บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


14 มิถุนายน 2552

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ราคายางที่สูงขึ้นช่วงทักษิณ >>>

ราคายางพุ่งหลังไทยจับมือกับอินโดนีเซียและมาเลเซีย

เปรียบเทียบยอดนำเข้าทั่วโลก กับ ราคายางที่หาดใหญ่


ปี 43 สมัยรัฐบาลชวน
ยอดนำเข้าทั่วโลก 5,430 พันตัน ราคาที่หาดใหญ่ 23.41 บาท/กก.

ปี 44 สมัยชวน+ทักษิณก่อนการจับมือฮั้ว3ประเทศ ไทย+มาเลย์+อินโด
ยอดนำเข้าทั่วโลก 5,201 พันตัน ราคาที่หาดใหญ่ 22.53 บาท/กก.

ปี 45 สมัยทักษิณเริ่มจับมือฮั้ว3ประเทศ ไทย+มาเลย์+อินโด
ยอดนำเข้าทั่วโลก 5,322 พันตัน ราคาที่หาดใหญ่ 29.15 บาท/กก.

(ยอดนำเข้าจากทั่วโลกหรือความต้องการยางจากทั่วโลก น้อยกว่าปี 43 แต่ ราคาเริ่มสูงขึ้น)

ปี 46 สมัยทักษิณหลังจับมือฮั้ว3ประเทศ ไทย+มาเลย์+อินโด ทักษิณประกาศราคายางต้องไม่ต่ำกว่า 1 เหรียญดอลล่าห์ประมาณ 40 บาท)
ยอดนำเข้าทั่วโลก 5,700 พันตัน ราคาที่หาดใหญ่ 40.17 บาท/กก.

(ยอดนำเข้าจากทั่วโลกหรือความต้องการยางจากทั่วโลก เพิ่มจากปี45เพียงเล็กน้อย
แต่ ราคาสูงขึ้นมากและราคาน้ำมันนปีนั้นก็ยังไม่แพงด้วย)

ตารางแสดง ราคายางที่หาดใหญ่



















ตารางแสดง ยอดนำเข้าจากทั่วโลก



















--------------------------------------------------------------------

ลำดับความวุ่นวายจากราคายางที่ตกต่ำก่อนทำให้สูงขึ้น
ข่าวเหตุการณ์ช่วงก่อนการร่วมมือ 'ไทย-มาเลย์-อินโดฯ'


27/12/2544 'นที'ขวางย้ายผอ.สวนยาง เมินครม.ยันไม่ใช่มติบอร์ด
สะสางลักลอบส่งออก
'นที'ยึกยัก-แม้วสั่งเด้งผอ.สวนยาง
"นที" เมาหมัดมติ ครม.

26/12/2544 แม้ว' สั่งเชือดเด็กเนวินสังเวยม็อบยาง
'ทักษิณ'เด้งผอ.องค์การสวนยาง พบทุจริตอื้อซื้อแพง-ขายถูก-ผู้ซื้อไม่มีใบอนุญาต

25/12/2544 เกษตรกรชาวสวนยางใต้สุดช้ำ มาเลย์ลดนำเข้ายาง
ตั้งผู้ว่าฯดูแล การรับซื้อยาง
วิจัยเกษตร : เครื่องกะเทาะ-แยกเมล็ดยางพารา ผลงานชิ้นเยี่ยมของนักวิจัยมอ.

24/12/2544 ไตรมาสแรกปี45ราคายางจะลดลง
ชาวสวนสะอึก เปิดราคายางฯ ตกรูดถึงปีหน้า

21/12/2544 สมาคมยางจี้รัฐเลิกโครงการแทรกแซง
ม็อบยางสลายแล้ว หลัง"นที" รับข้อเสนอ
ตรังแก้วิกฤติยาง เสนอใช้งบ100ล. ชุบชีวิตเกษตรกร
รัฐรับข้อเสนอ-ม็อบสวนยางสลาย
นทีกล่อมม็อบยางอยู่หมัด ทุ่ม4พันล.เข้าแทรกแซง
นายกอบจ.โดยคุมม๊อบยาง ผวาปิดสนามบิน

20/12/2544 แถลงการณ์ ฉ.3 เพิ่ม 2 ข้อเรียกร้องแก้ปัญหาราคายางตกต่างๆ
กษ.ส่ง นที เจรจาชาวสวนยางวันนี้
ใช้ผลิตภัณฑ์ยางในประเทศราดถนนแทนยางมะตอย
ชาวสวนยางขีดเส้นตายปิดถนน

19/12/2544 ตลาดเกษตรล่วงหน้าผ่านฉลุย
ม็อบสวนยางเตรียมลุกฮือ 20 ธ.ค.ปิดถนนประท้วง

18/12/2544 ม็อบยาง
สวนยาง4จว.ใต้ขู่ปิดถนนบีบรัฐบาลแก้ราคาตกต่ำ
ปี'45ทุ่ม6หมื่นล.อุ้มสินค้าเกษตร

14/12/2544 รัฐบักโกรก "ดัมพ์" ราคายาง
3ปท.อาเซียนผนึกฮั้วตลาดยางโวยไทยแทรกแซงทำราคาตก

