บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


04 กุมภาพันธ์ 2553

<<< บทเรียนจาก กรือเซะ >>>

กรณีกรือเซะ
ในบทความนี้ผมจะไม่เน้นว่า
เรื่องนี้ใครผิดหรือถูกอะไร
ผมขอพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์เท่านั้น
ซึ่งไม่แน่ใจไม่กล้าปักใจเชื่อว่า
เป็นแผนที่มีการวางกันไว้อย่างแนบเนียน
ทั้งขนทหารไปงานเลี้ยงเกือบหมดค่าย
จนคนร้ายเข้ามาปล้นปืนไปได้ในค่ายทหาร
จนเกิดความฮึกเหิมมาลุยยึดหลายอำเภอพร้อมกันในวันเดียวกัน
ด้วยมีดหรืออาวุธที่ไม่ทันสมัยเท่าไหร่
และสุดท้ายยึดไว้ได้ไม่กี่ชั่วโมง
ก็โดนกวาดล้างบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
จนเป็นบาดแผลที่ยังแก้ไม่หายเท่าไหร่
เอาเป็นว่าถ้าไม่มีใครวางแผนให้เป็นแบบนี้
อาจฟลุคที่ออกมาแบบนี้
แต่ผมขอยกตัวอย่างเรื่องนี้
แล้วมาแยกเป็นแผนการด้านกลยุทธ์ทีละเรื่อง
เผื่อจะได้ย้ำเตือนสติใครได้บ้าง

กลยุทธ์แรก
"ล่อให้มาตายยกรัง ดีกว่าไปไล่ปราบปราม"

คือไปให้ความหวังแล้ว ทำให้ฮึกเหิม
เสร็จแล้วนัดวันมาจัดการ
อันนี้ผมคิดเองน่ะ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เผื่ออนาคตมีคนนำไปใช้อีก
ไม่ว่าพวกไหนจะได้เอะใจบ้าง

กลยุทธิ์ที่สอง
"แกล้งให้ยึด แล้วค่อยยิง"

ก็คล้ายๆ กับข้อแรกแต่แยกมาให้เห็นภาพ
คืออาจจะขนทหารหรืออาวุธออกไปนอกค่ายก่อน
แล้วให้ข้าศึกบุกมายึดเมือง
แล้วตามมาตลบหลังอะไรประมาณนั้น
ถ้าเป็นกรณีผู้ใหญ่รังแกเด็ก
อาจน่าเกลียดที่จะไปรังแกในทันที
อาจต้องสร้างความชอบธรรม
ให้เด็กมีอาวุธ มีพฤติกรรมน่าจะโดนซะก่อน
แล้วถึงค่อยมาจัดการ
ผู้ใหญ่กับเด็กก็เปรียบเสมือน
พวกที่มีอาวุธดีกว่ากับพวกที่มีอาวุธด้อยกว่า

กลยุทธ์ที่สาม
"ล่อให้ออกมาตาย เพื่อขยายผลต่อไป"

คือเหมือนไปให้ความหวัง ไปฝึก หรือไปช่วย
แล้วให้ลองทำงานเล็กๆ จนสำเร็จแล้วเกิดอาการฮึกเหิม
ก็ค่อยๆ ล่อให้ออกมา เพื่อหวังให้เกิดการปะทะ
แล้วเอาผลการปะทะไปขยายผลต่อไป
ซึ่งอาจไปขยายผลด้านการเมืองเล่นรัฐบาล
หรือขยายผลด้านการต่อสู้ในพื้นที่
เช่น มีคนตายก็จะมีคนเจ็บแค้นมากขึ้น เป็นต้น

โดย มาหาอะไร
FfF