คลัง เล็งชงพรก.ขยายเพดานก่อหนี้สาธารณะ ไม่เกิน 60 %
โพสต์ ทูเดย์
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552 16:09
ก.คลัง เตรียมชง พรก.ขยายเพดานก่อหนี้สาธารณะ ได้ไม่เกิน ร้อยละ 60 ของ GDP จากเดิมที่กำหนด ไว้ ไม่เกินร้อยละ 50 เสนอ ครม.เร็วๆนี้
นาย พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. เตรียมเสนอพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การกู้เงินพิเศษต่อกระทรวงการคลัง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มอำนาจการกู้ยืมเงินให้มากขึ้น แต่กรอบการกู้เงินต้องมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นกรอบชั่วคราว 2 - 3 ปี และต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้ หรือกำหนดให้มีความคล่องตัวในการหาแหล่งเงินทุน ด้วยการอนุมัติกรอบเงินกู้จากต่างประเทศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ กู้ในประเทศเป็นสกุลเงินบาท โดยสามารถกู้ได้จากสถาบันการเงิน หรือทำในรูปของตราสาร และต้องมีความคล่องตัวในการใช้จ่าย โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเสนอให้มีการขยายเพดานการก่อหนี้สาธารณะให้ได้ไม่เกิน ร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี
นอกจากนี้ สบน. ยังอยู่ระหว่างจัดทำแผนการจัดหาแหล่งเงินทุน และแผนลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 ของรัฐบาล โดยจะมีการปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงการลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน (PPP) จากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 18 ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 เดือน
-------------------------------------
ตอบง่ายๆ ว่า
คงต้องการสร้างหนี้สาธารณะเกิน 50% ในอนาคต
หรือตอนนี้นั่งทับข้อมูลหนี้สาธารณะไว้
ไม่ให้เกิน 50% ช่วงนี้
มีแค่ 2 เหตุผลที่เขาต้องการเร่งออกกฏหมาย
ขยายการก่อหนี้สาธารณะ
จากเดิมไม่เกิน 50% ไปเป็น ไม่เกิน 60%
เพราะถ้าไม่มีความจำเป็นใดๆ แล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องแก้
ตัวเลขล่าสุดที่ประกาศมาครั้งหลังสุด
เข้าใจว่าเขยิบอยู่แถวๆ 39% แล้ว
ซึ่งก็ยังเยอะเหลืออีกสิบกว่าเปอร์เซ็นต์
ที่ยังก่อหนี้สาธารณะได้
ภายใต้กฏหมายเดิม
แต่ที่ต้องแก้เพราะมันจะเลย 50% ในไม่ช้า
หลังกฏหมายนั้นบังคับใช้
ก็จะได้ยินตัวเลขของหนี้ที่แท้จริง
หรือโครงการก่อหนี้ที่จะทำให้ต้องเป็นหนี้เพิ่มอีก
จนทะลุ 50% แน่นอนฟันธง
แต่ก่อนเดาว่าภายใน 2-3 ปี
แต่ตอนนี้เดาใหม่
ถ้ากฏหมายที่แก้ให้ก่อหนี้ไม่เกิน 60% มีผลบังคับใช้
ภายในปีนี้ได้เห็นตัวเลขหนี้สาธารณะเกิน 50% แน่นอน
และข่าวล่าสุดวันนี้
กรณ์ ไปโม้ให้ต่างชาติฟังว่า
" รัฐสภาไทยจะผ่านกฏหมายสำคัญในเร็วๆ นี้ จะทำให้รัฐบาลสามารถผ่อนคลายข้อจำกัดด้านนโยบายการเงิน ผลักดันการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มีเป้าหมายฉุดดึงประเทศไทย ให้หลุดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองได้"
กฏหมายสำคัญที่ว่านี้
ก็คือแก้ให้ก่อหนี้สาธารณะได้ไม่เกิน 60% นั่นเอง
และจะเอาไปลงทุนในด้าน สาธารณูปโภคขนาดใหญ่
จริงเท็จติดตามดู ว่ามีนโยบายเอาไปผลาญเพื่อหาเสียงหรือไม่
หรือเอาไปแจกอีกไหมอันนี้โปรดติดตามชม
ส่วนเป้าหมายที่ไปโม้แบบเป็นไปไม่ได้เลย
ก็คือการแก้กฏหมายก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม
จะช่วยแก้วิกฤตการเมืองได้
นอกจากแก้วิกฤตโรคอดอยากปากแห้ง
ในพรรคร่วมรัฐบาลกันเองได้เท่านั้น
เพราะมีเงินที่ก่อหนี้มามากพอแบ่งเค้กกันได้ครบทุกคน
แต่วิกฤตการณ์การเมืองภาคประชาชนก็ยังคงวิกฤตต่อไป
และคงวิกฤตมากขึ้น
ถ้ายิ่งเห็นการเตรียมการจัดบุฟเฟ่ห์แบ่งเค้กกันสนุกสนาน
โดยที่อนาคตต้องมารีดภาษีประชาชนเพื่อไปใช้หนี้
---------------------------------
