โดยมีพม่า จีนและเวียดนามติดอันดับต้นๆ ส่วนที่เหลือมาจากตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอเชียกลางและทะเลแคริเบียน ประกอบด้วย อิหร่าน ซีเรีย ซาดุดิอาระเบีย ตูนีเซียและอียิปต์ รวมทั้ง คิวบาและเติร์กเมนิสถาน
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ องค์กรคณะกรรมการคุ้มครองนักข่าวแห่งนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผย รายงานผลการสำรวจเรื่อง การจัดอันดับ10 ประเทศที่จำกัดเสรีภาพของบล็อกเกอร์ หรือผู้ผลิตเนื้อหาข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ถูกจำกัดมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศที่โอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประชาชนมีมาก ขึ้น แต่รัฐบาลกลับพยายามที่จะปิดกั้นเสรีภาพมากขึ้น
รายงานระบุว่า ขณะที่จำนวนของบล็อกเกอร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติระบบการสื่อสาร กำลังขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว แต่รัฐบาลของหลายประเทศก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อจำกัดเสรีภาพของบล็อกเกอร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การโปรแกรมคัดกรองถ้อยคำ การจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ รวมถึงการเข้าไปรบกวนข้อมูลส่วนบุคคล และเมื่อทำไม่สำเร็จ จะหันมาดำเนินการจับกุมบล็อกเกอร์บางคนเพื่อข่มขู่ให้ผู้ที่ต้องการเอาอย่าง เกิดความเกรงกลัว
"เมื่อพิจารณาจากปัญหาการจับกุม กฎระเบียบ และการข่มขู่ในรูปแบบต่างๆ พบว่า อิหร่าน ซีเรีย ซาอุดิอารเบีย ตูนีเซีย และอียิปต์ เป็นกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ที่มีการจำกัดเสรีภาพออนไลน์มากที่สุด ในทวีปเอเซีย พม่า จีนและเวียดนามอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนที่อีก 2 ประเทศได้แก่ คิวบาและเติร์กเมนิสถาน" นายโจแอล ไซมอน ผู้อำนวยการบริหาร ซีพีเจ กล่าว
นาย ไซมอนกล่าวด้วยว่า รัฐบาลของกลุ่มประเทศดังกล่าว พยายามที่จะฉุดรั้งการปฏิวัติระบบสื่อสารและทำได้สำเร็จ ดังนั้น กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ชุมชนคนออนไลน์ รวมทั้งบริษัทด้านไอทีจะต้องมาร่วมมือกันปกป้องสิทธิเสรีภาพของบล็อกเกอร์ ทั่วโลก
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าววิทยาการ-ไอที
2 พฤษภาคม 2552, 05:27 น.
------------------------------------------------
อ่านข่าวเต็มๆ ได้ที่นี่
http://cpj.org/reports/2009/04/10-worst-countries-to-be-a-blogger.php
1. BURMA
2. IRAN
3. SYRIA
4. CUBA
5. SAUDI ARABIA
6. VIETNAM
7. TUNISIA
8. CHINA
9. TURKMENISTAN
10. EGYPT
เราว่าถ้าเผย 11 ประเทศ หรือ 20 ประเทศ
อาจมีประเทศไทยติดร่างแหกับเขาด้วยก็ได้น่ะ
เพราะดูจากคำถามที่เขาถาม
ใช่เลย THAILAND ก็ใช่ย่อยเสียเมื่อไหร่
อย่างน้อยก็เริ่มพัฒนาใกล้เคียงกับพม่าแล้ว
คอยดูเหอะงวดนี้ไม่ติด TOP TEN กับเขา
งวดหน้าไม่แน่มาลุ้นกันใหม่
เราว่าน่าได้รับเกียรติติด 1 ใน 10 แน่ๆ
รัฐบาลนี้เขาสามารถ
-----------------------------------------------
METHODOLOGY
In consultation with Internet experts, CPJ developed eight questions to assess blogging conditions worldwide. The questions:
* Does a country jail bloggers?
* Do bloggers face harassment, cyber-attacks, threats, assaults, or other reprisals?
* Do bloggers self-censor to protect themselves?
* Does the government limit connectivity or restrict access to the Internet?
* Are bloggers required to register with the government or an ISP and give a verifiable name and address before blogging?
* Does a country have regulations or laws that can be used to censor bloggers?
* Does the government monitor citizens who use the Internet?
* Does the government use filtering technology to block or censor the Internet?
Based on these criteria, CPJ regional experts nominated countries for this list. The final ranking was determined by a poll of CPJ staff and outside experts.
----------------------------------------------------
โดย มาหาอะไร
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.