บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 มิถุนายน 2552

<<< เศรษฐกิจไม่ดี ควรมีเงินสดเก็บไว้ในมือ >>>

เรื่องนี้ประสบกับตัวเองเลย
ยามปกติมีเงินก็เที่ยวไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้
พอวันที่เศรษฐกิจไม่ดีหรือสภาพคล่องเริ่มฝืดเคือง
การไม่มีเงินสดในมือ
จะทำให้ต้องไปกู้เงินเขามาใช้จ่าย
สร้างความลำบากให้อย่างมากในการหมุนเงิน

ถ้าเป็นพ่อค้า หรือ บริษัทต่างๆ
การขาดสภาพคล่องนั้น
ถึงกับทำให้ล้มละลายได้ทีเดียว
เพราะการไม่มีเงินสดในมือ
ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน
และค่าใช้จ่ายประจำ
รวมไปถึงเงินที่จะไปลงทุนเพื่อกู้วิกฤตอะไร
ถ้าคิดจะไปกู้แบงค์ในยามเศรษฐกิจไม่ดี
แบงค์ก็ไม่ค่อยอยากปล่อยกู้
หรือไม่ก็มีเงื่อนไขเพิ่ม
หรือไม่ก็พิจารณานาน
ทำให้เกิดอาการช็อตไม่ทันกับความต้องการ
แล้วยามที่คนอื่นรู้ว่าบริษัทกำลังช็อตเงิน
การไปกู้หรือไปเร่ขายสินทรัพย์อะไร
เพื่อจะได้เงินมาใช้หมุนเวียน
ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
อาจโดนกดราคา
หรือต้องยอมรับเงื่อนไขที่เสียเปรียบได้
หรือไม่มีคนจะซื้อ

ดังนั้นต่อให้บริษัทใหญ่แค่ไหน
มีสินทรัพย์มากมายขนาดไหน
คนทั่วไปคิดว่ามั่นคงขนาดไหน
หรืออยู่มานานสักปานใด
ถ้าขาดสภาพคล่องไม่มีเงินสดหมุนเวียน
เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินกิจการแล้ว
อาจ เจ๊ง ล้มละลาย หรือปิดกิจการ ได้ทั้งนั้น

ประเทศก็เหมือนกับบริษัทนั่นแหละ
ถ้าขาดเงินสดหมุนเวียน
เงินที่จะไปจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายประจำ
ไม่รวมถึงหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ
ไหนจะเรื่องเงินที่จะเอาไปลงทุน
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก
ถ้าไม่มีเงินสดสำรองอยู่ในมือแล้ว
ก็คงต้องไปกู้หรือไม่ก็รีดภาษีเพิ่มขึ้น
แต่เมื่อรู้ตัวว่าเศรษฐกิจไม่ดี
กับยังทำตัวเหมือนเดิม
คือกู้เงินมาได้
ก็พยายามจะใช้เงินให้หมดๆ ไป
ด้วยโครงการที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนอะไร
หนักไปทางแบ่งเค้ก
เพื่อระดมเงินไปสู้ศึกเลือกตั้งมากกว่า
โดยลืมไปว่า
จะต้องชำระหนี้คืนทุกบาททุกสตางค์
จะทำให้ต้องรีดภาษีเพิ่มขึ้นอีกเยอะไหม
แล้วพอเงินสดหมดหรือไม่พอใช้จ่ายอีก
ก็เกิดอาการขาดสภาพคล่องอีก
จะทำยังไง สามารถไปกู้เขาได้ตลอดไหม
หรือจะถอนขนห่านได้จนหมดตัวกันไปข้างหนึ่งไหม

