บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


08 มิถุนายน 2552

<<< วิกฤตการณ์การเมืองไทย ปี 2549 >>>

ลำดับเหตุการณ์ การเมืองไทย ประจำปี 2549

13 มกราคม 2549
เกิดเหตุกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ปะทะกับกลุ่มผู้ชมรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี มีการเปิดตัว นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รวมไปถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน และต่อมา พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ได้นำประชาชนที่มาร่วมฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ จะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น

20 มกราคม 2549
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี นายสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศชุมนุมใหญ่ครั้งแรก ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ท้องสนามหลวง ในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งขณะจัดรายการได้มีผู้ไม่ประสงค์ดีจุดประทัดยักษ์ขึ้น 3 ลูก ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

23 มกราคม 2549
ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้นเพียงไม่กี่วัน ก่อนหน้า และการที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย แต่ทั้งที่ก่อน หน้านี้ ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี ได้ขายหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้แก่กลุ่มเทเลนอร์ ของประเทศนอร์เวย์ โดยไม่เสียภาษี ซึ่งเป็นต้นแบบในการขายหุ้นชินครั้งนี้

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ดำเนินการตรวจสอบการซื้อขายดังกล่าว โดยได้ผลสรุปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุตรี พินทองทา ชินวัตร ปราศจากความผิด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการได้พบว่าบุตรของ พ.ต.ท.ทักษิณ พานทองแท้ ชินวัตร ละเมิดกฎว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและข้อเสนอการประมูลสาธารณะในการซื้อขาย ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบการโอนภายในโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่ก็ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎหมาย

4 กุมภาพันธ์ 2549
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน” ยืนยันอีกครั้งว่าการขายหุ้นและโอนหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและถูกต้องตามกติกา
ทุกอย่าง ขณะเดียวกันเขายืนยันว่า
"คนที่ให้ผมออกจากตำแหน่งนายกฯ ได้ มีอยู่คนเดียวเลยครับ ไม่ต้องหลายคน นั่นคือพระเจ้าอยู่หัว ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบรับสั่งคำเดียว ทักษิณออกเถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่ครับ"

ในวันนี้ ม็อบพันธมิตรฯ นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พล.ร.ท. พะจุณณ์ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อ ๆ ไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย

9 กุมภาพันธ์ 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว กรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มต่างๆ ดังนี้
กลุ่มแรก ผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคม มีนายสุเทพ อัตถากร เป็นแกนนำ
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มวุฒิสภาเพื่อการปฏิรูปการเมืองขณะนี้ประกาศเข้าร่วม 9 คน มี น.พ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายการุณ ใสงาม และนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นอาทิ
กลุ่มที่ 3 คือเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการปฏิรูปการเมือง นำโดย นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล และนายบรรเจิด สิงคะเนติ
กลุ่มที่ 4 เครือข่ายองค์กรชาวบ้านในต่างจังหวัดซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการประสานงาน
ทั้งนี้ นายระพี สาคริก นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ นายปราโมทย์ นาครทรรพ ได้รับเป็นที่ปรึกษาให้กับพันธมิตรประชาชนฯ ด้วย

11 กุมภาพันธ์ 2549
มีการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้งที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้น เนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม พร้อมได้เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก โดยมีแกนนำทั้งหมด 5 คน คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางเนื่องจากอ้างว่ามีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไป ที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง

24 กุมภาพันธ์ 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศยุบสภา ตามที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำความกราบบังคมทูลฯ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่ง
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงเหตุผลในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. ว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง

25 กุมภาพันธ์ 2549
พรรคประชาธิปัตย์ มีมติไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่า "เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 328 (2) อีกทั้งไม่มีกฎหมายฉบับใดระบุว่าการไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทำผิดกฎหมาย หรือล้มล้างระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วพรรคการเมืองที่ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งทุกพรรคต้องถือว่ากระทำผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน"

26 กุมภาพันธ์ 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุม ใหญ่ที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรก เพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

27 กุมภาพันธ์ 2549
3 พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง
วันที่ 2 เมษายน 2549 และรณรงค์ให้ผู้ไปใช้สิทธิ์กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพลล์ ระบุว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตรกว่า 45.21% และเห็นด้วยเพียง 28.05%

3 มีนาคม 2549
พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็นจำนวนหลายแสนคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึงถนนราชดำเนินกลาง ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

4 มีนาคม 2549
คำเตือนครั้งสุดท้ายก่อนนองเลือดจากนักวิชาการ ราษฎรอาวุโส

สุรพล นิติไกรพจน์ ชี้ 5 ทางออกอันน้อยนิด เรียกร้อง "ทักษิณ" พึ่งบารมีในหลวงกราบทูลขอยุติการปฏิบัติหน้าที่นายก


ประเวศ วะสี ระบุว่า "การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง การชุมนุมประท้วง ก็ทำกันไป อย่าไปตกอกตกใจ เมื่อการเมืองภาคประชาชนดำเนินไปอย่างเข้มข้นและถูกต้อง ประเดี๋ยว "ธรรมะจัดสรร" เอง ให้มีทางออกอย่างมหัศจรรย์ โดยบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าคืออย่างไร"


ปราโมทย์ นาครทรรพ กล่าว "การชุมนุมโดยสันติต่อต้านการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรม สามารถทำได้โดยชอบ และหากไม่ได้ผล พระมหากษัตริย์สามารถใช้พระราชอำนาจโดยจารีตประชาธิปไตยปลดนายกรัฐมนตรีได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ในอดีตมาใช้ว่าเคยเกิดขึ้นในกรณีการพระราชทานนายกฯ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ซึ่งสามารถใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 และสามารถยกเว้นรัฐธรรมนูญบางมาตราที่เป็นอุปสรรคได้"


โสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กทม. กล่าวว่า "หากจะพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เป็นทางออกวิกฤติการเมืองใช่หรือไม่ ต้องบอกว่าเป็นวิธีป้องกันไม่ใช่ทางออก เพราะทางออกมีทางเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณต้องลาอก แต่มาตรา 7 เป็นวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาอีก หรือจะใช้มาตราไหนก็ได้ไม่ให้สิ่งเหล่านี้กลับมาแปดเปื้อนประเทศไทยอีก แต่มาตรา 7 เป็นมาตราที่คนไทยศรัทธาและทำให้เกิดความสามัคคีมากที่สุด"


นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ส.ว.อุบลราชธานี กล่าวว่า "พ.ต.ท.ทักษิณ และระบอบทักษิณได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปแล้ว ดังนั้นอย่าไปพูดถึงเรื่องกฎหมาย เพราะถ้าพูดถึงเรื่องกฎหมายเราจะหลงกลทักษิณ ขณะนี้เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เหนือกฎหมายนั่นคือธรรมะ ซึ่งคุณทักษิณขาดจริยธรรมในทางการเมือง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณพยายามใช้ความชอบธรรมโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายให้เป็นประโยชน์ เพื่อต่อย

อด สถาปนาอำนาจระบอบทักษิณให้เป็นนิรันดร์กาล"

พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีและประกาศเว้นวรรคทางการเมือง กล่าวว่า "การเสียสละเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของผู้นำประเทศ ชมรมแพทย์ชนบทขอเรียกร้องให้รักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เสียสละเพื่อประเทศชาติ ลาออกจากรักษาการนายกรัฐมนตรีและประกาศเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อให้

เกิดการปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง"

ในวันเดียวกันนี้ ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเปิดแถลงข่าวหัวข้อ "วิเคราะห์วิกฤติทักษิณ และข้อเสนอแนะต่อการเคลื่อนไหวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" เวลา 10.00 น. ตึกโดม ม.ธรรมศาสตร์

5 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยแกนนำทั้ง 5 ได้ นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้

14 มีนาคม 2549
7.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อน ย้ายที่ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี จากสนามหลวงไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก

21 มีนาคม 2549
นายธนกร ภักดีผล ผู้เคยมีประวัติอาการทางจิตและภาวะซึมเศร้า เข้าทำลายรูปปั้นท้าวมหาพรหมใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งในภายหลังได้ถูกชาวบ้านทุบตีจนเสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้หยิบยกมากล่าวอ้างในการชุมนุมในวันรุ่งขึ้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้บงการให้เกิดการทำลายเทวรูปดังกล่าว และแทนที่เทวรูปพระพรหมด้วย "อำนาจมืด" ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเขา นายสนธิได้กล่าวอ้างว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ว่าจ้างนายธนกรให้กระทำการดังกล่าวผ่านทางชาแมนมนต์ดำเขมร เนื่องจาก "เป็นผู้หลงใหลอยู่ในความเชื่อที่ผิด" และ "เป็นการปัดเป่าลางร้าย"

บิดาของผู้เสียชีวิต นายสายันต์ ภักดีผล กล่าวว่า นายสนธิเป็น "คนโกหกคำโตที่สุดที่เคยเจอมา" ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ มองว่าการกล่าวอ้างของนายสนธิ "บ้า" และจนถึงปัจจุบัน นายสนธิก็ยังปฏิเสธจะให้ "ข้อมูลเชิงลึก" แก่สาธารณะชนในเรื่องดังกล่าว

24 มีนาคม 2549
พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ชี้แจงถึงเหตุการคว่ำบาตรไม่ลงเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อ ในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ในภายหลังอภิสิทธิ์ถูกตั้งฉายาว่า "มาร์ค ม.7"

ซึ่งนอกจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะแสดงความต้องการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แทรกแซงการเมือง โดยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อยุติความขัดแย้งแล้ว ยังมีองค์กรอื่นๆ ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้คือ กลุ่มพันธมิตรฯ สภาทนายความ และสภาสื่อแห่งประเทศไทย


25 มีนาคม 2549
พรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยใหญ่ที่สนามหลวง ท่ามกลางประชาชนประมาณ 30,000 คน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแจงถึงจะมี19 ล้านเสียง แต่ก็หลีกเลี่ยงการตรวจสอบไม่ได้ ระบุทางออก 3 แนวทางเรียกร้องคณะรัฐมนตรีออกยกชุด เปิดทางพระราชทานคณะรัฐมนตรี หลังปราศรัยจบ ประชาชนส่วนหนึ่งที่เดินทางมาฟังการปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ได้เดินขบวน ต้องไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อสมทบกับผู้ชุมนุมของเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอำนวยความสะดวกด้านการจราจร
26 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินขบวนเพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนจากสนามกีฬาแห่งชาติไปยังสี่แยกราชดำริ และบางส่วนได้เดินเลยไปที่ห้างเอ็มโพเรี่ยมด้วย

29 มีนาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ห้างสยามพารากอน

30 มีนาคม 2549
คาราวานคนจนทำการล้อมปิดอาคารเนชั่น ทาวเวอร์ที่ทำการ น.ส.พ.คมชัดลึก ตั้งแต่เช้าจนบ่าย ด้วยกล่าวว่า คมชัดลึก เสนอข่าวไม่เป็นกลางทางการเมือง
16.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมกันที่หน้าอาคารศรีจุลทรัพย์ ที่ทำการ กกต. เพื่อกดดัน กกต. ให้ลาออก

31 มีนาคม 2549
กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้างและผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปที่อาคารบ้านพระอาทิตย์ ที่ทำการ น.ส.พ.ผู้จัดการ แต่ถูกพนักงานผู้จัดการและผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงขับไล่ออกไป