13/12/2544 เอกชนแนะยกเลิกแทรกแซง หันใช้ปุ๋ยชีวภาพ-โค่นต้นยาง
3 ปท.ผู้ผลิตยางลงนามลดกำลังผลิต-ส่งออก
ไทยกอดคอมาเลย์-อินโดฯ

12/12/2544 เอกชนพ้อไม้ยางปรับราคาสูงสุดใน5ปี
ผู้ผลิตถุงมือยาง อ้อนรัฐลดภาษี นำเข้าสารเคมี
รัฐสกัดม็อบสวนยาง อัด1.3พันล.แทรกแซง

11/12/2544 ลดพึ่งพาการส่งออกตลาดโลก
เกษตรจี้ก้น6หน่วยงานใช้ยางทำถนน-แก้ปัญหาราคาตกต่ำ
ตลาดเกษตรล่วงหน้าใกล้คลอด

7/12/2544 ไทยนิปปอนส่งถุงยาง"ไนซ์"เปิดตลาดล่าง

3/12/2544 เผา'โรงยางนา'บอนข้ามคืนวอน30ล้าน
'ไทย-มาเลย์-อินโดฯ'ผนึกลดส่งออกยาง
นัดทำข้อตกลงมีผล1ม.ค.ปี'45หวังดึงราคาตลาดโลกกระเตื้อง

--------------------------------------------------------------------

รายละเอียดการประชุมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องยางทั้งระบบ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง "การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย"
ณ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันที่ 2 สิงหาคม 2545
จัดทำโดย
คณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย
คำนำ

การนำต้นยางพารามาปลูกเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อร้อยหนึ่งปีที่ผ่านมาเป็น รากฐานให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลกในปัจจุบัน สร้างอาชีพทำสวนยางให้เกษตรกร 6 ล้านคน แต่รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางยังคงอยู่ในระดับที่พอดำรงชีพอยู่ได้ โอกาสออมเงินมีน้อยรัฐบาลได้แก้ปัญหาราคายางพาราโดยให้รักษาความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานด้วยมาตรการในระดับนโยบาย คือ ทำความตกลงร่วมกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ให้มีการลดผลผลิต ลดการส่งออก และจัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จากมาตรการดังกล่าว เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้นดังเช่นปัจจุบัน จึงควรใช้เวลาในช่วงนี้ปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาใหม่ที่ให้ ความสำคัญและสนับสนุนเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึ่งเป็นรากหญ้าของสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง ในโอกาสที่จะได้มีการพัฒนาระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการพัฒนายางพาราไทยให้มี ประสิทธิภาพสูงสุดและมีความเป็นเอกภาพ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การพัฒนายางพาราไทย จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายจนถึงระดับนโยบาย เพื่อให้การปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันมีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทยครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราทุกฝ่าย เพื่อสืบสานแนวความคิดของคณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย ที่มุ่งปฏิรูประบบงานและสถาบันการจัดการให้อยู่ภายใต้องค์กรเดียวกันเป็นสำคัญ เพื่อให้การบริหารนโยบายเกี่ยวกับยางเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การปรับบทบาทของหน่วยงานของรัฐจากเป็นผู้ควบคุมเป็นผู้ให้การสนับสนุนแทน สร้างโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนดำเนินการทางด้านการผลิต การตลาด ตลอดจนการส่งออกในระบบ สหกรณ์
โดยการสนับสนุนของภาครัฐ นอกจากนั้นยังปฏิรูปงานวิจัยและพัฒนายางในเชิงรุกและให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง รวมทั้งปฏิรูประบบตลาดยางเพื่อให้ราคายางมีเสถียรภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงมีความสำคัญต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการยางพาราทั้งภาคเกษตรกร ภาคธุรกิจ และภาครัฐ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทยประสบความสำเร็จด้วยดี เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวงการยางพาราโดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีเป้าประสงค์ร่วมกัน คือ เกษตรกรอยู่ดีกินดี ราคายางมีเสถียรภาพ และไทยเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก

(นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประธานคณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง " การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย "
ณ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันที่ 2 สิงหาคม 2545

07.00 - 09.00 น. - ลงทะเบียน และรับประทานอาหารว่าง
09.00 - 09.15 น. - นำเสนอวีดิทัศน์เทิดพระเกียรติ "ร้อยดวงใจ สร้างไทยด้วยยาง"
- นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ประธานคณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย กล่าวรายงาน
09.15 - 10.00 น. - นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย" และมอบนโยบาย
10.00 - 12.00 น. - คณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย นำเสนอร่างแนวทางการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย
12.00 - 13.00 น. - รับประทานอาหาร
13.00 - 14.30 น. - ผู้เข้าประชุมอภิปรายร่วมกัน
- สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย

ความเป็นมา

ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมานานนับร้อยปี โดยเฉพาะปี 2544 ที่ผ่านมา ยางพาราสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 162,955 ล้านบาท ประกอบด้วยมูลค่าส่งออกในรูปวัตถุดิบ 58,703 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ยาง 48,495 ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์ ไม้ยางพารา 55,757 ล้านบาท ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางพารารวมทั้งสิ้น 12.3 ล้านไร่ กระจายอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 42 จังหวัด มีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนยางประมาณ 1 ล้านครอบครัว ก่อให้เกิดการจ้างงานปีละหลายล้านคน ช่วยลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง แม้ว่าไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติได้ในสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของยางที่โลกผลิตได้ และส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา แต่เกษตรกรยังขาดความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยางเพราะราคายางยังผันผวนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีปัญหาอื่นๆ ซึ่งเรื้อรังหลายประการจำเป็นต้องแก้ไขเป็นกรณีเร่งด่วนและแก้ปัญหาพร้อมๆกันเพื่อให้สถานะยางไทยมีความมั่นคง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาที่ประสบเสมอมามี 3 ข้อ ได้แก่
- ทำไมเกษตรกรชาวสวนยางยังคงยากจนอยู่
- ทำไมผลิตยางได้มากแต่ได้เงินน้อย
- ทำไมตลาดยางเป็นของผู้ซื้อ

ส่วนสาเหตุของปัญหามี 5 ด้าน คือ
1. การบริหารจัดการ
- หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับยางมีมาก ซ้ำซ้อน สายงานสับสน ขาดการประสานงาน
- โครงสร้างองค์กรไม่ยืดหยุ่น กฎระเบียบไม่ทันสมัย
- ขาดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินงานเฉพาะด้าน
- นโยบายขาดความต่อเนื่อง ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโนบาย

2. ใช้ปัจจัยการผลิตไม่เต็มประสิทธิภาพ
- ใช้แรงงานในครัวเรือนไม่เต็มที่
- ใช้ประโยชน์จากสวนยางไม่เต็มที่ เช่น ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์ ไม่มากนัก และยังไม่เคยใช้ประโยชน์ในเรื่องการท่องเที่ยว
- ผสมปุ๋ยใช้เองน้อย
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนยางน้อย

3. มูลค่าเพิ่มต่ำ
- ผลิตภัณฑ์น้อย ไม่หลากหลาย
- ส่งออกเป็นวัตถุดิบ 90%
- หน่วยงานรัฐไม่ได้สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติอย่างจริงจัง
- การทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยางยังไม่ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์

4. การตลาดไม่ดี - พึ่งตลาดต่างประเทศเป็นหลัก
- ต้องอาศัยกลไกการแทรกแซงตลาดยาง
- ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรไม่ทันเวลา ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง

5. ขาดข้อมูลการวิจัย - ไม่สอดรับกับความต้องการของเกษตรกรและภาคและพัฒนาเชิงรุก อุตสาหกรรม
- นักวิจัยด้านงานวิจัยประยุกต์ไม่พอเพียง

ถึงแม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้การดูแลของรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำได้สำเร็จในปี 2545 จนเป็นที่พอใจของเกษตรกรชาวสวนยางในระดับหนึ่ง แต่เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน สร้างหลักประกันจนเชื่อมั่นได้ว่าปัญหาเก่าๆจะไม่หวนกลับมาอีก จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบยางพาราทั้งหมด ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทยขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการมาจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับวงการยาง ทั้งภาครัฐภาคธุรกิจ และภาคเกษตรกร โดยมีนายสมชาย สุนทรวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ฯ เพื่อให้การแก้ไขปัญหายางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการปฏิรูปยางพาราครอบคลุมทั่วทุกด้าน คณะกรรมการฯชุดนี้ได้กำหนดแนวทางการปฏิรูประบบการพัฒนายางพาราไทย อันประกอบด้วย หนึ่งความฝัน (วิสัยทัศน์) เก้าพันธกิจ ดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์ (VISION) : ทำให้ยางพาราเป็นอุตสาหกรรมหลักของชาติเป็นเสมือนหัวรถจักรลากจูงเศรษฐกิจและสังคมไทย

พันธกิจ (MISSION) : ต้องจัดขบวนทัพ และปรับกระบวนยุทธใหม่
1. ปฏิรูประบบและสถาบันการจัดการยางใหม่ทั้งหมด
2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และทำให้เกษตรกรชาวสวนยางใช้ประโยชน์จากสวนยางอย่างเต็มที่ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม
3. ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มาตรฐานสากลอย่างหลากหลายจากทุกระดับของสังคม
4. ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนายาง
5. ปฏิรูประบบตลาดยางทุกด้าน
6. สร้างฐานข้อมูลยางพาราให้ครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
7. สร้างเมืองยาง (Rubber City) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ยางพารา
8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในทุกด้าน
9. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในทุกด้าน

