เรื่องปล่อยตัวอองซาน ซูจีแล้ว
ก็รู้สึกขำๆ นึกถึงสำนวนไทยที่ว่า
ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง
หรือไม่ก็ แม่ปูสอนลูกปู ขึ้นมาทันที
มีอย่างที่ไหนประเทศตัวเองแทบจะไม่ต่างจากพม่าเลย
ดูไปดูมาไม่รู้ว่าใครกำลังลอกใครด้วยซ้ำ
แต่พอสังเกตุดีๆ อาจพอแยกได้ว่าใครลอกใครในเรื่องไหน
ถ้าเรื่องพยายามสร้างความชอบธรรม
ให้กับรัฐธรรมนูญที่จะใช้สืบทอดอำนาจ
ด้วยการให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ
รู้สึกพม่าลอกไทยทุกกระเบียดนิ้ว
ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญสกัดกั้น
ไม่ให้คู่แข่งที่ไปยึดตำแหน่งเขามา
ได้มีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง
โดยจะร่างรัฐธรรมนูญสกัดกั้นทุกรูปแบบ
เสร็จแล้วก็พยายามสร้างความชอบธรรม
ให้กับรัฐธรรมนูญฉบับนั้น
โดยการตบตาชาวโลกด้วยการลงประชามติ
แต่ห้ามชาวโลกเข้าไปสังเกตุการณ์
กลัวโกงการลงประชามติไม่สะดวก
การรณรงค์ให้ไปลงประชามติ
ก็เน้นให้เห็นด้วยหรือเห็นชอบเป็นหลัก
หาความเป็นกลางไม่เจอ
ยังไม่รวมที่เล่นกันใต้ดิน
แบบไปข่มขู่ให้มีเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้ง
เพื่อจะได้เช็คได้ว่าหมู่บ้านไหนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย
เรียกว่าชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วย
จะต้องกล้าสวนกระสุนปืนกันทีเดียว
เรียกว่าทำกันทุกวิถีทางแบบแพ้ไม่ได้
ในไทยเพิ่มมุกสร้างกระแสผ่านโพลล์
ตามด้วยเปิดคะแนนทางใต้ก่อนเพื่อให้เห็นว่า
มีคนเห็นด้วยจำนวนมากเกือบ 90%
ทั้งๆ ที่หลายที่เป็นเกาะหรือการเดินทางไม่สะดวก
แต่นับได้ว่องไวกว่าภาคอื่นๆ
เพื่อให้คนยอมรับความผ่านแพ้
แล้วไปมั่วปล้นเสียงกันในภาคอื่นๆ ยามดึกๆ
และที่ภาคใต้ก็ไม่มีใครไปตรวจสอบ
ว่าพวกที่ไม่ได้ลงไปเลือกแต่มีชื่อมาใช้สิทธิมีเท่าไหร่
มีคนร้องขอให้เปิดหีบตรวจนับใหม่ในหลายพื้นที่ก็เงียบ
ซึ่งมุกการโกงแบบนี้ ใช้ได้ผลเสียด้วย
ดังนั้นผลคะแนนที่ออกมาก็เป็นไปตามคาดผ่านแน่ๆ
แต่ที่ไทยชาวบ้านกล้าสวนเยอะเหมือนกันเลยแพ้แบบสูสี
วกกลับมาเรื่องการเมืองพม่าต่อ
อองซาน ซูจี ก็มีชะตากรรมไม่ต่างอะไรกับทักษิณ
เพียงแต่อองซานถูกกักตัวในประเทศ
ส่วนทักษิณโดนกักตัวที่ต่างประเทศ
ตอนหลังมีความพยายามหลอกให้เข้ามา
เพื่อกักตัวในประเทศโดยยัดข้อหาเพื่อขังคุก
ทั้งๆ ที่ กรณีคดีอุจฉกรรจ์ทางใต้
มีการปล่อยตัวกันหลายสิบคน
แถมมีเผาบัญชีดำทิ้งเพื่อความสมานฉันท์
แต่กรณีทักษิณ คดีก็เบากว่ากันเยอะ
แต่จะเล่นกันถึงตายทั้งยึดทรัพย์และจะกักขังในคุก
นี่มันมาตรฐานอะไร
แล้วก็ออกมาพร่ำเรื่องความสมานฉันท์
ได้ยินแล้วคลื่นไส้ยังไงไม่รู้
ผมดูแล้วไม่เห็นมันจะต่างกับ อองซาน ซูจี
แล้วที่ทักษิณหลุดไปนอกประเทศอีกครั้ง
คุณคิดว่าเขาไม่แกล้งปล่อยตัวไปหรือ
ก็เห็นๆ อยู่ว่าไม่กล้าสู้ตรงๆ
กลัวมวลชนลุกฮือ
จะรัฐประหารก็ทำตอนเขาไป UN ไม่อยู่ในประเทศ
จะตัดสินจำคุกก็ปล่อยตัว
เปิดทางให้เขาหนีออกนอกประเทศไปก่อน
ดังนั้นถ้าประเทศไหนอยากให้พม่าปล่อยตัวอองซาน ซูจี
และกดดันให้มีประชาธิปไตยเร็วขึ้น
ก็ไม่ควรทำตัวสองมาตรฐาน
เพราะจะโดนรัฐบาลพม่าย้อนกลับหน้าหงาย
ง่ายๆ เลยแค่ยกกรณีประเทศไทยมาเปรียบเทียบ
ถามนานาชาติว่าทำไมทีไทยทำแล้วนิ่งเฉย
เช่น
มีทหารออกมาทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ
ล้มรัฐบาลที่มาโดยถูกต้องชอบธรรมเหมือนกัน
ไม่เห็นเต้นแร้งเต้นกาออกมากดดัน
จนถึงขั้นคว่ำบาตรเหมือนที่พม่าโดน
มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ
โกงกันจนผ่านการลงประชามติเหมือนกัน
ไม่เห็นออกมากดดันกล่าวหา
หรือไม่ยอมรับผลการลงประชามตินั้นเหมือนกัน
ต่างกันยังไงระหว่างไทยกับพม่า
ก็ลอกกันมาทุกกระเบียดนิ้ว
งานนี้พม่าลอกจากไทย
เพราะเห็นผลที่ไทยทำแล้วนานาชาติยอมรับได้
เลยลอกกันมาเหมือนกันเด๊ะเลย
แล้วทำไมผลลัพธ์ต่างกัน
ใครสองมาตรฐาน
ส่วนกรณีการยัดข้อหาให้กับนักการเมืองคู่แข่ง
และหาเรื่องให้ติดคุก
พม่าเขาอาจถามว่าต่างกันยังไง
ระหว่างระบบยุติธรรมไทยกับพม่า
ในเมื่อระบบยุติธรรมไทย
ตั้งคนที่มีอคติมาตรวจสอบหาเรื่อง
แถมยึดทรัพย์ทั้งหมดไม่แยกแยะ
สารพัดที่ทำก็มาตรฐานเดียวกับระบบยุติธรรมพม่า
ซึ่งเข้าใจว่ากรณีนี้ไทยคงลอกพม่า
เพราะพม่าทำมาก่อน
แล้วทำไมนานาชาติถึงทำเป็นรับไม่ได้
โดยเฉพาะรัฐบาลไทยตัวดีเลย
ที่มาจากการหนุนหลังของพวกทหาร
แถมตัวนายกก็แสดงชัดเจนล้มทักษิณทุกรูปแบบ
ไปแสดงตัวหนุนพวกพันธมิตรให้ก่อกวนล้มรัฐบาลพวกอื่นชัดเจน
แถมด้วยขอนายก ม.7 ที่มาจากการแต่งตั้ง
ตามด้วยสนับสนุนการทำรัฐประหาร
ไปร่วมมือแสดงตนกินข้าวกันกระหนุงกระหนิง
แถมด้วยการยอมเป็นหุ่นเชิดให้กับพวกเสื้อเขียว