2 เมษายน 2549
ผลการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย เข้ามาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนเสียง 16,246,368 นับเป็น 56%
อ.ไชยันต์ ไชยพร ฉีกบัตรเลือกตั้งของตนเองที่หน่วยเลือกตั้งที่ 62 เขตสวนหลวง ตั้งอยู่ที่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ให้เหตุผลว่า สิ่งที่เขากระทำลงไปนั้นก็เพื่อนำทางไปสู่การตั้งคำถามว่าประชาธิปไตยนำไปสู่สิ่งที่ดีงามหรือไม่ และการเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้งนั้น เหตุใดจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความเป็นคนดี และเหตุใดเราจึงต้องเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ เขากล่าวด้วยว่า ในฐานะที่เขาเป็นอาจารย์สอนด้านรัฐศาสตร์เขาก็ต้องเป็นตัวอย่างในการตั้งคำถามเหล่านี้ พร้อมระบุว่า เขาคิดว่าคดีที่เขาฉีกบัตรเลือกตั้งนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของปรัชญาการเมือง

3 เมษายน 2549
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการพบว่าพรรคไทยรักไทยได้รับที่นั่งในรัฐสภาถึง 460 ที่นั่ง ด้วยคะแนนเสียง 56% อย่างไรก็ตาม ผู้ลงสมัครพรรคไทยรักไทยใน 38 จังหวัดเลือกตั้ง โดยเฉพาะทางภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง 20% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชะลอผลของการเลือกตั้ง และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ยื่นฎีกาต่อศาลปกครองกลางให้ยก เลิกการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการถ่วงเวลาการเปิดประชุมสภาและขัดขวางมิให้การจัด ตั้งรัฐบาลเสร็จทันกำหนดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เช่นเดียวกับ พธม. ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้รับ "นายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง"

พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยอิสระเพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์และ พธม. ไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการดังกล่าว

4 เมษายน 2549
หลังจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20.30 น.
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ พร้อมขอโทษประชาชน 16 ล้านคนที่ลงคะแนนให้พรรคไทยรักไทย โดยเหตุผลหลักคือเพื่อความสมานฉันท์ของชาติในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ
6 เมษายน
2549
เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน
พรรคประชาธิปัตย์จัดงานครบรอบ 60 ปี ของพรรค และจัดงานเลี้ยงระดมทุนที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ บางนา

7 เมษายน 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เฉลิมฉลองกันที่ท้องสนามหลวง พร้อมกับประกาศว่า การกำจัดระบอบทักษิณเป็นเป้าหมายต่อไป

19 เมษายน 2549
มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549

25 เมษายน 2549
17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด มีพระราชดำรัสที่น่าสนใจดังนี้

"... ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้นยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากัน ปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้

ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา 7 มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่


มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา มีประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ..."


"... ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตยกลับไปอ่าน มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้ นายกฯ พระราชทานเป็นต้น

จะขอนายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน แบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด

เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าจะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนพระปรมาภิไธยจริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน

แต่ว่าในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่าถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว..."

28 เมษายน 2549
ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับการเลือกตั้งซ่อม ที่กำหนดให้มีใน 14 เขตเลือกตั้ง ของ 9 จังหวัดภาคใต้ ในวันเสาร์ ที่ 29 เมษายน ทั้งนี้ ถือเป็นการน้อมรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติเพื่อแก้ไขวิกฤตทางการเมือง

6 พฤษภาคม 2549
ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา นัด สุรยุทธ์ จุลานนท์, อักขราทร จุฬารัตน, ชาญชัย ลิขิตจิตถะ, จรัญ ภักดีธนากุล มาพูดคุยกันที่บ้านสุขุมวิท 103 ของนายปีย์ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีพัลลภ ปิ่นมณี และปราโมทย์ นาครทรรพ ตามมาสมทบด้วย จากการสัมภาษณ์ของมติชน (มีนาคม 2552) ปีย์ กล่าวขัดแย้งกับความเป็นจริง ว่า

"
มติชนถาม : ทำไมเชิญ พล.อ.พัลลภและนายปราโมทย์เข้าร่วม และร่วมในฐานะอะไร
ปีย์ตอบ : มีความสนิทสนมกับคนทั้งสองมานานแล้ว และตอนนั้น พล.อ.พัลลภกำลังดังเรื่องคาร์บอมบ์ (คดีวางระเบิด พ.ต.ท.ทักษิณ) ส่วนคุณปราโมทย์นั้นเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิญญาฟินแลนด์ และมีความรู้ทางด้านกฎหมายเลยเชิญมาร่วม"

8 พฤษภาคม 2549
นายอุระ หวังอ้อมกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าที่ประชุมลงมติให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 6 เสียง และควรให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 5 โดยให้เพิกถอนการเลือกตั้งและจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ ซึ่งกำหนดไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนยังได้เรียกร้องให้สมาชิกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลาออกจากตำแหน่ง และเมื่อสมาชิกดังกล่าวปฏิเสธ ศาลอาญาจึงได้สั่งจำคุกและปลดคณะกรรมการการเลือกตั้งออกจากตำแหน่ง
17 พฤษภาคม 2549หนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ผู้จัดการ ได้ตีพิมพ์บทความ “ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์: แผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย?” โดยกล่าวหา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย มีแผนสมคบคิดเพื่อโค่นล่มราชวงศ์จักรีและยึดอำนาจการปกครองประเทศ

พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ได้ฟ้องต่อนายสนธิ บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ และฝ่ายบริหารอีกสองคนในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งคดีนี้ ต่อมาศาลได้ตัดสิน
ในวันที่ 25 มี.ค. 2552 ดังนี้ กรณี ‘สนธิ-เจิมศักดิ์-ชัยอนันต์-ปราโมทย์’ เสวนาปฏิญญาฟินแลนด์ แม้ใช้ถ้อยคำเกินเลยไปบ้าง แต่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลสาธารณะ ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในการบริหารราชการแผ่นดินที่จะมีผลกระทบ ต่อประชาชนและประเทศได้ จึงยกฟ้อง อีกคดีตัดสิน ‘ปราโมทย์-บก.ผู้จัดการ’ คุก 1 ปีปรับ 1 แสน หลังแพร่บทความปฏิญญาฟินแลนด์ แต่จำเลยสร้างคุณงามความดีมาก่อน-กระทำผิดเพราะต้องการปกป้องสถาบันที่เคารพ ให้รอลงอาญา 2 ปี
18 พฤษภาคม 2549
ปราโมทย์ นาครทรรพ นำเสนอบทความ "ยุทธศาสตร์ฟินแลนด์:แผนเปลี่ยนการปกครองไทย?" ปรากฏสู่สาธารณะเผยแพร่ในสื่อผู้จัดการ

20 พฤษภาคม 2549
รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นอีกครั้งที่สวนลุมพินี ในชื่อ " รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง "

21 พฤษภาคม 2549
ประชาชนจำนวนมาก ร่วมสักการบูชาองค์ท้าวมหาพรหมองค์ใหม่ ณ ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ

23 พฤษภาคม 2549
มีฝนตกหนักในภาคเหนือตอนล่าง ทำให้น้ำป่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนเสียหายหนัก และมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน หมู่บ้านที่ถูกดินถล่มใน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

9 มิถุนายน 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล และให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด

13 มิถุนายน 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่พระราชอาคันตุกะ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง

27 มิถุนายน 2549
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง มีมติเป็นเอกฉันท์ให้อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายุบพรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยรักไทย กรณีฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

พรรคประชาธิปัตย์ได้นำเสนอ "แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549" เพื่อชี้แจงต่อกรณีที่ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ส่งคำร้องถึงอัยการสูงสุด กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่ากระทำผิดพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66(2) และ (3) ระบุว่า "เป็นการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริ
ย์ทรงเป็นพระประมุข มีการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีพรรคการเมืองใหญ่ว่าจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีนายชัยเกษม นิติศิริ เป็นประธาน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความผิดตามคำร้อง"

14 กรกฎาคม 2549
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เดินทางไปที่หน้าสถานทูตอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ที่ถนนวิทยุ เพื่อยื่นหนังสือชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองในเมืองไทย

20 กรกฎาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 15 ตุลาคม คณะแพทย์ศิริราช ถวายการผ่าตัดขยายช่องทางเดินประสาทของพระปิฐิกัณฐกัฐิ (กระดูกสันหลัง) ระดับบั้นพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

24 กรกฎาคม 2549
ผลการเลือกตั้ง ส.ก. ส.ข. อย่างไม่เป็นทางการ ปชป. ได้ ส.ก. 36 เขต ทรท. 17 เขต ส่วน ส.ข. ปชป.ได้ยกทีม 20 เขต ทรท. 7 เขต

กลุ่มคนร้าย 4 คน ปลอมตัวเป็นนักศึกษา บุกโรงเรียนบ้านบือแรง หมู่ 1 ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ยิงครูเสียชีวิตขณะสอนหนังสือเด็ก ผู้บริหารสั่งปิดโรงเรียนไม่มีกำหนด

25 กรกฎาคม 2549
ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 3 กกต. คนละ 4 ปี ไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี ในคดีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. ร่วมเป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ มาตรา 42 สืบเนื่องจากกรณี กกต.ทั้ง 3 ได้ร่วมจัดการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตรอบใหม่เมื่อวันที่ 23 เม.ย.2549 โดยไม่มีอำนาจ และออกหนังสือเวียนถึง ผอ.กต.เขตเลือกตั้งให้รับผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่ถึงร้อยละ 20 เปลี่ยนเขตลงสมัครในรอบใหม่ อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครรายเดิม เวียนเทียนลงรับสมัครเลือกตั้งรอบใหม่เพื่อช่วยให้ให้ผู้สมัครรายเดียวพรรคไทยรักไทย หลีกเลี่ยงเกณฑ์ ร้อยละ 20

10 สิงหาคม 2549
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาลงมติคัดเลือกผู้สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือก ตั้งจำนวน 10 คน เพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 5 คน

19 สิงหาคม 2549
ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ จำนวนประมาณ 20 - 30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คน เลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงเชิญตัวให้ออกไปจากสถานที่

20 สิงหาคม 2549
ดร. สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกรัฐมนตรีรุมทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกรัฐมนตรีใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน

21 สิงหาคม 2549
ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบอารักขานายกรัฐมนตรี ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัดทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกรัฐมนตรีและกลุ่มที่สนับสนุน
24 สิงหาคม 2549
รถคันหนึ่งซึ่งขนวัตถุระเบิดกว่า 67 กิโลกรัม
โดยผู้เชี่ยวชาญบอกว่าถ้าเกิดระเบิดจะมีรัศมีทำลาย 1 ก.ม. ได้หยุดบริเวณใกล้ที่พักของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเขตธนบุรี โดยมี ร.ต.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ อดีตคนขับรถส่วนตัวของ พล.ต.อ.พัลลภ ปิ่นมณี รักษาการผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นพลขับ โดยการสืบสวนของตำรวจพบว่า รถคนดังกล่าวได้ออกจากสำนักงานใหญ่ของ กอ.รมน. เมื่อเช้าวันเดียวกัน

