บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


08 มิถุนายน 2552

<<< วิกฤตการณ์การเมืองไทย ปี 2551 >>>

ลำดับเหตุการณ์ การเมืองไทย ประจำปี 2551

29 มกราคม 2551
นายสมัคร สุนทรเวช จัดตั้งรัฐบาลผสม และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550

6 กุมภาพันธ์ 2551
จัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรก เริ่มมีการวิจารณ์ว่าเป็นรัฐบาลนอมินี่ พ.ต.ท.ทักษิณ

26 กุมภาพันธ์ 2551
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติด้วยเสียงข้างมาก 3 ใน 5 (งดออกเสียงหนึ่งเสียง) ให้ใบแดงและส่งความเห็นไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ส.ส.แบบสัดส่วน ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา เนื่องจากพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ กำนัน ต.จันจว้า อ.แม่จัน เป็นพยานคนสำคัญ คดีทุจริตเลือกตั้งนี้เกิดจากนายวิจิตร ยอดสุวรรณ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคชาติไทย นำหลักฐานเป็นวีซีดี กล่าวหาว่านายยงยุทธเรียกกำนัน 10 คน ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นำโดยนายชัยวัฒน์ ฉางข้าวคำ เดินทางไปพบที่กรุงเทพฯ ก่อนการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และเข้าพักที่โรงแรมเอสซีปาร์ค นายยงยุทธขอให้กำนันช่วยเหลือตนและน้องสาว ตลอดจนนายอิทธิเดช ผู้สมัคร เขต 3 จากนั้นคนสนิทของนายยงยุทธได้มอบเงินให้กำนันคนละ 20,000 บาท นายยงยุทธได้ออกมาตอบโต้ตลอดเวลาว่าเป็นการจัดฉาก ถูกสร้างพยานหลักฐานเท็จ ด้าน กกต. กล่าวว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับซีดีเพราะมีพยานบุคคลที่ยืนยันชัดเจน หลัง กกต.มีมติ นายยงยุทธได้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาโดยไม่ลาออก

28
กุมภาพันธ์ 2551
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งลี้ภัยทางการเมืองจากเมืองไทยเป็นเวลากว่า 17 เดือน เดินทางกลับประเทศอย่างวีรบุรุษจากการต้อนรับของเหล่าผู้สนับสนุน และเดินทางขึ้นศาลในคดีคอรับชั่น ก่อนได้รับการประกันตัว

28 มีนาคม 2551
กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนไหวครั้งที่ 1 โดยการจัดสัมมนา "ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

25 เมษายน 2551
เคลื่อนไหวครั้งที่ 2 โดยการจัดสัมมนา "ยามเฝ้าแผ่นดินภาคพิเศษ ครั้งที่ 2" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

25 พฤษภาคม 2551
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้กลับมาชุมนุมใหญ่อีกครั้ง โดยเริ่มต้นชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 รวมทั้งมีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภาที่เข้าชื่อเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเวลาค่ำได้เคลื่อนขบวนไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดกั้นไว้ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ จึงได้ปักหลัก
ชุมนุมยื้ดเยื้อ โดยปิดถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่บริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ จนถึงแยก จ.ป.ร. บริเวณหน้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการเข้าร่วมของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ

5 มิถุนายน 2551
เริ่มยุทธศาสตร์ดาวกระจายโดยเดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงมหาดไทย

18 มิถุนายน 2551
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินทางไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร

19 มิถุนายน 2551
ขบวนของกลุ่มต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ได้เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงมาหยุดอยู่ที่บริเวณสี่ แยก จ.ป.ร. (หน้าอาคารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เผชิญหน้ากับตอนท้ายขบวนของพันธมิตรฯ โดยยังไม่มีเหตุปะทะกันเกิดขึ้น ด้านตำรวจได้จับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง

18.00 น.มีนายตำรวจที่รักษาความปลอดภัย ประจำอยู่ในทำเนียบรัฐบาลกว่า 20 นาย ต่างพากันปืนรั้วออกจากทำเนียบ ทางฝั่งตรงข้ามสำนักงานสหประชา ชาติ เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยมีการ์ดพันธมิตรฯ บางส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการออกจากพื้นที่ทำเนียบด้วย ในวันนี้ทนายความของพันธมิตรฯ ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่งที่ให้ย้ายออกจากทำเนียบรัฐบาล ว่าต้องขอโต้แย้งในทางวิชาการที่ก่อนหน้านี้เคยส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองพิจารณาในเรื่องสิทธิการชุมนุม แต่ครั้งนี้มีการพิจารณาออกคำสั่งเอง

20 มิถุนายน 2551
กลุ่มพันธมิตรฯ ได้เคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุม 9 เส้นทางเพื่อยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล และย้ายการชุมนุมมาที่หน้าทำเนียบรัฐบาล


23 มิถุนายน 2551
นายสุริยะใส กตะศิลา ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแนวคิดใหม่โดยหวังเพื่อลดจำนวนนักการเมืองหน้าเดิมที่คอร์รัปชั่นและดำเนินนโยบายประชานิยม คือ เสนอให้มีการจัดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 70% มาจากการคัดสรรจากภาคและส่วนอื่น แทนการเลือกตั้ง โดยได้ให้สาเหตุว่าการดำเนินงานรัฐสภาปัจจุบันไม่สามารถ แก้ไขปัญหาการเมืองได้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะพยายามให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วม และพยายามให้มีตัวแทนสาขาอาชีพที่มาจากการเลือกสรรค์ของกลุ่มอาชีพแต่ละอาชีพโดยตรง จึงเสนอสูตร 30/70

24 มิถุนายน 2551
ต่อต้านแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาโดยยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะ รัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีรับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

7 กรกฎาคม 2551
ดาวกระจายไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อถามความคืบหน้าของคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพันธมิตรฯ และคนในรัฐบาลที่เป็นผู้ต้องหา ย้ายการชุมนุมกลับไปยังสะพานมัฆวานรังสรรค์
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ปราสาทเขาพระ วิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา

8 กรกฎาคม 2551
ศาลฎีกาแผนก คดีเลือกตั้ง วินิจฉัยว่ากรณีที่นายยงยุทธให้เงินกับกำนัน อ.แม่จัน ทั้ง 10 คน เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ จึงพิพากษายืนตามมติของ กกต. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธเป็นเวลา 5 ปี ขณะที่ กกต.เตรียมดำเนินการต่อ โดยสรุปสำนวนส่งให้อัยการสูงสุด เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เสนอยุบพรรคพลังประชาชนต่อไป
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองมีทั้งหมด 9 คน ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้
* นายชัช ชลวร (ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายจรัญ ภักดีธนากุล (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายจรูญ อินทจาร (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายเฉลิมพล เอกอุรุ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายบุญส่ง กุลบุปผา (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายสุพจน์ ไข่มุกต์ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
* นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ศาลตัดสินให้บุคคลสำคัญของรัฐบาล 3 ราย คือ นายไชยา สะสมทรัพย์ นายนพดล ปัทมะ และนายยงยุทธ ติยะไพรัช พ้นสภาพจากการเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข,ต่างประเทศ และสมาชิกรัฐสภา ตามลำดับ

14 กรกฎาคม 2551
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางไปยื่นฟ้องต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินคดีทางอาญาและถอดถอนนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี รวมถึงข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรม สนธิสัญญ เจ้ากรมแผนที่ทหาร ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 45 คน จากกรณีที่มีมติเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งมติดังกล่าว ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการรัฐสภา อีกทั้งไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนด้วย

11 สิงหาคม 2551
พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เดินทางลี้ภัยไปยังอังกฤษ อ้างว่าได้รับการไต่สวนคดีคอรับชั่นอย่างไม่เป็นธรรม หลังจาก คุณหญิงพจมาน ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปีในข้อหาเลี่ยงภาษี

19 สิงหาคม 2551
ดาวกระจายไปยังสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย

21 สิงหาคม 2551
ดาวกระจายไปยังหน้ากระทรวงต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้ทางกระทรวงเพิกถอนหนังสือเดินทางสีแดงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

25 สิงหาคม 2551
19.45 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแถลง ข่าวว่า ทันทีที่ประกาศสงครามครั้งสุดท้าย ภายใต้ "แผนปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า" ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เช้ามืด ในเวลา 07.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม โดยจะขึ้นเวทีประกาศเจตนารมณ์บนเวที และแถลงมาตรการว่าจะเคลื่อนไปที่ไหนอย่างไร รวมทั้งแผนปฏิบัติการองค์กรแนวร่วมต่างๆ เสริมในหลายจังหวัด จะมีผู้ชุมนุมมามากกว่า 3 แสนคน คาดว่าจะจบในวันเดียว ถ้านายกรัฐมนตรียุติบทบาทโดยการลาออกทุกอย่างก็คงจบ แต่ถ้าแผนไทยคู่ฟ้าไม่สำเร็จ ยุทธการดาวกระจายก็จะเป็นแผนเสริม ที่นำมาปฏิบัติการในแบบวันต่อวัน โดยจะใช้บริเวณสะพานมัฆวานฯ เป็นศูนย์บัญชาการใหญ่ ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นปราศรัยด้วยการอ่านแถลงการณ์เคลื่อนทัพขับไล่รัฐบาล โดยบอกด้วยว่า จะมีทัพหลวง ทัพหน้า ทัพน้อย และทัพพิสดาร จะบอกแผนภายใน 1 ชั่วโมงก่อนเคลื่อนพล


26 สิงหาคม 2551
05.45 น. ตรงกับวันที่นายสนธิได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าเป็นวัน "เป่านกหวีด" ได้มีชายฉกรรจ์ประมาณ 40 คน ใส่เสื้อสีดำ อาศัยความมืดบุกเข้าไปในสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมสถานการณ์ไว้เรียบร้อย ตรวจค้นตามร่างกายกลุ่มดังกล่าว พบอาวุธจำนวนมาก อาทิ ปืนขนาด 11 มม. ปืนไทยประดิษฐ์ ดาบสปาต้า ไม้กอล์ฟ หนังสติ๊ก และลูกเหล็ก นอกจากนี้ยังพบใบกระท่อมประมาณ 300 ใบด้วย

05.50 น. บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นเวทีอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 12/2551 กำหนดเป้าหมายและวิธีการชุมนุมสร้างประวัติ ศาสตร์การเมืองไทย ย้ำใช้สิทธิตามมาตรา 63 ยึดมั่นแนวทางสันติวิธี ระบุอาจต้องปิดการจราจรและทำให้สถานที่ราชการบางแห่งไม่สามารถเปิดทำการ เพื่อไม่ให้รัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมเข้าทำงานจนสร้างความเสียหายล่มจมต่อประเทศชาติ

07.08 น. ตำรวจรวบกลุ่มชายฉกรรจ์ บุกเข้าไปในสถานีเอ็นบีทีแล้ว หลังได้เข้าทำลายประตูกระจก ข่มขู่เจ้าหน้าที่ไม่ให้มีการออกอากาศ ขณะค้นตัวพบอาวุธปืน-มีดดาบ

07.33 น. ทำเนียบวุ่น คณะรัฐมนตรีเข้าประชุมไม่ได้ โดนพันธมิตรฯปิดล้อม ด้านรองโฆษกรัฐบาล แทงกั๊กประกาศ พรก.ฉุกเฉิน รอนายกฯ ตัดสินใจ

07.47 น. รักษาการ ผอ.สถานีเอ็นบีที กล่าวหา พันธมิตรฯ เถื่อน เข้ายึดสถานีพร้อมอาวุธมีด-ปืน สั่งห้ามออกอากาศโชคดี ตำรวจเข้าดูแลทัน ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มทอยอยร่วม1,000คน

07.50 น. แกนนำพันธมิตรฯ บนเวทีปราศรัย ได้แจ้งให้ประชาชนเข้าแถวหน้าเวที กลุ่มละ 500 คน เพื่อจัดกลุ่มเตรียมทยอยสมทบกันเดินทางไปยังกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกลุ่มแรกนำโดยนายสุริยะใส กตะศิลา นายพิภพ ธงไชย นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำกลุ่มผู้ชุมนุมรวม 4 ชุด จำนวน 2,000 คน เดินทางไปยังกระทรวงการคลัง ขณะที่นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นแกนนำผู้ชุมนุมจำนวน 4 ชุด รวม 2,000 คน เดินทางไปยังกระทรวงคมนาคม

07.52 น. แกนนำพันธมิตรหน้า NBT "อมร อมรรัตนานนท์" เผย ผู้ชุมนุมหน้า NBT เกือบหมื่น แล้ว อ้าง มีมือที่3 แฝงตัวสร้างสถานการณ์

08.06 น. พันธมิตรฯ ปิดล้อมทุกประตู เข้า - ออก ทำเนียบฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล มาเสริมกำลังภายใน ขณะยังไม่มีข้าราชการเดินทางมาปฏิบัติงาน

08.11 น. รองโฆษกรัฐบาล"ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" แฉ มีกลุ่ม "พลเอก" อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนขบวนพันธมิตร ยืนยัน นายกฯ สั่งประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลแน่นอน


08.19 น. นายกฯ ยังไม่ออกจากบ้าน ท่ามกลางสถานการณ์วุ่นวายของกลุ่มพันธมิตร บุก เอ็นบีที โดยยืนยัน จะปฏิบัติภาระกิจ ตามปกติ

08.24 น. "พิภพ ธงไชย" รวมตัว พันธมิตรนับพันคน บริเวณสี่แยกนางเลิ้ง ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังกระทรวงการคลัง กดดันการใช้งบอย่างไม่ถูกต้องและแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติ

08.27 น. ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ยืนยัน ไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯ บุกเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาลเด็ดขาด สั่งเตรียมกำลังสำรอง พร้อมรับมือเหตุการณ์รุนแรง

08.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯ 2,000 คน บุกเข้าไปยึดกระทรวงคมนาคมได้อย่างง่ายดาย จากนั้นมีการนำผู้ชุมนุมประมาณ 1,000 คน ข้ามฝั่งไปยึดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯได้ปิดประตูทางเข้าทุกประตู จึงมีการใช้กำลังเข้าพังประตูจนเข้ายึดกระทรวงเกษตรฯ เป็นผลสำเร็จ ในขณะเดียวกันกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจำนวน มาก ซึ่งเคลื่อนไปชุมนุมบริเวณสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และได้ทำลายประตูทางเข้าและบุกวิ่งเข้ามาภายในสถานีโทรทัศน์ ทำให้ต้องทำการตัดสัญญาณโทรทัศน์ทันที

08.35 น. พันธมิตรฯ แน่นสะพานชมัยมรุเชฐ ชุมนุมปิดล้อมทางเข้าทำเนียบฯ อย่างสงบ เผชิญหน้าเจ้าที่รักษาความปลอดภัย ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

08.42 น. กลุ่มพันธมิตรฯ นับพัน ปิดล้อมสถานีโทรทัศน์ NBT เรียกร้องให้ รัฐบาลลาออก และปล่อยตัวกลุ่มนักรบศรีวิชัย ที่บุกเข้าไปภายในจนถูกควบคุมตัว

08.48 น. ผบ.เหล่าทัพ ประชุมเครียด ตั้งรับสถานการณ์ ม็อบพันธมิตรฯ ขณะที่"พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข" ยืนยัน ไม่ต้องการให้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม

08.53 น. กลุ่มพันธมิตรสงขลา ทยอยรวมตัวหน้าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่แล้ว เพื่อเกาะติดการชุมนุมใหญ่ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่

09.00 น. ส่วนที่กระทรวงการคลัง กลุ่มพันธมิตรฯ 2,000 คน เดินทางไปถึง และกระจายกำลังปิดล้อมตั้งแต่หน้ากระทรวงการคลังถึงกรมประชาสัมพันธ์ แต่ไม่สามารถเข้าได้ เนื่องจากมีการนำโซ่ขนาดใหญ่มาคล้องประตูไว้ ทำให้การจราจรโดยรอบติดขัด

09.04 น. แนวร่วมพันธมิตร พังประตูบุกเข้าไป บริเวณสถานีโทรทัศน์ NBT และบุกเข้าไปภายในอาคารได้ ทำให้ต้องหยุดการออกอากาศชั่วคราว


09.08 น. ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์เฮ! หลัง "สนธิ ลิ้มทองกุล" ประกาศก้องบนเวทีปราศรัย จอ NBT มืด แล้ว