มันมีสิ่งไหนที่บ่งบอกว่าแตกต่างจากรัฐบาลพม่าตอนนี้
และถ้าอนาคตมีการเลือกตั้ง
ก็คงได้หุ่นเชิดของทหารพม่าแน่นอน
ก็เหมือนกับไทยเวลานี้
แล้วมันต่างอะไรกัน
อันนี้ถ้าพม่าย้อนมาจะดำน้ำตอบกลับกันยังไง
และล่าสุดพม่าก็กลับมาลอกไทย
แทนที่จะกักบริเวณก็เอาระบบอยุติธรรมมาใช้
โดยจะขังคุก ซูจี แทน
เหมือนกันเด๊ะกับไทย
ที่ตอนแรกก็กักตัวทักษิณไว้ที่ต่างประเทศห้ามเข้า
ตอนหลังหลอกให้เข้ามาเพื่อจะขังคุกแทน
ชัดเจนกรณีนี้พม่าลอกไทย
ถ้านานาชาติมีใจรักความเป็นธรรม
ต้องการปกป้องประชาธิปไตยที่แท้จริง
ก็ไม่ควรมีสองสามมาตรฐาน
ควรทำเหมือนกันทั้งโลก
ประเทศไหนมีรัฐประหารทำให้เหมือนกัน
กดดันให้เหมือนกัน
ใครจะมาย้อนภายหลังก็ไม่ได้
แต่นี่ดูผลประโยชน์เป็นหลัก
ประเทศไหนมีผลประโยชน์ด้วยกันเยอะๆ
ก็อาจหลับตาให้ข้างหนึ่ง
แบบนี้ก็เป็นสิทธิที่ประเทศอื่นๆ ที่ทำแบบเดียวกันนำมาอ้างได้
และถ้ารับไม่ได้กับกระบวนการที่ไม่ยุติธรรมในพม่า
ก็ควรหัดมาตรวจสอบกระบวนการที่ไม่ยุติธรรมในประเทศอื่นๆ
อย่างจริงจังเท่าเทียมกันด้วย
ถึงจะพูดได้ว่าเป็นประเทศที่รักความเป็นธรรมรักประชาธิปไตย
ต่อต้านความอยุติธรรมและการทำรัฐประหารแบบต่างๆ จริง
ไม่เช่นนั้นก็เป็นลักษณะเล่นการเมืองไปวันๆ
หาความจริงใจไม่ได้
จึงไม่แปลกอะไรที่อองซาน ซูจี เคยปฏิเสธการเข้าพบ
ของผู้นำองค์กรนานาชาติ
เพราะเขาถูกกักตัวนานหลายปีแล้วก็ไม่เห็นว่าจะช่วยเขาจริงจังอะไร
เหมือนฮิตกันเป็นพักๆ พอหมดกระแสก็เลิกอะไรประมาณนั้น
แต่ยอมให้พบในภายหลัง
เมื่อเริ่มมีกระแสข่าวกดดันรัฐบาลพม่าอีกครั้ง
สรุปเรื่องนี้ก็แค่ปาหี่การเมืองระดับประเทศ
ที่แต่ละประเทศก็เล่นกันไปยังงั้นเอง
ไปคาดหวังอะไรไม่ได้หรอก
แถมรัฐบาลพม่าก็รู้เพราะอยู่แบบนี้มาหลายปีแล้ว
จะปิดประเทศต่อก็ไม่แปลกอะไร
แถมเผลอๆ กำลังมีประเทศเพื่อนบ้านเลียนแบบ
กำลังคิดปิดประเทศเหมือนกับพม่าด้วยซ้ำ
แบบว่าเริ่มทำอะไรไม่สนใจสายตานานาชาติมากขึ้นแล้ว
รอวันที่ผู้มีอำนาจฟิวส์ขาด
ก็อาจได้เป็นเหมือนพม่าในไม่ช้าสำหรับประเทศนั้น
เพราะเขาเห็นข้อดีที่ครองอำนาจได้ยาวนาน
ไม่มีใครกล้าหือออกมาสร้างความรำคาญใจ
หรือทำตัวน่ารำคาญอะไร
ส่วนประชาชนเป็นยังไงไม่สนใจ
ก็ไม่ได้ต่างอะไร
กับความคิดผู้ปกครองพม่าในตอนนี้เลย
โดย มาหาอะไร
---------------------------------------------------------------------------
พม่าไม่อนญาตให้สหประชาชาติร่วมสังเกตการณ์การลงประชามติรัฐธรรมนูญ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2008 15:14:13 น.
รัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอของสหประชาชาติที่จะส่งผู้แทนอิสระเข้าไป สังเกตการณ์การลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือน พ.ค.นี้
นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษของสหประชาชาติ ได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมร่วมกับทางการพม่าเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าการส่งผู้แทนอิสระเข้าไปสังเกตการณ์จะทำให้การลงประชามติ ครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือในสายตาของประชาคมโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารพม่ากล่าวปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตยของพม่า
โดยก่อนหน้านั้น รัฐบาลทหารพม่าก็ได้ปฏิเสธทุกข้อเสนอของนายบัน กี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอที่ให้รัฐบาลพม่าพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง
นอกจากจะร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ของทางการพม่าแล้ว นายกัมบารียังเข้าพบนางออง ซาน ซู จี เป็นเวลา 90 นาทีในช่วงเย็นวันเดียวกัน แต่ไม่มีการเปิดเผยว่าทั้งคู่พูดคุยกันถึงเรื่องใด
ทั้งนี้ นายกัมบารีเดินทางเยือนพม่าเป็นครั้งที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่ที่รัฐบาลทหารพม่าใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ประท้วงรัฐบาล เมื่อปีที่แล้ว โดยเขามีกำหนดเข้าพบรัฐมนตรีสารสนเทศพม่าอีกครั้งในวันอาทิตย์นี้ และคาดว่าจะเดินทางออกจากพม่าในวันจันทร์ สำนักข่าวเกียวโด
รายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข โทร.0-2253-5050 ต่อ 338 อีเมล์: preeyapan@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/309746/
------------------------------------------
พม่าเปิดคูหาลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมินเสียงนานาชาติให้เลื่อนจัดหลังพายุนาร์กิสถล่ม
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2008 13:40:00 น.
