บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


06 มิถุนายน 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง เกี่ยวกับสนามบินสุวรรณภูมิ >>>

เปิดข้อเท็จจริง 'สุวรรณภูมิ' บทพิสูจน์สนามบินแห่งความภาคภูมิใจ

เปิดบริการรับใช้ผู้โดยสารไทย-เทศมาแค่ 4 เดือน แต่สิ่งที่สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของไทย “สนามบินสุวรรณภูมิ” ได้รับ ดูเหมือนว่า จะเป็นเพียงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความไม่พร้อมของสนามบินแห่งใหม่ แพร่กระจายในวงกว้างและรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทั้งที่จริงแล้ว “สุวรรณภูมิ” ควรเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย หลังจากที่รอคอยกันมานานกว่า 40 ปี ในฐานะประตูด่านแรกที่สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนประเทศไทย ศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวและการบินในภูมิภาค ปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา มีตั้งแต่ความล่าช้าของสายพานลำเลียงกระเป๋า กระเป๋าหาย จำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอ สกปรก ไม่นับรวมแสงสว่าง ป้ายบอกทางที่ชวนมึนงง ความไม่ปลอดภัยในอาคารจอดรถ ลิฟต์ค้าง ค่าบริการแพง ไม่มีเว็บไซต์สนามบิน เช็กไฟลท์บินแบบเรียลไทม์ไม่ได้ ทั้งที่เป็นสนามบินที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
แต่ที่รุนแรงที่สุด เห็นจะได้แก่ปัญหาแท็กซี่เวย์นับ 100 จุดเกิดการล่อน-ร้าว กลายเป็นกระจกสะท้อนภาพทุจริตฉาวโฉ่ของสนามบินสุวรรณภูมิให้แจ่มจ้า ชัดเจนยิ่งขึ้น

“ทีมเศรษฐกิจ” เฝ้ามองปัญหาของสนามบินสุวรรณภูมิมาตลอด เห็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ตลอดไป จนถึงการพูดถึงทางออกต่างๆนานา อย่างเช่น การกลับไปใช้บริการสนามบินดอนเมืองแห่งเก่าเกิดอะไรขึ้นกับ “สนามบินแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ” สมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ จะมาชี้แจงแถลงไขเพื่อให้เกิดความกระจ่าง และเพื่อหาคำตอบร่วมกันว่า ประชาชนคนไทยยังจะสามารถภาคภูมิใจ ในสนามบินใหม่ของพวกเราต่อไปได้หรือไม่

ถาม พื้นที่ใช้สอยลดน้อยลงหรือไม่
“ขอออกตัวก่อนเลยว่า สนามบินสุวรรณภูมินับเป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง วัสดุที่ใช้ การออกแบบก็มีความทันสมัย และได้มีการพิจารณาร่วมกันอย่างกว้างขวาง เดิมได้มีการว่าจ้างบริษัทจีอีซี ซึ่งประกอบด้วย บริษัทหลุยเบอร์เจอร์, บริษัทนาโก้ จากเนเธอร์แลนด์ เข้ามาวางแผนในสนามบินทั้งหมด รวมถึงกลุ่มบริษัทดีไซน์ 103, บริษัทเออีซี และอินเด็กซ์ และสุดท้าย ได้กลุ่ม บริษัทมอร์ฟี่จาห์น แทมป์ แอนด์ แอ็คส์ (MJTA) ที่เข้ามาดูแลในการออกแบบอาคารผู้โดยสาร และอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน สนามบินสุวรรณภูมิทั้งหมด”
แบบที่ออกตอนแรกมี 2 แบบคือแบบปกติ และแบบร่างคร่าวๆ หรือที่เรียกว่า Forback Design ในช่วงแรกมีปัญหาว่าแบบที่ใช้ในการก่อสร้างจะใช้วงเงินก่อสร้างสูงเกินไป จนสุดท้ายสรุปราคากลางที่ 45,000 ล้านบาท แต่เมื่อเปิดประมูล ปรากฏว่ากลุ่มบริษัทไอทีโอ จอยท์เวนเจอร์ เป็นผู้ชนะการประมูลในวงเงินก่อสร้าง 36,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ราคาค่าก่อสร้างที่ลดลงนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อมาตรฐานโครงการก่อสร้าง ราคาที่ลดลงส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างไปใช้วัสดุในประเทศมากขึ้น เช่นผ้าใบและเหล็ก จากเดิมมีขนาดหนาและหนัก ก็หันมาใช้เหล็กที่มีขนาดเบาบางลง และยังลดความสูงของอาคารและความกว้างของอาคารเทียบเครื่องบิน
สมัยนั้น สนามบินถูกออกแบบเพื่อรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคน แต่ทาง ทอท.บอกว่าผู้โดยสารที่ใช้สนามบินดอนเมืองในขณะนั้นทะลุ 35 ล้านคนเข้าไปแล้วจึงได้มีการแก้แบบเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น
“แต่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการลดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ซึ่งยังคงเท่าเดิมที่ 560,000 ตารางเมตร และรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ปีละ 45 ล้านคน ขณะนี้มีผู้โดยสารใช้บริการที่ประมาณ 41-43 ล้านคน รวมลูกค้าสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์) แล้ว จึงยังไม่ถือว่าหนาแน่นเกินไป”
สนามบินสุวรรณภูมิมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่กว้างขวางมากกว่า 560,000 ตารางเมตร ซึ่งมากกว่าพื้นที่ใช้สอยที่สนามบินดอนเมืองถึง 5 เท่า แต่การออกแบบนั้นทำรองรับการใช้งานในอนาคต บริเวณพื้นที่สำหรับการส่งผู้โดยสาร จึงมีไม่มากนัก เพราะเชื่อว่าต่อไป การเดินทางโดยเครื่องบินจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผู้โดยสารมาถึงก็เข้ายังพื้นที่เตรียมออกเดินทางทันที อาจไม่จำเป็นต้องมีญาติหรือคนรู้จักมาส่งด้วยซ้ำ ดังนั้น สุวรรณภูมิจึงเน้นไปที่พื้นที่สำหรับผู้โดยสาร ที่เตรียมเดินทางเป็นหลัก หากก้าวเข้าไปสู่พื้นที่สำหรับผู้โดยสารหลังผ่านเคาน์เตอร์เช็กอิน ก็เห็นได้ชัดเจนว่ากว้างขวางสะดวกสบาย

ถาม ปัญหาส้วมเขรอะ-แอร์เสีย
ปัญหาที่พูดกันไม่จบคือเรื่องจำนวนห้องน้ำที่น้อยเกินไป ทาง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้พยายามแก้ไขอยู่ ปัญหาหลักอยู่ที่จำนวนคนที่ไปใช้บริการมีมากคนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้โดยสาร แต่เป็นญาติ ผู้มาส่ง หรือในช่วงก่อนหน้านี้เป็นประชาชนที่ต้องการเข้าไปชมสนามบิน ความจริงห้องน้ำภายในอาคารผู้โดยสาร และอาคารสะพานเทียบเครื่องบินสนามบินสุวรรณภูมิ มีทั้งสิ้น 1,455 ห้อง มากกว่าที่สนามบินดอนเมืองที่มีให้บริการอยู่ 855 ห้อง แต่ด้วยความกว้างขวางโอ่โถงของสนามบิน ทำไมคนมองว่าห้องน้ำมีน้อย หายากที่สำคัญอีกประการก็คือ การออกแบบห้องน้ำของสนามบินสุวรรณภูมิส่วนใหญ่ จะอยู่บริเวณด้านปีกซ้ายและขวาสุดของอาคาร และพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่ทำการของสายการบินไทย ที่มีพนักงานเข้ามาร่วมใช้ด้วยเป็นจำนวนมาก ทำให้ห้องน้ำไม่พอ ผู้โดยสารจะใช้บริการก็ต้องเดินไกล ทาง ทอท.ยอมรับว่ามีปัญหา และกำลังก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมทั้งบริเวณชั้น 1 และ บริเวณชั้น 2 และชั้น 4 ของขาออก เพิ่มอีก 208 ห้อง คิดว่าปลายเดือน มี.ค.นี้ คงได้เปิดใช้งาน รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนชนิดของก๊อกน้ำและอ่างน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคนไทย เพื่อแก้ปัญหาน้ำกระเด็นออกนอกอ่าง ทำให้พื้นห้องน้ำเฉอะแฉะ สกปรก ส่วนงานด้านรักษาความสะอาดที่ถูกร้องเรียนกันมามากเช่นกันนั้น ทอท.ว่าจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาดำเนินงาน
พนักงานส่วนมากไม่มีความชำนาญ เพราะพนักงานที่ชำนาญจากดอนเมือง ไม่ยอมมาที่สุวรรณภูมิ เพราะปัญหาเรื่องการเดินทางพนักงานทำความสะอาดแต่ละคนในสุวรรณภูมิ ต้องรับผิดชอบพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตรต่อวันต่อคน ซึ่งถือว่าเกินกำลัง ห้องน้ำแต่ละโซนก็อยู่ไกลกันเวียนไปทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง ทำให้ต้องเพิ่มผลัดพนักงานจาก 2 เป็น 3 ผลัด
ส่วนเรื่องเก้าอี้นั่งพักระหว่างรอขึ้นเครื่องบินนั้น มีกว่า 10,000 ตัว แต่ด้วยความที่อาคารมีขนาดใหญ่ ทำให้เก้าอี้ดูโหรงเหรง และเก้าอี้ส่วนใหญ่ จะไปอยู่ตามที่พักนั่งรอขึ้นเครื่องมากกว่าบริเวณส่งผู้โดยสารด้านนอก
ปัญหาเรื่องอุณหภูมิภายในสนามบิน ก็เป็นประเด็นที่คนต่อว่ามามากว่ามีปัญหาอบอ้าว จากการตรวจสอบสาเหตุพบว่าเกิดปัญหาบางจุดเย็น บางจุดไม่เย็น ปกติอาคารที่พักผู้โดยสารในสุวรรณภูมิ ใช้ระบบท่อน้ำเย็น ซึ่งจะต้องมีการวางท่อน้ำเย็นไปทั่วอาคาร เพื่อให้อุณหภูมิมีความสมดุลทั่วถึงทั้งอาคาร ในช่วงที่ผ่านมามีการแก้ไขแบบไปหลายครั้ง เพราะมีปัจจัยบางอย่างทำให้พื้นที่บางจุดไม่เย็นเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นการกั้นที่ทำการสายการบิน หรือการนำสติกเกอร์ต่างๆ ปิดทับตู้ระบายความเย็น ทำให้ระบบท่อน้ำเย็นไม่ทั่วถึง
“ในส่วนนี้ทางบริษัทคิงเพาเวอร์จะเป็นผู้รับผิดชอบ แนวทางแก้ปัญหาคงจะต้องมีการปรับระบบท่อในพื้นที่ ตรวจสอบว่าท่อระบบน้ำเย็นมีหรือไม่ หรือมีปัญหาท่อตันหรือไม่”