09.17 น. ถนนทุกเส้นรอบทำเนียบฯ อัมพาต ! ขณะรัฐมนตรีฯพาณิชย์ ระบุ การประชุม ครม. ยังไม่สามารถเริ่มประชุมได้ และคาด อาจจะมีการเปลี่ยนที่ประชุม

09.22 น. ขบวนรถนายกฯ เคลื่อนออกจากบ้านพักมุ่งหน้า เอกมัย-รามอินทรา ยังไม่ทราบจุดหมาย โดยมีคณะสื่อมวลชนติดตามอย่างใกล้ชิด

09.26 น. พันธมิตรฯ ยังคงปักหลักปิดล้อมทำเนียบฯ ซึ่งยังไม่การปรับมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่สามารถเข้า-ออกได้ อย่างขลุกขลักด้านประตูสะพานอรทัย

09.30 น. ผบ.สส. ยืนยัน ทหารยังไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ แต่เตรียมพร้อมในที่ตั้ง รอคำสั่งจากรัฐบาล ที่ต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย

09.45 น. พนักงานเอ็นบีที โอด พันธมิตรฯ ป่าเถื่อน พนักงานหนีตายวุ่น บาดเจ็บหลายราย ด้าน สตช. ชี้ เข้าข่ายความผิดกบฏ คุกคามสื่อ

09.55 น. เครือข่ายพันธมิตรฯ ภาคเหนือจำนวนมาก ยังทยอยเดินทางด้วยรถยนต์ เพื่อเข้าสมทบกลุ่มผู้ชุมนุมกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

10.07 น. สถานีโทรทัศน์ NBT ออกอากาศได้ แล้ว โดยถ่ายทำนอกสถานที่ ด้าน ผบ.สส. บอก ตนเป็นทหาร จะดำเนินการกับม็อบ ต้องถามนายกฯ

10.12 น. นายกฯ เดินทางประชุม ครม. ที่ กองบัญชาการกองทัพไทย หลัง พันธมิตรฯ ปิดล้อมทำเนียบฯ


10.18 น. แกนนำพันธมิตร "พล.ต.จำลอง และ สนธิ" ยึดเวทีสะพานมัฆวานฯ เป็นที่ตั้งรายงานความเคลื่อนไหวให้กลุ่มผู้ชุมนุม ที่ทยอยเดินทางสมทบอย่างต่อเนื่อง

10.25 น. พันธมิตร ปิด ถ.เพชรเกษม ช่วง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพ และ ถ.มิตรภาพ ประตูสู่อีสาน ด้าน ตำรวจทางหลวง ระดมกำลังดูแลการจราจรแนะผู้ใช้เส้นทางเลี่ยง

10.31 น. พันธมิตร ปีนรั้วบุกกระทรวงคมนาคม พร้อมถือป้ายขับไล่รัฐมนตรีคมนาคม และประกาศตัวเป็นกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ

10.38 น. กลุ่มพันธมิตรฯ รุกหนัก ลุยปิดล้อม กองบัญชาการตำรวจนครบาล ขณะตำรวจ ยืนยัน ไม่มีคำสั่งให้สลายการชุมนุม

10.43 น. แกนนำพันธมิตร"สมศักดิ์ โกศัยสุข" ประกาศหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ยุติการชุมนุม จนกว่านายกฯ และคณะรัฐบาลจะลาออก

10.49 น. ผบ.ทบ. , แม่ทัพภาค 1 ประสานเสียง ยืนยันไม่มีการปฏิวัติ เตือนอย่าตื่น พร้อมปฏิเสธข่าว ทหารล้อมกรุงไว้ เชื่อ ตำรวจดูแลได้

10.54 น. แนวร่วมพันธมิตรฯ บุกเข้าไปใน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตัดสัญญานไม่ให้ออกอากาศ พร้อมประกาศชัยชนะ

10.57 น. ตำรวจเชียงใหม่คุมเข้ม รักษาความปลอดภัย สถานีโทรทัศน์ NBT หลัง กลุ่มพันธมิตรฯ กทม. เข้ายึดสถานีได้ ท่ามกลางสื่อมวลชนปักรอดูความเคลื่อนไหว

11.07 น. ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง " กิตติ สิงหาปัด" โผล่ NBT ถูก พันธมิตร ฯ บางคนเทน้ำราด กรูจะเอาเรื่อง ก่อนวิ่งโร่ ขึ้นรถแท็กซี่หนี


11.10 น. นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย ชี้ นักลงทุน วิตก พันธมิตรดาวกระจาย ปิดสถานที่ราชการทั่วกรุง ฉุดหุ้นเปิดตลาดร่วงกว่า 10 จุด ขณะ ก.พลังงาน ปิดประตูเข้าออก หวั่น พันธมิตรปิดล้อม

11.15 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ได้นำคีมเหล็กมาตัดประตู 4 สำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน และช่วยกันดึงประตูให้หลุด และกรูกันเข้ามาในกระทรวงการคลังเป็นผล สำเร็จ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดล็อกประตูอาคารและกรมต่างๆ ภายในกระทรวงการคลังอย่างแน่นหนา โฆษกกระทรวงกลาโหม ยืนยัน ยังไม่มีการหารือกันระหว่าง ผบ.เหล่าทัพ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะ ตำรวจ ยังรับมือได้ และจะดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมาย

11.24 น. "สุริยะใส กตะศิลา" ยัน การกระจายกลุ่มผู้ชุมนุม ปิดล้อม NBT เป็นแบบอารยะขัดขืน โดยไม่มีการใช้อาวุธ เพื่อกดดันรัฐบาลที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ลาออก

11.29 น. อดีตนายกฯ"พล.อ.ชวลิต" เชื่อ สถานการณ์พันธมิตรดาวกระจาย จะไม่รุนแรง และคลี่คลายไปในทางที่ดี แนะทุกฝ่ายต้องร่วมมือและใช้ความอดทน หันหน้ายุติปัญหา

11.33 น. กลุ่มพันธมิตรที่ปักหลักยึดกระทรวงคมนาคม ยังคงชุมนุมอย่างสงบ เพื่อรอดูทีท่าของแกนนำในการเคลื่อนไหว ขณะบางส่วนใช้เวลาว่างถ่ายรูปและร้องเพลงอย่างอารมณ์ดี

11.38 น. รองนายกฯ และรมว.ศึกษาธิการ ยัน ย้ายสถานที่ประชุมไม่เสียหน้า ขณะ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ โร่หารือ ครม. เพื่อหางทางให้ NBTออกกาศได้

11.42 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้ รอง ผบช.น. "วัจนนท์ ถิรวัฒน์ " เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน เอาผิด 80 พันธมิตรฯ บุก NBT

11.47 น. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยัน ทหาร จะไม่ปฏิวัติและยังไม่ต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หวั่น สถานการณ์ ยิ่งตึงเครียดมากขึ้น เชื่อตำรวจ ควบคุมให้อยู่ในความสงบได้

11.50 น. ประชาชนบางส่วนใน จ.ตรัง ชี้ กลุ่มพันธมิตร ทำเกินกรอบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะความผิดอาญา อีกทั้ง ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย

12.05 น. แกนนำพันธมิตรฯ "สนธิ-พล.ต.จำลอง" อยู่โยงเฝ้าสะพานมัฆวานฯ ขณะที่ วงซูซู และ ตั้ว ศรัญญู ขึ้นเวทีร้องเพลงปลุกใจ หลังยุทธศาสตร์ดาวกระจาย ประสบความสำเร็จ


12.12 น. "สมเกียรติ พงษ์ไพบูรณ์" ใช้เครื่องขยายเสียง หน้า NBT กล่าวโจมตี ทำงานรับใช้ระบอบทักษิณ พร้อมเรียกร้องให้ปล่อย80 แนว ร่วมฯ ที่ถูกจับ โดยไม่มีเงื่อนไข

12.18 น. แนวร่วมพันธมิตรฯ พังประตูเหล็ก เข้าไปในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้ชี้แจง คุมตัว 80 แนวร่วมฯ และให้รถถ่ายทอดสด NBTและ TPBS ออกไปภายนอก

12.34 น. พันธมิตรสงขลา ระบุ หากมีการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มพันธมิตรฯ จะออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน ด้านสถานการณ์ สถานีโทรทัศน์ NBTสงขลา ยังคงปกติ

12.45 น. AP ตีข่าว กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลไทย ยึดที่ทำการของรัฐบาลไทยหลายแห่ง รวมทั้ง สถานีโทรทัศน์ของรัฐ

12.53 น. ผู้ว่าฯภูเก็ต เผย เตรียมแผนรับมือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไว้แล้ว หวั่นกระทบการท่องเที่ยว

13.08 น. กลุ่มพันธมิตรพังประตูเข้าไปในกระทรวงการคลัง ขณะที่รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล2 ส่ง เจ้าหน้าที่ 2 กองร้อยตรึงกำลัง ยืนยันสถานการณ์ไม่รุนแรง

13.17 น. "พล. อ.พัลลภ ปิ่นมณี" ยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตรฯ หลังถูกพาดพิง มีส่วนร่วมวางแผนการเคลื่อนไหว

13.25 น. ผู้บังคับการ ตรภ.พิจิตร สั่งทุกสถานีตำรวจเตรียมพร้อมรับมือพันธมิตรฯ ขณะที่การชุมนุม ณ แยกปลวกสูง ได้มีประชาชนเดินทางมาร่วมเป็นจำนวนมาก

13.39 น. กลุ่มคนรักทักษิณ ชี้หากพันธมิตรฯ บุกยึดพื้นที่ราชการใน จ.เชียงใหม่ จะนำกำลังเข้าขัดขวาง พร้อมแจงยุติการยื่นหนังสือที่สถานกงสุลอังกฤษให้ทักษิณลี้ภัยหลังพันธมิตรฯ ดักรอ

13.51 น. แกนนำพันธมิตรฯ"พล.ต.จำลอง ศรีเมือง" ให้กำลังใจผู้ชุมนุมอดทนต่อสภาพอากาศ ยืนยัน เป้าหมายใหญ่ไม่ใช่การบุกยึด NBT

13.57 น. สมาคม สื่อฯ เรียกร้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยุติการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน ชี้บุกยึด NBT คุกคามสื่อรุนแรง

14.00 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเช้า ได้พังแผงเหล็กและเคลื่อนพลมาที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่สามารถทำการป้องกันแต่อย่างใด โดยจำนวนของผู้ชุมนุมคาดว่า มีประมาณ 1 หมื่นคน เดินทางมา 2 ด้านคือฝั่งตึกแดง และสะพานชมัยมรุเชษฐ์ มารวมกันที่ด้านหน้าประตู 1 รอที่จะบุกเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล

14.07 น. พันธมิตรฯกว่าพันคนบุกเข้า ทำเนียบรัฐบาลแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลเพียง 5 นาย เท่านั้น

14.16 น. พล.ต.จำลอง และสมเกียรติ เตรียมนำพันธมิตรฯที่เหลือเดินทางไปสมทบและยึดสถานี NBT พร้อมประกาศเปลี่ยน ชื่อเป็นกองทัพประชาชนกู้ชาติ


14.25 น. สำนักข่าว BBC รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนหลายพันคนได้เคลื่อนขบวนไปตามท้องถนนในกรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของไทยลาออกจากตำแหน่ง

14.29 น. กลุ่มแนวร่วมพันธมิตรฯ ที่ชุมนุมหน้าNBT ต่างโห่ร้อง แสดงความดีใจ หลังทราบข่าว แนวร่วมอีกกลุ่มสามารถบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลได้แล้ว

14.38 น. แกนนำพันธมิตรฯ "ประพันธ์ คูณมี" นำผู้ชุมนุมบุกเข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาล โดยยังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

14.45 น. รองนายกฯ "พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์" เผยครม.ไม่ได้หารือถึงการชุมนุม ระบุ นายกฯขอดำเนินการและรับผิดชอบเอง ย้ำไม่เดินตามแผนของกลุ่มพันธมิตรฯ

14.49 น. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวหลังบรรยายพิเศษ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่าอยากให้ทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ประชาชน และกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้ความอดทดให้มาก ในการใช้เหตุผลมาคุยกัน

15.00 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่หน้ากระทรวงคมนาคมราวหมื่นคน เดินเท้าไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากมีการประสานมาว่าสามารถยึดภายในทำเนียบรัฐบาลได้แล้ว

15.06 น. พล.ต .จำลอง นำผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ บุกทำเนียบ บริเวณประตูริมคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมประกาศให้หาที่พักผ่อนภายในทำเนียบคืนนี้


15.12 น. ตำรวจตั้ง 4 ข้อหาหนัก 85 ชายฉกรรจ์บุกสถานีโทรทัศน์ NBT พร้อมเตรียมส่งฝากขัง หากสามารถสอบปากคำได้ทัน

15.16 น. กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาลทั้งหมดแล้ว ปักหลักชุมนุมที่สนามหญ้าหน้า สถานที่ทำงานนายกรัฐมนตรี

15.23 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงภายกลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่าให้โอกาสพันธมิตรฯ ครั้งสุดท้ายพร้อมตั้ง รมว.มหาดไทย ดูแลสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติ

15.27 น. พันธมิตรฯ แต่งตั้ง 4 แกนนำ ยึดครองสถานีโทรทัศน์ NBT พร้อมมอบให้ "พิภพ ธงไชย" และ "เติมศักดิ์ จารุปราณ "คุมกระทรวงการคลัง

15.32 น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเผย นายกรัฐมนตรีได้แจ้งสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรในที่ประชุม ครม. และขอให้ทุกฝ่ายทำงานตามปกติ

15.36 น. รมว. ยุติธรรม เผย รัฐบาลไม่คิดประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยืนยัน จะอดทนและไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา

15.39 น. รัฐมนตรีต่างประเทศ ระบุ ขอประเมินสถานการณ์การเมืองก่อนให้ทูตชี้แจงต่างชาติ ชี้ ยังอยู่ในระดับปกติ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น


15.48 น. การุณ ใสงาม นำพันธมิตรภาคเหนือ ปิดถนนสาย นครสวรรค์ - พิษณุโลก ช่วง อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ส่งผลการจราจรสายเหนือกลายเป็นอัมพาต

15.54 น. ผู้ชุมนุมแสดงความยินดีหลังนำกล่องกระดาษปิดกล้องวงจนปิด ที่สนานีโทรทัศน์ NBT โดยมีผู้ชุมนุมอีก 200 กว่าคน ตามมาสมทบ

16.05 น. นายกฯ เผยการบุกรุกสถานที่ราชการไม่มีเหตุผล ขอให้ผู้ชุมนุมถอยหลังก่อนตกเป็นผู้ต้องหา พร้อมตั้ง รมว.มหาดไทยควมคุมสถานการณ์


16.09 น. ม็อบพันธมิตรที่ทำเนียบโห่ร้อง หลังนายกรัฐมนตรีแถลงจัดการขั้นเด็ดขาดกับกลุ่มผู้ชุมนุม ด้านแกนนำสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศชัยชนะ ยืนยัน ไม่ออกจากทำเนียบ

16.23 น. นายกฯ เตือนสื่อมวลชนใช้วิจารณญาณในการทำหน้าที่ เสนอข่าวด้วยความไตร่ตรอง ย้ำว่าไม่มีวันถอย ไม่ว่าใครประกาศว่าจะจับตนเอง เชื่อมั่นว่าไม่สามารถทำได้

16.35 น. พล.ต .จำลอง ศรีเมือง สั่งรปภ.ดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุม พร้อมตรวจตราการเข้า-ออกบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ และทำเนียบฯอย่างเคร่งครัด

16.42 น. นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์ประฌาม การยึด NBT ของ กลุ่มพันธมิตร ชี้เป็นการก้าวพ้นอารยะขัดขืน สู่อานารยะขัดขืนซ้ำฝ่าฝืนกฎหมายปราศจากความชอบธรรม

16.54 น. ตำรวจตรึงกำลังบริเวณบ้านพักนายกรัฐมนตรีในซอยนวมินทร์ 81
หวั่นม็อบ พันธมิตรบุกบ้านนายกรัฐมนตรี

18.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาล ออกประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสถานที่ราชการภายในเวลา 18.00 น. พร้อมเตรียมประสานออกหมายจับ 5 แกนนำ พันธมิตรฯ ข้อหากระทำการให้เกิดความวุ่นวาย


18.16 น. คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ร้องรัฐบาล ใช้กฎหมายอาญาจัดการกับกลุ่มพันธมิตร หลังยกพลบุกยึดสถานที่ราชการ ชี้ ละเมิดต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตย

18.25 น. รักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ NBT เข้าตรวจความเสีย หาย ในสถานี ยืนยัน ไม่ถอดรายการความจริงวันนี้แน่ ขณะที่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าสถานีจะแพร่ภาพออกอากาศได้อีกครั้งเมื่อไหร่

18.28 น. พันธมิตรอีสาน ยังปักหลักปิดถนนมิตรภาพขาเข้า จ.นครราชสีมา ประตูสู่ภาคอีสาน เหนียวแน่น พร้อมขู่ หากมีการออกหมายจับ 5 แกนนำ จะปิดถนนทั้งขาขึ้นและขาล่องทันที

18.36 น. รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ หวั่นการบุกยึดทำเนียบเป็นชนวนเหตุให้เกิดการปฏิวัติ ขณะ บรรยิน ชี้ การละเมิดกฎหมายของพันธมิตรฯ ไม่ถูกต้อง

19:11 น. ตำรวจ สน.สุทธิสาร คุมตัว 82 นักรบศรีวิชัยที่บุกทำลายทรัพย์สิน ภายในสถานี NBT ไปขออำนาจศาลฝากขัง ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพและบ้านเมตตา แล้ว พร้อมคัดค้านประกันตัว

19:18 น. พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องทุกฝ่ายใช้ความพยายามคลี่คลายสถานการณ์ภายใต้กฎหมาย กล่าวหา รัฐบาลอย่าปลุกระดมประชาชนให้เลือกข้าง

19:39 น. รัฐบาลไทยย้ายสถานที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับและมอบเงินอัดฉีดนักกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็น ทางการ จากเดิมวางแผนที่ทำเนียบรัฐบาลค่ำวันพรุ่งนี้ แต่กลุ่มพันธมิตร ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล จึงต้องเปลี่ยนไปใช้หอประชุมกองทัพเรือแทน

19:43 น. วิทยุประเทศไทยไม่ถ่ายทอดข่าวภาคค่ำ หลังถูกม็อบพันธมิตรยึดสถานี แต่อัญเชิญพระราชดำรัสในหลวง เรื่อง รู้รักสามัคคี มาถ่ายทอดออกทุกสถานีเครือข่าย

19:47 น. นายกฯ เดินทางออกจาก บก.กองทัพไทย หลังให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างประเทศ โดยไม่ได้แจ้งจุดหมายปลายทาง

19.52 น. กระทรวงสาธารณสุข เตรียมพร้อมโรงพยาบาลและรถพยาบาลฉุกเฉิน รับมือเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น จากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ

20.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบางส่วนเข้าก่อกวนการทำงานของสื่อมวล ชนในทำเนียบรัฐบาล พร้อมต่อว่าการเสนอข่าวไม่เป็นธรรม


20.07 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน เหล่าองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่เห็นด้วยกับท่าที นายกรัฐมนตรี ที่ระบุให้มีการเลือกข้าง ยืนยันสื่อมวลชนอยู่ข้างประชาชนเสมอ

20.15 น. เวทีปราศรัยชั่วคราวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายในทำเนียบรัฐบาล ยังคงมีการกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บรรยากาศโดยรอบยังคงเป็นปกติ

20.22 น. หัวหน้าฝ่ายบริหารสถานีโทรทัศน์ NBT พาเจ้าหน้าที่ชุด เก็บกู้ระเบิด และ ตำรวจ สน.สุทธิสาร เข้าตรวจสอบความเรียบร้อย อาคารสำนักงาน NBT และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง ประเทศไทย

20.27 น. ปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งทุกหน่วยงานจัดระบบสื่อสารให้พร้อม 24 ช.ม.พร้อมสั่งตั้งศูนย์อำนวยการตามสำนักงานเขต และให้โรงเรียนในสังกัด กทม. 14 แห่ง หยุดสอนจนกว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย

20.35 น. บรรยากาศรอบๆ บริเวณทำเนียบรัฐบาล ประชาชน ยังคงเดินทางมาชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะไม่มีท่าทีสลายการชุมนุมแต่ประการใด


27 สิงหาคม 2551
ช่วงบ่าย ศาลอาญามีคำสั่งออกหมายจับ 9 แกนนำพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยข้อหากบฏ

22.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งให้แกนนำพันธมิตรฯ พาผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล ให้รื้อถอนเวทีปราศรัย และให้ขนย้ายสิ่งกีดขวางที่อยู่ในทำเนียบ ออกจากพื้นที่ รวมทั้งให้เปิดพื้นที่ถนนพิษณุโลก และถนนราชดำเนิน โดยคำสั่งดังกล่าว ให้มีผลทันที

28 สิงหาคม 2551
มีการหยุดเดินรถหลายขบวนทั่วประเทศ โดยพนักงานรถไฟพร้อมใจยื่นหนังสือลาป่วย โดยการหยุดเดินรถไฟเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนพันธมิตรฯ และคัดค้านหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ

ที่สภา นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตำหนิที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่ยอมมาตอบกระทู้เรื่อง "รายการสนทนาประสาสมัคร" เป็นครั้งที่ 2 โดยนายเทพไทกล่าวว่า นายสมัครทำตัวเหมือนเป็นนายกฯ พเนจร ร่อนเร่ เจ้าไม่มีศาล ถ้าอยากหนีสภาก็ขอให้ลาออกไป ทำให้เกิดการโต้เถียงขึ้น โดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ขอให้นายเทพไทถอนคำพูด ส่วนนายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน เรียกร้องให้นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ลาออกบ้างเพราะถูกออกหมายจับ

ขณะเดียวกัน นายสมเกียรติได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ก็มีความคิดจะลาออกเหมือนกัน เพราะ ถูกตั้งข้อหาที่ใหญ่มาก แต่ภูมิใจที่เป็นกบฏต่อรัฐบาลที่ไม่พึงปรารถนาและภูมิใจที่ได้ล้มบางระบอบ ได้ จากนั้นจึงเกิดการโต้เถียงระหว่าง ส.ส. สองพรรคยกใหญ่ ทำให้นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรขอร้องว่า "ถ้ายังไม่หยุดเถียงกัน จะให้ไปกราบเท้าก็ยอม" ทำให้การประชุมดำเนินต่อไป

29 สิงหาคม 2551
10.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มนำหมายบังคับคดีให้พันธมิตรออกจากทำเนียบรัฐบาล นำไปติดที่ทำเนียบรัฐบาล สะพานชมัยมรุเชษฐ์ สะพานมัฆวานรังสรรค์ แยกมิสกวัน ลานพระบรมรูปทรงม้า และสะพานอรทัย โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสนับสนุนในแต่ละจุดรวมกว่าพันคน และมีการกระทบกระทั่งกับผู้ชุมนุม ระหว่างการรื้อถอนเต็นท์และอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยเจ้าหน้าที่ ตำรวจยึดของกลางที่ได้จากรื้อถอนเวทีและเต็นท์พันธมิตรฯ บริเวณสะพานมัฆวานฯ ทั้งหมด 18 รายการ ประกอบด้วยลูกกระสุนปืน .38 จำนวน 117 นัด ลูกกระสุน 9 ม.ม. ปืนอัดลม 1 กระบอก ใบกระท่อม 2.2 กิโลกรัม ของเหลวสีน้ำตาลบรรจุขวด ขนาด 100 ซีซี 9 ขวด น้ำมันเบนซินบรรจุในขวดเครื่องดื่มชูกำลัง 60 ขวด ไม้กอล์ฟ 1,558 อัน ท่อนเหล็ก 248 ท่อน ไม้ท่อนกลม 185 อัน ไม้ท่อนเหลี่ยม 50 อัน เสาธงไม้ 48 อัน ดาบและเหล็กปลายแหลม 20 อัน สนับแขนทำด้วยท่อ โล่ทำด้วยไม้ 56 อัน หนังสติ๊กไม้ 55 อัน ลูกแก้วและลูกดินปั้น 155 ลูก ถังดับเพลิง 3 ถัง และโทรโข่ง 2 อัน

10.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางเข้าพบ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ขอให้เปิดประชุมร่วม 2 สภา ในวันจันทร์ที่ 1 ก.ย. เพื่อทางออกเกี่ยวกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนี้

ในช่วงเที่ยง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตอบโต้ด้วยการนำผู้ชุมนุมไปสนามบินนานาชาติภูเก็ต สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ และสนามบินนานาชาติกระบี่

ในวันนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กว่า 1,000 คน นำกำลังเข้ายึดสถานีวิทยุกระจายเสียง FM 88 MHz ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย และทำการเชื่อมต่อสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี เพื่อถ่ายทอดเสียงการปราศรัยจากเวทีพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับฟังสถานการณ์การชุมนุมของพันธมิตรฯ

14.20 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำพรรค อาทิ นายกรณ์ จาติกวณิช คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ ส.ส.กทม. มาเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บจากการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมที่เชิง สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ทราบข่าวเหตุตำรวจเข้าเคลียร์พื้นที่ และได้เห็นภาพว่า ในทำเนียบรัฐบาลมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจริง จึงเดินทางมาพบในเรื่องดังกล่าว เพื่อขอความชัดเจนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งได้รับคำตอบกลับมาว่า ตำรวจได้ทำตามคำสั่งของศาล ทำไปตามหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าววิงวอนไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม เพราะจะทำให้เกิดเหตุบานปลาย และจะทำให้สังคมไม่สงบมากขึ้น ซึ่งในฐานะ สส. ไม่อยากเห็นเหตุการณ์ ลุกลามเหมือนพฤษภาทมิฬ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการเมือง แม้ว่าตำรวจจะทำตามกฎหมายก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหากับผู้ชุมนุมได้ ควรให้การเมืองดูแล

ในวันนี้ ส.ว.ราว 20 คน นำโดย นางรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. และ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์และให้กำลังใจกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลด้วย

14.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.ปฐมพงศ์ เกษรศุกร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว. กทม. นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. กทม. ได้เดินทางไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อขอเข้าพบ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย และรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ที่อยู่ใน บช.น. ซึ่ง พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ

16.15 น. พันธมิตรฯ นับพันคนนำโดย นายศิริชัย ไม้งาม ได้ทยอยเดินทางออกจากทำเนียบฯ ไปที่สนามม้านางเลิ้ง และเข้าปิดล้อมด้านหน้าสนามม้านางเลิ้ง ตรงประตูใหญ่สี่แยกนางเลิ้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจวางกำลังอยู่ด้านใน เพื่อกดดันให้ตำรวจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับตำรวจที่กระทำเกินกว่าเหตุ กรณีเหตุปะทะกันที่สะพานมัฆวานฯ ภายในเวลา 19.00 น. วันที่ 29 สิงหาคม ทั้งนี้แกนนำพันธมิตรฯ ระบุหากตำรวจไม่มีการจัดการใดๆ จะนำผู้ชุมนุม 1 แสนคน ไปกองบัญชาการตำรวจนครบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

18.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งงดการบังคับคดีที่ให้พันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบ จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และคำขอทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ที่ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นต่อศาลแพ่ง

19.00 น. นายวัชระ เพชรทอง และนายวสันต์ สิทธิเขต ได้นำผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กว่าพันคนเดินทางจากทำเนียบรัฐบาล ไปปิดล้อมหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อกดดันให้ตำรวจส่งตัว พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รอง ผบช.น. ว่าที่ ผบช.น. ลงมาเจรจา ว่าเป็นผู้สั่งการให้ตำรวจใช้กำลังกับประชาชนหรือไม่ พร้อมทั้งเรียกร้องให้นำเงินบริจาคนับแสน และโทรศัพท์มือถือที่หายไปมาคืน แต่ปรากฏว่า ตำรวจไม่ยอมลงมาเจรจา จากนั้นได้ส่งให้ผู้ชายที่เป็นการ์ดตั้งแถวตอนและนับถอยหลังพร้อมๆ กันโดยเริ่มจาก 5-4-3-2-1 พร้อมกลุ่มผู้ชุมนุมได้ลุกขึ้นเฮพร้อมเขย่าประตูเพื่อพังประตูเข้าไปหลังจาก นั้นประมาณ 10-15 นาที ขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังเขย่ารั้ว บช.น.อยู่นั้น ปรากฏว่ามีผู้ยิงแก๊สน้ำตา เข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม 10 กว่านัด ทำให้ผู้ชุมนุมตื่นตระหนกวิ่งหลบกันอลหม่าน บางคนล้มฟุบต้องหามไปโรงพยาบาลนับสิบราย ทั้งนี้ ช่วงที่ชุลมุนวุ่นวายก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนร้องโวยวายการกระทำของเจ้า หน้าที่ตำรวจ และใช้ไม้ขนาดใหญ่ทุบตีรถยนต์ตำรวจ และรถผู้สื่อข่าวช่อง 3 รถผู้สื่อข่าวช่อง 7 ที่จอดอยู่บริเวณรอบนอกของ บช.น.

30 สิงหาคม 2551
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยต่อเหตุการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้น โดยทรงกำชับให้หน่วยแพทย์พยาบาลสภากาชาดไทยเตรียมพร้อมบุคลากร ทีมแพทย์ ยาเวชภัณฑ์และจนรถพยาบาล ฉุกเฉิน เพื่อเตรียมพร้อมรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บหากมีเหตุปะทะกันเกิดขึ้น พร้อมรถสื่อสารฉุกเฉิน ติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ดาวเทียมได้อีก 25 เลข และเพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุดได้ตั้งหน่วยแพทย์ที่เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ และประสานสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉิน หรือ ศูนย์นเรนทร วางตำแหน่งรถพยาบาลเข้าช่วยเหลือประชาชนให้ได้เร็วที่สุด

นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ทำถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปร่วมกันของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 โดยให้เหตุผลว่าขณะนี้มีกลุ่มบุคคลรวมตัวเข้ายึดสถานที่และหน่วยงานรัฐหลาย แห่ง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง สถานการณ์มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นรัฐสภาควรประชุมกันเพื่อแสวงหาแนวทางหรือหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสันติวิธีตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย จึงสมควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ ส.ส. และ ส.ว. โดยขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ นายชัยได้ประสานมาที่นายพิทูร เพื่อให้เปิดประชุมในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00 น.