พม่าเริ่มเปิดคูหาลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ โดยเปิดคูหาเกือบทั่วประเทศ ยกเว้นใน 47 เขตที่ประสบภัยพิบัติพายุไซโคลนนาร์กิส แม้นานาประเทศเรียกร้องพม่าให้เลื่อนการลงประชามติออกไปก่อน เนื่องจากพายุไซโคลนนาร์กิสได้สร้างความเสียหายและคร่าชีวิตชาวพม่าจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบภัยอีกนับล้านคนที่กำลังตายเพราะความอดอยากและโรคระ บาด เพราะความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง
นักวิเคราะห์ทางการเมืองมองว่า รัฐบาลทหารพม่าอาจใช้ภัยพิบัติไซโคลนนาร์กิสเบี่ยงเบนความสนใจของนานาชาติ ออกจากการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐบาลทหารพม่าฉวยโอกาสใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้กองทัพครอง อำนาจได้อย่างถาวร ผ่านการลงประชามติโดยที่ไม่มีการตรวจสอบจากนานาชาติ
เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งได้จัดคูหาเลือกตั้งใน 300 เมือง ยกเว้นใน 47 เขต รวมทั้งในนครย่างกุ้ง ที่ประสบภัยพิบัติ โดยจะเปิดให้ประชาชนลงคะแนนไปจนถึงเวลา 4 โมงเย็นของวันนี้ หลังจากนั้นบัตรลงคะแนนจะถูกขนย้ายไปทำการนับคะแนนกันที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ และไม่มีใครทราบได้ว่าจะมีการประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อใด
การลงประชามติครั้งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนชาวพม่าได้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเป็น ครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี หลังการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่ นางอองซาน ซูจี นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย กวาดชัยชนะอย่างถล่มทลายเมื่อปี 2543 ก่อนถูกทหารยึดอำนาจและกักบริเวณในบ้านพัก
นักวิเคราะห์ทางการเมืองมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอื้อประโยชน์ให้กับ กองทัพพม่า และภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ นางอองซาน ซูจี จะถูกตัดสิทธิ์จากการชิงตำแหน่งผู้นำเนื่องจากเธอสมรสกับชาวต่างชาติ สำนักข่าวธอมสัน ไฟแนนเชียลรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.0-2253-5050 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--
http://www.ryt9.com/s/iq02/351454/
--------------------------------------------
92.4% ‘เห็นชอบ’ รัฐธรรมนูญพม่า!
ภาพจากสถานี โทรทัศน์ MRTV ของรัฐบาลทหารพม่า เป็นภาพของพลเอกอาวุโสตานฉ่วย ประธาน SPDC ไปลงประชามติที่กรุงเนปยิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า เมื่อ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: mizzima)
วานนี้ (15 พ.ค.) สำนักข่าวมิซซิมา (www.mizzima.com) ซึ่งเป็นสื่อพม่าอิสระมีสำนักงานอยู่ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย รายงานว่านายอ่อง โท ประธานคณะกรรมการจัดการลงประชามติของพม่า แถลงทางสถานีวิทยุของรัฐบาลว่า ชาวพม่าร้อยละ 92.4% หรือ 20,786,596 คนจากจำนวนผู้มาใช้สิทธิ 22 ล้านคน ได้ลงมติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในการลงประชามติที่จัดขึ้นทั่วประเทศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นาย อ่อง โทยังกล่าวด้วยว่ามีประชาชนราว 1.3 ล้านคนที่ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่อีก 334,584 คนไม่ออกเสียง โดยเขายังระบุว่ามีประชาชนออกมาลงประชามติถึงร้อยละ 99.07
โดย ผลการลงประชามติดังกล่าวเป็นการนับคะแนนเฉพาะ 278 อำเภอจาก 325 อำเภอทั่วประเทศ โดยอีก 47 อำเภอที่เหลือในเขตอิระวดีและบางส่วนของเขตย่างกุ้งมีการเลื่อนการลง ประชามติไปเป็นวันที่ 24 พฤษภาคมเนื่องจากเป็นพื้นที่ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส
สำนัก ข่าวมิซซิมายังรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า บรรดานักวิเคราะห์ต่างวิจารณ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นแผนการของรัฐบาล ทหารที่ต้องการกุมอำนาจทางการเมืองต่อไป โดยร่างรัฐธรรมนูญกำหนดโควตาให้กองทัพสามารถแต่งตั้งสมาชิกในสภาได้ร้อยละ 25 ขณะที่รัฐบาลทหารเอง
ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการถ่ายโอนอำนาจสู่ รัฐบาลพลเรือน โดยรัฐบาลทหารพม่าระบุว่าจะจัดการเลือกตั้งในปี 2553 หรืออีกสองปีข้างหน้า
นักวิเคราะห์ยังเห็นว่าบรรยากาศการลง ประชามติยังห่างไกลจากบรรยากาศเสรีและยุติธรรม รัฐบาลทหารควรได้รับการตำหนิอันเนื่องมาจากพวกเขาดึงดันเดินหน้าจัดการลง ประชามติในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ในขณะที่หลายพื้นที่ได้รับความเสียหายจากพายุไซโคลนาร์กีสที่ถล่มพม่าเมื่อ 2-3 พ.ค. ที่ผ่านมา
ผู้ลงประชามติคนหนึ่งในเขตย่างกุ้ง กล่าวว่าผลการลงประชามติไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนเพราะรัฐบาลทหาร บังคับประชาชนให้ลงคะแนนรับรองรัฐธรรมนูญ
“ผลการลงประชามติบอกแค่ว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ มันไม่มีความชอบธรรม” ผู้ลงประชามติคนหนึ่งกล่าว
ที่มาของข่าว:
Burma approves draft constitution by 92.4 percent, Mizzima News, 15 May 2008 15:24
http://mizzima.com/news/breaking-news/1-breaking-news/529-burma-approves-draft-constitution-by-924-percent
http://www.prachatai.com/05web/th/home/12171
http://www.newskythailand.com/board/index.php?topic=915.0
---------------------------------------------
พม่า นาร์กิส และการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ส่งมาเมื่อ 10 พ.ค. 2008 - 04:57:02
ทีมข่าวพิเศษ Prachatai Burma
คณะพี่น้องตลกหนวดแห่งมัณฑะเลย์ (The Moustache Brothers)
ทำมือไขว้กันสองข้าง เป็นเครื่องหมาย ‘ไม่รับ’ รัฐธรรมนูญรัฐบาลทหารพม่า (ที่มา: The Irrawaddy)
ก่อน นาร์กิสจะซัดเข้าถล่มประเทศกระทั่งอยู่ในภาวะวิกฤต แน่นอนว่า ความสนใจที่โลกจะจับตามองประเทศมองนั้นคือวันที่ 10 นี้ ประเทศพม่าจะมีการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ ที่รัฐมนตรีฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพม่ากล้าพูดว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามตินั้นเป็นประชาธิปไตยกว่าของ ไทย แม้ว่าแหล่งข่าวภายในรัฐฉานจะให้ข้อมูลที่ต่างไปว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ของพม่านั้น มีเพียงของรัฐบาลที่ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีฝ่ายค้าน ขณะที่ชนกลุ่มน้อยที่มาร่วมก็เป็นเพียงกลุ่มหยุดยิงที่สวามิภักดิ์รัฐบาล และไม่มีหน้าที่อะไรมากไปกว่ามานั่งฟัง เพราะรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอชนกลุ่มน้อยทั้งหมด
