บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


22 มีนาคม 2553

<<< สองมาตรฐาน เรื่อง กฏเหล็ก 5 ข้อ กกต. >>>

พท.ชี้กกต.2มาตราฐาน "ประแสง"ร้องคืนสิทธิอดีตกก.บห.

ที่ทำการพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมนายประแสง มงคลศิริ อดีตผู้สมัคร ส.ส.อุทัยธานี พรรคพลังประชาชน ร่วมแถลงข่าวกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยกคำร้องคดีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าพบนายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เพื่อจัดตั้งรัฐบาล โดยนายพร้อมพงศ์ได้แสดงป้ายหาเสียงของนายประแสง ที่ถ่ายรูปคู่กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีข้อความระบุว่า "ชอบสมัคร รัก ทักษิณ เบอร์ 12 พรรคพลังประชาชน ใครไม่กล้า ผมอาสา พาทักษิณ กลับบ้านเอง" เปรียบเทียบกับภาพนายอภิสิทธิ์กอดคอกับนายเนวิน

นายประแสง กล่าวว่า นายวีระ สมความคิด แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ร้องเรียนกรณีตนขึ้นป้ายหาเสียง ที่มีรูปพ.ต.ท.ทักษิณเข้าสู่การพิจารณา สอบสวนของกกต. ซึ่งนายวีระตั้งใจว่าตนต้องถูกแจกใบแดง แต่กรณีของนายอภิสิทธิ์และนายเนวิน กกต.กลับยกคำร้อง ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้กกต.คืนสิทธิทางการเมืองให้อดีตกรรมการบริหารพรรค ที่ถูกยุบทั้งหมด ยกเว้นเพียงการออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้น

นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม กกต.ได้ออกกฎเหล็ก 5 ข้อ ดังนี้
1.ห้ามขึ้นเวทีปราศรัย
2.ห้ามถ่ายรูปคู่กับผู้สมัครส.ส.หรือส.ว.
3.ห้ามเป็นที่ปรึกษาพรรคการเมือง
4.ห้ามเข้าไปมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
และ 5.ห้ามเป็นสมาชิกพรรคและห้ามจัดตั้งพรรคการเมือง

ตนขอถามไปยังกกต.ว่า กฎดังกล่าวยังมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ กกต.ดำเนินการ 2 มาตรฐานหรือไม่


-----------------------------------------------------------------------

มติชน-เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่าง มากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)มีมติด้วยเสียง 3ต่อ 2 ให้ยุติเรื่องกรณีที่มีการร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยกทีมผู้บริหารพรรคเข้าพบกับนายเนวิน ชิดชอบ ผู้นำสูงสุดของกลุ่มเพื่อนเนวินที่ถูกตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งเพื่อขอความร่วมมือในการจัดตั้งรัฐบาลโดยระบุว่า ไม่ขัดต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 อีกทั้งไม่เป็นการฝ่าผืนมาตรา 94 มาตรา 96 และมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 และมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย


เสียงวิพากษ์วิจารณ์งกล่าวมองว่า เป็นการวินิจฉัย 2 มาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับกรณี กกต.ตอบข้อหารือเรื่อง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550

ดังนั้นเพื่อความกระจ่าง จึงขอนำมติ กกต.เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.อ้างว่า เป็นการตอบข้อหารือของพรรคพลังประชาชน(พปช.)และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมี ผลสรุปห้าม อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน กระทำดังต่อไปนี้

1.ขึ้น เวทีปราศรัยหาเสียงหรือเป็นวิทยากรในการปราศรัย

2.ถ่ายรูปคู่กับ ผู้สมัคร ส.ส.เพื่อนำไปใช้ในการหาเสียง

3.เป็นที่ปรึกษานโยบายและ ยุทธศาสตร์พรรคการเมือง

4. จะใช้อำนาจหรือกระทำการเสมือนหนึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคไม่ได้

5.เป็น สมาชิกพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เนื่องจากขัดมาตรา 97 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.25850

สำหรับราย ละเอียดนั้นมีดังต่อไปนี้(ข่าว"มติชนรายวัน"วันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 )