พล.ต.อ.พัลลัภ ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว และกล่าวว่า "ถ้าผมทำ นายกฯ หนีไม่พ้นผมหรอก..." และกล่าวอ้างว่า "วัตถุระเบิดอยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่ได้เก็บรวบรวมมาจุดระเบิด" ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นแผนสมคบคิดของรัฐบาล

ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกจับกุมตัว และ พล.ต.อ.พัลลภ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในทันที ในภายหลังได้มีการจับกุมนายทหารเพิ่มอีก 5 นาย เนื่องจากสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่นายทหาร 3 นาย รวมทั้ง ร.ต.ท.ธวัชชัย ถูกปล่อยตัว ภายหลังการก่อรัฐประหารในเดือนกันยายน

ซึ่งคดีนี้ในตอนแรก ได้มีการทำลายความน่าเชื่อถือของคดี โดยมีการกล่าวหาว่าเป็น "คาร์บ๊องส์"์


29 สิงหาคม 2549
ครม. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการรวม อ.หัวหิน อ.ปราณบุรี และ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นจังหวัดใหม่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสฉลองครบรอบ 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว

31 สิงหาคม 2549
เกิดเหตุการณ์วางระเบิดธนาคาร พร้อมกัน 22 แห่งใน จ.ยะลา

2 กันยายน 2549
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส ต้าน"ทักษิณ" ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาทนายกรัฐมนตรีในทันที มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

8 กันยายน 2549
ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกกกต.ชุดใหม่ ประกอบด้วย นายประพันธ์ นัยโกวิท, นายสุเมธ อุปนิสากร, นายอภิชาต สุขัคคานนท์, นายสมชัย จึงประเสริฐ และนางสดศรี สัตยธรรม ส่วนนายแก้วสรร อติโพธิ ที่ไม่ได้รับเลือก กล่าวว่าจะขอสมัครเป็นเลขาธิการ กกต.

9 กันยายน 2549พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เริ่มออกเดินทาง เพื่อร่วมประชุมสหประชาชาติ โดยแวะเยือนประเทศอื่นๆ ก่อนไปมหานครนิวยอร์ ได้ไปขึ้นเครื่องที่บน.6 ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์สงครามครบมือ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวปฏิเสธกระแสข่าวเรื่องที่ว่าอาจมีรัฐประหาร และชี้ว่าเป็นการปล่อยข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร
คณะนักวิชาการไปยื่นหนังสือถึงพล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเพื่อประกาศเจตนารมณ์หยุดระบอบทักษิณ พร้อมชู"ป๋าเปรม"เป็นแบบอย่างของคนไทยอีกด้วย
10 กันยายน 2549
กลิ่นปฏิวัติเริ่มโชยหนักขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งเดินทางไปถึงกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซ็มได้พูดกับนักข่าวว่า ไม่ได้เป็นผู้พูดเรื่องปฏิวัติด้วยตัวเอง ถือเป็นเรื่องของข่าวลือและการปล่อยข่าว แต่ที่เมือง ไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหมปฏิบัติการดับเครื่องชน รัฐบาลและพล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ฐานยุ่มย่ามโผย้ายทหาร โดยที่พล.อ.ธรรมรักษ์ประกาศจะเล่นงานตามกฎหมาย ขณะที่จ่ายักษ์ ตัวละครสำคัญคดีคาร์บอมบ์ระบุว่า มีนายพล 3 นายแห่งกองทัพบก เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารนายกฯ

11 กันยายน 2549
เสร็จสิ้นการประชุมอาเซ็ม ที่ประเทศฟินแลนด์ พ.ต.ท.ทักษิณ เกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน จึงพาคณะเดิน ทางไปพักผ่อนที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมเข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดติดตลกกับนักข่าวว่า ที่ยังไม่กลับประเทศไทยนั้น "ไม่ใช่ เพราะขอลี้ภัย"

12 กันยายน 2549
อุณหภูมิการเมืองในเมืองไทยร้อนระอุขึ้น เป็นลำดับ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเสร็จภารกิจที่ฟินแลนด์ แล้วมาพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยกลุ่มอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวว่าจะนัดชุมนุมกันในวันที่ 14 กันยายน เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยุติบทบาททางการเมือง ขณะที่ตัวแทน อาจารย์จุฬา และ เครือข่ายด้านสุขภาพเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ โดยที่หนังสือพิมพ์เริ่มเปิดประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณพูดผ่านรายการสถานีสนามเป้าว่า อาจจะเว้นวรรคการเมือง

13 กันยายน 2549
พ.ต.ท. ทักษิณใช้เวลาระหว่างอยู่ที่อังกฤษ เขียนจดหมายจากต่างประเทศถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และประชาชน ขณะที่เทปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มออกอากาศทางช่อง 5 เป็นตอนแรก ในวันเดียวกันนี้ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ กระแสที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวเพื่อกันไม่ให้ทหารปฏิวัติมากกว่า

14 กันยายน 2549
เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมชุมนุมภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกดดันให้พ.ต.ท. ทักษิณยุติบทบาททางการเมือง พล.ท.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกกองทัพบกแถลงยืนยันว่า ทหารไม่คิดปฏิวัติ ขณะที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่าจะชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 กันยายนเพื่อกดดันไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ

ที่ประชุมกกต. มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก นายอภิชาต สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต.

15 กันยายน 2549
รายการเมืองไทยราย สัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง จัดใหญ่เป็นวาระครบรอบ 1 ปี รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ แถลงข่าว ประกาศชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน


พ.ต.ท. ทักษิณให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดิทางไปประชุมกลุ่มนามที่ประเทศคิวบาว่า อาจจะเว้นวรรคทางการเมือง โดยอาจจะประกาศในวันรับสมัครเลือกตั้ง สอดคล้องกับเทปรายการที่ออกอากาศทางช่อง 5 ว่าด้วยเรื่องอาจเว้นวรรคพอดิบพอดี พ.ต.ท.ทักษิณ ยังพูดเลยไปด้วยว่า เขานั้นเปรียบเหมือนพล.อ.เปรม ที่เคยถูกประชาชนขับไล่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ทำให้ทหารคนสนิทพล.อ.เปรม และหลายฝ่ายไม่พอใจ ในวันเดียวกันนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมติชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่วันที่ 20 กันยายนเป็นต้นไปเพื่อกดดันไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศจะเรียกฝันร้ายใน คิวบา ของ พ.ต.ท.ทักษิณก็คงไม่ผิดนัก

16 กันยายน 2549
คนร้ายวางระเบิดในย่านศูนย์กลางการค้า และการท่องเที่ยว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยใช้วิธีซุกระเบิดไว้ในรถจักรยานยนต์แล้วนำไปจอด ทิ้งไว้ เกิดระเบิดในเวลาประมาณ 21.30 น. ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บร่วม 30 คน


พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยืนยันจัดชุมนุมยืดเยื้อถึงวันที่ 20 กันยายน ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มมีการเกณฑ์ประชาชนในอีสานหลายหมื่นคนเพื่อจุดหมายให้ เผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชน

17 กันยายน 2549
สนธิ ลิ้มทองกุล แถลงยืนยันมติไม่ให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทย ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณเขียนจดหมายถึงประชาชนฉบับที่ 2 พ.ต.ท.ทักษิณบอกกับนักข่าวว่าได้สั่งการให้ ผบ.ทบ. และ ผบ.ตร.ให้ลงไปดูแลแก้ไขปัญหาภาคใต้แล้ว

18 กันยายน 2549
พ.ต.ท.ทักษิณแสดง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ออกทางสีหน้า ระหว่างเดินทางจากคิวบามาแวะพักที่แคนคูน เม็กซิโก ก่อนจะต่อไปยังนิวยอร์ค และวาระสุดท้ายในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 สมัยที่ 2 ก็มาถึง

19 กันยายน 2549
08.00 น. มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ทำให้ต่อมามีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหาร แพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาลและเริ่มกระจายสู่ภายนอก โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์
09.00 น. พ.ต.ท.ทักษิณร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้ web camera จากห้องพักที่โรงแรม Grand Hyatt นิวยอร์กมายังห้องประชุมครม. พ.ต.ท.ทักษิณ อาจไม่ทันได้สังเกตว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่จะต้องมาร่วมประชุมครม.นัดพิเศษเพื่อรับทราบแนวทาง แก้ปัญหาภาคใต้พากันหายหน้าไปหมด ส่งเพียงตัวแทนเข้ามาร่วม กระทั่งค่ำ วันนั้นตามเวลาในไทยหรือตอนสายๆวันที่ 18 ที่นิวยอร์ค พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มรู้ข่าวว่า ถูกคณะนายทหารก่อรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ออกแถลงการณ์ตัดหน้าประกาศคณะปฏิวัติ แต่ทุกอย่างก็สายไปหมดแล้ว และสายไปเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งจะเดินทางจากนิวยอร์ค ไปพำนักที่อังกฤษ ก็ยังต้องใช้เวลานานนับวัน

12.00 น. หลังการประชุมครม. โดยผ่านระบบweb camera รัฐมนตรีหลายรายได้สอบถามผู้สื่อข่าวถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างตื่นเต้น

18.30 น. มีข่าวกำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ มีข่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ข่าวระบุว่า เป็นเรื่องการทำบุญหม่อมหลวงบัว
มีข่าว ลือสะพัด กำลังทหารเตรียมเคลื่อนกำลังพล โดยมีรายงานว่าหน่วยรบพิเศษจากลพบุรีราว 1 กองพันเคลื่อนกำลังด่วนเข้ากรุงแล้ว
18.55 น. สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน เป็น 05.00 น. วันที่ 21 กันยายนแทน
ช่วงค่ำ รัฐมนตรีหลายรายต่างโทรเช็คข่าว
19.00 น. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนไหวกำลังพล

19.30 น. แม่ทัพภาค 3 ยืนยัน ไม่มีการเคลื่อนกำลัง ยังฝึกปกติ
20.00 น.
ตำรวจ 191 เบิกอาวุธเอ็ม 16 ไปรอเตรียมพร้อมที่กองกำกับการ 2 (ป้องกันและปราบปรามจลาจล) ถ.วิภาวดีรังสิต

21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) สองคันรถบัส สั่งปิดไฟสลก. มีผู้โพสต์ข้อความถามถึงข่าวลือปฏิวัติในเวป พันทิป พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางกลับโรงแรมที่ นิวยอร์ค และได้เรียกกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ตามไปคุยเป็นการส่วนตัว โดยในการพูดคุยกับนักข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับทราบกระแสข่าาวรัฐประหารในประเทศไทย พร้อมทั้งมีการติดต่อกับผู้บริหารของ ช่อง 9 อสมท. เพื่อจะขอถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เนต เพื่อชี้แจง ในเวลา 23.00 น.

21.10 น. รถถ่ายทอดสด (โอบี) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) เข้า บก.ทบ.