1 ปฏิรูประบบและสถาบันการจัดการยางใหม่ทั้งหมด
1.1ปฏิรูประบบ
1.1.1 ด้านการจัดการ ให้ปรับระบบการทำงานใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
1.1.1.1 ให้มีการกำหนดเป้าหมายงานที่ชัดเจน มีแผนงาน มีการติดตามการดำเนินงาน มีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ
1.1.1.2 เพิ่มการประสานงานในแนวราบ และลดสายบังคับบัญชาในแนวดิ่ง เพื่อให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ผู้ร่วมงาน
1.1.1.3 จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานอย่างครบถ้วน
1.1.1.4 ลดขั้นตอนในการทำงาน และลดเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน และใช้บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
1.1.1.5 ใช้การวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องมือในการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง
1.1.2 ด้านทรัพยากรมนุษย์
1.1.2.1 สร้างและพัฒนาเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และบุคลากรด้านกิจการยาง ให้มีความรู้และประสบการณ์อย่างเพียงพอ
1.1.2.2 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการในกิจการยาง
1.1.2.3 สร้างแรงจูงใจให้ทรัพยากรมนุษย์ด้านกิจการยางทำงานอยู่ในประเทศ เพื่อศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลก
1.1.3 ด้านการเงิน
1.1.3.1 กำหนดแหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในแต่ละส่วนของธุรกิจ แต่ต้องครอบคลุมทุกส่วนของธุรกิจ
1.1.3.2 กำหนดวิธีการทางงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินที่รัดกุม แต่ไม่สูญเสียความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีกระบวนการในการกลั่นกรองการอนุมัติงบประมาณจากหน่วยงานเดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน มีการติดตาม และตรวจสอบอย่างเป็นระบบจากหลายหน่วยงาน
1.1.3.3 กำหนดระบบการประเมินผลทั้งด้านการจัดเก็บรายได้และการอนุมัติรายจ่ายรวมทั้งประเมินประสิทธิภาพของภารกิจ เมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไป
1.1.4 ด้านเทคโนโลยี ให้มีการพัฒนาจัดหาและเผยแพร่เทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้งด้านต่างๆ
1.1.4.1 เทคโนโลยีพื้นฐานด้านยาง
1.1.4.2 เทคโนโลยีในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
1.1.4.3 เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน
1.1.4.4 เทคโนโลยีในการลดต้นทุนการผลิต
1.1.4.5 เทคโนโลยีในการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้
1.1.4.6 เทคโนโลยีในการจัดการ
1.1.4.7 เทคโนโลยีในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
1.2 ปฏิรูปสถาบันการจัดการยางให้มีการจัดตั้งองค์กรยางขึ้นใหม่องค์กรหนึ่ง ที่ดูแลงานยางพาราทั้งระบบอย่างครบวงจร เป็นผู้รับผิดชอบหลักเป็นองค์กรอิสระ มีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยมีการบริหารงานในสองระดับ ดังนี้:-
1.2.1 สภาการยางแห่งประเทศไทย
1.2.1.1 มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับยางทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นกรรมการ
1.2.1.2 มีหน้าที่ในการวางกรอบนโยบายและทิศทางในการพัฒนายางของประเทศ
1.2.1.3 แต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการบริหารฯ
1.2.1.4 อนุมัติงบประมาณและแผนยุทธศาสตร์
1.2.2 คณะกรรมการบริหาร ฯ
1.2.2.1 เป็นกลุ่มผู้บริหารมืออาชีพจากหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจยาง
1.2.2.2 มีหน้าที่ในการนำนโยบายมากำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติ
1.2.2.3 แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการผู้อำนวยการ (หรือเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น)
1.2.2.4 กรรมการผู้อำนวยการมีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจ และบริหารงานให้พันธกิจบรรลุผล
1.2.2.5 โครงสร้างองค์กรต้องสามารถรองรับพันธกิจต่างๆ ได้ครบถ้วน
1.2.2.6 ให้พิจารณาว่าหน่วยงานเดิมเกี่ยวกับยางจะนำมายุบรวมกันหรือยังคงไว้ หรือเพิ่มตามความเหมาะสม

2. ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และทำให้เกษตรกรชาวสวนยางใช้ประโยชน์จากสวนยางอย่างเต็มที่ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2.1 กำหนดพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางในพื้นที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยจะต้องสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งของไทย และของโลก
2.2 สร้างสวนยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงทั้งโดยการปลูกแทน (replanting) และปลูกใหม่ (newplanting) โดยมีการติดตามผลอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ให้ส่งเสริมการทำสวนยางแบบยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล และมุ่งเน้นการลดต้นทุนการผลิตในระดับสวน
2.3 ปลูกยางพาราและพืชอื่นแบบผสมผสาน เพื่อความหลากหลายทาง ชีวภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
2.4 ปลูกยางเพื่อสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ รวมทั้งทดแทนการปลูกยูคาลิปตัสโดยใช้พันธุ์โตเร็ว เพื่อผลประโยชน์จากเนื้อไม้ และปรับปรุงสภาพแวดล้อม
2.5 พัฒนาสวนยางเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
2.6 ส่งเสริมให้ปลูกยางพารา พืชอื่นๆ และการเลี้ยงสัตว์ตามระบบการเกษตรแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.6 ส่งเสริมการปลูกพืชแซมและเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง

3. ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มาตรฐานสากลอย่างหลากหลายจากทุกระดับของสังคม
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
3.2 รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศไทย และต่างประเทศ ศึกษาและวิเคราะห์เทคโนโลยี และการตลาดของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
3.3 กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเทศ
3.4 พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตภายในประเทศให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบให้มีเพิ่มขึ้น
3.5 จัดให้มีห้องปฏิบัติการทดสอบ (Testing Labs) ที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการรับรองจากนานาชาติ เพื่อการทดสอบและออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางล้อทั้งมวล ถุงมือแพทย์ จุกนม ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในการก่อสร้างฯลฯ
3.6 ส่งเสริมการใช้ไม้ยางพาราแทนไม้ป่า และวัสดุอื่นในทุกผลิตภัณฑ์
3.7 พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา
3.8 ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ผู้ประกอบการ เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนรวมทั้งช่วยเหลือในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
3.9 ให้รัฐมีมาตราการให้หน่วยงานของรัฐใช้ยางผลิตภัณฑ์ยางที่มียางพารา, ไม้ยางพารา เป็นวัตถุดิบหลักและ/หรือส่วนประกอบ

4. ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนายาง
4.1 กำหนดทิศทาง เป้าหมายการวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้งานวิจัย(ชาวสวนยาง ผู้ผลิตยางดิบ ผู้ผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ) รวมทั้งการติดตามประเมินผลและการถ่ายทอดผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้มีการทบทวนและวิเคราะห์ผลงานวิจัยและพัฒนายางขององค์กรต่างๆภายในประเทศที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแผนการวิจัยของชาติในปัจจุบันและอนาคต
4.3 ประสานให้นักวิจัยจากองค์กรต่างๆ เช่นจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ฯลฯ เพื่อวิจัยยางตามหัวข้อต่างๆตามความชำนาญและความต้องการของประเทศ รวมทั้งกำหนดนโยบายและสร้างนักวิจัยให้เพียงพอ ตลอดจนธำรงรักษานักวิจัยไว้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทยให้ก้าวรุดหน้า
4.4 ติดตามประเมินผลและประยุกต์ความรู้ในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับยางพาราจากภูมิปัญญาของเกษตรกรชาวสวนยาง
4.5 ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการวิจัยยางกับนักวิจัยของสถาบันวิจัยยางทั่วโลกตามความจำเป็นและเหมาะสม
4.6 เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ โดยการจัดสัมมนายางพาราภายในประเทศ (national conference) อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการวิจัย
4.7 จัดสัมมนายางนานาชาติ (International Rubber Conference) ทุก 4 ปีเพื่อเผยแพร่งานวิจัย แลกเปลี่ยนผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาการวิจัยของไทยสู่ระดับสากล
4.8 จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัย

5. ปฏิรูประบบตลาดยางทุกด้าน
5.1 ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้ายาง ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราของโลก
5.2 จัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งซื้อขายยางให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
5.3 จัดตั้งองค์กรความร่วมมือด้านยาง 3 ประเทศ ระหว่าง ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง
5.4 จัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ ดำเนินการโดยความร่วมมือจากภาครัฐ ธุรกิจ เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน
5.5 จัดตั้งองค์กรชาวสวนยางทั้งที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคลให้เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันเพื่อความเข้มแข็งขององค์กร และเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า พัฒนาทุนและการตลาด
5.6 จัดตั้งและพัฒนาตลาดเศรษฐกิจยางพารา และตลาดกลางยางพาราให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนายางของประเทศ
5.7 สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่ตลาดเศรษฐกิจยางพารา เพื่อลดขั้นตอนการซื้อขายให้สั้นลง
5.8 ให้รัฐกำหนดนโยบายส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์ ไม้ยางพาราในหน่วยงานของรัฐ
5.9 กำหนดให้ทูตพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ เป็นผู้สนับสนุนการขยายตลาดยางไทยในต่างประเทศร่วมกับผู้ผลิตและส่งออก
5.10 จัดให้มีผู้ชำนาญการยางประจำอยู่ในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ หรือในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ

