บันทึกเรื่องราว สืบสาวความจริง ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน.
Save the stories. Investigate the truth. Give to the next generation.


23 มีนาคม 2553

<<< การเมืองไทยตั้งแต่ 2475 ถึงวันนี้ มี 1 ปฏิวัติ 8 รัฐประหาร 12 กบฏ >>>

ประมวล เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทย (ล้มล้างรัฐบาล)
หลังพ.ศ. 2475 – ก่อนคณะปฏิรูป

1. กบฏบวรเดช (2476)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ถิ่นท่าราบ)
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยและนำประเทศกลับสู่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง
ผลของการเปลี่ยนแปลง คือ ปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว พวกกบฏถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามได้สำเร็จ

2. การรัฐประหาร พ.ศ. 2490
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พันเอกหลวงกาจสงครามและพลโทผิน ชุณหะวัน
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง กรณีสวรรคตของ รัชกาลที่ 8 และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้จอมพลป.พิบูลย์สงครามกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง และกลุ่มซอยราชครูมีบทบาทสำคัญทางการเมืองมากขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาแน่นแฟ้นมาก

3. การรัฐประหาร พ.ศ. 2501
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างสาเหตุจาก ภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์
ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม

4.วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชน นิสิต นักศึกษา
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่ครอบงำและลิดรอนสิทธิ์เสรีภาพทาง การเมืองของประชาชน
ผลของการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (ที่ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง)

5. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างว่านิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน วันที่ 14 ต.ค. 2516 ได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์
ผลของการเปลี่ยนแปลง ระบอบประชาธิปไตยถูกล้มล้างและกลับไปสู่การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง สภาพการเมืองขาดเสถียรภาพและเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง

6. การรัฐประหาร พ.ศ. 2520
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การคัดค้านนโยบายแบบขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร(เผด็จ การโดยพลเรือน)
ผลของการเปลี่ยนแปลง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา

7. การรัฐประหาร พ.ศ. 2534 (รสช.)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์, พลเอกสุจินดา คราประยูร, พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การฉ้อราษฎร์บังหลวงของคณะรัฐบาลที่มีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี
ผลของการเปลี่ยนแปลง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

8. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (17-19 พ.ค. 2535)
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นักศึกษา ประชาชน และนักการเมืองบางกลุ่ม ร่วมกันต่อต้านการเข้าดำรง ตำแหน่งผู้นำของพลเอกสุจินดา คราประยูร
ผลของการเปลี่ยนแปลง เกิดเหตุการณ์นองเลือดอีกครั้ง และนายอานันท์ ปันยารชุนกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯอีกวาระหนึ่ง

สรุปความจาก Road to University (สังคม ศึกษา)

กบฏ 12 ครั้ง-ปฏิวัติ 1 ครั้ง - รัฐประหาร 8 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลหรือคณะผู้ปกครองหรือการเปลี่ยนกติกาการปกครองหรือรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศปกติรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ย่อมกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงไว้ เช่น ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ เลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี หรือ 6 ปี เพื่อให้โอกาสประชาชนติดสินใจว่า จะให้บุคคลใดหรือกลุ่มพรรคการเมืองใดได้เป็นผู้ปกครอง และกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงหลักการหรือสาระของรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่ง สร้างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับเดิม

การเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี และเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่ถือว่าเป็นวิธีการรุนแรงและไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย นั่นก็คือการใช้กำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิมไล่คณะรัฐมนตรีออกไป และตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยกลุ่มของคนที่ยึดอำนาจเข้ามาแทนที่ หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วางกฎและกติกาตามที่กลุ่มผู้มีอำนาจปรารถนา โดยปกติคณะหรือกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีนี้จะต้องมีกอง กำลังติดอาวุธเข้าปฏิบัติการ มิฉะนั้นแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จ และถึงมีกำลังก็ไม่อาจไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมีองค์ประกอบการสนับสนุนหรือต่อต้านจากประชาชนเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบ ด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็คือว่า การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกา หรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้ กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลัง ความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติ

การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917 การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949 การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952 เป็นต้น

ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการ ปกครองเลย

ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัว เองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ

"ปฏิวัติ" หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ

ส่วน "รัฐประหาร" หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก

ในประเทศไทย ถือได้ว่ามี การปฏิวัติ เกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 8 ครั้ง ดังนี้

กบฏ 12 ครั้ง

1. กบฏ ร.ศ.130

2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม 2476)

3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม 2478)

4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ (29 มกราคม 2482)

5. กบฏเสนาธิการ (1 ตุลาคม 2491)

6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (พฤศจิกายน 2491)

7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์2492)

8. กบฏแมนฮัตตัน (29 มิถุนายน 2494)

9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน 2497)

10. กบฏ 26 มีนาคม 2520

11. กบฏยังเติร์ก (1-3 เมษายน 2524)

12. กบฏทหารนอกราชการ (9 กันยายน 2528)

รัฐประหาร 8 ครั้ง

1. พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร (20 มิถุนายน 2476)

2. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร (8 พฤศจิกายน 2490)

3. จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร (29 พฤศจิกายน 2494)

4. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร (16 กันยายน 2500)

5. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2501)

6. จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร (17 พฤศจิกายน 2514)

7. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร (20 ตุลาคม 2520)

8. พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534)

9. คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. ทำการรัฐประหาร (19 กันยายน 2549)

ศูนย์ข้อมูลเลือกตั้ง 2549 เครือเนชั่น
ที่มา : เวบ...รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ
http://www.komchadluek.com/2006/09/20/a001_49078_report.php?news_id=49078

-----------------------------------------------------------------
FfF