17.00 น. แนวร่วม ประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้เคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเปิดเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมหลายพันคน ส่วนใหญ่ใส่เสื้อสีแดง หรือมีผ้าพันคอสีแดงเป็นสัญลักษณ์

19.45 น. แกนนำกลุ่ม นปก.ได้ขออาสาสมัครชายจำนวน 200 คน โดยระบุว่าต้องการนำคนไปเคลื่อนไหวในวันที่ 31 สิงหาคม

31 สิงหาคม 2551
10.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม โดยใช้กระบองตีและใช้โล่ผลักดัน กลุ่มผู้ชุมนุม และรื้อค้นเวที จำนวน 45 คน ได้เดินทางเข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลดุสิต เพื่อให้ดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ผู้สั่งการ และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดย พ.ต.อ.สมชาย เชยกลิ่น ผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลดุสิต จัดสถานที่ห้องประชุมชั้น 3 และพนักงานสอบสวนไว้รับแจ้งความ

พันธมิตรฯ มีการยกเลิกการปิดสนามบินนานาชาติภูเก็ต สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ และสนามบินนานาชาติกระบี่ โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลได้เปิดประชุมสภาทั้ง 2 สภาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาแล้ว

13.30 น. รัฐสภาได้เปิดการประชุมร่วมของรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ตามที่นายสมัครยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป มีนายชัย ในฐานะประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธาน

ประธานได้แจ้งว่าการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายครั้งนี้เนื่องจากเป็นสมัยนิติบัญญัติ ไม่สามารถปฏิบัติได้ จึงขอมติทั้งสองสภาเพื่อให้สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ ปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการประชุมตามมาตรา 179 ในการพิจารณาญัตติดังกล่าวได้ด้วยเสียง 445 เสียง ไม่เห็นด้วย 8 เสียง งดออกเสียง 4 เสียงและไม่ลงคะแนน 3 เสียง ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดอภิปรายทั่วไป

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.สัดส่วน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การประชุมวันนี้จะเป็นการหาทางแก้ไขโดยสันติวิธี หากรัฐบาลทบทวนพฤติกรรมที่ผ่านมาจะรู้ว่าสาเหตุไม่ได้เกิดขึ้นโดยลอยๆ สาเหตุสำคัญคือรัฐบาลเป็นผู้จุดชนวนวิกฤตและการชุมนุม เพราะ 7 เดือนที่ผ่านมานายกฯทำอยู่สองเรื่อง 1.แก้ปัญหาให้ตัวเอง 2.แก้ปัญหาให้อดีตนายกฯ รัฐบาลประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 237 มาตรา 309 นอกจากนี้ยังให้มีรายการ "ความจริงวันนี้" หรือความจริงข้างเดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ชี้แจง เกิดการยั่วยุสร้างความแตกแยกอย่างรุนแรง รวมทั้งรัฐบาลยังมีพฤติกรรมมุ่งล้างแค้นองค์กรอิสระ ทั้ง กกต. ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ และการเอาคนของตัวเองเข้าอยู่ในบอร์ดของ ก.ล.ต. การตั้งข้อหาแกนนำพันธมิตรฯ เป็น กบฏแผ่นดินรุนแรงเกินเหตุ ทำให้ผู้ชุมนุมมากขึ้น เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมและไม่ชอบธรรมต่อกฎหมาย นายกฯยังมีพฤติกรรมบังคับให้เลือกข้าง ทำให้คนแตกแยกเป็นสองซีก สะท้อนการไร้ภาวะผู้นำของนายกฯ แทนที่จะสร้างความสมานฉันท์ รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม ยิ่งทำให้สถานการณ์ยากที่จะสงบ นายกฯ คือสาเหตุของความสับสนวุ่นวายและวิกฤตที่เกิดขึ้น และเสนอ 2 เรื่องคือ 1.รัฐบาลจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ยับยั้งสถานการณ์ไม่ให้บานปลาย 2.ถึงเวลาที่นายกฯต้องทบทวนพฤติกรรมของตัวเองว่ายังสมควรเป็นนายกฯต่อไปอีก หรือไม่ แม้นายกฯ จะอยู่ได้แต่จะบริหารราชการแผ่นดินได้ยาก จึงเห็นสมควรให้นายกฯพิจารณาตัวเองว่า หากยังอยู่บ้านเมืองจะสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหาย และสุ่มเสี่ยงต่อการเสียเลือดเนื้อหรือไม่

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายว่า ดูข้อเรียกร้องที่ยกขึ้นมาอ้าง 3 ข้อของพันธมิตร คือ 1.รัฐบาลลาออก 2.ห้ามแก้รัฐธรรมนูญ และ 3.ให้มีการเมืองใหม่ สัดส่วนแต่งตั้ง 70 และเลือกตั้ง 30 เป็นข้อเรียกร้องที่เลยเถิดและขัดแย้งกันเอง หากให้มีการเมืองใหม่แต่ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญก็ทำไม่ได้ จึงไม่แน่ใจว่าพันธมิตรฯ คิดอะไรอยู่ ในอดีตมีกรณีมาตรา 7 คือการตั้งนายกฯพระราชทาน และวันนี้นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตร ก็ออกมาประกาศจะหนุนพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นรัฐบาลก็ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลต้องเป็นเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ผ่านมาพอเกิดเรื่องกับฝ่ายตรงข้าม กลุ่มพันธมิตรฯ ก็สนับสนุนให้มีกระบวนการทางกฎหมาย คือต้องมีตุลาการภิวัตน์และพอพันธมิตรโดนบ้าง ก็อ้างว่าเป็นการเคลื่อนไหวของประชาภิวัตน์

จากนั้น น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายชี้แจงเหตุผลที่ 30 ส.ว.เดินทางไปทำเนียบเพื่อพบกับกลุ่มพันธมิตร ว่า ส.ว.ลงไปเยี่ยมเยียนประชาชน เพราะเป็นตัวแทนของประชาชน ไม่อยากเห็นหัวหน้ารัฐบาลแบ่งแยกประชาชน เมื่อมีข่าวปิดหมายจับแกนนำพันธมิตร ต่อมามีการสลายการชุมนุม มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ มีการใช้แก๊สน้ำตา จึงเดินทางไปกองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง อยากให้รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบ เพราะการเข้าไปในพื้นที่ทำให้กลุ่มส.ว.พบความจริงที่ไม่ตรงกับรัฐบาลอ้าง เมื่อมีการออกหมายจับผู้ถูกกล่าวหามีเวลาปฏิบัติตามภายใน 15 วัน แต่ตำรวจทำเกินกว่าเหตุเกินกว่าหน้าที่ รัฐบาลใช้หมายศาลเพื่อเข้าไปใช้ความรุนแรงเป็นการใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ที่สุดศาลกรุณาให้เลื่อนการบังคับคดีออกไป "การอ้างว่า รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง มีความชอบธรรมในการอยู่ต่อ แต่การบริหารต้องมีธรรมาภิบาลด้วย เมื่อใดขาดธรรมาภิบาลประชาชนจะมาชุมนุมคัดค้าน ยิ่งกล่าวหาว่าเป็นกบฏ กบฏจะยิ่งมีมากขึ้น รัฐบาลต้องตอบให้ได้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการเพิ่มกบฏให้มากขึ้นหรือ ไม่ รัฐบาลต้องไม่แยกพวก แยกข้าง หรือมีหลายมาตรฐาน" รัฐบาลต้องมีสปิริตเหมือนรัฐบาลในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรณีประธานาธิบดีนิกสัน ที่ถูกกล่าวหาในคดีวอเตอร์เกต เพียงแค่คดีดักฟังข้อมูลก็ลาออก หรือรัฐบาลเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อรัฐบาลถูกกล่าวหาเรื่องอะไรและมีประชาชนออกมาต่อต้าน นายกฯหรือรัฐมนตรีก็จะแสดงสปิริตลาออก ถ้าไม่มีสปิริตทางการเมืองคงต้องพิจารณา การปรับเปลี่ยนหรือการปรับ ครม.เป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องเสียหน้าแต่อย่างใด แต่การกระทำที่รุนแรงกลับเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา นอกจากมีศีลแล้วรัฐบาลต้องมีตบะ ไม่มีความโกรธ ไม่เคืองแค้น ต้องมีความอ่อนโยน ถ้านายกฯ ขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศก็ไม่ใช่รัฐบาลของคนทั้งประเทศ แต่กลายเป็นหัวหน้าของพรรคการเมืองบางพรรคเท่านั้น "วันนี้ประชาชน ไม่พอใจการเมืองแบบเดิม การปรับครม.สามารถทำได้ เมื่อมีวิกฤตรุนแรงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนเปลี่ยนหมอรักษาโรคที่สามารถเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยน ครม.อาจแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้ารัฐบาลไม่เปลี่ยนพฤติการณ์แบ่งแยกประชาชนเป็นสองฝ่าย รัฐบาลต้องจริงใจ ไม่ใช้เทคนิคทางการเมือง ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ" น.ส.รสนากล่าว

นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า อยากให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ไปพันธมิตรฯ บ่อยๆ อย่างนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. และคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ส.ส.กทม. ช่วยพูดหน่อยว่า พันธมิตรฯ จะเอาอย่างไร วันนี้ได้รับไปรษณียบัตรระบุว่า ในการชุมนุม มีเงิน 250 ล้านบาท มาจากบริษัทการค้าใหญ่แห่งหนึ่ง น่าจะส่งผ่านกระบวนการประท้วงโดยผ่านพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งกำลังตรวจสอบอยู่ ถ้าหลักฐานมีมูล จะให้นายกฯ และรมว.คลังไปตรวจสอบ เชื่อว่าเรื่องนี้จบแน่นอน

19.30 น. นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยกับนายกฯ ที่ว่าขณะนี้ศาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ศาลทำหน้าที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว วินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา ศาลไม่ได้มีหน้าที่สลายการชุมนุมแต่ฝ่ายบริหารต้องไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับ คำวินิจฉัย จึงยังไม่เห็นว่าศาลล้มเหลวหรือแก้ปัญหาไม่ได้ และถ้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้มีหน้าที่แก้ปัญหา นายชวน กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลตั้งคนของตนเองเข้าไปในองค์กรต่างๆ ซึ่งไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เช่น การตั้งกรรมการเข้าไปในบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งบุคคลนี้เคยอยู่ในบริษัทที่เคยให้โฆษณาทางรายการทีวีที่นายกฯ จัด หรือการตั้งคนที่ถูกคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ลงมติให้ออกเข้ามาเป็นกรรมการในธนาคารแห่งประเทศไทย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเงื่อนไขใหม่ที่ทำให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลต้องไม่โกหกไม่บิดเบือนความจริง เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบแก่ตัวเองและจะต้องให้ความจริงอย่าเลือก ปฏิบัติการบอกว่าคนชุมนุมมีเพียงหยิบมือเดียวและมีลักษณะเป็นหุ่น ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะพวกนี้มากันเองไม่มีใครให้เงินและถ้ารัฐบาลเห็นว่าคนไม่พอใจอะไรก็ต้อง รีบออกมาชี้แจง

20.00 น. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ อภิปรายว่า วันที่ 8 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 1 ว่าการลงนามแถลงการณ์ร่วมของคณะรัฐมนตรี กรณีปราสาทพระวิหารนั้นถือเป็นสนธิสัญญา ต้องนำเข้าหารือต่อที่ประชุมรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคสอง ซึ่งวันนั้นพันธมิตรฯ ประชุมและมีมติว่าจะสลายการชุมนุม เนื่องจากเข้าใจว่าครม.ทั้ง 35 คนต้องแสดงความรับผิดชอบ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันองค์กรอื่นของรัฐ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ พันธมิตรฯ จึงป่วยการที่จะสลายการชุมนุม

20.30 น. นาย คำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า เชื่อว่านายกฯ ไม่ลาออก ไม่ยุบสภา จะทนอยู่ต่อไปเรื่อยๆ โดยยึดข้อบังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยากให้นายกฯ ลาออก หรือยุบสภา เพื่อให้เกิดการเมืองใหม่และตรงนี้ไม่ได้เกิดความเสียหายต่อระบบ ถ้ารัฐบาลยังไม่ตัดสินใจเชื่อว่าการชุมนุมจะขยายวงใหญ่ขึ้นกว่านี้ หากยังดื้อต่อไปการอภิปรายก็ไม่มี ประโยชน์เพราะพรรคร่วมมีมติหนุนนายกฯ ดังนั้นการเปิดอภิปรายฯ จึงเป็นเพียงแค่พิธีกรรมและยุทธวิธีของรัฐบาลเท่านั้น

21.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปราย โดยมีข้อเสนอให้ยุบสภา เพื่อหาทางออกให้บ้านเมือง โดยการอภิปรายของ อภิสิทธิ์ในวันนั้นมีดังต่อไปนี้

"ในทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เสียงข้างมากไม่ได้หมายความว่า ท่านทำได้ทุกสิ่ง และการที่จะมีประชาชนจะ 1 คน หรือจะ แสนคน ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ ทบทวนตัวเอง พิจารณาตัวเอง ไม่ได้ขัดกับหลักประชาธิปไตยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีข้อสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนั้น อาจจะแค่บกพร่อง ผิดพลาด ถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือเลวร้ายอีกเรื่องหนึ่งก็คือการทุจริต คอร์รัปชั่น"

"มีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง ท่านยกตัวอย่างกรณีของเกาหลี นั่นแค่คิดนโยบายนะครับ ว่าจะต้องเปิดการค้าเสรี เอาเนื้อวัวจากอีกประทะนงเข้ามานะครับ คนลุกฮือขึ้นมาเป็นแสน เขาลาออกทั้งคณะ ผมว่าอายุรัฐบาลเขาสั้นกว่ารัฐบาลนี้นะครับ ตอนที่เขาตัดสินใจอย่างนั้น ใครเคยอยู่ในประเทศประชาธิปไตยในยุโรป ในสหรัฐฯ จะทราบอย่าว่าแต่รัฐมนตรีเลยครับ ส.ส. ส.ว. บางทีมีเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว ลาออกครับ"

"เวลามีการชุมนุมทางการเมือง จะถูกหรือผิดกฎหมายนั้น มันต้องมีคนเดือดร้อนครับ แต่ผมถามว่า คนที่เขาตากแดด ตากฝน กลางถนน 3 เดือน ชนะเขาก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นนะครับ ส่วนตัว หลายคนละทิ้งธุรกิจ การงาน ทะเลาะกับครอบครัวมาอยู่ตรงนั้น เรามองเขาเป็นกบฏเหรอครับ เรามองเขาว่าเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองเหรอครับ ไม่ใช่หรอกครับ ผมบอกเลยครับว่า เคลื่อนไหวกันมาแบบที่เห็นกันอยู่หลายเดือนนั้น ผมไม่กล้าบังอาจไปพูดถึงพรรคอื่นนะครับ ผมบอกว่าถ้าเป็นพรรคประชาธิปัตย์เราจัดไม่ได้หรอกครับ เป็นไปไม่ได้ครับ แต่นี่คนมากันจำนวนมากนั้นเราต้องคิดครับ รัฐบาลต้องคิด ท่านนายกฯ ต้องคิดครับ"

"ผมบอกว่า วันนี้ต้องยอมเจ็บ ถ้าท่านนายกฯ กลัวว่า การลาออกจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่ดีเพราะมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ท่านเรียกหยิบมือเดียว ท่านไปดูเถอะครับ ประวัติศาสตร์การนองเลือด ถ้าคิดอย่างนั้นก็หยิบมือเดียวทั้งนั้นแหละครับ ถ้าท่านกลัวจะเสียวัฒนธรรม เสียประเพณี ซึ่งผมบอกว่าจริง ๆ หลายประเทศเขาทำกันแล้วผมไม่เห็นมันเสีย ก็ไม่เป็นไรครับ ผมบอกเลยว่าวันนี้ผมต้องพูดขัดใจลูกพรรคผม และขัดใจเพื่อนสมาชิกอีกหลายคนซึ่งเพิ่งพูดด้วย ส.ส. มักจะไม่เสนอให้ท่านยุบสภาหรอกครับ ผมเองแค่นึกถึงว่าเหนื่อยยากแค่ไหนเวลาหาเสียง ผมก็ไม่อยากกลับไปเลือกตั้งหรอกครับ แต่ว่าการยุบสภาจะเป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าท่านนายกฯ บอกไม่อยากให้ท่านต้องรับเคราะห์คนเดียวแล้ว พวกผมบอกว่าทั้งสภาเราเจ็บด้วยกัน เรายุบสภาครั้งนี้ ท่านนายกฯ ครับ พวกผมมีแต่เสียเปรียบ เสียเปรียบทุกเรื่อง แต่ผมบอกว่าวันนี้ผมยอมครับ"

"ไม่มีใครสนุกหรอกครับ 480 คนนี้ แต่วันนี้เราเสียสละตัวเองก่อนได้ไหมครับ พันธมิตร ฯ อาจจะไม่เห็นด้วย แต่ผมเชื่อว่าอย่างน้อยถ้าเราเสียสละเป็น เราได้ใจคนจำนวนไม่น้อยกลับคืนมากับระบบรัฐสภาของเรา วันนี้เราถูกปรามาสครับว่ากระบวนการนี้จะเป็นเพียงแค่พิธีกรรม ท่านนายกฯ กลับไปตรองเถอะครับ สิ่งที่กระผมพูด ท่านเสียสละ ผมเสียสละ ผมเชื่อว่าผมอาจจะเจ็บกว่าท่าน โอกาสท่านกลับมามีมากกว่าผมนะครับ ทำเถอะครับ เพื่อบ้านเมืองสงบ สร้างบรรทัดฐานที่ดีครับ แล้วรัฐบาลที่กลับมานั้น ไม่มีคนกลุ่มใดมาตั้งเงื่อนไขได้ว่าต้องเป็นคนนั้นหรือไม่เป็นคนนี้ แต่รัฐบาลที่กลับมาต้องเก็บเกี่ยวบทเรียน 7 เดือนที่ผ่านมานี้ว่า ไม่ว่าจะมีเสียงข้างมากอย่างไร ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ต้องสร้างมาตรฐานให้สูงเข้าไว้ ประชาธิปไตยจะเดินไปข้างหน้า"

"กระผมกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพและนำข้อเสนอนี้ไปถึงท่าน นายกฯ ท่านนายกฯ อาจจะลุกขึ้นตอบผมปฏิเสธทันที ท่านก็ทำได้ครับ เป็นสิทธิ์ของท่าน พวกกระผมได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว แล้วบอกว่า พร้อมที่จะเสียสละตำแหน่งนี้เพื่อมีโอกาสในการหาทางออกสำหรับบ้าน เมืองครับ กราบขอบพระคุณครับ"

