บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


12 มกราคม 2553

<<< ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง ทำไมยอดบีโอไอ ปี 52 เพิ่มขึ้นมาก >>>

เลขาฯ บีโอไอ ทึ่ง! ปรากฎการณ์ลงทุนปี 52 สูงสุดรอบ 40 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2553 11:44 น.

ยอดคำขอรับส่งเสริมลงทุนปี 52 สูงสุดในรอบ 40 ปี "เลขาฯ บีโอไอ" เผยเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ก่อตั้ง สนง. ชี้ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ตบเท้าเข้าขอลงทุนต่อ เพราะนักลงทุนยังมีความเชื่อมั่น

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงภาวะการลงทุนปี 2552 โดยระบุว่า ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่มีการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 40 ปี

"ความสนใจเข้ามาลงทุนในปี 52 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งที่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจโลกเพิ่งฟื้นตัว และประเทศไทยอยู่ระหว่างแก้ไขปัญหามาบตาพุด แต่คำขอรับส่งเสริมการลงทุนกลับมีมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุดในรอบกว่า 40 ปี โดยเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนตามนโยบายปีแห่งการลงทุน ซึ่งหมดอายุลงเมื่อสิ้นปี 52"

ทั้งนี้ จากการรวบรวมสถิติคำขอรับการส่งเสริมฯ ล่าสุดพบว่า มีจำนวนโครงการยื่นขอรับส่งเสริม 1,573 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 723,400 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัจจัยดีๆ ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงแก้ไขปัญหาการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดก็ตาม

นางอรรชกา กล่าวว่า การที่มีคำขอรับส่งเสริมการลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมาตรการพิเศษกระตุ้นการลงทุนตามนโยบายปีแห่งการลงทุน พ.ศ. 2551–2552 ที่ให้สิทธิประโยชน์เป็นพิเศษแก่กิจการใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม มีกำหนดสิ้นสุดลงในปี 2552 จึงทำให้โครงการลงทุนจำนวนมากยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงปลายปี ส่งผลให้มูลค่าเงินลงทุนของโครงการที่ขอรับส่งเสริมในปี 2552 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนช่วงต้นปีที่ 400,000 ล้านบาท ถึง 323,400 ล้านบาท หรือสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 80

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีความสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค 709 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 430,800 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ต้องการลงทุนในด้านพลังงานทดแทน เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 219 โครงการ มูลค่า 100,900 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ด ดิสก์ไดรฟ์ กิจการผลิตแผงวงจรรวม กิจการผลิตชิ้นส่วนกล้องดิจิตอล กิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์ และกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น

ส่วนอันดับ 3 อุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร 212 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 66,800 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตพลังงานทดแทนจากพืช เช่น เอทานอลและไบโอดีเซล กิจการผลิตอาหารสำเร็จรูป และอาหารแปรรูป และอันดับ 4 อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วน เครื่องจักร และโลหะ 217 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 55,500 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีความสนใจจะลงทุนในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งชิ้นส่วนสำหรับรถ ยนต์ทั่วไปและชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ

เลขาธิการ บีโอไอ กล่าวเสริมว่า โครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมในปีที่ผ่านมามีโครงการขนาดใหญ่มูลค่าเงินลงทุน สูงกว่า 1,000 ล้านบาท ถึง 106 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนถึง 460,300 ล้านบาท แต่กิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมมากที่สุดเป็นกิจการขนาดกลางมูลค่าระหว่าง 20-200 ล้านบาท จำนวน 689 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 52,600 ล้านบาท

http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9530000004132

------------------------------------------------------------------

บีโอไอคลอดมาตรการกระตุ้นการลงทุนปี 51-52
ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด แก่ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 08:47 น.

