วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11408 มติชนรายวัน
ธปท.รับแทรกแซงค่าเงิน"บาท" หลังแข็งค่าทำสถิติในรอบ8เดือน ปัดข้อเสนอกรอ.แยกสองตลาด
ธปท. รับเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท หลังแข็งค่าขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่จะทำเท่าที่จำเป็น คาดบาทจะไม่แข็งค่ามากเหตุราคาน้ำมันพุ่งดันเงินเหรียญสหรัฐแข็งตาม ไม่รับข้อเสนอ กรอ. แยกอัตราแลกเปลี่ยน 2 ตลาด อุ้มส่งออก ชี้ช่วยได้เล็กน้อย กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าคือปัจจัยหลักฟื้นส่งออก
เมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า ธปท.ได้เข้าแทรกแซงเงินบาท หลังจากค่าเงินบาทเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันแข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่จะทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากยังเชื่อว่าเงินดอลลาร์จะกลับมาแข็งค่าขึ้นจากราคาน้ำมันที่ขยับ ตัวสูงขึ้น และปัญหาการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออาจทำให้เกิดความต้องการเงินสกุล ดอลลาร์เพิ่มมากขึ้น
นางสุชาดากล่าวว่า ธปท.จะไม่เข้าดูแลค่าเงินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจส่งออกเท่านั้น คงต้องดูแลทุกภาคส่วนให้สมดุล ดังนั้น ผู้ส่งออก-นำเข้าต้องปรับตัว และไม่ควรชะล่าใจว่า ธปท.ดูแลอยู่ ต้องป้องกันความเสี่ยงด้วยตนเอง โดยปัจจุบันอัตราการป้องกันความเสี่ยงทั้งภาคส่งออกและนำเข้าลดลงจาก 50% เป็น 25% และจาก 40% เป็น 20-25% ตามลำดับ ส่วนที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เสนอให้แยกระบบค่าเงินบาทเป็น 2 ตลาด คือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทสำหรับผู้ส่งออก และตลาดสำหรับตลาดทุน เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถทำตลาดแข่งขันกับต่างประเทศได้นั้น ธปท.ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่หลักสากล และควรให้เป็นไปตามกลไกตลาด
นาง สุชาดากล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มเห็นภาคการผลิตกลับมาสะสมสต๊อคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บัญชีดุลสะพัดเกินดุลลดลง และคาดน่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนในไตรมาส 2 นี้ "หากพิจารณาดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 77.22 ลดต่ำลงจากเดือนเมษายน ที่อยู่ในระดับ 77.32 ถือว่ามีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนมากนัก ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ที่ลดต่ำลง จาก 80.00 อยู่ที่ระดับ 79.00 แสดงให้เห็นถึงความผ่อนคลายความวิตกกังวล สะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นักลงทุนจึงกล้ากระจายความเสี่ยงมายังภูมิภาคอื่น รวมทั้งไทยด้วย หากเงินบาทผันผวนเร็ว ธปท.ก็ต้องรีบเข้าดูแล โดยที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าจากการกระจายการลงทุนในสหรัฐมายังประเทศต่างๆ แต่ไม่แน่ใจว่ามีการเก็งกำไรด้วยหรือไม่" นางสุชาดากล่าว และว่า การที่ผู้ส่งออกจะมีรายได้น้อยลงจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนถูกลงก็เป็นผลดีต่อผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการ ผลิต อีกทั้งปัจจัยการแข่งขันน่าจะมาจากกำลังซื้อของคู่ค้ามากกว่าการแข็งค่าของ เงินบาท
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์รายหนึ่งเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันที่ 3 มิถุนายน เปิดตลาดที่ 34.06-34.13 บาทต่อดอลลาร์ จากวันก่อนหน้าที่เปิดตลาดที่ 34.10-34.12 บาทต่อดอลลาร์ และระหว่างวันค่าเงินบาทปรับตัวตามกระแสตลาดที่มองว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ฟื้นตัว จึงมีการโยกเงินลงทุนจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐไปยังตลาดอื่น ส่งผลให้เงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น เช่นเดียวกับค่าเงินบาท โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าไปถึงระดับ 33.98 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าลงในช่วงบ่ายปิดตลาดที่ระดับ 34.01-34.09 บาทต่อดอลลาร์
