บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


30 กรกฎาคม 2552

<<< ถ้าต้องได้รับโทษก่อนถึงถวายฏีกาได้ แล้วโทษประหารชีวิตต้องตายก่อนหรือเปล่า >>>

เห็นบรรดาสื่อ นักวิชาการ อาจารย์ และสารพัดผู้คน
ที่พยายามออกมาชี้นำสังคมทำนองว่า
การจะฎีกาได้ต้องได้รับโทษก่อนถึงถวายฎีกาได้
ก็เลยเกิดความสงสัยในใจว่า
แล้วโทษประหารชีวิตนี่ต้องตายก่อนใช่ไหม
ถึงจะให้ฏีกาได้
ผมเคยเห็นในหนังไม่ว่าจะหนังไทย จีน ฝรั่ง
ที่เกี่ยวกับเรื่องกษัตริย์ ฮ่องเต้ หรือ จักรรพรรดิ สมัยก่อน
เวลาฮ่องเต้ กริ้วแม่ทัพ หรือ คนที่มีฝีมือในยุคนั้น
เพราะไปทำอะไรผิด หรือ ขัดใจก็แล้วแต่
สั่งให้ประหารชีวิตแม่ทัพคนนั้น
คนที่เข้าเฝ้าอยู่ตอนนั้น
พากันคุกเข่าขอให้เว้นโทษประหารชีวิต
เรื่องกรณีนี้ในพงศาวดารไทยก็พอมี
อย่างกรณีสมเด็จพระนเรศวร
สั่งประหารแม่ทัพนายกอง

ที่วิ่งตามช้างของพระองค์ไม่ทัน
ทำให้พระองค์ต้องไปอยู่ในวงล้อมของทหารพม่า
จนต้องร้องท้าแม่ทัพพม่า
ให้ออกมาทำยุทธหัตถีกัน
ซึ่งสุดท้ายไทยก็ชนะศึกครั้งนั้น
และสมเด็จพระนเรศวรก็มีชัย
ในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น
ด้วย
ซึ่งจะว่าไปก็ผิดกฏหมายสมัยนั้น
ที่แม่ทัพนายกองไม่สามารถตามไปคุ้มครองพระองค์ได้
แต่ก็มีการร้องขอไว้ชีวิตกัน
ซึ่งสุดท้ายก็มีการยกโทษให้
ผมจำเรื่องราวได้คร่าวๆ ประมาณนี้
นี่ก็เป็นตัวอย่างการฏีกาประเภทหนึ่ง
ที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
แต่ใช้ภาษากายแสดงให้รับรู้
โดยการนั่งคุกเข่าขอให้ไว้ชีวิตแม่ทัพนายกองเหล่านั้น
ไม่เห็นเขาต้องรอให้โดนประหารชีวิตก่อน
แล้วค่อยมาทำเรื่องฎีกาไว้ชีวิตเลย

หรือว่าคนสมัยนี้คิดไม่เหมือนคนสมัยก่อน
คือคิดว่าต้องได้รับโทษก่อนถึงมีสิทธิ์ฎีกา
แล้วถ้าโดนโทษประหารชีวิต
แล้วให้โดนประหารชีวิตไปก่อน
จะให้เขาฎีกาไปทำอะไรไม่ทราบ
ดังนั้นหลักการที่คิดว่ายังงั้น ไม่น่าจะถูกต้องนัก
อันที่จริงแล้วการฏีกา
สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกกรณี ด้วยซ้ำ
ยกตัวอย่างในปัจจุบัน
เวลากษัตริย์เสด็จประพาสต่างจังหวัด
อยู่ๆ อาจมีชาวบ้านนำฎีกามาถวายในเวลา 2 ทุ่มก็ได้
ถ้ากษัตริย์เสด็จผ่านไปถึงในช่วงเวลานั้น
และอาจไม่ได้เขียนฎีกาเป็นทางการ
หรือใช้ภาษากฏหมายอะไรด้วยซ้ำ
ก็เขียนกันตามที่จะเขียน
ซึ่งอาจใช้ภาษาผิดๆ ถูกๆ ก็ได้
บางคนเขียนไม่ได้ พูดไม่ได้ แขนขาขาด
ก็อาจใช้ภาษากายแทนก็ยังได้
ไม่เห็นเขาจะกำหนดรูปแบบตายตัวเสียเมื่อไหร่
ว่าแบบไหนฏีกาได้ แบบไหนฏีกาไม่ได้

ส่วนเรื่องในฏีกาจะได้รับการพิจารณา
ว่าทำได้ ไม่ได้ยังไง ติดขัดอะไรในข้อกฏหมาย
ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
ซึ่งอาจมีข้าราชบริพารที่ช่วยงานมาดูแลเรื่องนี้
ทั้งเรื่องกฏหมายหรือเรื่องอื่นๆ
ว่าทำได้ไม่ได้ยังไงเพื่อถวายคำแนะนำ
หรือท่านจะวินิจฉัยเองก็แล้วแต่กรณี
การคัดค้านไม่เห็นด้วยในเรื่องนั้นเรื่องนี้
ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนรวมไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเขา ก็ทำได้
เพราะจะเป็นความเห็นในการประกอบการพิจารณาก็ได้ใครจะรู้
คนที่พยายามขัดขวาง ห้ามปราม
หรือหาเรื่องคนที่เขาต้องการที่พึ่ง

โดยหวังว่าการฎีกาคือที่พึ่งสุดท้ายของเขา
เพราะหวังอะไรจากกฏหมายปกติไม่ได้
หรือหวังพึ่งรัฐบาล หรือพึ่งใครไม่ได้อีกแล้ว
คิดว่าทำถูกต้อง เหมาะสมแล้วหรือ

ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะหวัง
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดว่า เผื่อฟลุ๊คถ้าใช้วิธีนี้
พวกที่พยายามทำตัวมาขัดขวางความหวังคนอื่น
มีสิทธิ์อะไร แล้วคิดว่าเป็นการสมควรแล้วหรือไม่
ที่จะมาทำลายความหวังของคนอื่น
ที่คิดใช้วิธียื่นฎีกาเป็นที่พึ่งสุดท้าย

ปล. กรณีนี้พูดถึงโทษประหารชีวิต
การติดคุกมากี่สิบปี
ก็ไม่เกี่ยวกับการได้รับโทษประหารชีวิต
จะมาอ้างว่าหลังตัดสินให้รับโทษประหารชีวิต
ระหว่างติดคุกรอเพื่อถูกประหารชีวิต
ถึงจะทำฎีกาได้เพราะได้รับโทษแล้วไม่น่าจะถูกต้อง
เพราะการได้รับโทษประหารชีวิต
ก็คือการถูกประหารชีวิต ไม่ใช่การติดคุก

โดย มาหาอะไร