ที่มา บีโอไอ
บี โอไอคลอดมาตรการพิเศษ กระตุ้นการลงทุนปี 2551 - 2552 ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด แก่ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เน้นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และฟื้นมาตรการช่วยเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแก่กิจการที่ประกอบอยู่เดิม
นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการเพิ่มมาตรการพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และเร่งรัดการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” (Thailand Investment Year 2008-2009)
โดยตามมาตรการพิเศษดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการที่ยื่นขอรับส่ง เสริมภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริม ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดตามที่กฎหมายสามารถให้ได้ ประกอบด้วย การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ทุกเขตที่ตั้ง และได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า และอนุญาตให้หักเงินค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิ ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
สำหรับกิจการที่เข้าข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน ภายใต้มาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และเร่งรัดการลงทุนตามนโยบาย “ปีแห่งการลงทุน” 2552 มีทั้งสิ้น 6 กลุ่มกิจการ ได้แก่
1. กิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทน เช่น กิจการผลิตแอลกอฮอล์ หรือเชื้อเพลิงจากผลผลิตทางการเกษตร กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน สถานีบริการก๊าชธรรมชาติ (NGV) เป็นต้น
2. กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น กิจการผลิตเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยประดิษฐ์ กิจการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการเปิดประเภทกิจการใหม่เพิ่ม ได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม (Advanced Ceramics)
3. กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และจะเปิดประเภทกิจการใหม่ขึ้นอีก 2 ประเภทได้แก่ กิจการผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Chemicals) และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Products) เช่น วัสดุบรรจุภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ที่สามารถย่อยสลายเองได้
4. กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) เนื่องจากเป็นกิจการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการส่งเสริมให้เอกชนลงทุน เพื่อลดภาระของรัฐ
5. กิจการด้านการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
6. กิจการในอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ เพื่อช่วยเหลือด้านราคาพืชผลทางการเกษตรและเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้ สูงขึ้นเช่น กิจการผลิตสารให้ความหวาน กิจการผลิตเดรกตริน หรือโมดิไฟด์สตาร์ช
ฟื้นมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องผู้ประกอบการในช่วงวิกฤติ
ด้าน พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้บีโอไอใช้มาตรการการให้สิทธิมาตรา 36 ซึ่งเคยประกาศใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีโดยสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร และไม่มีภาระดอกเบี้ยในกรณีต้องชำระอากรวัตถุดิบก่อน
มาตรการดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ไปถึงสิ้นปี 2552 โดยครอบคลุมใน 14 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง รองเท้า เครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่ง ของเด็กเล่น เลนส์ สิ่งทอ เครื่องกีฬา ชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ และ สิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ได้ให้สมาคม หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์

ศูนย์บริการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงอุตสาหกรรม
555 ถ.วิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 0 2537- 8111 , 0 2537- 8155

http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=D1EFCEA45EF0BAA6911340323C87C669

------------------------------------------------------------------

เป็นผลมาจากนโยบาย ปีแห่งการลงทุน ของรัฐบาลสมชาย
(ซึ่งนายสมชายเป็นนายกไทยคนเดียว
ที่ยังไม่เคยเข้าไปทำงานที่ทำเนียบแม้แต่วันเดียว
เพราะโดนพวกพันธมิตรเข้าไปยึดทำเนียบ
พอย้ายไปทำงานที่ดอนเมือง
ก็โดนพวกพันธมิตรไปยึดดอนเมือง
และยังยึดสารพัดที่ทั้งสถานีโทรทัศน์
กระทรวงการคลังนั่นนี่
จนกระทั่งไปปิดสนามบินสุวรรณภูมิ)

นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ไปเป็นประธานประชุมบอร์ด บีโอไอ
และมีมติเห็นชอบในการเพิ่มมาตรการพิเศษ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว
และเร่งรัดการลงทุนให้บรรลุเป้าหมาย
ตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ปี 2551-2552
เป็น “ปีแห่งการลงทุน” (Thailand Investment Year 2008-2009)

สำหรับปีนี้
มีข่าวว่าจะมีการเปิดโครงการลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้า

ซึ่งมาจากการเปิดประมูลรับซื้อไฟฟ้า
จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ ไอพีพี ด้วย
เลยอาจมาดันยอดตัวเลขขอบีโอไอ
และบางรายก็ต้องการมายื่นคำขอไว้ก่อน
เพราะกลัวจะหมดเขตภายในปีนี้
แล้วจะไม่ได้สิทธิพิเศษมากมายตามนี้
" การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ทุกเขตที่ตั้ง
และได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี
อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า
และอนุญาตให้หักเงินค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิ
ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
"
เลยอาจมายื่นขอรับการส่งเสริมไว้ก่อน
แถมบางคำขอ
ก็อาจเหมือนใบจองรถในงานมอเตอร์โชว์

คือโชว์ตัวเลขปั้นยอดเพื่อให้ได้หน้า
แต่จองจริงๆ อาจไม่เป็นแบบนั้นก็ได้

สำหรับข้อมูลจาก บีโอไอ
จนบัดนี้วันที่ 12 มกราคม 2553 แล้ว
ข้อมูลที่นำมาให้สื่อมวลชน
ก็ยังไม่ update ที่เว็บไซด์ของบีโอไอสักที
จึงนำมาให้ดูได้ถึงเดือน พ.ย.52

สรุปข้อมูลการอนุมัติให้การส่งเสริม
http://www.boi.go.th/thai/download/boi_statistics/35/0911_app.pdf




























ข้อมูลการขอรับการส่งเสริมสุทธิ
http://www.boi.go.th/thai/download/boi_statistics/35/0911_net.pdf




























ปล. โครงการที่ บีโอไออนุมัติ
และประเทศน่าจะได้ประโยชน์มากๆ
น่าจะเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการส่งออก
เพราะจะได้มีรายได้เข้าประเทศ
ไม่ใช่โครงการที่มีลักษณะ
มาดูดเงินในประเทศออกไป
ซึ่งไม่มีประโยชน์มาก
นอกจากมาขอสิทธิพิเศษ
เพื่อจะได้มีกำไรมากๆ
แล้วส่งกำไรกับประเทศเขาเท่านั้น
ดังนั้นตัวเลขการขอลงทุนจาก บีโอไอ
ต้องดูในรายละเอียดด้วย
อย่าดูแต่ภาพรวมลวงตา
ที่รัฐบาลเอาไว้โปรยยาหอมยังงั้นยังงี้
ประชาชีได้อะไรไม่รู้

โดย มาหาอะไร

------------------------------------------------------------------

ไทยรัฐออนไลน์
* โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
* 18 มกราคม 2553, 05:15 น.