ภายหลังวาต ภัยนาร์กิสที่คร่าชีวิตชาวพม่าไปเรือนหมื่นพร้อมผู้ประสบภัยอีกจำนวนนับแสน คน สายตาของนานาชาติเปลี่ยนไปสู่การยื่นข้อเสนอเข้าช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของชาวพม่า โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์นั่คือ สิทธิในการเข้าถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคนั้นได้ถูกไฮไลท์ขึ้นมาอย่างหนักหน่วงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพของศพที่ไร้การเหลียวแลจัดการจากทางรัฐบาลถูกนำเสนอต่อสายตาชาวโลก รายงานอย่างต่อเนื่องถึงท่าทีที่ปฏิเสธความช่วยเหลือจากนานาชาติรวมถึงผลัก ดันเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลอินโดนีเซียซึ่งเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ด้วยเหตุผลว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มนั้น พกเอาช่างภาพเข้าไปด้วย
รัฐบาลพม่าปฏิเสธความช่วยเหลือในด้านบุคลากร และเสนอรับเพียงเครื่องอุปโภคบริโภคเท่านั้น เจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมจากชาติต่างๆ รวมถึงจากองค์การสหประชาชาติยังคงติดค้างอยู่ในประเทศไทยจำนวนมากเพื่อรอการ อนุญาตให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันก็ปรากฏข่าวว่า ทหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่ได้รับบริจาค และเริ่มนำสิ่งของเหล่านั้นออกขายในราคาแพง
Debbie Stothard, Coordinator ขององค์กร Altsean-Burma (Alternative ASEAN Network on Burma) แสดงความวิตกต่อสถานการณ์รัฐบาลพม่าช่วยเหลือชาวบ้านชนิดแทบจะไร้การจัดการ ว่า ถ้าไม่ยอมให้มีการช่วยเหลือจากนานาชาติผู้เสียชีวิตอาจมากถึงหลักล้าน รัฐบาลทหารพม่ามีเวลา 24 ชั่วโมงในการเตือนแต่ไม่ทำอะไร ถ้าเตือนล่วงหน้าจะไม่มีผู้เสียชีวิตมากขนาดนี้ และนี่ถือเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก เพราะนานาชาติไม่สามารถติดต่อผู้คนข้างใน หรือจับตาการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลพม่าใดๆ ได้เลย
เหนือสิ่งอื่น ใด การลำดับความสำคัญของรัฐบาลทหารพม่ายังคงไม่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม นั่นคือพยายามผลักพม่าไปสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็น หลักประกัน
รัฐธรรมนูญ - วาระแห่งชาติ: เดินหน้าต่อไปแม้ประสบภัยนาร์กิส
เมื่อ พิจารณาจากมาตรฐานที่รัฐบาลพม่ากระทำมาโดยตลอด การให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของรัฐบาบลทหารมากกว่ากว่าสวัสดิภาพของ พลเมืองไม่ใช่เรื่องเหลือความคาดหมายของประชาคมโลก แม้ว่านายบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติจะออกมาวิพากษ์การจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาล พม่าที่กลับหัวกลับหางกับประชาคมโลกขณะนี้ว่า รัฐบาลพม่าควรหันไปใส่ใจให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบพิบัติภัยมากกว่าจะ ให้ความสำคัญกับการลงประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของเลขาธิการยูเอ็นอยู่ที่ความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสวัสดิ ภาพของชาวพม่าในห้วงเวลาที่เป็นโศกนาฏกรรรมของชาติ
อย่างไรก็ตาม วันที่ 10 พ.ค. นี้ การลงประชามติยังคงเดินหน้าต่อไป ตามกำหนดการเดิม ยกเว้น 7 เมืองในเขตอิระวดี และ 40 เมืองในเขตย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเขตประสบภับพิบัติ การลงประชามติจะถูกเลื่อนไปเป็นวันที่ 24 พ.ค. นั่นคือประชาชนในเขตพิบัติภัยจะมีเวลาในการเตรียมตัวลงประชามติเพิ่มขึ้น 2 สัปดาห์!!!
ชาวพม่าต้องเตรียมอะไรก่อนไปลงประชามติ
ภาพถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาที่ผ่านมา โดยป้ายนี้เขียนว่าการลงมติ ‘เห็นชอบ’ เป็นหน้าที่ของพลเมืองแห่งวันนี้
ขอให้พวกเราลงมติ ‘เห็นชอบ’ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ป้ายนี้ติดตั้งที่ศาลากลางเมืองย่างกุ้ง (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)
ข้อมูล เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกตีพิมพ์จำนวน 200,000 ชุด เพื่อ ‘ขาย’ในราคา 1,000 จ๊าด (ประมาณ 33 บาท) ให้กับผู้ที่สนใจจะอ่านทำการบ้านก่อนไปลงประชามติ
ผลการสำรวจความ เห็นก่อนการลงประชามติ โดยองค์กรความร่วมมือผู้สื่อข่าวพม่า 10 องค์กร ซึ่งทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิลงประชามติ 2,000 คนทั่วประเทศ พบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างไม่เข้าใจว่าในรัฐธรรมนูญนั้นมีเนื้อหาว่าอย่าง ไร ทั้งนี้ แม้จะปราศจากความเข้าใจต่อรัฐธรรมนูญที่ตนเองกำลังจะไปลงประชามติ แต่ 83 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างก็คิดจะไปลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ โดยในจำนวนนี้วางแผนที่จะโหวต ‘No’ 66.4 เปอร์เซ็นต์
ผลของโพลล์ที่ ทำโดยผู้สื่อข่าวกับผลการลงประชามติจริงๆ จะไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่ไม่ยากเกินคาดว่า ผลของโพลล์นั้นอาจจะไม่ได้สะท้อนสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อพิจารณาจากการลงประชามติล่วงหน้าในหลายๆ เมือง
โฆษณาทางโทรทัศน์ช่อง MRTV ของพม่า เชิญชวนประชาชนไปลงมติ ‘รับ’ รัฐธรรมนูญ
เป็นการโฆษณาชวนเชื่อแบบชัดๆ เคลียร์ๆ ไม่มีอ้อมค้อม (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)
เมื่อ เบนสายตาออกมาจากผลโพลล์ เราก็จะพบว่ารัฐบาลทหารพม่าจัดรณรงค์ให้ประชาชนออกเสียง ‘รับ’ รัฐธรรมนูญทุกวิถีทาง เช่น มีนายพลใน SPDC (state for peace and development council-สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หรือ เลขาธิการ USDA (สมาคมสหภาพเพื่อความสามัคคีและการพัฒนา- union solidarity for development association) ในระดับท้องถิ่นระดมประชาชนมาฟังการปราศรัยให้ ‘รับ’ โดยสำทับว่าถ้า ‘ไม่รับ’ ในอนาคตจะมีปัญหา
ทั้งนี้ รัฐบาลมีฐานคะแนนเสียงอยู่ในมือจำนวนหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มคนถือสัญชาติจีนที่อยู่ในพม่าจะได้บัตรประชาชนชั่วคราว เพื่อลงมติ ‘รับ’ มีการสอนนักโทษในคุกตำรวจให้โหวต ‘รับ’ แล้วปล่อยตัวเป็นอิสระหลังลงมติ ผู้สูงอายุที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้จะลงมติ ‘รับ’
กรณีเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบธุรกิจ ต้องลงมติรับไม่เช่นนั้นจะถูกยึดใบอนุญาตดำเนินกิจการ