21.20 น. มีทหารเฝ้าประตูวังสุโขทัย มากกว่า 20 นายกฯ สั่งช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดทางโทรศัพท์ จากนิวยอร์ค

21.30 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตัดรายการปกติ เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี กลุ่มผู้สื่อข่าวได้เข้าไปยังทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่พบสิ่งผิดปกติ ตำรวจยังคงรักษาทำเนียบรัฐบาลเป็นปกติ ท่ามกลางข่าวลือว่ามีการนำกำลังเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ รมว.กลาโหม ขณะที่มีอีกกระแสข่าวว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำเนียบรัฐบาลมีคำสั่งห้ามคนนอกเข้าไปเด็ดขาด เจ้าหน้าที่ได้เชิญผู้สื่อข่าวบางส่วนออกมา ทำให้ผู้สื่อข่าวต้องไปรอจับกลุ่มออกันอยู่บริเวณหน้าทำเนียบเป็นจำนวนมาก น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทย ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ได้เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่น.พ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วยกัน กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปรามได้เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์ ส่องหล้า มีนายทหารกลุ่มที่รัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้ายึดช่องการสื่อสารดาวเทียมทางสถานีไทยคมแล้ว นอกจากนี้ นายทหารอีกกลุ่มก็ได้เข้ายึดช่อง 11 ด้วยเช่นกัน22.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลสั่งปิดประตู พร้อมวางกำลังเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือประจำการประมาณ ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวาน รังสรรค์ และ ถ.ราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานสด (เบรกกิ่งนิวส์) สถานการณ์ในเมืองไทย หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารออกคุมกำลังตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ

22.10 น. ทหารเตรียมเคลื่อนกำลังออกจากม.พัน 4
22.13 น. ยานหุ้มเกราะ 20 คันเคลื่อนจากเกียกกายสู่ลานพระรูป ขณะที่รถถัง 3-4 คันเคลื่อนไปทำเนีย
สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท พ.ต.ท.ทักษิณ ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ ระบุอยู่ในขั้นรุนแรง และให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย และตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. คุมอำนาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉิน ทหารเคลื่อนพลปิดล้อมทำเนียบ รัฐบาลแล้ว รถถัง 3 คันประจำการแยกเกียกกาย บ้านสี่เสาเทเวศน์ รถถังสองคันพร้อมรถบรรทุกกำลังพล 5 คันเคลื่อนออกจากกองพันทหารปืนใหญ่ มีทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่างๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกฯ ได้โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดสดเสียงตนเองผ่านทางโทรศัพท์จากนิวยอร์ก แต่ขณะที่กำลังรอสาย ทหารได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในช่อง 11 ได้ก่อน โดยได้นำเจ้าหน้าที่ช่อง 11 ทั้งหมดไปควบคุมไว้ยังห้องโถง ตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงเวลา 00.30 น. จึงปล่อยตัวออกจากสถานี

22.17 น. สัญญาณช่อง 9 อสมท ถูกตัดลง หน้าจอโทรทัศน์ดับสนิทชั่วครู่ โดยมีรายงานว่า เพราะทหารตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนจะตัดเข้าโฆษณาสินค้าประมาณ 2 ตัว ก่อนจะตัดเข้าสู่รายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารบุกเข้าควบคุมที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท
22.20 น. วิทยุและโทรทัศน์ทหารเปิดเพลงมาร์ชกระหึ่ม ทหารยึดอสมท.
22.24 น. ทหารเคลื่อนกำลังพลปิดบ้านนายกฯ ขณะที่นายกฯประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินต้านทันควัน พร้อมสั่งย้าย ผบ.ทบ.เข้ารายงานตัวกับชิดชัย ตั้งผบ.สส.เป็นผู้มีอำนาจสั่งการตามพรก.
22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3 ที่นำเสนอรายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่า มีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะช่อง 9 อสมท และไอทีวี ทหารสั่งตัดไฟสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ขณะนายกฯกำลังประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.30 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5 และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี แม้แต่สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี ยกเว้นเนชั่นแชนนัล ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ มีรายงานข่าวว่า มีรถถ่ายทอดสดไปที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์เพื่อเตรียมถ่ายทอดสด และ กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก

22.35 น. เนชั่นแชนนัลถูกเชื่อมสัญญาณเหมือนทุกช่อง

22.40 น. มีการตัดสัญญาณ ฟรีทีวีทุกช่อง
CNN รายงานสถานีวิทยุและโทรทัศน์ไทย ถูกปิดหมดแล้ว และมีรายงานการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉิน
22.44 น. ทหารสั่งกักบริเวณ ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล
22.54 น. สถานีโทรทัศน์ทุกช่องได้ขึ้นโลโก้สถานีรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย พร้อมขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก พร้อมเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด"
22.55 น. ทหารปล่อยให้สื่อมวลชนกลับบ้านแล้ว
22.57 น. สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นแพร่รถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายใน กทม. ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปกำลังทหารเหล่า นั้น โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
23.00 น. ทหารควบคุมตัวพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้ว
23.05 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองซึ่งประกอบด้วยสี่เหล่าทัพขอความร่วมมือจาก ประชาชนหลัง ควบคุมสถานการณ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลไว้ได้โดยไม่มีการต่อต้าน
23.10 น. เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารสั่งสถานีวิทยุ ในเครือกองทัพ( ๑๐๑ ) เตรียมรับสัญญาณถ่ายทอดสดจากสถานีวิทยุ ๙๙.๕

23.15 น. พล.ต.ประพาส ศกุนตนาถ อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง ทหารสั่ง ปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยทำเนียบรัฐบาล และกักบริเวณไว้หน้าตึกไทยคู่ฟ้า
23.30 น. เอเอสทีวีออกอากาศได้ตามปกติอีกครั้ง ขณะที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องยังคงเชื่อมสัญญาณกับ ททบ. 5 ขณะเดียวกันทหารจาก ป.พัน 21 สังกัด ร.21 ประมาณ 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือเดินทางมายังอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนนัล โดยยืนยันว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป ขณะที่เนชั่นแชนนัล เริ่มออกอากาศได้อีกครั้งในเวลา 23.44 น. มีข้อความแพร่ไปทางมือถืออ้างพลเอกเปรมปฏิวัติแต่ในหลวงไม่เอาด้วย
23.31 น. ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลที่ทำการยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง
23.40 น. มีการสั่งปลดอาวุธ ตำรวจหน่วยอรินทราชและคอมมานโดทั้งหมด
23.50 น. มีประกาศจากคณะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ แจงก่อเหตุเพราะมีการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตอย่างกว้างขวาง องค์กรอิสระถูกครอบงำไม่เป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมีอุปสรรค หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อยู่หลายครั้ง คณะปฏิรูปไม่ประสงค์จะยึดอำนาจเพื่อบริหารเอง แต่จะคืนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขให้ปวงชนชาวไทยโดยเร็วที่สุด

23.55 น. มีการตัดสัญญาณโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก ( ยูบีซี ) ช่อง ๕๓ ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

23.59 น. ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชวังดุสิต
20 กันยายน 254900.19 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
00.24 น. มีรายงานการปะทะกันที่บริเวณกองพันทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์บางเขน

00.28 น. พลตรี ประพาส สกุนตนารถ ที่ปรึกษาททบ.๕ อ่านแถลงการประกาศกฎอัยการศึกบังคบใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ ๒๑.๐๕ น.ของวันที่ ๑๙ กันยายน ๔๙ โดยมีพลเอก สนธิบุญรัตนกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ


00.30 น. มีประกาศคณะปฎิรูป การปกครองฯฉบับที่ ๒ สั่งห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร โดยไม่ได้รับคำสั่งจากคณะปฏิรูป

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกอบด้วย

พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารทหารสูงสุด

เป็น ประธานที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก

เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พลอากาศเอก ชลิต พุกพาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ

เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 1

พลเรือเอก สถิรพันธ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ

เป็นรอง หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 2

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เป็น รองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนที่ 3

พลเอก วินัย ภัทธิยะกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

เป็น เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในวันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาให้กำลังใจทหารที่จุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ภายหลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ โดยแสดงความชื่นชมเหล่าทหาร ด้วยการมอบดอกไม้ ส่งยิ้ม ถ่ายรูปด้วย แม้กระทั่งมีการพ่นสีข้อความว่า "พล.อ.สนธิ วีรบุรุษชาวไทย" และ"กองทัพเพื่อประชาชน" บนตัวถังรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 เป็นต้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนหนึ่ง ในบริเวณถนนราชดำเนิน ให้สัมภาษณ์ว่าไม่ตื่นตะหนก และร่วมถ่ายรูปกับทหารและรถถัง (ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ที่ประชาชนมอบให้)เป็นที่ระลึก หรือ มอบน้ำ อาหาร ให้แก่ทหารด้วย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชื่นชมว่า "จากที่ดูภาพในซีเอ็นเอ็น เป็นการยึดอำนาจที่เรียบร้อยที่สุด ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อ เราก็รู้สึกสบายใจว่ามันคงไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประชาชนยอมรับ ขณะที่ต่างชาติก็รู้สึก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุน"

สวนดุสิตโพล ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ในวันที่ 20 ก.ย. 49 พบว่าประชาชน 83.98% จากกลุ่มสำรวจ เห็นด้วยกับรัฐประหารในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าจะการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าภาพลักษณ์ของประเทศอาจตกต่ำลง ผลสำรวจแตกต่างจากโพลสำรวจการเลือกตั้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยถึง 49%

กลุ่มนักธุรกิจทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการ ปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจกระทบบ้างแต่ชั่วคราว และจะสยบความวุ่นวายของประเทศ นักธุรกิจในกลุ่มนี้ เช่น นายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร อดีตประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม, นายทวิสันต์ โลณารักษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, นายนิพนธ์ สุวรรณนาวา ที่ปรึกษาหอการค้า จ.ประจวบคีรีขันธ์, นายรุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ, นายบุญธรรม ทิพย์ประสงค์ รองประธานหอการค้า จ.เชียงราย, นายประทีป พงษ์วิทยภานุ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี, นายชุมพร เตละวัฒนะวรรณา ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้, นายอาทิตย์ ลิ้มอุดมพร ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร, นายประยูร สงค์ประเสริฐ นายกสมาคมชาวสวนกาแฟไทย เป็นต้น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เห็นด้วยต่อการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ เนื่องจากประเทศมีปัญหาจากผู้นำที่ไม่ชอบธรรม และบริหารด้วยระบอบเผด็จการประชาธิปไตย จึงควรหยุดระบอบเผด็จการนั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศน้อยที่สุด การปฏิรูปฯครั้งนี้เป็นการดีที่ไม่เสียเลือดเนื้อ

นายสมภพ บุนนาค แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น กล่าวเห็นชอบกับ คปค.ว่า "การยึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้ แม้จะขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบ เพราะเป็นการปลดล็อกปมปัญหาของชาติ เพื่อสะสางอุปสรรคสังคมการเมืองให้สามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง การต่อสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมาเพื่อล้มระบอบทักษิณ ไม่สามารถผ่าทางตันได้ จำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาจัดการหาทางออกให้ อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนต้องติดตามต่อว่า ภายหลัง เข้ามาแก้ปัญหาของ คปค.ครั้งนี้จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เร็ว ตามที่หัวหน้าคณะฯได้ประกาศไว้หรือไม่" และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารของ คปค.ว่า "กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าประชาชนใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้ง แล้วก็จบ มีบริบทแวดล้อมหลายประการที่ประกอบเป็นระบอบประชาธิปไตย"