นาย อภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. เปิดเผยภายหลังการประชุม กกต. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ว่า จากกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ กกต.จะต้องตอบข้อหารือของผู้สมัครและพรรค การเมืองภายใน 30 วัน นับจากได้รับหนังสือหารือนั้น ที่ประชุม กกต.ได้พิจารณาหนังสือของนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์การเลือกตั้ง พรรคพลังประชาชน (พปช.) ที่หารือเกี่ยวกับการปราศรัยหาเสียงของผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำ สั่งยุบพรรคของตุลาการรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ กกต.มีมติว่า อดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่สามารถปราศรัยหาเสียงเลือก ตั้ง รวมทั้งไม่สามารถเป็นวิทยากรหรือขึ้นกล่าวเวทีปราศรัยหาเสียงบนเวทีปราศรัย ได้(1)

"กกต.เห็นว่าบุคคลที่ไม่ได้มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร จะใช้อำนาจหรือกระทำการเสมือนหนึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคไม่ได้(2) และตามข้อบังคับ พปช. ข้อ 12(3) ก็ระบุชัดเจนว่า กรรมการบริหารพรรคมีอำนาจหน้าที่รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป การปราศรัยหา เสียงก็ถือเป็นการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วย" นายอภิชาตกล่าว

นาย อภิชาตกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่อดีตกรรมการการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ ถูกแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น กกต.มีมติว่า บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบตามมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่สามารถรับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อ แผ่นดินได้(3) เพราะตามมาตรา 17, 18 และ 44 ของ พ.ร.บ.เดียวกันได้กำหนดอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองไว้เป็นการเฉพาะ

"หากบุคคล ใดที่ไม่มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือมีตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นในพรรคการเมือง เข้าไปใช้อำนาจหน้าที่หรือกระทำการอันมีลักษณะเช่นเดียวกันกับกรรมการบริหาร พรรคก็ต้องถือว่า เป็นการกระทำเหมือนกรรมการบริหารพรรค ถือว่าขัด มาตรา 97 ของ พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่ห้ามกรรมการบริหารพรรค ที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือจัดตั้งพรรค หรือร่วมจัดตั้งพรรคไม่ได้" ประธาน กกต.กล่าว

นายอภิชาตกล่าวว่า ที่ประชุม กกต.ยังได้พิจารณาข้อหารือของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ปรึกษาพรรคมัชฌิมาธิปไตย เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ที่อยู่ระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า จะสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นแล้ว หรือตั้งขึ้นใหม่โดยไม่มีตำแหน่งในการบริหารพรรคการเมืองได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ กกต.ได้มีมติว่า ไม่สามารถกระทำได้(4) รวมทั้งไม่สามารถถ่ายรูปประกบคู่กับผู้สมัครเพื่อนำใช้ในการหาเสียงก็ ไม่ได้เช่นกัน(5)

ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อ กกต.มีมติแล้วหากยังมีการดำเนินการอยู่จะสามารถเอาผิดได้หรือไม่ นายอภิชาตกล่าวว่า มติ กกต.เป็นเพียงการตอบข้อหารือเท่านั้น ถือเป็นเพียงการตอบความเห็นของการหารือ แต่ไม่ได้หมายความว่า กกต.จะมีอำนาจไปชี้ว่า ผิดหรือถูก เพราะตรงนี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัย โดยทุกเรื่องที่มีมติถือเป็นเสียงส่วนใหญ่ กกต.ขอให้ผู้ที่หารือมารอดูคำวินิจฉัยที่จะตอบ ซึ่งจะตอบกลับไปภายในวันนี้ (16พฤศจิกายน 2550)

"ที่ กกต.มีมติวันนี้เป็นเพียงความเห็นเท่านั้น หากใครเห็นว่า มีความผิดเกิดขึ้นก็ให้ไปร้องทุกข์ดำเนินคดี ส่วนที่มีข่าวว่า อดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิเข้าไปร่วมจัดโผ ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชนนั้น ขอให้เป็นปัญหาเกิดขึ้นก่อน โดยขอให้มีคนร้องเข้ามาก่อนจึงจะตอบได้" นายอภิชาตกล่าว