ถาม จะแก้ปัญหาเสร็จสิ้นได้เมื่อใดนอกจากปัญหาข้างต้น ยังมีปัญหาอีกจิปาถะที่ต้องตามแก้ไข อย่างกรณีป้ายบอกทิศทางภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน ได้ปรับปรุงให้มีความชัดเจน อ่านง่ายยิ่งขึ้น ส่วนระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร จากเดิมได้รับร้องเรียนว่าบรรยากาศสลัวๆ ก็ได้ ปรับปรุงจากเดิม มีรีเฟล็กซ์หันส่องขึ้นหลังคาอาคาร เปลี่ยนส่องลงพื้นแทน เพื่อให้สว่างมากขึ้น เพราะพฤติกรรมของคนไทยชอบความสว่างจ้า ซึ่งส่วนนี้ก็จะเห็นผลได้หลังที่มีการปรับเปลี่ยนภายใน 2 เดือน
นอกจากนั้น กรณีที่ผู้มาใช้บริการของสายการบินไทย ซึ่งไม่ได้รับความสะดวกเพราะเครื่องบินไม่สามารถเข้ามาจอดเทียบตรงกับประตู ต้องจอดอยู่บริเวณหลุมจอดด้านนอก โดยผู้โดยสารต้องนั่งรถบัสเข้ามายังอาคารผู้โดยสารนั้น เป็นเพราะการบินไทยเปลี่ยนแปลงตารางการบินและเวลาเข้าออกตลอดเวลา จึงทำให้ไม่สามารถจัดระบบสารสนเทศในการควบคุมได้ทันกับปริมาณการเข้า-ออกของเครื่องบิน ซึ่งในเรื่องนี้การบินไทยจะหารือร่วมกับ ทอท. เพื่อแก้ปัญหาแล้ว คาดว่าน่าลุล่วงไปได้ภายใน 2 เดือน
สำหรับการจัดการพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นของกลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์นั้น ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องว่าการจัดวางร้านค้าและป้าย บดบังและขวางทางเดินนั้น ขณะนี้ก็ได้พยายามหาแนวทางแก้ไขแล้ว โดยจะใช้หลักวิทยาศาสตร์และความปลอดภัยทั่วไปเข้ามาแก้ปัญหา เริ่มจากจะมีการตรวจสอบว่ากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ช่องทางเดินมีความกว้างเพียงพอหรือไม่ ร้านค้าและป้ายกีดขวางทางออกหรือไม่ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย
ส่วนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับค่าใช้บริการสนามบิน โดยค่าธรรมเนียมการจอด (แลนดิ้งฟี) ที่สุวรรณภูมิมีราคาแพงนั้น ย่อมต้องแพงกว่าดอนเมืองแน่นอน แต่เมื่อเทียบกับสนามบิน นานาชาติของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ค่าธรรมเนียมของสุวรรณภูมิมีราคาถูกกว่าทั้งสิ้น “ในภาพรวม ทอท.กำลังปรับปรุง แก้ไขปัญหาต่างๆมาโดยตลอด เชื่อว่าจะเห็นผลชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้นในระยะ 1 ปีจากนี้”

ถาม สาเหตุแท็กซี่เวย์ร้าว-ล่อน
ปัญหาแท็กซี่เวย์ร้าวล่อน นับเป็นปัญหาซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาพพจน์ของสนามบินแห่งใหม่ของไทย จากการตรวจสอบพื้นผิวทางขับหรือแท็กซี่เวย์ จำนวนถึง 100 จุดมีปัญหารอยร้าว-ล่อน
“เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พื้นที่ก่อสร้างสนามบินนั้นเป็นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ ดังกล่าวอุ้มน้ำ เมื่อน้ำเจอกับยางแอสฟัสต์ของแท็กซี่เวย์ จึงดันแอสฟัสต์ ล่อนขึ้นมา เมื่อเกิดปัญหาจึงต้องปิดปรับปรุง ไม่ใช่เรื่องของวัสดุผิดสเปก เพราะการตรวจหาวัสดุผิดสเปก ไม่ใช่เรื่องยาก”
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย ช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก บริเวณรอบสนามบินและใกล้เคียงมีปริมาณน้ำสูงมาก ส่งผลให้เขื่อนดินรอบๆ สนามบินมีปริมาณน้ำสูง
“ตอนนี้เรามีบทเรียนแล้ว ต่อไปต้องระมัดระวังและเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของพื้นที่ที่จะรองรับน้ำได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่ทั้งหมดพบว่ามีแท็กซี่เวย์มีปัญหาล่อนกว่า 100 จุด” อย่างไรก็ตาม ยืนยันได้ว่า การมีน้ำท่วมขังใต้พื้นดินดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทรุดตัวของพื้นผิวสนามบิน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีการทรุดตัวคงที่ เมื่อมีการดูดน้ำออกที่ 1.50 เมตร และหากจะมีการทรุดตัวอีก ก็จะทรุดลงเพียงปีละ 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น
ขณะเดียวกัน จากการตรวจสอบเบื้องต้น คณะทำงานศึกษาปัญหาโครงสร้างอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีนายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ กรรมการ ทอท.ในฐานะเป็นประธานคณะทำงาน ได้ข้อสรุปว่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทุจริต หรือปรับลดสเปกวัสดุที่ใช้ก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมา แต่ถือเป็นกรณีศึกษาของงานทางด้านวิศวกรรม ที่อาจมีสาเหตุมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุรวมกันจาก 3 ปัจจัยที่ประกอบด้วย
1. การออกแบบและเลือกใช้วัสดุก่อสร้างในขั้นต้นมีปัญหา
2. การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบ
และ 3. ปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาซึ่งอาจมีผลต่อโครงสร้างผิวแท็กซี่เวย์
ซึ่งนอกจากการซ่อมแซมแท็กซี่เวย์ในจุดที่มีปัญหาแล้ว ทอท.ยังได้ว่าจ้างนักวิชาการ วิศวกร ที่มีความชำนาญทางด้านน้ำใต้ดินโดยเฉพาะจากสถาบันเอไอที (AIT) ในฐานะหน่วยงานกลาง ทำการศึกษาในภาพรวม เพื่อหาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากสภาพดินในสุวรรณภูมิ นอกจากการเร่งซ่อมแซม
แล้ว

ถาม ทำไมต้องกลับไปใช้ “ดอนเมือง”
ขณะนี้กำลังมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง เพื่อให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ จากปัจจุบันที่ดอนเมืองให้บริการเฉพาะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลท์)
อย่างไรก็ตาม ผลสรุปจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แต่หากจะย้ายไปสนามบินดอนเมือง ก็ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะรองรับเที่ยวบินประเภทใดในหรือต่างประเทศ
ปัจจุบันก็มีหลายๆประเทศที่มีสนามบินให้บริการมากกว่า 2 สนามบิน เช่นที่อังกฤษ ก็มีสนามบินที่ให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศถึง 4 แห่ง แต่หากจะย้ายเพื่อหนีปัญหาเรื่องความแออัดของสุวรรณภูมินั้น ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นเกินไป ปริมาณผู้ใช้สนามบินยังต่ำกว่าจำนวนที่รองรับได้ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การปิดซ่อมแซมแท็กซี่เวย์ ซึ่งร้าวล่อนอยู่ในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานของสุวรรณภูมิได้ ทุกวันนี้ ทอท.มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสนามบินดอนเมืองเดือนละประมาณ 100 ล้านบาท แต่มีรายได้จากการให้บริการชาร์เตอร์ไฟลท์เพียงเดือนละ 400,000-500,000 บาท จึงอาจมีความจำเป็นที่ดอนเมืองต้องเร่งหาทางเพิ่มรายได้ขึ้นมา
“เราอาจต้องพยายามแก้ไขในสิ่งที่คนไทยไม่พึงพอใจ แต่ก็ยังยินดีที่ได้รับคำชมจากผู้โดยสารต่างชาติเป็นจำนวนมาก ข้อผิดพลาดบางประการ ผู้โดยสารต่างชาติยอมรับได้ ส่วนที่ดีเขาก็ชมเชย อย่างเช่นระบบไอทีจัดการข้อมูลของสนามบิน (Airport Information Management-AIM)”
“ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรกับกระแสสังคมที่ตำหนิสนามบินสุวรรณภูมิ คำตอบคือทุกคนเหนื่อย ทำงานหนัก แถมยังถูกตรวจสอบจากรัฐบาล ก็คิดแค่ว่าชีวิตทำงานให้ ประเทศเต็มที่แล้ว เป็นความรับผิดชอบที่ต้องยอมรับ เมื่อมีปัญหาก็ต้องแก้กันไป”.

ทีมเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ

---------------------------------------------------------


ทอท.เชื่ออุปสรรคลดลง เปิดมา 1วันเต็ม ยังไปได้ดี [29 ก.ย. 49 - 08:43]

วันนี้ (29 ก.ย.) นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความโกลาหลที่สนามบินสุวรรณภูมิวานนี้ (28 ก.ย.) ว่า แอร์ไลน์ต้องดูแลลูกค้า ตนในฐานะเจ้าบ้านดูแลสถานที่ความสงบเรียบร้อย ส่วนเรื่องการขนกระเป๋า และลำเลียงเข้าระบบ เราให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รับสัมปทานไปทำ ใครจะจ้างการบินไทยเราก็อนุญาต ลองดูว่า สายการบินที่ไม่ได้จ้างการบินไทยทำ มีสายการบินไหนมีปัญหาบ้าง หากไม่ได้จ้างการบินไทย ก็ทำเอง หรือจ้างบริษัท ไทยแอร์พอร์ต กราวนด์ เซอร์วิส หรือ แทกส์ ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการกระเป๋าที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ทำ “หากสายพานของผมล้มเหลว ทำไม 800 กว่าเที่ยวบิน จึงมีปัญหาแค่นี้ ทั้งหมดที่การบินไทยทำมีปัญหาหมด การที่เครื่องไม้เครื่องมือมาไม่ทันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังพอถู ๆ ไถ ๆ ช่วยกันไปได้ แต่การบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ตรงนั้น ลองคิดดูขนาดให้ท่านสมใจนึก เองตระกูล ผู้ใหญ่ขนาดนั้นลงไป
บัญชาการ คนที่ทำหน้าที่ไปไหนหมด”กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทอท. กล่าว และว่า เครื่องไม้เครื่องมือมาช้ามาก ไม่ได้มาถึงตอนที่ควรจะมา ซึ่งต้องมาถึงตั้งแต่ 03.00 น.วานนี้ (28 ก.ย.) แล้ว แต่มาถึง 15.00-16.00 น. นายโชติศักดิ์ กล่าวด้วยว่า วันนี้หวังว่า จะไม่มีอะไร เพราะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน เปลี่ยนคนลงมาดูแลใหม่ ส่วนเรื่องกระเป๋าทางการบินไทยก็ดำเนินการแล้ว เรื่องน้ำรั่ว ป้ายบอกทาง ก็จะมีการแก้ไข ไม่ใช่ประเด็นใหญ่เสียจนสนามบินเปิดดำเนินการไม่ได้ เรื่องยุ่งๆ ก็ลดลงมากแล้ว ภาพรวมสรุปสนามบินสุวรรณภูมิเปิดมาครบ 1 วันเต็ม ก็ยังไปได้ด้วยดี

---------------------------------------------------------


ดีดีการบินไทยยืดอกรับปัญหาวุ่น ๆ เกิดจากคนไม่ใช่ระบบ [29 ก.ย. 49 - 07:46]

วันนี้ (29 ก.ย.) ร.ท.อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวย การใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่การให้บริการรับกระเป๋าผู้โดยสารมีความล่าช้าอย่างมากเมื่อวานนี้ (28 ก.ย.) ว่า ในเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับระบบสายพานลำเลียง กระเป๋า หรืออุปกรณ์การขนกระเป๋าของการบินไทยมีไม่ครบ
การบินไทยยืนยันว่า อุปกรณ์ขนกระเป๋าของการบินไทยที่รับผิดชอบในส่วนของลานจอด และนำเข้ามาที่ระบบสายพานลำเลียงมีครบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ อุปกรณ์ทุกชิ้นพร้อมทำงาน แต่เกิดจากข้อผิดพลาดภายในของบริษัท ซึ่งนายวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย รับทราบเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้ว “ไม่ได้เกี่ยวกับความบกพร่องของสายพานของการท่าอากาศยาน ทางกระเป๋าเข้าไม่มีปัญหา เป็นปัญหาภายในของบริษัท ท่านประธานจะดำเนินการสอบสวนในรายละเอียดต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบสูงสุดเกี่ยวกับการขนย้ายกระเป๋าถูกย้ายไปแล้ว และแต่งตั้งผู้บริหารมารับผิดชอบแล้วยอมรับเป็นปัญหาของคนของบริษัทการบินไทยเอง มีการรายงานไม่ชัดเจน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น” ร.ท.อภินันทน์ กล่าว และว่า วันนี้จะไม่มีปัญหาเพราะได้ดำเนินการเรียบร้อยตั้งแต่ตอนหัวค่ำเมื่อวานนี้แล้ว
ส่วนกระเป๋าผู้โดยสารขาออกที่ตกค้างอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวนมากนั้น กรรมการผู้อำนวย การบินไทย กล่าวว่า จะต้องสอบสวนถึงขั้นตอนและรายละเอียดว่า เกิดจากคนของการบินไทยหรือเกิดจากระบบอื่น ซึ่งกระเป๋าจะจัดส่งให้เรียบร้อย “ความล่าช้าที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าเมื่อวานนี้ มีเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์พบความล่าช้า ซึ่งต้องขออภัยผู้โดยสารทุกท่านที่เกิดความเดือดร้อนขึ้น” กรรมการผู้อำนวยการ
ใหญ่ การบินไทย กล่าว