2 กันยายน 2551
00.10 น. กลุ่ม นปช.ที่สวมสวมเสื้อแดงบ้างหรือโพกผ้าแดง ตั้งขบวนโดยให้ชายฉกรรจ์ขับขี่รถจักรยานยนต์นำหน้าบีบสัญญาณแตรตลอดเส้นทาง ตามด้วยกลุ่มชายฉกรรจ์เดินเท้ากลุ่มใหญ่จากนั้น เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ ขับตามหลัง 2 คัน บนรถมีนายวิภูแถลงเคลื่อนขบวนจากสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนิน ปิดท้ายด้วยกลุ่ม นปช. เดินตามหลัง ซึ่งระหว่างทางกลุ่มชายฉกรรจ์ได้ถอดป้ายหาเสียงของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ติดอยู่ออกด้วย

00.40 น. แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เคลื่อนพลจากสนามหลวง เพื่อขับไล่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาล โดยใช้เส้นทางถนนราชดำเนินสู่แยก จปร. เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ฝ่าด่านตำรวจที่ตั้งแผงเหล็กมาได้ตลอดเส้นทาง ระหว่างนั้น นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศบนเวที เพื่อขอกำลังการ์ดอาสาเพิ่ม เนื่องจากทางกลุ่ม นปก.ได้เคลื่อนกำลังเข้ามาจำนวนหลายพันคน พร้อมกับเน้นย้ำให้การ์ดทำหน้าที่อยู่ในพื้นที่เท่านั้น

01.10 น. กลุ่ม นปก.เคลื่อนกำลังมาถึงบริเวณร้านลิขิตไก่ย่าง เลยสนามมวยราชดำเนินมาเล็กน้อย ได้เกิดการปะทะกันกับฝ่ายพันธมิตรฯ ที่ปักหลักอยู่ฝั่งตรงข้ามของสะพาน และฝ่าแนวกั้นเข้ามา โดยต่างฝ่ายต่างวิ่งเข้าหากัน พร้อมกับมีการปาขวดน้ำ ขวดโซดา ขว้างก้อนหินใส่กัน พร้อมกับมีการถืออาวุธไม้วิ่งไล่ตีกัน ระหว่างที่เกิดการปะทะกันทั้งสองฝ่ายได้เกิดเสียงปืนดังขึ้น 5-6 นัด และเสียงคล้ายระเบิดควันดังติดต่อ กันหลายครั้ง โดยกระสุนปืนได้ถูกกลุ่ม ผู้ชุมนุม นปก.ล้มลงได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 ราย เจ้าหน้าที่รีบนำตัวส่งวชิรพยาบาล

01.30 น. หลังการปะทะกันบริเวณสะพานมัฆวานฯ หน้าอาคารที่ทำการสหประชาชาติ สำนักงานกรุงเทพฯ ระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปก. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีสั่งระดมการ์ดและผู้ชุมนุมให้ไปตั้งขบวนอยู่ที่หน้า เต้นท์กองทัพธรรม ถนนพิษณุโลก เพื่อยกกำลังไปช่วยผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณสะพานมัฆวานฯ จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมนับร้อยพร้อมด้วยอาวุธครบมือ ได้ไปรวมตัวกันที่บริเวณเต้นท์หน้ากองทัพธรรม โดยพล.ต.จำลอง และนายสมศักดิ์ ได้เดินลงมาสั่งการด้วยตัวเอง

02.00 น. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ พร้อมกับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ควบคุมความสงบเรียบร้อยใน การชุมนุม โดยนายตำรวจระดับสูงทั้งหมด ได้หารือกันกันอย่างเคร่งเครียด และได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งกำลังเข้าขัดขวางไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้ง สองฝ่ายปะทะกันอีกระลอก โดยฝั่งหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. ซึ่งตำรวจที่ตั้งแถวกั้นกลางอยู่มีประมาณ 500 นาย ทั้งหมดมีเพียงโล่พลาสติกเป็นเครื่องป้องกัน ไม่มีกระบองหรืออาวุธอื่นใด

03.00 น. มีการปะทะกันเล็กน้อย ระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม โดยมีการจุดพลุไฟใส่กัน แต่ไม่มีเหตุเกิดขึ้นรุนแรง ส่วนทางด้านสนามม้านางเลิ้ง กลุ่มผู้ชุมนุม นปก. ได้ทำการเคลื่อนย้ายเพื่อตั้งเต็นท์ประมาณ 3-4 เต๊นท์ ซึ่งคาดว่า กลุ่ม นปก.จะทำการปักหลักค้างคืน ณ จุดดังกล่าว

03.40 น. สถานการณ์ยังคงตึงเครียด แม้ว่าผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก.จะตั้งเต็นท์ที่หน้ากองบัญชาการกอง ทัพบก ในลักษณะปักหลักแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ระดมคนจำนวนมากมาตรึงที่เวทีเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ฝั่งหน้ากระทรวงศึกษาธิการเช่น กัน โดยพื้นที่ตรงกลางระหว่างทั้งสองกลุ่มนั้น มีกำลังตำรวจและทหารชุดปราบจลาจลตั้งแนวกั้นคุมเชิงเอาไว้ นอกจากนี้ยังพบการปะทะกันย่อย ๆ อีกหลายจุด เช่นที่แยกนางเลิ้ง และภายในซอยข้างสนามมวยราชดำเนิน มีการปาระเบิดเพลิงเข้าใส่ กัน จนตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ทั้งหมด

05.00 น. มีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 1 คน คือ นายณรงศักดิ์ กรอบไธสง ผู้ชุมนุมกลุ่ม นปก. และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 40 คน ซึ่งทั้งหมดถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล

07.00 น. สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้เผยแพร่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ที่ลงนามโดย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องจากเหตุการณ์เกิดการปะทะกันระหว่าง กลุ่ม นปก. กับกลุ่มพันธมิตรฯ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ในประกาศดังกล่าวได้มีการแต่งตั้ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองหัวหน้า นอกจากนี้ยังออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งห้ามการเสนอข่าวที่อาจกระทบต่อความมั่นคงทั่วราชอาณาจักร หลังจากนั้น กลุ่ม นปก.ได้ถอนการชุมนุมกลับไปที่ท้องสนามหลวง ก่อนจะนัดรวมตัวที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และยุติการชุมนุมอย่างรวดเร็ว เพื่อปฏิบัติตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมแนวร่วมกลุ่มพันธมิตรฯ ยังคงปักหลักชุมนุมต่อไป และมิได้ตื่นตระหนกกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด

10.00 น. ที่กองบัญชาการองทัพ บก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้เรียกหน่วยงานด้านความมั่นคงและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวม 20 องค์กร ร่วมหารือเพื่อแก้ไขสถานการณ์การชุมนุมที่มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปก. เช่น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยการ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผบ.ตร. ในฐานะรักษาการ ผบช.น. โดยใช้เวลาในการประชุมเกือบ 4 ชั่วโมง

13.45 น. พล.อ.อนุพงษ์แถลงผลการหารือว่า จะแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในเขตกรุงเทพฯ โดยยึดถือระบอบประชาธิปไตยเป็นหลัก เป็นกรอบในการดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนั้น จะทำภารกิจ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้ปะทะกัน หรือเกิดความสูญเสียเกิดขึ้น โดยคณะกรรมการเห็นร่วมกันว่าจะใช้มาตรการพูดคุยสร้างความเข้าใจในทุกสื่อ โดยจะไม่ใช้กำลังเข้าปฏิบัติต่อกันในขั้นนี้ ถ้าทหารต้องออกปฏิบัติการ ทหารจะอยู่ข้างประชาชน และไม่ใช่ความรุนแรงกับประชาชน ทหารและตำรวจจะอยู่กลางและพยายามไม่ให้คนปะทะกัน อยากให้คนหันไปปะทะกันทางความคิด ด้วยเหตุผล ด้วยหลักกฎหมาย

9 กันยายน 2551
นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาให้พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี ข้อหาเป็นลูกจ้างของเอกชน จากการเป็นพิธีกรรายการชิมไปบ่นไป ทางททบ.5 และรายการยกโขยงหกโมงเช้า ทางช่อง 3 ศาล
รัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นการกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีความผิดในเชิงผลประโยชน์ทับซ้อน

14 กันยายน 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะความรุนแรงของสถานการณ์ได้บรรเทาลง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีกต่อไป

17 กันยายน 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยของพ.ต.ท.ทักษิณ ถูกเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จากพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค

19 กันยายน 2551
นายนรชิต สิงหเสนี รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายกิจการพหุภาคี ในฐานะเลขาธิการสโมสรสราญรมย์ ได้แจ้งความคืบหน้าให้สมาชิกได้รับทราบ กรณีได้ทำหนังสือถึงสมาชิกสโมสรสราญรมย์ เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอระดมทุนช่วยเหลือข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ 4 คน อันประกอบด้วย นายวีระศักดิ์ ฟูตระผมล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, นายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, นายพิษณุ สุวรรณะชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก และนายเชิดชู รักตะบุตร อัครราชทูต (ปฏิบัติราชการที่กรมสนธิสัญญาฯ) ที่ประสบปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

โดยข้าราชการทั้ง 4 คนนี้ถูกฟ้องร้องร่วมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ข้าราชการทหาร และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวม 45 คน ในกรณีที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยและเขตแดนบริเวณรอบๆ ปราสาทพระวิหาร จากกรณีที่ครม.มีมติวันที่ 17 มิ.ย. 2251 ให้ความเห็นชอบกับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีประสาทพระวิหาร ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรค 2 และต่อมาคณะกรรมการป.ป.ช.ได้มีมติรับคำร้องดังกล่าวนี้แล้ว ซึ่งทางสำนักงานอัยการสูงสุดไม่รับว่าความให้ เพราะไม่ได้เป็นคดีความที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้อง แต่เป็นเรื่องที่รัฐเป็นผู้ฟ้องร้องเอง ซึ่งในการจ้างทนายนั้น จำเป็นต้องใช้ทนายที่เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายอาญา และกฎหมายปกครอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นทางสโมสรสราญรมย์จึงขอระดมทุนช่วยเหลือเพื่อนข้าราชการที่ประสบปัญหาดังกล่าว

1.สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงิน สำหรับหรับช่วยเหลือข้าราชการทั้ง 4 คน ซึ่งถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ และเป็นมงคลและขวัญกำลังใจอันสูงสุดแก่ข้าราชการทั้ง 4 ตลอดจนสมาชิกสโมสรสราญรมย์ทุกคน ซึ่งเรื่องนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการอีก 3 คน ได้กราบบังคมทูลฯ แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ ในระหว่างส่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังราชอาณาจักรสเปน เมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย. 2551 แล้ว

2.สมาชิกสโมสรสราญรมย์ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน, พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา, นายประจวบ ไชยสาส์น รวมถึงอดีตรมช.ต่างประเทศ ซึ่งไม่ประสงค์ออกนาม ได้ร่วมบริจาคสมทบด้วย

3.ยอดเงินการระดมทุน ณ วันที่ 18 ก.ย. 2551 เป็นจำนวน 2,961,200 บาท 390 ยูโร 470 ดอลล่าร์สหรัฐ 1,200 หยวน และ 150,000 เยน

4.ทางปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้แจ้งรองปลัด (จริยวัฒน์) ว่า ส่วนตัวท่านจะไม่ขอรับเงินจากการระดมทุนครั้งนี้ เพราะเกรงจะเป็นการรบกวนเพื่อนข้าราชการ แต่ถ้าจะช่วยข้าราชการท่านอื่นๆ ที่ถูกกล่าวหา ก็เป็นเรื่องความสมัครใจ และเป็นการแสดงน้ำใจของเพื่อนข้าราชการด้วยกัน

5.นายสุจินดา ยงสุนทร และนายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตเอกอัครราชทูต ได้กรุณารับที่จะดำเนินการร่วมกับทนายของท่านในการต่อสู้คดีให้ข้าราชการ กระทรวงต่างประเทศทั้ง 4 คน โดยไม่คิดค่าบริการ ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหากในที่สุด ไม่จำเป็นต้องใช้เงินที่ระดมทุนดังกล่าว ทางคณะกรรมการสโมสรจะประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการประการใดกับเงิน บริจาคดังกล่าว ซึ่งน่าจะรวมถึงการคืนให้แก่ผู้บริจาค หากประสงค์จะรับคืน

23 กันยายน 2551
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวถึงแนวคิดเรื่องการเมืองใหม่ ที่ห้องผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กล่าวว่า การเลือกตั้งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์จะให้มีการเลือกตั้งได้ 2 ทาง คือ ผู้แทนพื้นที่เขต 50% และผู้สมัครนามกลุ่มอาชีพอีก 50%

24 กันยายน 2551
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เลือกคณะรัฐบาล แต่งตั้งพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นตัวแทนหลักของรัฐบาล เจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯ

6 ตุลาคม 2551
18.20 น. แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มประกาศ เชิญชวนประชาชนในทำเนียบรัฐบาลขยายพื้นที่ชุมนุม ไปหน้ารัฐสภา ขณะนั้นผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบประมาณ 44,000 คน

19.00 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาลจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลจำนวน 2 กองร้อย เตรียมพร้อมรักษาความปลอดภัยบริเวณหน้ารัฐสภา รวมกับกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่มีอยู่โดยรอบทำเนียบ รวมทั้งสิ้น 7 กองร้อย จำนวน 1,050 นาย

19.30 น. ผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.), รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.1), ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล, รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รอง ผบ.เหตุการณ์ ประชุมติดตามสถานการณ์กรณีดังกล่าว ณ ศปก.น.

19.45 น. ผู้ชุมนุมตั้งขบวนบริเวณลานพระราชวังดุสิต ประมาณ 4,000 คน โดยมีนายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นายสาวิทย์ แก้วหวาน เป็นแกนนำ รถเครื่องเสียง 8 คัน

19.55 น. กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 4,000 คน เดินทางถึงหน้ารัฐสภา ปิดล้อมทั้งด้านถนนอู่ทองใน และถนนราชวิถี

22.30 น. ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล ประมาณ 36,000 คน ส่วนหน้ารัฐสภา 4,000 คน กำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่ปฏิบัติอยู่ ณ ขณะนี้มีรวม 12 กองร้อย จำนวน 1,800 นาย ฝ่ายสืบสวนปะปนกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่ทำเนียบและรัฐสภา เกาะติดด้านการข่าว บันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

7 ตุลาคม 2551
00.30 น. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (มก.) สั่ง ตำรวจภูธรภาค 1 , 2 , 7 และ ตำรวจตระเวนชายแดน จัดกำลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลเพิ่มอีกหน่วยละ 3 กองร้อย รวม 12 กองร้อย ปฏิบัติภารกิจวันที่ 7 ตุลาคม เวลา 03.00 น. เป็นต้นไป

01.30 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศจะไม่ให้มีการประชุมรัฐสภา ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบ 34,500 คน, รัฐสภา 5,250 คน

01.40 น. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.บุญฤทธิ์ รัตนพร พร้อมด้วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. (มก.2) ประชุมติดตามสถานการณ์ ณ ศปก.น.

