บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


26 มีนาคม 2552

<<< จิตวิญญาณความเป็นไท >>>

บทความที่ ๑๒๑: จิตวิญญาณความเป็นไท
โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๑

เร็ว ๆ นี้ได้มีโอกาสย้อนกลับไปดูภาพยนตร์เรื่อง Amistad ซึ่งกำกับโดย สตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อกว่าหนึ่งทศวรรษที่แล้ว รู้สึกประหลาดใจว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอเมริกาในยุคก่อนสงครามกลางเมือง เมื่อราว พ.ศ. 2382 มีหลายอย่างคล้ายคลึงกับไทยในยุคดิจิตอล 2551 ทีเดียว

Amistad พูดถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จิตวิญญาณของชาติ การเมือง การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และบรรยากาศความขัดแย้งทางความคิดในสังคมระหว่างคนเหนือกับคนใต้ของสหรัฐ อเมริกา

ชนวนของเรื่องเริ่มจากเรือเดินสมุทรสัญชาติสเปนชื่อ La Amistad ซึ่งแปลว่า มิตรภาพไร้พรมแดน

ชื่อ เรือช่างเย้ยหยันความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสียเหลือเกิน เนื่องด้วยเรือลำนี้บรรทุกชาวแอฟริกันที่ถูกลักลอบจับมาเพื่อขายต่อนายทาส ระหว่างทางที่รอนแรมในทะเล ชายหลายคนถูกเฆี่ยนตีจนตาย ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ และผู้คนกว่า 50 ชีวิตถูกทิ้งถ่วงน้ำเพื่อลดภาระน้ำหนักของเรือและเพื่อคลายภาวะอาหารขาดแคลน

คืน ฝนตกวันหนึ่ง หนุ่มผิวหมึกชื่อ ซินเค ใช้นิ้วแคะตะปูจากแผ่นไม้ของเรือออกมาและใช้ตะปูไขทำลายโซ่ตรวนที่ล่าม อิสรภาพเขาไว้ เขาและพวกฆ่าลูกเรือคนขาวเกือบหมดลำ เหลือเพียงผู้ที่สามารถเดินเรือได้ เพื่อให้นำเขากับพวกกลับกาฬทวีป

แต่ เรือกลับไปขึ้นฝั่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทุกคนบนเรือถูกจับในข้อหาฆ่าคน และรัฐบาลภายใต้การนำของพระราชินีอิสซาเบลที่ 2 ของสเปนเรียกร้องให้สหรัฐส่งเรือพร้อมสินค้าทั้งหมดกลับสเปน ซึ่งสินค้าที่ว่านี้ก็ คือ มนุษย์ที่ถูกทำให้เป็นทาส

ในช่วงปีพ.ศ. 2382 ทาสเป็นสัญลักษณ์ที่แบ่งความคิดและวิถีชีวิตระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของอเมริกา

รัฐ ทางใต้ของอเมริกาเป็นเมืองเกษตรกรรม มีไร่ฝ้ายขนาดใหญ่ซึ่งอ้างความจำเป็นในการใช้แรงงานทาสจำนวนมาก ส่วนรัฐทางเหนือเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักร เป็นหลัก

ความเป็นความตายของทาส กลายเป็นประเด็นทางการเมือง เรื่องชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงทำให้ต่างฝ่ายพยายามจะเอาชนะกัน ทั้งการเจรจาต่อรองโดยอ้างความชอบธรรมจริยธรรม บ้างอ้างวิถีชีวิตตามครรลองของพื้นถิ่น และบ้างก็อ้างว่าทำเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง

นอกจากนั้นยังมี ความพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ด้วย โดยการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา ด้วยหวังให้ผู้พิพากษาที่ตนเลือกมานั่งบัลลังก์ตัดสินลงโทษชาวแอฟริกันในข้อ หาฆาตกรรม และส่งเรือสินค้าทาสนี้กลับสเปน

แต่ผู้พิพากษาหนุ่มตัดสินความให้จำเลยได้รับอิสรภาพ ส่วนผู้ค้าทาสถูกคุมขังรับโทษ

คำ พิพากษานี้ทำให้การเมืองขั้วใต้ไม่พอใจอย่างยิ่ง และอุทธรณ์เรื่องนี้สู่ศาลสูงสุด เป็นเหตุให้ นักการเมือง วุฒิสมาชิก ทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ผู้ที่กำลังสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และอดีตประธานาธิบดีเข้ามาเกี่ยวข้อง