สรุป การถือเงินสดไว้ส่วนหนึ่งในยามวิกฤต
จะช่วยให้ทุกคน ทุกบริษัท ทุกประเทศ
รอดพ้นจากการถูกบีบจากเจ้าหนี้
รอดจากการเป็นหนี้เพิ่มเยอะๆ
รอดจากสภาพที่ต้องดิ้นรนไปหาเงินมาหมุน
เพราะสภาพที่ว่า
ถ้าไม่รอดแล้วจะตกเป็นลูกหนี้
ที่ต้องยอมรับชะตากรรมที่เจ้าหนี้กำหนด
หรือขาดสภาพคล่องจนทำอะไรต่อไม่ได้
ต้องยอมเป็นบุคคลล้มละลาย
หรือบริษัทล้มละลาย
หรือประเทศล้มลาย
ต้องโดนยึดทรัพย์
หรือโดนบังคับขายสินทรัพย์
เพื่อมาใช้หนี้ในที่สุด
ขนาดบริษัทที่อยู่มายาวนาน
มีทรัพย์สินมากมาย
เขายังล้มละลายได้เพราะขาดสภาพคล่อง
แล้วคิดหรือว่า
เป็นประเทศล้มละลายไม่ได้
มีหลายประเทศที่เคยมีอดีตอย่างว่า
การก่อหนี้เกินตัว
โดยไม่คำนึงถึงอุบัติเหตุบังเอิญที่จะมากระทบ
จนหมดความสามารถหาเงินไปใช้หนี้
เพราะรัฐบาล ก็คือ ประเทศ
รัฐบาลเจ๊ง ประเทศก็เจ๊ง
เมื่อรัฐบาลเจ๊ง
รัฐก็จะมารีดภาษีจากประชาชนเพิ่มเพื่อไปใช้หนี้
หรือไม่ก็ขายสมบัติที่รัฐถืออยู่เพื่อหาเงินไปใช้หนี้
ซึ่งเป็นวิธีปกติที่เคยใช้
ในหลายๆ ประเทศ ที่เคยเจ๊งมา

ดังนั้นการไม่ยอมเก็บเงินสดส่วนหนึ่งไว้ในมือ
ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี
ก็คือการตั้งอยู่ในความประมาทเลินเล่อดีๆ นี่เอง

อันที่จริงแล้ว
เศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ก็ควรมีเงินสดเก็บไว้ในมือ
เพราะถ้าขาดสภาพคล่องแล้ว
จะหยิบยืมยากหรือไม่ก็ไม่ทันการ
พอดีที่เน้นเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี
ก็เพราะว่าจะหยิบยืมหรือกู้
ได้ยากกว่าช่วงเศรษฐกิจดีๆ
ตอนนี้ไปกู้เงินที่แบงค์ไหนก็กู้ยาก
เพราะว่าการปล่อยกู้ในช่วงนี้
โอกาสเป็นหนี้เสียมีสูงมากๆ
ดังนั้นการที่เขาตรวจสอบมากๆ เป็นเรื่องปกติ
อย่างที่ผมว่า
ถ้ามีเหลือเก็บ ควรเก็บเงินสดติดตัวไว้บ้าง
ไม่จำเป็นต้องเอาเงินไปโป๊ะหนี้จนหมด
เพื่อหวังให้หนี้หมดเร็วๆ
สู้เอาเงินมาหมุนใช้ชีวิตให้รอดไปแบบสบายๆ ดีกว่า

อีกอย่างที่ว่ามานี้
ไม่ได้หมายความว่าให้หยุดใช้เงินน่ะ
แต่หยุดในการใช้เพื่อซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น
และต้องใช้เงินเยอะๆ หรือไม่จำเป็นเร่งด่วนอะไร
เพราะหยุดใช้เงินกันหมดทุกคน
ก็คงจะเจ๊งกันเร็วขึ้นไปอีก
แต่ฐานะทางการเงินของแต่ละคนต่างกัน
ประเภทรณรงค์ให้ช่วยใช้จ่าย
แล้วเขาช่วยจนไม่มีจะเก็บ
เกิดอุบัติเตุอะไรในชีวิตเขา
จนไม่มีปัญญาหาเงินมาคืนเจ้าหนี้
รัฐบาลหรือคนที่บอกให้ช่วยกันจับจ่าย
จะช่วยไปรับภาระแทนเขาหรือไม่

ตอนนี้รู้สึกว่าผมจะเริ่มขึ้นอืดอีกครั้ง
เหมือนช่วงปี 40 - 42
ปกติตอนเที่ยงผมกินข้าวแกงแค่จานเดียว
แต่เดี๋ยวนี้หอบพะรุงพะรัง
ทั้งผลไม้ ทั้งกาแฟ ทั้งของกินเล่น
บางทีก็ไอติมแถมบางวันก็กินส้มตำบ่อยมากช่วงนี้
ก็เพราะต้องการช่วยแม่ค้าแถวนี้แหล่ะ
โดยจะเลือกเจ้าที่ขายของไม่ค่อยได้เป็นหลัก
เจ้าไหนขายดีก็ไม่ไปกิน
บางวันเขาก็ขายกันไม่ค่อยได้
เช่น ช่วงปลายเดือนกับช่วงฝนตก
เรียกว่าช่วงนี้ก็กินกันจนบ่าย
กว่าจะกินสิ่งที่ซื้อมาหมด
ซึ่งก็มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
แต่ไม่มากเท่าไหร่ในแต่ละเดือน
ก็ช่วยๆ กันไป
แต่พวกใหญ่ๆ ใช้เงินเยอะๆ ผมยังไม่ซื้อ
เก็บเงินสดไว้ดีกว่า
เผื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
เหมือนอย่างที่ว่ามานั่นแหล่ะ