02.20 น. ผู้ชุมนุมบริเวณทำเนียบ 34,500 คน , รัฐสภา 5,700 คน

02.53 น. พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล เข้าพบผู้บัญชาการตำรวจนครบาลยืนยัน "นักรบพระเจ้าตาก" พร้อมเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน จัดกำลัง 100 นาย ตั้งแถวท้องสนามหลวง โดยระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกลุ่ม แนว ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

04.30 น. พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล /รอง ผบ.เหตุการณ์ พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประชุมซักซ้อมการปฏิบัติร่วมกับ รอง ผบก./ผบ.ร้อย ผู้ควบคุมกำลัง

05.50 น. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยังคงถกเครียดประเมินสถานการณ์พันธมิตรปิดรัฐสภา หลังพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางมาหารือด่วนเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะตำรวจตระเวนชายแดนเริ่มตั้งแถวเตรียมพร้อมรับคำสั่งทันที

06.15 น. กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล 12 กองร้อย เข้าปฏิบัติการตามแผน โดยนำกำลังเข้าทางด้านถนนราชวิถี แยกการเรือน, ถนนพิชัย แยกขัตติยานี เพื่อนำกำลังเข้ารักษาความปลอดภัยภายในรัฐสภา

08.25 น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวปราศรัยบนเวทีทำเนียบรัฐบาล โดยเรียกร้องให้แรงงานรัฐวิสาหกิจหยุดงานในวันนี้ เพื่อออกมาร่วมชุมนุมกันที่หน้ารัฐสภาให้มากที่สุด เพราะวันนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายจริง ๆ แล้ว ทั้งนี้ ขอให้ผู้ชุมนุมรวมตัวกันเดินทางไปยังแยกพิชัยให้มากที่สุด เพื่อปิดกั้นเส้นทางของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะเข้าบริเวณ ประตูปราสาทเทวฤทธิ์ ด้านข้างรัฐสภา ถนนราชวิถี

08.30 น. เกิดเหตุไฟดับภายในอาคารรัฐสภา โดยมีกระแสข่าวว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตัดสายไฟบริเวณด้านนอกรัฐสภา ทำให้บริเวณภายในรัฐสภาไฟดับบางส่วน อย่างไรก็ตาม ภายในอาคารรัฐสภาได้ใช้ไฟสำรองจากเครื่องปั่นไฟแทน ซึ่งไฟฟ้าสำรองดังกล่าวจะสามารถใช้ได้เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น

09.00 น. ที่โรงแรมใกล้ ๆ รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา กล่าวว่า ได้พยายามติดต่อประธานวุฒิสภาว่ามีวิกฤตขอ ให้ทบทวนการประชุมและเลื่อนไปอีก 1-2 วัน

09.27 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกจากบ้านพัก คาดว่าจะเดินทางมาที่รัฐสภา

09.43 น. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล แถลงแก๊สน้ำตา ทำขาขาดไม่ได้ ยันเหยื่อโดนระเบิด - สภาเลื่อนประชุมไปอีก 1 ชั่วโมง

09.47 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาถึงสภาแต่ไม่กล่าวอะไรทั้งสิ้น มีแต่ยิ้มอย่างเดียว

10.10 น. มติพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ร่วมประชุมสภา ซึ่งเปิดเผยว่ารับไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ตำรวจสลายผู้ชุมนุม - ระงับถก 4 ฝ่าย

10.40 น. การประชุมรัฐสภา นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ให้สมาชิกรัฐบาลกดบัตรแสดงตน เพื่อนับองค์ประชุมก่อนที่จะแถลงนโยบายรัฐบาล ปรากฏว่ามีสมาชิกรัฐสภาเข้าประชุมจำนวน 320 คน ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อให้มีการลงคะแนนเพื่อดำเนินการแถลงนโยบายของรัฐสภา สมาชิกรัฐสภาจำนวน 307 คนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 2 คน และไม่ลงคะแนน 5 คน

10.54 น. กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมหนีกระเจิง อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ ได้ล้อมสภาทุกจุดแล้ว

10.58 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ประกาศนับองค์ประชุมอีกครั้ง พบว่ามีสมาชิกรัฐสภาร่วมประชุมจำนวน 320 คน ซึ่งถือว่าครบองค์ประชุมแล้ว จากนั้นได้มีการลงคะแนนให้เริ่มการแถลงนโยบายของรัฐ ปรากฏว่า มีสมาชิกรัฐสภาเห็นด้วยจำนวน 320 คน จึงสามารถเปิดประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลได้ ขณะนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เริ่มแถลงนโนบายรัฐบาล

11.00 น. ตำรวจได้เสริมกำลังควบคุมสถานการณ์บริเวณรอบนอกรัฐสภา โดยเฉพาะถนนพิชัย ที่เป็นทางเดียวที่เปิดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีเข้าไปแถลงนโยบายในรัฐสภา แต่ทางด้านพันธมิตรฯ ฮึดสู้โดนแก๊สน้ำตาเพิ่มอีก 2 จึงเรียกร้องแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ให้มาช่วยตรวจสอบอาวุธที่ใช้ในการสลายการชุมนุม

11.25 น. ผู้บัญชาการทหารบก เรียกประชุม 5 เสือ ทบ. ติดตามและประเมินสถานการณ์ความวุ่นวาย ขณะ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ เข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์

11.59 น. พันธมิตรฯ กลับมายึดพื้นที่ถนนอู่ทองในตัดกับถนนราชวิถีได้แล้ว หลังถูกสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเมื่อเช้าวันที่ 7 ตุลาคมโดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ผลักดันกำลังตำรวจได้สำเร็จ เนื่องจากตำรวจไม่สามารถต้านการบุกของกลุ่มพันธมิตรได้

12.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระดมปาขวดน้ำบรรจุน้ำปัสสาวะเต็มขวดข้ามเข้ามาในรั้วสภา และอีกส่วนหนึ่งกำลังช่วยกันพลิกรถกรงขังของตำรวจจนคว่ำลงไป

12.05 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าปิดล้อมอาคารรัฐสภาอีกครั้ง หลังจากที่ถูกสลายการชุมนุมเมื่อเช้านี้ โดยเจ้าหน้าที่ได้ปิดประตูฝั่ง ถ.ราชวิถี จากนั้นพันธมิตรได้ใช้แผงเหล็กกั้นแล้วนำโซ่มาล่ามประตูและล็อกกุญแจหลาย ชั้นเพื่อไม่ให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่อยู่ภายในอาคารออกมาได้

12.20 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวโจมตีนายกรัฐมนตรีว่าเป็นคนที่ไร้เกียรติ ไม่จริงใจ ไม่ทำตามที่ตกลงไว้ สภาทนายความออก แถลงการณ์ให้ตำรวจยุติการใช้ความรุนแรง

12.25 น. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชน ออกแถลงการณ์ประนามพันธมิตรฯ ว่าได้กระทำความผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ถือเป็นปรปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนบุคคลซึ่ง ถูก ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรองรับไว้ นอกจากนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กระทำความผิด มาตรา 112 และ 116 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืน ประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความ ปั่นป่วนในราชอาณาจักรหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี

12.59 น. ตำรวจเจ็บ 2 นาย จากการที่ปะทะกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณหน้ารัฐสภา ซึ่งตำรวจ 1 ใน 2 นายนี้ โดนด้ามธงเสียบท้องทะลุหลังด้วย และถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

13.00 น. การประชุมแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาได้สิ้นสุดลง นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ปิดการประชุม ขณะที่ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ยังไม่สามารถออกจากอาคารรัฐสภาได้

13.04 น. หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม และยังเชื่อว่ารัฐบาลทำงานลำบากแต่ไม่ถึงขั้นยุบสภา

13.28 น. โรงพยาบาลวชิระเปิดเผยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 56 ราย ตัดขาทิ้ง 1 คน อาการน่าห่วง ด้านแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ชี้เป็นเพราะ" ระเบิด" แน่นอน

13.42 น. เสธหมึก คนสนิท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางเข้ายื่นประกันตัว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ต่อศาล มั่นใจจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

14.05 น. สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากรัฐสภา โดยปีนรั้วออกมาพร้อมผู้ติดตาม พร้อมกับเรียกประชุมด่วนที่กองบัญชาการกองทัพไทย

14.07 น. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี

15.00 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดรถกระบะเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคันนำมาปิด ถนนนครราชสีมา หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตพร้อม ทั้งขนยางรถยนต์สกัดแนวกั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรงทางแยกขึ้นสะพานซังฮี้ จำนวนหลายกองร้อย

15.00 น. ดต.ทวีป กลั่นเนียม สังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถูกผู้ชุมนุมพันธมิตรใช้ด้ามธงปลายแหลมแทงเข้าที่ซี่โครงทะลุปอด พ้นขีดอันตรายแล้ว ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

15.30 น. ที่กองบัญชาการกองทัพไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เรียกผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนั่งเฮลิคอปเตอร์ตำรวจมาที่กองทัพไทย

15.47 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณหน้าพรรคชาติไทย ถนนสุโขทัย แถวแยกพิชัย โดยจุดที่ระเบิดเป็นรถจี๊ป เชโรกี สีครีม ทะเบียน พต 4755 กทม. โดยตัวรถฉีกขาดทั้งหมด และมีผู้เสียชีวิตคาที่อยู่ข้างรถ โดยรถดังกล่าวเป็นของผู้ชุมนุม ทราบภายหลังผู้เสียชีวิตชื่อ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี เป็นน้องเขยของ การุณ ใสงาม

15.58น. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาไม่ต่ำกว่า 20 นัด เข้าใส่ฝูงชนบริเวณแยกสะพานซังฮี้จรดถึงแยกการเรือน เพื่อเตรียมเปิดทางให้ ส.ส. ที่เข้าร่วมประชุมสภา ออกจากนอกบริเวณรัฐสภา ทางประตูพระที่นั่งวิมานเมฆ

16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่ปักหลัก ชุมนุมอยู่ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวนหลายสิบลูก พร้อมทั้งตั้งแถวเรียงหน้ากระดาน ใช้กระบองเคาะโล่เสียงดังเป็นการทำลายขวัญ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นไปตั้งหลักที่สี่แยกการเรือน บริเวณสมาคมนักหนังสือ พิมพ์

16.42 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้ปีนรั้วสภาออกไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากมีอายุมากแล้ว โดยเจ้าหน้าที่พยายามประคองอุ้มนายชัยออกไปอย่างทุลักทุเล

16.50 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมถอยร่นมาจนถึงหน้าประตูสภาฝั่งถนนราชวิถี

17.00 น. ศาลอาญาสั่งยกคำร้องกรณีที่ทนายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ต้องหาในความผิดฐานเป็นกบฏ โดยทนายอ้างว่าการจับกุมของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

17.05 น. หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุมบริเวณประตูรัฐสภาให้ ถอยร่นไปจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเปิดประตูรัฐสภาเพื่อเปิดทางให้ข้าราชการ ผู้สื่อข่าว รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ที่ติดค้างอยู่ภายใน ทยอยกันออกไปด้านนอกได้

17.25 น. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ปิดที่ 528.71 จุด ลดลง 23.09 จุด โดยมีปริมาณการซื้อขายทั้งสิ้น 16,313.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีราคาปิดเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 28 หลักทรัพย์ ลดลง 369 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 49 หลักทรัพย์

17.39 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงที่กองบัญชาการกองทัพไทยว่ายังไม่เห็นใบลาออกของ พล.อ.เชาวลิต ยงใจยุทธ แต่ขณะนี้เป็นห่วงสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นที่รัฐสภา โดยประสานกับฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแล แต่ไม่ใช่รัฐบาลจะแก้ไขฝ่ายเดียวได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคิดจะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นครั้งที่

17.43 น. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตา กลุ่มพันธมิตรกระเจิงวิ่งเข้าสวนสัตว์ดุสิต ซึ่งมีทหารราบ ร.1 พัน 2 รอ. พร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้ารักษา

17.50 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เผยจะปฏิบัติภารกิจในการเยือนประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนต่อไป ส่วนสำหรับข้อเรียกร้องให้ลาออก หรือ ยุบสภานั้น นายสมชาย กล่าวว่า จะพิจารณาตามความเหมาะสม แต่ตราบใดที่อยู่ในหน้าที่ จะไม่ชะลอการทำงาน

18.00 น. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และเพื่อนร่วมรุ่น จปร.7 กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร เผยว่าเหตุการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปะทะตำรวจเป็นแผนของ พล.ต.จำลอง เตรียมไว้แล้ว เมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกจับ ก็ให้คนเข้ามาในกรุงเทพฯ และเข้ามายึดรัฐสภา โดยพยายามสร้างสถานการณ์ให้เหมือนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ เมื่อ พล.ต.จำลอง ถูกจับ สถานการณ์ก็รุนแรงขึ้น แต่ขณะนี้ไม่มีคนนำ ทำให้เหตุการณ์ไม่จบแบบนั้น สมัยนั้นมีตนและ พล.ท.พิรัช สวามิวัศดิ์ เพื่อนร่วมรุ่นเล่นด้วยเป็นผู้นำ แต่วันนี้ไม่มีคนทำต่อเนื่องทำแล้วหยุด

18.10 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ประสานรถพยาบาล เพื่อเข้ามารับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ที่ถูกยิงบาดเจ็บ จากการสาดกระสุนใส่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่จนถึงขณะนี้ รถพยาบาล ก็ยังไม่สามารถเข้าไปในอาคารรัฐสภาได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจรายแรก ที่ได้รับบาดเจ็บ จากการถูกยิงเข้าบริเวณไหปลาร้าด้านขวา มีการใช้มีดผ่าลูกกระสุนออก ซึ่งล่าสุด อาการปลอดภัยแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายหนึ่ง ที่ถูกยิงบริเวณราวนมด้านขวา ยังอยู่ในอาการอันตราย ซึ่งหน่วยพยาบาล กำลังเร่งปฐมพยาบาล และประสานรถพยาบาล ให้เข้ารับตัว

18.30 น. สหภาพแรงงานการท่าเรือ นัดหยุดงานอีกรอบ 9 ต.ค.นี้ หลังไม่พอใจภาครัฐใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมพันธมิตร

18.38 น. กองทัพภาคที่ 1 ส่งทหารเสนารักษ์ เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุสลายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ขณะโฆษกกองทัพบกยืนยัน ทหารไม่ได้เลือกข้าง

18.50 น. ภายหลังจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ไปรวมตัวกันบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ทำให้ตำรวจที่เข้าประจำการณ์อยู่บริเวณหน้า กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ตัดสินใจ ใช้แก๊สน้ำตายิงเข้าใส่ฝูงชนเป็นระยะ ๆ จนกลุ่มผู้ชุมนุม ต้องถอยร่นไปจนถึงบริเวณหน้าวัดเบญจมบพิตร ขณะเดียวกันรถพยาบาลจำนวนมาก วิ่งเข้าไปในที่เกิดเหตุ และนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแล้ว โดยการยิงแก๊สน้ำตาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ของการสลายการชุมนุมวันนี้ และมีรายงานว่ามีผู้ชุมนุมขาขาด 4 คน โฆษกบนเวทีพันธมิตรฯ ในทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ศูนย์นเรนทรสรุปตัวเลขประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ ตลอดทั้งวันเป็นจำนวน 164 ราย

18.52 น. โฆษกกระทรวงต่างประเทศ ยืนยันว่าสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศขณะนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเชิญเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย มาทำความเข้าใจ

18.55 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา-สวน ดุสิต ประกาศหยุดการเรียนการสอนวันพรุ่งนี้ ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนสาธิตด้วย ระบุ รอดูสถาการณ์การเมืองก่อน

18.57 น. พันธมิตรยกทัพจากรัฐสภา กลับเข้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมประณามรัฐบาล เป็นสภาเลือดแถลงนโยบายท่ามกลางการสลายกลุ่มผู้ชุมนุม

19.06 น. ลำเลียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย ที่ถูกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาที่โรงพยาบาล ขณะผู้ชุมนุมขับรถกระบะเข้าชนรองสารวัตร ที่แยกอู่ทองใน

19.25 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และใช้สติแก้ปัญหาทางออกอย่างสันติ เตือนนักข่าวปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวัง

19.28 น. ตำรวจและผู้ชุมนุมกว่าร้อยนายตรึงกำลังที่ ถนนศรีอยุธยา หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล

19.39 น. สวนสัตว์ดุสิตเกรงผลกระทบการสลายการชุมนุมย้าย สัตว์หนี เนื่องจากสัตว์บางชนิดอาจตกใจเสียงการยิงระเบิดแก๊สน้ำตา จนวิ่งชนกรงบาดเจ็บหรือล้มตาย

19.42 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ระบุ การยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมของตำรวจ เป็นการป้องกันตัวเองตามสถานการณ์พร้อมยืนยัน แก๊สน้ำตาไม่ทำอันตรายถึงกับทำให้ใครขาขาด

19.53 น. ราษฎรอาวุโส "น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว" เผย ตกใจภาพสลายชุมนุม พร้อมส่งกำลังใจแพทย์ พยาบาลไม่ทิ้งคนเจ็บ

20.02 น. บรรยากาศเหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร บริเวณแยกถนนศรีอยุธยา ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วม 100 นาย คอยสกัดกั้นหลังรั้วลวดหนาม บริเวณถนนที่มุ่งหน้ามาสู่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งด้านตรงข้ามมีกลุ่มพันธมิตรจำนวนประมาณ 200 คน คอยตะโกนขับไล่เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ มีกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พันธมิตร ที่นำผ้าปิดพรางใบหน้า และนำเครื่องขยายเสียงมาปราศรัยโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นระยะ ๆ ด้วย

20.18 น. ทหารตรึงกำลังเข้มหน้ากองทัพบก และแยก จปร.รอเสริมทัพตำรวจ หากคืนนี้สถานการณ์ชุมนุมบานปลาย