---------------------------------------------------------


แฉต่างชาติป้ายสี 'สุวรรณภูมิ' ประโคมข่าวร้ายทำลายศูนย์กลางการบินเอเชีย

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังตรวจความพร้อมอาคารหอบังคับการบิน สนามบินสุวรรณภูมิ หรือเอทีซี คอมเพล็กซ์ โดยยืนยันว่า บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) มีความพร้อมมากกว่า 100% ในการให้บริการจราจรทางอากาศและบริการที่เกี่ยวเนื่องในสนามบินสุวรรณภูมิและให้บริการกับสายการบินในประเทศกว่า 21 เที่ยวบินที่จะมาใช้บริการในวันที่ 29 ก.ค.ไปจนถึงวันที่ 28 ก.ย.นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิจะต้องเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ได้แน่นอน แม้ขณะนี้ได้เกิดข่าวเชิงลบขึ้นมากมายโดยเฉพาะการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ ที่ระบุว่า สนามบินสุวรรณภูมิยังไม่มีความพร้อมเปิดให้บริการ และยังมีเวลาทดสอบสนามบินน้อยเกินไปเพียง 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งตนยืนยันว่า ที่ผ่านมาได้มีการทดสอบระบบการทำงานต่างๆ ของสนามบินสุวรรณภูมิอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 29 ก.ย. 48 จนถึงขณะนี้ รวมเป็นเวลาถึง 10 เดือน ซึ่งจากการติดตามความคืบหน้าล่าสุด การทำงานของระบบต่างๆ ทั้งระบบเช็กอินและออกตั๋วโดยสาร, ระบบสายพานลำเลียง, ระบบวิทยุสื่อสาร, ระบบนำร่องอากาศยานมีความพร้อม 100%
นายพงษ์ศักดิ์ยังกล่าวว่า ข่าวเชิงลบถึงความล่าช้าของการก่อสร้างสนามบินที่มีมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้ข่าวของสำนักข่าวต่างชาตินั้น มุ่งหวังประโยชน์เพื่อการแข่งขัน โดยไม่ต้องการให้สนามบินสุวรรณภูมิเปิดได้ตามกำหนด เนื่องจากศักยภาพของสุวรรณภูมิเมื่อเทียบกับสนามบินคู่แข่งนั้น พบว่า สุวรรณภูมิมีความพร้อมทั้งด้านภูมิศาสตร์และศักยภาพการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ทำให้ บางประเทศไม่ต้องการเห็นการเปิดใช้บริการเชิงพาณิชย์ของสุวรรณภูมิ และเป็นสาเหตุที่ทำให้มีข่าวเชิงลบ และต้องเปิดให้บริการล่าช้า ทำให้โครงการนี้ต้องใช้ระยะเวลาพัฒนานานถึง 40 ปี“หากสนามบินสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการไม่ทันกำหนด ผลเสียจะเกิดขึ้นกับประเทศทั้งด้านการแข่งขันธุรกิจการบินและการลงทุน ที่ผ่านมาไทยได้ลงทุนมากกว่า 140,000 ล้านบาท เพื่อให้สุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ดังนั้นจึงอยากขอร้องให้สื่อมวลชนไทย เผยแพร่ข่าวสารที่ดีของสนามบิน เพื่อสร้างความมั่นใจในความพร้อมที่จะเปิดให้บริการ รวมทั้งเชิญชวนคนไทยร่วมกับภาครัฐ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพผลักดันให้สุวรรณภูมิเปิดให้บริการได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด”
นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความพร้อมรองรับการทดสอบบินในวันที่ 29 ก.ค.นี้ แล้ว ส่วนจะสร้างความพอใจแค่ไหน ทอท.จะไม่เป็นผู้ให้คำตอบ แต่จะให้สายการบินที่ทำการบินทดสอบเป็นผู้บอกเองว่า ว่ามีความพร้อมจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์หรือไม่ โดย ทอท.มีแผนที่จะเชิญสายการบินต่างประเทศ ได้บินทดสอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย “ยอมรับว่า ช่วงแรกของการเปิดให้บริการอาจมีปัญหาขลุกขลักในการอำนวยความสะดวกบ้าง แต่สิ่งสำคัญที่ ทอท.ให้ความใส่ใจมากที่สุดคือเรื่องความปลอดภัย ซึ่งยืนยันว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความพร้อมเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ และ ทอท.ได้หารือกับสายการบินต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงข้อเท็จจริง จึงเชื่อว่า การเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 28 ก.ย.นี้จะมีความพร้อมและสร้างความพอใจกับผู้ใช้บริการได้ระดับหนึ่ง”
ขณะที่การสัมมนาเรื่อง “แผ่นดินทอง สุวรรณภูมิมหานคร” ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจนั้น นายสาโรช คัชมาตย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สุวรรณภูมิมหานคร ให้อำนาจการบริหารของผู้ว่าการสุวรรณภูมิมหานคร ดึงอำนาจจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นมาบริหารจัดการได้เอง โดยอำนาจจะอยู่ภายใต้คณะกรรมการบริหารที่มีนายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนเป็นประธาน และระยะแรกของการก่อตั้งสุวรรณภูมิมหานคร จะเป็นนิติบุคคลที่มีฐานะเป็นจังหวัด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายซึ่งจะมีความคล่องตัว คาดว่าจะดึงผู้ประกอบการที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง, ผู้ประกอบการด้านการขนส่ง และพาณิชยกรรม เข้ามาลงทุน เนื่องจากจะมีการให้ใบอนุญาต แบบ one stop service และหลัง พ.ร.บ.ผ่านสภาและมีผลบังคับใช้ คณะผู้บริหารจะมีอำนาจกำหนดสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่รวมทั้งการจัดเก็บภาษี และการอนุมัติสัมปทานระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า, ประปา หรือระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะทำให้พื้นที่นี้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ หรือการย้ายฐานการผลิตเข้ามา

----------------------------------------------------

วาระแห่งชาติ ของรัฐบาลทักษิณ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่น ๆ ของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ “(การก่อสร้าง) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ” ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ได้กำหนดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

------------------------------------------------
ภาพประวัติศาสตร์ที่ พ.ต.ท.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะเดินลงจากเครื่องแอร์บัส 340-600 เข้าสู่อาคารภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ถือได้ว่า เป็นภาพประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เนื่องจากความล่าช้าอันเป็นตำนานของการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ หรือรู้จักกันติดปากว่าหนองงูเห่านั้นดูเหมือนว่า กำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว จากปากคำของท่านนายกเอง ว่าเปิดบริการได้แน่ในเดือนมิถุนายนปีหน้า หากใครที่ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวมาตลอด คงจะทราบว่าระยะเวลานับแต่วันแรกที่มีการดำริริเริ่มโครงการ มาจนถึงปัจจุบันกินเวลา 45 ปีเข้าไปแล้ว

ประวัติความเป็นมาย่อๆคือ
-2502 ได้มีการคิดริเริ่มว่าประเทศไทยควรมีสนามบินแห่งใหม่ ที่รองรับผู้โดยสาร ได้มากกว่าเดิม
-2503 มีการว่าจ้าง บริษัทลิชฟีลด์ ประเทศอังกฤษให้ศึกษาความจำเป็นที่ไทยต้องมี สนามบินใหม่
-2504 รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยกระทรวงคมนาคมตัดสินใจเลือกพื้นที่ บริเวณที่เรียกกันว่า"หนองงูเห่า" ที่อยู่ในเขตพื้นที่ ต.บางโฉ ลง-ต.ราชาเทวะ-ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการเป็นที่ที่จะสร้างสนามบินใหม่
-2506-2516 ระยะช่วง 10 ปีนี้ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่ โดยได้มาทั้งหมด19,543 ไร่
-2521 รัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างให้บริษัทแทมส์ ทำการศึกษาอีกครั้ง
-2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ตกลงให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยรับผิดชอบการดำเนินการ
-2535 การท่าอากาศยานจ้างบริษัทวิศวกรรมที่ปรึกษา จีอีซี เป็นผู้วางแผนแม่บทเบื้องต้น เป็นเงิน 914 ล้านบาท
-2535 รัฐบาลอานันท์ 2 เพิ่มงบประมาณอีก 80 ล้านบาท และให้สภาพัฒ์จัดทำแผนรองรับท่าอากาศยาน
-2538-39 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย จัดตั้งบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยบริษัทมีทุนจดทะเบียน 10,000 ล้านบาท การท่าอากาศยานถือหุ้นในบริษัท 51.39 เปอร์เซนต์ส่วนที่เหลือกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือ
-2540 รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ปรับลดขนาดการรองรับผู้โดยสาร จาก 30 ล้านคน/ปี เหลือ 20 ล้านคน/ปี ตัดงบประมาณเหลือ 68,832 ล้านบาท เนื่องจากประเทศ ประสบภาวะปัญหาเศรษฐกิจ
-2540 รัฐบาลชวน 2 ได้ประกาศในการแถลงนโยบาย ว่าให้มีการเพิ่มวงเงินเป็น 120,000-140,000 ล้านบาท และให้สนามบินรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี เช่นเดิม
-2542 มีการเปลี่ยนบริษัทที่ปรึกษาใหม่จาก จีอีซี มาเป็น พีเอ็มซี
-2543 เริ่มกระบวนการยื่นซองประกวดราคา แต่รัฐบาลชวนหมดวาระไปก่อน โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้มีการจัดประมูลการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ในราคา 54,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง แต่ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง รัฐบาลได้ยุบสภาเสียก่อน
- 2544 เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่และพรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมากเบ็ดเสร็จในสภา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 9 พ.ย. 2544 ได้ให้มีการประมูลการก่อสร้างใหม่ และสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้กว่า 20,000 ล้านบาท โดยใช้วิธีการลดคุณสมบัติ (specification) ของวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่ง จากนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดเป็นวัสดุที่ผลิตในประเทศเป็นส่วนใหญ่และสามารถเพิ่มการรองรับผู้โดยสารเป็น 45 ล้านคน/ปี ได้ด้วย
-2548 ทดสอบลงจอด โดยเครื่องการบินไทย ที่พาพ.ต.ท. ทักษิน ชินวัตร และคณะรวมทั้งสื่อมวลชน เข้าทดลองระบบต่างๆในสนามบินเป็นครั้งแรก
-2549 เปิดสนามบิน 28 ก.ย.49

---------------------------------------------------------


ความเป็นที่สุดของสนามบินสุวรรณภูมิ

- สนามบินที่ใช้เวลาการก่อสร้างนานที่สุดในโลก
- สนามบินที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุดแห่งใหม่ในโลกด้วย
- ตัวอาคารผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่ประมาณ 563,000 ตารางเมตร
- ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก
- หอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร
- โรงซ่อมเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับเครื่องบินขนาดยักษ์แอร์บัส 380 ได้พร้อมกัน 3 ลำ เป็นอาคารสูง 35 เมตร กว้าง 90 เมตร ยาว 270 เมตร โดยไม่มีเสากีดขวาง มีขนาดพื้นที่จอดเครื่องบินรวม 27,000 เมตร โครงหลังคาใช้วัสดุเหล็กที่มีลักษณะเป็นซูเปอร์สตรักเจอร์ ที่ใช้คานเหล็กมีน้ำหนักรวม 10,000 ตัน ใช้เงินลงทุนก่อสร้างกว่า 1,200 ล้านบาท
- มีโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ที่มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง ซึ่งบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก

---------------------------------------------------------

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ ที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ได้แก่

- ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของ
อากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน หลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) ในจำนวนนี้มีการเตรียมหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด

- อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตารางเมตร อยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขาเข้า 124 จุด / ขาออก 72 จุด. โดยมีระบบรักษาความ
ปลอดภัยแบบ 100% Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอยู่ใต้อาคารอีกด้วย

- อาคารจอดรถ
อาคารจอดรถมี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่นๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน

- ระบบสาธารณูปโภค
ระบบป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่ท่าอากาศยาน และมีอ่างเก็บน้ำภายใน 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปาสำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วัน สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 115 กิโลโวลท์ ให้เหลือ 24 กิโลโวลท์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ระบบจัดเก็บกากของเสีย สามารถกำจัดกากของเสียได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน

- ระบบบริการคลังสินค้า
คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี

- ระบบโภชนาการ
ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 100,000 ชุดต่อวัน

- โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน
โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้

- ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ
ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2 เมตร) พร้อมระบบวิทยุสื่อสาร ระบบติดตามอากาศยาน และระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย

- โรงแรมและบริการ
โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ

-----------------------------------------------------------
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาของสนามบินสุวรรณภูมิทั้งหมด

SUVARNABHUMI FAQs
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 1 ฟันธง! "สุวรรณภูมิ" โปร่งใส...
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 2 บทพิสูจน์ ‘เหล็ก’ สุวรรณภูมิ ‘มาตรฐาน’ ชัวร์-ไม่มั่วนิ่ม!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 3 เจาะ‘จุดเด่นสุวรรณภูมิ’ ‘หลังคาผ้าใบ’ ไร้ปัญหา!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 4 "คาร์ปาร์ค" สุวรรณภูมิ! เพียงพอ "ปลอดซิกแซก"
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 5 สุวรรณภูมิกับ ‘ผู้รับเหมา’ ‘ผ่อนปรน’ เพื่อคุณภาพ!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 6 สุวรรณภูมิ ‘รันเวย์ร้าว’ ‘เรื่องจริง’ ที่ต้องชี้แจง!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 7 ‘ไฟฟ้า-แอร์’ เครื่องบิน! อีกข้อกังขา ‘สุวรรณภูมิ’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 8 บริหาร ‘ฟรีโซน’ สุวรรณภูมิ ทำไม? ต้องเลือก ‘แท็กส์’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 9 ‘รถเข็นกระเป๋า' สุวรรณภูมิ ‘แก้เกณฑ์-เร่ง' เพื่ออะไร?
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 10 ‘พิสูจน์’ ระบบปรับอากาศสุวรรณภูมิ ‘แอร์ไม่เย็น?’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 11 'เทอร์มินอล 'สุวรรณภูมิ ทำไม? 'พื้นร้าว-ท่อแตก'
สุวรรณภูมิ ตอนที่12 ‘ค่าธรรมเนียม ’เครื่องบิน สุวรรณภูมิเก็บ ‘ถูก-แพง?’
สุวรรณภูมิ ตอนที่13 ‘หอฯ การบิน ’สุวรรณภูมิ เสี่ยง-ไม่เสี่ยง ‘เอียง-ถล่ม’
สุวรรณภูมิ ตอนที่14 ตรวจโปร่งใส ‘จ้างเอกชน' ‘งานเช็คอิน' สุวรรณภูมิ!
สุวรรณภูมิ ตอนที่15 ผ่าระบบลำเลียง ‘กระเป๋า’ ‘สุวรรณภูมิ’ ชัวร์แค่ไหน?
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 16 ‘ตรวจระเบิด’ สุวรรณภูมิ ทำไมต้องใช้ ‘CTX 9000’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 17 สุวรรณภูมิ‘เข้มเต็มร้อย’ ‘ปลอดภัย’เกณฑ์ ICAO
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 18 ‘พื้นที่พาณิชย์’ สุวรรณภูมิ กับข้อกังขา ‘ล็อคสเปค’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 19 ผ่าระบบ ‘ไอที’สุวรรณภูมิ ‘AIMS’ มาตรฐานโลก!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 20 เปิดแผนปฏิบัติการ ‘ไล่นก’ ‘สุวรรณภูมิ’ ทำอย่างไร?
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 21 ‘กล้องวงจรปิด ’สุวรรณภูมิ ทำไม? ต้อง ‘IP CCTV’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 22 ‘กำจัดขยะ’ สุวรรณภูมิ ใช้บริษัทใหญ่ ‘ไร้ปัญหา’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 23 เปิดระบบ‘ประปา-น้ำเสีย’ ‘สุวรรณภูมิ’ พร้อมเต็มสูบ!
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 24 ‘ที่สุด’ สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่ออะไร-ไฉนต้อง‘เร่งเปิด’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 25 ‘ระบบไฟฟ้า’ สุวรรณภูมิ กับข้อสงสัย‘ท่อร้อยสาย’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 26 สำรวจ ‘ ลานจอดระยะไกล ’ สุวรรณภูมิ‘จ้างถูกต้อง?’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 27 ‘ระบายน้ำ’ สุวรรณภูมิ ฝนตก 7 วันก็ ‘ไร้ปัญหา’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 28 ‘ไฟรันเวย์’ สุวรรณภูมิ 27,000 โคม ‘มั่นใจได้?’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 29 รถลีมูซีน’สุวรรณภูมิ 6 แบบ ‘ปลอดอิทธิพล’
สุวรรณภูมิ ตอนที่ 30 ปัญหา ‘เสียงเครื่องบิน’ ‘สุวรรณภูมิ ’รับผิดชอบ?
http://www2.airportthai.co.th/faq/main_th.htm#

----------------------------------------------------------

ข้อเท็จจริงทางวิศวกรรมของรอยร้าวที่สุวรรณภูมิ
ที่มา พันทิป
23 มกราคม 2550

"คุณหนูเอง" ข้าราชการกระทรวงแห่งหนึ่ง ออกโรงอธิบายอีกครั้งหลังจากคราวที่แล้วได้เปิดโปง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดอย่างแจ่มแจ้งชนิดหาคนค้านไม่ได้ มาครั้งนี้พยายามชี้แจงและยกหลักฐานต่างๆ เชิงวิศวกรรมมากล่าวอธิบายถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับพื้นแท๊กซี่เวย์ (ช่องทางเดินของเครื่องบินเพื่อไปยังรันเวย์) และรันเวย์ (ช่องทางขึ้นลงของเครื่องบิน)

คุณหนูเองได้ทำการยกบทวิเคราะห์ชิ้นแรก ซึ่งมาจากคณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท)มีรายละเอียดดังนี้: -
รายงานคณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท)

คณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้รับการติดต่อให้เข้าสำรวจสถานที่ที่เกิดรอยแตก (cracks)และร่องล้อ (Rutting) ที่ผิวทาง Taxi Way โดยมีข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้

(1) น้ำที่พบในวัสดุชั้น Asphaltic Concrete Base Course และ ผิวบนของ Cement Treated Base เกิดจากน้ำซึมจากด้านล่าง ถ้าการควบคุมระดับน้ำและเกณฑ์การออกแบบโครงสร้างผิวทาง ไม่สอดคลัองกัน ในกรณีนี้ น้ำอาจซึมผ่านชั้น Cement Treated Base ขึ้นมาจนถึงชั้น Asphaltic Concrete Surface ได้

(2) วัสดุ Asphaltic Concrete ถ้าชุ่มน้ำเป็นเวลานาน อาจสูญเสียกำลังได้

(3) ตามเกณฑ์ปฎิบัติทั่วไป ต้องควบคุมระดับน้ำไม่ให้ขึ้นสูงถึงด้านล่างของโครงสร้างผิวทาง (Pavement Structure) คือ ชั้น Cement Treated Base
ในกรณี Taxi Way.

(4) คณะผู้เชี่ยวชาญ แนะนำมาตรการเฉพาะหน้า ดังนี้

ก. ควบคุมระดับน้ำไว้ ตามการออกแบบระบบระบายน้ำในสนามบิน

ข. ตรวจวัดระดับน้ำในพื้นที่ปูลาดพื้นผิว (Paved Area) ด้วยอุปกรณ์ เช่น บ่อสังเกตุระดับน้ำ (Observation Well) หรือ เครื่องวัดแรงดันน้ำ (Piezometer)

ค. ตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักซ้ำซ้อน (Repeated Loading) จากล้อเครื่องบินต่อโครงสร้างผิวทาง ในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน

แนวทางการแก้ไขอย่างถาวร

ต้องควบคุมการใช้งาน (operation) และระดับน้ำอย่างเคร่งครัดตามหลักวิชาการ การเพิ่มของระดับน้ำใต้สนามบิน จะที่ทำให้วัสดุที่ใช้ คือ Asphaltic Concrete สูญเสียกำลังไป เมื่อต้องรับน้ำหนักตามที่ออกแบบไว้ จึงเกิดการแตกร้าว ณ ตำแหน่งต่างๆ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เกิดขึ้นได้เสมอ

"Taxi way crack ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เกิดเพราะช่วงน้ำท่วมใหญ่ เจ้าหน้าที่ บทม. ไม่กล้าปล่อยน้ำออก กลัวชาวบ้านเดือดร้อน น้ำเลยขังเป็นเวลานาน ความดันน้ำรอบนอก ดันน้ำใต้สนามบิน ซึมไปเจอแอสฟัลท์ ทำให้เสียกำลัง เลยแตกร้าว"

"คิดง่ายๆ เหมือนเรากดขันน้ำเปล่าๆ ให้จมลงไปในอ่างน้ำ (ดูรูป) น้ำด้านนอกขันสูงกว่า ก็จะเกิดเป็นแรงดันน้ำที่ก้นขัน ถ้าขันมีรูเล็กๆ ที่ก้น ก็จะเกิดแรงดันน้ำเป็นน้ำพุภายในขัน คิดเหมือน Taxi Way และ Run Way เหมือนพื้นที่ในขัน และน้ำที่สูงรอบๆ คือ ระดับน้ำที่เกิดจากน้ำท่วมในขณะนั้น" "ความจริง Runway ก็อาจจะมีปัญหาเดียวกัน เพียงแต่ โครงสร้างผิวทางของ Runway จะแข็งแกร่งกว่า และดินใต้ Runway ได้รับการอัดแน่นมาก น้ำจึงยังซึมไม่ถึงส่วนที่เป็น Asphalt Concrete Base Course"