ไทยจ่อผ่านกม.สำคัญ คลายนโยบายการเงิน ฉุดไทยพ้นวิกฤติ
เอ ดีบีชี้แนะว่า รัฐบาลของชาติต่างๆ ในเอเชียต้องลงทุนในเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและกระตุ้นอุปสงค์หรือการ บริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น ยุติ-ลดการพึ่งพาการส่งออกเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ...
สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (3 พ.ค.) ว่า การประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) มีสมาชิก 67 ประเทศ ที่เมืองนูซา ดูอา บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เป็นวันที่สอง กำหนด 4 วัน เอดีบีชี้แนะว่า รัฐบาลของชาติต่างๆ ในทวีปเอเชียต้องลงทุนในเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและกระตุ้นอุปสงค์หรือ การบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น ยุติหรือลดการพึ่งพาการส่งออกเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่กำลังเผชิญวิกฤติถดถอยครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เอดีบีเตือนอีกว่า เศรษฐกิจของหลายชาติเอเชียตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะการส่งออกสู่ตลาดตะวันตกมลายหายไป ประชาชนราว 61 ล้านคนจะยังตกอยู่ในห้วงความยากจนในปีนี้ และจะเพิ่มเป็นเกือบ 160 ล้านคนในปีหน้าถ้าเศรษฐกิจยังถดถอยต่อเนื่อง
นายคาโอรุ โยซาโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ผู้ว่าการเอดีบีกล่าวว่า ชาติเอเชียต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ มุ่งเน้นกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจละลาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของหลายชาติก็เห็นพ้องด้วย ก่อนหน้านี้ หลายชาติรวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่น ได้ทุ่มเงินมหาศาลกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน แต่ยังเร็วเกินไปที่จะรู้ว่าได้ผลหรือไม่ ขณะที่อีกหลายชาติยากจนเกินไปที่จะทำอย่างนั้นได้
การประชุมครั้งนี้ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) 10 ประเทศ รวมทั้งสาธารณรํฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยังมีแผนประกาศตั้งกองทุนสำรองร่วมมูลค่าถึง 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อช่วยค้ำจุนชาติที่เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ-การเงิน โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่นจะลงขันมากที่สุดชาติละ 38,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 80% ที่เหลือชาติอาเซียนเป็นผู้รับผิดชอบ
นอก จากนี้ ญี่ปุ่นยังเสนอตั้งเงินสำรองฉุกเฉินไว้ช่วยเหลือชาติอื่นๆ อีก 60,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯด้วย ก่อนหน้านี้ 1 วัน เอดีบีประกาศเพิ่มวงเงินให้ชาติสมาชิกกู้ยืมอีก 10,000 ล้านดอลลาร์ใน 2 ปีข้างหน้า ทำให้วงเงินกู้ยืมเพิ่มเป็น 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังสัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกเอดีบีมีมติเพิ่มเงินทุนของเอดีบีขึ้น 3 เท่า จาก 55,000 ล้าน เป็น 165,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เอดีบีคาดการณ์ว่า ปีนี้เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะเติบโตแค่ 3.4% เทียบกับกว่า 9% ในปี 2550
นาย กรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยเผยว่า รัฐสภาไทยจะผ่านกฏหมายสำคัญในเร็วๆ นี้ จะทำให้รัฐบาลสามารถผ่อนคลายข้อจำกัดด้านนโยบายการเงิน ผลักดันการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ มีเป้าหมายฉุดดึงประเทศไทย ให้หลุดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองได้
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
3 พฤษภาคม 2552, 17:37 น.