20.25 น. นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งปล่อยข่าวทันที ว่าคืนนี้อาจมีการวางระเบิดหลายจุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งตรวจสอบข้อมูลอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจว่า หากสามารถผ่านพ้นคืนนี้ไปได้ สถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

20.30 น. สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ร่วมกันแถลงที่โรงแรมปริ๊นเซส โดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากทม. กล่าวว่า ขอตั้งคำถามกับรัฐบาลว่า ทำไมยิงแก๊สน้ำตาและยิงระเบิดใส่กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาออกมาจากรัฐสภาแล้ว ถือว่าจงใจฆ่าประชาชน ทำให้วิกฤตลุกลาม นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเพื่อยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้น รัฐบาลเข้าและออกสภาด้วยรอยเลือด ขัดกับนโยบายที่รัฐบาลแถลง และรัฐบาลต้องสอบสวนเอาผิดเจ้าหน้าที่ที่ใช้ความรุนแรงด้วย ทั้งนี้กลุ่ม สมาชิกวุฒิสภาจะตั้งวอร์รูมที่โรงแรมปริ๊นเซสหลานหลวงอีกครั้งในวันที่ 8 ตุลาคม

20.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้ายังคงมีกลิ่นแก๊สน้ำตาคละ คลุ้งอยู่ ขณะที่พันธมิตรฯ พยายามกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง โดยได้พยายามใช้ผ้าปิดตามช่องท่อระบายน้ำเพื่อให้แก๊สฟุ้งกระจายออกมา พร้อมกับนำลวดหนามมากั้นเป็นแนวไว้

20.50 น. ตำรวจตั้งข้อสังเกตเจ้าหน้าที่ถูกยิง อาจเป็นฝีมือพันธมิตร หลังวิเคราะห์กระสุนที่ใช้ยิง เป็นอาวุธปืนที่หายไปจากทำเนียบ

20.50 น. พันธมิตร หน้ารัฐสภา ล่าถอยไปสมทบที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ทิ้งไว้เพียงขยะเกลื่อนกลาด พร้อมเศษซากรถที่ถูกทำลาย

20.56 น. ยอดผู้ได้รับบาดเจ็บที่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล พุ่งถึง 143 ราย มีตำรวจบาดเจ็บสาหัส 3 ราย

21.18 น. สรุปหลังปะทะเดือดระหว่างตำรวจกับกลุ่มพันธมิตรพบมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย เจ็บอีก 225 ราย กระจายเข้ารักษาโรงพยาบาลหลายแห่ง

21.20 น. นายก อบจ.พิจิตร ชี้ผู้แทนราษฎรเปิดประชุมสภาไม่สง่างามเดินเหยียบคราบเลือดและน้ำตาของ ประชาชนเข้าประชุม

21.30 น. ตำรวจเริ่มตั้งแถวตรึงกำลังบริเวณระหว่างหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล กับ ลานพระบรมรูปทรงม้า

21.33 น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยิงได้รับบาดเจ็บภายในอาคารรัฐสภาว่า จากการสอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ ทราบว่า ปืนที่ใช้ก่อเหตุเป็นปืนอัตโนมัติ และตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นปืนที่ถูกขโมยไปที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้วิงวอนให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรยุติการเคลื่อนไหว เพราะขณะนี้เป็นเวลากลางคืน เพราะมือที่ 3 อาจเข้ามาสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายได้ พร้อมกันนี้จะไม่ยอมให้กลุ่มผู้ชุมนุมบุกยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลเด็ดขาด เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ และเป็นกองบัญชาการตำรวจทั่วกรุงเทพมหานคร จึงต้องรักษาไว้อย่างเต็มที่

22.10 น. ตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ บริเวณแยกลานพระบรมรูปทรงม้า เนื่องจากพันธมิตรเคลื่อนตัวเข้าไปใกล้กองบัญชาการตำรวจนครบาล หลังจากนั้นมีการยิงใส่อีก 4 นัด รวมเป็น 5 นัด ทำให้ผู้ชุมนุมต้องถอยร่นออกไป ตำรวจจึงหยุดยิงแก๊สน้ำตา

22.20 น. มีเสียงคล้ายระเบิดเสียงดังขึ้นสามนัดบริเวณแยกลานพระบรมรูปทรงม้าตัดไปยัง หน้าบช.น. 2นัด จากนั้นตำรวจที่ตั้งแนวอยู่ได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม 5 นัดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การ์ดได้ควบคุมตัวเด็กช่างกลได้สองนาย ซึ่งเป็นต้นตอของระเบิดเสียงดังกล่าว และเมื่อสอบถามภายหลังพบว่าเด็กทั้งสองเกิดความแค้นที่เพื่อนถูกทำร้ายได้ รับบาดเจ็บในช่วงเช้า

22:20 น. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับห้องผ่าตัดซึ่งมีไม่พอรองรับคนเจ็บ

22.21 น. กลุ่มพันธมิตรฮือปิดล้อมรถถ่ายทอดสดช่อง 3 และทีวีไทย ให้ออกจากทำเนียบรัฐบาล หลังหลังถูกแกนนำกล่าวหาว่ารายงานข่าวไม่เป็นความจริง จนหวิดวางมวย "กมลพร วรกุล" พิธีกรสาวต้องเข้าเคลียร์ เรื่องจึงยุติ

22:34 น. ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เหตุการณ์ตึงเครียดยิงแก๊สน้ำตาอีกนับ 10 ลูกใส่ผู้ชุมนุม

23.15 น. ตำรวจยังคงยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ เป็นระยะ ๆ แต่เป็นการยิงขู่ ขณะที่พันธมิตรเข้ามาร่วมชุมนุมบริเวณแยกพระบรมรูปมากขึ้น โดยปัดหางแถวมาทางแยกมิสกวันและบางส่วนไปทางวัดเบญจมบพิตร โดยผู้ชุมนุมต้องคอยวิ่งหลบแก๊สน้ำตาเมื่อมีการยิงเข้าใส่ และกลับมารวมตัวกันใหม่เมื่อหยุดยิง

8 ตุลาคม 2551
06.15 น. เที่ยวบินที่ TG1040 ท่าอากาศยานดอนเมือง มุ่งตรงไปยังท่าอากาศยาน จ.ขอนแก่น กัปตันเครื่องบินปิดประตูเครื่องบินปฏิเสธรับ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนขึ้นเครื่อง โดย ส.ส.คนดังกล่าว คือ นางฟาริดา สุไลมาน ส.ส.สุรินทร์ เขต 1 พรรคพลังประชาชน (ปัจจุบันสังกัดพรรคราษฎร) ทั้งนี้ก่อนที่กำหนดเครื่องจะออก กัปตันคนดังกล่าวได้ตรวจสอบรายชื่อผู้โดยสาร จากนั้นเมื่อพบว่ามีชื่อ ส.ส.พลังประชาชนด้วย กัปตันในเครื่องแบบจึงไม่ยอมนำเครื่องขึ้น

09.00 น. เที่ยวบินการบินไทยที่ 1002 ดอนเมือง-อุดรธานี ซึ่งจะออกเดินทางในเวลา 09.25 น. กัปตันและนักบินก็ประกาศที่จะไม่รับ ส.ส.พลังประชาชน 2 คน ประกอบไปด้วย นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคพลังประชาชน (ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย) และนางชมภู จันทาทอง ส.ส.หนองคาย เขต 1 พรรคพลังประชาชน (ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย) ขึ้นเครื่องด้วยเช่นกัน

9 ตุลาคม 2551
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับแกนนำพันธมิตรคดีกบฏ
ในรายการวิทยุชื่อ “เดอะ นิวส์ โชว์ กับ คุณปลื้ม” ดำเนินรายการโดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ที่ออกอากาศทางคลื่น 97.0MHz ในช่วงเวลาประมาณ 13.00-14.00 น. ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้นำแถลงการณ์ของสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย และสำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย กรณีอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ 8 สถาบัน และสถาบันจิตเวชศาสตร์เจ้าพระยา ที่ออกมาประกาศว่าจะไม่รับรักษา คณะรัฐมนตรี และ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่แต่งเครื่องแบบ และแจ้งยศชั้น เพื่อตอบโต้การกระทำรุนแรงต่อประชาชนของตำรวจในวันอังคารที่ 7 ต.ค.จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 400 คน และเสียชีวิต 2 คน ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน

10 ตุลาคม 2551
สำนักข่าวเอพี รายงานจากเมืองเวลลิงฟอร์ด รัฐคอนเน็กติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานประชุมทางวิชาการ ณ โรงเรียนโช้ต โรสแมรี่ฮอลล์ โดยในที่ประชุม สมเด็จพระเทพฯ ตรัสถึงความสำคัญของงานบริการภาคสาธารณะ และหลังเสร็จสิ้นการประชุม มีผู้สื่อข่าวทูลถามพระองค์ถึงสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทยว่า ทรงเห็นด้วยหรือไม่ที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงระบุว่า ประท้วงเพื่อสถาบันกษัตริย์ (The princess was asked at a press conference following her talk whether she agreed with protesters who say they are acting on behalf of the monarchy.)

เอพี รายงานว่า สมเด็จพระเทพฯ ตรัสตอบคำถามดังกล่าวว่า "I don"t think so." "They do things for themselves." หรือแปลเป็นไทยได้ ความว่า "ข้าพเจ้าไม่คิดเช่นนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมดำเนินการสิ่งต่างๆ เพื่อตัวพวกเขาเอง"ผู้สื่อข่าวทูลถามอีกว่า "Why the king has not spoken out?" หรือ "เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมิได้ทรงออกมาตรัสถึงเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น" สมเด็จพระเทพฯ ตรัสตอบว่า "I don"t know because I haven"t asked him." หรือ "ข้าพเจ้าไม่ทราบ เนื่องจากมิได้ถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงเรื่องนี้"

11 ตุลาคม 2551
12.00-18.00 น. งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่อาคารธันเดอร์โดม ภายในเมืองทองธานี เพื่อรำลึกถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีกลุ่มพิธีกร และ นปช.ขึ้นปราศรัยหลายคน ตามลำดับดังนี้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย, นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ประธานมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานแน่นภายในอาคารธันเดอร์โดมและล้นออกมานอกอาคารอีกมากมาย ภายในงานมีการจำหน่ายเสื้อโปโล และเสื้อยืดสีแดง ที่มีสัญลักษณ์ของรายการฯ ในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำศูนย์ เฝ้าระวังการรัฐประหารแห่งชาติ ยังได้นำสติกเกอร์ เบื่อม็อบ พันธมิตร มาแจกจ่ายภายในงานด้วย

12 ตุลาคม 2551
ที่สนามหลวงก็มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งก็เป็นไปอย่างสงบเช่นเดียวกัน โดยก่อนหน้านี้ แกนนำ นปช.ได้ปราศรัยถึงการทำหน้าที่ของตำรวจในการสลายการชุมนุมว่าถูกต้องแล้ว ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ที่จะบุกยึดทำเนียบรัฐบาลคืนมา ซึ่ง พล.ต.อ.สล้าง กล่าวไว้ว่า " มีตำรวจมาพูดกับผมว่าตอนนี้ตำรวจไม่กล้าทำงานเพราะผู้ใหญ่ไม่กล้า ตัดสินใจ ผมจึงคิดกับเพื่อนตำรวจนอกราชการที่อดีตเคยเป็นครูตชด. ปจ. คอมมานโด กองปราบปราบ ตั้งกองกำลังกู้ทำเนียบรัฐบาล โดยจะเสนอรัฐบาลว่าจะเข้าไปยึดทำเนียบฯคืนเอง เบื้องต้นรวบรวมตำรวจนอกราชการได้กว่า 1 พันนาย ซึ่งถ้าหากตำรวจในราชการอยากร่วมด้วยก็ขอให้ไปลาราชการมาร่วมกันทำงาน ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็มาร่วมได้แต่ให้มาทำงานในส่วนอื่นเพราะไม่ได้รับการฝึก มา ซึ่งกองกำลังสามารถ รวบรวมได้ภายใน 5 วัน ส่วนเรื่องเงินทุนถ้าไม่มีใครบริจาคสนับสนุน จะขายทรัพย์สินส่วนตัวซึ่งเป็นเหรียญที่มีค่าที่ตนเองเก็บไว้มานาน จะมีการประมูลขายใครสนใจสนับสนุนก็ให้ติดต่อมาได้"

13 ตุลาคม 2551
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ไปยังเมรุวัดศรีประวัติ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นางสาวอังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือโบว์ อายุ 28 ปี ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่าง ๆ เฝ้ารับเสด็จ แต่ไม่ปรากฏบุคลากรจากฝ่ายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ นอกจากที่ทรงได้รับการต้อนรับอย่างปีติยินดีจากผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตรฯ หลายหมื่นคน ณ ที่นั้นแล้ว การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ยังผลให้ฝ่ายพันธมิตรฯ ประกาศเลื่อนการชุมนุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งกำหนดให้มีในวันนี้ ออกไปเป็นอีกสองวันถัดไป สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งนายจินดา ระดับปัญญาวุฒิ บิดาของนางสาวอังคณา เปิดเผยว่าทรงแสดงความกังวลในสวัสดิภาพของผู้ชุมนุม และรับสั่งว่าจะจัดดอกไม้มาพระราชทานภายหลังด้วย กับทั้งมีพระราชปฏิสันถารกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนายสนธิมิได้เปิดเผยรายละเอียด กล่าวเพียงว่าเป็นแต่เรื่องส่วนตัวที่ไม่สำคัญนัก ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระราชอุทิศเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นค่ารักษา พยาบาลผู้บาดเจ็บในการจลาจลดังกล่าวทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯ กล่าวว่าเป็นสัญญาณแห่งการสนับสนุนฝ่ายตน อย่างไรก็ดี เงินดังกล่าวได้เวียนไปสู่ทั้งฝ่ายตำรวจและพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บโดยเท่าเทียมกัน

16 ตุลาคม 2551
ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ, พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ร่วมกันออกอากาศในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 โดยมี นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งการที่ผู้นำเหล่าทัพทั้งหมดได้พร้อมใจกันออกรายการโทรทัศน์เรียกร้อง ให้รัฐบาลลาออกครั้งนี้ ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงมีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เป็น "การปฏิวัติผ่านหน้าจอ"

1 พฤศจิกายน 2551
17.00-23.00 น. งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ความจริงวันนี้ ต้านรัฐประหาร” ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ภายในสนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย ถนนรามคำแหง (ประตูเปิดประมาณ 15.00 น.) มีผู้ร่วมงานเฉียดแสนคน ก่อนเริ่มงาน ในเวลาประมาณ 13.00 น. มีการประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีผู้จัดรายการ และ นปช.ขึ้นปราศรัย ตามลำดับดังนี้ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายจาตุรนต์ ฉายแสง, นายวีระ มุสิกพงศ์, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และนายอดิศร เพียงเกษ

เนื้อหาในการปราศรัย ได้กล่าวถึงการบริหารประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในสมัยที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี, การต่อต้านรัฐประหาร, โจมตีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงท้าย เวลา 22.45 น. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ขึ้นร้องเพลง รัก สาวเสื้อแดง ที่เขาแต่งเนื้อร้องด้วยตนเอง โดยดัดแปลงจากเพลงเดิม ให้มีเนื้อหาเข้ากับกิจกรรมของงานด้วย จากนั้น ผู้ปราศรัยขึ้นขอบคุณประชาชน ก่อนปิดงาน ภายในงานมีการจำหน่ายเสื้อสีแดง, ตีนตบ, หนังสือ และมีการแจกวีซีดี พันธมิตรฆ่า ประชาชน ด้วย

โดยช่วงสำคัญของงานครั้งนี้ อยู่ที่การปราศรัยทางโทรศัพท์ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายวีระ เป็นผู้สัมภาษณ์บนเวที โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้กล่าวถึง การสร้างความสามัคคี ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติ

โดยตอนแรกนั้นพิธีกรรายการความจริงวันนี้มาเยี่ยม นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และได้เล่าถึงงานรายการครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร จึงอยากให้บรรยากาศการสนทนาครึกครื้น จึงพูดกระเซ้าขึ้นว่า ถ้าหายดีจะไปขึ้นเวทีร้องเพลงสัก 1-2 เพลง ต่อมาคนก็ถามถึงข่าวที่ว่าตนจะไปร่วมงานนี้ ระหว่างพักฟื้นแพทย์คงไม่ยอมให้ตนไปแน่นอน