ซ่อมง่าย เรื่องทางวิศวกรรมไม่ควรนำเป็นการเมือง

คุณหนูเองได้อธิบายกรณีนี้ว่า "ซ่อมง่ายนิดเดียว ที่เมืองนอก crack ที่ Runway ก็เกิดบ่อย และมีวิธีการซ่อมที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ลองเข้าไป Google สิคะ แล้วใส่ Cracked Runway เข้าไป จะเห็นตัวอย่างมากมายของ runway ที่ crack คะ"(Results 1 - 10 of about 485,000)

"อย่านำ เรื่องทางเทคนิค มาเป็น issue ทางการเมืองเลยคะ คมช. ควรปล่อยให้วิศวกรของสนามบิน จัดการเรื่องนี้ไปคะ"

---------------------------------------------------------

บทความของคุณหนูเอง

ข้อเท็จจริงและความรู้สำหรับประชาชน กรณี ปัญหาพื้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ
ดิฉันได้รับบทความจากผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง ที่มีจุดประสงค์ที่จะให้ข้อเท็จจริง และสาระที่จะเป็นวิทยาทานแก่ประชาชนที่ต้องการทราบความจริงเกี่ยวกับกรณีปัญหาพื้นทางสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมิได้มีจุดประสงค์ที่จะซ้ำเติม หรือ แก้ข้อกล่าวหาให้แก่ผู้ใด

รายงานเบื้องต้น

1. เกิดรอยแตกและการยุบตัวเป็นร่องล้อ (rutting) ที่บริเวณทางขับ(taxiway) และ ทางขับเข้าหลุมจอด (taxilane) เป็นจำนวนหลายจุด โดยเริ่มปรากฏประมาณ 3 อาทิตย์หลังจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ และเกิดเพิ่มอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณทางขับเข้าหลุมจอด ในเบื้องต้น ไม่พบมีรอยแตกลักษณะเดียวกันที่ทางวิ่ง (runway) แต่ภายหลังพบว่า บริเวณหัว runway บริเวณหัวโค้งทางเชื่อมจากทางขับเพื่อบินขึ้น ที่ผิวแอสฟัลท์ เกิดการทนแรงตะกุยของล้อเครื่องบินไม่ไหว ผิวจึงถูกดันเยิ้มไปอีกข้างหนึ่ง

















2. รายการของจุดที่เกิดปัญหา จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2550 ได้ปรากฏในตารางข้างล่างนี้











3. เพื่อความเข้าใจแก่ท่านผู้อ่าน ขอให้ดูภาพ

• แสดงความแตกต่างระหว่าง ทางวิ่ง (Runway) กับ ทางขับ (Taxiway)

















ภาพของทางขับเข้าหลุมจอด (Taxi lane) และ ลานจอด (Apron)
















แผนผังและการเรียกชื่อของท่าอากาศยาน อ้างอิงได้จากรูปข้างล่างนี้


















4. โครงสร้างของพื้นทางประเภททางวิ่ง ทางขับ และ ทางขับสู่หลุมจอด เป็นแบบ Flexible Pavement โดยใช้แอสฟัลท์ 3 ชั้น หนา 33 ซม วางบนฐานซีเมนต์ (Cement Treated Base) หรือ CTB หนา 72 ซม ทั้งหมดนี้ ปูบนดินอัดแน่นโดยการเร่งดึงน้ำใต้ดินออก (consolidation) โดยวิธี PVD (Prefabricate Vertical Drain) โดยมีชั้นทราย Sand Blanket หนาประมาณ 1.5 ม ซึ่งเป็นชั้นที่สามารถระบายน้ำที่อาจไหลตามท่อ PVD ที่ถูกทิ้งค้างไว้ได้ โครงสร้างพื้นทางที่ว่า สามารถดูได้จากรูป














5. วิศวกรของ ทอท. ได้ทำการเจาะทดสอบก้อนตัวอย่าง (coring) เส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ตลอดความหนาของชั้นแอสฟัสท์ 3 ชั้น บริเวณที่มีปัญหาที่ทางขับ พบว่า ก้อนตัวอย่างบริเวณ 2 ชั้นบน ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แต่ชั้นล่างสุด คือ ชั้น base course หนา 230 มม. มีสภาพแตกหลุดร่อนออกจากกัน โดยเฉพาะชั้นล่างสุดพบว่า มีน้ำแทรกอยู่ (ดูภาพแสดง) จากการทดสอบในห้องทดลองของผู้รับเหมา IOT JV เพื่อหาสัดส่วนผสมของ Asphaltic concrete โดยวิธีสารละลายสกัด พบว่า สัดส่วนผสมของยางแอสฟัลท์และสัดส่วนคละ (gradation) ของวัสดุหิน อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

















6. จากการไถเปิดชั้นแอสฟัลท์ออก เพื่อตรวจสอบชั้น CTB พบว่า ผิวหน้าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ไม่มีความเสียหายใดๆ เว้นแต่มีน้ำซึมขึ้นมาตรงรอยตะเข็บ (joint) รอยตะเข็บนี้ เกิดจากการออกแบบเพื่อให้ CTB ขยายตัวได้ โดยการก่อสร้าง CTB ได้ทำเป็นชั้นๆ รวม 4 ชั้นๆละ 180 มม. จึงมีสมมติฐานว่า ถ้ามีน้ำขังอยู่บริเวณทรายชั้น Sand Blanket ชั้นนี้ ก็เปรียบเหมือนเป็นฟองน้ำ เมื่อมีน้ำหนักของล้อเครื่องบินกดด้านบน
ด้วยความดันใต้ล้อประมาณ 14 bar น้ำหนักนี้ถ่ายมาถึงผิวล่างของ CTB จะเหลือประมาณ 1 bar ความดันนี้ ก็น่าจะพอเพียงที่จะส่งให้น้ำซึมไปตามรอยตะเข็บ ไปถึงชั้น base course ทำให้แอสฟัลท์ชั้นนี้ ต้องแข่อยู่ในน้ำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเสื่อมสภาพในลักษณะที่ภาษาช่างเรียกว่า Asphalt Striping ได้ ส่วนบริเวณที่ไม่ได้รับน้ำหนักล้อเครื่องบินมาก ความเสียหายก็อาจจะไม่เกิด















ช่วงก่อสร้างการปูชั้นฐานซีเมนต์ (CTB) หนา 720 มม. ทำโดยปูเป็น 4 ชั้น ชั้นละ 180 มม แต่ละชั้น มีการตัดเป็นรอยต่อ (joints) เป็นระยะห่างช่วงละ 5 เมตรซึ่งรอยต่อนี้ พบว่า มีน้ำใต้ดินซึมขึ้นมาเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัด
















7. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่า ความเสียหายในชั้น asphaltic base course ซึ่งตามข้อเท็จจริง พบว่า มีน้ำแทรกอยู่ในช่องว่างของก้อนตัวอย่าง น้ำนี้จึงน่าจะมาจากน้ำใต้ดิน ที่ซึมผ่านชั้น cement treated base ขึ้นมา ทำให้คุณสมบัติในการรับน้ำหนักของ asphaltic base course เสียไป จนเป็นสาเหตุของความเสียหายที่ปรากฏบนผิวทางขับและทางขับสู่หลุมจอดดังกล่าว


















8. ส่วนความเสียหายที่เกิดบนบริเวณหัวทางวิ่ง เป็นความเสียหายที่เกิดที่ผิวบนของพื้นทางเท่านั้น และเกิดในบริเวณที่เครื่องบินกำลังเลี้ยวเข้าจากลู่ทางขับไปสู่ลู่ทางวิ่ง จึงทำให้เกิดแรงเฉือนที่ผิวหน้าของทางวิ่ง แต่ปัญหาดังกล่าวไม่เป็นสาระต่อความปลอดภัยของการบินขึ้นหรือบินลง และแก้ไขได้ไม่ยาก เข้าใจว่า ได้รับการซ่อมแซมจากผู้รับเหมาไปเรียบร้อยแล้ว















คู่มือควบคุมระบบการระบายน้ำทั้งหมดและรายงานการออกแบบของผู้ออกแบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
ในเอกสารรายงานเบื้องต้นของฝ่ายเจ้าหน้าที่ มีข้อหนึ่งที่น่าสนใจดังนี้
"การแก้ไขปัญหาแบบถาวร จำเป็นต้องมีการควบคุมระดับน้ำในระบบระบายน้ำ drainage system ทั้งหมดในท่าอากาศยาน โดยจำเป็นต้องลดระดับน้ำในร่องระบายน้ำให้มีระดับต่ำกว่าระดับชั้น cement treated base ตลอดเวลา ทั้งนี้ ในคู่มือควบคุมระบบการระบายน้ำทั้งหมดและรายงานการออกแบบของผู้ออกแบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน ได้กำหนดไว้เป็นข้อปฎิบัติอยู่แล้ว"
แปลว่า มีคู่มือกำหนดเรื่องน้ำชัดเจน การปฎิบัติงานช่วงน้ำท่วม คงไม่ได้ทำตามคู่มือเป็นแน่
ข่าวที่ออกไป ทำให้ประเทศไทยเสียหายมาก จากตารางนี้ ความเสียหายจะเกิดมากคือ ทางขับย่อยที่จะไปหลุมจอด taxi lane แต่หนังสือพิมพ์จะเขียนปนกันไปหมด จนคนเข้าใจว่า runway แตกร้าวมากมาย เพราะถ้า runway แตกร้าว จะอันตรายมาก

