บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


07 พฤศจิกายน 2552

<<< เรื่องราวของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง >>>

พอดีผมนั่งอ่านหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่ง
เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความของโคโนะสุเกะ มัตซึชิตะ
ผู้ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมไฟฟ้ามัตซึชิตะ
ที่มีผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าขายแทบทั่วโลก
ไปอ่านเจออยู่ตอนหนึ่ง
เป็นเรื่องราวของสมเด็จพระจักรพรรดิ ฮิโรฮิโต
ทำให้ความเชื่อผิดๆ หลายอย่างที่ผมไม่เคยรู้
เพราะไม่ได้สนใจค้นคว้าเท่าไหร่
เกี่ยวกับการแพ้สงครามของญี่ปุ่น

ปลายปี 1985 ในปีนั้น
จะครบรอบการครองราชย์ 60 ปี
กษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น

เขาเท้าความไปปี 1930 ว่า
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของญี่ปุ่น
ที่ยังเตาะแตะอยู่ก็พังทลายลง
เมื่อทหารกลายเป็นโครงสร้าง
ที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ
ทหารเริ่มการสู้รบในจีน
และเข้าสู่สงครามแปซิฟิคในเดือนสิงหาคม 1945

ในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังแพ้สงคราม
ผู้นำกองทัพของญี่ปุ่นได้แตกแยกกัน
ว่าญี่ปุ่นควรจะยอมรับคำประกาศแห่งพอทดาม
ที่ให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข
กองทัพได้ตัดสินใจแน่วแน่ว่า
จะต่อสู้จนคนสุดท้ายที่จุดสำคัญ

จักรพรรดิฮิโรฮิโตฝ่าฝืนกฏประเพณี
โดยแทรกแซงกิจการของรัฐ
พระองค์ตรัสกับรัฐบุรุษอาวุโสและรัฐสภาว่า
พระองค์ไม่สามารถทนดูประชาชนของพระองค์
ทุกข์ยากได้อีกต่อไป
และตรัสว่า
รัฐบาลควรจะยอมรับคำประกาศแห่งพอทดาม
โดยไม่ต้องสนใจว่า
จะเกิดอะไรขึ้นกับพระองค์เอง
พระองค์ตรัสว่า
ถ้าจำเป็น พระองค์เต็มพระทัย
ที่จะไปยืนหน้าไมโครโฟน
และพูดกับประชาชนโดยตรง

การแถลงข่าวของจักรพรรดิ
เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด
ผู้เขียนนั่งฟังคำแถลงการณ์
ของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
ในห้องประชุมของบริษัท
พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัททุกคน
พระองค์ย้ำถึงความยากลำบากทั้งปวง
ที่อาจจะตามมากับความพ่ายแพ้
และให้อุทิศตนเองเพื่อชาติ เหนือสิ่งอื่นใด
พระองค์ต้องการเห็นสันติภาพคงอยู่ตลอดไป
การยอมจำนนของญี่ปุ่น
มีค่าที่เป็นความจำเป็น
ในการที่จะพลิกความวิบัติ
ให้เป็นความอยู่รอด

การกระจายเสียงทางวิทยุของทางพระราชวัง
ทำให้คนในชาติมีความหวัง
แม้ความสับสนและความอดอยากยากแค้น
ในช่วงต้นของความพ่ายแพ้
แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังมีความหวัง
แม้พวกเขายากจนอย่างที่สุดและหิวโหย
แต่ก็ยังไม่หมดหวังทอดอาลัย

ในต้นปีหลังสงคราม
จักรพรรดิเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศ
เพื่อพบปะและพูดคุยกับประชาชน
และให้กำลังใจแก่พวกเขา
การเดินทางของสมเด็จพระจักรพรรดิ
สร้างขวัญกำลังใจอย่างมาก
ประชาชนถือว่าเป็นโอกาส
ที่ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม
ไม่เพียงแต่จะได้เห็นจักรพรรดิ
และจักรพรรดินี
แต่ได้รู้สึกถึงความอบอุ่น
แบบมนุษย์ปุถุชนของทั้ง 2 พระองค์

อันที่จริงมีอีกตอนเป็นตอนที่เขียนอีกหลายปีต่อมา
เป็นการอาลัยการสิ้นพระชนน์ของจักรพรรดิ
เขาเขียนไว้หลายเรื่อง เช่น
ถ้าปราศจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต
ผมยังสงสัยว่า
ญี่ปุ่นจะสามารถบูรณะเศรษฐกิจ
ที่ถูกสงครามทำลาย
ได้อย่างรวดเร็วเหมือนที่เป็นหรือเปล่า

กับข้อความจากเสียงทางวิทยุของพระราชวัง
เช่นการเตือนให้ประชาชน
"ทนสิ่งที่ทนไม่ได้"
และ"ทนสิ่งซึ่งไม่สามารถทนได้"
เพื่อการบูรณะประเทศ

พอดีหลายเรื่องที่เขาเขียน
เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยรับรู้มาก่อน
และเคยเข้าใจผิดๆ หลายเรื่อง
บางทีหนังสือหรือการเดินทางไปท่องเที่ยว
สามารถทำให้คนหูตาสว่างเพิ่มขึ้นได้

เพื่อความสมบูรณ์ของ ประวัติศาสตร์เรื่องนี้
แนะนำให้อ่านประวัติทั้งหมดที่ Link ข้างล่างประกอบ
http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ
ที่กล่าวมาข้างต้น
เป็นเพียงตอนสุดท้ายของสงครามเท่านั้น

"ถ้าไม่อ่านก็ไม่รู้ ถ้าไม่ดูก็ไม่เห็น
และอาจเป็นเหมือนกบอยู่ในกะลาตลอดไป"

โดย มาหาอะไร