หน้า 17
-----------------------------------------
กราฟเปรียบเทียบค่าเงินบาท กับค่าเงินสกุลต่างๆ ของประเทศคู่แข่งทางการค้า
http://www.forex-rates.biz/forex-rates-compared.htm
( ถ้าเส้นกราฟเพิ่ม ค่าเงินสกุลที่เปรียบเทียบกับค่าเงินบาท (THB) อ่อนค่าลง
ถ้าเส้นกราฟลดลง ค่าเงินสกุลที่เปรียบเทียบกับค่าเงินบาท (THB) แข็งค่าขึ้น )
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินหยวนจีน (CNY)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินวอนเกาหลี (KRW)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินดอลลาห์สิงคโปร์ (SGD)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินริงกิตมาเลเซีย (MYR)
ค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR)
-------------------------------------------
กราฟเปรียบเทียบค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ
กับค่าเงินบาทและค่าเงินสกุลต่างๆ ของประเทศคู่แข่งทางการค้า
http://quotes.ino.com/exchanges/?e=FOREX
( ถ้าเส้นกราฟเพิ่ม ค่าเงินสกุลที่เปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาห์ (USD) อ่อนค่าลง
ถ้าเส้นกราฟลดลง ค่าเงินสกุลที่เปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาห์ (USD) แข็งค่าขึ้น )
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินบาท (THB)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินหยวนจีน (CNY)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินวอนเกาหลี (KRW)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินดอลลาห์สิงคโปร์ (SGD)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินริงกิตมาเลเซีย (MYR)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ คาเงินรูเปียห์ (IDR)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ (PHP)
ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินดอลลาห์ฮ่องกง (HKD)
-------------------------------------------
ถ้าดูจากกราฟค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ (USD)
เปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลต่างๆ
จะพบว่าไปในแนวทางเดียวกัน
คือค่าเงินดอลลาห์สหรัฐอ่อนค่าลง
ค่าเงินสกุลต่างๆ แข็งค่ามากขึ้น
แต่ถ้าดูกราฟค่าเงินบาท (THB) เปรียบเทียบกับ ค่าเงินสกุลต่างๆ
จะเห็นว่า กราฟส่วนใหญ่ ณ จุดสิ้นสุด (ประมาณ 9 มิ.ย.52)
จะอยู่สูงกว่าจุดเริ่มต้น(ประมาณ 10 พ.ค.52) แทบทั้งนั้น
ยกเว้นเงินเยนญี่ปุ่นที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินบาท
นอกนั้นอ่อนลงมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่สกุลเงิน
แสดงว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา
ค่าเงินบาทแข็งกว่าค่าเงินประเทศคู่แข่งจริง
มันน่าจะเป็นสิ่งที่ผิดปกติ
ไม่น่าจะเป็นเรื่องปกตินัก
ที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่นในช่วงนี้
ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
ผมเดาเอาว่า
อาจเป็นเพราะรัฐบาลนี้
กำลังมีโครงการเม็กกะโปรเจ็กส์หรือเปล่า
ต่างชาติเลยอาจขนเงินเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่ม
จนทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
ผลเสียก็จะไปกระทบกับผู้ส่งออก
เรื่องค่าเงินแข็งขายของยากก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ส่งออกไม่ชอบ
แต่ที่ไม่ชอบสุดๆ ก็คือ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
สมมุติคุณขายสินค้าชิ้นหนึ่งในราคา 1 ดอลลาห์
อัตราแลกเปลี่ยนตอนขายเท่ากับ 35 บาทต่อดอลลาห์