ขณะ เดียวกัน คนบางกลุ่มมีสิทธิลงมติล่วงหน้าได้หลายครั้ง เช่น กลุ่มทหารตำรวจที่ได้ลงมติไปแล้วเมื่อ 24 เม.ย. กลุ่มนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัวให้ไปลงมติ ‘รับ’ เมื่อ 29 เม.ย. ก่อนปล่อยตัว ข้าราชการพม่าที่ได้รับการแนะนำให้ลงมติ ‘รับ’ กลุ่มพ่อค้า คนงาน ที่ต้องเดินทางไกลเพื่อมาทำงานในเมือง ก็ถูกรัฐบาลสั่งว่าถ้าการลงคะแนนล่วงหน้าไม่ ‘รับ’ จะไม่สามารถออกบ้านได้
นอก จากนี้ยังมีวิธีการหลอกล่อที่เหนือชั้นกว่า ‘รับก่อนแก้ทีหลัง’ ของบ้านเรามาก เช่น เจ้าหน้าที่รัฐบาลบอกให้ประชาชนมาดูวิธีการกากบาทออกเสียง โดยให้ติ๊กเครื่องหมายถูกลงบนบัตร แล้วบอกประชาชนว่าไม่ต้องมาลงเสียงในวันจริง แล้วก็เอาบัตรที่การับรองนั้นไปนับเป็นคะแนนเสียงจริงเสียเลย
‘ความ ลับ’ ในการลงประชามติล่วงหน้าที่เกิดขึ้นไปแล้วนั้น ไม่มีอยู่ในหลักการพื้นฐานในการใช้เสรีภาพทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐต้องลงมติต่อหน้าผู้บังคับบัญชา และประชาชนก็ต้องลงประชามติต่อหน้าเจ้าหน้าที่รัฐ
บัตรประชาชนอยู่ใน ฐานะของแลกเปลี่ยนที่ทรงคุณค่ายิ่ง เนื่องจากในภาวการณ์ปกติ ยากยิ่งนักที่กลุ่มชาติพันธุ์จะได้รับบัตรประชาชน แต่เพื่อการลงประชามติครั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้เร่งทำบัตรประชาชนให้กลุ่มชาติพันธุ์ใน ‘เขตหยุดยิง’ ซึ่งทำการตกลงสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลทหารพม่าแล้ว แม้ว่าบัตรประชาชนนี้จะเป็นแบบ ‘ชั่วคราว’ เพื่อการลงประชามติก็ตาม ทั้งนี้ ความหมายอย่างสำคัญของการมีบัตรประชาชนก็คือเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นอีกนิดในการ เดินทางออกนอกพื้นที่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุด เมื่อมีบัตรประชาชน พวกเขาจะสามารถซื้อตั๋วรถไฟได้
ทำไมต้องเดี๋ยวนี้
ความ สมเหตุสมผลของการมุ่งหน้าเรื่องการลงประชามตินี้อยู่ที่ไหน เหตุใดมันจึงสำคัญกว่าชีวิตผู้คนเรือนหมื่นเรือนแสนที่ประสบทุกขภัยอยู่ขณะ นี้ รัฐบาลทหารพม่าอาจจะตอบกลับมาว่า ก็นี่ไม่ใช่หรือที่พวกคุณต้องการและเรียกร้องเรามาอย่างยาวนาน
การลงประชามติถือเป็น 1 ใน 7 ขั้นตอน Road Map ประชาธิปไตยพม่า โดยร่างรัฐธรรมนูญกันมาตั้งแต่ปี 1993 และสิ้นสุดในปี 2007
ขณะ ที่ย่างกุ้งกำลังวุ่นกับพายุไซโคลนนาร์กิสที่ขึ้นฝั่งตั้งแต่หัวค่ำของวัน ที่ 2 พ.ค. แต่การรณรงค์โหวตรับรัฐธรรมนูญก็เดินหน้าต่อไป
โดยประชาชนจำนวนมากที่เมืองลัตปันพยา ใกล้กับเมืองพุกาม ทางตอนในของประเทศพม่า ถูกเกณฑ์ให้มาฟังการปราศรัยสนับสนุนรัฐธรรมนูญ
เมื่อ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: Ko We Kyaw/Prachatai Burma)
สุ รพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทย 5 ประเทศ อธิบายว่า แม้ว่ากระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยจะต้องเริ่มจาก เสรีภาพของประชาชนหรือเสรีภาพทางการเมือง แต่รัฐบาลทหารพม่ากระโจนเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยเพิกเฉยต่อรายละเอียด เหล่านี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไร เพราะสิ่งที่ประชาคมโลกเรียกร้องจากรัฐบาลพม่าก็คือประชาธิปไตย และสิ่งหนึ่งที่รับรองความเป็นประเทศประชาธิปไตยก็คือการมีรัฐธรรมนูญ และพม่าก็กำลังทำสิ่งนั้นอยู่ และเพื่อจะเข้าใจว่าพม่ากำลังทำอะไรเราก็ต้องโฟกัสไปที่กระบวนการพัฒนา ประชาธิปไตยมากกว่าที่จะไปพิจารณารายละเอียดของการลงประชามติ
ท่าน ทูตสุรพงษ์อธิบายบนพื้นฐานที่ว่า “ทุกคนล้วนล้มเหลวต่อกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า ไม่ว่าจะเป็นประชาคมโลก อาเซียน หรือยูเอ็น ฉะนั้นแล้ว การลงประชามติครั้งนี้ก็จะช่วยรักษาหน้าให้กับทั้งหมดที่ว่ามาได้ โดยที่ประชาคมโลกทั้งหมดก็คงพร้อมที่จะรับผลของมันในฐานะที่เป็นสิ่งที่ดี ที่สุดแล้วที่พอจะทำได้” นี่คือคำอธิบายเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ก่อนที่ประชาคมโลกทั้งหมดจะได้เห็นภาพคนพม่าจำนวนมาก จมอยู่ภายใต้ความขาดไร้ซึ่งปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
โดยอาศัยคำ อธิบายดังกล่าวเป็นฐานในการทำความเข้าใจต่อไป Road Map ประชาธิปไตยของพม่าดำเนินมายาวนานเกินกว่าที่รัฐบาลพม่าจะหยุดพักเพราะพายุ ไซโคลนที่พัดชั่วข้ามคืน แต่เงื่อนไขในการยอมรับรัฐธรรมนูญของพม่า ในฐานะที่เป็นหลักประกันการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยก็พม่าก็ทบทวีขึ้น ตามการการเพิกเฉยต่อความเป็นมนุษย์ของประชาชนพม่าอยู่นั่นเอง.....บางที นี่อาจจะไม่ใช่โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลพม่า แต่เป็นโจทย์ที่ตีกลับมายังประชาคมโลกที่เรียกร้องพม่าอย่างลูบหน้าประจมูก มาตลอดว่า จะอธิบายตัวเองอย่างไรเพื่อจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ของพม่า ฉบับที่เป็นเครื่องยืนยันว่าพม่ากำลังเดินหน้าไปบน Road Map ประชาธิปไตยที่ทั่วโลกเรียกร้อง และก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ลงประชามติท่ามกลางซากศพ ผู้สูญเสีย และความเสียหายของประชาชนชาวพม่าที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้าน ในเวลาไม่ช้าไม่นาน
อ้างอิง
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://blogazine.prachatai.com/upload/headline/headline_20080510-044942.jpg&imgrefurl=http://blogazine.prachatai.com/user/headline/post/729&usg=__jHeaBRD_JohW24pXQzW432_GkDc=&h=300&w=450&sz=104&hl=th&start=3&um=1&tbnid=cdybdDlUUGqClM:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%2B%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%2B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2590%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%258D%26hl%3Dth%26sa%3DN%26um%3D1
- Government sells food to disaster victims http://english.dvb.no/news.php?id=1215
- Referendum postponed in some areas http://english.dvb.no/news.php?id=1200
- UN chief criticises junta’s referendum decision http://english.dvb.no/news.php?id=1225
- UN Suspends Aid Shipment to Burma http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=11894
- ความเสียหายหลัง ‘นาร์กิส’ ภาพจากพม่าชุดล่าสุด http://www.prachatai.com/05web/th/home/12117
- ใครบอกว่าประชาธิปไตยพม่ากับไทยเทียบกันไม่ได้ http://www.prachatai.com/05web/th/home/11506
- บทวิเคราะห์ : ‘พม่า’ เรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของอาเซียน http://www.prachatai.com/05web/th/home/1883
-----------------------------------------------
ส.ส.สหรัฐมีมติเรียกร้องยูเอ็นปฏิเสธผลประชามติรัฐธรรมนูญของพม่า
18:36น.