จากการพูดคุยกับวิศวกรอาวุโสหลายคน ทุกคนสรุปตรงกันว่า ปัจจัย 2 ประการที่ทำให้โครงสร้างพื้นทางของ taxi way และ taxi lane เกิดการเสียกำลังทำให้เป็นร่องล้อ (Rutting) แตกร้าว (Cracks) และเกิดการแตกหลุดของวัสดุออกมาเป็นแผ่น (Spalling/Shattering) คือ

(1) พื้นทางที่น้ำที่ขังเป็นเวลานานในชั้นทรายระบายออกไม่ได้ (Trapped Water)
(2) พื้นทางที่รับน้ำหนักที่ถ่ายจากล้อเครื่องบินมากกว่าบริเวณอื่น

นี่คือข้อเท็จจริงที่ค้นพบ

ในกรณี (1) วิศวกรที่ปรึกษาได้ตรวจสอบพื้นทางทั้งระบบ พบว่า Taxiway ฝั้งตะวันตก มีช่องทางให้น้ำในทรายระบายออก เพราะเป็นบริเวณเปิดสำหรับ Runway ตัวที่ 3 ประกอบกับเครื่องบินที่บรรทุกน้ำหนักน้ำม้นเต็มถังส่วนใหญ่ใช้ Runway ตะวันออกมากกว่า ดังนั้น Taxiway ฝั่งตะวันตกเสียหายน้อยกว่า Taxiway ฝั่งตะวันออก

วิศวกรนิรนามให้เป็นข้อสังเกตุว่า พื้นทางที่ยังไม่พบรอยร้าว ไม่ได้หมายความว่า โครงสร้างแอสฟัสท์ จะยังแข็งแรงอยู่ เพราะถ้ามีน้ำเข้าไปแช่เป็นเวลานานกว่า 1 อาทิตย์ โครงสร้างแอสฟัสท์ส่วนที่เรียกว่า Base Course ก็จะเกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Asphalt Stripping คือ การที่น้ำไปทำให้เกิดการเสื่อมกำลัง รอเวลาแตกร้าวเมื่อมีน้ำหนักกดต่อไป

ในช่วงนี้ รู้สึกว่า กรรมการที่ตั้งเป็นทางการ มัวแต่หาคนถูกคนผิดอยู่ แต่ถ้ารอไปอีกสักอาทิตยสองอาทิตย์ อาจจะไม่ทันการ พื้นทางสนามบินที่โครงสร้างแอสฟัลท์แช่น้ำในหลายๆส่วน อาจจะลามออกไป ทำให้ความเสียหายเกิดมากกว่าที่จำเป็น

วิศวกรนิรนาม จึงขอให้คุณหนูเอง ช่วยเรียนป่าวประกาศให้ผู้เกี่ยวข้อง

(1) รีบสำรวจหาพื้นทางที่ยังมีน้ำขังอยู่ โดยอาจใช้เครื่องตรวจจับความดันน้ำที่เรียกว่า Piezometer เพื่อให้ทราบบริเวณที่น้ำขังอยู่
(2) รีบหาวิธี drain น้ำออกจาก sand blanket โดยด่วน ซึ่งอาจทำเป็นชั่วคราวก่อน แล้วค่อยหาวิธีการทำให้เป็นการถาวรต่อไป

หลังจากนั้น ก็พอจะมีเวลาวิเคราะห์ว่า น้ำมาจากไหน เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปีต่อๆไป แล้วก็จะต้องออกแบบระบบ drain น้ำออกจาก sand blanket ที่ถาวรต่อไป รวมทั้ง ปฎิบัติการควบคุมน้ำเข้าน้ำออกตามคู่มือต่อไป
















ดิฉันเคยสรุปจากการให้ข้อมูลรวม 4 กระทู้ด้วยกัน และถามว่า เหตุการณ์เรื่องนี้ เราจะโทษอะไรได้บ้าง คือ
(1) โทษสิ่งแวดล้อม (เหตุสุดวิสัย)
*** ดิฉันว่า วิศวกรโทษสิ่งแวดล้อมไม่ได้ โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เราคาดคะเนได้ เช่น เรื่องน้ำ เพราะฉะนั้น ดิฉันจะตัดเรื่องเหตุสุดวิสัยออกไปคะ

(2) โทษการออกแบบระบบ ที่ไม่สมบุกสมบัน ทั้งที่รู้ว่า บริเวณนี้ มีจุดอ่อนต่อน้ำ ได้แก่
(2.1) โทษแบบพื้นทาง ที่ไม่ได้ออกแบบ Asphalt Base Course ให้ทนน้ำได้นานๆ (ในทางปฎิบัติ จะทำได้จริงหรือ)
(2.2) โทษแบบสุขาภิบาล ที่ไม่ได้ออกแบบให้มีการระบายน้ำออกจากชั้นทรายใต้ CTB
(2.3) โทษการขาดการบูรณาการ ระหว่างแบบพื้นทางกับแบบระบายน้ำ
(2.4) โทษ Master Plan ที่ไม่กำหนดระดับมาตรฐานให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสูงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ทั้งๆที่รู้ว่า น้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ของกรุงเทพฯ
*** ดิฉันคิดว่า 2.1 - 2.3 น่าจะมีน้ำหนัก ส่วน 2.4 ต้องดูรายละเอียดเรื่องราคา

(3) โทษว้สดุก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ หรือ ใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน
*** ข้อนี้ กรมทางหลวง ได้ทดสอบเบื้องต้นว่า วัสดุทุกอย่าง ไม่ว่า แอสฟัลท์ CTB และ ทรายชั้น sand blanket ได้มาตรฐานทุกประการ (อาจรอการทดสอบเพิ่มอีก)

(4) โทษฝ่ายปฎิบัติการของการท่าอากาศยาน ที่ไม่ปฎิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด ปล่อยให้น้ำภายในสนามบินสูงกว่าที่กำหนด
*** ประเด็นนี้ น่าจะมีน้ำหนักมาก
















รูป primary canal ตอนกำลังก่อสร้าง ไม่ได้ดาดด้วยคอนกรีต ถ้าน้ำขังอยู่นาน ก็อาจมีการซึมผ่านดินที่ไม่ได้ผ่านขบวนการทำดินให้แน่น
















รูป secondary canal คะ ตอนกำลังสร้าง


















ให้สังเกตระดับน้ำใน secondary canal ในช่วงน้ำขึ้นสูงก่อนปลายปีที่แล้ว
















ปกติ คลอง secondary เมื่อรองรับน้ำฝนเกินระดับ -1.10 ม. ก็จะถ่ายออกไปให้ primary canal และถ้า primary canal มีระดับน้ำสูงกว่า -1.40 ม. สถานีปั๊มน้ำก็จะดูดน้ำออกไปปลอยใน Reservoir รอบนอก

เมื่อ คลอง secondary ดังรูปใน คคห 6 สูงระดับประมาณ อีก 40-50 ซม จากขอบคลอง ระดับก็จะอยู่ที่ -0.40 ถึง -0.50 เช่นเดียวกัน คลอง primary ก็คงมีระดับน้ำใกล้เคียง เพราะมิฉะนั้น น้ำในคลอง secondary ก็คงระบายไปให้ primary แล้ว

สรุปว่า ระดับน้ำของคลองจะเป็นไปดังในรูป ถ้าขังอยู่นาน จะเป็นอย่างไร

อีกประการหนึ่ง พื้นที่ในบริเวณใกล้ taxiway และ taxilane มีอยู่ที่ไม่ได้คลุมด้วยพื้นทาง เช่นอย่างที่เห็นเป็นผิวหญ้า ในรูป คคห 6 น้ำฝนก็คงมีปริมาณไม่น้อยทีซึมลงไปกักขังสู่ชั้นทรายได้

ทั้งหมดเป็นแค่ความคิดเห็นนะคะ ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้คะ
















รูปนี้ โดยอภินันทนาการ ของ mcu51 ที่กรุณาชี้คลองทั้งสองประเภทอย่างชัดเจนในรูปเดิมของหนูเอง