----------------------------------
หนี้สาธารณะสู่แดนอันตราย
‘กรณ์’ยันยังกู้เพิ่มได้อีกแสนล้าน
ผู้ เชี่ยวชาญด้านการคลังระบุรัฐกู้เงินเพิ่ม อาจดันหนี้สาธารณะ พุ่งแตะร้อยละ 43-44 ของ จีดีพี จากกรอบกฎ หมายที่อนุมัติให้ไม่เกิน 50% ของจีดีพี หวั่นรัฐบาลมุ่งประชานิยมจนฉีกกรอบวินัยการเงิน-การคลัง ขณะที่นักวิชาการตั้งโจทย์รัฐบาลกู้ในเงินประเทศจะเป็นการซ้ำเติมประชาชนภาค ธุรกิจที่ต้องการเม็ดเงินหรือไม่
ขณะที่ “ขุนคลัง” ยันรัฐบาลมีเพดานก่อหนี้ได้อีกเกือบ 1 แสนล้าน บาท จากเพดานขาด ดุล 4.4 แสนล้านบาท ขณะที่คนไทยเกิดมาเป็นหนี้แล้วเกือบ 5 หมื่น บาท/คน
จากสถานการณ์ของ เงินคงคลังของประเทศสิ้นเดือนธ.ค. 2551 ที่เหลืออยู่ 5.2 หมื่นล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าประเทศไทยจะประสบภาวะล้มละลาย โดยเฉพาะข้อสังเกตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่า เงินคงคลังขณะนี้อาจไม่พอเบิกจ่าย งบประจำซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนข้าราชการ ได้ถึง 2 เดือนนั้น
แหล่ง ข่าวผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง กล่าวว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล “อภิสิทธิ์” อาจยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณในปีนี้ คาดว่าจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้า 1.3 แสนล้านบาทขณะที่การจัดทำงบฯ แบบขาดดุลเพิ่มเติมนั้น ก็ขาดดุลเกือบเต็มเพดาน ตาม พ.ร.บ. วิธีการ งบประมาณพ.ศ.2502 ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 20% ของงบฯ รายจ่าย ซึ่งตั้งไว้ที่ 1.835 ล้าน ล้านบาท และไม่เกิน 80% ภาระการชำระคืนเงินกู้ รวมเบ็ดเสร็จแล้วเพดานที่รัฐบาลสามารถขาดดุลได้ไม่เกิน 4.4 แสนล้านบาท ขณะที่เมื่อรวมการขาดดุลทั้งหมดของรัฐบาล การเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าจากการลดภาษีแล้ว ประเมินว่ารัฐบาลจะขาดดุลไปแล้วรวม 4.06 แสนล้านบาท เท่ากับว่ายังมีช่องให้กู้ได้อีกไม่เกิน 3.4 หมื่นล้านบาท เท่านั้น
ส่วน การแก้ปัญหาด้วยวิธีการกู้เงินต่างประเทศนั้นอาจจะเป็นตัวกดดันภาระหนี้ สาธารณะของประเทศ เพราะตามพ.ร.บ. บริหารหนี้สาธารณะมาตรา 22 ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินได้ไม่เกิน 10% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงื่อนไขดังกล่าว สามารถกู้ได้ไม่เกิน 1.83 แสนล้านบาท
แหล่ง ข่าวกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันหนี้สาธารณะอยู่ที่ 3.4 ล้านล้านบาท หรือ 37% ของจีดีพีแล้ว และมีการประเมินว่า หากรัฐบาลกู้เงินต่างประเทศเต็มจำนวน จะทำให้ หนี้สาธารณะพุ่งเป็น 41% ของจีดีพี
“ปัญหาก็คือ หากจีดีพีปี 2552 ติดลบ จะเป็นแรงบีบคั้นให้ตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นอีก และอาจใกล้กับเพดานกรอบวินัยการเงินการคลัง ที่ระบุว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้ สาธารณะเกิน 50% ของจีดีพี” แหล่งข่าวกล่าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าว ถึงวงเงินกู้ 2.7 แสนล้านบาทว่า ส่วนตัวยอม รับว่าการอนุมัติให้วงเงินกู้รวม 2.7 แสนล้าน บาทเป็นการเพิ่มภาระหนี้ของประเทศ แต่ในการก่อหนี้สาธารณะตามกรอบงบฯ ปี 52 สามารถทำได้ถึง 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้รัฐบาลใช้ไปเพียง 3.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลงบฯ ปี 52 จำนวน 2.5 แสนล้านบาท และตั้งงบกลางปีขาดดุลเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท เท่ากับว่าหนี้สาธารณะที่มีอยู่ยังไม่เต็มเพดาน และยังเหลืออีก 9 หมื่นล้าน บาท จึงเร็วเกินไปที่จะประเมินว่าเงินดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่