การช่วยพ่อค้าแม่ค้าตามข้างถนน
เป็นการช่วยลดปัญหาสังคมตามมามากมายโดยไม่รู้ตัว
เพราะคนเหล่านี้ สายป่านสั้นมาก
ช็อตเมื่อไหร่เครดิตที่จะไปกู้เงินมาใช้ง่ายๆ
เหมือนมนุษย์เงินเดือนมีน้อยมากๆ
นอกจากไปกู้เสียดอกแพงๆ
ถ้าเขาขายของไม่ได้
บางคนอาจกลายเป็นโจรเพราะความจำเป็นก็ได้
ลูกบางคนอาจต้องไปขายตัว
หรือไม่ได้เรียนหนังสือต่อก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
ดังนั้นถ้าพอช่วยกันได้คนละเล็กละน้อย
ก็ช่วยลดปัญหาสังคมไปในตัว
นอกเหนือจากเรื่องการช่วยให้กำลังใจ
ที่ทำมาหากินแบบสุจริต
โดยเฉพาะตามฟุตบาท
บางคนอาจไม่พอใจที่มีพ่อค้าแม่ค้า
มาแย่งที่เดินบนทางเท้า
แต่ผมคิดว่าควรแบ่งทางเท้าบางส่วน
ให้เขาค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ได้
ระหว่างฟุตบาทฝั่งทองฝั่งเพชรสวยงาม
กับโจรผู้ร้ายเต็มบ้านเต็มเมือง
สู้มีฟุตบาทที่ดูแล้วไม่สวยอะไร
มีพ่อค้าแม่ค้าเต็มข้างฟุตบาท
แต่ช่วยลดโจรผู้ร้ายให้เหลือน้อยลงจะดีกว่า
เพียงแต่ไปช่วยควบคุมเรื่องความสะอาด
กับไม่ให้รุกล้ำจนคนไม่มีที่จะเดินก็พอ

ผมว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ที่มีสาเหตุมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ของบรรดาพี่เบิ้มทางเศรษฐกิจทั้งหลาย
วิธีที่ดีที่สุดคือช่วยคนตกงานโดยตรงให้มากที่สุด
ไม่ใช่การช่วยทางอ้อมโดยผ่านการทำโครงการต่างๆ
ที่ใช้เม็ดเงินสูงมากๆ แต่ช่วยคนได้น้อยนิด
เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ลงไป
แต่ถ้านำไปช่วยคนที่ตกงานจริงๆ
ให้เขามีเงินพออยู่ได้
จะใช้เงินน้อยกว่านับสิบๆ เท่าจากที่ใช้อยู่
แค่ประคองตัวเพื่อรอให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
เพราะต่อให้ทุ่มเงินจนเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวยังไง
ถ้าเศรษฐกิจโลกยังไม่ดีขึ้น
ก็ไม่ช่วยทำให้อะไรดีขึ้นมา
และจะไม่มีทางกู้เงินได้มากๆ ไปตลอดเวลา
แถมโรคเป็นหนี้ท่วมหัว
ร้ายแรงกว่าโรคผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกหลายเท่านัก
การแก้ปัญหาแบบกู้กันมาผลาญมากๆ
เพื่อให้ตัวเลข GDP สูงขึ้น
ทั้งที่คนส่วนใหญ่
โดยเฉพาะคนตกงานในสาขาที่มีปัญหาตอนนี้
ทั้งท่องเที่ยวและภาคส่งออก
ก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรขึ้นมามากนัก
เป็นการแก้ปัญหาแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ
โดยโยนให้เป็นภาระรัฐบาลต่อไปที่จะมารับช่วงต่อ
ไปจัดการปัญหาหนี้สินที่รัฐบาลนี้ก่อไว้เอาเอง
ไม่ใช่เป็นความคิดของนัการเมือง
ที่ต้องการมาแก้ปัญหาประเทศ
เป็นแค่นักการเมืองที่เข้ามาแก้ปัญหาปากท้อง
ของพรรคพวกตัวเองมากกว่า
นี่ก็เป็นปัญหาที่ต้องระวังไว้
เพราะว่ารัฐบาลมีโอกาสเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลา
ไม่มีความแน่นอนไม่เหมือนบริษัท
ที่ผู้บริหารค่อนข้างจะไม่ค่อยเปลี่ยนมือ
นอกจากโดนเทคโอเวอร์นานๆ จะเกิดที
ความไม่ต่อเนื่องและความเก่งในการแก้ปัญหาก็ต่างกัน
ดังนั้นการก่อหนี้มากๆ
เมื่อเจอกับรัฐบาลชุดต่อๆ ไป
หรือชุดนี้ที่จะอยู่ต่อไปนานๆ
บริหารประเทศไม่ได้เรื่อง
ความสามารถในการใช้หนี้ก็ย่อมลดลงตามไปด้วย
เป็นสิ่งที่ต้องคำนึกให้มากๆ
สำหรับเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง

แนวทางที่ดีควรแค่ประคองตัวเพื่อรอวันฟื้นตัว
เพราะใช้เงินน้อยกว่า
และโรคแทรกซ้อนภายหลัง
แก้ได้ง่ายกว่าโรคหนี้ท่วมหัว
อาจใช้เวลานานกว่าที่นักวิชาการ
หรือรัฐบาลแต่ละประเทศคาดการณ์
เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ปัญหาพวกนี้ไม่สามารถแก้ไขได้เร็ววัน
แต่มันจะแก้ได้ด้วยเวลา
สังเกตุดูโลกเคยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
มาแล้วหลายครั้งแล้วก็ผ่านมาได้
แต่ก็ต้องใช้วลานานหลายปี
บางคนอาจบอกว่าเป็นเพราะนโยบายนั้นนี้
แต่ผมว่าเป็นเพราะเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญ
เมื่อคนเริ่มลืมอดีต
ก็จะเริ่มใช้จ่ายตามปกติ
เริ่มทำธุรกิจตามปกติ
นโยบายของรัฐบาลที่ช่วยกระตุ้น
ก็มีส่วนแต่ไม่ใช่ทำให้คนมีความมั่นใจอะไร
จะมั่นใจก็เฉพาะนักวิชาการหรือพ่อค้าที่เชียร์รัฐบาลเท่านั้น
คนทั่วไปเขาจะมั่นใจก็ต่อเมื่อเขามั่นใจเอง
ไม่ใช่เพราะรัฐบาลประกาศนั่นนี่แล้วเขาจะมั่นใจ
ในขณะที่เงินในกระเป๋าเขายังแฟ๊บอยู่
ยกเว้นจะมีมาตราการช่วยให้เขามีเงินใช้ไปตลอด
นั่นก็จะยิ่งช่วยร่นเวลาที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่น
ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นเร็วขึ้น
แต่ไม่ใช่แจกเงินครั้งสองครั้ง
ควรต่อเนื่องในรูปแบบเงินเดือน
เพื่อให้เขาอุ่นใจว่ามีเงินใช้ไปอีกนาน
เขาถึงจะกล้าใช้จ่ายมากขึ้น
ประเภทเงินมาแจก
แล้วมาแย่งเงินออกจากกระเป๋าไป
ด้วยการเพิ่มภาษีต่างๆ แบบนี้
สู้ไม่ต้องเสียเงินแจก
แล้วนั่งเฉยๆ จะดีกว่าเยอะเลย

ปล. ลูกหมีแพนด้าน้อยที่เพิ่งเกิดมาในยุคนี้
ถ้าชื่อ "กู้ กู้" ก็จะดีมาก
เพราะจะได้จำง่ายๆ ว่า
เกิดมาในยุค "อภิสิทธิ์ ยอดนักกู้สิบทิศ"
หรือถ้าชื่อ "กู้ แจก รีด"
ก็จะจำได้ง่ายเหมือนกันว่า
เกิดมาในยุค "กู้แหลก แจกสะบัด ซัดภาษีอาน"

โดย มาหาอะไร