บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 พฤษภาคม 2552

<<< เหตุผลที่ผมคิดว่า รัฐบาลนี้มาโดยไม่เป็นประชาธิปไตย >>>

เพราะมาโดยการจัดตั้งของพวกเสื้อเขียว
แต่เวลาผ่านไปคนคงลืมแน่ๆ
ขนาดผ่านไปไม่กี่เดือน
คนยังลืมขนาดนี้
คงต้องลำดับเหตุการณ์ให้เห็นอีกครั้ง
เพื่อความเข้าใจว่า
รัฐบาลนี้มาโดยการรัฐประหารซ่อนรูป
มาโดยการจัดตั้งโดยกลุ่มคนมีสี

เริ่มจากออกมาทำรัฐประหารหน้าจอทีวี
กดดันให้สมชายลาออก
แต่ไม่สำเร็จสมชายไม่ออก

---------------------------------------------

เบื้องหลังผบ.เหล่าทัพออกทีวี ปฏิวัติเงียบ กดดันสมชายออก
October 16, 2008

เบื้องหลังการออกอากาศ “เรื่องเด่นเย็นนี้” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเวลา 17.10 น. วันที่ 16 ต.ค. ผบ.เหล่าทัพมากันครบ ทั้ง พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ผบ.สส.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) และพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)

“มติชน” ได้เสนอข้อมูลว่า เริ่มจากผู้ผลิตรายการติดต่อขอให้ พล.อ.อนุพงษ์ มาออกอากาศให้สัมภาษณ์ เป็นเวลา 15 นาที เกี่ยวกับศึกชายแดนเขมรที่กำลังระอุอยู่ช่วงที่ติดต่อไปเป็นเวลาประมาณ 14.00 น. พล.อ.อนุพงษ์เพิ่งเสร็จสิ้นจากการประชุม ผบ.เหล่าทัพ จึงถามว่าจะสัมภาษณ์เรื่องอะไร ทีมงานแจ้งว่าเรื่องเขมร แต่เนื่องจากการหารือระหว่างทหารฝ่ายไทยและเขมรยังไม่ได้ข้อสรุป พล.อ.อนุพงษ์ จึงแจ้งทีมงานว่า ขอให้ ผบ.เหล่าทัพคนอื่นไปร่วมออกรายการด้วยได้หรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผบ.ตร.นอกจากนี้ หลังจากที่ ผบ.เหล่าทัพเดินทางมาถึงสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกได้แจ้งผู้ผลิตขอขยายเวลาการให้สัมภาษณ์ พร้อมกำชับอย่าเพิ่งแจ้งผู้สื่อข่าว

สมชายขอตอบโต้ แต่ช่อง 3 ว่าหมดเวลาผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เสร็จสิ้นการออกรายการของ ผบ.เหล่าทัพ ได้มีคนสนิทของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายก
รัฐมนตรี โทร.มาขอออกรายการตอบโต้ แต่ไม่สามารถจัดให้ได้เนื่องจากหมดเวลารายการแล้ว นอกจากนี้ยังมี ส.ส.พรรคพลังประชาชนโทร.มาต่อว่าช่อง 3 ว่าเป็นเครื่องมือให้กองทัพมาเล่นงานรัฐบาล ซึ่งทีมงานช่อง 3 แจ้งว่า ผบ.เหล่าทัพต้องการมาออกทีวีพร้อมกันเพื่อแสดงให้เขมรเห็นศักยภาพและความเป็นเอกภาพของกองทัพที่พร้อมรับมือปัญหาเขมร อนุพงษ์ว่า ถ้าเป็นผมจะลาออกในช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ มีคำถามเกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลดังต่อไปนี้

@คาดหวังว่าจะให้รัฐบาลลาออกหรือไม่
พล.อ.อนุพงษ์ : ผมคิด เพราะตอนนี้ไม่มีทาง หากรัฐบาลสั่งการเองคงต้องรับผิดชอบ กระแสคนในชาติคงไม่ยอม เมื่อไม่ยอมจะเกิดความปั่นป่วน และไม่จบ แต่ไม่ใช่จะไปบีบคั้นให้รัฐบาลลาออก แต่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใด หากอยู่บนความเสียหายของชาติประชาชนล้มตายก็รับไม่ได้จะอยู่อย่างไร ก็อยู่ไมได้ ไม่ใช่รัฐบาลนี้รัฐบาลเดียว แต่ต้องเป็นรัฐบาลที่สังคมรับได้ ผม พูดไม่ได้จงเกลียดจงชังไม่เกี่ยวกับชอบหรือไม่ชอบ พูดกันได้ด้วยเหตุผลบนพื้นฐานที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ควรจะเป็นไป