สภา ผู้แทนราษฎรสหรัฐผ่านมติเห็นชอบเมื่อวานนี้ เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ อย่ายอมรับผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในพม่า หลังพม่ายืนยันจะจัดประชามติในวันเสาร์นี้ทั้งที่ประสบภัยพิบัติครั้งร้าย แรง โดยยอมให้เลื่อนวันลงคะแนนเฉพาะพื้นที่ 47 เขตที่ได้รับความเสียหายออกไปเป็นวันที่ 24 พฤษภาคม
นายรัช โฮลต์ ส.ส.พรรครีพับลิกัน ซึ่งเสนอญัตติเรื่องนี้ บอกว่า กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติเป็นการกระทำเพียงฝ่ายเดียว ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเป็นการจัดฉากและการหลอกลวง นอกจากนี้ เขาบอกว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สหรัฐจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนชาวพม่า เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง และต่อต้านการให้ความชอบธรรมแก่ผู้ยึดครองอำนาจ
ด้านพรรค สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของพม่า บอกว่าเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง ที่รัฐบาลทหารพม่าให้ความสำคัญอันดับแรกกับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่ให้คำนึงถึงความทุกข์ยากที่ประชาชนกำลังประสบภัยพิบัติ
ขณะที่นักเคลื่อนไหวของเครือข่ายพม่าเสรีราว 30 คนในฟิลิปปินส์ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้พม่าระงับแผนการลงประชามติไว้ก่อน โดยบอกว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาเคลื่อนไหวทางการเมือง และแสดงความวิตกว่า พม่าจะจัดสรรความช่วยเหลือให้กับชุมนุมที่สนับสนุนกองทัพมากกว่าพื้นที่ที่ สนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน
ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=319167
----------------------------------------------
พรรคซูจี ฉลองครบรอบ 19 ปี ชนะเลือกตั้ง
ย่างกุ้ง 27 พ.ค. - กลุ่มผู้สนับสนุนนางออง ซาน ซูจี ร่วมฉลองวาระครบรอบ 19 ปี ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2533 และครบรอบ 6 ปี ที่นางซูจีถูกควบคุมตัว
กลุ่มผู้สนับสนุนนางซูจี ราว 300 คน ไปชุมนุมกันที่สำนักงานใหญ่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) เพื่อร่วมปล่อยนกพิราบ และลูกโป่งในพิธีฉลองวาระครบรอบ 19 ปีที่พรรคเอ็นแอลดีกุมชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2533 แต่ถูกรัฐบาลทหารพม่าประกาศให้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ยังใกล้วาระครบรอบ 6 ปี ที่นางซูจีถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2546 พิธีกรในงานกล่าวว่า ปล่อยนกพิราบเป็นสัญลักษณ์เรียกร้องให้ทางการพม่าปล่อยตัวนางซูจี และนายทิน อู รองประธานพรรคเอ็นแอลดีที่ถูกจับกุมพร้อมกัน
กลุ่มผู้ เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงนอกเครื่องแบบคอยบันทึกวิดีโอ และถ่ายภายผู้ร่วมงาน ซึ่งรวมทั้งนักการทูตตะวันตกบางคน นอกจากนี้ ทางการยังวางกำลังรักษาความปลอดภัยรอบนครย่างกุ้งอย่างเข้มงวด
นางซู จี วัย 63 ปี ถูกกล่าวหาว่า ฝ่าฝืนคำสั่งกักบริเวณในบ้านพักด้วยการอนุญาตให้นายจอห์น เยียตตอว์เข้าไปพักอาศัยในบ้านเป็นเวลา 2 วัน หลายฝ่ายคาดว่าเธอจะถูกศาลพิเศษในเรือนจำอินเส่งตัดสินให้มีความผิด ซึ่งทีมทนายความของนางซูจี ระบุว่า การพิพากษาอาจมีขึ้นอย่างเร็วในวันศุกร์นี้ . -สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-05-27 18:19:54http://news.mcot.net/social/inside.php?value=bmlkPTk1NzUwJm50eXBlPXRleHQ=
------------------------------------------------
"อภิสิทธิ์"เมินพม่า ย้ำจี้ปล่อยตัว"ซูจี" |
กษิตชี้นานาชาติชมไทย หม่องไม่สนกักอีก6เดือน นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าการออกแถลงการณ์ดังกล่าว มานามประธานอาเซียน ได้มีการปรึกษาหารือในช่วงที่มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรีต่างประเทศก็รับทราบ ที่สำคัญ สาระของแถลงการณ์ของเรายึดตามมติ หรือความเห็นของผู้นำอาเซียนที่มีก่อนหน้านี้ และอยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาดีที่มีต่อพม่า ไม่ได้เป็นการแทรกแซงกิจการภายใมนของพม่าแต่อย่างใด อาเซมจี้หม่องปล่อยตัวนักโทษ วันเดียวกันที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศในกรอบความร่วมมือเอเชียและ ยุโรป (อียู) หรืออาเซม ครั้งที่ 9 ที่กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ที่ประชุมได้แสดงความวิตกต่อสถาน การณ์ในพม่า ที่เกี่ยวเนื่องกับนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเรียกร้องประชาธิปไตย และเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนักโทษ และยกเลิกข้อจำกัดต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ และขอให้รัฐบาลพม่าเตรียมจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2553 ที่มีพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม เผยหลายปท.ชมไทยกล้าหาญ ด้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ระหว่างร่วมประชุมอาเซม ที่กรุงฮานอย ว่า การออกแถลงการณ์ของไทยไม่ได้เป็นการตอบโต้พม่า แต่เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ทั้งนี้ระหว่างประชุมมีหลายประเทศชื่นชมไทยในฐานะประธานอาเซียนว่ามีความ กล้าหาญที่ออกแถลงการณ์ดังกล่าว และในวันที่ 27 พฤษภาคม รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะหารือกันอย่างไม่เป็นทางการที่กระทรวงการต่าง ประเทศกัมพูชา คาดว่าจะมีโอกาสพูดคุยกันหลายเรื่องรวมถึงเรื่องพม่าด้วย นายกษิต กล่าวว่า ขณะนี้มีความหวาดหวั่นว่าถ้ามีการตั้งข้อหากับนางซูจีถึงขั้นติดคุกคงจะ ลำบาก พม่าจะบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบกับความมั่นคงในภูมิภาคไม่ได้ เพราะเห็นกันอยู่ว่า ตราบใดที่พม่ายังไม่มั่นคง ก็จะมีการพัฒนาไม่ได้ ปัญหาผู้อพยพ และปัญหาข้ามแดนอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ความปรองดองในพม่าจึงเป็นเรื่องความมั่นคงของทั้งพม่า ไทย และภูมิภาคโดยรวม จี้ปลดพม่าพ้นสมาชิกอาเซียน ขณะที่สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยในพม่า ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้อาเซียนใช้มาตรการแข็งกร้าวต่อพม่า รวมถึงการปลดออกจากการเป็นสมาชิกอาเซียนหากพม่ายังคงกักบริเวณนางออง ซาน ซูจี ต่อไป เพื่อทำให้ทางการพม่ายุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชน นอกจากนี้ยังขอให้อาเซียนพิจารณาใช้มาตรการคว่ำบาตรแบบเฉพาะเจาะจง (targeted sanction) ต่อผู้นำทหารพม่าและพวกพ้อง "อาเซียนจะต้องเลิกปกป้องรัฐบาลทหารพม่า เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในพม่าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากอาเซียนยังคงนโยบายเช่นเดิมต่อพม่า อาเซียนจึงควรแสดงความรับผิดชอบและสนับสนุนให้มีการดำเนินการต่างๆ เช่นการตั้งคณะกรรมการรวบรวมหลักฐานการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กระทำโดย ทางการพม่า"แถลงการณ์ดังกล่าวระบุ รบ.พม่าอ้างมีสิทธิ์ขยายเวลากักซูจี อย่างไรก็ล่าสุดรัฐบาลทหารพม่า ได้แจ้งต่อบรรดานักการทูตและผู้สื่อข่าวที่ได้เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีนาง อองซาน ซูจี ที่เรือนจำอินเส่ง ในย่างกุ้ง ว่า รัฐบาลมีสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะขยายเวลาการกักบริเวณนางซูจีออกไปอีก 6 เดือนจนถึง5 ปี หลังจากระยะเวลากักบริเวณครบ 5 ปีในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ นายญาน วิน โฆษกพรรคเอ็นแอลดี แถลงว่า ทางการพม่ายกเลิกการกักบริเวณนางออง ซาน ซู จี ในบ้านพักที่มีมาเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงมอบเอกสารให้นางซู จีเพื่อแจ้งว่า ข้อกำหนดกักบริเวณนางซู จี ในบ้านพักได้ยกเลิกแล้ว แต่ผู้สนับสนุนนางยังไม่รู้ว่าจะดีใจหรือเสียใจ เนื่องจากขณะนี้นางซูจียังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำอินเส่ง และอาจต้องรับโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีฐานฝ่าฝืนการกักบริเวณในบ้านพักจากกรณีที่ชายชาวอเมริกันว่ายน้ำข้าม ทะเลสาบเข้ามาในบ้านของเธอ ด้านทนายความของนางซู จี แย้งว่า การกักบริเวณในบ้านพัก 5 ปีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 27 พฤษภาคม ดังนั้นการกักบริเวณดังกล่าวขัดต่อกฎหมายพม่าและกฎหมายระหว่างประเทศ |