อย่าง ไรก็ตาม จากยอดหนี้สาธารณะคงค้างจำนวน 3,415,564 ล้านบาท หรือร้อยละ 37 ของจีดีพี หากคำนวณคร่าวๆ หนี้สาธารณะต่อหัวคนไทย อยู่ที่ประมาณ 48,000-52,00 บาทต่อคน
ทางด้าน นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้กล่าวถึงการที่รัฐบาลเตรียมกู้เงินทั้งในและต่างประเทศรวม 2.7 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ และรองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก จะส่งผลให้ปัจจุบันรัฐบาลขอวงเงินกู้ไว้รวมกว่า 4 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่ว่าเพดานการก่อหนี้สาธารณะนั้น สามารถที่จะกู้เงินได้ถึง 6 แสนล้านบาท หรือว่าไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี หากเกินกว่านั้นก็จะกระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้านดร. วิรัช ธเนศวร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” เกี่ยวกับการก่อหนี้สาธารณะว่า “เรื่องของหนี้สาธารณะขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นหนี้ภายในหรือภายนอก ในส่วนของหนี้ภายในไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากสถาบันหรือการออกพันธบัตร ตรงนี้ไม่น่าเป็นห่วง แต่หากเป็นหนี้ภายนอกจะต้องมองในเรื่องของการชำระคืน และอาจจะมีผลกระทบไปถึงเรื่องของความเชื่อมั่น
“ออกบอนด์ หรือกู้ภายในประเทศเหมือนกับอัฐยายซื้อขนมยาย เม็ดเงินก็จะสะพัดอยู่ภายในประเทศ มีผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ในส่วนของหนี้ภายนอก เวลาเรียกคือจะกระทบต่อความเชื่อมั่นซึ่งเรื่องนี้เรามีประสบ การณ์มาแล้วจากวิกฤติปี 2540 ที่วิกฤติทาง การเงิน เกิดจากสาเหตุการเรียกคืนหนี้จากภายนอก
ส่วนกรณีของการก่อหนี้ สาธารณะเกินกว่า 50% ของจีดีพี เป็นเรื่องขัดต่อวินัยทางการคลัง และอาจจะมีผลไปถึงการเกิดสภาวะเงินเฟ้อในอนาคต รวมถึงเป็นปัญหากับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ข้อกำหนดเรื่องของวินัยทาง การเงินการคลัง กำกับไว้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดภาพของการกู้เงินที่เกินตัว
อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้สาธารณะควรจะนำไปใช้จ่ายในส่วนของการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน มากกว่าการนำไปใช้ในนโยบายการจ่ายแจก เพราะตั้งแต่ปี 2540 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่เคยลงทุนในโครงสร้างเหล่านี้ ถ้าเอาเงินมาตรงนี้เห็นด้วย เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในอนาคต แต่หากกู้เพื่อนำมาแจกถึงเวลาใช้หนี้ลำบาก” ดร.วิรัชกล่าว
----------------------------------------
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นว่า
ทำไมการแก้เศรษฐกิจแบบกู้เงินถึงเป็นที่นิยม
อ่านเรื่อง <<< แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบ Gumagin >>> เพิ่มเติม
โดย มาหาอะไร
บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.