@หากเป็นนายกฯจะทำอย่างไร
พล.อ.อนุพงษ์(หัวเราะ): ผมก็คงออก จะอยู่ไปทำไม บ้านเมืองเสียหายผมไม่อยู่แล้ว เพราะไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ถ้าถามผม ผมไม่อยู่ ถ้าท่านทำจริงท่านต้องไม่อยู่

@ท่านจะกดดันหรือไม่
พล.อ.อนุพงษ์ : กดดันคงไม่ใช่ ผลสอบสวนออกมา สังคมจะทำในส่วนนี้เอง ไม่ทราบว่าเรียกว่ากดดันหรือไม่ แต่เรียกร้องว่าสังคมรับไม่ได้ มีทางจะจบลงได้ ดังนั้นต้องมีคนรับผิดชอบ ผมเรียกร้องไม่ได้กดดันรัฐบาล สังคมคงเรียกร้องอย่างนั้น

@หมายถึงท่านเรียกร้องให้นายกฯลาออกใช่หรือไม่
พล.อ.อนุพงษ์:ครับ

ที่มา - มติชน1, มติชน2

-------------------------------------------------

พอพวกพันธมิตรป่วนได้ที่ยึดสนามบินไว้หลายวัน
ก็เกิดแรงกดดันจากนานาชาติ
แทนที่ทหารจะออกไปสลายพวกพันธมิตร
อ้างการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง
เสร็จแล้วก็มีการตัดสินยุบ 3 พรรคในเวลาที่เร็วที่สุดในโลก
หลังจากพรรคสุดท้ายแถลงแก้ข้อกล่าวหาเสร็จ
ไม่เกิน 2 ชั่วโมงสามารถเขียนคำพิพากษา
ยุบ 3 พรรคได้อย่างว่องไว
ปานเตรียมคำพิพากษาไว้แล้วรอแค่เซ็นต์
โดยไม่ต้องฟังคำแก้ต่างของจำเลยก็ได้
ซึ่งไม่รู้ทำได้ยังไง
ยุบ 3 พรรคการเมืองตัดสินได้ว่องไว
แต่คดีเล็กๆ บางคดี ยังใช้เวลาข้ามปี

<<< คำวิจนิจฉัยของศาล หลังเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณา ที่รวดเร็วสุดๆ >>>
http://maha-arai.blogspot.com/2010/03/blog-post_3939.html


ทำให้เกิดกระบวนการเลือกรัฐบาลอีกครั้งในค่ายทหาร
จนได้รัฐบาลมาร์คที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

----------------------------------------------

แจกโบนัสกันถ้วนหน้า

“บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่นั่งเป็นประธานในวันที่นักเลือกตั้งนั่งรถตู้จากปั๊มน้ำมัน ปตท. ถนนวิภาวดีฯ ตบเท้าเข้าพบ “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ที่ค่ายทหาร กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร1.รอ.) ได้รับช่อดอกกุหลาบแดงเชิญให้นั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหม

นายวีระชัย วีระเมธีกุล ในฐานะ “เขยซีพี” ตัวแทนกลุ่มทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ใช้โควตาคนนอก เบียดนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ตัวเต็ง “คนใน” หลุดโผนาทีสุดท้าย อุ้มมาเสียบเก้าอี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯ


นายกษิต ภิรมย์ ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ผู้มีบทบาทเป็นขาประจำขึ้นเวทีม็อบ พันธมิตรฯถล่มอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้รับจัดสรรเก้าอี้ รมว.ต่างประเทศ


นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรักษาการนายกฯ บอสใหญ่ยักษ์ก่อสร้าง “ชิโนไทย” ในฐานะบิดาของ “เสี่ยหนู” นายอนุทิน ชาญวีรกูล สหายรัก และนายทุนใหญ่
ของก๊วน “เพื่อนเนวิน” ที่อัดฉีดเกมพลิกขั้วรับโบนัสปีใหม่ นั่งตำแหน่ง รมว.มหาดไทย