|
วันที่ 27/5/2009 |
http://www.naewna.com/news.asp?ID=163251
---------------------------------------------
Mr. Ibahim Gambari มีกำหนดการเข้าเยือนสหภาพพม่า
Monday, 02 February 2009 11:20
อ้างจากหนังสือเชิญของรัฐบาลทหารพม่า ที่ออกข่าวว่า Mr. Ibahim Gambari ตัวแทนขององค์กรสหประชาชาติ (UN) จะเดินทางมาเยือนสหภาพพม่า โดยจะเดินทางมาถึงในวันเสาร์ที่ 31 มกราคม 2009 และมีกำหนดการอยู่ในสหภาพพม่า 4 วัน
Mr. Ban Ki-moon เลขาธิการองค์กรสหประชาชาติได้มอบหมายให้ Mr. Ibahim Gambari สานต่องานประสาน ระหว่างรัฐบาลทหารพม่าและพรรคการเมืองต่าง ๆ ในสหภาพพม่า
ซึ่งเรื่องนี้ Marie Okabe รองโฆษกองค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้กล่าวว่า ท่านเลขาธิการองค์กรสหประชาชาติ (UN) ต้อง การให้มีการประชุมร่วมกัน ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกลุ่มพรรคการเมืองต่าง ๆในสหภาพพม่า เพื่อจะหาแนวทางอันจะก่อให้เกิดผลดีกับทุก ๆ ฝ่าย
Mr. Ibahim Gambari มาเยือนสหภาพพม่าครั้งนี้ เป็นที่คาดหวังจากทุกฝ่ายว่า เขาจะสามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพพม่า เพราะที่ผ่านมา การมาเยือนสหภาพพม่าของท่าน ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับการเมืองในสหภาพพม่าเลย
ตอนที่ Mr. Ibahim Gambari ไปเยือนสหภาพพม่า เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้น นาง อ่องซาน ซูจี ไม่ยอมให้เข้าพบ สร้างความกังขาให้แก่ผู้ติดตามเหตุการณ์ หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในสหภาพพม่าเป็นอย่างมาก
นาง อ่องซานซูจี นั้น ถูกกองกำลังทหาร รัฐบาลทหารพม่า สั่งกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพักมาเป็นเวลานานถึง 13 ปีแล้ว ซึ่งตลอดเวลา ผู้ที่สามารถเข้าเยี่ยมนางได้ มีเพียงแพทย์ประจำตัวและโฆษกส่วนตัวของนางเท่านั้น
เมื่อปี ค.ศ. 1990 นั้น พรรค NLD ของนางอ่องซาน ซูจี ได้รับคะแนนเสียง ชนะการเลือกตั้งภายในสหภาพพม่าอย่างถล่มทลาย แต่กลับถูกรัฐบาลทหารพม่าหักหลัง ไม่ยอมให้พรรค NLD เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล กลับจับตัวนางไปคุมขังกักบริเวณ และจัดตั้งรัฐบาลทหารพม่าปกครองสหภาพพม่ามาจนถึงปัจจุบัน
TAI FREEDOM
http://www.taifreedom.com/tha/index.php?option=com_content&view=article&id=97:mr-ibahim-gambari-&catid=38:2009-01-19-07-10-59&Itemid=78
------------------------------------------------
ออง ซาน ซูจี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออง ซาน ซูจี (ภาษาพม่า: ไฟล์:AungSanSuuKyi1.png) เป็นผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศพม่า เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 บิดาของเธอคือ นายพล ออง ซาน ผู้นำการเรียกร้องเอกราชของพม่า ซึ่งถูกสังหารเสียชีวิตเมื่อเธอมีอายุเพียง 2 ขวบ. ซูจีได้สมรสกับ ศ.ดร. ไมเคิล อริส อาจารย์สอนวิชาทิเบตศึกษา ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ มีบุตรชายสองคน คือ อเล็ก และ คิม ปัจจุบัน ศ.ดร.ไมเคิล อริสได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งเมื่อ พ.ศ. 2542. ซึ่งรัฐธรรมนูญล่าสุดของพม่ากำหนดให้ชาวพม่าที่แต่งงานกับคนต่างชาติไม่มี สิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ออง ซาน ซูจี จึงหมดสิทธิ์ลงสมัคร[1]
เนื้อหา
[แสดง]
* 1 การศึกษา
* 2 ประวัติการทำงานและผลงาน
* 3 ประวัติ
o 3.1 ชีวิตช่วงแรก
o 3.2 กลับบ้านเกิดสานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
o 3.3 เกียรติยศ และการจองจำ
o 3.4 การเคลื่อนไหว
* 4 อ้างอิง
[แก้] การศึกษา
* พ.ศ. 2510 ปริญญาสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร
[แก้] ประวัติการทำงานและผลงาน
* สำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก
* เจ้าหน้าที่วิจัยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศภูฏาน
* รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พ.ศ. 2534 จากการต่อสู้โดยสันติวิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
[แก้] ประวัติ
[แก้] ชีวิตช่วงแรก
ออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เธอมีอายุเพียงสองขวบเมื่อบิดาคือนายพล ออง ซาน ถูกลอบสังหาร บิดา คือ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ดอว์ขิ่นจี ผู้เป็นภรรยาของนายพลอองซาน ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง 3 คนโดยลำพังหลังจากสามีถูกลอบสังหาร ซูจีเป็นลูกคนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุ จมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตคือ อองซาน อู เติบโตมากับการเลี้ยงดูของมารดา ที่เข้มแข็ง และความเอื้อเอ็นดูของกัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ของบิดา
พ.ศ. 2503 ดอว์ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่า ประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่ง เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยม และ เลดี้ ศรีงาม คอลเลจที่นิวเดลี จากนั้นไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญา ที่ เซนต์ฮิวส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2510 ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำประเทศอินเดีย และย้ายกลับไปพำนัก ที่ย่างกุ้ง ซูจี แยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณ และการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ ขณะนั้น อูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ องค์การสหประชาชาติ ในการทำงาน 3 ปีที่นี่ ซูจีใช้เวลาช่วงเย็น และวันหยุดสุดสัปดาห์เป็น อาสาสมัครให้โรงพยาบาล ในโครงการช่วยอ่านหนังสือ และดูแลปลอบใจผู้ป่วยยากจน
เดือนมกราคม 2515 ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามี ที่ราชอาณาจักรภูฏาน ซูจีได้งาน เป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า กรมการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอน แก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฏาน ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอน วิชาหิมาลัย และทิเบตศึกษาที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปี พ.ศ. 2516 และบุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ. 2520 นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียน และงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานหิมาลัยศึกษาของ ไมเคิลด้วย
พ.ศ. 2528-2529 ซูจี และไมเคิลตัดสินใจแยกจากกัน ระยะหนึ่ง เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าทางวิชาการ ซูจีได้รับทุนทำวิจัยจาก ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ในการทำวิจัย เกี่ยวกับบทบาทของนายพลอองซาน ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็ก ไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลพา อเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาซูจีได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies จึงพาคิมมาสมทบที่ซิมลา ประเทศอินเดีย ต่อมาซูจีที่อยู่ที่ญี่ปุ่นต้องบินไปดูแลมารดาที่เดินทางมารับการผ่าตัดต้อกระจกตา ที่ลอนดอน
พ.ศ. 2530 ซูจีและไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า
[แก้] กลับบ้านเกิดสานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
นางอองซาน ซูจีขณะกล่าวสุนทรพจน์แก่ชาวพม่า
ปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ในวัย 43 ปี เดินทางกลับบ้าน เกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก ในขณะนั้นเป็นช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวาย ทางการเมืองในพม่า กดดันให้ นายพลเนวิน ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครอง ประเทศพม่ามานานถึง 26 ปี เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ตอนที่ดิฉันเดินทางกลับมาพม่าเมื่อ พ.ศ. 2531 เพื่อมาพยาบาลคุณแม่นั้น ดิฉันวางแผนไว้ว่าจะมาริเริ่ม ทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดในนามของคุณพ่อด้วย เรื่องการเมืองไม่ได้อยู่ในความสนใจของดิฉันเลย แต่ประชาชนในประเทศของดิฉันกำลังเรียกร้อง ประชาธิปไตย และในฐานะลูกสาวของพ่อ (นายพลอองซาน) ดิฉันรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ดิฉัน ต้องเข้าร่วมด้วย” [2]