-------------------------------------------------------

โพสท์ทูเดย์ ๒๔/๐๑/๕๐
ท่าอากาศยานไทย..แจง..
taxi way แค่ผิวยางมะตอยล่อนเป็นเหมือนเคยเกิดกับสะพานพระรามเก้า ระบุล่อนเฉพาะช่วงรอยต่อ ระหว่าง taxi way กับทางเข้า run way ชี้กลุ่มเสียผลประโยชน์สร้างข่าวให้เสียหาย
ทอท กล่าวว่า ทางวิ่ง taxi way ที่ราว อยู่ที่ โซน จอด เครื่อง บิน ดี และ อี ได้รับการแก้ไขแล้ว
ปัญหา น่าจะเกิดจากน้ำใต้ดินซึมขึ้นมา จากรอยต่อ ซึ่งช่วงก่อสร้าง มีน้ำท่วมขัง มาจากรอยต่อ แล้วรีดน้ำอีกครั้งแล้วทำไม่ดี จึงมีปัญหาและผลจากอากาศของไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ asphal ยางมะตอย ประเภทหนึ่งที่ใช้ราด ช่องรอยต่อ หลุดล่อนออกมา
กรณีนี้...เหมือน กับที่เคย เกิดกับผิว ถนน ของสะพาน พระรามเก้า มาแล้ว
เรื่องดังกล่วแก้ไขได้ taxi way ทางเข้าหลุมจอดไหนใช้ไม่ได้ ก็ให้เครื่องบิน วิ่งอ้อมเล็กน้อย
ก็เข้าไปจอดในหลุม จอด โซน ดี และ อีได้
พวกที่เสียผลประโยชน์ พวกสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายแพง หรือ
พวกสนามบินดอนเมืองที่เคยใหญ่ แต่ตอนนี้ค่าใช้จ่าย มากกว่ารายได้
กลุ่มพวกนี้น่าจะเป็นพวกที่พยายามทำข่าว ให้ใหญ่โตขึ้น
...สำหรับ นาย ตระกูล ชี้แจงว่าไม่ถึงกับต้องปิด จะกำหนด วิธี ซ่อมแซม ว่าจะซ่อมแซมบางส่วนหรือทั้งหมด

---------------------------------------------------------------------

ข่าวหน้า1 International Herald Tribune เรื่องสุวรรณภูมิ
Trouble on tarmac?
Thai official say no
Airport issues "overblown," panel says
Bangkok: Reports of damage to runways and tarmacs at Bangkok's new airport have been significantly overblown, a government
panel of engineers set up to investigate the problems said Friday...
...Everything is normal. So far, we havn't had any reported problems.Take off and landings are normal . We havn't heard any
complaints from the staff. (James Ward: a spokeman for British Airways)...
เจ้าหน้าที่ไทยปฏิเสธปัญหาพื้นยางมะตอย
คณะกรรมเผยปัญหาที่แอร์พอร์ต "พูดกันเกินจริง"
กรุงเทพ: รายงานข่าวความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นยางมะตอยรันเวย์ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่มีการพูดกันเกินจริงไปมาก คณะกรรมการตรวจสอบทางวิศวกรรมที่รัฐบาลตั้งขึ้นเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา...
...ทุกๆอย่างเป็นปกติดี ที่ผ่านมาเราไม่ได้รับรายงานปัญหาใดๆ ทั้งการขึ้นและลงของเครื่องบินเป็นไปอย่างปกติ เราไม่ได้รับรายงานถึงปัญหาใดๆจาดเจ้าหน้าที่ของเรา (เจมส์ วอร์ด โฆษกบริษัทบริติช แอร์เวย์)
ที่มา: นสพ. International Herald Tribune
หน้า 1 วันอาทิตย์ที่ 4 กพ. 2007

---------------------------------------------------------------------

ต่อตระกูล อ้อมแอ้ม ขอโทษที่ทำให้แตกตื่น กรณีสนามบินสุวรรณภูมิ

นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าววันนี้ (20 ก.พ.) ว่า ขณะนี้รู้สึกอึดอัดใจ เพราะมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ตนได้มีการเปลี่ยนจุดยืนเรื่องการปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังเข้าไปตรวจสอบ โดยเห็นว่า ขณะนี้ไม่ต้องการปิดแต่สามารถซ่อมไปใช้ไปได้

“เมื่อเห็นความเสียหายจากแท็กซี่เวย์และรันเวย์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิครั้งแรกตกใจมาก เพราะความเสียหายเห็นชัดเจนและเกรงว่าจะลุกลาม แต่เมื่อเข้าตรวจสอบข้อมูลทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยปราศจากความกดดันใดๆ แล้วพบว่า มีความเสียหายร้ายแรงจริงที่แท็กซี่เวย์ แต่อยู่ในขอบข่ายที่สามารถซ่อมไปใช้ไปได้โดยไม่เสียหายต่อความปลอดภัย” นายต่อตระกูล กล่าว และว่า ข้อมูลทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ย่อมเป็นจริง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้คณะกรรมการตรวจสอบจะมีผลประโยชน์ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะข้อมูลจะฟ้องความจริง และตนเอง รวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบคนอื่น ต่างมีศักดิ์ศรีไม่สามารถพูด
ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงทางวิชาการได้ และถ้าหากถูกโจมตีถูกตั้งข้อสงสัย แม้แต่ในข้อมูลทางวิศวกรรมศาสตร์ก็เกรงว่าต่อไป จะหาคนเป็นกลางทางวิชาการมาทำงานอย่างนี้ยาก

--------------------------------------------------------

Bangkok Post 10/aug/2005

Correction
10/8/05 BP
A press tour of the West Runway of Suvarnabhumi airport yesterday found no cracks in the middle of the runway
as earlier reported by the Bangkok Post. There were small cracks on the shoulders near the touch-down points.
These may have been mistaken by the source for serious cracks on the main runway.
The Bangkok Post apologises for any inconvenience this report may have caused to all parties concerned.

--------------------------------------------------------------------

Bangkok Post 9/aug/2005
US experts insist runways cracked
Thaksin, Chainant say airport problem-free
POST REPORTERS 9/8/05 BP
A team of US aviation experts is insisting that both runways at Suvarnabhumi airport need reconstruction as there are
severe cracks that are large enough to sink the nose wheel of an aircraft, according to an aviation source.
They are also not tiny cracks on runway shoulders that the deputy transport minister showed to reporters,
the source said.
But Deputy Transport Minister Chainant Charoensiri and Prime Minister Thaksin Shinawatra deny there is a problem.
The source said yesterday that the serious cracks were at the ``touchdown'' points of both the western and eastern
runways of the new and now-delayed Suvarnabhumi airport.
The American experts, reportedly brought in by the prime minister to give him an independent assessment,
recommended the complete reconstruction of the two runways because there was a range of possible factors that
could have caused the large cracks.
The source said Mr Thaksin had unofficially invited the team of the US experts to the airport construction site in Samut
Prakan province especially to examine the cracks which were not the small ones on the runway shoulders that Gen
Chainant brought reporters to inspect on Sunday.
The team of experts arrived last Tuesday, examined the runways and have already finished their report.
The experts recommended in their report, which will be submitted to Mr Thaksin soon, complete reconstruction
since repairing them, though possible, would make the airport runways unacceptable internationally. The US experts have
already left Bangkok.
But the prime minister yesterday dismissed the crack report.
Mr Thaksin said they were actually gaps on roads inside the airport, not on any runways. The gaps were prepared
for adjoining blocks of road surface to contract and expand at different temperatures. He likened the gaps to those
filled with asphalt on normal roads.
``I confirm that there is not a problem at all. Everything is fine. Believe me. If there is something, I will tell you.
Don't worry that our nation is that bad or under-developed. There's nothing. Don't worry. Be calm. I will see to it well.
It is about the national reputation,'' he said.
Mr Thaksin said he would also welcome the opposition to examine the airport for transparency over the issue.
Gen Chainant insisted yesterday there were only cracks which occurred due to a technical process on the shoulder of the
western runway.
He said ground improvement was going on next to the western runway to prepare for the construction of taxi-ways
to adjoin the third runway to be built in the future.
In the process, according to him, sand and gravel are dumped to compress soil on the airport site which is on swampy
ground so the original soil will be firm enough for future taxi-way construction. As the compressed soil subsides,
cracks are expected to occur normally and have appeared on the adjacent western runway shoulder.
Gen Chainant confirmed that the cracked runway shoulder would be removed and rebuilt later, and that there were
no cracks on either of the completed runways.
Opposition leader Abhisit Vejjajiva yesterday demanded the government clarify the runway issue. He complained about
inconsistencies in previous accounts by relevant government officials about the reported cracks.
He also said that, based on a remark from an expert whom he had talked to, cracks on the runways should have nothing
to do with any construction technique.
``The government should not evade the question in a hurry as that will affect credibility. It should pause and explain clearly
where the cracks are, whether they are normal and how they will be corrected,'' said the Democrat party leader.
In another development, Gen Chainant revealed yesterday the installation of the airport information management (Aim)
system was a major factor delaying the airport's completion.
--------------------------------------------------------

สนามบินแห่งนี้เกือบจะสร้างไม่เสร็จ
เพราะมีมารผจญตลอดเวลา
โดยเฉพาะช่วงท้ายของรัฐบาลทักษิณ
มีการกลั่นแกล้งทุกรูปแบบ
ทั้งตัดสายไฟในสนามบินที่กำลังสร้าง
ทำให้ต้องเสียเงินเสียเวลาเดินสายใหม่
ตามมาด้วยไฟดับขณะทดสอบการบินและอื่นๆ
เป็นความพยายามทั้งดิสเครดิตทั้งก่อกวนสารพัด
เรื่องรันเวย์ร้าวก็ตีข่าวกันเกินจริง
จนต้องมีการลงขอโทษ
เป็นข่าวเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับตอนโจมตี
การโจมตีว่ารันเวย์ร้าว
ทำให้กระทบกับความเชื่อมั่นอย่างมาก
พอดีคุณหนูเองได้มาอธิบายเพิ่มเติมทางเว็บไซด์
ทำให้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องนี้มากขึ้น

โดย มาหาอะไร