นายโสภณ ซารัมย์ อดีต รมช.คมนาคม สายตรง “ก๊วนเพื่อนเนวิน” ที่ได้ดิบได้ดีเพราะทำตัวอยู่ในคาถาพ่อมดเขมรเสกให้ขึ้นชั้นเป็น รมว.คมนาคม


“ทหาร-นายทุน-ม็อบพันธมิตรฯ-ก๊วนเพื่อนเนวิน” ครบโควตา พร้อมหน้าพร้อมตาผู้อุปถัมภ์รายการที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์


http://www.thairath.co.th/news.php?section...&content=115858

----------------------------------------------------

เพื่อนเนวินพึ่งทหารร่วมจัดตั้งรบ.ปชป.
เสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551 18:58 น. — INN : ข่าวการเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เดินทางไปที่สโมสรทหารบก เพื่อหารือกับนายทหารบางคนเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อรวมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ส.ส.ในกลุ่มบางคน ให้เหตุผลว่าการตั้งพรรคใหม่เป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับการรวมตัวจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์

ซึ่งขณะนี้ มี ส.ส.บางส่วนเดินทางไปที่ โรงแรมสุโขทัย เพื่อแถลงข่าวร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์แล้ว โดย กลุ่มเพื่อนเนวิน มอบหมายให้ นายบุญจง
วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา เป็นผู้แถลงข่าวเกี่ยวกับกลุ่ม โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าการแยกตัวออกมาจาก อดีตพรรคพลังประชาชนนั้น ไม่ใช่เป็นการทรยศหักหลังแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของเหตุและผลในการทำงานมากกว่า

นอกจากนี้ รายงานยังระบุอีกด้วยว่า จำนวน ส.ส. ในกลุ่ม
เพื่อนเนวินขณะนี้ ที่จะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ มีประมาณ 30 คน

http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=146317

----------------------------------------------------

กองทัพเกลือกกลั้ว หรือการเมืองเพรียกหา
อังคาร ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2551

การออกมาเปิดปากยอมรับของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ว่ามีนักการเมืองโทรศัพท์มาปรึกษา บางคนก็ขอพบ และได้ให้ความเห็นทางการเมืองไปนับเป็นการให้สัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ถึงแม้ พล.อ.อนุพงษ์ จะคิดว่าการเปิดหน้าบอกกับใครต่อใครว่า ให้แค่คำแนะนำ แต่ไม่ได้ให้แนวทางการตัดสินใจ แต่การเมืองในภาวะเช่นนี้ ท่าทีของกองทัพย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงทั้งตัว พล.อ.อนุพงษ์เอง และในภาพรวมระดับกองทัพ โดยอาจรวมไปถึงภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่หากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำรัฐบาล อย่างที่ใครก็คาดการณ์ไว้

ตอนนี้ก็ถูกเหน็บแนมไปแล้วว่าเป็น "รัฐบาลสีเขียว" หลังจากที่ก่อน
หน้านี้ถูกครหาว่า ยอมให้กลุ่มเพื่อนเนวินมาบงการแนวนโยบาย เพราะเงื่อนไข 4 ข้อ ที่ยื่นมาก่อนจะเข้าร่วมรัฐบาล หาก เป็นเช่นนั้นจริง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลสีเขียว หรือรัฐบาลโอนอ่อนผ่อนตาม สิ่งที่จะตามมาก็คือ "ปัญหาความเชื่อมั่น" ว่าที่สุดแล้ว รัฐบาลจะยืนบนหลักการ หรือสั่นไหวไปตามใบสั่งหรือแรงบีบ ยิ่งมีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่า ความห่วงใยในบ้านเมืองที่มีมากเป็นพิเศษในช่วงที่ความขัดแย้ง ความเกลียดชัง เข้าครอบคลุม การเดินหมากถึงแม้จะพยายามซุกซ่อนไว้ใต้ดิน แต่เรื่องราวกลับโผล่ขึ้นมาบอกเล่าเป็นฉากๆ