6. สร้างฐานข้อมูลยางพาราให้ครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
6.1 ข้อมูลของประเทศผู้ใช้ยาง
(1) สภาวะทางเศรษฐกิจ
(2) สภาวะยางสังเคราะห์เกี่ยวกับการผลิต การใช้ ราคายาง และการพัฒนา
(3) การใช้ยางธรรมชาติชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง Stock
(4) การผลิตและจำหน่ายรถยนต์
(5) การวิจัยการตัดต่อ Gene ของยางวายยูเล่ กับ ทานตะวัน ในสหรัฐอเมริกา เพื่อทดแทนยางธรรมชาติ
(6) การวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ยาง
(7) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่าง ๆ
(8) การผลิต การใช้ รวมทั้งการตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
6.2 ข้อมูลของประเทศผู้ผลิตยาง (มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และบราซิล ฯลฯ)
(1) สถานการณ์การผลิต การส่งออก stock ราคายาง และการใช้ยางภายในประเทศ
(2) นโยบายและทิศทางการพัฒนายางพารา
(3) การค้นคว้าวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยี
(4) การผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และการตลาด
(5) สภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสภาวะตลาดที่เกี่ยวข้องกับยางพารา
6.3 ข้อมูลของประเทศไทย
(1) พื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศจำแนกตามอายุและปริมาตรเนื้อไม้
(2) สถานการณ์การปลูกแทน และการปลูกใหม่ทั่วประเทศ
(3) วัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการปลูก เช่น พันธุ์ยาง และ ปุ๋ย ฯลฯ
(4) ทะเบียนผู้ปลูกยางพารา พร้อมรายละเอียด
(5) การผลิต การส่งออก ชนิดของยางผู้ผลิตและส่งออก การใช้ยางภายในประเทศ
(6) กำลังการผลิตของโรงงานยางดิบชนิดต่าง ๆ และการกระจายของโรงงานทั่วประเทศ และการผลิตจริง
(7) Stock ของประเทศ
(8) กำลังการผลิตของชาวสวน และการผลิตจริง
(9) ชนิดและปริมาณการลักลอบขนยางออกนอกประเทศ
(10) ราคายางชนิดต่างๆของประเทศที่ตลาดต่างๆ ผลการวิจัย และการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งปัญหาและคุณภาพของนักวิจัยของไทย
(11) ผู้ผลิต จำหน่าย กำลังการผลิต การใช้ยางธรรมชาติ และการตลาด
(12) ผู้ผลิต และส่งออกยางพาราชนิดต่างๆ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น
(13) ผู้ซื้อยางรายย่อยในระดับต่างๆ
(14) ภาวะการผลิตและการตลาด โรงงานเลื่อยไม้ยาง โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์และโรงงานอื่นๆ ที่ใช้ไม้ยางเป็นวัตถุดิบ

7. สร้างเมืองยาง (RubberCity) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ยางพารา
7.1 การสร้างนิคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
(1) จัดตั้งนิคมผลิตภัณฑ์ยาง (เว้นยางดิบ) ที่นิคมฉลุง จ.สงขลา และอาจจะขยายไปที่ ต.ช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช
(2) สร้างแรงจูงใจให้นักธุรกิจต่างประเทศและในประเทศมาลงทุน
(3) รัฐบาลลงทุนเรื่องการบำบัดน้ำเสีย
(4) จัดหาน้ำจืดให้ใช้อย่างพอเพียง
7.2 การสร้างเมืองยาง (Rubber City) สร้างเมืองต้นแบบที่ใช้ยางธรรมชาติเป็นหลัก ในจังหวัดที่มีความเหมาะสม โดยเมืองนี้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่ ทำจากยาง ธรรมชาติ อาทิ
- ถนนลาดยางมะตอยผสมยางธรรมชาติ
- พื้นอาคารปูด้วยกระเบื้องยาง
- ตกแต่งภายในด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา
- โต๊ะ เก้าอี้ ทำจากไม้ยางพารา
- ใช้เขื่อนยาง
- ใช้ถังขยะที่ทำจากยาง
- ใช้จักรยานทั้งเมือง โดยทำช่องทางให้วิ่งโดยเฉพาะ
- ฯลฯ

8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วม ในทุกด้าน
8.1 ให้ชาวสวนยางมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายระดับชาติ ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป อุตสาหกรรมยาง และการตลาด
8.2 สร้างโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนยางและวิสาหกิจชุมชนมีความสามารถในการผลิต การตลาด ตลอดจนการส่งออกยางดิบและผลิตภัณฑ์ยางผ่านระบบสหกรณ์โดยการสนับสนุนของภาครัฐ
8.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวสวนยางผลิตยางดิบที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจากยางตาย (Vulcanized Rubber) ที่จะปะปนเข้าสู่โรงงานยางดิบ

9. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในทุกด้าน
9.1 ให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายระดับชาติทั้งทางด้านการผลิต การแปรรูป อุตสาหกรรมยาง และการตลาด
9.2 ให้มีการส่งเสริมการผลิตยางดิบเพิ่มขึ้น หรือลดจำนวนโรงงานแปรรูปลง เนื่องจากปัจจุบันโรงงานแปรรูปมีกำลังการผลิตจำนวนมากกว่ายางดิบที่ผลิตได้ในแต่ละปีเกือบ 3 เท่าตัว
9.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม
9.4 ส่งเสริมให้มีการลดต้นทุนการผลิตยางทุกประเภท
9.5 ปรับปรุงสัญญาซื้อขายยางของประเทศไทย รวมทั้งระบบอนุญาโตตุลาการของไทย ให้เป็นที่เชื่อถือของโลก
9.6 ให้มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในการเพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ 20% ของการผลิตยางดิบ
9.7 รัฐต้องสนับสนุนให้มีการใช้ยางธรรมชาติแทนวัสดุอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมนิยามศัพท์ที่ใช้ในกรอบการปฏิรูปการพัฒนายางพาราไทย

1. ยางพารา หมายถึง น้ำยาง ไม้ยาง ผลิตภัณฑ์ยาง และผลพลอยได้อย่างอื่นที่เกิดจากต้นยาง

2. อุตสาหกรรมหลัก หมายถึง การดำเนินกิจกรรมด้านยางพาราของครัวเรือน วิสาหกิจชุมชน อุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง ตลอดจนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อก่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ ซึ่งจะเป็นฐานในการพัฒนาด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