หนึ่งในนั้นคือ อดีตประธานาธิบดีคนที่ 6 ของอเมริกา คือ จอห์น ควินซี อดัมส์ (ดำรงตำแหน่งปีพ.ศ. 2368-2372) ท่านเข้ามาช่วยว่าความให้จำเลยทาส คดีนี้กลายเป็นคดีทางการเมืองไปแล้ว

ก่อนจะขึ้นว่าความต่อศาลสูง ท่านประธานาธิบดี อดัมส์ ขอพูดกับ ซินเค ซึ่งบทสนทนาสำคัญตอนนี้มีว่า

“เราจะไม่ได้ขึ้นศาลโดยลำพังหรอก” ซินเคพูด

อดีตประธานาธิบดีอดัมส์ ส่ายหน้าพร้อมกล่าวว่า “ไม่หรอก เรามีสิทธิ และความถูกต้องอยู่ด้วยกับเรา”

“ เปล่า ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น” ซินเคตอบ “ในยามวิกฤตคับขัน พวกเราชาวเมนเดจะเรียกหาวิญญาณเหล่าบรรพบุรุษให้มาช่วย ให้นำปัญญาญาณจากอดีตมากอบกู้สถานการณ์ในปัจจุบันอันมืดมน บรรพบุรุษต้องมาตามเสียงเรียกของผม เพราะว่า ในเวลาเช่นนี้ ผมคือเหตุผลทั้งหมดทั้งสิ้น ที่เป็นเครื่องแสดงว่าพวกท่านทั้งหลายเคยดำรงอยู่จริง”

คำ พูดง่าย ๆ เช่นนี้ ทำให้อดัมส์เห็นทางที่จะพูดต่อศาล “ถ้าทาสเหล่านี้สมควรตาย เราจะทำอย่างไรกับเอกสารคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาที่บรรพชนร่วมกันร่างขึ้น ที่ว่า ‘มนุษย์ทุกคนล้วนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน’ ”

“ข้อเสนอแนะของผม ก็คือ ฉีกมันทิ้งไปเสีย” อดัมส์กล่าว เพราะหากเราทำลายจิตวิญญาณของบรรพชนที่ให้กำเนิดประเทศนี้ นั่นก็เท่ากับว่าพวกท่านไม่เคยดำรงอยู่เลย จิตวิญญาณที่สร้างชาติและความเป็นอเมริกันนั้นได้ถูกทำลายและไม่มีอยู่จริง

จอห์น ควินซี อดัมส์ เป็นลูกชายของประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา จอห์น อดัมส์ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบิดาผู้วางรากฐานจิตวิญญาณของอเมริกัน ชน และมีส่วนร่วมในการเขียนคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 ร่วมกับ เบนจามิน แฟรงคลิน โรเบิร์ต ลิฟวิงสตัน โทมัส เจฟเฟอสัน และผู้แทนประชาชนอีกกว่า 50 คน ที่ร่วมลงนาม


จิตวิญญาณอเมริกาคือสิทธิ เสรีภาพของทุกคน ซึ่งไม่ว่ากฎหมาย กฎระเบียบ วิถีชีวิต แม้แต่รัฐบาล ก็จะทำลายหรือละเมิดมิได้

แล้วจิตวิญญาณของสยามประเทศ คืออะไร?

เพื่อน ในแดนอีสานเล่าความครั้งเธอยังเยาว์ว่า “สมัยก่อนคนรุ่นปู่ย่าตาทวดอยู่ร่วมกันหลากเชื้อชาติ เมื่อมีคนจากต่างถิ่น เช่น ญวน ลาว เขมร มาในพื้นที่ เราก็แบ่งกันอยู่ ถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นเพื่อนกัน”

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีเช่นนี้หรือเปล่าที่เป็นหัวใจของชนแถบนี้ คนสยามค่อนข้างใจกว้าง ยอมรับความแตกต่างได้ พร้อมเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ เล่นแร่แปรธาตุได้เสมอ มีความสามารถอย่างยิ่งในการหลอมรวม ผสมผสาน และประยุกต์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมกับจริต ความคุ้นเคยของตน เห็นได้ชัดจากการดัดแปลงอาหารต่างๆให้มีเอกลักษณ์เป็นแบบฉบับของตน

จิตวิญญาณที่หล่อเลี้ยงคนรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้อยู่ได้จนปัจจุบัน ยังมีอยู่หรือไม่?