"หนึ่ง พี่-สองน้อง" อย่าง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก และ พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่
ทัพภาคที่ 1 ร่วมสนทนากันในวันหนึ่งบทสรุปก็คือจะต้องผ่าทางตันก่อนที่ชาติบ้านเมืองจะหายนะไปมากกว่านี้ต้องมีคนพูดคุยเจรจากับ 5 พรรคร่วมรัฐบาล และอีก 1 ก๊วนการเมือง พร้อมกับขอคำมั่นสัญญาจากอีกขั้วการเมือง บอกไปก็ยากที่จะเชื่อว่า ภารกิจสำคัญนี้ให้แก่ "หญิงนิรนาม" รายหนึ่ง ที่มีความสนิทสนมกับภริยาของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ รับไปดำเนินการ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องเป็นเรื่องตายของบ้านเมืองสถานที่เจรจาตกลงกันแล้วตอนนั้นว่า มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) แต่แผนมาแตกเมื่อเหล่าบรรดากลุ่มก๊วนที่ไม่เคยเข้าค่ายทหาร เกิดหลงทาง ไปรวมตัวกันที่บริเวณปั๊มน้ำมัน ปตท.บริเวณหน้า ร.1 รอ. ทำให้ต้องโทรสอบถามกันจ้าละหวั่น

อย่างไรก็ดี มีเพียง บรรหาร ศิลปอาชา ที่ไม่ได้หลงทางไป
กับเขา เพราะไม่ได้เดินทางมา เพียงแค่เจรจาผ่าน "ฮอตไลน์-สายร้อน" กับผู้ที่เชื่อถือได้เท่านั้น ส่วนจะเป็นมือที่มองไม่เห็นหรือไม่ ต้องไปเดากันเอง เรื่องราวที่สนทนาให้คำปรึกษากับ บรรหาร เป็นเรื่องของการร้องขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาของชาติร่วมกัน ซึ่ง มังกรสุพรรณ ก็จำนนด้วยเหตุและผล เพราะการดึงดันลากกันต่อไปรังแต่จะทำให้บ้านเมืองบอบช้ำจนไม่อาจรับได้แต่ ถึงจะมีข่าวคราวมาขนาดนี้ ก็ไม่อาจลดทอนการแข็งขืน พยายามที่จะกลับมาจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชาชน ที่กลายร่างมาเป็น "เพื่อไทย" ได้ เพียงแต่หนนี้ได้อดีต "นักปั้นนายกฯ" เสนาะ เทียนทอง เข้ามาทำหน้าที่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ "รัฐบาลเพื่อชาติ" ดันหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินเป็นนายกฯ หลังจากที่พรรคเพื่อไทยใช้บริการ แต่เมื่อไม่สนใจว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเข้าร่วมรัฐบาลด้วยหรือไม่ ก็เลยทำให้ดูแปลกแปร่งว่าตกลงเพื่อชาติ หรืออีกรูปแบบของ "เพื่อไทย" ประกอบ กับการนัดโฟนอินของ ทักษิณ ชินวัตร นายใหญ่ในต่างแดน ที่ไม่อาจเข้าเมืองไทยเพราะถูกสั่งจำคุก ในค่ำวันที่ 13 ธันวาคม จึงทำให้ขั้ว "รัฐบาลเพื่อไทย" จึงยังมีภาพที่ทำให้เกิดความหวั่นไหวเรียกได้ว่า ไม่เห็นผลโหวต ก็ยังไม่มีอะไรที่ 100% ถึงแม้ก่อนโหวต ขั้วประชาธิปัตย์จะเป็นต่อ เพราะกุมทั้งประธานสภา และคนที่เชื่อว่ามีอำนาจยุบสภาเอาไว้ได้แต่ก็ยืนด้วยขาสั่น เพราะรู้ฤทธิ์เดชของพลังดูดที่อัดแน่นด้วยปัจจัยที่ไร้ขีดจำกัด กองทัพเองก็ไม่ต่างกันเท่าใด เพราะผลจากการฟังโฟนอิน จะส่งผลกระทบต่อการประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคมนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ แกนนำเคยพูดว่าจะไปล้อมสภาเพื่อไม่ให้ ส.ส.เข้าประชุมโหวตเลือกนายกฯ เอาเข้าจริงหลังจากฟังเสียงปลุกใจแล้วจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ คำสั่งจากหน่วยเหนือจึงลงไปยังระดับปฏิบัติทันที ...เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้ง รอฟังคำสั่ง 24 ชั่วโมง ด้วยสภาพการเมืองเช่นนี้ กองทัพจึงยากที่จะหลีกเลี่ยง หรือเมินเฉยต่อเหตุการณ์การเมืองที่เร่งเร้าความรุนแรงไม่มีวันจบสิ้น เหลืองไป-แดงมา จนไม่รู้ว่า จะสิ้นสุดลงที่ใด และในวันไหน ?