23 พฤศจิกายน 2551
13.00-17.00 น. งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ภาคพิเศษ คณะผู้จัดรายการฯ ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) ให้จัดขึ้นที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี โดยพระราชธรรมนิเทศได้ให้ข้อกำหนดของรายการครั้งนี้ว่า ต้องไม่มีการปราศรัยเพื่อปลุกระดมทางการเมือง ไม่มีการโทรศัพท์ข้ามประเทศของอดีตนายกรัฐมนตรี และไม่อนุญาตให้นำตีนตบเข้ามาในวัด หากฝ่าฝืน พระพยอมมีสิทธิ์ยุติรายการครั้งนี้ได้ทันที มีผู้ร่วมงานล้นวัดและรถติดยาวมาก

งานเริ่มต้นด้วยการทอดผ้าป่าสามัคคีเมื่อเวลา 12.30 น. จากนั้น พระพยอมได้ขึ้นเวที เพื่อเทศน์เตือนสติกลุ่มการเมืองทั้งสองฝ่าย จากนั้นเป็นการเสวนาของผู้ดำเนินรายการ และพระพยอม ต่อด้วยการปราศรัยของวิทยากรหลายท่าน ได้แก่ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ นายอดิศร เพียงเกษ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายก่อแก้ว พิกุลทอง และนายจักรภพ เพ็ญแข

ทั้งนี้ ก่อนที่งานจะสิ้นสุด เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. พระพยอม กัลยาโณ ได้ขึ้นเวที เพื่อเทศน์ให้เหล่าประชาชนได้รับฟังอีกครั้ง ทั้งนี้ ไม่มีการปราศรัยทางโทรศัพท์ ของทั้ง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี แต่อย่างใด

24 พฤศจิกายน 2551
06.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯปฏิบัติการดาวกระจาย เคลื่อนขบวนจากทำเนียบรัฐบาลไปปิดล้อมรัฐสภา เพื่อขัดขวางการประชุมรัฐสภา และทยอยเดินทางไปปิดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และกระทรวงการคลัง

09.40 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา โทรศัพท์แถลงข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือของนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้งดการประชุมรัฐสภาจนกว่าเหตุการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

12.30 น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศให้ผู้ชุมนุมเดินทางไปยึดท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อไม่ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี

14.20 น. กลุ่มพันธมิตรฯประกาศจะมีมาตรการสูงสุดกดดันรัฐบาลให้ลาออกภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน

17.45 น. กลุ่มพันธมิตรฯยึดท่าอากาศยานดอนเมืองได้อย่างเบ็ดเสร็จ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะต้องให้รัฐบาลนายสมชายออกไปให้ได้ และมอบหมายให้นายสมศักดิ์รับผิดชอบนำการชุมนุมที่ดอนเมือง

25 พฤศจิกายน 2551
10.45 น. กลุ่มพันธมิตรฯเดินทางไปสมทบที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และเคลื่อนขบวนบุกกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี

15.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯเคลื่อนขบวนเข้าไปยึดพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางเข้าไปยังสนามบินได้

16.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯหลายพันคนใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถบรรทุก 6 ล้อปิดเส้นทางมอเตอร์เวย์ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต

17.10 น. เกิดเหตุปะทะทำร้ายกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มคนเสื้อแดง บริเวณปากซอยวิภาวดีฯ 3 นานกว่า 20 นาที โดยมีการใช้อาวุธมีด ไม้ และมีเสียงปืนดังติดต่อกันหลายนัด หลังสถานการณ์คลี่คลายมีกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับ บาดเจ็บ 11 ราย และถูกนำส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปาโล

19.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ทยอยเดินทางมาสมทบยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมหมื่นคน ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือหลายพันคนตกเครื่อง ขณะที่ผู้โดยสารบางส่วนเลื่อนการเดินทางออกไปอย่างไม่มีกำหนด

21.00 น. นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ท่าอากาศยานไทย กล่าวภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯบุกเข้าไปยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่าได้หารือกับ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเห็นว่าให้ปิดการใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งขาเข้า-ออกโดยไม่มีกำหนด

26 พฤศจิกายน 2551
14.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน แถลงภายหลังร่วมประชุมกับ 5 องค์กรภาคเอกชน เสนอทางออกให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา และให้กลุ่มพันธมิตรฯยุติการชุมนุม ถอนกำลังออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง

18.10 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เดินทางโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำสายการบินไทยจากกรุงลิมา ประเทศเปรู ถึงท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 เชียงใหม่ ท่ามกลางการอารักขาอย่างแน่นหนาของชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมอาวุธครบมือ โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดง 500 คนเดินทางมาให้กำลังใจ

18.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯแถลงยืนยันจุดยืนเดิมให้รัฐบาลต้องลาออก ไม่ใช่ยุบสภาและเปิดทางให้มีรัฐบาลประชาภิวัตน์

22.15 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกรายการทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่จังหวัดเชียงใหม่ ยืนยันไม่ลาออก ไม่ยุบสภา และเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมคืนทำเนียบรัฐบาลและท่าอากาศยานทั้งสองแห่งโดยเร็วที่สุด

24.00 น. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศปิดใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง 48 ชั่วโมง เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมแอบเข้าไปในรันเวย์สและเข้าไปขอเจ้าหน้าที่หอ บังคับการบินตรวจสอบข้อมูล และสร้างกระแสยึดหอบังคับการบิน

27 พฤศจิกายน 2551
09.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากแถลงข่าวยืนยันว่าจะไม่ลาออกหรือยุบสภา

15.00 น. มีกระแสข่าวปลด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และกระแสข่าวการรัฐประหารตลอดช่วงบ่าย กระทั่ง พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก แถลงยืนยันว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังเพื่อรัฐประหาร

16.00 น. ท่าอากาศยานไทยประกาศปิดใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองต่อไปไม่มีกำหนด การบินไทยร่วมกับกองทัพเรือ เปิดสนามบินอู่ตะเภาเป็น ศูนย์กลางนำเที่ยวบินระหว่างประเทศขึ้น-ลง เพื่อระบาย นักท่องเที่ยวตกค้างทั้งขาออกและขาเข้า ได้เต็มที่ 3 เที่ยว/วัน

21.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านเอ็นบีทีจากจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง เพื่อป้องปรามการชุมนุมในเขตพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง

28 พฤศจิกายน 2551
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนพยาน มีตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมรับฟังพร้อมเพรียงพยานพรรคมัชฌิมาธิปไตยจำนวน 20 ปาก และขอเพิ่มเติมอีก 29 ปาก พยานพรรคชาติไทยจำนวน 42 ปาก พยานเทปซีดีคำปราศรัยห้ามซื้อเสียง และพยานเอกสาร 33 รายการ พยานพรรคพลังประชาชนจำนวน 60 ปาก

ตลอดทั้งวัน กระทรวงการท่อง เที่ยวและกีฬา ร่วมกับ 6 กระทรวง และตัวแทนสายการบินทั้งหมดหาทางออกร่วมกัน ที่สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน

2 ธันวาคม 2551
06.20 น. แนวร่วมประชาธิไปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือนปช.นำโดยนายชินวัตฒ์ หาบุญพาด นายวรัญชัย โชคชนะ ได้เดินทางจากลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกทม.ประมาณกว่า 500 คนเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อรับฟังการนัดแถลงปิดคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และมัฌิมาธิปไตย โดยหลังจากมาถึงหน้าศาลจากนั้นได้กระจายตัวกันไปปิดทางเข้าออก ของอาคารศาล รัฐธรรมนูญทุกด้าน รวมถึงซอยต่างๆ ด้านหลังศาลรัฐธรรมนูญ ฝั่งติดตลาดพาหุรัดเพื่อป้องกันไม่ให้ 9 ตุลาการได้เข้ามาภายในอาคารได้ ขณะเดียวกันจนท.ตำรวจได้มีการระดมกำลังดูแลพื้นที่โดยปิดประตูทางเข้าออก ของสำนักงานทุกด้าน และไม่ให้กลุ่มผุ้ชุมนุมเข้าไปในตัวอาคาร หลังปิดประตูเข้าออกทุกด้านผู้ชุมนุมได้มายืนรวมกันที่ประตูใญ่ด้านหน้าสำนักงาน

07.45 น. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง เป็นหนังสือราชการติดตราครุฑ ว่าเป็นความร่วมมือระหว่างอัยการสูงสุดผู้ร้องตุลาการศาลรัฐธรรนูญและ จำเลยพรรคชาติไทย พรรคพลังประชาชน พรรคมัฌิมาธิปไตย นำมาปิดที่หน้าศาลโดยระบุว่าเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ในการนัดปิดแถลงคดีในเวลา 09.30 น. ศาลรัฐธรรมนูญได้เปลี่ยนแปลงสถานที่ การปิดแถลงคดีไปที่ศาลปกครองสูงสุดในเวลา 10.00น. ที่ถนนแจ้งวัฒนะพร้อมลงชื่อตุลาการ 9 คน เพื่อยืนยันอีกครั้ง

08.00 น. แกนนำนปช. โดยนายชินวัฒน์ ได้ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงโดยระบุว่าจะนำมวลชนบางส่วนไปชุมนุมที่ศาล ปกครองสูงสุด ถ.แจ้งวัฒนะ และเดินทางออกไปทันที่ขณะที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้เหลือ นปช. ประมาณ 100 คน มีนายวรัญชัย เป็นแกนนำ โดยยันว่าจะปักหลักชุมนุมต่อไปจนกว่าจะมั่นใจว่าจะไม่ใช้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในการแถลงปิดคดี สำหรับการจราจรถนนจักรเพชรด้านหน้าศาลรัฐรรมนูญได้ปิดถนน ไปชั่วคราว หลังนปช.ได้เคลื่อนตัวมาถึงล่าสุด เวลา 08.00 น.ถนนเส้นดังกล่าวเปิดการรจราจรตามปกติแต่ไม่สามารถเคลื่อนได้อย่างคล่องตัว เพราะมีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินข้ามไปมาตามถนน อย่างไรก็ตามปกติรอบศาลรัฐธรรมนูญจะมีรั้วเหล็กมาปิดกั้น แต่ปรากฏว่าวันนี้ตำรวจไม่นำรั้วกั้นตลอดแนวทำให้ผู้ชุมนุมสามารถบุกไปที่ หน้าสำนักงานได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตามจนท.ตำรวจได้มีการป้องกันแนวรั้วเพื่อไม่ให้ผู้ชุมปีนข้ามไปได้ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรักษาความปลอดภัยประจำอาคารศาลทุกชั้น

10.00น. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยเข้าแถลงปิดคดียุบพรรคด้วยวาจา ด้านนายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงปิดคดีด้วยวาจาแล้ว ก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณาและขอให้คู่ความรับฟังคำวิจนิจฉัยในวันนี้

12.25 น. บริเวณศาลปกครองสูงสุดชั้น 3 ซึ่งเป็นห้องพิจารณาคดี 1 ได้มีกำลังทหารประมาณ 10 นาย พร้อมอาวุธปืนเอ็ม 16 มาประจำการเพื่อรักษาความปลอดภัยในระหว่างการพิจารณาคดีด้วย คณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยกรณีอัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชนพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยโดยมีคำสั่งให้ยุบพรรค ทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรค การยุบพรรคพปช. ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่ง โดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการรักษาการนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

3 ธันวาคม 2551
10.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศยุติการชุมนุม หลังจากที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งไป 1 วันก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ ยืนยันว่าหากยังมีความเคลื่อนไหวที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีความเคลื่อนไหวในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความไม่ชอบมาพากล หรือทุจริต กลุ่มพันธมิตรฯ ยังพร้อมที่จะกลับมาทุกครั้ง

13 ธันวาคม 2551
งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่สนามศุภชลาศัย ภายใต้หัวข้อ “ความจริงวันนี้ ความจริงประเทศไทย” มีประชาชนไปร่วมงานเต็มสนาม โดยมีวิทยากรขึ้นเวทีปราศรัยหลายราย ได้แก่ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายจักรภพ เพ็ญแข, นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายวีระ มุสิกพงศ์, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา และนายอดิศร เพียงเกษ โดยในงานครั้งนี้ ไม่มีการโฟนอินจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการเปิดวีทีอาร์แทน

โดยภายหลังเปิดวีซีดี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จบ นายวีระกล่าวเพิ่มเติมว่า เดิมทีเดียว พวกตนจะให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ปราศรัยสดผ่านโทรศัพท์ แต่ ก็ถูกมองว่าจะทำให้เกิดปัญหา ฝ่ายตรงข้ามซึ่งจ้องจะขย้ำ และมีเบื้องหลังที่เกี่ยวข้องกับการแย่งซีนจัดตั้งรัฐบาล แต่ความจริงแล้ว พวกตนกำลังมองถึง ข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ต้องการให้การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อชาติ ซึ่งนายเสนาะ และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ขอร้อง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ว่าอย่าโฟนอิน เพื่อให้ทั้งสองคน มีความน่าเชื่อถือในการจัดตั้งรัฐบาล

ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โทรมาปรึกษาตน และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อว่า การที่นายเสนาะ และ พล.ต.อ.ประชา ขอแลกการโฟนอิน กับการให้ฝ่ายพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลได้ ตนจึงแนะนำ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ว่า ถ้าโมโหโกรธาเรื่องอะไร ก็ให้ระบายกับตน แต่หากการงดโฟนอินแล้ว ทำให้ฝ่ายพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะในการโหวตเลือกนายกฯ ก็ควรจะทำ และขอฝากไปยังพรรคเพื่อแผ่นดินว่า สัญญาต้องเป็นสัญญาลูกผู้ชาย เบี้ยวไม่ได้ หักหลังไม่ได้ หากวันจันทร์นี้ มีการหักหลังเกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะพบกับการรวมตัวของคนเสื้อแดงทั้งประเทศ

โดยนายวีระกล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ มีผู้พยายามจะบล็อกสัญญาณการถ่ายทอดสด ทั้งทางอินเทอร์เน็ต, วิทยุชุมชน, เคเบิลทีวี (สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี ช่อง 5) เพื่อปิดกั้นไม่ให้ประชาชนได้ชมการปราศรัย และการปราศรัยทางโทรศัพท์ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รวมทั้งได้มีการปล่อยข่าวว่า เกิดเหตุปะทะกัน ระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดง กับเด็กช่างกลด้วย เพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่ผู้ชุมนุม

15 ธันวาคม 2551
ภายหลังการพ้นจากตำแหน่งของนายสมชาย ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ผลปรากฏว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับคะแนนเสียงมากกว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ทำให้การเมืองพลิกขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัตตั้งรัฐบาลผสม จากเดิมที่เป็นฝ่ายค้านในรัฐบาลทักษิณ สมัครและสมชาย ในขณะที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบนักการเมืองเดิมจากพรรคพลังประชาชน รัฐบาลเก่า กลายเป็นฝ่ายค้านแทน โดยมีรายงานอย่างกว้างขวางว่า นายทหารหลายคน บีบบังคับให้อดีต ส.ส. พรรคพลังประชาชนย้ายมาสนับสนุน พรรคประชาธิปัตย์

28 ธันวาคม 2551
15.00 น. งานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “ความจริงประเทศไทย ไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์” จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง ทั้งนี้ กลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดงจะปักหลักชุมนุมยืดเยื้อ และเคลื่อนการชุมนุมไปยังหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการแถลงนโยบาย ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และกดดันให้นายอภิสิทธิ์ประกาศยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ และจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนมากของประชาชน ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตยที่แท้จริงต่อไป


อ้างอิง
ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, คมวิกีพิเดีย
, INN, NATION, The Bangkok Post, ASTVผู้จัดการ, ข่าวสด
http://th.wikipedia.org/wiki/อังคณา_ระดับปัญญาวุฒิ
http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย_พ.ศ._2548-2553
http://th.wikipedia.org/wiki/การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย_พ.ศ._2551

http://th.wikipedia.org/wiki/ เหตุการณ์_นปก.ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ_2_กันยายน_พ.ศ._2551
http://th.wikipedia.org/wiki/การบุก ยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย_พ.ศ._2551
http://th.wikipedia.org/wiki/คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551
http://th.wikipedia.org/wiki/การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
http://www.prachatai.com/journal/2009/04/20728
http://thaiinsider.info/space/content/view/11334/59/
http://www.prachatai.com/journal/2008/10/18540

--------------------------------------------------------------

FfF