ประชาชนไม่พอใจต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นั้นสะสมต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า 25 จั๊ด 35 จั๊ด และ 75 จั๊ด โดยไม่ยอมให้มีการแลกคืน ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 ซึ่งทำให้เงินร้อยละ 75 หายไปจากตลาดเงิน นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งประท้วงด้วยการทำลายร้านค้าหลายแห่ง จนมีเหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2531 หลังเกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตำรวจกลับใช้ความรุนแรง ตอบโต้ด้วยการยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งยังจับกุม นักศึกษานับพันคนไปจากการชุมนุม ก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในหมู่นักศึกษาประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวินต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวินใน วันที่ 23 กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงย่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในเมืองร่างกุ้ง อันเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การประท้วงแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุม ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ออง ซาน ซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปวัน ที่ 26 สิงหาคม ออง ซาน ซูจี ในขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนประมาณ 500,000 คน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในร่างกุ้ง ซูจีเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน และได้ทำการปราบปรามสังหาร และจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคนวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 ออง ซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้น (National League for Democracy: NLD) และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชีวิตทางการเมืองของนางออง ซาน ซูจี เริ่มต้น นับแต่นั้น
มารดาของซูจี ดอว์ขิ่นจีสิ้นลมใน วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2531 แต่ภารกิจต่อแผ่นดิน เกิดเรียกร้องให้ซูจีเลือกที่จะต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารอยู่บนแผ่นดิน เหนือลุ่มน้ำอิรวดี-สาละวิน
[แก้] เกียรติยศ และการจองจำ
รัฐบาลเผด็จการใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาขยายเป็น 6 ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดี ของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ” ปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ชนะ แต่ยื่นข้อเสนอ ให้ซูจียุติบทบาททางการเมือง ด้วยการเดินทางออกนอกประเทศ ไปใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีและบุตร แต่ซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหารจึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก 3 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มอีก 1 ปีในเวลาต่อมา
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขา สันติภาพ ซูจีไม่มีโอกาสเดินทาง ไปรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัล แทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดิน ถือภาพถ่ายของมารดา ขึ้นเวทีท่าม กลางเสียงปรบมือต้อนรับอย่างกึกก้อง อเล็กซานเดอร์กล่าว กับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า “ผมรู้ว่าถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้อง ให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ ให้ทั้งผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ”
ซูจีประกาศใช้เงินรางวัลจำนวน 1.3 ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษา ของประชาชนพม่า ต่อมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ซูจีได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณครั้งแรก
[แก้] การเคลื่อนไหว
การปล่อยตัวจากการบริเวณนี้ ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชนที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง และเมื่อเธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ซึ่งครั้งหนึ่งฝูงชนจัดตั้งดังกล่าวได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซูจี ดำเนินการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี ด้วยการใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวีดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ต่อรัฐบาลทหารพม่า ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สามารถทำได้ เดือน กรกฎาคม 2541 ซูจี นั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ ของเธอเองเป็นเวลาห้าวัน หลังจากถูกตำรวจ สกัดไม่ให้รถยนต์ของเธอเดินทางออกจากย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับสมาชิกพรรค สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เดือนสิงหาคม 2541 ซูจี ถูกสกัด ไม่ให้เดินทางไปพบปะสมาชิกพรรคของเธออีกครั้งหนึ่ง ซูจี ใช้ความสงบ เผชิญหน้า กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาถึงหกวัน จนเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด เธอถูกบังคับพาตัวกลับ ที่พักหลังจากนั้น
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ซูจี และสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย จะเดินทางเพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ถูกตำรวจสกัดไม่ให้เดินทางออกพ้นชานกรุงย่างกุ้งซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ โดยใช้วิธีเผชิญหน้าอย่างสงบกับตำรวจอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง 9 วัน จนถึงวันที่ 2 กันยายน ตำรวจปราบจลาจลร่วม 200 นาย พร้อมอาวุธครบมือ บังคับนำเธอกลับเข้าเมือง
สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี พร้อมคณะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วโดยสารทางออกจากเมืองร่างกุ้ง แต่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยพิเศษ ไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลัง เจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของนางซูจี ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะ เยี่ยมเยียนเธอ
ซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็น ครั้งที่สอง เป็นเวลา 18 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2543 และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 โดยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ขณะที่ผู้รักสันติภาพทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปี ของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ ได้รับรางวัลคนอื่น ๆ
เกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้ง ของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซูจีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า ทำให้ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็น ครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546
เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550 คณะสงฆ์และประชาชนที่ได้ร่วมประท้วงรัฐบาลทหารได้เดินทางไปยังบ้านพักนางออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยใน พม่า ซึ่งนางอองซานได้ออกมาปรากฏตัวเป็นเวลา 15 นาที โดยการเปิดประตูเล็กของประตูบ้าน พร้อมกับพนมมือไหว้พระสงฆ์ที่กำลังให้พร การปรากฏตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 [3]
[แก้] อ้างอิง
1. ^ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9510000021759&#Comment
2. ^ ซูจีให้สัมภาษณ์ Edward Klein นิตยสาร Vanity Fair เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538
3. ^ การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ออง ซาน ซูจี
------------------------------------------------
<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ที่มาของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 >>>