-----------------------------------------------

ไหนจะเรื่องการเกิดงูเห่า
ย้ายขั้วไปหนุนพรรคคู่แข่ง
ที่ตอนหาเสียงไม่เคยไปบอกชาวบ้านเลยว่า
จะเข้ามาชูมาร์คเป็นนายก
หรือจะไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ ปชป.ก็ได้
คนทั้งประเทศเข้าใจตรงกัน
คือมี ปชป. ต้องไม่มี พปช. อยู่ในพรรคร่วมรัฐบาล
การหาเสียงทั่วทั้งประเทศชาวบ้านเข้าใจแบบนั้น
ถ้ากลุ่มงูเห่าหาเสียงตอนนั้นว่า
เมื่อได้เป็น ส.ส. กันแล้ว
จะเลือก มาร์คมาเป็นนายก
หรือสนับสนุน ปชป. เป็นรัฐบาล
ถ้ามีโอกาสในอนาคต
แต่นี่หาเสียงแยกกันแบบเข้ากันไม่ได้
แบบน้ำกับน้ำมัน
ว่าจะไม่ร่วมจัดตั้งด้วยกันเด็ดขาด
แล้วพอได้เป็นแล้วกลับหลังหันไปหนุนพรรคคู่แข่ง
มีที่ไหนในโลกที่ยอมรับได้แบบนี้
ถ้ายุบสภาแล้วไปตั้งพรรคใหม่
แล้วถ้าได้เลือกกลับมาใหม่
ก็ยังชอบธรรมกว่าที่ทำอยู่ตอนนี้
แล้วมันเป็นประชาธิปไตยแบบไหน
ที่อังกฤษมีกรณีคนของพรรคอันดับหนึ่ง
แหกคอกไปชูหัวหน้าพรรคอันดับสองให้เป็นนายกไหม
แค่ 2 เรื่องนี้ก็น่าจะพอพูดได้เต็มปากว่า
รัฐบาลนี้ไม่ได้มาโดยวิถีทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แต่มาโดยวิถีทางที่พวกให้ท้ายอยากให้เป็น

ถ้าบอกว่ามีเสียงส่วนมากในสภาท่วมท้นไม่เป็นประชาธิปไตย
แล้วถ้าไม่ได้รับเสียงส่วนมากในสภาจะได้เลือกเป็นนายกได้ยังไง
หรือโหวตกฏหมายต่างๆ ผ่านสภาได้ยังไง
ใครก็ได้วานช่วยเอาไปถามพวกอาจารย์สื่อที่ชอบพูดแบบนี้หน่อย
ผมอยากรู้คำตอบเหมือนกัน
หรือต้องการเห็นเขาเล่นนอกสภาแบบปัจจุบันใช่ไหม
บ้านไม่สงบก็เพราะไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่พวกอื่นก่อน
ตอนนี้พวกคุณมาเป็นก็ไม่จำเป็นต้องทำตาม
แล้วจะมาบริหารกันยังไง
แล้วระบอบประชาธิปไตยเขาใช้อะไรตัดสินในการแก้ปัญหา
ว่าจะเลือกอย่างไหนแนวทางใด
วานช่วยบอกด้วย บอกวิธีด้วยยิ่งดี
อย่าเอาแต่พูดว่าประชาธิปไตยไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่
เพราะเมื่อพวกคุณไม่ยอมรับ
แล้วพวกคนอื่นเขาจะยอมรับพวกคุณได้ยังไง
แล้วจะจบกันยังไง
ไม่ว่าที่ไหนเขาก็ต้องโหวตตัดสิน
แพ้กันเสียงเดียวเขายังยอมรับ
แล้วไปหาเหตุผลโน้มน้าวเพื่อรอโหวตครั้งหน้า
ต้องยอมปล่อยให้เขาทำไปตามเสียงข้างมากก่อน
ไม่เช่นนั้นก็ต่างคนต่างไม่ฟัง ไม่ต้องโหวต
ใครอยากทำอะไรทำ แล้วจะปกครองกันยังไง
แบบอยากรู้จากบรรดาอาจารย์
ที่ชอบออกมาพูดเรื่องนี้มากที่สุดเลย
มันต้องมีวิธีการให้เหตุผล
และต้องยอมให้มีการลงมือทำตามเสียงส่วนใหญ่
ถ้ามันไปไม่ได้ก็ไม่มีใครคิดจะตกเหวไปกันหมดหรอก
เขาก็ต้องมาลองวิธีเสียงส่วนน้อย
หรืออาจฟังข้อท้วงติงอันก่อนก็ได้