ในช่วงเที่ยงวัน ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และ นายทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำการประท้วงการรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน นายทวีกางป้ายขนาดใหญ่สองป้ายระบุว่า "กระผม นายทวี ไกรคุปต์ ขออดข้าวประท้วงผู้ที่ล้มล้างประชาธิปไตย ทำให้บ้านเมืองถอยหลังและแตกแยก" พร้อมทั้งทำการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกของตนให้กับบรรดาสื่อมวลชนด้วย ในเวลาต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเชิญตัว ร.ต.ฉลาด ขึ้นรถมิตซูบิชิ ที่มีรถบัสทหารติดตามระบุ ร.๑ พัน๑ รอ. ไปที่หน่วยบังคับบัญชา จากนั้น 3 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 7 นาย ได้ล็อกตัวนายทวีขึ้นรถตู้สีขาวและขับออกไปทันที โดยระหว่างขึ้นรถนายทวีมีอาการขัดขืน จากนั้นทหารบางส่วนได้เข้าเก็บป้ายประท้วงออกจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาประณามรัฐบาลเผด็จการทหารว่าเป็น การ "ฉีก" รัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมกันการร่างมากที่สุด การปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จ, รวมไปถึงการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนและได้เรียกร้องประชาชนร่วมกันใส่ ชุดดำหรือปลอกแขนดำเพื่อไว้อาลัยประชาธิปไตย

กลุ่มนักศึกษาล้อการเมืองธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คัดค้านการรัฐประหาร

21 กันยายน 2549
นายยงยุทธ ติยะไพรัชและนายเนวิน ชิดชอบ ทั้งสองคนได้เข้ารายงานตัว และถูกควบคุมตัวไว้ ก่อนที่ทั้งหมด ยกเว้นนายสมชาย จะได้รับการปล่อยตัวภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 นอกจากนั้น คณะรัฐประหารเริ่มการสอบสวนข้าราชการซึ่งถูกแต่งตั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณ และในการแต่งตั้งนายทหารประจำปี พ.ศ. 2550 นายทหารซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของระบอบใหม่ก็ถูกแต่งตั้งแทนที่นายทหารซึ่งภักดีต่อรัฐบาลเก่า

คปค. ได้เรียกประชุมผู้บริหารสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่กองบัญชาการทหารบก และสั่งให้หยุดเผยแพร่ข้อคิดเห็นของสาธารณชน รวมถึงการแสดงความคิดเห็นผ่านบริการส่งข้อความที่ด้านล่างของจอโทรทัศน์ด้วย คปค. ไม่ได้กล่าวว่าการห้ามนี้มีผลถึงหนังสือพิมพ์และเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ต แต่มีผลหลายอย่างตามมา เช่น ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร เช่น การประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่หน้าสยามสแควร์ , เคเบิลทีวีช่อง CNN, BBC, CNBC, NHK และช่องข่าวต่างประเทศอีกหลายช่องถูกเซ็นเซอร์ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกตัดออก , หนังสือพิมพ์ The Guardian เปิดเผยว่า มีทหารติดอาวุธนั่งอยู่ในห้องข่าวและห้องควบคุมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง

22 กันยายน 2549
18.00 น. กลุ่มองค์กรที่เรียกตัวเองว่า "เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร" มีการชุมนุมและกล่าวแถลงการณ์ที่หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษาได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วยและกล่าวว่าพวกเขา จะยื่นแถลงการณ์ต่อคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิ์ในการชุมนุมที่หน้า สยามพารากอน โดยเห็นว่ารัฐบาลชั่วคราวขาดความชอบธรรม และเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตย ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองได้อย่างแท้จริง

หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร การประท้วงครั้งแรกมีขึ้นที่หน้าห้างสยามเซ็นเตอร์ เมื่อเย็นวันนี้ โดยมีผู้ประท้วงประมาณ 20-100 คนหรือมากกว่า ผู้ประท้วงแต่งชุดดำเพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย และได้เชิญชวนให้ประชาชนที่คัดค้านการรัฐประหารใส่เสื้อดำในการประท้วง) ป้ายประท้วงมีข้อความ "No to Thaksin. No to coup" ("ไม่เอาทักษิณ ไม่เอารัฐประหาร") และ "Don't call it reform - it's a coup" ("นี่ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการรัฐประหาร") มีป้ายหนึ่งเป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีกำกับว่า "On vacation again" ("งดใช้ชั่วคราว") รองศาสตราจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในผู้ประท้วง กล่าวว่า "เราเชื่อว่าเราเป็นกระบอกเสียงของคนไทยอีกมากที่ยังเป็นห่วงหรือที่ยังกลัว ที่จะพูดออกมา" การประท้วงครั้งนี้ไม่มีผู้ใดถูกจับกุม แต่ตำรวจนายหนึ่งกล่าวว่า "ตำรวจได้บันทึกวิดีโอการประท้วงไว้เป็นหลักฐาน และจะตรวจสอบเทปเพื่อหาผู้ที่ละเมิดกฎอัยการศึก คือ มีการชุมนุมทางการเมืองมากกว่า 5 คน" ไม่มีใครรู้ว่าตำรวจหรือทหารได้จับกุมเขาเหล่านั้นในเวลาต่อมาหรือไม่ ไม่มีสถานีโทรทัศน์ไทยช่องใดรายงานเรื่องการประท้วงครั้งนี้ หนังสือ พิมพ์ The Independent รายงานว่าตำรวจติดอาวุธหลายนายได้ฝ่าฝูงชนและผู้ชุมนุมเข้าจับกุมผู้ประท้วง ซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงไม่ทราบชื่อคนหนึ่งซึ่งนับเป็นผู้ประท้วงคนแรก ขณะกำลังอ่านแถลงการณ์ต่อต้านการทำรัฐประหาร โดยมีตำรวจนายหนึ่งได้ใช้ปืนกระแทกเข้าที่บริเวณท้องของเธอและทำการจับกุม ในขณะที่ผู้ประท้วงหลายคนต่างพยายามฉุดเธอกลับ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ใครทราบชะตากรรมของเธอ


23 กันยายน 2549
ในที่ประชุมแกนนำ คปค. ได้กล่าวถึงการติดต่อจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จากประเทศอังกฤษ เข้ามายังคณะปฏิรูปการปกครองฯ ด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ให้การยืนยันทางโทรศัพท์กับพลเอกสนธิ โดยระบุว่าพร้อมจะยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองในทุกกรณี และได้แจ้งให้รัฐมนตรีและสมาชิกพรรคไทยรักไทยทุกคนรับทราบ พร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ทุกประการ และจะพักผ่อนกับครอบครัวในต่างประเทศ จนกว่าจะมีการตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงจะเดินทางกลับประเทศไทย

24 กันยายน 2549
กลุ่มนักวิชาการสิทธิมนุษยชนจำนวน 23 คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ร่วมกันลงชื่อคัดค้านการรัฐประหาร และทวงคืนสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน ภายใต้หัวข้อ "แถลงการณ์ ทวงคืนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน"

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเชิงประเมินผลของประชาชนต่อสังคมไทยและคุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีคน ใหม่ที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยสอบถามประชาชนจำนวน 1,550 คน ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน พบว่า
ร้อยละ 92.1 รู้สึกว่าทหารเป็นที่พึ่งได้
ร้อยละ 89.1 รู้สึกปลอดภัย
ร้อยละ 87 รู้สึกทหารเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
ร้อยละ 82.6 รู้สึกอบอุ่น
ร้อยละ 24.9 รู้สึกกังวล
ร้อยละ 20.5 รู้สึกไม่สะดวก
ร้อยละ 19.7 รู้สึกตกใจ
ร้อยละ 7.6 รู้สึกไม่ชอบ
ร้อยละ 6.5 รู้สึกกลัว

25 กันยายน 2549
มีการจำกัดสิทธิ์ในการเดินทาง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยในภาคเหนือและภาคอีสาน ครูจากจังหวัดเชียงรายประมาณ 100 คนได้นั่งรถเพื่อไปร่วมงานสังคมที่จังหวัดชลบุรี ขณะกำลังผ่านด่านตรวจ ทหารได้สั่งให้หยุดรถและไม่อนุญาตให้ไปต่อ เพราะผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงรายไม่อนุญาต ส่วนประชาชนที่จะเดินทางพร้อมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นจำนวนมากเข้ามาในกรุงเทพฯ จะต้องให้ที่ว่าการอำเภอทำหนังสือรับรอง

17.00 น. กลุ่มประท้วงกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยผู้ประท้วงจำนวน 50-60 คน ได้มาชุมนุมกันที่ลานปรีดี หน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่ออภิปรายคัดค้านการรัฐประหาร และจัดเสวนาในหัวข้อ "ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร?" ซึ่งจัดโดยศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของ ม.ธรรมศาสตร์ในชื่อ"กลุ่มโดมแดง", เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ เพื่อเสรีภาพ, นิสิตนักศึกษาจาก ม.มหิดล, ม.รามคำแหง, ม.เกษตรศาสตร์ โดยระบุว่าเป็นการอารยะขัดขืนภาคปฏิบัติ อุเชนทร์ เชียงแสน ผู้ก่อตั้งกลุ่มโดมแดงกล่าวว่า "ถ้าพวกเขา [ทหาร] จับกุมหรือทำร้ายเรา เราจะไม่สู้ แต่นี่แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองตามที่ คปค.กล่าวอ้างเป็นเรื่องโกหก" การชุมนุมครั้งนี้กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงโดยมีการขึงป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "Council of Demented and Ridiculous Military" การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากวี่แววของเจ้าหน้าที่

26 กันยายน 2549
ได้มีผู้กล่าวโทษพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน กับพวกในฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดำเนินการตามกฎหมาย ตามเลขรับ ที่ 03614 พอทางกองทัพบกและรัฐบาลได้ทราบ จึงได้มีคำสั่งให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยยึดถือตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราวที่ได้นิรโทษกรรม การกระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ของคณะปฏิรูปฯ แต่ทางดีเอสไอได้แย้งว่า พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษต่างจากกฎหมายอย่างอื่น ที่กฎหมายแม่สามารถหักล้างกฎหมายลูกได้ กล่าวคือ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาทางกฎหมายกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสนธิสัญญาความ ร่วมมือแนวนโยบายและปฏิบัติระหว่าง FBI และหน่วยงานสอบสวนกลางของประเทศในกลุ่มภาคีสมาชิกเพื่อต่อต้านการกระทำผิด กฎหมายอย่างร้ายแรง การนิรโทษกรรมตามรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถกระทำได้

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ และบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 9 อสมท แสดงความรับผิดชอบลาออกจากช่อง 9 อสมท เพราะออกอากาศคำประกาศกฎอัยการศึกของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงที่เกิดการรัฐประหาร

27 กันยายน 2549
16.00 น. "เครือข่ายนิสิตจุฬาฯ เพื่อเสรีภาพ" จัดเสวนากลางแจ้งในหัวข้อ "ทำไมเราต้องคัดค้านรัฐประหาร" ที่ลานหน้าตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์, ประภาส ปิ่นตบแต่ง และที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ร่วมอภิปราย ภายในวันเดียวกันนี้ "เครือข่ายนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย เชียงใหม่" ได้จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "เราจะทำความเข้าใจกับการเมืองไทยได้อย่างไร" ที่บริเวณลานสนามหญ้า หน้าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะที่การเสวนาดำเนินไประยะหนึ่ง ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภต.ภูพิงค์ พร้อมเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ประมาณ 20 นาย ได้ขอความร่วมมือให้ผู้จัดยุติการเสวนา เนื่องจากขัดต่อประกาศกฎอัยการศึก แต่การเสวนาก็ดำเนินต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด กระทั่งผู้จัดประกาศเลิกการเสวนา เมื่อเวลา 19.40 น.