เอกชนอิดออดลง ทุนครึ่งปีแรก

แม้คำสั่งซื้อเพิ่มแต่ลังเลใจปัญหามาบตาพุดเผยยอดขอรับการลง ทุนใหม่ผ่านบีโอไอปีที่แล้วกว่า 7 แสนล้าน ที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ไม่มีความหมาย เพราะส่วนใหญ่ไม่ลงทุนทันที แห่ขอสิทธิก่อนหมดเขตมากกว่า ...

เอกชนชี้ครึ่งปีแรกยังไม่กล้าลงทุน แม้คำสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้น รีรอดูแนวทางแก้ ปัญหามาบตาพุดก่อน เผยยอดขอรับการลงทุนใหม่ผ่านบีโอไอปีที่แล้วกว่า 7 แสนล้าน ที่สูงสุดในรอบ 40 ปี ไม่มีความหมาย เพราะส่วนใหญ่ไม่ลงทุนทันที แห่ขอสิทธิก่อนหมดเขตมากกว่า

นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ครึ่งแรกของปีนี้ภาคเอกชนคงยังไม่กล้าลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตมากนัก แม้ว่าคำสั่งซื้อทุกภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นก็ตาม เนื่องจากนักลงทุนยังรอแนวทางแก้ปัญหามาบตาพุดของรัฐบาลก่อน รวมถึงกลัวปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และภาคอุตสาหกรรมยังใช้กำลังการผลิตไม่เต็มที่ ขณะที่การลงทุนใหม่ก็คงไม่มากตามยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในปีที่ผ่านมา ที่มีถึง 723,000 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 40 ปี เพราะส่วนใหญ่ไม่ต้องการลงทุนทันที เพียงแต่รอสถานการณ์ที่เหมาะสมก่อน ซึ่งอาจใช้เวลา 1-3 ปี หรืออาจไม่ลงทุนจริงก็ได้

"ตัวเลขลงทุนผ่านบีโอไอที่สูง เป็นเพียงการยื่นไว้ก่อนเพื่อขอรับสิทธิพิเศษที่สิ้นสุดมาตรการวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตามนโยบายปีแห่งการส่งเสริม การลงทุนไทยใน 6 กิจการ ประกอบด้วย พลังงานทดแทน, การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง, กิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ, ท่องเที่ยวและเชื่อมโยงกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ แต่การยื่นมาเยอะก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่านักลงทุนยังเชื่อมั่น เศรษฐกิจของไทยอยู่"

สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ในปีนี้ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ, ราคาน้ำมัน, ความผันผวนของค่าเงิน เป็นต้น ดังนั้น การลงทุนภาพรวมของเอกชนคงต้องอาศัยการลงทุนของภาครัฐเป็นหลัก โดยเฉพาะ เมกะโปรเจกต์ แต่เชื่อว่าหากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศไม่รุนแรง ภาคเอกชนจะลงทุนเพิ่มในครึ่งปี หลังแน่นอน

นายอดิศักดิ์กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในปีนี้ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มจากปีก่อนกว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากคำสั่งซื้อรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวชัดเจนตั้งแต่ ปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้ปีนี้ค่ายรถยนต์ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1.2 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 20% แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 600,000 คัน และต่างประเทศ 600,000 คัน ขณะเดียวกันค่ายผู้ผลิตรถยนต์ก็จะเน้นการจำหน่ายรถยนต์ที่เน้นความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ เช่น รถประหยัดพลังงานขนาดเล็กและไฮบริด ขณะที่ตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นลูกค้าของไทยอย่างออสเตรเลีย เอเชีย ยุโรป แอฟริกาใต้ ก็เริ่มมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศแล้ว

"ผมถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเดือน พ.ย.-ธ.ค. สามารถผลิตได้สูงมาก ส่วนการฟื้นตัวในปีนี้ คาดว่าค่ายรถยนต์จะทยอยเพิ่มการผลิตในช่วงปลายปี และมั่นใจว่าทุกค่ายรถยนต์จะสามารถเพิ่มเวลาการผลิตเป็น 2 กะได้ภายในปีนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีของแรงงานด้วย"

สำหรับอุตสาหกรรมอื่นที่มีสัญญาณการขยายตัวดี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ ก่อสร้าง เกษตร เนื่องจากมีคำสั่งซื้อระยะยาวเพิ่มอย่างต่อเนื่อง.

http://www.thairath.co.th/content/eco/59456

------------------------------------------------------------------