การกล่าวหาว่ารัฐบาลมีเสียงส่วนมากในสภา
ไม่สามารถตรวจสอบได้
โดยยกตัวอย่างกรณีรัฐบาลทักษิณ
ผมเห็นสนธิ ลิ้มคนเดียว
ตรวจสอบรัฐบาลทักษิณซะเละตุ้มเปะ
ในขณะที่ ปชป. มีส.ส. ในสภาเป็นร้อยตอนนั้น
ก็ไม่เห็นจะมีปัญญาตรวจสอบรัฐบาลทักษิณ
ได้เท่าสนธิ ลิ้มคนเดียว
แม้จะตรวจสอบไปด้วย บิดเบือนไปด้วยก็ตาม
แต่เห็นประสิทธิภาพแล้ว
ก็ขอบอกเลยว่าปชป.
ไม่มีปัญญาจะหาเรื่องมาตรวจสอบมากกว่า
ต้องโทษประสิทธิภาพการตรวจสอบของฝ่ายค้าน
ไม่ใช่โทษรัฐบาลสำหรับเรื่องการตรวจสอบ

ส่วนการโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วฝ่ายค้านแพ้ประจำ
ก็เรื่องปกติรัฐบาลนี้โหวตอะไรก็เห็นชนะฝ่ายค้านตอนนี้ประจำ
ทำไมสื่อหรือนักวิชาการหรืออาจารย์มหาลัยดัง
ไม่ออกมาโวยวายบ้างว่า ตรวจสอบไม่ได้
โหวตทีไรฝ่ายค้านแพ้ประจำ

พูดถึงเรื่องตรวจสอบ
ขนาดไม่ได้ตรวจสอบแค่เขียนการ์ตูนล้อยังไม่ได้เลยรัฐบาลนี้
พวกที่ด่าว่าช่วงทักษิณตรวจสอบไม่ได้
ช่วยมาตรวจสอบหน่อยสิว่า แค่เขียนการ์ตูนแซวยังไม่ได้
แล้วคิดว่าจะมีใครกล้าไปตรวจสอบโดยไม่โดนเล่นงาน

อีกอย่างที่ชอบพูดว่า
ลองให้พปช. มีหัวหน้าพรรคสองคนแล้วไปไม่รอด
อะไรคือไปไม่รอด
ในเมื่อสุมหัวให้ท้ายพวกพันธมิตรป่วนเมือง
และสุมหัวกันเล่นงานจนตกเก้าอี้
โดยการตัดสินที่ลูกหลานในอนาคต
จะบอกเองแหล่ะว่าเป็นยังไง
พันธมิตรทำอะไรไม่ผิด
ไม่กล้าไปสลายพันธมิตร
แต่กล้ามาสลายเสื้อแดง
มันก็บ่งบอกถึงกระบวนการ
ของความลำเอียงและความอยุติธรรมอยู่แล้ว
อย่างกรณีสมชาย
ยังไม่เคยได้เข้าทำเนียบสักวัน
มันไปไม่รอดเพราะมีพวกเส้นใหญ่ให้ท้ายพันธมิตรใช่ไหม
ลองคิดดูไม่ใช่มาด่ารัฐบาลนั้นว่าไปไม่รอด
ก็เล่นป่วนบ้านเมือง
แล้วตำรวจทหารไม่กล้าแตะ
ใครจะไปรอด
ก็ทำตัวลอบวางเพลิง
แล้วมาอาสาดับเพลิงแบบนี้
คิดว่าคนอื่นเขาจะไม่รู้
หลอกได้หมดเลยรึไง
ใครจะบริหารบ้านเมืองได้
เล่นยึดทำเนียบปิดสนามบินโดยไม่มีใครกล้าแตะ
แล้วทำมาพูดว่าให้ลอง
ให้ลองอะไร
วันเดียวก็ไม่เคยให้โอกาส
กรณีสมชายจะเห็นได้ชัด
เล่นกันจะไม่ให้เข้าสภา
พวกอื่นเขาถึงได้มาเล่นบ้าง
แต่มาร์คยังมีโอกาสได้เข้าทำเนียบ
มีโอกาสได้นั่งทำงานมากกว่าที่สมชายมีด้วยซ้ำ