28 กันยายน 2549
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ


29 กันยายน 2549
ประชาชนเกาหลีใต้กลุ่มหนึ่ง ได้มีการรวมตัวต่อต้านรัฐประหารในไทย หน้าสถานทูตไทยในกรุงโซล

30 กันยายน 2549
12:46 น. นายนวมทอง ไพรวัลย์ อายุ 60 ปี
ได้ขับรถแท็กซี่ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นโคโรลล่า สีม่วง ทะเบียน ทน 345 กทม. ของบริษัทสหกรณ์แหลมทองแท็กซี่ จำกัด พ่นสีคำว่า "พลีชีพ" ที่กระโปรงท้าย ส่วนบริเวณด้านข้างประตูรถทั้งสองข้างพ่นเป็นตัวหนังสือจับใจความว่า "พวกทำลายประเทศ"​พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ตรากงจักร 71116 ของคณะปฏิรูปฯ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า​จนรถพังยับเยิน และตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัส ซี่โครงซ้ายหัก คางแตก ปากแตก และ ตาซ้ายบวมเป่ง หลังจากนั้นแท๊กซี่จำนวนหลายร้อยคันรีบรุดไปเยี่ยมแต่ถูกห้ามไม่ให้เข้าเยี่ยม เรื่องราวการรวมตัวของกลุ่มแท๊กซี่ไม่ได้ถูกรายงานข่าวต่อสาธารณะชน
ประกาศคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ประกาศตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในเรื่องที่ได้กระทำการให้รัฐเสียหายเฉพาะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น
ประกอบด้วย
นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานกรรมการตรวจสอบ
นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
นาย สัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบ
นายกล้านรงค์ จันทิก
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา
นายจิรนิติ หะวานนท์
นาย บรรเจิด สิงคะเนติ
นาย วิโรจน์ เลาหะพันธุ์
นาย สวัสดิ์ โชติพานิช (ลาออก)
นาง เสาวนีย์ อัศวโรจน์
นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
นายอำนวย ธันธรา

1 ตุลาคม 2549
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) แปรสภาพเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 แต่งตั้งให้สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24

2 ตุลาคม 2549
17:00-18:00 น. เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร จัด ‘อารยะขัดขืนภาคปฏิบัติสัญจร’ ด้วยการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน บริเวณหน้ากองบัญชาการทหารบก ถนนราชดำเนินนอก (ตรงข้ามเวทีมวยราชดำเนิน)มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง และในช่วงท้ายยังมีการจุดไฟเผารัฐธรรนูญชั่วคราวของ คปค. เพื่อแสดงความไม่ยอมรับในการเข้ามาทำหน้าที่ของ คปค.

6 ตุลาคม 2549
นักศึกษาและญาติวีรชนร่วมพิธีเวียนประทีปจากลานโพธิ์ไปรอบสนามฟุตบอลในงาน "30 ปี 6 ตุลา" เพื่อรำลึกการต่อสู้ของนักศึกษาและประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ณ สวนประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ช่วงเวลา 14.00 น.ที่หอประชุมเล็ก มธ. มีการจัดเสวนาในหัวข้อ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ชำระ" โดยมี รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.(พิเศษ)ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ร่วมเสวนา โดยมีการเปรียบเทียบเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 กับ 19 กันยา 2549 ว่า เมื่อมีการนำมาพูดคุยกันก็เกิดการทะเลาะกันตลอด แต่ไม่มีการนองเลือดเหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลา

9 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

11 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ตั้งฉายาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า "ขัน-ที สีเขียว" เนื่องจากหลังจากที่สนช.ชุดนี้ได้รับการคัดสรรโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง ชาติ(คมช.)ให้เข้ามาทำหน้าที่นิติบัญญัติ สมาชิกส่วนใหญ่มาจากสายทหารและข้าราชการประจำ และอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนถูกมองว่าเป็นสภา "สีเขียว" ทำให้สนช.ชุดนี้มีกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับคมช.และเพิ่มอำนาจทหารมาก ขึ้น ผ่านการพิจารณาหลายฉบับ โดยเฉพาะ ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านอย่างหนักจากองค์กรภาคสังคม และอนุมัติกฎหมาย 70 ฉบับภายในเวลาเพียง 3 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สนช. มีกริยาเปรียบได้กับ "นกเขา" เมื่อเจ้าของดีดนิ้วก็พร้อม "ขัน" ตอบรับตามสัญชาตญาณทันที
14 ตุลาคม 2549
การรวมตัวกันอีกครั้งในงานรำลึกวีรชน 14 ตุลาฯ โดยเครือข่าย 19 กันยาฯ เดินขบวนใหญ่ครั้งแรกฉลองวันประชาชน มีผู้ชุมนุมประมาณ 200 - 300 คน รวมผู้สังเกตการณ์และนักข่าวเครือข่าย 19 กันยาฯ

16:30 น.
เริ่มงานใช้สัญลักษณ์คือชุดดำ เพื่อไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย มีการอภิปรายโจมตีการรัฐประหารสลับกับการแสดงดนตรี และมีการจัดกิจกรรม "ลากตั้ง" เพื่อให้เลือกระหว่าง คปค 1 และ คปค 2 (คือไม่มีตัวเลือก) ผลปรากฎว่าคนส่วนใหญ่กาไม่ลงคะแนนเสียง
19.50 น.
มีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมกว่า 200 คน จากสนามฟุตบอลหน้าตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนเริ่มขบวนหัวแถวอยู่ประตูใหญ่ท้ายแถวอยู่หน้าตึกคณะวารสารฯ เคลื่อนมาหยุดยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนินเพื่อประท้วงรัฐประหาร ระหว่างทางร้องตะโกนว่า "คปค.ออกไป" จากนั้นตั้งแผ่นป้าย "ขอไว้อาลัยแด่ รธน.ฉบับประชาชน" และป้ายผ้า "ไม่มี ปชต.ในระบบเผด็จการ" มีการประกาศแถลงการณ์ และจุดเทียนไว้อาลัย เพื่อปลุกจิตสำนึกประชาธิปไตย

20 ตุลาคม 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

23 ตุลาคม 2549
กลุ่มผู้เข้าร่วมงานสมัชชาสังคมไทย เครือข่ายผู้พิการ เครือข่ายแรงงาน กว่า 200 คน ได้เดินขบวนจากอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอในการปฏิรูปการเมือง ตลอดจนการประกาศยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยภาคประชาชน ผู้ชุมนุมถือป้ายผ้าข้อความเรียกร้องต่าง ๆ เช่น "ยกเลิกกฎอัยการศึก" "ค่าแรงขั้นต่ำ 7,000 บาท" "Right Base not Charity Base" โดยมีทหารราว 20 นายเฝ้าจับตาอยู่ ทั้งหมดมีอาวุธพร้อมรบและกระจายกำลังจุดละ 2 นายในมุมตึกต่าง ๆ ก่อนที่ขบวนจะเดินทางกลับสู่อนุสรณ์สถานฯ ทหารนายหนึ่งได้ขอเชิญตัวผู้แจกใบปลิว โดยระบุว่าข้อความในใบปลิวขัดต่อกฎอัยการศึก ทำให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้ามาห้อมล้อม ทหารนายนั้นจึงกล่าวว่า "ถ่ายรูปไว้ก่อน ค่อยเชิญตัววันหลัง"

24 ตุลาคม 2549
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเลือก นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยมีรองประธานอีกสองคน คือ พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ และนางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

29 ตุลาคม 2549
นวมทอง ไพรวัลย์ เขียนจดหมายประหนึ่งว่าเป็นจดหมายลาตาย จดหมายฉบับดังกล่าวขณะนี้ถูกนำไปใส่กรอบวางอยู่หน้าโลงศพของนายนวมทอง ณ ศาลา 1 วัดบัวขวัญ จ.นนทบุรี
จดหมายจากใจนวมทอง ไพรวัลย์

"เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐทหารและรัฐตำรวจ (ต้องไม่มี)

สวัสดีครับท่านพี่น้องประชาชนที่เคารพ เหตุที่กระผมทำการพลีชีพเป็นครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเองเพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค.ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า “ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้”

เหตุพลีชีพครั้งแรกของผมยอมรับว่าคำณวนความเร็วของรถแท็กซี่ผิดพลาด รถถังที่จอดลานพระบรมรูปทรงม้าติดด้านหัวถนราชดำเนินนอก เมื่อผมขับรถผ่านกองบัญชาการทัพบกพ้นหัวถนนและเกาะกลางถนนเพื่อพุ่งเข้าชนเพื่อหักเลี้ยวแบบตัว S ความเร็วจึงลดลงมากเพราะต้องการชนแบบประสานงา

ผมจึงแค่บาดเจ็บสาหัส ซี่โครงหัก 5 ซี่ ตาซ้ายบวมช้ำคางทะลุถึงภายในช่องปาก รักษาตัวโรงพยาบาลวชิรฯ มีคณะของคุณครูประทีป ฮาตะ และคณะอื่นๆ มาเยี่ยมหลายคณะและมีผู้สื่อข่าว นสพ. มาขอสัมภาษณ์ว่า ไม่พอใจหรือที่ปฏิรูปแล้วบ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการนองเลือด ผมตอบไปว่าใครทำผิดกฎหมายและก่อความไม่สงบก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ที่ผ่านมามีเบื้องหลังเบื้องลึกมากมาย ตอนนี้ก็เปิดหน้ากากออกมาจนเกือบหมดแล้ว เป็นการตบหน้าประชาชนอย่างไม่อาย. แต่ไม่เห็นเป็นข่าวรวมทั้งข่าวของผมที่ชนรถถังเพื่อประท้วง คปค. ลงข่าว นสพ. วันเดียวเงียบหายไปเลย ผมรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิรฯ 13 วัน คุณหมออนุญาตให้กลับมาพักฟื้นที่บ้านและนำ นสพ. ที่เสนอข่าวชนรถถังประท้วงคปค. ของผม พบคำสัมภาษณ์ท่านรองโฆษก ใน นสพ. ตรงกันหลายฉบับด้วยถ้อยคำที่กล่าวมาข้างต้นและยังปรามาสว่าผมแก่แล้ว คงทำด้วยอารมณ์ชั่ววูบ ก็มีเวลาเอาสีมาพ่นข้อความรอบตัวรถยังคิดว่าอารมณ์ชั่ววูบ ไม่น่าให้ทำงานและกินเงินเดือนที่ได้มาจากภาษีของประชาชนเลย.