แล้วพอส่งของไปได้เงินมา
อัตราแลกเปลี่ยนเหลือ 34 บาทต่อดอลลาห์
ก็เท่ากับบริษัทคุณขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไป 1 บาท
ต่อราคาสินค้า 1 ดอลลาห์ที่ขายไป
แล้วถ้าขายปริมาณเยอะๆ หล่ะ
จะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนมากเท่าไหร่
และถ้ามันแข็งค่าเพิ่มมากกว่า 34 ไป 33 บาทต่อดอลลาห์
ก็ขาดทุนเพิ่มเป็น 2 บาทต่อ 1 ดอลลาห์ที่ขายไป
เรียกว่าทุนหายกำไรหดตามอัตราแลกเปลี่ยน
เรื่องนี้แหละคือเรื่องใหญ่ที่ผู้ส่งออกไม่ชอบ
ในทางกลับกันถ้าเงินบาทอ่อนๆ หรือมีแนวโน้มอ่อนลง
ผู้ส่งออกจะยิ้มแก้มปริ
เพราะจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นทันที
ต้องรอดูสักเดือนถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น
ว่าแข็งค่าเพราะเรื่องอะไร
หรือมีการเก็งกำไรค่าเงินหรือไม่ซึ่งมีหลายวิธี
แต่ที่คิดง่ายๆ เห็นชัดๆ ก็คือ
การนำเงินเข้ามามากๆ พร้อมกัน เยอะๆ
ก็เหมือนเป็นการปั่นค่าเงินให้แข็งค่าขึ้น
แล้วค่อยขายคืนก็ได้กำไรส่วนต่าง เช่น
เอาเงิน 1 ดอลลาห์เข้ามาแลกเงินบาทได้ 35 บาท
เสร็จแล้วพอทยอยเข้ามาพร้อมๆ กันเยอะๆ
ค่าเงินมันจะแข็งค่าขึ้นตามกลไกตลาด
ไปที่ 34 บาท, 33 บาท หรือต่ำกว่านี้ต่อ 1 ดอลลาห์
ก็จะได้กำไรจากการที่ใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินดอลลาห์
หรือเอา 35 บาทไปแลกเงินดอลลาห์ได้มากกว่า 1 ดอลลาห์เป็นต้น
ดังนั้นระวังเรื่องการเก็งกำไรค่าเงินให้ดี
เพราะว่าพวกนี้ไม่รู้จะไปปั่นอะไรในช่วงนี้
ปั่นราคาน้ำมันในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น
ก็จะพากันตายหมู่
ปั่นยากและมันอาจกลับไปกระทบ
ต่อพวกกองทุนการเงินในด้านอื่นๆ
เช่นความไม่แน่นอนของเสถียรภาพสถาบันการเงิน
หรือหนี้เสียที่จะมากขึ้น คนตกงานมากขึ้นเป็นต้น
แต่พวกกองทุนพวกนี้ต้องหาเงินตลอดเวลา
ไม่มีเวลาหยุดรอให้เศรษฐกิจฟื้นถึงมาเก็งกำไรต่อ
ดังนั้นงวดนี้กองทุนการเงินเหล่านี้
อาจหันกลับมาปั่นค่าเงินกันอีกรอบก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
พึ่งไปเห็นข่าวจะเอาทุนสำรองส่วนเกินมาใช้
รู้ได้ยังไงว่าส่วนไหนเกินไม่เกิน
แถมที่สำคัญมันจะเกี่ยวพันกับการปั่นค่าเงินครั้งใหม่นี้ด้วย
คือเขาขนเงินเข้ามาเยอะๆ
ที่จริงทยอยขนมาแล้ว
พอปั่นให้ค่าเงินแข็งก็จะได้กำไรมาก
เขาก็จะเทขายบาทซื้อดอลลาห์
ตอนนี้แหล่ะเงินดอลลาห์ที่ว่ามีเยอะๆ
จะวูบลงอย่างรวดเร็ว
แล้วถ้าเอามาใช้แล้ว
พอตอนที่เขาขายบาทซื้อดอลลาห์เพื่อฟันกำไร
ถ้ามีเงินสำรองไม่พอ
จะเกิดอะไรขึ้น
ก็เหมือนช่วงปี 40 นั่นไง
ต้องคลานไปขอความช่วยเหลือจาก IMF
แล้วต้องเข้าโปรแกรมสุดหิน
กินยาขมจาก IMF อีกเหมือนเดิม
โดย มาหาอะไร
-----------------------------------------
กรณ์เผยธปท.เล็งแก้กม.นำทุนสำรองฯส่วนเกินมาใช้ลงทุน
9 มิย. 2552 12:54 น.
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.เกี่ยวกับการบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับสูงมาก โดยขณะนี้ทราบว่า ธปท.กำลังศึกษาระดับทุนสำรองฯ ที่เหมาะสม พร้อมพิจารณาแนวทางการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สามารถนำทุนสำรองฯ ส่วนเกินไปลงทุนให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีแผนจะนำเงินทุนสำรองฯมาใช้ในแผนการลงทุนตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 เนื่องจากมีแหล่งเงินในประเทศเพียงพอและมีสภาพคล่องรองรับอยู่แล้ว โดย ธปท.จะมีบทบาทในการเข้ามาดูแลสภาพคล่องในระบบและรักษาให้สภาพคล่องมีเพียงพอ เพื่อให้รัฐบาลเข้าถึงแหล่งเงินได้ โดยไม่กระทบกับต่อดอกเบี้ยในตลาดฃ
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=385683
-------------------------------------------------------------
[ เรื่องเด่นประเด็นร้อน @ Hot Issues ]
http://maha-arai.blogspot.com/2009/06/blog-post_9191.html
-------------------------------------------------------------
FfF