3. หัวรถจักร หมายถึง ยางพาราเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีศักยภาพในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยพลังงาน (การจัดการ คน เงิน และเทคโนโลยี) จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนนั้น โดยปกติแล้วรถจักรจะเคลื่อนที่เป็นขบวน ซึ่งประเทศต้องการหัวรถจักรหลายขบวน เพื่อขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ของชาติที่มีอยู่หลายด้าน

4. ลากจูงเศรษฐกิจและสังคมไทย หมายถึง ยางพาราสามารถทำเป็นสินค้า และบริการที่สามารถลากจูงให้มิติด้านเศรษฐกิจและมิติด้านสังคมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ โดย
4.1 มิติด้านเศรษฐกิจไทย ประกอบไปด้วย
4.1.1 ยางพาราก่อให้เกิดธุรกิจหลากหลายทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ
4.1.2 มูลค่าการส่งออกยางในรูปวัตถุดิบ เช่น ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้นฯ ปีละ 58,703 ล้านบาท
4.1.3 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปีละ 48,495 ล้านบาท
4.1.4 มูลค่าการส่งออกไม้ยางและเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางปีละ 55,757 ล้านบาท
4.1.5 ก่อให้เกิดธุรกิจที่คู่ขนานกับยางพารา เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ย สารเคมีกาว วัสดุประกอบ เครื่องจักร การบรรจุหีบห่อ น้ำ ไฟฟ้า ขนส่ง และอื่นๆ มูลค่า (ไม่รวมนำเข้า)
ปีละ 50,000 ล้านบาท
4.1.6 ก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม 8 ล้านคน มีรายได้ปีละ 50,000 ล้านบาท
4.1.7 ก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม 5 แสนคน มีรายได้ปีละ 20,000 ล้านบาท
4.1.8 ก่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องปีละหลายหมื่นล้านบาท
4.1.9 ก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจส่วนอื่น เช่น เส้นทางคมนาคม ท่าเรือ ท่าอากาศยาน นิคมอุตสาหกรรมและอื่นๆ
4.2 มิติด้านสังคมไทย ประกอบไปด้วย
4.2.1 สวนยางพาราช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจจำนวน 12.3 ล้านไร่
4.2.2 สวนยางพาราช่วยในการรักษาสภาพแวดล้อมของประเทศ และของโลก
4.2.3 สวนยางพาราสามารถอยู่ร่วมกับเศรษฐกิจชนิดอื่นได้ สามารถเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีความหลายหลาก ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หัตถกรรม และอุตสาหกรรมขนาดย่อม การค้าและบริการ
4.2.4 ยางพาราใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยมากในทุกกระบวนการจึงไม่มีความขัดแย้งเศรษฐกิจอื่น
4.2.5 ไม้ยางเป็นเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความรุนแรงในการทำลายไม้จากธรรมชาติ
4.2.6 วิถีตลาดยางแทรกซึมอยู่ทั่วทุกหมู่บ้าน มีระบบการรวบรวมและซื้อขายยางหลายหลากวิธี อำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องภายในชุมชนและระหว่างชุมชน
4.2.7 เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอไม่ต้องรอฤดูเก็บเกี่ยวเปรียบเสมือนมีตู้เอทีเอมอยู่ที่ต้นยาง
4.2.8 ช่วยลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ครอบครัวสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความอบอุ่น
4.2.9 ยางพาราเป็นวิถีชีวิตแบบไทย และส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
4.2.10 ชุมชนยางมีความใกล้ชิดสมานสามัคคี มีการรวมตัวที่เข้มแข็งจะช่วยลดปัญหาที่มีอยู่อย่างมากมายของสังคมรวมทั้งปัญหายาเสพติด
4.2.11 ชุมชนยางสร้างวัฒนธรรมของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมของการท่องเที่ยวของไทย
4.2.12 ชุมชนยางที่มีการรวมตัวในระบบของสหกรณ์จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดสิทธิของชุมชนและกระจายอำนาจของรัฐบาล
4.2.13 ชุมชนยางจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชุมชนอื่นในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

5. ผลิตภัณฑ์ยาง คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักหรือใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบ

http://www.thailandrubber.thaigov.net/news_30.html

--------------------------------------------------------------------

สรุปสาเหตุที่ยางพาราขึ้นในช่วงนั้นส่วนหนึ่งมาจาก...

- การจัดตั้งองค์กรนโยบายยางพาราแห่งประเทศไทย (Thailand Rubber Organization) มีหน้าที่ แก้ปัญหาทุกเรื่อง (holistic) เช่น กลไกราคา ระหว่างประเทศ กลุ่มชาวสวนยางพารา การส่งออก การผลิต การมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ฯลฯ ที่เกี่ยวกับยางพารา โดยรวมนโยบาย ยุทธศาสตร์ ของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ไว้เป็นนโยบายชาติ