ใน ภาพยนตร์ อดีตประธานาธิบดี อดัมส์ ยังกล่าวต่อไปว่า บางทีการที่คนเราไม่หวนระลึกถึงภูมิปัญญาในอดีต ไม่กลับไปสู่รากเหง้าของตนอาจเป็นเพราะความกลัวที่จะเผชิญกับความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว เราไม่ได้เป็นปัจเจกชนอย่างที่เราคิดและหวงแหน เราคือผลสืบเนื่องของอดีต

“สิ่งที่เราเป็นอย่างทุกวันนี้ คือสิ่งที่เราเป็นมาแต่อดีต เราต้องการความเข้มแข็งจากบรรพชน ปัญญาที่จะช่วยเราก้าวข้ามความกลัวและอคติของตัวเอง โปรดให้พลังแก่เราที่จะกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และถ้าหากสิ่งนั้นหมายถึง สงครามกลางเมืองแล้วละก็ ขอให้มันมา และเมื่อสงครามกลางเมืองมาถึง ก็ขอให้มันเป็นการปฏิรูปครั้งสุดท้ายของอเมริกาเถิด” อดัมส์กล่าว

สงคราม กลางเมืองระหว่างเหนือและใต้จบลงเมื่อปีพ.ศ. 2408 ประธานาธิบดีลินคอล์นประกาศอิสรภาพให้กับทาส และ สถาปนาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในอเมริกา แต่สงครามกลางเมืองนี้ก็ได้คร่าชีวิตทหารอเมริกันไปกว่า 620,000 นาย และ พลเรือนได้รับบาดเจ็บอีกมาก ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การลอบสังหารประธานาธิบดี ลินคอล์น ในปีเดียวกันนั่นเอง

หวังว่าประวัติศาสตร์ของชาติหนึ่ง จะไม่เป็นอนาคตของอีกชาติหนึ่งที่อยู่ไกลกว่าครึ่งโลก แต่กิเลสที่ครองใจคนทุกเผ่าพันธุ์และทุกยุคสมัยอาจทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ซ้ำซากได้ จนกว่ามนุษย์จะเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจเสียใหม่ กงล้อของประวัติศาสตร์จึงสามารถสร้างรอยทางใหม่ ๆ ให้พ้นจากหล่มทางเดิม

บาง ทีหนึ่งในหนทางที่เราจะเปลี่ยนจิตใจและเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ในอนาคต ได้ คือ การกลับไปมองอดีต เรียนรู้จากความผิดพลาด ค้นหารากเหง้าของตน เรียนรู้ที่จะอยู่กับความหลากหลายอย่างที่บรรพบุรุษเราเคยอยู่กันมา
Sunday, October 19, 2008

http://jittapanya.blogspot.com/2008_10_01_archive.html

------------------------------------------------------------------

และเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นถึง
จิตวิญญาณของการรักความเป็นธรรม
ของผู้พิพากษาได้ดี

" นอกจากนั้นยังมีความพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะ แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ด้วย โดยการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา ด้วยหวังให้ผู้พิพากษาที่ตนเลือกมานั่งบัลลังก์ตัดสินลงโทษชาวแอฟริกันในข้อ หาฆาตกรรม และส่งเรือสินค้าทาสนี้กลับสเปน

แต่ผู้พิพากษาหนุ่มตัดสินความให้จำเลยได้รับอิสรภาพ ส่วนผู้ค้าทาสถูกคุมขังรับโทษ"