ความคิดผม เมื่อหายป่วยดีก็จะทำมาหากินขับรถ TAXI ไม่ก่อวีรกรรมอีกต่อไป แต่พบข้อความการให้สัมภาษณ์ นสพ. ของท่านรองโฆษก คปค. ในเชิงปรามาสดังกล่าวก็เลยต้องสนองตอบกันหน่อย เพราะนิสัยคนไทยฆ่าได้แต่หยามไม่ได้ และเหตุผลที่ผมเลือกวันสุดท้ายของเดือนตุลาคมเป็นวันพลีชีพเพราะเดือนนี้ เป็นเดือนที่วิญญาณของวีรชนที่สถิตอยู่ที่อนุสรณ์สถานฯ ที่ผมทำการพลีชีพนี้ได้เรียกร้องกระทั่งได้มาซึ่งประชาธิปไตย และวิญญาณของผมก็จะสถิตอยู่กับเหล่าวีรชนแห่งนี้ตลอดไป และขอยืนยันว่าปฏิบัติการทั้งสองครั้งทำด้วยใจ ไม่มีใครจ้าง

สุดท้ายขอให้ลูกๆ และภรรยาจงภูมิใจในตัวพ่อ ไม่ต้องเสียใจ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก

ลาก่อน พบกันชาติหน้า

ปล. ขอแก้ข่าว ขวดยาที่พบในรถภายหลังเกิดเหตุคืออาหารเสริมแคปซูลใบแปะก๊วยไม่ใช่ยาแก้เครียดตามที่
ลงข่าว นสพ. ผมไม่เครียดแต่ประท้วงจอมเผด็จการ

สวัสดีครับ
29 ตุลาคม 2549
(นายนวมทอง ไพรวัลย์) "

31 ตุลาคม 2549
เมื่อกลางดึกของคืนวันนี้ นายนวมทอง ไพรวัลย์ ได้ผูกคอเสียชีวิต บนสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดีรังสิต หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พร้อมด้วยจดหมายประท้วงรัฐบาลโดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า "เหตุที่ผมกระทำการพลีชีพครั้งที่ 2 โดยการทำลายตัวเอง เพื่อมิให้เสียทรัพย์เหมือนครั้งแรก ก็เพื่อลบคำสบประมาทของท่านรองโฆษก คปค. (พ.อ.อัคร ทิพย์โรจน์) ที่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า 'ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้'"

ครม. มีมติเห็นชอบให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ไปนั่งเก้าอี้ ผอ.ศอ.บต.

1 พฤศจิกายน 2549
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ โฆษกกองทัพบก และอดีตรองโฆษก คปค.กล่าวเรื่องนี้ว่า สิ่งที่นายนวมทองกล่าวหาผม ผมต้องขอขมาต่อวิญญาณของคุณลุง และจะหาโอกาสทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ รวมทั้งไปร่วมในพิธีศพ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของคุณลุงที่มุ่งมั่น ทุ่มเท หรือคิดด้านเดียว โดยขาดคำชี้แจงตามลำดับ จนทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณบุญชู ภรรยาของคุณลุง ก็ทราบว่าเขาไม่ได้ผิดปกติอะไร ไม่มีท่าทีที่บอกว่าคิดมากหรือกลุ้มใจ พ.อ.อัคร กล่าว

ประชาชนจำนวน 200 คน ได้มาชุมนุมกันเพื่อขับไล่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. โดยเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และจัดการเลือกตั้งภายใน 2 เดือน ชนาพัทธ์ ณ นคร และวรัญชัย โชคชนะ ผู้นำกลุ่มพิราบขาว ได้กล่าวโจมตีคณะรัฐประหาร และเชิดชูวีรกรรมของ นวมทอง ไพรวัลย์ ช่วงค่ำแกนนำกลุ่มเครือข่าย 19 กันยาฯ ตามมาสมทบการชุมนุม

7 พฤศจิกายน 2549
ในวาระฉลองครบรอบ 60 ปีของไทม์เอเชีย นิตยสารไทม์ สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของเอเชีย ที่ทรงใช้ทศพิธราชธรรมเพื่อยุติความขัดแย้งและทรงนำประเทศ ผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ

8 พฤศจิกายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี สั่งเผาทิ้งบัญชีดำอุสตาช หลังครู-น.ร.ธรรมวิทยา โอดครวญถูกขึ้นบัญชีดำถึง 90% ศาลนราธิวาสถอนฟ้อง 56 จำเลยคดีตากใบ และถอนหมายจับผู้ต้องหา 40 คนในคดีเดียวกัน ผบ.ทบ.มั่นใจมาตรการ รบ.ได้ใจชาวบ้านบริสุทธิ์ถึง 99% มท.1เชื่อ"ใกล้ถึงจุดสุดท้าย"ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กลุ่มคนร้ายไม่ต่ำกว่า 20 เข้าโจมตีทหารพรานที่คุ้มกันโรงเรียนในบันนังสตา ทหารสังเวย 1 คนร้ายโดนยิงสวนดับ 2

เลขาธิการโอไอซีได้แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้กล่าวขอโทษต่อชาวไทยมุสลิมในพื้นที่เกี่ยวกับความผิดพลาดของรัฐบาลที่ผ่านมา รวมถึง การแสดงความตั้งใจที่จะให้สอบสวนคดีบุคคลสูญหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ทั้งยังยินดีที่ พล.อ.สุรยุทธ์แสดงความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาด้วยการพูดคุยหารือ รวมถึงการรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือศอ.บต.

กระทรวงกลาโหมยอมชดใช้ญาติคดีตากใบ 42 ล้านบาท

9 พฤศจิกายน 2549
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ออกมาชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแล้ว เช่นเดียวกับนายจักรธรรม ธรรมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติใน ขณะนั้น ได้สนับสนุนและอ้างว่าสำนักพระราชวังออกแบบพิธีทั้งหมด รวมทั้งการจัดตำแหน่งเก้าอี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ระบุว่า ในวันดังกล่าวไม่มีพระบรมราชานุญาติให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประธานในพิธีแต่อย่างใด

11 พฤศจิกายน 2549
มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักรบไซเบอร์ ผู้รักประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านเผด็จการรัฐประหาร ที่บิดเบือนข่าวสารและปิดหูปิดตาประชาชน มีชื่อกลุ่มว่า คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ

14 พฤศจิกายน 2549
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีความรุนแรงมากขึ้นความตอนหนึ่งว่า "ทุกเรื่องต้องใช้เวลาทั้งนั้น ผมยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ให้มันยุติภายในระยะสั้นๆ ถ้าเผื่อผมทำได้ เหมือนอย่างที่ทุกคนต้องการ คือผมสั่งวันนี้ พรุ่งนี้เลิก ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ จะให้ผมไปขอโทษ ให้ไปกราบเท้าใครก็ได้ ผมยินดีที่จะทำอย่างนั้น ทุกๆ คนเลย ว่าขอให้เลิกเถอะ ผมยินดีกราบเท้า ปูผ้ากราบเลย"

17 พฤศจิกายน 2549ศาลแพ่งมีคำสั่งให้นายสนธิหยุดการกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่ม ในเดือนเดียวกัน พลเอกกิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ อดีตราชองครักษ์ ได้ร้องทุกข์ต่อตำรวจในกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายวิษณุ เครืองามกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพใน กรณีการทำบุญวัดพระแก้ว แต่ได้มีการถอนฟ้องในภายหลัง

คนร้ายวางระเบิดรถกระบะเสียหายทั้งคัน ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บ
คนร้ายขี่ จยย.ขว้างระเบิดใส่หลังคาบ้านชาวบ้านเสียหาย ใน อ.เมือง จ.ยะลา
คนร้ายเผาบ้านชาวบ้านใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ไหม้หมดทั้งหลัง
คนร้ายยิง พนง.บริษัท ขณะขี่ จยย.ใน อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส
คนร้ายยิงลูกจ้างโครงการพระราชดำริจุฬาภรณ์ 9 ขณะขี่ จยย.ใน อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต
คนร้ายยิงลูกจ้างโครงการฟาร์มตัวอย่าง ขณะยืนซื้อปลาที่ตลาดนัด อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เสียชีวิต
คนร้ายขโมยปืน ชรบ.ใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ได้ไป 1 กระบอก
คนร้ายยิงพ่อค้าขณะขี่ จยย.ขายไอศกรีม เสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.ยะลา
คนร้ายวางระเบิด 2 จุด หน้าร้านกาแฟใน อ.เมือง จ.นราธิวาส เวลาไล่เลี่ยกัน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 23 ราย
คนร้ายระเบิดรถทหารขณะวิ่งผ่านถนนใน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทหารบาดเจ็บ 7 ราย
คนร้ายวางระเบิดหน้าร้านขายกาแฟ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แต่ จนท.เก็บกู้ได้ก่อน
คนร้ายขว้างขวดน้ำมันจุดไฟ ใส่บ้านทหารพรานที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา รถกระบะเสียหายทั้งคัน แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บ

18 พฤศจิกายน 2549
19.00 น. กลุ่มพันธมิตรต่อต้านรัฐประหารซึ่งนำโดยเครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร ได้เคลื่อนขบวนจาก ม.ธรรมศาสตร์ สมทบด้วยกลุ่มพิราบขาว 2006 รวมทั้งมวลชนบางส่วนที่ท้องสนามหลวง สนธิกำลังกันเดินไปตามถนนราชดำเนิน ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปจนถึงหน้ากองทัพบก เพื่อประกาศเจตนารมย์ต่อต้านการสืบทอดอำนาจเผด็จการ และให้ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยทันที การชุมนุมในครั้งนี้มีผู้ร่วมชุมนุมกว่า 700 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายกลุ่มมวลชน อาทิเช่นกลุ่มกรรมกรปฏิรูป, ตัวแทนนักศึกษาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, กลุ่มพิราบขาว 2006 และประชาชนผู้สนใจ การชุมนุมยุติลงในเวลา 20.00 น.

28 พฤศจิกายน 2549
ครม. ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด (รวมกรุงเทพฯ) คือ กำแพงเพชร ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ชัยภูมิ นราธิวาส นครราชสีมา บุรีรีมย์ ปัตตานี มหาสารคาม ยะลา ร้อยเอ็ด เลย ศีรษะเกษ สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ตราด ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน ราชบุรี ระนอง สตูล สระแก้ว อุตรดิตถ์ และ สงขลา แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด ที่ยังมีความเคลื่อนไหวทางการเมือง

9 ธันวาคม 2549
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระ บรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน
การปาฐกถาพิเศษ และการเปิดตัวหนังสือ “พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : ๖๐ ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย” เรียบเรียงโดย รศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นองค์ปาฐกฯ
วิจารณ์หนังสือ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ณ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

10 ธันวาคม 2549
เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร นัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันรัฐธรรมนูญเพื่อระลึกถึงรัฐธรรมนูญที่เสียไป นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มพิราบขาวที่มีเป้าหมายต่อต้านรัฐประหารเช่นกันมาสมทบ ระหว่างนั้นมีการปราศรัยด้วยคนกลุ่มต่างๆ เช่น วรัญชัย โชคชนะ อุเชนทร์ เชียงแสน สมบัติ บุญงามอนงค์ นพรุต วรชิตวุฒิกุล (แกนนำกลุ่มพิราบขาว) ฯลฯ จ

18.30 น. ได้มีการเดินขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคาดว่ามีผู้ร่วมเดินขบวนไป จำนวน 1,000 คน (เครือข่ายอ้างว่ามีถึง 3,000-4,000 คน) เครือข่าย 19 กันยาฯ ได้อ่านประกาศวันรัฐธรรมนูญ “ต้านการสืบทอดอำนาจ - ต้านรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ” มีส่วนที่น่าสนใจคือ