มติ คณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง
1) คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๕ เรื่อง การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ยางพารา ระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย โดยมีมติ เห็นชอบ ในหลักการ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ยางพารา ระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย และอนุมัติ ให้ดำเนินการต่อไปได้ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติเสนอ โดยการจัดตั้ง เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างประเทศ ให้มี คณะกรรมการ บริหารร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนจาก ๓ ประเทศ โดยเห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงาน ณ ประเทศไทย และให้ผู้แทน จากประเทศไทย ทำหน้าที่ เป็นประธาน กรรมการบริหาร ให้เรียกเก็บ กองทุน จดทะเบียน ที่ร่วมทุน ตามสัดส่วน ปริมาณ การผลิตยางธรรมชาติ ของแต่ละประเทศ คาดว่าจะใช้ทุน จดทะเบียน ประมาณ ๒๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ และมีหน้าที่ ซื้อขาย และบริหารยาง จากทั้ง ๓ ประเทศ รวมทั้งมอบหมาย ให้ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติ ร่วมกับ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมการ ในรายละเอียดด้านต่างๆ และเร่งรัด ให้ดำเนินการ เป็นรูปธรรม และเนื่องจาก บริษัทนี้ เป็นการร่วมทุนของ ๓ ประเทศ โดยมีสำนักงาน ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรมี มาตรการทางภาษี สนับสนุน ในการดำเนินกิจการบริษัทฯ ของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย จึงมอบ ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน คณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน รับไปพิจารณารูปแบบ และแนวทาง ในเรื่องนี้ต่อไป

2) คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๕ เรื่อง การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทางด้านยาง โดยมีมติ เห็นชอบ บันทึกความเข้าใจ ทางด้านยาง ระหว่างไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย และอนุมัติ ให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ลงนาม ในบันทึกความเข้าใจ ดังกล่าว และอนุมัติ ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กู้เงิน จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในวงเงิน ตามสัดส่วน ของฝ่ายไทย ที่จะต้องลงทุน ในบริษัทร่วมทุน โดยให้กระทรวงการคลัง ค้ำประกัน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) ประธานกรรมการ นโยบายยางธรรมชาติเสนอ และที่เสนอเพิ่มเติม และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้รับ ข้อสังเกต ของคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการร่วมลงทุน ในบริษัทร่วมทุนฯ ได้กำหนด สัดส่วน การร่วมทุนของไทย : อินโดนีเซีย : มาเลเซีย เป็น ๒ : ๑.๕ : ๑ ตามลำดับ แต่จำนวนผู้แทน ประเทศ ในคณะกรรมการ บริหาร ประเทศละ ๓ คน เหมาะสมหรือไม่ และอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ บริษัทร่วมทุน ตามเอกสารภาษาไทย ไม่ตรงกับ ร่างบันทึก ความเข้าใจ ฉบับภาษาอังกฤษ สมควรแก้ไข ให้ถูกต้อง และชัดเจน ทั้งการพิจารณา คัดเลือกบุคคล เพื่อดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหาร (Chief Executive Director) ของไทย สมควร พิจารณา เลือกสรรบุคคล ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ สำหรับการ พิจารณา ปรับแก้ถ้อยคำ ในร่างบันทึกความเข้าใจ ให้หารือ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรี ช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) ไปพิจารณา ประกอบการ ดำเนินการด้วย

--------------------------------------------------------------------

เรื่องยางเป็นอีกเรื่องที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา
ระหว่างรัฐบาล ปชป. ที่ครองเสียงแทบทั้งหมดในภาคใต้เป็นแกนนำ
กับพรรค ทรท. สมัยนั้นของทักษิณที่ครองเสียงทางเหนือและอีสานเป็นหลัก
วิธีการแก้ปัญหาเรื่องยางต่างกันมาก

รัฐบาล ปชป. เน้นไปที่ลดพื้นที่ปลูกยาง
ถึงขนาดส่งเสริมให้ตัดต้นยางไปขายเพื่อไปปลูกปาล์มแทน
รัฐบาล ทักษิณ
กลับสนับสนุนเพิ่มพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้น

รัฐบาล ปชป. เน้นรับซื้อยาง
แล้วช่วงปลายปีก็มีข่าวไฟไหม้โรงยางที่รับจำนำแทบทุกปี
รัฐบาล ทักษิณ
จับมือกับระเทศ อินโด และ มาเลย์ ประกันราคายาง
ต่ำกว่าราคาที่กำหนดรับซื้อหมด

ขนาดรัฐบาลทักษิณเพิ่มพื้นที่ปลูกยาง
กระจายไปแถวอีสานมากขึ้น
แทนที่ราคายางจะตกลงกว่าเก่า
กลับทำให้เพิ่มขึ้นได้
จากการจับมือรวมกลุ่ม
กับประเทศผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของโลก
เพื่อกำหนดทิศทางราคายางได้บางส่วน
รวมไปถึงกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนายางทั้งระบบ
รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่ายางเพิ่มมากขึ้น
จากการสนับสนุนการนำยางไปทำสินค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
แทนที่จะเน้นขายเป็นยางดิบอย่างเดียว

สไตล์การบริหารงานแบบพ่อค้ากับแบบข้าราชการ
เห็นกันชัดๆ วัดกันได้แทบทุกเรื่อง
ระหว่างรัฐบาล ปชป. กับ รัฐบาลของทักษิณ

โดย มาหาอะไร