รายงานข่าว จากที่ประชุมแจ้งว่า กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การปราศรัยของอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นไม่ สามารถทำได้ แต่บางคนเห็นว่า หากอ้างข้อบังคับพรรคกำหนดว่า การรณรงค์หาเสียงเป็น หน้าที่ของกรรมการบริหาร ต่อไปหาก พปช.จะหาทางออกโดยแก้ข้อบังคับ พรรคว่า กรรมการบริหารพรรคไม่มีหน้าที่รณรงค์หาเสียงก็เท่ากับว่า อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยังสามารถร่วมหาเสียงได้

อย่างไรก็ ตามบางคนยังเห็นอีกว่า การตีความกฎหมายลักษณะนี้กว้างเกินไป เพราะเจตนารมณ์ของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคพรรคไทยรัก ไทยทั้ง 111 คน ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ไม่ต้องการให้คนเหล่านี้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งเรื่องนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญก็บอกไว้ค่อนข้างชัดเจน การตีความของ กกต.ต้องดูเจตนารมณ์ด้วย ไม่ใช่ดูแค่ตัวบทอย่างเดียว

ส่วนข่าว เรื่องการยุติเรื่องการร้องเรียนนายอภิสิทธิ์นั้น นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.กล่าวว่า กกต.พิจารณาเรื่องที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายโลมิรันดร์ บุตรจันทร์ ขอให้ กกต.พิจารณากรณีที่มีการดึงผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เข้ามายุ่งเกี่ยวกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมี 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ การกระทำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ไปพบปะกับอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูก เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(นายเนวิน ชิดชอบ)นั้น ขัดต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่

ประเด็นที่สอง คือ การกระทำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 94 มาตรา 96 และมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 หรือไม่

ที่ ประชุม กกต. พิจารณาแล้วมีมติเห็นว่า การกระทำของนายอภิสิทธิ์ ไม่เป็นการขัดต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ 3-5/2550 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และไม่ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-20/2551 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 อีกทั้งไม่เป็นการฝ่าผืนมาตรา 94 มาตรา 96 และมาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 และมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ที่ประชุมเสียงข้างมาก 3ต่อ2)จึงเห็นควรยุติเรื่องดังกล่าว ตามความเห็นพ้องกับคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง


นายสุทธิพล กล่าวว่า คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ให้ความเห็นมาว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญเป็นการวินิจฉัยให้เพิกถอน สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะโยงไปถึงสิทธิในการเดินทางไปเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมืองและไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคการเมืองได้ แต่ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นประชาชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญ ได้รับรองไว้

นายสุทธิพล กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่ร้องว่า ได้อำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบนั้น คณะกรรมการไต่สวนมีความเห็นว่า กระบวนการในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ได้กระทำโดยเปิดเผยตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งกระทำในสภาผู้แทนราษฎร และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในประชาชนได้รับชม อีกทั้งมีผู้ถูกเสนอชื่อชิงตำแหน่ง 2 คนด้วยกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็นเป็นการแสดงให้เห็นว่า มีการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

"นาย อภิสิทธิ์และกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ยังมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง ซึ่งตรงนี้คณะกรรมการไต่สวนมองว่า ในกรณีที่ กกต.เคยวางแนวตอบข้อหารือไป จะเป็นกรณีที่ กกต.บอกว่า ต้องวินิจฉัยในแต่ละกรณีไป ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่แสดงให้เห็น”นายสุทธิพล กล่าว

นายสุทธิพลกล่าว ว่า สำหรับเสียงข้างน้อยในการลงมติครั้งนี้ เห็นว่า ควรสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นของข้อมูลและข้อเท็จจริงบางส่วน"

รายงาน ข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม กกต.มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 เห็นควรยุติเรื่องคำร้อง โดย กกต.เสียงข้างน้อย 2 คน คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ และนายประพันธ์ นัยโกวิท ที่เห็นว่าอยากให้มีการสอบเพิ่มเติมในข้อเท็จจริง

-------------------------------------------------------------

http://74.125.153.132/search?q=cache:l9w_CamA_HAJ:www.newskythailand.com /board/index.php%3Ftopic%3D5143.0%3Bwap2+พปช.+หาเสียง&cd=79& amp;hl=th&ct=clnk&gl=th

FfF