"... ทางเครือข่าย 19 กันยาฯเชื่อว่าเป้าหมายการยึดอำนาจที่แท้จริง คือความต้องการเข้ามาเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง-จัดขั้วอำนาจหรือความ สัมพันธ์เชิงอำนาจกันใหม่ในหมู่ชนชั้นนำ หลังจากชนชั้นนำจารีตประเพณี ระบบราชการ และชนชั้นกลางที่มีปากเสียงเหนือชาวบ้านทั่วไปมานานถูกสั่นคลอนด้วยการเติบโตและก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งสูญเสียบทบาทนำในฐานะอภิสิทธิ์ทางสังคมลง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ พ.ค.2535 ที่ทำให้ทหารต้องเกือบตายไปจากการเมืองไทยอย่างถาวร ระบบราชการ เสียอำนาจให้เอกชนและพรรคการเมือง ปัญญาชนนักวิชาการเสียบทบาทในการชี้นำสังคม ฐานเสียงสังคมในชนบทกลายเป็นตัวชี้ขาดการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมือง ตลอดจนการเติบโตของประชาชนชั้นล่างของสังคม การกลับมาครั้งนี้ของเผด็จการจึงเป็นรื้อฟื้นสถานะอภิสิทธิ์กลับมา ดังนั้นความสำเร็จในการรัฐประหาร (ปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ - สืบทอดอำนาจ) ย่อมหมายถึงความล้มเหลวของสังคมไทยโดยรวม

หลักสำคัญประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างครั้งนี้ คือกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้ไม่ใช่ทั้งหมดของอำนาจในสังคมการเมืองไทย แต่ก็คือแกนกลางของการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชน สถาบันการเมืองกับสถาบันการเมือง สถาบันการเมืองกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน อีกนัยหนึ่ง รัฐธรรมนูญคือข้อตกลงแม่บทที่จะบอกว่า ใครควรมีอำนาจมากน้อยเพียงใด และใช้อำนาจนั้นได้อย่างไร การเข้าไปจัดการกับรัฐธรรมนูญก็คือการจัดการกับอำนาจทั้งในระดับบนที่เป็น สถาบันการเมืองหลักกับระดับล่างที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพหรือวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนไปพร้อมๆ กัน

แต่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นเปิดโอกาสให้คณะเผด็จการแทรกแซงได้ทุกขั้น ตอน แนวโน้มการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจคือประชาชนจะมีอำนาจน้อยลง กลุ่มอำนาจประเพณี เช่น ทหาร ศาล ระบบราชการ องคมนตรี กลุ่มทุนที่อิงกับอำนาจประเพณีนั้น จะมีอำนาจเพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดจะนำไปสู่สังคมการเมืองภายใต้การบงการของกลุ่ม สถาบันการเมืองบางกลุ่มเท่านั้น

เครือข่ายฯไม่เห็นด้วยในการเข้าไป มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญนี้ หรือการมีส่วนร่วมทางอ้อมด้วยการตั้งเวทีคู่ขนาน ซึ่งเป็นการพยายามต่อรองแบบหนึ่งโดยหวังว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะดีหรือไม่เลวร้ายเกินไป แต่ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ การกระทำเช่นนั้นเท่ากับยอมรับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กระทำโดยเผด็จการ ทันที ผลร้ายที่ตามมาคือ จะยิ่งทำให้เผด็จการมีความชอบธรรมเต็มที่ นั่นคือการตอกย้ำความจำเป็นที่ระบบการเมืองไทยต้องมีเผด็จการต่อไปอย่างไม่ สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ได้เพียงรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการอำพรางเท่านั้น..."

หลังอ่านประกาศจบ ทางเครือข่าย 19 กันยาฯ ได้เผารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจุดเทียนร่วมกันจากนั้นจึงร้องเพลง “คำตอบในสายลม” ก่อนจะแยกย้ายกันกลับในเวลา 20.00 น. มีการกำหนดไว้ว่าการชุมนุมครั้งต่อไปจะจัดทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00น. ณ สนามหลวง

17 ธันวาคม 2549
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่

18 ธันวาคม 2549
มีการประชุมเลือกสมาชิกด้วยกันเองจำนวน 200 คน เพื่อส่งให้ คมช. คัดเลือกเหลือ 100 คนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนบทความวิเคราะห์ว่าถึงท่าที 2 อย่างในหมู่ปัญญาชนแอ๊กติวิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร


"...แนวทางแรก ปฏิเสธการรัฐประหารและสิ่งที่ตามมาโดยสิ้นเชิง (รัฐบาล, สนช., คมช., สมัชชาแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญใหม่) คือไม่ยอมรับ และไม่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมใดๆในการผลักดันเสนอความเห็นต่อรัฐธรรมนูญใหม่ อาศัยการเคลื่อนไหวประนามต่อต้านคัดค้านจากภายนอก
แนวทางที่สอง นอกจากปฏิกิริยาที่ค่อนข้างคลุมเครือ ลังเล ต่อการรัฐประหารโดยเฉพาะในระยะแรกแล้ว แนวทางนี้เสนอให้พยายามวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็น เพื่อผลักดันส่งอิทธิพลต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รวมทั้งเคลื่อนไหวในรูปแบบการร่าง "รัฐธรรมนูญทางเลือก", "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"...)

ซึ่งเขาวิพากษ์แนวทางแรกว่า
... คณะรัฐประหารชุดนี้คงพยายามผลักดันให้การเมืองมีลักษณะแบบ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" เหมือนสมัยเปรม (รัฐธรรมนุญ 2521) นั่นคือ การเมืองที่เปิดโอกาสให้ราชสำนักและกองทัพมีอิทธิพลและบทบาทในการกำหนดอย่างประจำ เครื่องมือสำคัญของการเมืองแบบนี้คือ นายกฯไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาแต่งตั้ง (แต่ล่าสุด ชัยอนันต์ สมุทวนิช ได้เสนอให้มีองค์กรอย่าง คมช. และ สตช. ด้วย)

ในความเห็นผม การประเมินเช่นนี้ น่าจะมีผลต่อการทบทวนท่าทีต่อรัฐประหารข้างต้น กล่าวคือ ถ้าการประเมินเช่นนี้ถูกต้อง ความพยายามที่จะ "ส่งอิทธิพล" ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวทาง ม.เที่ยงคืน ก็เป็นความพยายามที่เกือบจะแน่นอนว่าจะล้มเหลว...

และมีข้อเสนอว่าควรจะมีการชักชวนให้นักวิชาการที่มีชื่อเสียงทางสังคมทั้งหลาย ให้มาเห็นด้วยกับท่าทีต่อการรัฐประหารแบบบอยคอต"

19 ธันวาคม 2549
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปิดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84% ซึ่งต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี เป็นผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

31 ธันวาคม 2549
เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี

อ้างอิง :
กรุงเทพธุรกิจ, คม-ชัด-ลึก, ผู้จัดการ, ข่าวสด, มติชน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, INN, Sanook, ประชาไท
http://th.wikipedia.org/wiki/พ.ศ._2549
http://th.wikipedia.org/wiki/ทักษิณ ชินวัตร
ฟังเสียงวิทยุได้จาก http://www.managerradio.com/Radio/DetailRa...program_id=2770 อ้างจาก http://www.cityvariety.com/index.php?cmd=n...d=11&cate=2
ประชาไทออนไลน์. "เปิดตัวแล้ว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...emLanguage=Thai(10 กุมภาพันธ์ 2549)
"แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์_27_มิถุนายน_พ.ศ._2549" http://th.wikisource.org/wiki/แถลงการณ์พรร...ุนายน_ พ.ศ._2549
"เตือน'ทักษิณ'ถอยก่อนนองเลือด" http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=8431 (5 มีนาคม 2549)
http://th.wikipedia.org/wiki/อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ
ประชาไทออนไลน์. "พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องครม. ออกยกชุด เปิดทางมาตรา 7" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (25 มีนาคม 2549)
สาระสนเท่ห์. "ผลการเลือกตั้ง 2549" http://sanpaworn.vissaventure.com/?pg=2 (5 เมษายน 2549)
ประชาไทออนไลน์. "ไชยันต์ ไชยพร ฉีกบัตรเลือกตั้ง เปิดประเด็น ต้องเลือกระหว่างการเป็นพลเมืองดีกับการเป็นคนดี" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (2 เมษายน 2549)
ประชาไทออนไลน์. "ตราไว้ในดวงจิต : พระบรมราโชวาท “นายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่ประชาธิปไตย”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...Key=HilightNews (26 เมษายน 2549)
http://mynoz.spaces.live.com/blog/cns!...B!738.entry อ้างถึง มติชนรายวัน วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11342
ปราโมทย์ นาครทรรพ. "http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000065158" http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.as...D=9490000065158 (18 พฤษภาคม 2549)
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก. "ศาลอาญา พิพากษา 3 กกต. จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว" http://news.sanook.com/politic/politic_10841.php (25 กรกฎาคม 2549)
"พลิกตำนาน"ลอบสังหาร"บุคคลสำคัญจาก"เปรม" ถึง "ทักษิณ"ในสถานการณ์ระอุ"เรื่องจริง"หรือ"ปาหี่" "http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239200860&grpid=00&catid=01 (9 เมษายน 2552)
http://th.wikipedia.org/wiki/คณะปฏิรูปการป...ย์ทรงเป็น ประมุข
http://th.wikipedia.org/wiki/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
http://www.palawat.org/twiki/tiki-pagehist..._style=sideview
ประชาไทออนไลน์. "จดหมายจากใจแท็กซี่พลีชีพ “ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php? mod=mod_ptcms&ContentID=5657&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 http://th.wikisource.org/wiki/ประกาศ_คปค._ฉบับที่_๒๗ (22 กันยายน 2550)
http://th.wikipedia.org/wiki/คตส.
http://th.wikipedia.org/wiki/นวมทอง_ไพรวัลย์
http://tnews.teenee.com/politic/5203.html (2 พฤศจิกายน 2549) อ้างจาก หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
"ข่าวประชาสัมพันธ์ มธ.โดยงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง" http://www.tu.ac.th/news/2006/12/04.htm (4 ธันวาคม 2549)
"รายงานสดเหตุการณ์ชุมนุมต้านรัฐประหาร 10 ธันวาคม 2549" http://www.palawat.org/twiki/tiki-index.ph...10_field_report (ปรับปรุงแก้ไขล่าสุด 25 มิถุนายน 2550) และ ประชาไทออนไลน์ "ชุมนุมต้านรัฐประหารนับพัน “เรามาล้อมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยถูกขโมย”" http://www.prachatai.com/05web/th/home/pag...emLanguage=Thai (11 ธันวาคม 2549)
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล."อะไรต่อไป? สองแนวทางในหมู่ปัญญาชนแอ๊กติวิสต์ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในขณะนี้ และข้อสังเกต-ข้อเสนอบางประการ" http://somsakcouppostings.blogspot.com/200...-post_2504.html (18 ธันวาคม 2549)
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=30312
http://www.komchadluek.com/2006/09/20/a001_49076_report.php?news_id=49076

http://th.wikipedia.org/wiki/การขับไล่ทักษิณ_ชินวัตร_จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
http://th.wikipedia.org/wiki/เครือข่าย_19_กันยา_ต้านรัฐประหาร
http://th.wikipedia.org/wiki/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย_พ.ศ._2548-2549
http://th.wikipedia.org/wiki/ทักษิณ_ชินวัตร

-------------------------------------------------------------

FfF