลับมา
แล้วจะหาเหาใส่ตัว
ให้บริษัทที่ไม่ได้ทำอะไร
แค่เอาหุ้นไปพักไว้
ไม่มีการซื้อขายใดๆ
แล้วโอนกลับมา
เชื่อเหอะว่าคนสติดีๆ เขาก็ทำแบบนี้แหล่ะ
ผมไม่เชื่อพวกชอบยกจริยธรรมคุณธรรมอะไรมาอ้าง
แล้วจะขายหุ้นเอากำไรตัวเอง
เพื่อให้ตัวเองเสียภาษีอีกต่อหนึ่งหรอก
เพราะสิ่งที่เอากำไรตัวเอง
มันก็คือเอากำไรตัวเองไม่ได้อะไรขึ้นมา
แต่ที่เสียแน่ๆ คือต้องจ่ายเพิ่มไปเสียภาษี
ถามจริงๆ อีกที
พวกที่เจ้ากี้เจ้าการเที่ยวบอกว่า
ทำไมเขาไม่ขายเพื่อเอากำไรตัวเอง
ถ้าเป็นคุณจะทำไหม
ในเมื่อเจ้ากี้เจ้าการราวกับเป็นคนมีจริยธรรมอะไร

แล้วข้อแก้ตัวที่ว่าคนมีจริยธรรมมาเป็นนายก
คิดเฉพาะตอนมาดำรงตำแหน่งก่อนหน้านั้น
จะไปทำอะไรไม่มีจริยธรรมไม่คิด
สรุปว่าตำแหน่งนายกกับจริยธรรมที่พูดนี่
เฉพาะตอนดำรงตำแหน่งใช่ไหม
ถ้าก่อนหน้านั้นไร้จริยธรรมพอมาเป็นนายก
ถือว่าเป็นคนมีจริยธรรม
เพราะว่าคิดเฉพาะตอนดำรงตำแหน่ง
ก่อนหน้าไม่คิดใช่ไหม
ถ้าเช่นนั้นตำแหน่งนายก
ก็เป็นตำแหน่งฟอกจริยธรรมให้คนอ่ะซิ
โดนกล่าวหาอยู่ดีๆ ว่าไร้จริยธรรม
พอได้เป็นนายกกลายเป็นคนมีจริยธรรมปกติไปได้
ประหลาดดีลอจิกแถยิ่งกว่าปลาไหลใส่สเก็ตเสียอีก
ถ้าลอจิกแบบนี้ดีถูกต้องยอมรับกัน
คนที่พึ่งถูกด่าว่าไร้จริยธรรมอะไร
งวดหน้าถ้าเขาได้เป็นอีก
ถือว่าเขามีจริยธรรมปกติน่ะ
เพราะอดีตไม่คิด
ถ้าลองยอมรับคนไม่มีจริยธรรมมาเป็นนายกได้แล้ว
อย่ามาทำเป็นยกตัวเองหน่อยเลยว่า
เป็นพวกนักเชิดชูจริยธรรมอะไร
---------------------------------------------

วิชาการวางแผนภาษีมีเปิดสอนตามสถาบันการศึกษาทั่วไป
Tax Planning for the Boss
(การวางแผนภาษีสำหรับผู้บริหาร)

การวางแผน (Planning) เป็นกระบวนการหนึ่งในการ บริหารธุรกิจ ผู้บริหารควรจะวางแผนไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการผลิต การขาย การตลาด การประชาสัมพันธ์ การเงิน การบัญชี การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

แต่มีผู้บริหารน้อยรายมากที่วางแผนภาษีอากร (Tax Planning ) ทั้งๆที่การวางแผนภาษีอากรเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจ และมีผลโดยตรงต่อกำไรหรือขาดทุนของกิจการ

ผู้บริหารที่ไม่ได้วางแผนภาษีอากร จึงทำให้กิจการต้องเสียภาษีมากหรือเสียภาษีเกินกว่าจำนวนที่ควรจะต้องเสีย และการที่ผู้บริหารไม่ได้วางแผนภาษีอากรนี้อาจเป็นเพราะไม่รู้วิธีการวางแผน ภาษีอากรก็ได้ และหลักสูตร MBA ในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สอนวิชาการวางแผนภาษีอากร

#

วิชาการสอบบัญชี โดย
รศ.ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
...
วิชาการวางแผนภาษีอากร

อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
การวางแผนภาษีอากร
การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล
การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร
http://www.lcc.ac.th/WEB_T/Thodsaporn/page3.htm
#

สำนักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ภาค วิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. ภาควิชาการตลาด. ภาควิชาการเป็นผู้ประกอบการ .... การวางแผนภาษีอากร. กรุงเทพฯ: สำนักงาน วิชิตา ทนายความ บัญชีและธุรกิจ ...
www2.feu.ac.th/admin/ia/articles_detail.php?id=126

#

กวดวิชาบัญชี ภาษี และการวางแผนการเงิน
2BAcc training: ผู้เชี่ยวชาญการสัมมนา อบรมบัญชี และ อบรมภาษี การวางแผนการเงิน ทอล์คโชว์ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องบัญชี (CPD) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ...
www.2bacc.co.th/index.php/tutor-tax-accounting

#

TSI Thailand Securities Institute
ชุด วิชาที่ 5: การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning) เพื่อให้เข้าใจในเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีทางตรงที่ถือว่ามีความสำคัญ ...
www.tsi-thailand.org/ProfessionalEdu_3/4_training/training_TFP_Module5.html

#

University of the Thai Chamber of Commerce - มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
AC 523 ปัญหาภาษีอากรของธุรกิจเฉพาะด้าน (Tax Problems on Specific Businesses). หมวดที่ 3 หมวดวิชาการวางแผนภาษีอากรและการประยุกต์ จำนวน 2 วิชา 6 หน่วยกิต ...
gs.utcc.ac.th/diptaxation/content.php?ct_id=9

---------------------------------------------

ศาลภาษีอากรกลางสั่งงดเก็บภาษีหุ้นแอมเพิล ริชฯของ “พานทองแท้-พิณทองทา”
วันพุธ ที่ 29 ธ.ค. 2553

กรุงเทพฯ 29 ธ.ค. – “พานทองแท้-พิณทองทา” เฮศาลภาษีอากรกลาง สั่งสรรพากรงดเก็บภาษีซื้อขายหุ้นแอมเพิล ริชฯ กว่าหมื่นล้าน เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเจ้าของหุ้นตัวจริง

ที่ห้องพิจารณา 306 ศาลภาษีอากรกลาง ถ.รัชดาภิเษก เวลา 13.30 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งในคดีที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มอบให้นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ผู้แทนคดีเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมสรรพากร นายสุทธิชัย สังขมณี นายศิริศักดิ์ พันธ์พยัคฆ์ และนายณัฎฐภพ อนันตรสุชาติ ซึ่งเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีของกรมสรรพากร เป็นจำเลยที่ 1-4 เรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินภาษีของนายพานทองแท้ จำนวน 5,677,136,572 บาท และของ น.ส.พิณทองทา จำนวน 5,6755,676,860.08 บาท

โจทก์ระบุฟ้องสรุปว่าเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 จำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้แบบ ภงด.12 ปี 2549 ว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง เนื่องจากตรวจพบว่าเมื่อปี 2549 โจทก์เป็นกรรมการ บริษัทแอมเพิล ริช อินเวสเมนต์ จำกัด ได้ซื้อหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยทำการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 จำนวน 164,600,000 หุ้นในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่หุ้นชินคอร์ปฯ มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หุ้นละ 49.25 บาท หุ้นชินคอร์ปฯ ที่บริษัท แอมเพิล ริชฯ ขายให้โจทก์เป็นหุ้นชนิดไร้ใบหลักทรัพย์ ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ จะนำหุ้นลักษณะนี้ไปฝากไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ในต่างประเทศไม่ได้ การซื้อหุ้นไม่ว่าในหรือนอกตลาดหลักทรัพย์จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อลงบันทึกบัญชีของผู้ฝากหลักทรัพย์ในสำนักหักบัญชีของบริษัทศูนย์ฝากหลักทรัพย์ และพบว่าได้มีการโอนหลักทรัพย์หุ้นชินคอร์ปฯ จากผู้รักษาทรัพย์ช่วง คือ ธนาคารซิติแบงก์ฯ ไปยังโบรกเกอร์ คือ บริษัท หลักทรัพย์ยูบีเอส จำกัด (มหาชน) จำนวน 164,000,000 หุ้น ดังนั้น การซื้อขายหุ้นของโจทก์จึงเป็นการซื้อขายหุ้นในประเทศไทย การที่บริษัทแอมเพิล ริชฯ ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับโจทก์ในวันดังกล่าว จึงมีผลส่วนต่างที่คำนวณได้เป็นเงิน 7,941,950,000 บาท

โดยถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทแอมเพิล ริชฯ ได้รับประโยชน์ เข้าลักษณะพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 (2) แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภงด.90 โดยไม่นำเงินได้ส่วนต่างจำนวน 7,941,950,000 บาทมารวมคำนวณเสียภาษี ถือว่าสำแดงรายการต้องเสียภาษีไม่ครบ ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับอีกสองเท่า โดยของโจทก์ที่ 1 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,904,791,172.29 บาท โจทก์ที่ 2 รวม 5,676,860,088 บาทนั้นโจทก์ไม่เห็นด้วย จึงยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 2 , 3 และ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ และต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 คณะกรรมการอุทธรณ์ฯ ได้ลดภาษีให้บางส่วนแต่ยังคงให้โจทก์ต้องเสียภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ตามเดิม

โจทก์ขออุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานการประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ฯ ทุกประเด็น และขอให้ศาลมีคำสั่งปลดภาษี และเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงาน และขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ฯพร้อมขอลดเบี้ยปรับด้วย

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่ อม.1/2553 ระหว่างอัยการสูงสุด ผู้ร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา (ขณะนั้น) ผู้คัดค้านที่ 1 นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 2 น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 3 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 4 กับพวกรวม 22 คน โดยศาลฎีกาฯ ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวว่าหุ้นของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,419,490,150 หุ้นที่พิพาทในคดีดังกล่าว (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นหุ้นที่พิพาทในคดีนี้) ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานโดยให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา เป็นผู้ถือหุ้นแทนในระหว่างที่ พ ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณได้โอนหุ้นจำนวน 32,900,000 หุ้น ให้แก่บริษัท แอมเพิล ริช ฯ โดย พ.ต.ท.ทักษิณยังคงเป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริงอยู่

ต่อมาบริษัท แอมเพิลริชฯ ได้มีการจดทะเบียนลดมูลค่าหุ้นจากที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 บริษัท แอมเพิล ริชฯ ได้โอนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดให้นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาคนละ 164,600,000 หุ้น ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2549 พ.ต.ท.ทักษิณได้รวบรวมหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ที่ตนยังคงเป็นเจ้าของที่แท้จริงขายให้แก่เทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ เงินที่ได้มาจากการขายหุ้นดังกล่าวตลอดจนเงินปันผลของหุ้นที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สมควรจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่และได้มา เนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมในขณะที่ดำรงตำแหน่ง และศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาให้ยึดเงินที่ได้จากการขายหุ้น รวมทั้งเงินปันผลของหุ้นดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา โจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นคู่ความอยู่ในคดีดังกล่าว และแม้ว่ากรมสรรพากรจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ จะมิได้เป็นคู่ความโดยตรงในคดีดังกล่าว แต่ถือเป็นหน่วยราชการและเจ้าพนักงานของรัฐในการปฏิบัติราชการตามกฎหมายเช่นเดียวกับอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว ย่อมถือว่าคู่ความในคดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยไว้ว่าหุ้นที่พิพาทยังคงเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานจึงมีผลผูกพันคู่ความในคดีนี้ด้วยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29

ดังนั้น จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่านายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทามิใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นที่พิพาท เงินได้ที่เกิดขึ้นจากการขายหุ้นดังกล่าวจึงเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงินอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่จะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองโดยกำหนดค่าทนายความ 150,000 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการฟังคำพิพากษาในวันนี้นานกว่า 2 ชั่วโมง ฝ่ายโจทก์มีนางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ทนายความและผู้ติดตามอีก 3 คนเดินทางมาศาล ส่วนฝ่ายจำเลยไม่มีจำเลยหรือผู้แทนมาศาลแต่อย่างใด

ภายหลังทนายความโจทก์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะรายงานผลคำพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองทราบ ซึ่งเชื่อว่าศาลได้พิจารณาด้วยความเป็นธรรม และหากกรมสรรพากรจะยื่นอุทธรณ์ สามารถกระทำได้ตามกฎหมาย ฝ่ายโจทก์จะรวบรวมหลักฐานต่อสู้คดีต่อไป.- สำนักข่าวไทย

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/149451.html

-------------------------------------------------------
FfF