ส่วนเรื่องการยุบสภา
จะเอามาอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้เลย
ไม่ว่าจะยุบเร็ว ยุบช้า หรือจะยุบก่อน ยุบหลังวันอภิปราย
ไม่เกี่ยวกับว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
ตราบใดที่เขายังให้คนทั้งประเทศตัดสิน
เพราะถึงอภิปรายเสร็จแล้วหน้าด้านทำงานต่อ
โดยใช้เสียงพวกมากลากไป
ก็หาว่าไม่เป็นประชาธิปไตยอีก
เพราะโหวตทีไรฝ่ายรัฐบาลก็ชนะอยู่ดี
ที่สำคัญถ้ามีข้อมูลเด็ดจริง
ก็เอาไปฟ้องได้เลย
ไม่จำเป็นต้องรอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ถ้าข้อมูลเด็ดจริง
ไม่ต้องรอถึงวันนั้นหรอก
เพราะจุดประสงค์จะเอารมต.หรือนายกออกจากตำแหน่ง
ก็ไปฟ้องร้องเดี๋ยวเขาก็หลุดจากตำแหน่งถ้าข้อมูลเด็ดจริง
ส่วนใหญ่มีแต่เขาว่าหรือไม่ก็ไม่เด็ดพอ
อาศัยใช้ฝีปากอภิปรายในสภา
เรียกว่ามาโชว์ฝีปากในสภากันมากกว่า
สุดท้ายแล้วโหวตทีไรฝ่ายรัฐบาลก็ชนะทุกที
ดังนั้นการที่เขายอมให้มีการเลือกตั้ง
ถ้าสิ่งที่คุณจะเอาไปอภิปราย
เด็ดจริงมีหลักฐานจริง
ก็เอาไปอภิปรายหาเสียงได้เลย
เพราะการยุบสภาในขณะโดนอภิปราย
ยิ่งยุบหนีอภิปรายยิ่งโดนถล่มนอกสภาตามเวทีหาเสียงได้ง่าย
เรื่องพวกนี้ไม่เกี่ยวกับเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
เป็นแทคติค
เหมือนเล่นฟุตบอลก็มีแทคติคการล้ม
แต่โดยรวมคนก็เรียกว่าเกมฟุตบอล
ไม่เห็นเรียกว่าเกมมวยปล้ำอะไร
เอะอะก็กล่าวหาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
โดยมั่วรวมเรื่องแทคติคต่างๆ เข้าไปด้วย
มันเป็นการดิสเครดิตกล่าวหากันเฉยๆ มากกว่า

อีกอย่างวันนั้นที่ทักษิณยุบสภา
ไม่ได้กลัวฝ่ายค้านอภิปราย
เขาเข้าไปพบคนนั้นออกมามีข่าวว่า
มีคนแนะนำให้ยุบ

เขาก็ยุบ
แต่โดนเล่นเกมเป็นทีม
โดยป่วนไม่ยอมลงเลือกตั้ง
ลามจนกระทั่งรัฐประหาร
ในช่วงที่กำลังมีการเลือกตั้ง

เรียกว่ากลัวเลือกตั้งสู้ทักษิณไม่ได้
ทำกันทุกวิถีทาง
สุดท้ายปล้นแบบโจรทำก็เอา

โดย มาหาอะไร
FfF