ผู้พิพากษาหนุ่มถูกแต่งตั้งเข้ามาแทนที่ผู้พิพากษาคนก่อน
ที่พิจารณาคดีนี้และมีความรู้สึกว่าจะเห็นใจฝ่ายทาสผิวดำ
ฝ่ายบริหารที่มีอำนาจในอเมริกาขณะนั้น
ได้กระทำการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
อย่างแนบเนียนโดยเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา
และเลือกคนที่เห็นว่าหัวอ่อนทำตามใบสั่งได้
โดยเลือกคนหนุ่มเพราะเห็นว่า
เขาจะรักความก้าวหน้าในอาชีพของเขา
โดยยอมทำตามใบสั่งทุกอย่าง
แต่สุดท้ายหลังฟังข้อมูลทั้งสองด้าน
ผู้พิพากษาหนุ่มไม่อาจฝืนความจริงได้
ตัดสินให้ฝ่ายทาสชนะและเป็นอิสระ
แต่ฝ่ายบริหารในตอนนั้นก็ไม่พอใจอุทรณ์ต่อศาลสูง
ซึ่งในองค์คณะเป็นพวกฝ่ายใต้ที่หนุนการมีทาส
ถึง 7 คนจากทั้งหมด 9 คน
ทำให้ทนายความที่รักความเป็นธรรม
และยื่นมือมาช่วยว่าความตั้งแต่ต้น
รู้ว่าแพ้ตั้งแต่ยังไม่มีคำตัดสิน
จึงหาทางติดต่อไปยังอดีตประธานาธิบดีคนที่ 6 ของอเมริกา
คือ จอห์น ควินซี อดัมส์
มาช่วยว่าความแทนตนเอง
ซึ่งจากแรงดลใจด้วยคำพูดซื่อๆ ของทาสผิวดำที่ชื่อซินเค ที่ว่า
" เปล่า ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น ซินเคตอบ ในยามวิกฤตคับขัน พวกเราชาวเมนเดจะเรียกหาวิญญาณเหล่าบรรพบุรุษให้มาช่วย ให้นำปัญญาญาณจากอดีตมากอบกู้สถานการณ์ในปัจจุบันอันมืดมน บรรพบุรุษต้องมาตามเสียงเรียกของผม เพราะว่า ในเวลาเช่นนี้ ผมคือเหตุผลทั้งหมดทั้งสิ้น ที่เป็นเครื่องแสดงว่าพวกท่านทั้งหลายเคยดำรงอยู่จริง"
จนเป็นเหตุให้อดีตประธานาธิบดีท่านนี้
ไปว่าความเพื่อจูงใจให้ผู้พิพากษา
ที่เสียงส่วนใหญ่สนับสนุนการค้าทาสเพราะเป็นพวกฝ่ายใต้
โดยอ้างถึงสุนทรพจน์ของอดีตประธานาธิบดีของอเมริกา
ที่มีคนอเมริกันนับถือมากล่าวอ้าง
เรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน
รวมทั้งแสดงจดหมายจากราชินีของสเปนที่อยู่ในวัยเยาว์
เขียนมาถึงฝ่ายบริหารของอเมริกาเชิงกดดัน
ว่าทำไมผู้บริหารอเมริกาถึงไม่กดดันศาลให้ตัดสิน
ตามที่พวกเขาต้องการเหมือนที่อาณาจักรสเปนของเขาทำได้
สุดท้ายศาลที่เสียงส่วนใหญ่สนับสนุนการค้าทาส
เพราะมีทาสในครอบครองเหมือนกัน
ก็ตัดสินให้ทาสผิวดำกลุ่มนี้เป็นอิสรภาพ
ส่งกลับแอฟริกาบ้านเกิดเขา
โดยไม่สนใจว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง
ที่ผู้บริหารฝ่ายใต้ก็กดดันให้คดีนี้ต้องจบลงด้วยฝ่ายทาสแพ้
ในที่สุดก็เกิดสงครามกลางเมือง
และจบลงด้วยฝ่ายสนับสนุนเลิกทาสชนะ
และทำให้มีประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของอเมริกาในวันนี้
นี่ก็เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และการรักศักดิ์ศรี
ของคนที่เป็นผู้พิพากษาในการตัดสินใจในวันนั้น
โดยคำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม
มากกว่าแรงกดดันหรือสิ่งล่อใจใดๆ
นี่เป็นตัวอย่างของคนที่เรียกได้เต็มปากว่า
เป็นผู้พิพากษาไม่ใช่นักรับจ้างตัดสิน

โดย มาหาอะไร